Tuesday, 22 April 2025
ป๋าเปรม

ตัวเลขสากลพิสูจน์ชัด ถอดรหัสเศรษฐกิจสยามยุค 'พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์' รัฐบุรุษผู้นำไทยไทยสู่ความโชติช่วงชัชวาล

เฟซบุ๊ก 'LVanicha Liz' โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับ 'ป๋าเปรม' ระบุว่า...

ตัวเลขสากลพิสูจน์ชัด #ฝีมือรัฐบุรุษผู้นำไทยไปสู่ความโชติช่วงชัชวาล

วันที่ 26 พ.ค. 2562 เป็นวันถึงแก่อสัญกรรมของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ thansettakij.com นำเสนอบทความเรื่อง พล.อ.เปรม นายทหาร ผู้พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย “โชติช่วงชัชวาล” มีบทนำว่า: พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นอกจากจะได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในทางทหารโดยเป็นผู้บัญชาการทหารบก ที่มีผลงานโดดเด่นในการสู้รบ และปกป้องประเทศชาติจากภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศแล้ว ในช่วง 8 ปีที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ให้รอดพ้นจากภาวะล้มละลายจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และนำพาเศรษฐกิจของไทยไปสู่ยุค “โชติช่วงชัชวาล”

https://www.thansettakij.com/politics/401938

BOT Magazine ลงเนื้อหากล่าวถึงเศรษฐกิจโชติช่วงชัชวาล ว่าเป็นเพราะ พล.อ.เปรม เปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับภาคเอกชนเป็นอย่างมาก มีเนื้อหาดังนี้: สมัยนั้น เศรษฐกิจโชติช่วงชัชวาล เพราะป๋าเปิดโอกาสให้คณะนักธุรกิจร่วมเดินทางไปเจรจาการค้าด้วย รอบละกว่า 50 คน (อ้างอิงภาพประกอบ)

https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256203SpecialScoop.aspx

ในเรื่องนี้ผู้เขียนยืนยันด้วยอีกเสียงหนึ่ง เพราะในช่วงนั้นที่ประชุมบริษัทหารือกันว่ากิจการเอกชนได้รับโอกาสเข้าร่วมไปเจรจาการค้า จะไปกันหรือไม่  

ความ “โชติช่วงชัชวาล” นั้น จึงสรุปได้ว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากการกระจายโอกาสความร่ำรวยไปทั่วๆ จากหัวใจอันทรงคุณธรรมของ พล.อ.เปรม

ส่วนนายกฯ ประเภทกอบโกยผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง จะสงวนโอกาสไว้ให้เฉพาะกลุ่มของตน มันจึงเป็นที่มาของความ “รวยกระจุก จนกระจาย” ที่พวกเขาพร่ำกล่าวโทษใส่ร้ายนายกฯฝ่ายตรงข้าม

ย้อนกลับมาที่ #ฝีมือรัฐบุรุษผู้นำไทยไปสู่ความโชติช่วงชัชวาล

ผู้เขียนพบว่าตัวเลขสากลพิสูจน์ชัดอย่างยิ่งจากการตรวจดัชนีเศรษฐกิจย้อนหลัง กล่าวคือ GDP ที่ครอบคลุมช่วงเวลาการบริหารของ พล.อ.เปรม ระหว่างปี 1980-1988 (อ้างอิงภาพประกอบ)

'แม่ทัพภาค 2' สืบสานเจตนารมย์ 'ป๋าเปรม' มอบทุน 'บุตรหลาน' เหยื่อกราดยิงโคราช

'แม่ทัพปอง' พลโท สวราชย์ แสงผล แม่ทัพภาค 2 ในฐานะ ประธานมูลนิธิเปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษา มูลนิธิเปรม ติณสูลานนท์ 2565 ที่ห้องเทอร์มินอล ฮอลล์ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา 

โดยมี นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ร่วมในพิธีมอบทุนการศึกษาฯ

การมอบทุนการศึกษาในปี 2565 คณะกรรมการมูลนิธิฯ มีมติให้มอบทุนฯ จำนวน 831 ทุน เป็นเงิน 2,786,300 บาท ให้กับ นักเรียน นักศึกษา บุตรหลาน ผู้ที่ได้ผลกระทบจากเหตุความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 

และมอบให้กับผู้แทนจังหวัดทั้ง 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้นำไปมอบให้กับผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาของแต่ละจังหวัด เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่เรียนดีมีความประพฤติเรียบร้อย แต่ขาดทุนทรัพย์ สนับสนุนการกีฬา ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เชิญอัฐิ 'ป๋าเปรม’ หลบบ้านสมเกียรติ ตั้งสวดพระอภิธรรมอัฐิ 21-25 ส.ค.

เมื่อเวลา 04.35 น. ของวันที่ 21 ส.ค. 65 ทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) นำโดย รศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ และคณะผู้บริหาร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ร่วมทำพิธีเชิญอัฐิ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ จากอาคารเฉลิมพระบารมี โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เคลื่อนขบวนด้วยรถบุษบก โดยมีทีมนักวิ่งจำนวน 99 คน ร่วมนำขบวนไปยังสวนประวัติศาสตร์ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อ.เมือง จ.สงขลา นอกจากนี้ยังมีการวิ่งอีก 2 เส้นทาง คือ บ้านศรัทธา-สวนประวัติศาสตร์ และวัดแหลมพ้อ-สวนประวัติศาสตร์ ซึ่งทุกคนต่างพร้อมใจใส่เสื้อที่ระลึกสีชมพู “พาป๋า หลบบ้าน” อย่างพร้อมเพรียงเป็นสัญลักษณ์ในการต้อนรับท่านกลับสู่บ้านเกิด

ส่วนบรรยากาศตลอดเส้นทาง มีประชาชนสวมเสื้อ 'พาป๋า หลบบ้าน' มายืนรอ เพื่อส่ง และต้อนรับ พลเอก เปรมฯ ที่ได้กลับบ้านเกิด หลังท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมไปกว่า 3 ปี โดยในวันที่ 26 สิงหาคม นี้ เป็นวันครบรอบอายุ 102 ปี

นอกจากนี้ ประชาชนได้ส่งเสียงให้กำลังใจนักวิ่ง ซึ่งนับเป็นภาพแห่งความประทับใจที่ทุกคนได้แสดงออกถึงความรักที่มีต่อพลเอก เปรมฯ เพราะท่านได้สร้างคุณงามความดีแก่ชาวสงขลา และประเทศชาติ เอาไว้มากมาย

'ดร.สมเกียรติ' โพสต์รำลึกคุณูปการของ 'ป๋าเปรม' ชวนลูกหลานจำไว้ 'ประเทศไทย' ไม่ได้สร้างด้วยน้ำลาย

ดร.สมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ในหัวข้อ 'พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประเทศนี้ ไม่ได้สร้างด้วยน้ำลาย'

กองทัพฝ่ายปฏิวัติของเวียดนาม ลาว และกัมพูชา บุกยึดเมืองหลวงได้ทั้งสามประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2518 เกิดการอพยพออกนอกประเทศมากมาย ยิ่งกว่าซีเรียหรือประเทศใดๆ

ทั้งสามประเทศรวมกันจัดตั้งสหพันธรัฐอินโดจีน ประเทศไทยคือ เป้าหมายต่อไป 

วันนั้น อเมริกาถอนทัพ ประเทศไทยมีกระสุนพอสู้ได้สามวัน

ห้องส่งรหัสลับที่วังปารุสก์ ดังไม่หยุด ทั้งวันและคืนต่อเนื่องมาก่อนหน้าไซ่ง่อนแตกมา สิบปีก่อนหน้า

ยิ่งต้องทุ่มกำลังทั้งวันและคืน 

คนไทยจำนวนมาก หนีออกนอกประเทศ พร้อมทรัพย์สมบัติ

แต่เสียงเพลงเราสู้ก็ดังกระหึ่มหัวใจคนไทย พร้อมเพลงความฝันอันสูงสุด เราสู้ไม่ถอยแม้จนก้าวเดียว และเพลงจากยอดดอยของป๋าเปรม นายกรัฐมนตรี

ลูกหลานจำไว้นะครับ

เพราะวันนั้น วันนี้เราจึงยืนอยู่บนแผ่นดินนี้

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ วีรบุรุษจากภาคอีสาน อดีตแม่ทัพภาค 2 ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี 2523 ห้าปีหลังจากอินโดจีนเปลี่ยนการปกครอง
---------------------------------------------------------------------
ป๋าเปรมสร้างความเคารพมายาวนานก่อนดำรงตำแหน่งนี้ 

ผมเข้าคารวะป๋าที่ค่ายทหารม้าสระบุรีราวปี 2512 หลังจากทำค่ายที่จังหวัดนั้น ทำถนน

พวกเราได้ยินว่าท่านเป็นทหารที่เก่ง น่านับถือ เป็นที่ปรึกษาให้ค่าย 

เน้นว่าเอาชนะความยากจนได้ ประเทศไทยจะสุขสงบ ไม่ต้องรบกัน

เป็นแนวคิดที่แปลกใหม่

เมื่อท่านเป็นนายกรัฐมนตรี

1. ประเทศไทยยันสหพันธรัฐอินโดจีน มีสงครามใหญ่ชายแดนทุกปี 

เส้นทางกัมพูชามาสุรินทร์ เสี่ยงสุด เพียงหกชั่วโมงถึงกรุงเทพ สามชั่วโมงถึงโคราช

การป้องกันประเทศตลอดแนวจึงสำคัญมาก ต้องการผู้นำที่รู้พื้นที่ ป้องกันประเทศได้ รวมหัวใจทหารและคนทั้งประเทศได้ แตกหนึ่งแนวรบ พังทั้งประเทศ

พลเอกเปรมรักษาชาติไว้ได้ ในยามคับขันที่สุด

2. ยุคของพลเอกเปรม คือ สงครามกลางเมืองครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของประเทศ  

Time ทำแผนที่แดงเถือกทั้งประเทศ ยุทธการทำการเมืองนำการทหารเกิดขึ้น จากวนาสู่นาคร รับนักศึกษากลับบ้าน รับชาวบ้านกลับบ้าน  

ความมั่นคงภายใน เกิด ความมั่นคงภายนอกก็เกิด เอาชนะไทยไม่ได้หรอก

เป็นยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง

ไม่ด่ามัน ไม่ฆ่ามัน ไม่ส่งทหารไปล้อม ตามแนวประธานเหมา คือ การสร้างความปรองดองครั้งใหญ่ของชาติ

3. ยุคของพลเอกเปรม ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คือ ยุคที่ต้องฟันฝ่าวิกฤติโลกที่เกิดจากการรวมตัวของโอเปค ขึ้นราคาน้ำมัน ต้องซื้อสดล่วงหน้า

เกิดขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้า ดุลงบประมาณ พังทั้งโลก 

แต่ไทยสามารถผ่านมาได้ ไม่เกิดวิกฤติ

4. พลเอกเปรม สามารถระดมคนดีทั้งแผ่นดินไปร่วมงาน ไม่มีคอรัปชั่น

ค้นพบแก๊สในอ่าวไทย เกิดโครงการอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เปโตรเคมี น้ำมัน เกิดอีสเทอร์นซีบอร์ด เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งสำคัญ อุตสาหกรรมขยายไปทั่วประเทศ เชื่อมโยงกันหมด เยี่ยมมาก

คือ การปฏิวัติอุตสากรรม

คนมาลงทุนกันมาก ยุคทองของการลงทุนจากต่างประเทศ

5. มีโครงการชนบทยากจนเกิดขึ้น ได้ผลมาก กระจายเงินไปต่างจังหวัด เริ่มยุคพุ่งความสนใจไปที่คนจน แม้เงินจะมีไม่มาก อยู่ระหว่างสงคราม

ผมออกไปทำงานอีสานยุคนี้แหละ (อุดมการณ์)

6. เป็นแปดปีของการรวมพลังคนทั้งโลก เข้าต่อสู้กับมหาอำนาจที่เข้ามาทางอินโดจีน

เป็นการต่อสู้ทางการทูตครั้งสำคัญที่สุดของไทย

เป็นปรากฎการณ์โลกตะลึง ทางการทูต เรียบร้อยอย่างที่เป็นปัจจุบัน

7.เป็นเวลาที่ระดมใจของคนไทยให้รักชาติบ้านเมือง ได้มากที่สุด 

คนเชื่อผู้นำครับ  

ราชการต่าง ๆ ก็เดินดี เดินกันด้วยหัวใจไทย กลัวเสียบ้านเสียเมือง

'ดร.ไตรรงค์' ชี้!! ระบอบที่เหมาะสุดสำหรับประเทศไทย ไม่ใช่ทั้งระบอบประชาธิปไตยและเผด็จการ

ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กในหัวข้อ 'ระบอบใดเหมาะที่สุดสำหรับประเทศไทย' ว่า...

#ระบอบใดเหมาะที่สุดสำหรับประเทศไทย (มันไม่ใช่ทั้งระบอบเผด็จการและระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์)

ในประวัติศาสตร์ของโลกนั้น มีหลายประเทศที่ต้องประสบปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศจนไม่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญขึ้นได้อย่างที่น่าจะเป็น

ตัวอย่างที่ดีก็คือประเทศฝรั่งเศส เพราะก่อนปี ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) ประเทศฝรั่งเศสมีรัฐธรรมนูญที่ให้สภานิติบัญญัติที่สมาชิกได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีแล้วให้ประธานาธิบดีเป็นคนแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เนื่องจากประเทศนี้ได้มีการจัดตั้งสมัชชาประชาชนเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในปี ค.ศ. 1870 โดยสมัชชามีมติให้ยกเลิกสถาบันกษัตริย์อันเป็นการยกเลิกแบบถอนรากถอนโคนอีกครั้งหนึ่งและเป็นครั้งสุดท้าย (ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1789 ที่ประชาชนเข้ายึดอำนาจการปกครองจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และทำการปลงพระชนม์พระองค์ด้วย)

แต่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ให้สภานิติบัญญัติเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศนั้น ได้ก่อให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันระหว่างนักการเมืองและพรรคการเมือง เพราะทุกคนต่างก็ต้องการเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ จึงต้องมีการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นเพื่อให้ได้อำนาจรัฐอยู่ในมือของพวกตน ใครที่ได้เป็นรัฐบาลก็จะไม่มีเวลามาวางแผนเพื่อความเจริญของประเทศในระยะยาวได้ เพราะจะถูกฝ่ายที่ไม่ได้เป็นรัฐบาลจ้องตีรวน สร้างความปั่นป่วนให้รัฐบาลไม่สามารถจะบริหารประเทศได้ด้วยความสะดวกทุกคน #ล้วนเห็นแก่ประโยชน์ของตนและพรรคของตนมากกว่าประโยชน์ของชาติ มีการเปลี่ยนขั้วการเมืองเพื่อให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้ต้องลาออกไป เพื่อกลุ่มใหม่จะได้ขึ้นเป็นรัฐบาลใหม่ รัฐบาลใหม่นี้ก็จะเจอปัญหาการถูกก่อกวน บ่อนทำลายเสถียรภาพในทุกวิถีทางอีกเหมือนเดิม จนกลายเป็น #วงจรอุบาทว์ ที่ไม่มีรัฐบาลใดสามารถจะมีเสถียรภาพบริหารชาติอยู่นานได้

จากข้อมูลพบว่าเพียงระยะเวลา 12 ปี นับย้อนหลังไปจาก ค.ศ. 1957 ประเทศฝรั่งเศสมีรัฐบาลถึง 20 ชุด หรือเฉลี่ยแล้วแต่ละชุดอยู่ในตำแหน่งได้ประมาณ 6 เดือนเท่านั้น (จากหนังสือ การเมืองในฝรั่งเศส เขียนโดย ศาสตราจารย์ พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย) จนทุกคนทุกพรรคได้มองเห็นความหายนะของชาติจึงได้ร่วมกันไปเชิญ วีรบุรุษฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 คือท่านจอมพล ชาร์ล เดอ โกล มาเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งภายในไม่ถึงปี นายกฯ คนใหม่ก็เสนอให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แล้วเสนอให้ประชาชนลงมติเห็นด้วยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญใหม่ของประเทศซึ่งได้มีการประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1958 และยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ด้วยรัฐธรรมนูญใหม่ที่ให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงจากประชาชนและมีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี แต่ประธานาธิบดีจะเป็นผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาลในการกำหนดนโยบายต่างประเทศและนโยบายด้านกลาโหม มีวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมและมีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเหล่านี้ทำให้เกิดความลงตัวรัฐบาลมีเสถียรภาพจนสามารถมีเวลาวางยุทธศาสตร์และนโยบายระยะยาวทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม จนเจริญมั่งคั่งอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ (รายละเอียดจะได้เล่าให้ฟังในโอกาสต่อไปเพราะมีหลายประเทศที่น่าพูดถึง เช่น นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และออสเตรีย เป็นต้น)

#ดูเขาแล้วลองย้อนดูตัวเราเองบ้างจะดีไหม?

ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2516 เรามีรัฐบาลเผด็จการโดยพวกคณะราษฎร์และผู้สืบทอดมรดก มากกว่ารัฐบาลประชาธิปไตย แต่ทุกรัฐบาลล้วนวุ่นวายอยู่กับการรักษาอำนาจของตน จึงไม่มีเวลาคิดเรื่องการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการคิดเรื่องอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศ ได้มาเริ่มทำกันค่อนข้างจะจริงจังก็สมัยของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปีพ.ศ. 2502 ซึ่งได้ปรับปรุงสำนักงานที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามให้มาเป็นสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ มีหน้าที่วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศไทยจึงได้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกคือแผนสำหรับ พ.ศ.2504-2509 (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี พ.ศ.2515)

ทั้งหมดที่เกิดขึ้นก็เป็นการกระทำตามคำแนะนำของที่ปรึกษาจากสหรัฐอเมริกา เพราะสหรัฐฯ ต้องการใช้ประเทศไทยเป็นด่านหน้าในการต่อสู้กับการขยายอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่กำลังโตวันโตคืนบนโลกอยู่ในขณะนั้น และเพื่อเป็นการตอบแทนกัน  จอมพล ป. และ จอมพล สฤษดิ์ ก็ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐอเมริกา ทั้งๆ ที่เป็นรัฐบาลเผด็จการ (อยากทราบความกระจ่างของรายละเอียดในเรื่องนี้ สามารถหาอ่านได้จากหนังสืออันทรงคุณค่าชื่อ “50ปีเศรษฐกิจไทย” ของคุณบรรยง พงษ์พานิช 2022, บริษัทภาพพิมพ์ จำกัด เป็นผู้พิมพ์จำหน่าย)

หลังจากมีการปฏิวัติใหญ่โดยประชาชนและนักศึกษาในปีพ.ศ.2516 จึงเริ่มมีการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นในสมัย ท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่หลังจากนั้นก็มีการสลับกันไปมาระหว่างรัฐบาลจากการเลือกตั้งและรัฐบาลจากการรัฐประหาร แต่ทั้งสองฝ่ายไม่มีใครคิดเรื่องยุทธศาสตร์ของประเทศกันเลย เพราะมัวยุ่งอยู่กับการประณามด่ามึงด่ากูกันว่า ใครเป็นรัฐบาลที่โกงบ้านกินเมืองมากกว่ากัน

ประเทศต้องรอจนถึง พ.ศ. 2523 จึงได้มีรัฐบาลที่เริ่มมีการวางยุทธศาสตร์และนโยบายระยะยาวเพื่อให้ชาติมีความรุ่งเรืองและมั่นคงในทางเศรษฐกิจกันอย่างจริงจัง

ในสมัยที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยการจัดให้มีท่าเรือน้ำลึกและเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุดและท่าเรือแหลมฉบังและเป็นนายกรัฐมนตรี คนแรกที่มีคำสั่งให้มีแบบแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมสำหรับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ต่อมาจนถึงปี พ.ศ.2561 ในสมัยของรัฐบาลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้มีการประกาศจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) พร้อมกับการมีการปรับปรุงพัฒนาระบบคมนาคมทุกชนิดให้เอื้อต่อความเจริญของประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้นตามแผนในยุทธศาสตร์ พูดได้เต็มปากว่าไม่เคยมีรัฐบาลใดๆ ในอดีตที่ได้สร้างความมั่นคงเช่นนี้ให้กับอนาคตของประเทศในทางเศรษฐกิจเหมือนรัฐบาลของ พล.อ.เปรม และรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์

ที่พูดมาทั้งหมดก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า ไม่ใช่ท่องแต่คาถาว่าประเทศต้องมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ต้องมีเสรีภาพที่สมบูรณ์ ต้องมีความเสมอภาคที่สมบูรณ์ ทุกอย่างต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แล้วจะทำให้ประเทศเจริญและมีเสถียรภาพ

'ครูธัญ' ชี้!! สังคมอย่าใช้อำนาจกดดัน 'ครูสาว' บูลลี่ 'ป๋าเปรม' ควรช่วยครูให้เข้าใจความหลากหลายทางเพศทั้งระบบ

(23 ธ.ค. 65) ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่มีครูท่านหนึ่งพูดถึง พล.อ.เปรม ในชั้นเรียนในฐานะตัวอย่างเมื่อพูดถึงการปกครองในระบอบอำนาจนิยมและมีการพาดพิงถึงประเด็นเรื่องเพศวิถี ตนเห็นว่าสิ่งที่ครูท่านนั้นตั้งข้อสังเกตในประเด็นเพศวิถีและข้อเท็จจริงบางอย่างเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์จริง และไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษา และขบวนการจัดตั้งของสื่อบางฝ่าย ที่ทำการล่าแม่มด กดดัน ลงโทษ ครูท่านนั้นอย่างไม่เป็นธรรม

ธัญวัจน์ กล่าวว่า การพูดถึง พล.อ.เปรม ในลักษณะอคติทางเพศเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และข้อเท็จจริงบางอย่างที่เป็นลักษณะเรื่องเล่านั้นควรมีการบอกนักเรียนก่อนทุกครั้งว่ายังไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ได้รับการพิสูจน์ แต่การแก้ปัญหาของกรณีนี้ควรเป็นการตักเตือน และอบรมทัศนคติครูเรื่องการเข้าใจความหลากหลายทางเพศทั้งระบบ ไม่ใช่ดำเนินการทางนิติสงคราม ทั้งทางกฎหมายและทางวินัย รวมทั้งใช้การกดดันทางสังคมอย่างการล่าแม่มดแบบที่บางฝ่ายกระทำอยู่ในปัจจุบัน

ธัญวัจน์ ตั้งคำถามว่า การที่มวลชนและสื่อบางฝ่ายหยิบยกกรณีนี้ขึ้นมาล่าแม่มดครูท่านนี้ เป็นเพราะต้องการให้ชั้นเรียนตระหนักถึงความเข้าใจความหลากหลายทางเพศจริง หรือเป็นไปเพื่อปิดปากทุกคนที่เห็นต่างจากตนเองกันแน่ ด้วยการกดดันให้ใช้กลไกอำนาจรัฐเข้าเล่นงาน

ถ้าผู้ที่ออกมาใช้โจมตีครูท่านนี้เห็นความสำคัญของการพิสูจน์ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ สิ่งที่เราควรส่งเสริมคือการเปิดให้ห้องเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทุกด้านและหักล้างกันด้วยเหตุผล ไม่ใช่การใช้อำนาจปิดปาก สร้างความกลัว และสถาปนาความจริงเพียงแบบเดียวในแบบที่ผู้มีอำนาจต้องการให้เชื่อ

และจากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ สั่งการ ผบ.ตร. ให้ดำเนินคดีการปลุกปั่นสร้างความแตกแยก เราอยากถามกลับไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ว่าใครกันแน่ที่กำลังสร้างความแตกแยกในสังคม ระหว่างครูคนหนึ่งที่สอนในชั้นเรียนกับสื่อและมวลชนที่ทำการล่าแม่มด เคลื่อนไหวกดดันให้ประเด็นนี้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง

การทำให้การศึกษาไทยมีอนาคต ต้องทำความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ ควบคู่กับการสอนประวัติศาสตร์ที่สร้างการถกเถียงไม่ใช่รับข้อมูลข้างเดียว แต่การล่าแม่มด กำจัดผู้เห็นต่างที่มีความเชื่อต่างจากตัวเอง และใช้อำนาจเข้าข่มขู่คุกคามมากกว่าความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้จะยิ่งปลูกฝังวัฒนธรรมอำนาจนิยมในโรงเรียน และจะยิ่งทำให้การศึกษาของชาติล้าหลัง ไม่ทันโลก

‘พลเอกเปรม ติณสูลานนท์’ รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ผู้นำคนไทยให้รู้จัก “ทดแทนคุณแผ่นดิน” 

จากเรื่องราวของครูสาวคนหนึ่งที่ให้ร้ายและบูลลี่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษและอดีตประธานองคมนตรี ผู้สร้างคุณประโยชน์นานัปการให้เกิดขึ้นกับแผ่นดินไทย ว่าเป็นผด็จการ (เผด็จการยังไง ? ) ปรักปรำเรื่องเพศสภาพ (ตามความเชื่อของครูคนนั้น)  และเรียกบ้านพักของท่านว่าเป็นฮาเร็ม (ซึ่งคุณเคยเข้าไปเห็นจริง ๆ เหรอ) เมื่อโดนกระแสก็ออกมาแก้ตัวว่าการสอนนี้เป็นไปตามหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการ ผมก็ไม่แน่ใจว่าหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการของครูสาวท่านนี้เป็นอย่างไร ซึ่งก็อาจจะเป็นความจริงของเจ้าหล่อน แต่ความจริงของผมไม่เหมือนของคุณครูท่านนี้เลยแม้แต่น้อย และความจริงของคนที่เขาศึกษามาอย่างถูกต้องจริง ๆ ก็คงไม่เหมือนคุณครูท่านนั้นเช่นกัน เอาล่ะผมจะเล่าข้อมูลของผมในบทความชิ้นนี้ล่ะ

ผมเกิดที่จังหวัดนครราชสีมา บ้านของผมอยู่หลังศาลากลางจังหวัดนครราชสีมาและตรงหลังศาลากลางมีอาคารหอประชุมอเนกประสงค์อาคารหนึ่งมีชื่อว่า “หอประชุม เปรม ติณสูลานนท์” ด้วยความเป็นเด็กขี้สงสัย ผมก็เริ่มสนใจชื่อของบุคคลท่านนี้ว่าเป็นใคร มีคุณูปการอะไรหนักหนาถึงได้นำชื่อมาตั้งเป็นอาคาร แล้วผมก็เริ่มหาข้อมูลที่ไม่ต้องรอใครมาสอนในห้องเรียนประวัติศาสตร์ 

ผมเริ่มต้นจากข้อมูลทั่วไปที่ทุกคนทราบเหมือนกันคือ ท่านเกิดที่สงขลา นามสกุล “ติณสูลานนท์” ได้รับพระราชทานมาจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 บิดาของท่านรับราชการ ชั้นประถมท่านเรียนโรงเรียนวัด มัธยมท่านเรียนที่โรงเรียนมหาวชิราวุธแล้วมาจบที่สวนกุหลาบวิทยาลัย ก่อนจะไปเรียนทหารเป็นนายร้อยเหล่า “ทหารม้า” เคยร่วมรบในสงครามอินโดจีน เคยรบในสมรภูมิเชียงตุง เติบโตในสายยานเกราะ จนติดยศ “พลตรี” ในตำแหน่ง ผบ. ศูนย์การทหารม้า ก่อนไปรับตำแหน่ง “แม่ทัพภาคที่ 2“  ดูแลภาคอีสาน ทหารที่เคยรับราชการเป็นลูกน้องของท่านจะรู้ว่าท่านมีความเด็ดขาด ชัดเจน เข้าขั้นดุ แต่ท่านรักลูกน้องของท่าน ดูแลกันเหมือนลูก ท่านแทนตัวท่านว่า “ป๋า” และเหล่าทหารก็เรียกท่านว่า “ป๋า” กันอย่างไม่กระดากปาก 

มาเรื่องการเมืองของ “ป๋า” กันบ้าง ท่านเข้าสู่การเมืองเพราะผู้บังคับบัญชาแท้ ๆ เพราะท่านเข้าสู่สภาตามตำแหน่งทางทหารในช่วง “เผด็จการ” แท้ ๆ อย่าง “จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์” และ “จอมพล ถนอม กิตติขจร” แล้วก็เข้าสู่วังวนแห่งการรัฐประหารอันมีปฐมเหตุมาจากการสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสนามหลวงในปี พ.ศ.2519 จาก "คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" ที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ซึ่งครั้งนั้น “ป๋า” เป็นแม่ทัพภาคที่ 2 และกระชับอำนาจอีกครั้งด้วยการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ในปี พ.ศ.2520 จากคณะเดิม โดย “ป๋าเปรม” ดำรงตำแหน่ง "ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก" ซึ่งเอาจริง ๆ ท่านก็ไม่เกี่ยวกับการรัฐประหารโดยตรงเลย แต่ทุกครั้งท่านก็ต้องดำเนินตามยุทธการเพราะมันคือ “หน้าที่ตามสายบังคับบัญชา” ของท่าน (จะว่าผมเข้าข้างท่านก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลนะครับ) 

ส่วนการขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของท่าน เกิดขึ้นด้วยฉันทามติของสภาโดยแท้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการยึดอำนาจแต่อย่างใด ซึ่งผมก็เชื่ออีกแหละว่าคุณครูท่านนั้นก็ไม่ได้อ่านมา และไม่ได้สอนเด็ก ๆ ในเรื่องนี้แน่ ๆ ที่สำคัญ “การเมือง” ในสมัยก่อนนั้นมันเข้มข้นมาก จนคนที่ไม่เข้าใจบริบทของยุคนั้นจริง ๆ ก็เป็นได้แค่ “เหลือบวิชาการ” ที่เอาเรื่องการเมืองมา ปะติดปะต่อแล้วเอามา “เล่า” แบบมั่ว ๆ แล้วบอกว่านี่คือหลักฐานทางวิชาการที่ได้ค้นคว้ามา การเมืองยุคนี้ที่ว่าเผ็ดร้อน ยุคก่อนเผ็ดกว่านี้เป็น 100 เท่า 

“ป๋าเปรม” ได้รับการยอมรับจากฝ่ายการเมืองในขณะนั้นเป็นอย่างมาก จนได้รับโอกาสก้าวสู่ตำแหน่งหลังจากที่ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ลาออกจากตำแหน่งกลางสภาผู้แทน ฯ หลังจากโดนซักฟอกและโจมตีในกรณีเพิ่มราคาค่าน้ำมันตามราคาตลาดโลก เมื่อวันที่  23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ก่อนที่จะมีการหยั่งเสียงจากสภาผู้แทนราษฏร โดยทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่าง “พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์” กับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยที่ประชุมรัฐสภาได้เลือก “พลเอกเปรม” เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ย้ำนะครับ “เลือกโดยที่ประชุมสภา” โดยได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 (มันเผด็จการตรงไหนวะ ?) 

สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกแถลงการณ์ถึงกรณีที่มีครูคนหนึ่งได้พาดพิงถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ด้วยข้อความเสียดสีเกลียดชัง โดยมีข้อความว่า

ตามที่ ได้มีการพาดพิงถึง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นั้น สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง ในฐานะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเป็นอดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดังนี้

1.พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร โดยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ลงมติให้ท่านมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนศรี โดยเป็นนายกรัฐมนตรีติดต่อกัน ยาวนานถึง 8 ปีเศษ และท่านได้ปฏิเสธการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคำว่า "ผมพอแล้ว" อันถือได้ว่าเป็นอมตวาจา ในสถาบันการเมืองของประเทศไทย

2. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นทหารนักประชาธิปไตย มิได้มีความคิดเป็นเผด็จการไม่ว่าในหนทางใด ๆ จะเห็นได้จากคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 ในการนำผู้มีอุดมการณ์ในทางตรงกันข้ามกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ให้มาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กลับเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ จวบจนปัจจุบัน

3.พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย ให้ดำรงตำแหน่ง องค์มนตรี และเป็นประธานองคมนตรี และเป็นรัฐบุรุษ ที่เป็นตัวอย่างแห่งความชื่อสัตย์ สุจริต ตลอดจนท่านถึงแก่อสัญกรรม

'โหรฟองสนาน' ชี้!! หาก 'ป๋าเปรม' รับใต้โต๊ะแค่ 1% คงไม่อยู่แค่บ้านสี่เสาเทเวศน์ "ท่านสร้างบ้านพันเสายังได้'

หลังจากเมื่อวันที่ (25 ธ.ค. 65) ทางสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า...

ตามที่ได้มีการพาดพิงถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นั้น สมาคมฯ ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง ในฐานะที่ พลเอกเปรม เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดังนี้...

1. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร โดยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรลงมติ ให้ท่านมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเป็นนายกรัฐมนตรีติดต่อกันยาวนานถึง 8 ปีเศษ และท่านได้ปฏิเสธการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคำว่า “ผมพอแล้ว” อันถือได้ว่าเป็นอมตวาจาในสถาบันการเมืองของประเทศไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top