Saturday, 29 June 2024
ประหารชีวิต

15 ตุลาคม พ.ศ.2460 ฝรั่งเศสประหารชีวิต ‘มาตา ฮารี’ นางระบำชาวดัตช์ ข้อหาสายลับสองหน้า

วันนี้เมื่อ 105 ปีก่อน มาตา ฮารี (Mata Hari) นางระบำชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้แฝงตัวเป็นจารชนสองหน้าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกฝรั่งเศสประหารชีวิต 

มาตา ฮารี มีนามจริงว่า มาร์กาเรเท เกอร์ทรูด เซลเล (Margaretha Geertruida Zelle) เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2419 ที่เมืองลีวาร์เดน (Leeuwarden) จังหวัดฟรีส์แลนด์ (Friesland) ตอนอายุ 15 ปีมารดาเสียชีวิต บิดากลายเป็นบุคคลล้มละลาย เธอแต่งงานกับทหารเรือตอนอายุ 18 ปี 

ภายหลังต้องย้ายตามสามีไปประจำการที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย และมีลูกด้วยกันสองคน ที่นี่เธอได้ศึกษาการร่ายรำศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู จากวัดในเกาะชวา แล้วพัฒนาลีลาเป็นของตนเอง โดยร่ายรำม้วนลำตัวแสดงลักษณะความเป็นหญิง ในลักษณะคล้ายคลึงกับระบำหน้าท้อง เธออธิบายการเต้นรำของตัวเองว่าเป็น 'บทกวีอันศักดิ์สิทธิ์ โดยการเคลื่อนไหวแต่ละลีลาเป็นเสมือนคำที่ขีดเส้นใต้ไว้ด้วยดนตรี'

ปี 2446 เธอกับครอบครัวเดินทางกลับเนเธอร์แลนด์ เธอหย่ากับสามีแล้วย้ายไปยังกรุงปารีส ฝรั่งเศส ทำงานในคณะละครสัตว์ และเป็นนางแบบให้จิตรกรเขียนภาพ 

ปี 2448 เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากลีลาการเต้นที่พัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งเรียกว่า 'ระบำแห่งโอเรียนต์' (Oriental-style Dancer) จากนั้นก็เปลี่ยนชื่อเป็น 'มาตา ฮารี' ซึ่งเป็นภาษาอินโดนีเซียแปลว่า 'ดวงตาแห่งวัน' หรือ 'ดวงตาวัน' คืนหนึ่งเธอได้เปิดแสดงที่พิพิธภัณฑ์กุยเมต์ (Guimet Museum) ส่งผลให้เธอโด่งดังในชั่วข้ามคืน ด้วยลีลาการเต้นที่แสนยั่วยวน มีเสน่ห์ ลึกลับ น่าหลงไหล (exotic) 

17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ประหารชีวิต ‘ชิต - บุศย์ - เฉลียว’ จำเลยคดีสวรรคต ในหลวง ร.8

วันนี้ เมื่อ 68 ปีที่แล้ว 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ศาลฎีกาได้พิพากษา ลงโทษประหารชีวิต เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนีย์ และบุศย์ ปัทมศริน จำเลยในคดีประทุษร้ายต่อสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ เรือนจำกลางบางขวาง

ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง เป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ

จากเหตุการณ์ที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตอย่างมีเงื่อนงำ ด้วยพระแสงปืน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9.20 น. บนชั้นสอง พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง

สภาพพระศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว) ข้างพระศพมีปืนพกโคลต์ตกอยู่ชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ในช่วงแรกมีการรบกวนพระบรมศพทำให้การพิสูจน์เกิดปัญหา ความเห็นของแพทย์ผู้ชันสูตรเกือบสามในสี่ลงมติเป็นการลอบปลงพระชนม์

'บิ๊กก้อง' มั่นใจหลักฐานมัดแน่น 'กำนันนก' สั่งฆ่า ‘สารวัตรสิว' ไม่หวั่นแม้กล้องวงจรปิดกู้ไม่ครบ หลักฐานตอนนี้แน่นหนาพอ

(16 ก.ย.66) ภายหลัง พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. เดินทางกลับถึงประเทศไทยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้เปิดเผยความคืบหน้าคดีนายประวีณ จันทร์คล้าย หรือกำนันนก ว่า แม้ตัวนายประวีณจะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ แต่แนวทางสืบสวนก็ยังคงดำเนินต่อไป เพื่อสืบหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมเอาผิดนายประวีณให้ได้มากที่สุด เพราะเป็นการกระทำที่อุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง

พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีกล้องวงจรปิดที่ยังกู้ได้ไม่ครบนั้น ยืนยันว่าไม่ได้หนักใจแต่อย่างใด เพราะจากพยานหลักฐานที่มีอยู่ในขณะนี้ก็ถือว่าแน่นหนาพอที่จะบ่งชี้ได้ว่า นายประวีณ คือผู้สั่งการให้ นายธนัญชัย หมั่นมาก หรือ หน่อง ก่อเหตุยิง พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว สว.กก.2 บก.ทล.ได้ โดยเฉพาะคำให้การของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ พยานแวดล้อม ที่ไปที่มาของอาวุธปืน พฤติกรรมการทำลายหลักฐาน หรือเจตนาของผู้ก่อเหตุ รวมไปถึงมูลเหตุแรงจูงใจ และพยานอื่นๆอีกมากมาย ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญทางคดี ที่สามารถทำให้นายประวีณ ต้องได้รับโทษสูงสุด คือ ‘ประหารชีวิต’ ได้ 

นอกจากนี้ตนยังได้สั่งการให้ชุดคลี่คลายคดีเร่งขยายผลตรวจสอบเครือข่ายธุรกิจของนายประวีณอย่างละเอียด ทุกกิจการ ว่า เกี่ยวข้องกับการฮั้วประมูลโครงการก่อสร้างต่างๆ หรือ เสียภาษีถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมายหรือไม่ รวมไปถึงตรวจสอบทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดว่ามีที่ไปที่มาอย่างไร ซึ่งขณะนี้พอมีข้อมูลพยานหลักฐานบ้างแล้ว คงต้องใช้เวลาตรวจสอบหรือขยายผลอีกระยะข้อเท็จจริงก็จะกระจ่างชัด 

'ญี่ปุ่น' ตัดสินประหารชีวิตหนุ่มวัย 21 คดีแรกหลังแก้กม.เยาวชน ก่อเหตุแทงพ่อแม่สาวที่แอบชอบดับ ก่อนเผาบ้านและไม่สำนึกผิด

(19 ม.ค. 67) สำนักข่าว Kyodo News ของญี่ปุ่น รายงานว่า ศาลญี่ปุ่น ได้ตัดสินประหารชีวิตนายยูกิ เอนโดะ วัย 21 ปี หลังก่อเหตุแทงพ่อแม่ของสาวที่ชอบจนเสียชีวิต และยังเผาบ้านของสาวคนดังกล่าว ที่เมืองโคฟู จังหวัดยามานาชิ ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น โดยเป็นคดีแรกที่ตัดสินโทษประหารชีวิตแก่ผู้กระทำผิดที่ในขณะที่ก่อเหตุเป็นผู้เยาว์ นับตั้งแต่มีการแก้กฎหมายเยาวชน ปรับลดอายุบรรลุนิติภาวะเมื่อปี 2022

ข่าวระบุว่า ตามกฎหมายเดิมของญี่ปุ่น ผู้ที่จะถูกระบุว่าเป็นเยาวชนจะต้องอายุน้อยกว่า 20 ปีลงไป แต่เมื่อเดือนเมษายน 2022 ได้มีการปรับแก้กฎหมายใหม่ กำหนดอายุของเยาวชนไว้ว่า อายุ 18 ปีลงไป ทำให้นายเอนโดะซึ่งขณะก่อเหตุอายุ 19 ปี ไม่ได้ถูกระบุว่าเป็นเยาวชนแล้ว

นายจุน มิคามิ หัวหน้าคณะผู้พิพากษาศาลแขวงโคฟุ ได้ตัดสินประหารชีวิตนายเอนโดะ และว่า นายเอนโดะจะต้องรับโทษความผิดทางอาญา โดยอายุของเขาไม่ใช่เหตุผลที่จะหลีกเลี่ยงต่อการรับโทษประหารแต่อย่างใด

ทั้งนี้ นายเอนโด ได้แทงพ่อแม่ของสาวที่แอบชื่นชอบ จนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 64 (2021) และยังทำร้ายน้องสาวของสาวที่แอบชอบจนได้รับบาดเจ็บ ก่อนจุดไฟเผาบ้านของหญิงสาว โดยที่ตัวหญิงสาวที่นายเอนโดะแอบชอบไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด

โดยนายเอนโดะ ให้การระหว่างการพิจารณาคดีว่า เขาชื่นชอบนักเรียนหญิงคนหนึ่งที่เรียนโรงเรียนเดียวกัน แต่สาวคนดังกล่าวไม่ยอมออกเดตด้วย ทำให้เขารู้สึกสิ้นหวัง และโมโห นอกจากนี้ ตัวนายเอนโดะ ยังบอกด้วยว่า ตัวเขาเองมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับพ่อแม่ของตัวเอ

อย่างไรก็ตาม ตลอดการพิจารณาคดี นายเอนโดไม่ได้กล่าวคำขอโทษต่อการกระทำของตัวเองแต่อย่างใด และปฏิเสธที่จะยื่นเรื่องอุทธรณ์คำตัดสิน โดยบอกว่า ไม่อยากกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ อีกแล้ว

ทั้งนี้ แม้กฎหมายเยาวชนของญี่ปุ่นจะมีการแก้ไขเมื่อปี 65 (2022) ลดอายุของผู้ที่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย จากเดิมคือตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เป็น 18 ปีขึ้นไป แต่ผู้ที่อายุ 18 และ 19 ปี ยังคงได้รับการคุ้มครองอยู่ เพียงแต่จะได้รับการดูแลที่ต่างจากผู้ที่อายุ 17 ปีลงไป และยังอนุญาตให้สื่อสามารถเปิดเผยชื่อของจำเลยที่อายุ 18-19 ปีได้ เมื่อถูกดำเนินคดีแล้วเท่านั้น

‘ศาลจีน’ สั่งประหารชีวิต ‘ไป๋ เทียนฮุย’ อดีตผู้จัดการใหญ่สถาบันการเงิน ฐานรับสินบน 1.1 พันล้านหยวน ตามบรรทัดฐาน รบ.จีน ‘โกง=ประหาร’

ศาลนครเทียนจินได้อ่านคำตัดสิน พิพากษาประหารชีวิต ‘ไป๋ เทียนฮุย’ อดีตผู้จัดการใหญ่บริษัท China Huarong International Holdings หนึ่งในสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของรัฐบาลจีน ด้วยข้อหารับสินบนก้อนโตถึง 1.1 พันล้านหยวน (ประมาณ 5.5 พันล้านบาท) 

‘ไป๋ เทียนฮุย’ เคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปให้กับ Huarong Asset Management ที่เป็นบริษัทจัดการหนี้เสียในเครือ China Huarong และได้ถูกตัดสินว่ากระทำผิดจริงในข้อหารับสินบน โดยใช้ตำแหน่งหน้าที่การงานของเขาในการแอบอ้าง รับผลประโยชน์และข้อเสนอพิเศษจากการซื้อ-ขายโครงการก่อสร้างต่าง ๆ และการจัดหาเงินทุนให้กับองค์กร นับรวมมูลค่าเงินสินบนที่เขาได้รับนั้นสูงถึง 1.1 พันล้านหยวน 

และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการไต่สวนคดีทุจริตของผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง China Huarong 

ย้อนกลับไปในปี 2018 มีข่าวการจับกุม ‘ไล่ เสี่ยวหมิน’ ประธานใหญ่ของบริษัท Huarong Asset Management ในข้อหารับสินบน ฉ้อโกง และ คบชู้ มาแล้ว

และหลังจากตรวจค้นอพาร์ตเมนต์หรูของ ‘ไล่ เสี่ยวหมิน’ ในกรุงปักกิ่ง ตำรวจจีนพบเงินสดกว่า 200 ล้านหยวนซุกอยู่ในตู้กับข้าว นอกจากนี้ยังพบว่า เขาได้ซุกซ่อนทองคำแท่ง รถหรู สินค้าแบรนด์เนม และเงินสดในธนาคารโดยใช้บัญชีชื่อแม่ของเขามากถึง 100 ล้านหยวน 

และได้กระจายทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ให้กับภรรยาเก็บที่เขาเคยมีสัมพันธ์ด้วยถึง 100 คน ที่ทำให้ประธานใหญ่ของสถาบันการเงินฉาวแห่งนี้ถูกตัดสินประหารชีวิต ด้วยข้อหาทุจริต รับสินบนรวมมูลค่าถึง 1.79 พันล้านหยวนในช่วงเวลา 10 ปีที่เขาดำรงตำแหน่ง พ่วงด้วยข้อหาคบชู้กับหญิงสาวจำนวนมาก

ไล่ เสี่ยวหมิน ถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2021 หลังจากที่ศาลเทียนจินตัดสินคดีเขาถึงที่สุดเพียง 24 วัน

คดีของ ไล่ เสี่ยวหมิน และ การทุจริต China Huarong เป็นหนึ่งในนโยบายปราบปรามการคอร์รัปชันในแวดวงธุรกิจการเงินของ สี จิ้นผิง ผู้นำจีน ที่มักถูกมองเป็นแวดวงของกลุ่มผู้มีอิทธิพลสูงในรัฐบาลจีน 

ซึ่งแผนการปราบโกงในแวดวงกลุ่มคนธนาคารก็มีทั้งผู้สนับสนุนให้รัฐบาลจีนกวาดล้างการคอร์รัปชันในระบบให้เด็ดขาด และกลุ่มผู้ต่อต้าน ที่มองว่า ‘สี จิ้นผิง’ ใช้นโยบายปราบโกงเป็นเครื่องมือประหารขั้วตรงข้ามทางการเมืองของเขา 

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม พายุในแวดวงสถาบันการเงินจีนยังไม่จบง่าย ๆ เมื่อทางการจีนได้ออกหมายจับกุม ‘ไป๋ เทียนฮุย’ อดีตผู้จัดการใหญ่ของ China Huarong ด้วยข้อหาทุจริต รับสินบนในวงเงินระดับพันล้านหยวนเช่นกัน และได้ถูกตัดสิน ณ ศาลของนครเทียนจินด้วยโทษประหารชีวิต ไม่ต่างจากคดีของประธานบริษัทเมื่อ 3 ปีก่อน 

นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหารสถาบันการเงินจีน ที่ถูกดำเนินคดีทุจริตอีกหลายคนในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน อาทิ หลิว เหลียงเก๋อ ประธานธนาคาร Bank of China ที่ออกมารับสารภาพหลังถูกสอบสวนว่าเขาเคยรับสินบน และปล่อยสินเชื่ออย่างผิดกฎหมาย และล่าสุด ‘หลี เสี่ยงเผิง’ ประธานใหญ่บริษัท Everbright Group ก็กำลังถูกสอบสวนดำเนินคดีจากการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรงหลายข้อหาอยู่ในขณะนี้ 

ด้านผู้นำระดับสูงในคณะรัฐบาลจีนได้ประกาศในที่ประชุมโปลิตบูโร เมื่อวันจันทร์ (27 พ.ค. 67) ที่ผ่านมาว่า เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านการเงิน ผู้ที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างซื่อตรง ต้องถูกตรวจสอบ และ ถูกลงโทษอย่างรุนแรง 

และกลายเป็นบรรทัดฐานในระบบยุติธรรมจีนว่า ‘โกง = ประหาร’ ที่ดำเนินการอย่างรวดเร็ว เด็ดขาด และน่าพรั่นพรึงอย่างยิ่งในสายตาคนนอกประเทศ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top