Tuesday, 2 July 2024
ปวิน

'ปวิน' พอใจ ศาลญี่ปุ่นสั่งจำคุก 20 เดือน คนร้ายบุกบ้าน เจ้าตัวเชื่ออำนาจเก่าอยู่เบื้องหลัง เพราะไม่มีศัตรูในญี่ปุ่น

(8 มิ.ย) ศาลแขวงโตเกียว ออกคำพิพากษาจำคุก ทัตสึฮิโกะ ซาโตะ (Tatsuhiko Sato) ชายชาวญี่ปุ่นวัย 43 ปีในความผิดบุกเข้าบ้านที่กรุงโตเกียวของ รศ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการชาวไทยและเป็นคนร้ายคดีหมิ่นที่กำลังลี้ภัยอยู่ในญี่ปุ่นเวลานี้ เมื่อปี 2019 และทำร้ายร่างกาย โดยศาลแขวงโตเกียวตัดสินโทษจำคุกนาน 20 เดือนในเรือนจำ เจ้าตัวยืนยันเชื่อกลุ่มอำนาจเก่าอยู่เบื้องหลังยืนยันพอใจต่อคำตัดสิน

เอเอฟพีรายงานว่า ทัตสึฮิโกะ ซาโตะ (Tatsuhiko Sato) ชายชาวญี่ปุ่นวัย 43 ปีผู้ต้องหาคดีบุกทำร้ายนักวิชาการคนดังสายเสื้อแดง รศ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ล่าสุด (วันพุธ 8) พบว่า ศาลแขวงโตเกียวได้ออกคำพิพากษาลงโทษจำคุก 20 เดือนในเรือนจำ จากการที่บุกรุกเข้าบ้านผู้อื่นยามวิกาลและทำร้ายผู้เสียหายและอีกคนที่อยู่ด้านในด้วยการพ่นแก๊สน้ำตาใส่ อ้างอิงเวลาเกิดเหตุจากการให้สัมภาษณ์ของอาจารย์ปวินสำหรับสื่อไทยพบว่าเกิดขึ้นราวตี 4 ของวันนั้น 

สำหรับคดีนี้อัยการต้องการให้ศาลสั่งลงโทษจำคุกซาโตะในเรือนจำ 2 ปี

เจแปนไทม์สรายงานก่อนหน้าว่า ในการไต่สวนนัดแรกของศาลแขวงโตเกียวพบว่าคนร้ายยอมรับต่อข้อหาและกล่าวว่า การบุกรุกเข้าบ้านของผู้เสียหายที่กรุงโตเกียวเมื่อกรกฎาคม ปี 2019 นั้นเป็นไปตามคำสั่งของ “รุ่นพี่” โดยเขาใช้คำว่า “เซ็นไป” (senpai) แต่ปฎิเสธที่จะเปิดเผยต่อในรายละเอียดรวมไปถึงชื่อของผู้สั่งการรายนั้น

นักวิชาการเสื้อแดงกล่าวต่อศาลว่า เขายังคงมีชีวิตอยู่ในความกลัวต่อไป

อ้างอิงการรายงานจาก NHK อัยการญี่ปุ่นกล่าวต่อศาลว่า พบว่าซาโตะเคยไปดูลาดเลาที่บ้านพักมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ครั้ง

ขณะที่ รศ.ปวิน ได้กล่าวต่อศาลโดยชี้ให้เห็นว่า เขาไม่มีศัตรูอยู่ในญี่ปุ่นและการที่เขาเป็นผู้ทำลายขนบด้วยการเปิดการอภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับระบบสถาบันกษัตริย์ของไทยทำให้เขาเชื่อว่า รัฐบาลไทยอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในคดีบุกทำร้ายนี้

‘ปวิน’ เตือนกองเชียร์ชัชชาติ อย่าดันทุรังชมอย่างเดียว ชี้ ความล้มเหลวของผู้นำ ฟังแต่คำชม-หลีกเลี่ยงวิจารณ์

‘ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์’ เตือนถ้าจะตำหนิความไร้ความสามารถของผู้ว่าฯ ต้องตำหนิทั้งหมด ชี้มีแนวโน้มชัชชาติทำอะไรไม่มีใครตำหนิ หาทางแก้ตัว เตือนความล้มเหลวของผู้นำ ฟังแต่คำชม-หลีกเลี่ยงคำวิจารณ์

เมื่อวันที่ 8 ก.ย. นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต และผู้ต้องหาคดี 112 ซึ่งหลบหนีอยู่ในต่างประเทศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กถึงปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ในยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ว่า "หรือเราต้องยอมรับกันว่า ไม่ว่าใครขึ้นมาเป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานครก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น เราทำได้แค่ 2 อย่าง คือ ถ้าจะตำหนิความไร้ความสามารถของผู้ว่าฯ เราต้องตำหนิทั้งหมด ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นอัศวินหรือชัชชาติ

‘ปวิน’ ไม่เห็นด้วย ข้ออ้างต่างชาติซื้อที่ดินของไทย คือ การขายชาติ เสียอำนาจอธิปไตย ซัด เอาอะไรคิด ปัญญาอ่อน 

นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต และผู้ต้องหาคดี 112 ซึ่งหลบหนีอยู่ในต่างประเทศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Pavin Chachavalpongpun ว่า

“มันจะอะไรกันนักหนาเรื่องต่างชาติซื้อที่ดินของไทย อะไรคือการขายชาติ คือ เอาอะไรคิดว่า ต่างชาติถือครองที่ดินในไทยคือเราเสียอำนาจอธิปไตย ถ้าจะถึงขั้นนั้น คือแม่งต้องซื้อพื้นที่ขนาดใหญ่ เหมือนที่อเมริกาซื้ออลาสก้าจากรัสเซีย

‘รศ.ปวิน’ วิเคราะห์รอบด้านท่าที ‘เพื่อไทย’  ในวันที่คนไทยอยากหลุดจากเงารัฐประหาร 

‘รศ.ปวิน’ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเกียวโต วิเคราะห์พรรคเพื่อไทย แบบเจาะลึกถึงใจ เปิดมุมมอง กลยุทธ์การเมืองของพรรคการเมืองต่างๆ แลนด์สไลด์มีโอกาสสำเร็จ แต่อุปสรรคใหญ่ก็อยู่ที่ส่วนแบ่งคะแนนเสียงในกลุ่มตลาดเดียวกันอย่างพรรคก้าวไกล ขณะที่พรรคน้องใหม่ อย่างรวมไทยสร้างชาติ และพลังประชารัฐ ก็ไม่น้อยหน้า พร้อมแย่งชิงพื้นที่ได้ตลอดเวลา

เมื่อไม่นานมานี้ ‘รศ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์’ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเกียวโต ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกลยุทธ์ของพรรคเพื่อไทย ผ่านช่อง YouTube ‘NailName’ โดย ‘เนม รติศา วิเชียรพิทยา’ มีสาระสำคัญดังนี้...

>> เมื่อถามถึงโอกาสแลนด์สไลด์ของพรรคเพื่อไทย รศ.ปวิน มองว่า โอกาสของพรรคเพื่อไทย ที่จะชนะการเลือกตั้ง 66 แบบแลนด์สไลด์นั้น มีความเป็นไปได้มาก ประการแรก เนื่องจากเทรนด์ในการเลือกพรรคการเมืองของคนไทย ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยมีคุณทักษิณ ชินวัตร อยู่เบื้องหลัง มักจะมีผลต่อชัยชนะทุกการเลือกตั้ง สังเกตได้ว่าไม่ว่าจะจะเป็นการเลือกตั้งใด ที่โยงกับทักษิณ พรรคนั้นๆ ก็จะยังชนะมาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งก็คงเพราะนโยบายที่ค่อนข้างถูกจริตคนไทย

ประการต่อมา ตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 ก็ต้องบอกตามตรงว่าประเทศไทยยังไม่หลุดออกจากระบอบเดิมเลยมาเป็นระยะเวลาเกือบ 9 ปี ซึ่งเป็น 9 ปีที่โดนครอบด้วยระบอบรัฐประหาร หรือมองอีกมุมก็คือ ระบอบทักษิณหายไปจากเมืองไทยถึง 9 ปีแล้ว และนั่นก็เริ่มสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยทุกข์ระทมมาก ความรู้สึกของคนไทยหลายคน จึงโหยหาอยากจะก้าวออกจากระบอบการเมืองในปัจจุบัน และหวนกลับไปคว้าแนวทางการเมืองแบบของคุณทักษิณ นี่คือ 2 ประเด็นสำคัญ ที่จะทำให้พรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียงแบบแลนด์สไลด์

>> ขณะเดียวกันเมื่อถามถึงตัวแปรที่จะทำให้พรรคเพื่อไทยไม่แลนด์สไลด์ รศ.ปวิน ก็ได้ชี้ให้เห็น 2 ประเด็น

1.) เราไม่ควรประเมินค่า พรรคที่เกิดใหม่อย่าง รวมไทยสร้างชาติ และ พรรคพลังประชารัฐ ต่ำจนเกินไป เพราะถึงแม้รัฐบาลที่ผ่านมาจะทำความเจ็บช้ำใจให้กับคนไทยแค่ไหน แต่ก็จะยังมีคนไทยอีกส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเลือกพรรคเหล่านี้ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยังมีความกลัวในระบอบทักษิณอยู่

2.) การเกิดขึ้นของพรรคก้าวไกล ที่ผันตัวมาจากพรรคอนาคตใหม่ ก็ถือเป็นอีกตัวแปรสำคัญในการดึงคะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทยออกไป เหตุเพราะไม่มีพรรคไหนที่ชัดเจนเท่ากับพรรคก้าวไกล ซึ่งกำลังเดินตามตัวแปรที่หลายคนโหยหาการเปลี่ยนแปลงหลักของประเทศนี้ เช่น ความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมือง และการแก้ไข ม.112 ซึ่งก้าวไกลมีความแน่วแน่และชัดเจนกว่าพรรคอื่นๆ 

>> เมื่อถามว่าการเลือกเพื่อไทยให้แลนด์สไลด์ เพื่อให้เป็นไปตามหลัก Strategic Vote รศ.ปวิน มองว่า แน่นอนว่าการเลือกพรรคเพื่อไทยพรรคเดียว ซึ่งนำมาสู่สโลแกน แลนด์สไลด์ นั้น จะนำไปสู่ความเด็ดขาดทางรัฐบาลแบบพรรคไทยรักไทยที่เคยทำได้มาก่อน (One Party) ซึ่งมันจะทำให้ง่ายต่อการแก้ไข หรือปรับเปลี่ยนในรัฐสภา แต่ถ้า Vote ตามใจ โหวตกระจาย เช่น ชอบก้าวไกล ก็โหวตก้าวไกล โดยไม่สนใจในพรรคเพื่อไทยที่ถือเป็น Strategic Vote ในเชิงของพรรคที่โอกาสได้คะแนนเสียงมากที่สุดในครั้งนี้นั้น ก็มีความเป็นไปได้ว่าต่อให้พรรคเพื่อไทยจะได้เสียงมากกว่าพรรคอื่น แต่มันก็จะนำไปสู่การสร้างรัฐบาลและพรรคผสม ซึ่งมันตั้งรัฐบาลได้ก็จริง แต่เสถียรภาพก็จะง่อนแง่น ฉะนั้น สิ่งที่พรรคเพื่อไทยพยายามขายตอนนี้ จึงเป็นการขายความเชื่อมั่นที่ One Party จะเหมาะต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าง่ายขึ้น เรียกว่าต่อให้ใจคุณจะอยู่กับพรรคก้าวไกลก็ตาม แต่ถ้าไม่เลือกเพื่อไทย มันก็จะเกิดผลกระทบต่อ Strategicเป็นต้น 

>> อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึง Strategic Vote มีความจำเป็นกับประเทศไทยไหม รศ.ปวิน ย้ำชัดว่า ส่วนตัวผมไม่ซื้อ เพราะการมอบสิทธิของเราให้พรรคการเมืองหนึ่งไปแบบเบ็ดเสร็จ ผมไม่เชื่อว่าพรรคการเมืองนั้นๆ จะทำตามสิ่งที่เราต้องการ เช่น ถ้าผมอยากเห็นการแก้ไข 112 ผมก็อาจต้องโหวตให้ก้าวไกล เพราะผมไม่มั่นใจว่าอะไรจะการันตีว่า เพื่อไทยจะแก้ 112 ให้ เป็นต้น

นอกจากนี้ การให้อำนาจของประชาชนกับพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่ง โดยให้คุณค่าเขาสูงขนาดนั้น ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าเขามีคุณค่าที่จะได้รับเสียงขนาดนั้นอย่างนั้นหรือไม่? มันเหมือนเราควรเอาไข่ทั้งหมดใส่ตะกร้าใบเดียวเช่นนั้นหรือ พูดง่ายๆ ก็คือ ผมไม่คิดว่ามันมีพรรคการเมืองแบบนั้น พรรคการเมืองแบบที่พร้อมตอบสนองเสียงของผู้คนในเมืองไทย จนนำไปสู่ความทุ่มเทที่จะต้องก้าวไปสู่ Strategic Vote 

แน่นอนว่า อาจจะมีบางมุมบอกกับผมว่า ถ้าไม่เลือกแบบ Strategic Vote ไม่เลือกเพื่อไทยให้แลนด์สไลด์ แล้วทหารจะกลับมานั้น ผมก็คงต้องถามกลับไปว่า แล้วถ้าเพื่อไทยแลนด์สไลด์เข้ามา จะแก้ปัญหาก่อนหน้าทั้งหมดได้หรือไม่ ปัญหาการจับตัวเยาวชน / ปัญหาการจับกุมเด็กอายุ 14 / ปัญหาการชุมนุมในที่สาธารณะ หรือปัญหาในการไม่มีสิทธิพูดเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ จะหมดไปงั้นหรือ จะแก้ไขได้หรือ บางอย่างอาจจะได้ เช่น ปากท้อง ค่าไฟ เศรษฐกิจ แต่ผมถามนะว่า นี่คือ ปัญหาโดดเด่นของเมืองไทยจริงหรือเปล่า ซึ่งผมออกมานอกไทย ผมมองเห็น แล้วผมเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยก็จะไม่แก้ปัญหาที่แท้จริงเหล่านั้น

>> เมื่อถามถึงท่าทีในการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของพรรคเพื่อไทยในช่วงที่ผ่านมา รศ.ปวิน วิเคราะห์ว่า การที่พรรคเพื่อไทยยังไม่แสดงออกถึงจุดยืนในการร่วมรัฐบาล หรือไม่พูดว่าจะจับมือ ไม่จับมือกับพรรคใด ทั้งที่เรื่องบางเรื่องมันไม่ต้องดูรายละเอียด จนถึงขั้นต้องไปอ้างเสียงประชาชนนั้น มันก็คือการสร้างช่องว่างเพื่อเอื้อต่อการดีลกันฉากหลังทางการเมือง ผมบอกเลยว่าการเมืองไทย ก็คือการเมืองไทย ต่อให้คนละขั้วแค่ไหน แต่เมื่อมาถึงจุดที่ Critical เขาก็พร้อมดีลกันหลังไมค์ แต่ที่ไม่ดีลทันที ก็เพราะอาจจะไม่เวิร์ก หรือทิศทางประชาชนเปลี่ยน พรรคก็ต้องปรับแนวทางมาโน้มเอียงฟากประชาชน เช่น กรณีเพื่อไทยไม่เคลียร์ว่าจะเอาประวิตรหรือไม่เอา? พอกระแสหนักเข้า เพื่อไทยก็ต้องแสดงจุดยืน เช่น ไม่จับมือโดยทันที ก็เท่านั้นเอง แต่หลังจากนั้นบอกไม่ได้ เพราะคนพูดมีหลายคน คนนึงในพรรคเพื่อไทยพูดแบบนึง อีกคนพูดแบบนึง มันก็เป็นเรื่องของการเผื่อเหลือเผื่อขาดในการดีล ซึ่งท้ายสุดมันก็เป็นการเมือง ไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปประณามอะไร เป็นเทคนิคในการอยู่รอดของพรรคการเมือง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top