Saturday, 18 May 2024
ขยะ

‘ปตท.’ มุ่งต่อยอด ‘ขยะ’ สู่วัสดุทดแทนที่มีคุณค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - สอดคล้อง BCG Model

ปตท. มุ่งพัฒนาศักยภาพ 'ขยะ' ต่อยอดเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ร่วมขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ (BCG Model) ของประเทศไทย

จากวัสดุเหลือทิ้ง หรือ ‘ขยะ’ ที่ถูกมองข้าม ปตท. โดยทีมนักวิจัย จากสถาบันนวัตกรรม และ บริษัท เอช จี เนกซ์ จำกัด จับมือร่วมพัฒนาต่อยอดจนได้ทางออกที่สมบูรณ์ให้กับผู้ที่อยากเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นทรัพยากรทดแทนที่มีคุณค่า เติมเต็มช่องว่างของการค้นหาทรัพยากรใหม่ ๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดในปัจจุบัน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดพิธีเปิดงานนิทรรศการ ‘Waste is MORE’ โดยมี นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิดงานนิทรรศการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นให้เห็นถึงมิติของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านการพัฒนาศักยภาพของ ‘ขยะ’ ที่ถูกมองว่าไร้ค่า ให้กลายเป็นวัสดุทดแทนที่ ‘ไม่ไร้ค่า’ อีกต่อไป โดย ปตท. พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันศักยภาพของนวัตกรรมการวิจัย และการออกแบบของคนไทย ให้เติบโตไปแข่งขันในเวทีระดับโลก ทั้งยังคำนึงถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

อยากเป็น SMEs สีเขียว เริ่มต้นจากการ ‘ทิ้ง’ How to ทิ้ง? .. แค่แยก = ลด

-ขยะย่อยสลายได้
นำไปผลิตเป็นพลังงาน

-ขยะรีไซเคิล
นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง

-ขยะอันตราย
นำไปกำจัดให้ถูกวิธี เพื่อไม่ให้รั่วซึมลงแหล่งน้ำหรือชั้นผิวดิน

-ขยะทั่วไป
นำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ตามความเหมาะสมของแต่ละชุมชน

SMEs ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีได้โดยไม่ต้องลงทุน เริ่มต้นที่การแยกขยะในสำนักงาน และสำหรับสถานประกอบการ ขยะรีไซเคิลอาจไม่ใช่ขยะอีกต่อไป หลายกิจการมีรายได้จากการรีไซเคิลสิ่งที่เคยเห็นว่าเป็นขยะ

#THESTATESTIMES
#EconBiz
#GoodsVoice 
#NewsFeed
#ทำธุรกิจ
#ธุรกิจ
#ธุรกิจยุคใหม่
#แยกขยะ
#ขยะ

‘เจ้าของห้อง’ เดือด!! โพสต์เรื่องราวสาวโรงงานเลิกเช่าห้อง เปิดไปแทบช็อก ห้องมีแต่กองขยะเน่าเหม็น

(25 มี.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Puy Runpol โพสต์เรื่องราว และลงรูปภาพถ่ายห้องที่มีแต่กองขยะ โดย ระบุข้อความว่า ขออนุญาตพี่แมว แท็กนะคะ

'ปลอดประสพ' แนะแนวทางแก้ปัญหา 'ขยะ-กากอุตสาหกรรม' ลั่น!! ถ้าได้เป็น รบ. พร้อมเดินสายกำจัดขยะรอบ กทม.

(1 เม.ย.66) ปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม พรรคเพื่อไทย กล่าวบนเวทีทางออกปัญหามลพิษขยะอุตสาหกรรม ทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา ถึงปัญหาขยะและกากขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก โดยมุ่งใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในการควบคุม ใช้เทคโนโลยีในการติดตามตรวจสอบการจัดเก็บขยะกากอุตสาหกรรม และเน้นย้ำว่าส่วนมากการกำจัดขยะเหล่านี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของบ้านใหญ่รอบๆ กรุงเทพมหานครทั้งนั้น เพราะเกี่ยวพันการเมืองจึงแก้ไขไม่ได้ ถ้าพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลจะขอจองเดือนแรกเดินสายกำจัดขยะรอบกรุงเทพมหานครให้หมดสิ้น

ปลอดประสพ สุรัสวดี กล่าวว่า โรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกมีมากกว่า 70,000 โรงงาน ซึ่งผลิตขยะอุตสาหกรรมทุกวัน แต่เรามีโรงบำบัดหรือกำจัดแค่ 2,000 โรงเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ จึงเกิดปัญหาตามข่าวคือแอบเอาขยะไปทิ้ง เอาน้ำเสียสารมีพิษไปปล่อยกระจัดกระจายไปหมด แต่ก่อนเรายังมีกฎหมายผังเมืองคอยควบคุมขอบเขตการจัดตั้งโรงงานแต่เพราะมีคำสั่งของ คสช. ไปยกเลิกจึงทำให้กลุ่มโรงงานกระจัดกระจายออกไป ดังนั้น ต้องไปแก้คำสั่ง คสช. เป็นเบื้องแรก

นโยบายพรรคเพื่อไทย ยืนบนหลักชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนต้องมาก่อนสิ่งอื่น ดังนั้นอุตสาหกรรมต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้เป็น เซอร์คูลาร์อีโคโนมี (Circular Economy) หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน หลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนคือการมุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุด ลดปริมาณขยะให้เหลือน้อยที่สุด และสามารถบริหารจัดขยะ รีไซเคิลขยะนำกลับมาใช้ให้ได้มากที่สุด ต้องสามารถตรวจสอบขยะอันตรายย้อนหลังได้ว่าแหล่งที่มาจากไหน เคลื่อนย้ายไปเก็บพักกำจัดไว้ที่ใด และใครคือผู้รับผิดชอบ

‘ญี่ปุ่น’ สั่งปิดเส้นทางขึ้น ‘ภูเขาไฟฟูจิ’ ชั่วคราว หลังพบปัญหา ‘นักท่องเที่ยวล้น - ขยะเกลื่อน’

เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 66 ทางการท้องถิ่นจังหวัดยามานาชิของญี่ปุ่น ประกาศปิดเส้นทางขึ้นสู่ ภูเขาไฟฟูจิ เป็นการชั่วคราวไปจนถึงสิ้นปีนี้ เพื่อหวังควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยวที่แห่เดินทางที่นี่แน่นขนัด จนกลายเป็นปัญหาสภาพแวดล้อม จุดที่เป็นปัญหามากที่สุดจนต้องถูกสั่งปิด คือสถานีที่ 5 ของเส้นทางสายฟูจิซูบารุ ที่แล่นตรงจากโตเกียวสู่ภูเขาฟูจิ มีชื่อเล่นว่า ‘โกโกเมะ’ อยู่กึ่งกลางของเส้นทางจากพื้นเบื้องล่างสู่จุดสูงสุดของภูเขาฟูจิ สถานีที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลราว 2,300 เมตร เป็นจุดที่ต้องรับนักท่องเที่ยวมากที่สุด ราวร้อยละ 90% ของนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมภูเขาแห่งนี้

ผู้ว่าราชการจังหวัดยามานาชิบอกว่า ปัญหาที่ส่งผลกระทบมากที่สุด คือการทำความสะอาดห้องสุขาและการเก็บขยะที่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาด จากการมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาจำนวนมากจนเจ้าหน้าที่รับมือไม่ไหว ทำให้การรักษาสภาพแวดล้อมและให้ความสะดวกนักท่องเที่ยวพร้อม ๆ กัน เป็นไปด้วยความยากลำบาก

นอกจากสั่งปิดเส้นทางขึ้นภูเขาไฟฟูจิส่วนนี้เป็นการชั่วคราวแล้ว ทางการจังหวัดยามานาชิยังเสนอมาตรการอื่นๆ รวมทั้งการสั่งห้ามรถบัสและรถยนต์ที่มีผู้โดยสารขึ้นเขา โดยให้เปลี่ยนไปใช้บริการรถไฟรางเบาเพื่อขึ้นเขาแทน อีกทั้งเก็บค่าโดยสารแบบไป-กลับในราคา 10,000 เยน (ราว 2,422 บาท) เพื่อคัดกรองให้มีแต่นักท่องเที่ยวระดับคุณภาพ

พร้อมกับระบุว่า ปัญหานักท่องเที่ยวและขยะล้น รวมถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากยวดยานจำนวนมาก สร้างความกังวลแก่ทางการท้องถิ่นว่า สิ่งเหล่านี้จะทำลายเสน่ห์ของภูเขาฟูจิ ให้กลายเป็นสถานที่ที่ไม่น่ามาเที่ยวอีกต่อไป

‘กทม.’ เปิดประชาพิจารณ์ ร่างข้อบัญญัติฯ ค่าขยะใหม่ ต.ค.นี้ หมู่บ้าน-ชุมชนจ่าย 60 บ. หากแยกขยะแล้ว จ่าย 20 บ. เท่าเดิม

(2 ต.ค. 66) นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยของกรุงเทพมหานครอัตราใหม่ ว่า หลังจากสภากรุงเทพมหานครได้เห็นชอบขยายเวลาจัดเก็บออกไปอีก 1 ปี ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนประกาศประชาพิจารณ์ ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. ... ในเว็บไซต์กรุงเทพมหานคร ในเดือนตุลาคม 2566 เป็นเวลา 30 วัน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามาดูรายละเอียดของร่างข้อบัญญัติฯ แสดงข้อคิดเห็น จะมีความคิดเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็วิพากษ์วิจารณ์ได้ เนื่องจากข้อบัญญัติฯ นี้เป็นร่างกฎหมายที่กระทบกับประชาชนทั่วไป ถ้าประชาพิจารณ์ประชาชนเห็นด้วยไม่มีปัญหาอะไร ผู้บริหารกรุงเทพมหานครจะนำเข้าสภากรุงเทพมหานครพิจารณาร่างข้อบัญญัติฯ นี้ เมื่อสภาเห็นชอบแล้วจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยกรุงเทพมหานครจะออกข้อบังคับระเบียบรองรับ น่าจะใช้บังคับได้ในปี 2567 

“ร่างข้อบัญญัติฯ ฉบับใหม่นี้โดยหลักการค่าขยะจะลดลง จากข้อบัญญัติฯ เดิมที่ออกมาปี 2562 ที่อัตราขึ้นไปเยอะ (80 บาท) ซึ่งได้มีการขยายเวลาออกไปมาหลายปี ร่างใหม่นี้ราคาจะต่ำลงทั้งการเก็บขนและการกำจัด ขณะเดียวกันกรณีประชาชนได้ลงทะเบียนเพื่อแยกขยะ ก็จะเสียค่าขยะต่ำลงไปอีก ทั้งนี้ หากประชาพิจารณ์ผ่านประชาชนเห็นด้วย ไม่มีปัญหาอะไร ก็น่าจะนำเข้าสภากทม.พิจารณาได้เดือนพฤศจิกายน เมื่อสภาฯ เห็นชอบ ก็จะประกาศใช้ข้อบัญญัติฉบับใหม่ ยกเลิกของปี’62 ไป” นายจักกพันธ์ุกล่าว

สำหรับร่างข้อบัญญัติฯ ใหม่มีอัตราค่าธรรมเนียมในส่วน ค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป แยกเป็น 

1. ค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป เป็นรายเดือน กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตรเดือนละ 30 บาท, กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กรุงเทพมหานครกําหนด เดือนละ 10 บาท, กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 20 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ให้คิดเป็นหน่วยทุก ๆ 20 ลิตรในอัตราต่อหน่วย หน่วยละ 60 บาทและกรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ให้คิดเป็นหน่วยทุก ๆ 1 ลบ.ม. ในอัตราต่อหน่วย หน่วยละ 3,250 บาท 

2. ค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป เป็นครั้งคราว กรณีที่มีปริมาณไม่เกิน 500 ลิตร ครั้งละ 125 บาท, กรณีที่มีปริมาณเกิน 500 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ลบ.ม. ครั้งละ 180 บาท และกรณีที่มีปริมาณเกิน 1 ลบ.ม. ให้คิดเป็นหน่วย ทุก ๆ 1 ลบ.ม. อัตราหน่วยละ 245 บาท

ส่วนค่ากําจัดมูลฝอยทั่วไป แยกเป็น 

1. ค่ากําจัดมูลฝอยทั่วไป เป็นรายเดือน กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร เดือนละ 30 บาท, กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กรุงเทพมหานครกําหนด เดือนละ 10 บาท, กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 20 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ลบ.ม. ให้คิดเป็นหน่วยทุก ๆ 20 ลิตร ในอัตราต่อหน่วย หน่วยละ 60 บาท และ กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 1 ลบ.ม. ให้คิดเป็นหน่วยทุก ๆ 1 ลบ.ม. ในอัตราต่อหน่วย หน่วยละ 4,750 บาท 

2. ค่ากําจัดมูลฝอยทั่วไป เป็นครั้งคราว กรณีที่มีปริมาณไม่เกิน 500 ลิตร หน่วยละ 130 บาท, กรณีที่มีปริมาณเกิน 500 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ลบ.ม. หน่วยละ 190 บาท และ กรณีที่มีปริมาณเกิน 1 ลบ.ม. ให้คิดเป็นหน่วย ทุกๆ 1 ลบ.ม. หน่วยละ 250 บาท 

รองผู้ว่าฯ จักกพันธ์ุกล่าวสรุปว่า บ้านเรือนทั่วไป หรือ หมู่บ้านจัดสรร/ชุมชนต่าง ๆ จะคิดค่าธรรมเนียมใน 2 รูปแบบ คือ คิดค่าเก็บขน 30 บาท และค่ากำจัด 30 บาท รวม 60 บาท แต่หากบ้านเรือนมีการคัดแยกขยะ หมู่บ้าน/ชุมชน มีที่พักรวมและคัดแยกขยะตามเงื่อนไข จะคิดเท่าเดิมคือ 20 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติฯปี’62 ที่คิดค่าเก็บขน 40 และค่ากำจัด 40 รวม 80 บาท ก็จะลดลงแต่หากประชาชนร่วมกันคัดแยกขยะบ้านไหนหมู่บ้านชุมชนไหนทำตามเงื่อนไข กรุงเทพมหานครก็เก็บอัตราเดิม 20 บาท โดยจะต้องมีการลงทะเบียนถูกต้องกับสำนักงานเขตทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้าไปดูรายละเอียดร่างข้อบัญญัติฯ ใหม่ได้ในเดือนตุลาคม 2566

‘สวทช. – จุฬาฯ’ พัฒนา ‘เส้นพลาสติกรักษ์โลก’ จาก ‘เปลือกหอยแมลงภู่’ คืนชีพขยะ PLA ย่อยสลายได้ 100% ขจัดปัญหาขยะในชุมชนอย่างยั่งยืน

‘นักวิจัยนาโนเทค สวทช.’ จับมือ ‘จุฬาฯ’ ต่อยอดไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจาก ‘เปลือกหอยแมลงภู่’ ผสมขยะพลาสติกชีวภาพ (PLA) พัฒนา ‘Re-ECOFILA เส้นพลาสติกรักษ์โลกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ’ ย่อยสลายได้ 100% คุณภาพเทียบเท่าของที่มีในท้องตลาดในราคาที่ถูกกว่า หวังทดแทนของนำเข้าราคาสูง สร้างโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติของนักเรียน นักศึกษาและคนทั่วไป ตอบ BCG เศรษฐกิจหมุนเวียน-สีเขียว ช่วยคืนชีพขยะ PLA จัดการขยะเปลือกหอยแมลงภู่ในชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน

(22 พ.ย. 66) ดร.ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการวินิจฉัยระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ‘Re-ECOFILA’ มาจากงานวิจัย ‘เส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ ผลิตจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่และขยะพลาสติกชีวภาพ’ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ‘สวทช.’ โดย ‘นาโนเทค’ และ ‘จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ โดยศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ ที่มีแนวคิดการใช้ประโยชน์ไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่ที่ได้ทำงานวิจัยมาก่อนหน้านั้น จากความเป็นไปได้สำหรับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ โดยจะไปแทนที่แคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูน ที่ใช้ในกระบวนการผลิตพอลิเมอร์

ข้อมูลจากกลุ่มสถิติการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ประเทศไทยผลิตหอยแมลงภู่เฉลี่ยมากกว่า 50,000 ตันต่อปี โดยน้ำหนักมากกว่าครึ่งเป็นน้ำหนักของเปลือกหอย ทำให้เกิดขยะเปลือกหอยสะสมเป็นจำนวนมาก ตามพื้นที่ชุมชนที่ประกอบอาชีพเลี้ยงหอยและแกะเนื้อหอยขาย ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ปัจจุบัน วิธีการเดียวที่จะนำเปลือกหอยแมลงภู่ไปใช้ประโยชน์คือ การรับซื้อในราคาถูกเพื่อนำไปถมที่

“แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ถูกใช้เป็นสารเติมแต่ง (additive) ในอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ เพื่อลดต้นทุน โดยเติมแคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูนที่มีราคาถูกกว่า แต่เมื่อเรามีขยะจากเปลือกหอยแมลงภู่จำนวนมาก ซึ่งเปลือกหอยเป็นแหล่งแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีความบริสุทธิ์สูง นอกจากจะสามารถใช้ทดแทนแคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูนได้แล้ว ยังช่วยในมิติของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อีกด้วย ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาวิธีการแปรรูปเปลือกหอยแมลงภู่เป็นไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตและนำไปใช้เป็นสารเติมแต่งใน PLA เพื่อฉีดเป็นเส้นพลาสติกสำหรับใช้ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ” ดร.ชุติพันธ์ กล่าว

ปัจจุบัน ‘พอลิแลกติกแอซิด’ (polylactic acid : PLA) ซึ่งเป็นพลาสติกชีวภาพผลิตจากพืชนั้น มีการใช้งานที่แพร่หลายมากขึ้นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการพิมพ์สามมิติ (3D printing) จากคุณสมบัติของ PLA ที่เหมาะสมสำหรับการฉีดขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ ได้แก่ มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ, มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างต่ำ (dimension stability) และมีค่าการไหลที่เหมาะสำหรับการฉีดขึ้นรูป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการพิมพ์สามมิติด้วยเทคนิค FDM (Fused Deposition Modeling) ซึ่งจะเป็นการหลอมเส้นพลาสติกให้กลายเป็นของไหลแล้วฉีดออกมาเป็นเส้นด้วยหัวฉีด โดยเครื่องพิมพ์จะฉีดเส้นพลาสติกตามแนวระนาบและฉีดซ้อนทับเป็นชั้นไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นชิ้นงาน

ทีมวิจัยนาโนเทค-จุฬาฯ เริ่มจากพัฒนาวิธีการแปรรูปเปลือกหอยแมลงภู่เป็นไบโอแคลเซียมคาร์บอเนต โดยไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตที่ได้มีรูปร่างกลมและมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 109 นาโนเมตร มีความบริสุทธิ์สูงโดยจากผลการวิเคราะห์ด้วย TGA พบว่า ไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตมีความบริสุทธิ์มากกว่าร้อยละ 98 โดยน้ำหนัก และจากผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Raman spectroscopy พบว่า ไบโอแคลเซียมมีอัญรูปเป็นอะราโกไนต์

ในช่วงแรก ทีมวิจัยได้นำพลาสติกชีวภาพหรือ PLA มาผสมกับไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่ที่เตรียมขึ้นมา จากนั้น นำไปแล้วฉีดขึ้นรูปเป็นเส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ ผลที่ได้คือ เส้นพลาสติกที่มีคุณภาพดีมีคุณภาพเทียบเท่ากับเส้นพลาสติกที่มีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ สามารถใช้งานได้กับเครื่องพิมพ์สามมิติระบบ FDM ได้ทันที นับเป็นโอกาสทางการตลาดที่ใหญ่ ในขณะเดียวกันก็มองเห็นโอกาสในการนำขยะพลาสติกจากการพิมพ์สามมิติมาคืนชีพ ใช้ทดแทน PLA

ดร.ชุติพันธ์กล่าวว่า เมื่อศึกษาข้อมูลด้านการพิมพ์สามมิติ ก็พบว่า ปริมาณขยะพลาสติกจากการพิมพ์สามมิติทั้งชิ้นส่วนที่ไม่ใช้แล้วและการเกิดขยะจากการกระบวนการพิมพ์ (การพิมพ์ support และการพิมพ์ที่ผิดพลาด) สืบเนื่องจากปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีราคาถูกลง การใช้ที่ไม่ซับซ้อน สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์อย่างรวดเร็ว (fast fashion) ทำให้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติถูกนำไปใช้ในวงกว้าง ไม่จำกัดเฉพาะการขึ้นรูปต้นแบบอีกต่อไป เช่น การพิมพ์วัสดุสามมิติสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

“เราได้ทดลองนำขยะพลาสติกชีวภาพ หรือ ‘Recycled PLA’ จากกระบวนการพิมพ์สามมิติมาใช้ โดยบดผสมกับไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่ แล้วฉีดขึ้นรูปเป็นเส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ โดย Re-ECOFILA หรือ ‘เส้นพลาสติก’ ที่ผลิตได้มีคุณภาพเทียบเท่ากับเส้นพลาสติกที่มีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ สามารถใช้งานได้กับเครื่องพิมพ์สามมิติระบบ FDM ได้ทันที อาจจะมีข้อจำกัดเรื่องสีของเส้นพลาสติกที่แตกต่างจากของทั่วไป แต่ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสทางการตลาด ด้วยข้อมูลจาก HSSMI ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการผลิตที่ด้วยกระบวนการที่ยั่งยืน พบว่า มีการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติชนิด FDM ที่ต้องใช้เส้นพลาสติกโดยเฉพาะเส้นพลาสติกผลิตจาก PLA ถึง 66% ของจำนวนเครื่องพิมพ์สามมิติทั่วโลก” ดร.ชุติพันธ์ กล่าว

เส้นพลาสติกที่ผลิตได้จากงานวิจัยนี้ ดร.ชุติพันธ์ เผยว่า เป็นเส้นพลาสติกที่มีราคาไม่แพง คุณภาพเทียบเท่ากับเส้นพลาสติกที่มีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ สามารถใช้งานได้กับเครื่องพิมพ์สามมิติระบบ FDM ได้ทันที ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นต่ำลง สามารถใช้นวัตกรรมนี้เพื่อผลิตเส้นพลาสติกราคาถูกสำหรับการใช้งานที่ไม่ต้องใช้ PLA คุณภาพสูง เพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง ด้วยเป็นวัสดุทางเลือกที่สามารถลดต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายในการขึ้นรูปต้นแบบผลิตภัณฑ์ ในขณะเดียวกัน ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาและบุคคลทั่วไป ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติได้ง่ายขึ้นจากวัสดุที่ราคาถูกลง เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการพัฒนาโครงงานและงานนวัตกรรมสำหรับนักเรียน นักศึกษา

นอกจากนี้ นวัตกรรมเส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติผลิตจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่และขยะพลาสติกชีวภาพ ยังเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) สร้างมูลค่าให้กับขยะจากการพิมพ์สามมิติ และขยะจากอุตสาหกรรมอาหารทะเล (Waste-to-Wealth) ส่งเสริมการจัดการของเสีย (waste management) ทั้งขยะเปลือกหอยสะสมในแหล่งชุมชนและขยะพลาสติก PLA ที่ไม่มีวิธีการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม โดยนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่า ส่งผลให้มีการวางแผนการจัดการขยะอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ กำจัดขยะเก่า และลดการสร้างขยะใหม่

“ที่สำคัญ ผลงานนี้ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนจากการขายเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้งจากการแปรรูปอาหารทะเลให้ภาคธุรกิจโดยการแปรรูปเบื้องต้น เช่นเดียวกับองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นนี้ ก็สามารถถ่ายทอดให้ผู้ประกอบการไทยมีเทคโนโลยีการผลิตเส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ ลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้สารเติมแต่งไบโอแคลเซียมคาร์บอเนต และเทคโนโลยีการนำขยะพลาสติก PLA กลับมาใช้ใหม่ ผลิตภัณฑ์สามารถจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์กลางน้ำเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ หรือผลิตเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายได้เชิงพาณิชย์ได้” นักวิจัยนาโนเทคกล่าว พร้อมชี้ว่า ปัจจุบัน เทคโนโลยีมีระดับความพร้อมอยู่ที่ TRL 6 เส้นพลาสติกที่ผลิตได้ถูกนำไปใช้กับเครื่องพิมพ์สามมิติ และสามารถพิมพ์ชิ้นงานสามมิติได้ โดยคุณภาพของชิ้นงานเทียบเท่ากับชิ้นงานที่ถูกพิมพ์จากเส้นพลาสติกที่มีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ โดยทีมวิจัยอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ของโมเดลธุรกิจ เพื่อทำให้นวัตกรรมเส้นพลาสติกที่พัฒนาขึ้น ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมงานวิจัย

นอกจากนี้ ดร.ชุติพันธ์ แย้มว่า เตรียมต่อยอดการวิจัย เพื่อเพิ่มแอปพลิเคชันการใช้งานที่มีความต้องการทางการตลาดอีกมุมหนึ่ง จากนวัตกรรมรักษ์โลก ย่อยสลายได้ 100% ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่ม CRS เราจะเปลี่ยนมาใช้พลาสติก ABS หรือ ‘Acrylonitrile Butadiene Styrene’ ที่มีความแข็งแรง ทนทาน นิยมใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแพร่หลาย ผสมกับสารตัวเติมที่มีคุณสมบัติหน่วงไฟ (flame retardants) ที่เตรียมขึ้นใช้เองโดยมีสารตั้งต้นเป็นไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่ พัฒนาเป็นวัสดุที่มีสมบัติหน่วงไฟ สามารถประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เคสคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและพิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์สามมิติ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นอีก 1 ตลาดใหญ่ที่จะต่อยอดใช้ประโยชน์จากขยะเปลือกหอยแมลงภู่ในอนาคต

เส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติผลิตจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่ และขยะพลาสติกชีวภาพ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ และรางวัลพิเศษ (Special Prize) จาก Korea Invention Promotion Association สาธารณรัฐเกาหลี ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในเวที ‘Taiwan Innotech Expo 2023’ (TIE 2023) เมื่อวันที่ 12 - 14 ตุลาคม 2566 ณ กรุงไทเป ไต้หวัน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

‘สระน้ำสวนสันติภาพ’ คัมแบ็ค!! หลังใช้เวลาฟื้นฟู 3 เดือนครึ่ง เหตุ ‘กระทงขนมปัง’ ส่งผลกระทบจน ‘น้ำเสีย-ปลาตายอื้อ’

(28 ก.พ.67) นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพฯ และ ที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ - Pornphrom Vikitsreth ถึงเรื่องขยะจากกระทง ความว่า

จาก กระทงขนมปัง สู่การแก้ไขสระน้ำสวนสันติภาพ 3 เดือนครึ่ง ภาพ before during และ after ของสระน้ำสวนสันติภาพ ที่ได้รับผลกระทบจากการลอยกระทงขนมปัง ทำให้เกิดน้ำเสียและปลาตายจำนวนมาก

ปัจจุบันได้แก้ไขเสร็จเรียบร้อยด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำออกทั้งสระ ใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 3 เดือนครึ่ง

ปีนี้มีการทบทวนอย่างหนักเรื่องมาตรการลดขยะจากลอยกระทง แต่ยังมีข่าวดีว่าลอยกระทงดิจิทัลที่เราทำถูกคัดเลือกให้รับรางวัล Asia’s Pinnacle Awards สาขา Best Eco-Friendly Festival จากสมาคม IFEA (ASIA) หรือ สมาคมการจัดงานอีเวนต์และเทศกาลนานาชาติครับ

‘Lauren Singer’ นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ใช้ชีวิตแบบ ’ไม่ผลิตขยะ‘ มาแล้วกว่าสิบปี

ปัญหาขยะเป็นปัญหาโลกแตก ซึ่งแก้ได้ยากมาก ๆ แต่มีหญิงสาวชาว New York ผู้หนึ่งซึ่งใช้ชีวิตปลอดขยะ (Zero waste) มาแล้วกว่าสิบปี ทั้ง ๆ ที่เธออาศัยอยู่ในมหานครใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก

ทั้งนี้ ‘Zero Waste’ หรือ ‘แนวคิดขยะเป็นศูนย์’ เป็นแนวทางในการลดขยะตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งจะช่วยทำให้ขยะที่ต้องถูกนำไปกำจัดลดเหลือน้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์ ด้วยส่วนหนึ่งของปัญหาขยะเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่บริโภคสินค้าแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ขวดน้ำพลาสติก ถุงพลาสติก หลอดพลาสติก โฟม ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม เมื่อขยะคือภาระของทุกคน จึงเป็นที่มาของการใช้ชีวิตแบบ ‘Zero Waste’ ซึ่งคือการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจะไม่สร้างขยะใหม่ ๆ โดยพยายามไม่ให้มีอะไรหลงเหลือจนเป็นขยะได้ โดยยึดหลักง่าย ๆ อย่าง 1A3R ซึ่งประกอบด้วย

1A : Avoid การหลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดขยะเพิ่ม เช่น พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
R1 : Reduce การใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะให้น้อยลง เช่น การใช้ถุงผ้าไปช็อปปิ้งแทนการรับถุงพลาสติกจากร้านค้า
R2 : Reuse การนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น กล่องพัสดุที่ได้รับมา นำไปใส่ของส่งของต่อให้ผู้อื่น
R3 : Recycle การหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น การ Recycle พลาสติก ให้ออกมาเป็นวัสดุตั้งต้นในการสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

(Lauren Singer ในร้าน Package Free ของเธอ)

อย่างไรก็ตาม Lauren Nicole Singer เกิดที่นคร New York มลรัฐ New York เมื่อ 4 พฤษภาคม ค.ศ.1991 ปัจจุบันอายุ 33 ปี เรียนจบปริญญาตรี ด้านสิ่งแวดล้อมและรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย New York เมื่อปี ค.ศ. 2013 และจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัย Columbia จากนั้นได้ทำงานเป็นนักวิเคราะห์ด้านความยั่งยืนของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของนคร New York ก่อนที่จะออกมาก่อตั้งธุรกิจสีเขียว The Simply Co. และ Package Free เธอเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการอิสระ และบล็อกเกอร์ในการเคลื่อนไหวเพื่อไร้ขยะ โดยเธอเริ่มใช้ชีวิตแบบไร้ขยะมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 ซึ่งเธอเป็นที่รู้จักจากการรวบรวมขยะทั้งหมดจากเว็บบล็อกที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 โดยเธอบดขยะในโถบดขนาด 16 ออนซ์ และบล็อกของเธอก็คือ ‘Trash is for Tossers’ (ขยะเป็นของไร้ค่า) ซึ่งให้คำแนะนำแก่ผู้อ่านในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนโดยปลอดขยะ พร้อมกับบันทึกวิถีชีวิตที่ปราศจากขยะ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อเลิกการฝังกลบขยะ และลดละเลิกผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

(น้ำยาซักผ้าออร์แกนิกและปลอดสารพิษ The Simply Co.)

Lauren Nicole Singer ได้ออกจากงานประจำในปี ค.ศ. 2014 และเปิดตัว The Simply Co. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล เช่น น้ำยาซักผ้าปลอดสารพิษออกสู่ตลาด น้ำยาซักผ้าออร์แกนิกของเธอได้รับการสนับสนุนจาก Kickstarter และจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ของ Kickstarter และที่ร้านค้าส่งทั่วสหรัฐอเมริกา เริ่มผลิตผลิตภัณฑ์พร้อม ๆ กัน The Simply Co. ในปี ค.ศ. 2017 เธอเปิด Package Free เป็นร้านแบบป๊อปอัพในเมือง Williamsburg และนับตั้งแต่เปิดตัว Package Free สามารถลดขยะจากการฝังกลบได้หลายร้อยล้านชิ้น ในปี ค.ศ. 2023 นอกจากนี้ เธอยังได้ร่วมก่อตั้ง Overall Capital โดยเธอบอกว่า Rachel Carson และ Bea Johnson ในฐานะนักเขียนและนักเคลื่อนไหวเป็น 2 แรงบันดาลใจให้สนใจเรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และเธอยังได้รับการเสนอชื่อให้เป็น ‘สตรีที่น่าจับตามอง’ ของ Business Insider และ ‘หนึ่งในห้าสิบสตรีเปลี่ยนโลก’ ของ InStyle และ ‘ผู้เปลี่ยนแปลง ปี 2020’ ของ  Well + Good 

อย่างไรก็ตาม เรา ๆ ท่าน ๆ อาจจะคิดเองว่า แค่เปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองง่าย ๆ อย่างการเริ่มต้นจากการใช้กล่องข้าว ขวดน้ำ ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ หรือแม้แต่ร้านค้าทางเลือกอย่าง Refill Station ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของการไม่ง้อบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยทุกคนนำภาชนะไม่ว่าจะเป็นขวดแก้วหรือขวดโหล มาเติมผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเองนำกลับไปใช้ที่บ้าน และการคัดแยกขยะจะช่วยอะไรได้มากมาย แต่ความจริงแล้วการแยกขยะก่อนทิ้งมีประโยชน์อย่างมาก ทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณของประเทศ ขยะอันตรายจะได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อลดปัญหาหรือมลพิษต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ฉะนั้นหากทุกครอบครัวเริ่มต้นที่การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องนำไปกำจัดให้มีปริมาณน้อยลง และเป็นการลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

สำรวจ!! มลพิษจากพลาสติกครึ่งหนึ่งของโลกราว 1.8 ล้านชิ้น มาจากผลิตภัณฑ์ของ 56 บริษัท ที่แปรสภาพเป็นขยะสิ่งแวดล้อม

(13 พ.ค.67) เพจเฟซบุ๊ก ‘Salika’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…

การศึกษาใหม่ได้เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของบริษัทใหญ่ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์หลัก ๆ ในโลกที่เต็มไปด้วยมลพิษจากพลาสติก หลังจากที่นักวิจัยติดตามขยะจำนวนมากและพบว่ากว่าครึ่งหนึ่งมาจากบริษัทเกือบ 60 แห่ง

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances เปิดเผยว่ามี 56 บริษัทที่ก่อให้เกิดขยะ พลาสติกมากกว่า 50% ใน 84 ประเทศ

เพื่อให้ได้ข้อมูลนี้ อาสาสมัครหลายพันคนทั่วโลกได้ดำเนินการ ‘ตรวจสอบ’ พลาสติก โดยพวกเขาจะสำรวจชายหาด สวนสาธารณะ แม่น้ำ และสถานที่อื่น ๆ เพื่อหาขยะพลาสติก อาสาสมัครตรวจสอบขยะแต่ละชิ้นและบันทึกแบรนด์หรือเครื่องหมายการค้าที่มองเห็นได้ โดยกลุ่ม Break Free From Plastic ได้มีการรวบรวมการตรวจสอบ 1,576 ชุด ในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2565

จากการสำรวจพลาสติกมากกว่า 1.8 ล้านชิ้น มีเกือบ 910,000 ชิ้นที่มีแบรนด์ที่มองเห็นได้

ในบรรดาพลาสติกหลายแสนชิ้นนั้น บริษัทชั้นนำ 5 อันดับแรกทั่วโลกที่พบว่ามีผลิตภัณฑ์แปรสภาพเป็นขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม ได้แก่ The Coca-Cola Company (11%), PepsiCo (5%), Nestlé (3%), Danone (3%) และ Altria (2%) คิดเป็น 24% ของจำนวนแบรนด์ทั้งหมด ขณะที่ Unilever รั้งอันดับ 8, Moderlez International (เจ้าของแบรนด์ขนมหวาน ช็อกโกแลต และหมากฝรั่งชื่อด้่งอย่าง Oreo, Ritz,Toblerone, Cadbury,Trident, Dentyne, Chiclets และ Halls เป็นต้น) ตามมาในอันดับ 11 และ Mars, Incorporated (เจ้าของแบรนด์ขนมหวานระดับโลกอย่าง M&M’s, Snickers, Mars และ Twix เป็นต้น) อยู่ในอันดับ 12 ซึ่งสามบริษัทหลังนี้มีสัดส่วนไม่ถึงบริษัทละ 2% ขณะเดียวกันการศึกษานี้ยังพบว่าบริษัท 56 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของขยะพลาสติกที่สำรวจพบ

ขณะที่พลาสติกที่หลงเหลืออีก 50% ไม่มีตราสินค้าที่มองเห็นได้ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับหลักปฏิบัติในการรายงานความยั่งยืนของบริษัทต่าง ๆ

ขยะพลาสติกที่ไม่มีแบรนด์ประกอบด้วย 52% ของขยะพลาสติกที่ทำการสำรวจในครั้งนี้ทั้งหมด แต่การระบุความเป็นเจ้าของของบริษัทให้กับขยะพลาสติกที่ไม่มีตราสินค้าเหล่านี้เป็นไปไม่ได้ด้วยเทคนิคในปัจจุบัน โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับของพลาสติกที่ไม่มียี่ห้อ ได้แก่ การผุกร่อนด้วยน้ำ แสงแดด และอากาศ รวมถึงระยะเวลาที่วัสดุอยู่ในสภาพแวดล้อม คุณภาพของหมึกที่ใช้ และประเภทของวัสดุหรือสัณฐานวิทยา เมื่อไม่มีหลักฐานระบุตัวตนของผู้ผลิตพลาสติกที่ไม่มีแบรนด์ การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นไปที่การตรวจสอบพลาสติกที่มีตราสินค้า

“สินค้าพลาสติกมากกว่า 50% ที่เราพบ เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีความโปร่งใสที่มากขึ้นเกี่ยวกับการผลิตและการติดฉลากผลิตภัณฑ์พลาสติกและบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับและความรับผิดชอบ เราขอแนะนำให้สร้างฐานข้อมูลสากลที่เข้าถึงได้แบบเปิดซึ่งบริษัทต่าง ๆ มีหน้าที่ติดตามและรายงานผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ แบรนด์ และการปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมในเชิงปริมาณ นอกจากนี้ เราขอแนะนำให้พัฒนามาตรฐานสากลเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ของบรรจุภัณฑ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการระบุตัวตน” รายงานการศึกษานี้ระบุ

จากบริษัทที่อยู่เหนือเส้นแนวโน้ม (Trend line) โดยทั่วไปแล้วเป็นบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม (เส้นสีม่วง) ในขณะที่บริษัทที่อยู่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มส่วนใหญ่เป็นบริษัทในครัวเรือนและการค้าปลีก (เส้นสีเขียวนกเป็ดน้ำ) แม้ว่าบริษัททั้งสองประเภทจะผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง แต่ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มมักจะมีระยะเวลาการใช้งานที่สั้นกว่าก่อนที่จะนำไปกำจัด รวมถึงมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าของสินค้าแบบใช้ครั้งเดียว (รวมถึงสินค้าที่มีอายุสั้น) ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มสูงในการบริโภคระหว่างเดินทาง ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนและร้านค้าปลีกมีแนวโน้มสูงกว่าในการบริโภคภายในอาคาร ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยที่จะหลบหนีจากโครงสร้างพื้นฐานการจัดการวัสดุและรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อม

กระนั้นสิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าเปอร์เซ็นต์นั้นอิงจากการนับจำนวน เป็นไปได้ว่าความสัมพันธ์นี้จะแตกต่างออกไปหากเปอร์เซ็นต์เป็นมวล เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทค้าปลีกและในครัวเรือนมีแนวโน้มที่จะมีมวลโดยเฉลี่ยมากกว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม การประมาณมวลเฉลี่ยของพลาสติกที่ผลิตโดยแต่ละบริษัทจะต้องแปลงระหว่างจำนวนและมวล

“อุตสาหกรรมมักที่จะโยนความรับผิดชอบให้กับผู้บริโภค แต่เราอยากจะชี้ให้เห็นว่าควรเป็นความรับผิดชอบของแบรนด์ต่าง ๆ ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ยั่งยืน สินค้าแบบใช้แล้วทิ้ง และรูปแบบการจัดส่งที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดขยะจำนวนมหาศาล” Marcus Eriksen ผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษจากพลาสติกของสถาบัน 5 Gyres Institute ผู้เขียนการศึกษานี้กล่าวกับ The Guardian สื่อชื่อดังของอังกฤษ

พลาสติกส่วนใหญ่ทำจากเชื้อเพลิงสกปรก เช่น น้ำมันและน้ำมันเบนซิน ดังนั้นการผลิตวัสดุดังกล่าวจึงก่อให้เกิดคุณภาพอากาศที่ไม่ดีต่อสุขภาพและความร้อนสูงเกินไปที่เป็นอันตรายต่อโลกของเรา

เนื่องจากพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพจะสลายตัวในระยะเวลาหลายสิบปีถึงหลายร้อยปี จึงก่อให้เกิดอันตรายเพิ่มเติมโดยกลายเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าและสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อพวกมันแตกออกเป็นอนุภาคขนาดเล็กที่เรียกว่า ‘ไมโครพลาสติก’

การศึกษาล่าสุดชิ้นหนึ่งในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์เชื่อมโยงอนุภาคเหล่านี้กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวายในผู้ป่วยโรคหัวใจ ในขณะที่อีกงานวิจัยหนึ่งที่จัดทำโดยหอสมุดแห่งชาติด้านการแพทย์ชี้ให้เห็นว่าไมโครพลาสติกอาจอยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของกรณีมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี และเรียกร้องให้มีการวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องนี้

>> บริษัทขนาดใหญ่และความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหามลพิษ

ในการต่อสู้กับมลพิษจากพลาสติกทั่วโลก มีศัตรูเพียงไม่กี่คนที่มีขนาดใหญ่กว่ารอยเท้าของบริษัทขนาดใหญ่ ด้วยประสบการณ์กว่าสามทศวรรษในการรายงานประเด็นด้านความยั่งยืน ฉันได้เห็นโดยตรงถึงปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดจากบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ และความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับความรับผิดชอบ ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ไปจนถึงการผลิต การใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวอย่างแพร่หลายได้ทิ้งร่องรอยที่ลบไม่ออกบนโลกของเรา พร้อมกับส่งผลกระทบร้ายแรงต่อระบบนิเวศ ชุมชน และคนรุ่นอนาคต

การแพร่หลายของพลาสติกในชีวิตประจำวันของเรานั้นไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ความสะดวกสบายกลับปฏิเสธต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมอันมหาศาล บริษัทขนาดใหญ่ซึ่งได้รับแรงหนุนจากอัตรากำไรและความต้องการของตลาด มีบทบาทสำคัญในการยืดเยื้อวิกฤตนี้ โดยเลิกใช้บรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์พลาสติกจำนวนมหาศาลโดยไม่สนใจผลกระทบเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน จากกลุ่มบริษัทข้ามชาติไปจนถึงแบรนด์ในครัวเรือน มลพิษจากพลาสติกที่หลอกหลอนอยู่ทุกมุมของโลกธุรกิจ

หัวใจของปัญหานี้อยู่ที่ความไม่สมดุลขั้นพื้นฐานระหว่างการบริโภคและความรับผิดชอบ ในขณะที่ผู้บริโภคต้องแบกรับความรู้สึกผิดและการตรวจสอบการใช้พลาสติกอย่างถี่ถ้วน ความรับผิดชอบในท้ายที่สุดก็ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิตและทำกำไรจากวัสดุเหล่านี้ ถึงเวลาแล้วที่บริษัทใหญ่ ๆ จะต้องเผชิญหน้ากับความจริงที่น่าอึดอัดใจ: พวกเขามีความสมรู้ร่วมคิดในการสานต่อวิกฤตการณ์ระดับโลกที่คุกคามโครงสร้างของโลกของเรา

แล้วบริษัทขนาดใหญ่ควรรับผิดชอบบทบาทของตนในการสร้างมลพิษจากพลาสติกอย่างไร?
ประการแรก พวกเขาจะต้องรับผิดชอบห่วงโซ่อุปทานของตน ปฏิบัติตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เข้มงวดเพื่อลด ใช้ซ้ำ และรีไซเคิลพลาสติกตลอดกระบวนการผลิต ซึ่งรวมถึงการลงทุนในทางเลือกที่ยั่งยืน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อให้สามารถรีไซเคิลได้มากที่สุด และลดบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุดในทุก ๆ กระบวนการที่เป็นไปได้

นอกจากนี้ ความโปร่งใสและความรับผิดชอบจะต้องเป็นเสาหลักของการกำกับดูแลกิจการที่ไม่สามารถต่อรองได้ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกภายในอุตสาหกรรม

บริษัทขนาดใหญ่ต้องเปิดเผยการใช้พลาสติกและการปล่อยมลพิษ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งรวมถึงการติดตามและรายงานเกี่ยวกับการสร้างขยะพลาสติก วิธีการกำจัด และความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการลดการลดการใช้พลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ไม่เพียงเท่านี้ การทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับความท้าทายเชิงระบบที่เกิดจากมลพิษจากพลาสติก บริษัทขนาดใหญ่ต้องทำงานร่วมกับรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ แบบไม่ตกหล่น เพื่อพัฒนาวิธีแก้ปัญหาแบบองค์รวมที่จัดการกับต้นตอของปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนการปฏิรูปนโยบาย การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการจัดการขยะและการรีไซเคิล และการสนับสนุนความคิดริเริ่มที่ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

รวมถึงสนับสนุนและบ่มเพาะวัฒนธรรมแห่งความยั่งยืนให้กับชุมชนเพื่อเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงนี้

บริษัทข้ามชาติ เช่น ผู้ผลิตมลพิษจากพลาสติกชั้นนำอย่าง Nestle, Coca-Cola และ Pepsi ควรควบคุมตนเองในเชิงรุก พวกเขาสามารถยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมด้วยการออกแบบของตนเอง เพื่อลดผลกระทบด้านลบจากมลพิษจากพลาสติกในขณะที่ยังคงรักษาความสามารถในการแข่งขันได้

The Washington Post รายงานว่า โฆษก Coca-Cola บอกถึงกลยุทธ์โลกไร้ขยะของบริษัท โดยตั้งเป้าที่จะ “ทำให้บรรจุภัณฑ์ของเราสามารถรีไซเคิลได้ 100% ทั่วโลกภายในปี 2568 และจะใช้วัสดุรีไซเคิลอย่างน้อย 50% ในบรรจุภัณฑ์ของเราภายในปี 2568 เรารู้ว่าต้องทำมากกว่านี้ และเราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายโดยลำพังได้”

ด้าน Nestlé แจกแจงว่าบริษัทตั้งเป้าที่จะลดการใช้พลาสติกใหม่ลง 1 ใน 3 และนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในบรรจุภัณฑ์ให้มากขึ้น

ขณะที่ในแถลงการณ์ทางอีเมลของ PepsiCo ระบุว่าบริษัทสนับสนุนกรอบนโยบายระดับโลกเพื่อจัดการกับมลพิษจากพลาสติก และกำลังทำงานเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนที่พลาสติกถูกนำมาใช้ซ้ำ

ส่วน Altria ได้ตรวจสอบการศึกษานี้และเชื่อว่าไม่ถูกต้อง เพราะการศึกษานี้รวมข้อมูลจากกว่า 80 ประเทศ แต่ Philip Morris USA บริษัทบุหรี่ของ Altria ดำเนินธุรกิจในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม Win Cowger ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Moore Institute for Plastic Pollution Research และผู้เขียนหลักของการศึกษากล่าวในการตอบสนองต่อคำแถลงของ Altria ว่า “แนวคิดที่ว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยบริษัทในประเทศใดประเทศหนึ่งจะอยู่ในประเทศที่สร้างผลิตภัณฑ์นั้นเท่านั้นไม่ได้รับการสนับสนุน”

ส่วน Danone ไม่ตอบสนองต่อการร้องขอความคิดเห็นจาก The Washington Post

กล่าวโดยสรุป ปัญหาเรื้อรังของมลพิษจากพลาสติกจำเป็นต้องได้รับการดำเนินการอย่างเร่งด่วนจากบริษัทขนาดใหญ่ ถึงเวลาแล้วที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้จะต้องแบกรับความรับผิดชอบและดำเนินการอย่างเด็ดขาดเพื่ออนาคตที่ปราศจากมลภาวะนี้ ด้วยความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนอย่างแข็งขัน เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่โลกที่ยั่งยืนมากขึ้นสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป

ถึงเวลาดำเนินการอย่างเร่งด่วนแล้ว อย่าเสียเวลาอีกต่อไปเลย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top