Sunday, 6 July 2025
TheStatesTimes

สตูล - แม่ทัพภาคที่ 4 ลงพื้นที่ติดตามแนวชายแดนไทยมาเลเซีย สั่งคุมเข้มพื้นที่ป้องกันการลักลอบเข้ามาของแรงงาน เพื่อป้องกันนำเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่เข้ามา พร้อมทั้งให้กำลังใจเจ้าหน้าที่

พลโทเกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4  / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 และคณะลงพื้นที่ตามแนวชายแดนไทยมาเลเซียพื้นที่ เขตรอยต่อระหว่าง ต.ปูยู อ.เมือง จังหวัดสตูลประเทศไทย ติดแนวเขตรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ผบ.ร้อย ร.5 พัน 2 ,กอ.รมน.สตูล,ทหารจากกองกำลังเทพสตรี, เจ้าท่า จ.สตูล,ตำรวจน้ำ, ตชด.436 ,ตม.จ.สตูล และฝ่ายปกครองอำเภอเมืองสตูลได้เดินทางตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของชุดเฝ้าตรวจแนวชายแดนกำลังทหารจากกองกำลังเทพสตรี ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันแนวชายแดน เฝ้าระวังการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายตามแนวชายแดนทางฝั่งทะเล จ.สตูล

ซึ่งหลังจากมีการเปิดด่านให้มีการเดินทางกลับประเทศของคนไทยในมาเลเซีย โดยแม่ทัพภาคที่ 4 ได้นั่งเรือจากท่าเทียบเรือเกาะปูยู อ.เมือง จ.สตูลไปยังเขตรอยต่อระหว่าง ต.ปูยู อ.เมือง จังหวัดสตูลประเทศไทย ติดแนวเขตรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย สั่งคุมเข้มพื้นที่ป้องกันการลักลอบเข้ามาของแรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยตลอดแนวชายแดนไทยมาเลเซียเพื่อป้องกันนำเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่เข้ามาพร้อมทั้งให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ใช้ยุทธ์การเดินหน้ากระดานปิดหน้าทะเลทางช่องทางธรรมชาติ ลงทะเลขึ้นฝั่ง เกาะแนวเขตสกัดกั้น หวั่นแรงงานต่างด้าว และคนไทยในต่างแดนหลบหนีเข้าประเทศแบบผิดกฎหมาย ไม่ผ่านเจ้าหน้าที่รัฐ

โดยนำเรือออกลาดตระเวนตามเกาะแก่งที่อยู่ใกล้ป่าชายเลน และเทือกเขาที่ติดแนวเขตประเทศมาเลเซีย เรือตรวจการณ์จอดเทียบท่าในพื้นที่บริเวณนากุ้งร้าง จากนั้นเปิดปฏิบัติการเดินเท้าทันที ไปยังพื้นที่แนวเขตรอยต่อพรมแดนฝั่งแผ่นดินที่ติดกับทะเล มีรั้วกำแพงสูงกั้นแนวเขตระหว่างจังหวัดสตูล ประเทศไทย ติดแนวเขตรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซียที่มีกำแพงกั้นตรงกลางพร้อมลวดหนาม หากไม่มีกำแพง ก็สามารถข้ามได้เพียงไม่ถึง 10 ก้าวจากฝั่งไทย โดยพื้นที่รั้วกำแพงดังกล่าวนั้นอยู่ในพื้นที่เขต ต.ปูยู อ.เมือง จ.สตูล พบบ้าน จำนวน 3 หลังอยู่ใกล้กำแพง และทางทหารเรือตรวจสอบเป็นชาวบ้านอาศัยอยู่บริเวณนั้น

โดยเฉพาะเป็นพื้นที่ที่ติดกับรัฐเปอร์ลิสประเทศมาเลเซีย และมีแนวเขากั้นเขตแดน ทำให้ ผู้ที่ลักรอบสามารถเดินเข้ามาได้ เลย หรือ แม้กระทั้งการเดินทางเข้ามาทางเรือก็ง่าย เนื่องจากแนวเขตชายฝั่งนั้น สามารถเดินลัดเลาะแนวชายฝั่งเข้ามาได้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อ ร่วมกันในการลาดตระเวน ทั้งทางบกและทางทะเล เพื่อไม่ให้แรงงานหลบหนีเข้ามา 


ภาพ/ข่าว  นิตยา แสงมณี ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล 
 

‘บิ๊กตู่’ เบรก วัคซีนวอล์คอิน หวั่นคนมาไม่ได้ฉีดโวย ให้ยึดหมอพร้อม-กลุ่มเสี่ยงเป็นหลักก่อน สั่ง เร่งปรับปรุงแอปฯ ให้ดี บอก ศบค.ให้ข่าวที่เดียว คนอื่นไม่ได้ข้อสรุปอย่าเพิ่งพูด ลั่น ไม่ล็อคดาวน์ แต่ขอดูสถานการณ์หลังผ่อนนั่งในร้านอาหารก่อน

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ได้มีการหารือกันถึงประเด็นของการวอล์คอินเข้าไปฉีดวัคซีน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้กล่าวถึงเรื่องวัคซีนวอล์คอินว่า ไม่อยากให้ใช้รูปแบบวอล์คอิน เพราะหากประชาชนแห่กันไปพร้อมกันที่จุดเดียว จะเกิดความชุลมุนขึ้นได้ ในต่างจังหวัดไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ กทม.มีคนจำนวนมาก โดยอยากให้ปรับรูปแบบใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ให้ไปลงทะเบียน ณ จุดที่ตั้ง ซึ่งจะมีการกำหนดให้ชัดเจน ต้องใช้เวลา ตอนนี้ให้ยึดแอปพลิเคชันหมอพร้อมไว้ก่อน ให้คนที่ลงทะเบียนหมอพร้อมและกลุ่มเสี่ยงได้ฉีดก่อน จึงขอให้หน่วยงานไปปรับปรุงและแก้ปัญหาแอปพลิเคชันหมอพร้อม เพื่อให้พร้อมใช้ อย่าให้เกิดปัญหาประชาชนลงทะเบียนไม่ได้ จึงอยากให้หยุดพูดเรื่องวอล์คอินไปก่อนจนกว่าจะได้มาตรการที่ชัดเจน เดี๋ยวคนวอล์คอินเข้าไปแล้วไม่ได้ฉีดจะโวยวายเอา หากวัคซีนเพียงพอหรือเหลือค่อยมาจัดการกันใหม่ เรื่องวอลค์อินละเอียดอ่อน ต้องจัดการดี ๆ

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังกำชับเรื่องการให้ข่าวที่ไม่ตรงกันเรื่องวัคซีนวอล์คอิน ว่า ไม่ต้องให้ใครให้ข่าว ให้ ศบค.เป็นคนให้ข่าวแห่งเดียว และอะไรที่ได้ข้อสรุปแล้วถึงค่อยออกมาพูด ส่วนนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวเห็นด้วยกับ พล.อ.ประยุทธ์ และอยากให้ทบทวนเรื่องวอล์คอิน เพราะถ้าคนเดินทางเข้าไปแล้วไม่ได้ฉีดจะเสียหาย จะด่ารัฐบาลอีก ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ไม่ได้อธิบายหรือพูดอะไรเลยนอกจากกล่าวสั้น ๆ เพียงว่า ‘ตามที่นายกฯ สั่งการครับ’

รายงานข่าวแจ้งว่า พล.อ.ประยุทธ์ยังได้พูดถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมที่เกิน 1 แสนรายว่า อยากให้ดูตัวเลขว่าเป็นอย่างไร ผู้ติดเชื้อกี่คน หายป่วยกี่คน พยายามหามุมดี ๆ มานำเสนอ ส่วนที่มีการเสนอให้ล็อคดาวน์นั้น คงเป็นไปได้ยาก เพราะเราจำเป็นต้องดูแลคนทำงาน ลูกจ้าง ตอนนี้ต้องดูว่าหลังผ่อนคลายมาตรการเปิดให้รับประทานอาหารในร้านได้ 25% ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดได้แล้วเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มาจากร้านอาหาร ก็อาจจะมีมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมเข้ามาอีก เช่น ขยายปริมาณนั่งรับประทานอาหารในร้าน แต่ถ้าพบว่ามีผู้ติดเชื้อจากร้านอาหารก็ต้องทบทวนอีกครั้งว่าอาจต้องปิดเป็นเวลา 14 วันหรือไม่

ขณะที่เรื่องการแพร่ระบาดในเรือนจำนั้น พล.อ.ประยุทธ์ มองว่า น่าจะจัดการไม่ยาก สามารถควบคุมได้อยู่แล้ว เพราะเรือนจำมีพื้นที่ชัดเจน แต่ขอให้กระทรวงยุติธรรมกับกระทรวงสาธารณสุขประสานงานแก้ปัญหากันอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังให้มีการยกเลิกทัวร์ริสต์บับเบิล หรือการท่องเที่ยวแบบจับคู่ที่รัฐบาลจะทำก่อนหน้านี้ออกไปก่อน เพราะสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ในที่ประชุม ครม. นายกฯ ยังได้กำชับพรรคร่วมรัฐบาลเตรียมพร้อมเรื่องการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณรายจ่าย 2565 ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. ว่าอย่าให้มีปัญหา เพราะถือเป็นวาระสำคัญที่จะต้องประชุม พร้อมกับขอให้ดำเนินการตามมาตรการสาธารณสุขกันอย่างเคร่งครัด โดยระบุช่วงหนึ่งว่า ‘ก็น่ากลัวอยู่แต่ พ.ร.บ.งบประมาณก็ต้องเข้า’ โดยมีรัฐมนตรีบางคนแซวถึงเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยว่า การใส่หน้ากากอนามัยพูดคงลดความดุเดือดลงได้บ้าง

อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุม ครม.วันเดียวกัน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ยังได้แจ้งให้กับนายกฯ ทราบว่า ตนเองจะขอแปรญัตติ พ.ร.บ.ยาเสพติด ที่ตามหลักการแล้วหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วต้องรอ 90 วัน แต่จะขอลดลงมาเหลือ 30 วัน เพราะกฎหมายฉบับนี้ค้างนานแล้ว ไม่ได้เข้าสภาสักที เนื่องจากได้บอกกับประชาชนเอาไว้ว่าจะจัดการปัญหายาเสพติด ขณะที่นายกฯ ไม่ได้พูดอะไร

'ศิริกัญญา​-ก้าวไกล' จับพิรุธ​ ครม. ลักหลับออก พ.ร.ก. กู้เงินเพิ่ม 7 แสนล้าน

ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า สิ่งที่อยากให้ประชาชนช่วยกันจับตาให้ดีคือ การประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งกระทรวงการคลังได้ขออนุมัติ พ.ร.ก. เงินกู้เพิ่มเติมอีก 700,000 ล้านบาท เป็นการกู้เงินเพิ่มเติมจากวงเงินกู้เดิมตาม พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาท ที่ได้มีการอนุมัติงบประมาณไปเกือบเต็มวงเงินแล้ว โดย ร่าง พ.ร.ก. กู้เงินดังกล่าวเป็นเอกสารแค่ 4 หน้า กรอบแผนงานการใช้เงิน เขียนสั้น ๆ แบ่งเป็น 3 แผนเหมือน พ.ร.ก. เงินกู้เดิมทุกประการ เพียงแต่ปรับลดวงเงินลง มาแบ่งเป็น...

แผนงานด้านสาธารณสุข ลดลงเหลือ 30,000 ล้านบาท, แผนงานเยียวยาประชาชน ลดลงเหลือ 400,000 ล้านบาท และแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ลดลงเหลือ 270,000 ล้านบาท

“การออก พ.ร.ก. เงินกู้ครั้งนี้น่าเป็นห่วง เพราะโครงสร้างแผนงานและกลไกการอนุมัติโครงการแทบจะเหมือน พ.ร.ก. 1 ล้านล้านทุกประการ ดังนั้น เราคงคาดหวังได้ยากว่าใน พ.ร.ก. เงินกู้ตัวใหม่รัฐบาลจะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งบประมาณให้ดีขึ้น

“พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้าน ที่รัฐบาลออกมาในปีที่แล้วเห็นได้ชัดแล้วว่า นอกจากโครงการที่เป็นเงินโอนโครงการอื่น โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่ออนาคตของประเทศอนุมัติได้น้อย การเบิกจ่ายล่าช้า ตัวโครงการไม่มีความสมเหตุสมผล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือแผนงานด้านสาธารณสุขที่งบประมาณเดิมมีการเบิกจ่ายแค่ไม่ถึง 30% อุปกรณ์การแพทย์กว่า 2,500 รายการ ในจำนวนนี้มีเครื่องช่วยหายใจ 1,000 เครื่อง งบวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ 170 ล้านชิ้น ที่ได้รับการอนุมัติไปแล้ว ทั้งหมดนี้ยังไม่มีการเบิกจ่ายเงินเลย แม้แต่เพียงบาทเดียว”

ศิริกัญญา ยังกล่าวเพิ่มเติมไปอีกว่า แผนงานฟื้นฟูและเยียวยาเศรษฐกิจผ่านมาแล้ว 1 ปี เป้าหมายที่รัฐบาลตั้งเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น การจ้างงานใหม่ 400,000 ตำแหน่ง, เกษตรกร 95,000 ราย มีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตนเองได้, มีพื้นที่เกษตรสมัยใหม่เพิ่มขึ้น 5 ล้านไร่ พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น 1.7 แสนไร่ และพื้นที่กักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น 7,900 ล้าน ลบ.ม. ก็เป็นได้แค่ลมปาก ยังไม่เห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม

โครงการเรือธงอย่าง "โคก หนอง นา โมเดล" มีถึง 2 โครงการใช้ชื่อต่างกัน มี 2 หน่วยงานที่ทำเรื่องเดียวกัน เรื่องนี้ สตง. ได้ออกมาชี้เป้าแล้วว่าโครงการภายใต้ พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้าน มีความเสี่ยงในการใช้เงิน เพราะมีการแก้ไขไม่ว่าจะเป็น การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผน หน่วยงานไม่พร้อมในการดำเนินการ และการดำเนินโครงการมีความเสี่ยงที่จะไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่สัมฤทธิ์ผล เพราะมีการแก้เงื่อนไขการดำเนินงานหลังอนุมัติ เช่น ลดเป้าหมายเกษตรกร ตำบลละ 16 คน เหลือ ตำบลละ 2 คน เป็นต้น

“เรามีบทเรียนการใช้เงินกู้ของประชาชนที่ไม่มีประสิทธิภาพมาแล้ว 1 ปี ในสถานการณ์ปัจจุบัน การกู้เงินเพิ่มเพื่อเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจมีความจำเป็น แต่เราอยากเห็นการกู้แบบมีความรับผิดชอบ ที่มีการคิดเสร็จแล้ว มีรายละเอียดพร้อม มีกลไกเร่งรัดการเบิกจ่าย มีการประเมินกำลังหน่วยงานรัฐว่าไหวไหม ถ้าไม่ไหวอย่าเอาไป เสียของ! ซึ่งยืนยันอีกครั้งว่ารัฐบาลนี้ไม่มีความสามารถมากพอที่จะดูแลเงินกู้ก้อนใหม่ให้ประชาชนได้”

อีกเรื่องที่ ศิริกัญญา ทิ้งท้ายว่าให้จับตาในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่กำลังจะเกิดขึ้น คือการที่กระทรวงกลาโหมทำหนังสือลับมาก ด่วนมาก ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายแก้ปัญหาโควิด-19 ของกระทรวงกลาโหม

“การของบประมาณในครั้งนี้ กระทรวงกลาโหมขอใช้งบกลางประมาณ 387 ล้านบาท หลายเรื่องเป็นภารกิจของกองทัพอยู่แล้ว เช่น การสกัดกั้นแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายที่บริเวณชายแดน 80 ล้านบาท การเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลสนามของกองทัพ 100 ล้านบาท”

“แต่ที่น่าติดใจเท่ากับส่วนที่ใหญ่ที่สุด 207 ล้านบาท ที่เป็นค่าใช้จ่ายของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่เป็นการใช้เงินเพื่อเตรียมความพร้อมของกำลังพลในการรับมือกับสถานการณ์ชุมนุม ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับการรับมือแก้ปัญหาโควิด-19 เลย รัฐบาลต้องตอบคำถามเรื่องนี้กับประชาชนให้ชัดด้วย” ศิริกัญญากล่าวสรุป

วันนี้ถือเป็นวันที่ต้องถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย โดยเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ ‘เสด็จเตี่ย’ ซึ่งทรงได้รับสมัญญานามว่า ‘องค์บิดาของทหารเรือไทย’

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ 28 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ถือเป็นเจ้านายพระองค์แรก ที่สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ จากประเทศอังกฤษ โดยพระองค์ทรงมีจุดประสงค์อันแรงกล้าที่จะฝึกให้ทหารเรือไทย เดินเรือทะเลได้อย่างชาวต่างประเทศ เมื่อทรงเข้ารับราชการ พระองค์ได้แก้ไข ปรับปรุงระเบียบการ และทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ โดยทรงจัดเพิ่มวิชาสำคัญสำหรับชาวเรือ เพื่อให้สามารถเดินเรือทางไกลในทะเลได้ อาทิ วิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต พีชคณิต ฯลฯ

ในปี พ.ศ.2462 พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ โดยนำเรือหลวงพระร่วงจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร นับเป็นครั้งแรกที่นายทหารเรือไทย เดินเรือไกลข้ามทวีป ต่อมา พระองค์ยังทรงผลักดันให้มีการก่อตั้งโรงเรียนนายเรือ โดยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังเดิม ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ทำให้กิจการทหารเรือ มีรากฐานอันมั่นคงนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดทางราชการ เป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ก่อนที่ช่วงบั้นปลายพระชนมชีพ จะทรงลาออกจากตำแหน่ง เพื่อไปรักษาพระองค์จากอาการประชวรเรื้อรังจากพระโรคประจำตัว โดยประทับพักรักษาพระองค์อยู่ที่ตำบลหาดทรายรี จังหวัดชุมพร ระหว่างนั้นทรงถูกฝนและประชวรด้วยพระโรคไข้หวัดใหญ่ พระอาการได้ทรุดลงอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2466 สิริพระชันษา 42 ปี 

ต่อมา ในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ ได้ถูกยกให้เป็น ‘วันอาภากร’ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในการณ์ที่ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ให้มีความเจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ โดยพระองค์ยังทรงได้รับสมัญญานามว่า ‘องค์บิดาของทหารเรือไทย’


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

 

วันนี้เมื่อ 29 ปีก่อน ถือเป็นวันที่มีความสำคัญ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ความรุนแรง ‘พฤษภาทมิฬ’ เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชดำรัส จนนำไปสู่การยุติเหตุการณ์ลงในที่สุด

เหตุการณ์ ‘พฤษภาทมิฬ’ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลที่มี พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีความเข้าใจว่า การขึ้นดำรงตำแหน่งของพลเอกสุจินดา เป็นการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยหนึ่งในแกนนำของประชาชนที่ออกมาเรียกร้อง นั่นคือ พลตรีจำลอง ศรีเมือง

เหตุการณ์ค่อย ๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้น ในช่วงระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม พ.ศ.2535 จนเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2535 พลเอกสุจินดา คราประยูร ประกาศห้ามมิให้บุคคลใดในกรุงเทพมหานครออกนอกเคหสถาน แต่ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือพลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯ โดยมีบุคคลที่นำเข้าเฝ้าฯ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี ในขณะนั้น

ในการณ์นั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำรัสต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีใจความบางท่อนบางตอนว่า...

“การเผชิญหน้าตอนแรก ก็จะเห็นจุดประสงค์ของทั้งสองฝ่ายได้ชัดเจนพอสมควร แต่ต่อมาภายหลัง 10 กว่าวัน ก็เห็นแล้วว่า การเผชิญหน้านั้น เปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก จนกระทั่งออกมาอย่างไรก็ตาม เสียทั้งนั้น เพราะว่าทำให้มีความเสียหาย...”

“...ฉะนั้น การที่จะเป็นไปอย่างนี้ต่อไป จะเป็นเหตุผลหรือต้นตออย่างไรก็ช่าง เพราะเดี๋ยวนี้เหตุผลเปลี่ยนไป ถ้าหากว่าเผชิญหน้ากันแบบนี้ต่อไป เมืองไทยมีแต่ล่มจมลงไป แล้วก็จะทำให้ประเทศไทย ที่เราสร้างเสริมขึ้นมาอย่างดี เป็นเวลานาน จะกลายเป็นประเทศที่ไม่มีความหมาย หรือมีความหมายในทางลบเป็นอย่างมาก...”

ภายหลังการเข้าเฝ้าฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2535 พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาการแทนเป็นการชั่วคราว พร้อมกับประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ทั้งหมด จนนำมาซึ่งการคลี่คลายความขัดแย้ง และความรุนแรงลงนับจากนั้น

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/พฤษภาทมิฬ 

https://siamrath.co.th/n/188944


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32
 

สงขลา - นิพนธ์ เติมเครื่องอุปโภค-บริโภค ตู้ปันสุข ร่วมกิจกรรม “คนมหาดไทย แบ่งปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19” ขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างจริงจัง

วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ณ บริเวณหน้ากระทรวงมหาดไทย (ถนนบำรุงเมือง) นายนิพนธ์  บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยนายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง ข้าราชการในสังกัดกรมการปกครอง ร่วมเติมของอุปโภค-บริโภคในกิจกรรม “มหาดไทยปันสุข ส่งต่อความห่วงใยสู้ภัยโควิด-19” ให้กับประชาชนที่พักอาศัยชุมชนโดยรอบกระทรวงมหาดไทย เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส คนไร้ที่พึ่ง และผู้ที่กำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  โดยนำเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็น ทั้ง ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมกล่อง หน้ากากอนามัยแจลแอลกอฮอล์  และของใช้จำเป็นต่าง ๆ ใส่ในตู้ปันสุข

ทั้งนี้ นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. ได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือของทุกภาคส่วนให้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 D-M-H-T-T-A คือ D : Distancing เว้นระยะห่าง M : Mask wearing สวมหน้ากาก H : Hand washing ล้างมือสม่ำเสมอ T : Temperature ตรวจวัดอุณหภูมิ T : Testing ตรวจหาเชื้อโควิด-19 และ A : Application Thaichana ใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ/หมอชนะ เพื่อเป็นการป้องกันคนในครอบครัวและป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้คนในชุมชน สังคม โดยขอให้ร่วมมือกันอย่างจริงจัง พร้อมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนได้ลงทะเบียนและไปฉีดวัคซีนฯให้มากขึ้น

ทั้งนี้ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้จัดกำลังสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน(อส.)ให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและกำกับดูแลแถวให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด สำหรับประชาชนที่มารับสิ่งของได้ใช้วิธีแจกคูปองให้กับคนในชุมชนเพื่อมีคัดกรองคนที่จะมารับในเบื้องต้น ขณะที่ในช่วงของการรอรับสิ่งของบริจาค กระทรวงมหาดไทย มีการเว้นระยะห่างวัดอุณหภูมิเพื่อไม่ให้เกิดความแออัด และจะดำเนินการโครงการนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ต่อไป


ภาพ/ข่าว  นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ หาดใหญ่ จ.สงขลา

กาฬสินธุ์ – คณะสงฆ์มอบสิ่งของช่วยเหลือ ผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ตามโครงการจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์

คณะสงฆ์อำเภอสหัสขันธ์ ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรม จ.กาฬสินธุ์ มอบสิ่งของให้กับผู้ได้ที่รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามโครงการจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 
วันที่ 18 พ.ค.64 ที่วัดเวฬุวัน ต.นิคม อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์  พระครูสิทธิวราคม ดร. เจ้าคณะอำเภอสหัสขันธ์ (ธ) ตัวแทนคณะสงฆ์ อ.สหัสขันธ์ พร้อมด้วยสำนักงานวัฒนธรรมจ.กาฬสินธุ์ มอบสิ่งของยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง และไข่ไก่สด ให้กับนายตระกูล หนูนิล นายอำเภอสหัสขันธ์  เพื่อนำไปมอบให้กับครอบครัวผู้ยากไร้ ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งพื้นที่อ.สหัสขันธ์มี 1 หมู่บ้านที่ต้องกักตัวกว่า 29 ครัวเรือน เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบครอบครัว 5 ราย โดยมีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกิจกรรมตามโครงการจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ภายใต้การควบคุมตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 D-M-H-T-T-A  โดยจุดแรกที่นำไปมอบคือพื้นที่ ต.โนนแหลมทอง อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์


พระครูสิทธิวราดม ดร. เจ้าคณะอำเภอสหัสขันธ์ (ธ) กล่าวว่า  เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะสงฆ์อำเภอสหัสขันธ์ ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรม จ.กาฬสินธุ์  ในงบประมาณประจำปี 2564 ภายใต้โครงการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุฤดูร้อน สามเณร และบวชชีพราหมณ์ ภาคฤดูร้อน เป็นกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ซึ่งได้ทำร่วมกันโดยคณะสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย ใน 8 ตำบล มีทั้งข้าวสาร อาหารแห้ง ไข่ไก่สด นม และสาธารณูปโภคอื่น ๆ  เป็นถุงพระทำจำนวน 100 ชุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้าน  และเพื่อเป็นรักษาตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในกิจกรรมต่าง ๆ ของวัดได้จำกัดจำนวนคนที่จะร่วมกิจกรรมไม่เกิน 50 คน มีจุดคัดกรอง ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ มีการเว้นระยะห่าง และการบังคับสวมใส่แมสก์ 100% ภายในบริเวณวัด  ซึ่งประชาชนมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี


สำหรับอำเภอสหัสขันธ์ มี 1หมู่บ้าน 29 ครัวเรือน ที่ยังต้องกักตัว แม้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 5 ราย จะรักษาหายและกลับมาอาศัยที่บ้าน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนรอบข้าง จึงอยู่ในระหว่างการกักตัวต่ออีก 14 วัน นอกจากนี้ยังมีผู้เดินทางกลับภูมิลำเนาจากพื้นที่สีแดงเข้ม ที่จะต้องกักตัวอีกกว่า 60 ราย  นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยติดเตียง ผู้ยากไร้ฐานะยากจน ที่จะต้องให้การดูแลในระยะนี้


ภาพ/ข่าว  ณัฐพงษ์  ประชากูล จ.กาฬสินธุ์
 

กรุงเทพฯ - โฆษกกองทัพเรือเผย อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ ร่วมบริจาคสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์

วันนี้ (18 พฤษภาคม 2564) พลเรือเอก เชษฐา ใจเปี่ยม โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วย คุณหญิงมัญชุมาศ ห้าวเจริญ อดีตนายกสมาคมภริยาทหารเรือ เข้ามอบเงินบริจาค จำนวน 100,000 บาท เพื่อสมทบทุนมูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า เพื่อผู้ป่วย Covid-19 โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ โดยมี พลเรือตรี นิธิ พงศ์อนันต์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ, นาวาเอกหญิง ภาวิกา ธรรมโน  รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ฝ่ายศึกษาอบรมและวิจัย และนาวาเอกหญิง พิมพ์สิริ ชมะนันทน์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องรับรอง สำนักงานผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ กรุงเทพฯ


และท้ายสุด โฆษกกองทัพเรือ ขอเชิญชวนทุกภาคส่วนรวมทั้งภาคประชาชน ร่วมบริจาคสมทบทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เพื่อผู้ป่วยไวรัสโควิด-19 ซึ่งผู้มีจิตศรัทธายังสามารถร่วมบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือบริจาคเงินผ่านมูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า “เพื่อผู้ป่วยไวรัสโควิด-19” ทั้งนี้สามารถร่วมบริจาคได้ที่ ศูนย์รับบริจาค โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ หมายเลขโทรศัพท์ 02 475 2576 และ 06 3442 2614 หรือบริจาคผ่านบัญชีธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี “มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า” เลขที่บัญชี 040-2-00002-0 มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า โดย โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ขอขอบคุณทุกกำลังใจที่ส่งมอบให้แก่ทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทุกคนด้วยดีตลอดมา


ภาพ/ข่าว ปชส.โฆษกกองทัพเรือ / นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน 
 

ชลบุรี - ร้านอาหารในห้างพัทยา เปิดแล้ว...แต่ยังหงอยไม่คึกคัก

ร้านอาหารในศูนย์การค้าเมืองพัทยา ทยอยเปิดให้บริการแม้ไม่เต็มระบบ ทำภาพรวมไม่คึก แต่ผู้ประกอบการยังเข้มมาตรการป้องกันโควิด
ตามที่จังหวัดชลบุรีถูกปรับจากพื้นที่สีแดงเข้ม พื้นที่ควบคุมพิเศษและเข้มงวด เป็นพื้นที่สีแดง พื้นที่ควบคุมพิเศษ โดยอนุญาตให้ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร โรงอาหาร (เว้นในสถานศึกษา และสถานพยาบาล) ให้เปิดจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มในลักษณะของการนั่งรับประทานที่ร้านได้ และเปิดให้บริการได้จนถึงเวลา 23.00 น. โดยงดสุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นั้น
วันที่ 18 พ.ค.64 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศโดยรวมการใช้บริการของประชาชนตามร้านอาหารต่าง ๆ ภายในศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าในเมืองพัทยา พบว่า ทุกร้านได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคตามที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัดทั้งเรื่องจุดตรวจวัดอุณหภูมิผู้เข้าใช้บริการ การควบคุมปริมาณคนเข้าร้าน จุดบริการแอลกอฮอล์ และการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล

ในส่วนของศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 พัทยา ทางผู้ประกอบการร้านอาหารที่อยู่ภายในศูนย์การค้าร้อยละ 80 ได้เปิดให้บริการ และพบว่ามีประชาชนมาใช้บริการไม่มากเท่าไรนัก ส่วนหนึ่งเพราะมาตรการควบคุมและป้องกันโรค ที่ทำให้จำนวนที่นั่งของร้านลดน้อยลง ส่วนประชาชนที่มาจับจ่ายใช้สอยภายในศูนย์การค้าก็ยังคงมาใช้บริการตามระยะเวลาที่ภาครัฐกำหนด


ภาพ/ข่าว  นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี ก012 ชลบุรี 
 

โทเคนดิจิทัล ทางเลือกใหม่ของการลงทุนในยุคดิจิทัล | LOCK LENS GURU EP.18

LOCK LENS GURU / EP.18 วันพุธที่ 19 พฤษภาคม

???? GURU : ดร.พีรภัทร ฝอยทอง ทนายความและที่ปรึกษากฏหมาย

▶️ หัวข้อ : โทเคนดิจิทัล ทางเลือกใหม่ของการลงทุนในยุคดิจิทัล

อ่านคอลัมน์เพิ่มเติม : https://thestatestimes.com/post/2021042405

???? ดำเนินรายการโดย เจ THE STATES TIMES

.

.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top