Thursday, 24 April 2025
TodaySpecial

59 ปี “อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ได้รับสมญาว่าเป็น 'อุทยานมรดกของอาเซียน' อีกทั้งได้รับการประกาศเป็น 'มรดกโลก' จากยูเนสโก ในปี 2548

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัด คือ จังหวัดสระบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี และนครนายก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำนครนายก แม่น้ำปราจีน ลำตะคอง ลำพระเพลิง และห้วยมวกเหล็ก อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานานาชนิด เช่น ช้างป่า กวางป่า เก้ง กระทิง เสือ ตลอดจนมีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม มีเนื้อที่ 1,353471.53 ไร่ หรือ 2,165.55 ตารางกิโลเมตร  

อีกทั้ง เขาใหญ่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญาว่าเป็นอุทยานมรดกของอาเซียน อีกทั้งได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก ในปี 2548

ลักษณะภูมิประเทศ สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของเทือกเขาพนมดงรัก สูงโดดเด่นขึ้นมาจากที่ราบภาคกลาง แล้วก่อตัวเป็นแนวเขตของที่ราบสูงโคราช มีเขาร่มเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขาฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร โดยวัดความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นเกณฑ์และยังประกอบด้วยทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ด้านตะวันออก พื้นที่จะลาดลงไปทางทิศใต้ ส่วนด้านตะวันตกพื้นที่จะเป็นภูเขาสูงชัน

รัฐประหารในประเทศไทย 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะทหารในนาม “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” (คปค.) ซึ่งมี พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้า ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งกำลังปฏิบัติภารกิจอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 

โดยในการรัฐประหารครั้งนี้ คปค. ได้ให้เหตุผลที่ต้องยึดอำนาจว่าการปกครองภายใต้รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ก่อให้เกิดความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของคนในชาติ ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะ ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น 

โดยประชาชนส่วนใหญ่เคลือบแคลงสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ส่อไปในทางทุจริต ประพฤติมิชอบ อย่างกว้างขวาง หน่วยงานอิสระ ถูกการเมืองครอบงำ ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เกิดปัญหา และอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นที่เคารพ เทิดทูน ของปวงชนชาวไทย อยู่บ่อยครั้ง แม้ว่าหลายภาคส่วนของสังคมจะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์ มาโดยต่อเนื่องแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้

วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 และบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

โดยในขณะนั้น มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะมีพระชนมพรรษาครบ 20 พรรษา และเมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 20 พรรษาแล้ว ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 จึงผนวชเป็นพระภิกษุ โดยหลังจากทรงลาสิกขาแล้ว ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภายใต้การปกครอง พระองค์ได้ทรงปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองให้ทันสมัยขึ้น ทรงผนึกแผ่นดินล้านนา ทรงออกพระราชบัญญัติให้เลิกทาส ในยุคนั้นประเทศตะวันตกเริ่มเข้ามาล่าอาณานิคม พระองค์ได้เสด็จไปต่างประเทศเพื่อทอดพระเนตรความเจริญในประเทศตะวันตก แล้วนำกลับมาพัฒนาบ้านเมือง ขณะเดียวกันก็เสด็จประพาสต้น เพื่อศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร

21 กันยายน ของทุกปี ถือเป็น ‘วันประมงแห่งชาติ’ เพื่อสนับสนุนอาชีพประมง สร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพของชาวประมงไทย

วันที่ 21 กันยายนของทุกปี ถูกตั้งให้เป็น ‘วันประมงแห่งชาติ’ เพื่อเป็นการสนับสนุนในการทำอาชีพประมง และเป็นที่ระลึก สร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพของชาวประมงไทย

โดยที่มาของวันประมงแห่งชาติ เกิดจากสหกรณ์ประมงจังหวัดสมุทรสาครทำหนังสือ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยเสนอให้รัฐบาลกำหนดวันประมงแห่งชาติขึ้น เพื่อให้เป็นกำลังใจในการประกอบอาชีพ และอาสาปกป้องประเทศทางด้านทะเล 

นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้สํานักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้มอบให้กรมประมง เป็นผู้รับเรื่อง เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากนี้สํานักเลขาธิการฯ ได้ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ สั่งการให้ราชบัณฑิตยสถานและกรมศิลปากรร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมอีกด้วย กรมประมงจึงได้ประสานงานกับกองทัพเรือและมีความเห็นร่วมกันให้ วันสงกรานต์ ซึ่งประชาชนชาวไทยยึดถือเสมือนเป็นวันขึ้นปีใหม่มาตั้งแต่อดีต เป็นวันที่หยุดปฏิบัติภารกิจประจําวัน ในวันดังกล่าว 

“วันแรดโลก” ตรงกับวันที่ 22 กันยายน ของทุกปี เพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์แรดทั้ง 5 สายพันธุ์ เนื่องจากประชากรแรดทั่วโลกกำลังลดจำนวนลง และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยสาเหตุหลักมาจากการล่าของมนุษย์

จุดเริ่มต้นของวันแรดโลก ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2553 โดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature - WWF) แห่งแอฟริกาใต้ จากการริเริ่มของผู้หญิง 2 คน คือ ลิซ่า เจน แคมป์เบล และ ซิงห์ ที่มีความต้องการเหมือนกันในการก่อตั้งวันแรดโลกขึ้นมา เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับแรดทั้ง 5 สายพันธุ์ และผลักดันจนสามารถเกิดเป็นวันแรดโลกได้สำเร็จ จนกลายเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกและองค์กรต่าง ๆ ที่หันมาร่วมกันอนุรักษ์แรด 5 สายพันธุ์ 

1.) แรดขาว (Ceratotherium simum) เป็นแรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบในทวีปแอฟริกา
2.) แรดดำ (Diceros bicornis) เป็นแรดที่มีความใหญ่รองมาจากแรดขาว พบในทวีปแอฟริกาเช่นกัน
3.) แรดอินเดีย (Rhinoceros unicornis) พบในภูมิภาคเอเชียใต้ จัดเป็นแรดที่มีเพียงนอเดียว มีลักษณะเด่นคือ ผิวหนังหนาและมีรอยย่นเห็นได้ชัดเจน
4.) แรดชวา (Rhinoceros sondaicus) พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับแรดอินเดีย เป็นแรดชนิดที่หายากที่สุดในโลก และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดที่หายากที่สุดในโลกอีกด้วย
5.) กระซู่ หรือแรด 2 นอ หรือ แรดสุมาตรา, แรดขน (Dicerorhinus sumatrensis) มีลักษณะเด่นที่สุดคือ มี 2 นอ นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง จัดเป็นสัตว์ตระกูลแรดที่มีขนาดเล็กที่สุด พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน มีลักษณะเด่นคือ มีขนปกคลุมทั้งลำตัว เป็นแรดที่หายากมากอีกชนิดหนึ่ง

ในปัจจุบัน แรดกลายมาเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เข้าไปทุกขณะ โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้แรดใกล้สูญพันธุ์นั้นเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าที่ทำลายที่อยู่อาศัยของแรด และอีกสาเหตุหลักที่สำคัญคือ การล่าของมนุษย์ ที่ต้องการนำนอแรดไปขายแปรรูปเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ รวมถึงการนำนอแรดไปปรุงเป็นยา ตามความเชื่อของชาวจีนว่านอแรดสามารถรักษาโรคได้บางโรค ทั้งที่จริงแล้วส่วนประกอบทางเคมีของนอแรดนั้นไม่ต่างอะไรไปกับเส้นผมของคนเลย ซึ่งการสำรวจการลักลอบฆ่าแรดในแอฟริกาใต้ พบว่ามีการลักลอบฆ่าแรดเพื่อเอานอเพิ่มสูงขึ้นกว่า 9,300 ตัว จาก 13 ตัว ในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 1,215 ตัว ในปี 2557

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กำหนดให้วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นวัน “ศารทวิษุวัต” คือวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี ทำให้ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน

วันศารทวิษุวัต กลางวันยาวเท่ากลางคืน โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยว่าวัน “ศารทวิษุวัต” ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี ทำให้ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้

วันศารทวิษุวัต กลางวันยาวเท่ากลางคืน (Autumnal Equinox) คำว่า “Equinox” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้น Equinox หมายถึงวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซึ่งตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า “จุดราตรีเสมอภาค” โดยวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งต่อปี คือในช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) และในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)

ในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดเหนือสุดลงมาทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06.07 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:14 น. นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้ จากนั้นดวงอาทิตย์จะเคลื่อนลงทางใต้เรื่อย ๆ จนดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ในวันที่ 22 ธันวาคม 2563 จากนั้นจะค่อย ๆ เคลื่อนกลับทางเหนืออีกครั้ง

วันนี้ในอดีต “สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า” เริ่มเปิดการจราจรเป็นวันแรกในปี พ.ศ. 2516 โดยสะพานแห่งนี้สร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา - เชื่อมต่อเขตพระนคร - เขตบางพลัด ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท

“สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า” (Somdet Phra Pinklao Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท

สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย 
 

วันนี้ในอดีต 25 กันยายน พ.ศ. 2537 เกิดภัยธรรมชาติสุดแสนโหด ‘น้ำป่าไหลหลาก’ ณ น้ำตกวังตะไคร้ จ.นครนายก และคร่าชีวิตนักท่องเที่ยวไปกว่า 21 ราย

เหตุการณ์น้ำป่าไหลหลาก บริเวณน้ำตกวังตะไคร้ จังหวัดนครนายก ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นเกิดขึ้นเร็วโดยไม่มีใครตั้งตัวได้ทัน ภัยน้ำป่าไหลหลากในครั้งนั้นถือว่าเป็นภัยธรรมชาติสุดโหดที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประเทศไทย

ในช่วงเดือนกันยายน ซึ่งถือว่าเป็นช่วงปลายฝนที่มักมีฝนตกหนาแน่น มักมีการเตือนถึงนักท่องเที่ยวที่มาเล่นน้ำที่น้ำตกต่าง ๆ ย้อนกลับไปช่วงบ่ายของวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2537 ที่อุทยานแห่งชาติวังตะไคร้ จังหวัดนครนายก เป็นวันที่อากาศแจ่มใส นักท่องเที่ยวจำนวนมากมายเดินทางเข้ามาเที่ยวและลงเล่นน้ำเย็นช่ำ และสายน้ำที่ใสสะอาด ไม่ว่าจะเป็น เด็ก ผู้ใหญ่ ที่กำลังสนุกสนานในวันหยุดกับครอบครัว ซึ่งพวกเขาไม่รู้เลยว่าอีกไม่ถึงชั่วโมง คลื่นน้ำป่ากำลังตรงไปหาพวกเขา
 

26 กันยายน พ.ศ. 2527 สหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐประชาชนจีน บรรลุข้อตกลงในแผนการส่งมอบฮ่องกงคืนให้จีนในปี 2540

“ฮ่องกง” เดิมเป็นหมู่บ้านประมงเล็กๆ แห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอซินอัน เมืองเซินเจิ้นภูมิประเทศเป็นเมืองท่าน้ำลึก เหมาะแก่การจอดเรือสินค้าขนาดใหญ่ จึงทำให้ฮ่องกงกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก

ด้วยเหตุนี้เองประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งปกครองโดยพระนางวิกตอเรีย กำลังต้องการอาณานิคมในแถบทะเลจีนใต้ เพื่อใช้เป็นที่จัดส่งสินค้า หรือฝิ่นพอดี ประจวบเหมาะกับที่ฝ่ายสหราชอาณาจักร และจีนกำลังมีปัญหาเรื่องการค้าฝิ่นในแถบกวางตุ้งของจีน จนทำให้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ขึ้น ในปี ค.ศ. 1839

อังกฤษจึงเข้ายึดดินแดนแถบฮ่องกงเป็นของสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2384 จนเมื่อจีนแพ้สงครามฝิ่น ปลายศตวรรษที่ 19 เกาะฮ่องกง และดินแดนตอนปลายคาบสมุทรเกาลูน จึงตกเป็นอาณานิคมในปี พ.ศ. 2385 และ พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ตามลำดับ

วันนี้เมื่อ 85 ปี กรมศิลปากรประกาศให้วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นโบราณสถาน

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมเรียกว่า วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดใหญ่ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณ ค่อนมาทางทิศใต้ เนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัด เข้าใจว่าเดิมคงเป็นถนนโบราณ ประวัติการสร้างวัดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัด นอกจากประวัติจากตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้างพระมหาธาตุ ซึ่งเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์จริงเป็นเวลายาวนานมาก 

หลักฐานทางเอกสารที่ชัดเจน ปรากฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 กล่าวว่าวัดนี้เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร อุปราชปักษ์ใต้ทรงพระสงฆ์จากวัดเพชรจริกมาดูแล รักษาวัด และคราวที่รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสเมืองนคร ได้โปรดพระราชทานนามวัดว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

อีกทั้งตำนานการก่อสร้างพระบรมธาตุมีมากมาย หลายสำนวนสามารถประมวลเนื้อหาได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมืองต่าง ๆ ในแว่นแคว้นชมพูทวีปได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปเก็บ รักษา เคารพบูชา มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองทนธบุรี ได้พระทันตธาตุมาเก็บรักษาไว้ 

ต่อมามีกษัตริย์จากเมืองอื่นยกทัพมาเพื่อขอแบ่งพระทันตธาตุ กษัตริย์สิงหราชเจ้าเมืองทนธบุรีเห็นว่าจะรักษาเมืองไว้มิได้ จึงให้ พระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมารพระธิดาและพระโอรสอัญเชิญพระทันตธาตุ ลงเรือหนีไปลังกา เผอิญเรือกำปั่นถูกพายุพัด เรือแตกทั้งสองพระองค์มาขึ้นฝั่ง ณ หาดทรายแก้ว แล้วฝังพระทันตธาตุไว้ 
 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top