Sunday, 11 May 2025
ทรอตสกี้

‘นพดล’ มั่นใจมีข้อสรุปและทางออก เรื่องประธานสภาฯ ยันได้ข้อยุติในวงเพื่อไทย 27 มิ.ย.นี้ เชื่อประชาชนไม่ผิดหวัง

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 26 มิ.ย.2566 ที่รัฐสภา นายนพดล ปัทมะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้ารายงานตัวต่อสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถึงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่มีข่าวว่ายังไม่สามารถเจรจาให้เป็นไปตามแนวทางที่ตัวแทนพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย เจรจาร่วมกันได้ว่า มั่นใจว่าจะหาข้อสรุป และทางออกแน่นอน

ทางออกมี 2 ทาง คือ เป็นของพรรคก้าวไกล หรือของพรรคเพื่อไทยเท่านั้น ดังนั้น คณะเจรจา รวมทั้งท่าที ส.ส.พรรคเพื่อไทย คงพูดคุย เชื่อว่ามีทางออกที่ดีกับประชาชน ซึ่งจะไม่กระทบต่อความมุ่งมั่นในการตั้งรัฐบาล 8 พรรค

“กรณีแสดงความเห็นที่หลากหลายในพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นปกติของพรรคและนักการเมมือง จะให้ทุกคนเห็นตรงกันไม่ง่าย แต่วันที่ 27 มิ.ย.นี้ที่หารือในในพรรค จะมีข้อยุติที่เป็นประโยชน์ทุกฝ่าย โดยพรรคเพื่อไทยคิดเสมอว่าต้องไม่ทำให้ประชาชนผิดหวัง ข้อสรุปที่ได้จะเอื้อต่อการร่วมรัฐบาลกันต่อไป ผมมั่นใจว่ามีทางออกที่ดี จะไม่มีปัญหาที่ประชาชนฟังแล้วผิดหวังและลดทอนความคาดหวังของรัฐบาล 8 พรรค” นายนพดล กล่าว

เมื่อถามถึงท่าทีของส.ว.ที่ชัดเจนอย่างมากจะไม่โหวตให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดดนายกฯ พรรคก้าวไกลเป็นนายกฯ กังวลว่าจะทำให้นายพิธาไม่ได้เสียงที่เพียงพอหรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า ตนไม่มีข้อมูลว่ามี ส.ว. ที่จะโหวต หรือไม่โหวตให้นายพิธาเท่าไร แต่ขณะนี้พรรคเพื่อไทยยังยึดมั่นสนับสนุนให้นายพิธา เป็นนายกฯ ส่วนเหตุอื่นจะเป็นอย่างไร หรือสถานการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร ขอให้รอดู

เมื่อถามว่าหากโหวตเลือกนายกฯ ไม่ได้ กังวลจะทำให้การจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้งล่าช้าหรือไม่ และพรรคเพื่อไทยมีแผนสำรองหรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า แน่นอนว่าการตั้งรัฐบาลล่าช้า มีผลกระทบทั้งในแง่ความมั่นใจจากนักลงทุนและไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ดังนั้น ทุกฝ่ายทราบดีว่าต้องตั้งรัฐบาลให้เร็วที่สุด 

“ขณะนี้พรรคเพื่อไทยไม่มีแผนสำรองในเรื่องดังกล่าว และยังยึดตามเอ็มโอยูที่ 8 พรรคร่วมลงนามร่วมกัน ผมมองว่าการจัดตั้งรัฐบาลให้เร็วที่สุด ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี นี่เรารอมาเดือนกว่าแล้ว” นายนพดล กล่าว

ของทรอตสกี้ กับความจริงอีกด้าน ของการปฏิวัติรัสเซีย เล่าโดย ‘รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย’

รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก เล่าถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ การปฏิวัติรัสเซีย โดยระบุว่า ...

ผมได้อ่านหนังสือ "ต้มข้ามศตวรรษ (เกี่ยวกับการปฏิวัติรัสเซีย)" ของ 'คนเล่านิทาน' (สำนักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ, 2559) ... มันเกี่ยวกับเบื้องหลังการปฏิวัติรัสเซีย ปี ค.ศ. 1917 ที่คนส่วนใหญ่ในโลกนี้ไม่เคยทราบมาก่อน

ฉากปฏิวัติบอลเชวิกอันเป็นฉากสำคัญที่มีผลต่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็น 'ละครลวงโลก'ที่เล่นกันข้ามเดือนข้ามปี มันเป็นการจับมือวางแผนร่วมกันของหลายพวกหลายฝ่าย
ละครลวงโลกเรื่องนี้ คงเล่นสำเร็จถึงขนาดนี้ไม่ได้ ถ้าไม่มีนายโรงตัวจริง ที่วางกลยุทธ์อย่างลึกซึ้ง เลือดเย็น ยาวนานและคอยชักใยทุกฝ่ายอย่างแนบเนียน

ผู้นำการปฏิวัติบอลเชวิกในปี 1917 ที่สำคัญคือ ทรอตสกี้กับเลนิน
ทรอตสกี้ (1879-1940) เป็นชาวยิวทั้งแท่ง มาจากครอบครัวมีอันจะกินที่เป็นเจ้าของที่ดินทางใต้ของยูเครน เขาอ่านหนังสือของมาร์กซ์และกลายเป็นสาวกลัทธิมาร์กซ์ตั้งแต่วัยรุ่น
ในวัยแค่ 18 ปี ทรอตสกี้ตัดสินใจเป็นนักปฏิวัติ เขาจึงมาคลุกคลีกับพวกสังคมนิยมชาวยิว ทรอตสกี้ถูกจับเข้าคุกช่วงสั้นๆหลายครั้ง เพราะวุ่นอยู่กับการปลุกระดมประท้วงของพวกกรรมกร
ในปี 1905 ทรอตสกี้กลับมาที่รัสเซีย เพื่อพยายามก่อการปฏิวัติขับไล่พระเจ้าซาร์ การปลุกระดมดำเนินอยู่หลายเดือนแต่ไม่สำเร็จ และทรอตสกี้ถูกจับเข้าคุกอีกครั้ง คราวนี้ทรอตสกี้ได้เจอตัวละครสำคัญในคุก คือ พาร์วุส (Alexander Parvus, 1867-1924) ซึ่งเป็นผู้กว้างขวางชาวยิวและมือเก๋าในการปลุกระดมมวลชนเป็นพาร์วุสนี่แหละ ที่แนะนำทรอตสกี้กับ เจค็อบ เอช ชิฟฟ์ (Jacob Henry Schiff, 1847-1920) นายธนาคารชาวอเมริกันเชื้อสายยิวผู้มั่งคั่ง ให้รู้จักกัน
คนหนึ่งอยากได้คนมาไล่พระเจ้าซาร์ (ชิฟฟ์) ส่วนอีกคน กำลังอยากไล่พระเจ้าซาร์ เพราะมองว่า "พระเจ้าซาร์คือที่มาทั้งหมดของปัญหาบ้านเมือง"  จึงอยากทำปฏิวัติตามฝันของตัวเอง (ทรอตสกี้)

เมื่อสมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ชิฟฟ์จึงตกลงอุดหนุนการปฏิวัติของทรอตสกี้ ด้วยทุน 20 ล้านเหรียญของบริษัท Khun, Loeb & Co 
หรือจริงๆก็คือเงินของรอธไชลด์ ที่ต้องการกำจัดพระเจ้าซาร์ จากเรื่องแหล่งน้ำมันที่บากูและเรื่องของชาวยิวในรัสเซีย
............
เดือนกันยายน ปี 1916 ประมาณหนึ่งปีก่อนการปฏิวัตบอลเชวิก ทรอตสกี้กำลังถูกไล่ให้ออกจากประเทศฝรั่งเศส สาเหตุจากบทความที่เขาเขียนลงในหนังสือพิมพ์ภาษารัสเซียที่ออกจำหน่ายในฝรั่งเศส ตำรวจฝรั่งเศสส่งตัวทรอตสกี้ออกนอกประเทศไปทางเขตแดนด้านประเทศสเปน
ที่สเปน ทรอตสกี้ถูกตำรวจคุมตัวที่มาดริด เขาถูกจับใส่ห้องขัง แต่เป็นห้องขังประเภทชั้นพิเศษ ที่เหมือนโรงแรมมากกว่าห้องขังทั่วไป

จากนั้นมีการส่งตัวทรอตสกี้มายังเมืองบาร์เซโลนา เพื่อลงเรือเดินสมุทรชื่อ Montserrat ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคมาขึ้นบกที่เมืองนิวยอร์ค ในวันที่ 13 มกราคม 1917
คนที่มารับทรอตสกี้และครอบครัวที่ท่าเรือ คือ Arthur Concors ผู้อำนวยการสมาคมช่วยเหลือชาวยิวที่เพิ่งเดินทางเข้าอเมริกา

ซึ่งชิฟฟ์เป็นกรรมการที่ปรึกษา ชิฟฟ์ตัองการเก็บตัวทรอตสกี้ก่อนเข้าฉากสำคัญที่รัสเซีย
ระหว่างที่อยู่ที่นิวยอร์ค ทรอตสกี้และครอบครัว พักอยู่ในอพาร์ตเมนต์ที่มีตู้เย็นและโทรศัพท์ ซึ่งถือว่าหรูหราฟุ่มเฟือยมากในสมัยเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน นอกจากนี้ทรอตสกี้และครอบครัวยังเดินทางไปมาในเมืองนิวยอร์คด้วยรถยนต์ที่มีคนขับรถประจำ
อพาร์ตเมนต์ที่ทรอตสกี้และครอบครัวไปพัก รวมทั้งรถและคนขับเป็นของดร.จูเลียส แฮมเมอร์ ที่อพยพมาจากรัสเซียและเป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์อเมริกาในเวลาต่อมา อาร์มันด์ลูกชายของจูเลียส คือประธานบริษัท Occidental Petroleum Corporation เป็นต่างชาติรายแรกที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลโซเวียต

ในวันที่  16 มีนาคม 1917  ได้เกิดเหตุการณ์ใหญ่ในรัสเซีย คือ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ถูกปฏิวัติให้ลงจากบัลลังก์โดยกลุ่มนักปฏิวัติที่นำโดยเคเรนสกี้ (Alexsandre Kerensky)
ในตอนนั้นทรอตสกี้ได้ให้สัมภาษณ์สื่อราวกับเป็นคนรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าว่า

(1) คณะบริหารที่ตั้งขึ้นมาทำหน้าที่แทนพระเจ้าซาร์ที่ถูกปฏิวัติไปนั้น ไม่ได้เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประชาชน หรือทำตามวัตถุประสงค์ของพวกที่ต้องการปฏิวัติ

(2) จึงเชื่อว่าคณะบริหารนี้คงอยู่ได้ไม่นาน เพื่อให้กลุ่มคนที่สามารถนำพารัสเซียไปสู่ "ความเป็นประชาธิปไตย" มาทำหน้าที่ต่อ

กลุ่มคนที่ทรอตสกี้เชื่อว่าสามารถนำพารัสเซียไปสู่ "ความเป็นประชาธิปไตย" ได้ คือ พวกบอลเชวิกและเมนเชวิกซึ่งเป็นกลุ่มนักปฏิวัติสังคมนิยมที่กำลังลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ และตอนนี้กำลังรีบเร่งเดินทางกลับรัสเซีย เพื่อรอจังหวะ "ทำการปฏิวัติซ้ำ"

ดังนั้นทรอตสกี้จึงเดินทางออกจากนิวยอร์กในวันที่ 26 มีนาคม 1917 ด้วยเรือเดินสมุทรชื่อ SS Kristainiafjord ทรอตสกี้ผ่านด่านตรวจเพื่อขึ้นเรือดังกล่าวด้วยพาสปอร์ตของอเมริกา

นอกจากนี้ทรอตสกี้ยังเดินทางมาพร้อมพรรคพวกอีกหลายคนเพื่อไปทำการปฏิวัติซ้ำที่รัสเซีย
ทรอตสกี้ถูกจับที่แคนาดาในเดือนเมษายน 1917 ที่เมืองฮาลิแฟกซ์ ตอนถูกจับทรอตสกี้พกเงินหนึ่งหมื่นเหรียญติดตัว

แต่หัวหน้าข่าวกรองอังกฤษได้กดดันให้ทางการแคนาดาปล่อยตัวทรอตสกี้เพื่อให้เดินทางกลับไปปฏิวัติซ้ำที่รัสเซียได้
หัวหน้าข่าวกรองอังกฤษคนนี้คือ เซอร์วิลเลียม ไวซ์แมน ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งของ Kuhn, Loeb & Co ของชิฟฟ์ หรือของรอธไชลด์ด้วย

ถ้าดูจากข้อมูลข้างต้น  จึงไม่แปลกที่เราจะตั้งคำถามว่า
ตกลง "การปฏิวัติรัสเซีย" ของทรอตสกี้ เขาทำการปฏิวัติตามอุดมการณ์ของตัวเอง หรือว่าทรอตสกี้เป็นแค่ผู้รับจ้างทำการปฏิวัติ

ในความเห็นของผม ทรอตสกี้น่าจะเล่นบทสองหน้า โดยที่หน้าหนึ่ง เขาทำการปฏิวัติสังคมนิยมตามความเชื่อทางอุดมการณ์ของเขาแต่ในอีกหน้าหนึ่ง ทรอตสกี้ก็ไม่ปฏิเสธที่จะรับเงินจากต่างชาติที่สนับสนุนการปฏิวัติของเขา ดังนั้นเราต้องถามต่อว่า ต่างชาติที่ว่าจ้างทรอตสกี้ให้ปฏิวัติซ้ำที่รัสเซียในปี 1917 เป็นใครและทำแบบนั้นไปเพื่ออะไร?

เดือนเมษายน 1917 ... เลนิน (1870-1924) และพวกอีก 32 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกบอลเชวิกกำลังเดินทางออกจากสวิตเซอร์แลนด์ ผ่านเยอรมันข้ามสวีเดน เพื่อเข้ารัสเซียไปร่วมกับทรอตสกี้เพื่อทำการปฏิวัติซ้ำให้สมบูรณ์ การผ่านด่านของพวกเลนินที่เยอรมันเรียบร้อยดี 

เพราะได้รับการเห็นชอบจากกองบัญชาการสูงสุดของเยอรมัน ซึ่งไม่ได้ผ่านการรับรู้จากพระเจ้าไกเซอร์ จักรพรรดิของเยอรมันผู้ซึ่งมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย
ดูเหมือนจะเป็นแผนของเยอรมันที่ต้องการให้กองทัพรัสเซียแตกแยก รวมตัวกันไม่ได้ จะได้ขจัดรัสเซียออกไปจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เลนินเป็นชาวรัสเซียที่มีเชื้อสายยิวหนึ่งส่วนสี่ เขาเป็นชาวลัทธิมาร์กซ์ และคิดจะแก้แค้นแทนพี่ชายของเขาที่ถูกแขวนคอ

เนื่องจากพี่ชายของเลนินมีส่วนในการวางแผนลอบสังหารพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ผู้เป็นปู่ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เลนินเป็นผู้นำพรรคบอลเชวิกที่คิดใช้ "นโยบายประชานิยม" เพื่อล้มรัฐบาลพระเจ้าซาร์ และนำลัทธิสังคมนิยมมาใช้ปกครองต่อ

ปี 1905 ขณะที่รัสเซียกำลังวุ่นวายอยู่กับการรบกับญี่ปุ่นและเป็นฝ่ายแพ้ 
เลนินกับทรอตสกี้ได้พยายามปลุกระดมชาวนาให้ต่อต้านพระเจ้าซาร์ แต่ไม่สำเร็จ สุดท้ายต้องหนีออกจากรัสเซียไปกบดานที่สวิสพาร์วุส "พ่อค้าการปฏิวัติ" ที่รู้จักกับทรอตสกี้ และแนะนำให้ทรอตสกี้รู้จักกับ ชิฟฟ์ ซึ่งเป็นคนของรอธไชลด์ที่สนับสนุนทรอตสกี้ให้ทำการปฏิวัติรัสเซียอยู่เบื้องหลังพาร์วุสก็ไปหาเลนินที่สวิส โดยพาร์วุสเป็นตัวกลางและตัวแทนของรัฐบาลเยอรมันให้การสนับสนุนเลนินเป็นจำนวน 10 ล้านเหรียญทอง เพื่อไปทำการปฏิวัติที่รัสเซีย

นี่คือความย้อนแย้งของเลนิน ผู้เป็นนักปฏิวัติ 'ขายชาติ' ที่รับเงินจากประเทศศัตรู (ตอนนั้นเยอรมันกำลังทำสงครามกับรัสเซีย) มาทำการปฏิวัติประเทศตนเอง
พาร์วุส (1867-1924) เป็นชาวยิวเต็มร้อย ที่คลั่งไคล้ฝักใฝ่การปฏิวัติมาตั้งแต่หนุ่ม พาร์วุสคนนี้แหละที่เป็นเจ้าทฤษฎีการปฏิวัติถาวร (permanent revolution) ที่ตอนหลังทรอตสกี้ยืมทฤษฎีนี้ไปใช้พาร์วุสใช้ชีวิตอยู่ในแถบยุโรปเป็นส่วนใหญ่ เขายังชีพด้วยการเป็นนายหน้าให้อังกฤษจัดหาอาวุธให้กรีกไปรบกับตุรกี เพื่อตัดกำลังจักรวรรดิออตโตมาน อาวุธที่พาร์วุสจัดหามานั้น มาจากบริษัท Vickers ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาวุธยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ โดยมีรอธไชลด์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

พาร์วุสร่วมงานกับรอธไชลด์ จึงทำให้เขามีเงินมากมาย ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เรียกได้ว่าเป็นนักปฏิวัติที่อู้ฟู่มั่งคั่งที่สุดในยุคนั้น วินสตัน เชอร์ชิล ได้พูดไว้ที่สภาของอังกฤษ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 1919 ว่า

"... เลนินถูกนำตัวมายังรัสเซีย เหมือนการนำเอาขวดแก้วที่ใส่เชื้ออหิวาห์เข้ามา เพื่อเอาไปเทใส่ในแหล่งน้ำให้มันแพร่กระจายไปทั่วเมือง และมันได้ผลดีอย่างมหัศจรรย์
....ทันทีที่เลนินถึงที่หมาย เลนินได้เรียกให้พวกหัวหน้าคอมมิวนิสต์ตามเมืองต่างๆมาอยู่รอบตัวเขาและรับคำบัญชาจากเขา จากนั้นเลนินก็เริ่มงานที่เป็น "การทำลายล้างทุกสถาบัน" ที่ประกอบเป็นรัสเซีย ที่รัสเซียยึดถืออยู่ จนแหลกละเอียดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ...." 

ชนชั้นนำอังกฤษที่เป็นจ้าวโลกตอนนั้นมองว่า ใครก็ตามที่มีอำนาจควบคุมเหนือรัสเซีย ผู้นั้นแหละ จะเป็นผู้ตัดสินหรือควบคุมบริเวณยูเรเซียอันกว้างใหญ่ และหมายความว่าจะเป็นผู้ควบคุมโลกใบนี้ในตอนนั้นอย่างสมบูรณ์ เพราะเหตุนี้แหละ อังกฤษจึงลงทุน "สร้างสงครามโลกครั้งที่ 1" เป้าหมายแรกเพื่อต้องการเขี่ยหรือกันท่าเยอรมันให้พ้นจากแหล่งน้ำมันในตะวันออกกลาง
ดังนั้นอังกฤษจึงต้องกวาดล้างเยอรมันและออตโตมานให้ราบคาบเสียก่อนในช่วงทำสงครามโลก

ครั้งที่ 1 ส่วนรัสเซียนั้น อังกฤษเตรียมจัดการในขั้นต่อไป แต่รัสเซียอยู่ในภูมิประเทศที่ทำลายยาก วิธีที่อังกฤษใช้จัดการกับรัสเซีย คือขั้นแรกหลอกรัสเซียให้มาอยู่ฝ่ายตนเสียก่อนตอนทำสงครามกับเยอรมัน หลังจากนั้นก็รอเวลาให้เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย โดยที่หน้าฉากเหมือนอังกฤษไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติรัสเซีย

แต่จริง ๆ แล้ว อังกฤษรู้ดีอยู่แล้วว่า มีคนจ้องจะปฏิวัติรัสเซีย อังกฤษแค่ปล่อยให้ "เชื้อโรคปฏิวัติ" เป็นผู้จัดการบ่อนทำลายรัสเซียเอง ซึ่งได้ผลกว่าเยอะ 

แต่ในอีกด้านหนึ่ง ดูเหมือนว่าตระกูลรอธไชลด์ของพวกนายทุนยิวจะอยู่เบื้องหลังแผนของอังกฤษอีกทีหนึ่ง

ปี ค.ศ. 1890 ...จักรภพอังกฤษ แม้จะเป็นเพียงเกาะเล็กๆ แต่ก็สร้างตนเองขึ้นมายิ่งใหญ่ได้ด้วยความฉลาด เจ้าเล่ห์ เหลี่ยมพราวและความชั่วร้ายจนโดดเด่น มีอำนาจทั้งในด้านการเมือง การทหาร และการค้า

ในช่วงที่ผ่านมาจนถึงตอนนั้น จักรภพอังกฤษได้แผ่อิทธิพลไปเกือบทั่วโลก ขนาดอ้างได้ว่าดวงอาทิตย์หาที่ตกในจักรภพอังกฤษไม่ได้

ด้วยเหตุนี้ อังกฤษจึงพยายามทำทุกวิถีทางที่จะรักษาความเป็นจ้าวโลกหรือความเป็นที่หนึ่ง เพื่อเอาโลกใบนี้ให้อยู่ในกำมือของตนเองตลอดกาล หรืออย่างน้อยก็ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
จะคุมโลกเอาไว้ในกำมือ อังกฤษต้องทำให้ตัวเองมีเสาหลักหรือมีอำนาจควบคุมใน 3 เรื่องคือ

(1) ควบคุมเส้นทางเดินเรือ
โดยใช้บริษัทประกันภัยหมายเลขหนึ่งของอังกฤษ ลอยด์ (Lloyd) ซึ่งมีเครือข่ายทั่วโลก บวกกับใช้เครือข่ายของธนาคารอังกฤษเป็นผู้วางกฏเกี่ยวกับการขนส่งทางเรือ บวกกับการใช้กองทัพเรือของอังกฤษทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันภัยให้กับเรือขนส่งสินค้าสัญชาติอังกฤษ โดยไม่ต้องทำประกันภัย ขณะที่คู่แข่งถูกบังคับให้ทำประกันภัยกับลอยด์

(2) การควบคุมระบบการเงินการธนาคาร
ทำให้เกิดระบบธนาคารกลางในอังกฤษ และที่สำคัญอังกฤษเป็นตัวการที่ทำให้เกิด Federal Reserve System ในอเมริกาในปี 1914  ... ที่สำคัญ Fed เป็นของเอกชน ไม่ใช่ของรัฐ และเป็นเอกชนไม่กี่ตระกูลที่ส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายของตระกูลรอธไชลด์ของฝั่งอังกฤษ และตระกูลร็อกกี้เฟลเบอร์และมอร์แกนของฝั่งอเมริกา Fed เป็นตัวการสำคัญในการชักใยการเงินโลกมาจนถึงทุกวันนี้ จะเห็นได้ว่าเสาหลักที่สองนี้มีอานุภาพรุนแรงและยาวนานอย่างไม่น่าเชื่อ
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับผู้ที่ต้องการเอาโลกไว้ในกำมือของตนเองตลอดไปในยุคปัจจุบันที่จะคิดค้นเงินดิจิตอล หรือ CBDC ออกมา

(3) การควบคุมหรือครอบครองทรัพยากร ที่เป็นผลต่อยุทธศาสตร์ของตน
ในยุคนั้นคือน้ำมัน ผ่านมาร้อยกว่าปีน้ำมันก็ยังมีความหมายและมีผลกับโลกนี้ทั้งใบ
น้ำมันเป็นของมีค่าสำหรับชาติมหาอำนาจที่ไม่อยากให้ชาติอื่นได้ไป จึงพร้อมที่จะสร้างเรื่องก่อสงคราม โดยไม่รู้สึกผิดและละอายแม้แต่น้อย

ตระกูลรอธไชลด์ เริ่มเข้าไปขุดเจาะน้ำมันที่บากูในอาเซอร์ไปจานของรัสเซียในปี 1880 รอชไชลด์มีโรงกลั่นน้ำมันในบากู ถึง 200 แห่งรอธไชลด์มีรากเหง้ามาจากยิว ไม่ได้แค่ไปขุดน้ำมันในรัสเซียเพียงลำพัง แต่ยังระดมขนญาติพี่น้องของตระกูลที่กระจายอยู่ในเมืองต่างๆของยุโรป เข้าไปค้าขายขยายธุรกิจอยู่ในรัสเซียด้วย  ... เป็นเรื่องที่สร้างความไม่พอใจให้แก่พระเจ้าซาร์นิโคลัสแห่งรัสเซียอย่างยิ่ง และพระองค์แสดงออกอย่างเปิดเผยว่าไม่ชอบยิว และไม่ชอบรอชไชด์

ในปี 1870 อุตสาหกรรมอังกฤษนำหน้าเยอรมันชนิดทิ้งห่างไม่เห็นฝุ่น แต่อีกสามสิบปีต่อมา อุตสาหกรรมเยอรมันโตขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกสาขาและต้องการน้ำมันเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของตน

ในปี 1912 เยอรมันได้สัมปทานจากรัฐบาลของออตโตมานสร้างทางรถไฟสายเบอร์ลิน-แบกแดด ซึ่งเป็นเส้นทางที่ผ่านแหล่งน้ำมันใหญ่ไปตลอดสาย ยาว 2,500 ไมล์ พร้อมให้สิทธิข้างทางกว้าง 20 กิโลเมตรยาวตลอดเส้นทางรถไฟซึ่งจะไปถึงโมซุล (อิรักในปัจจุบัน) ด้วย
มาถึงจุดนี้ อังกฤษเริ่มมองเยอรมันเป็นฝ่ายตรงข้าม เพราะสถานะของเยอรมันเริ่มคุกคามความเป็นจ้าวโลกของจักรภพอังกฤษ

อังกฤษจึงต้องวางแผนกำจัดเยอรมันและครอบครองแหล่งน้ำมันในตะวันออกกลางทั้งหมดแทน โดยไม่ให้เยอรมันมาแย่ง มาแบ่ง หรือมาขวาง 
วิธีเดียวที่จะทำให้อังกฤษได้ทั้งหมดตามที่ตัวเองต้องการคือ 
"ต้องสร้างสงครามขึ้นมา" ด้วยสงครามเท่านั้น ที่จะทำลายเยอรมันจนหมดสภาพ รวมทั้งทำลายอาณาจักรออตโตมาน (ตุรกีในปัจจุบัน) ที่หันไปคบกับเยอรมันที่กลายเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของอังกฤษไปแล้ว  

เพื่อการนี้ อังกฤษจึงต้องยุให้รัสเซียขัดแย้งทำสงครามกับเยอรมัน
แต่ในขณะเดียวกันก็มุ่งทำให้รัสเซียเกิดความแตกแยกภายในอย่างรุนแรง
3 อาณาจักรใหญ่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานอย่างออตโตมาน เยอรมัน และรัสเซีย จึงถูกอังกฤษวางแผนให้ล่มสลายผ่าน "การสร้างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง" ด้วยเหตุผลเดียวเท่านั้น คือ เพื่อให้จักรภพอังกฤษได้ครองความเป็นจ้าวโลกสืบต่อไปอีกนานเท่านาน

อังกฤษใช้ตระกูลรอชไชลด์เดินหมากเกมนี้
ตระกูลรอชไชลด์เป็นเพียงตระกูลพ่อค้าชาวยิวที่รวยล้นด้วยอำนาจทุน จึงสามารถสร้างเครือข่ายอำนาจได้ทั่วทุกแห่งทุกระดับ ถึงขนาดสามารถวางแผนบ่อนทำลายอาณาจักรใดก็ได้ในโลกใบนี้ ถ้าคิดจะทำตระกูลรอชไชลด์อาศัยเกิดในเยอรมันก็จริง รวมทั้งอยู่ในอังกฤษด้วย แต่รอชไชลด์เป็นพวกที่ไม่เคยนึกถึงสัญชาติและประเทศชาติ พวกรอชไชลด์รู้จักแต่การทำเงิน การทำกำไร และฉกฉวยโอกาสจากการทำสงครามและสร้างความวุ่นวายทางการเมืองเท่านั้น

เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน ในสมัยที่ตัวผมยังเป็นนักปฏิวัติและเคยอยู่ในขบวนการปฏิวัติไทย 
ทรอตสกี้คือ ฮีโร่ของผม 

ความสามารถที่หลากหลายของทรอตสกี้ ที่เป็นทั้งนักคิด นักเขียน นักกลยุทธ์ และนักเคลื่อนไหวอยู่ในตัวคนๆเดียว ทำให้ทรอตสกี้กลายเป็น "บุคคลต้นแบบ" สำหรับผมในตอนนั้น 
ก่อนที่ขบวนการการปฏิวัติไทยจะล่มสลาย และตัวผมได้พบเจอเรื่องราวของ 'มิยาโมโต้ มูซาชิ' และวิถีของเขาผ่านอมตะนิยายของเอจิ โยชิคาว่า

ในเวลาต่อมาผ่านมาสี่สิบปี ผมสามารถมองชีวิตและเส้นทางนักปฏิวัติของทรอตสกี้ด้วยสายตาที่กว้างไกลและลุ่มลึกกว่าเดิมการได้รับรู้ว่า ในที่สุดทรอตสกี้ก็ถูกพวกรอชไชลด์ยืมมือ หรือหลอกใช้ให้ทำลายประเทศของตนเองอย่างยับเยินไม่มีชิ้นดี ...เป็นอะไรที่น่าเจ็บปวดอย่างยิ่ง!!
การปฏิวัติรัสเซียจึงไม่เพียงเป็นผลพวงหรือผลพลอยได้จากสงครามโลกครั้งที่ 1 เท่านั้น ยังมีคนบงการในระดับ "คนคุมเกม หรือผู้กำหนดเกม" อย่างตระกูลรอธไชลด์มาชักใยอยู่เบื้องหลัง 
โดยที่เลนิน และทรอตสกี้ เป็นแค่หมากตัวหนึ่งในระดับ "ผู้เล่น" ที่ถูกชักใยบงการอยู่เบื้องหลังอย่างแยบยล

ขนาดเลนินกับทรอตสกี้เองก็ยังไม่รู้ตัวหรือได้สำนึกก่อนตายว่า ตัวเองถูกหลอกใช้!!
มายาคติที่ใหญ่ที่สุดของนักปฏิวัติอย่างเลนินและทรอตสกี้ คือยังหลงเชื่ออย่างมืดบอดจนวันตายว่า ...พวกตนกำลังทำการปฏิวัติและได้ "ปฏิวัติรัสเซีย" ล้มพระเจ้าซาร์เป็นผลสำเร็จ
แต่เปล่าเลย เพราะ "ระบอบสตาลิน" ที่ถือกำเนิดขึ้นมาหลังการปฏิวัติรัสเซียปี 1917 เป็นแค่อีกรูปแบบหนึ่งของการฟื้นตัวของจักรวรรดิรัสเซีย (โซเวียต) ในรูปรัฐอำนาจนิยมแบบรวมศูนย์เท่านั้นเอง

"พวกนักปฏิวัติรัสเซีย" ไม่มีทางโค่นสถาบันพระเจ้าซาร์ได้สำเร็จหรอก ถ้าพวกเขาไม่ขายชาติและชักศึกเข้าบ้าน!!

เบื้องหลังของความจริงของการปฏิวัติรัสเซีย กลับเป็นความพยายามดิ้นรนสุดชีวิตของจักรภพอังกฤษเพื่อรักษาความเป็นจ้าวโลกที่กำลังถูกท้าทายโดยขั้วอำนาจใหม่เท่านั้นเอง
สำหรับเมืองไทย การสานต่อภารกิจการปฏิวัติ 2475 ตามแนวทาง "การปฏิวัติถาวร" คือ ความละเมอเพ้อพก อย่างหนึ่ง

สุวินัย ภรณวลัย
Suvinai Pornavalai

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top