เคาะ!! โควตาเก้าอี้ ส.ส. เลือกตั้ง ปี 66 (ภาคใต้)
‘เลือกตั้ง 66’ ใกล้เข้ามาแล้ว!!
วันนี้ THE STATES TIMES ชวนมาดูโควตาเก้าอี้ ส.ส. ในภาคใต้ว่าแต่ละจังหวัดมีโควตาเท่าไหร่??

‘เลือกตั้ง 66’ ใกล้เข้ามาแล้ว!!
วันนี้ THE STATES TIMES ชวนมาดูโควตาเก้าอี้ ส.ส. ในภาคใต้ว่าแต่ละจังหวัดมีโควตาเท่าไหร่??
(10 ก.พ. 66) เมื่อเวลา 15.00 น. ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพปชร.เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดทำนโยบายพรรคพลังประชารัฐ โดยที่ประชุมพิจารณาร่างนโยบายพรรค เรื่อง การแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง เพื่อมอบหมายผู้รับผิดชอบ จัดทำรายละเอียดแผนดำเนินการ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และจัดทำข้อมูลเตรียมการปราศรัยนโยบาย
โดยมีคณะทำงานเข้าร่วม พร้อมเพรียง อาทิ พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ในฐานะที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรค นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะรองหัวหน้าพรรค นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะรองหัวหน้าพรรค พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพิพัฒน วงษ์ นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ นายอภิชัย เตชะอุบล กรรมการบริหารพรรค นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรค นายอุตตม สาวนายน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา นายอรรถกร ศิริลัทยากร ส.ส.ฉะเชิงเทรา
พล.อ.ประวิตร แถลงว่า เราทำเรื่องที่ดินคทช.โดยจัดซื้อที่ดิน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชน ต่อเนื่องกว่า 5 หมื่นไร่ เพื่อนำไปให้ประชาชนที่ยากจน สำหรับอยู่อาศัยปลูกบ้านกว่า 2 หมื่นหลัง การดูแลปัญหาเรื่องที่ดินเป็นเรื่องซับซ้อน ต้องช่วยดูแล รวมถึงกรณีที่มีการบุกรุกป่า ฉวยโอกาส นำไปเอื้อประโยชน์นายทุน ก็ต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับทุกคน จากวันนี้จะเร่งรัดให้ทีมงานที่ได้รับมอบหมายไปทำให้บรรลุเป้าหมาย และให้ผู้สมัครทุกเขตเลือกตั้งชี้แจงให้ประชาชนทราบ เพราะการสร้างการรับรู้เรื่องที่ดินค่อนข้างยาก ต้องชี้แจงให้ชัดเจนให้ทุกคน
โดยเฉพาะคนยากจน มีสิทธิ์ในที่ดินทำกิน
ตอนผมยังเด็ก ๆ ผมชอบเดินเลียบถนนฝั่งตรงข้ามชุมชนบางลำพู (ฝั่งตรงข้ามวัดสังเวช) เดินเลาะมาเรื่อยๆ จนไปพบ ศาลบูชาขนาดย่อม ๆ อยู่ภายในซุ้มประตูวังก่ออิฐถือปูน ย่อมุม ซึ่งดูเคร่งขรึม ซึ่งผมสงสัยมาตลอดว่าคือศาลอะไร ? และเป็นกำแพงวังของใคร? จนโตขึ้น จึงทราบว่านั่นคือประตูวังของ 'สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา' พระนามเดิมว่า 'เจ้าฟ้าลา' พระราชอนุชาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา 'มา' ในปี พ.ศ. 2303 ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 7 เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กใน “สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก”
ซึ่งพระประวัติของท่านนั้นมีบันทึกอยู่ไม่มากนัก ที่พอจะปรากฏและเล่าถึงประวัติตอนทรงพระเยาว์ของพระองค์ได้นั้นอยู่ใน 'หนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ' ความว่าเมื่อครั้งทรงพระเยาว์นั้น พระองค์ทรงติดเล่น ทรงชอบเล่นทอยกอง ขว้างหลุม และเล่นว่าว ถ้าได้เล่นอะไร แล้วก็เพลิดเพลินจนลืมเวลาเสวยทุกครั้งไป เจ้าจอมมารดา 'มา' พระมารดา หรือใครก็ตามที่จะเชิญเสด็จฯ ในเวลาเล่นอยู่ ต้องพูดล่อว่า จะให้เป็น 'เจ้า' ถึงจะรีบเสด็จฯ ไปตามคำบอกนั้นๆ ว่ากันว่าพระองค์มีพระทัยอยากเป็น 'เจ้า' เป็นอย่างยิ่ง
ความอยากเป็น 'เจ้า' ของ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา นั้นถูกทดสอบจากพระมารดาว่าอยากเป็นขนาดไหน โดยเป็นเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่ง พระมารดาได้หยิบเบี้ยใส่โถลงไว้ 10 เบี้ย เสร็จแล้วก็ร้องเรียกเด็กที่เล่นกันอยู่กับรวม 'กรมหลวงจักรเจษฎา' เข้ามาหา แล้วใช้ให้เด็กที่เล่นอยู่นั้นไปซื้อน้ำปลาโดยสำทับว่า “ใครรีบมาก่อนจะให้เป็นเจ้า” ไม่ต้องเดาเลยครับท่านผู้อ่าน กรมหลวงจักรเจษฎา คว้าเอาโถน้ำปลา (น้ำมีตัวปลาจริง ๆ อยู่ในโถคล้ายปลาร้าแต่ไม่เป็นถึงแบบนั้น) วิ่งตื๋อออกไปหน้าบ้านซึ่งขายน้ำปลาอยู่ เจ้าของร้านก็สงสัยว่าทำไม ? บุตรชายคนเล็กของ 'พระอักษรสุนทรศาสตร์' ('สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก' เมื่อครั้งรับราชการอยู่ในกรุงศรีอยุธยา) จึงออกมาซื้อน้ำปลาด้วยตัวเอง เป็นถึงลูกคุณพระ บ่าวไพร่ก็มี ทำไมถึงไม่ใช้ออกมาซื้อ เป็นผม ผมก็สงสัย แต่ก็คงเป็นเรื่องดีนะครับ เพราะเจ้าของร้านน้ำปลานั้น ได้ตักน้ำปลาใส่โถมากกว่าทุก ๆ ครั้ง พอเรียบร้อยแล้ว กรมหลวงจักรเจษฎาก็รีบถือโถน้ำปลามาส่งให้พระมารดา อยากเป็น 'เจ้า' อะไรก็ทำได้
เคสต่อเนื่องครับท่านผู้อ่าน ดูพระมารดาจะวัดใจสุด ๆ พอเห็นลูกชายกลับเข้ามาพร้อมโถน้ำปลา พระมารดาจึงแกล้งพูดว่า ถ้าอยากเป็น 'เจ้า' ก็ซดน้ำปลาที่ถือมาให้หมด กรมหลวงจักรเจษฎาเมื่อครั้งยังเป็น 'คุณลา' ก็ซดจนหมดโถ คุณพระ !!! อยากเป็น 'เจ้า' ขั้นสุด
จนเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระองค์ได้ติดตามพระชนกไปกับพระมารดาขึ้นไปอยู่เมืองพิษณุโลก ครั้นพระชนกสวรรคต ได้ปลงพระศพแล้ว เชิญพระอัฐิมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก่อนจะได้รับสถาปนาเป็น 'สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา' และรับราชการสนองพระเดชพระคุณอยู่ในพระนคร
เมื่อท่านได้เป็น 'เจ้า' สมใจแล้ว ว่ากันว่า เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา นั้นมีความดุเฉพาะพระองค์ที่อาจจะเรียกว่า 'แรง' ทีเดียว คือ ถ้าผู้ใดเดินลอยชายผ่านหน้าวัง หรือขึ้นไปเล่นบนกำแพงพระนครด้านคลองรอบกรุง หรือผู้ใดไปเป่าขลุ่ย หรือส่งเสียงดัง หน้าวังของพระองค์ ก็จะรับสั่งให้ข้าหลวงในกรมไปจับตัวมาเฆี่ยน 30 ที (โหดแท้) แต่จะจริงหรือไม่จริงอันนี้ผมไม่ยืนยันนะครับ เขาแค่บันทึกไว้แบบนี้ แต่เห็นกำแพงวังแล้วผมว่าไม่น่าจะได้ยินหรือได้เห็นใครมาเดินลอยชายง่าย ๆ หรอกครับ แต่ก็มีความย้อนแย้งอีกอย่างที่บันทึกไว้ซึ่งตรงข้ามกับ “ความดุ” เลยคือ ถ้าเกิดมีใครมาเล่นว่าวที่หน้าวัง ถ้าพระองค์ทอดพระเนตรเห็น ก็จะเสด็จ ฯ ออกมาชักเล่นด้วยไม่กริ้วกราดแต่อย่างใด เอ้า!!! ชอบเล่นไปซะอย่างนั้น
ไหน ๆ ก็ออกนอกวังมาแล้ว เขาบันทึกไว้อีกว่าทุกครั้งที่พระองค์เสด็จ ฯ ออกมานอกวัง เมื่อทรงพระเสลี่ยงผ่านตลาด เห็นสิ่งใดน่าเสวยก็จะรับสั่งขอชาวตลาด ชาวตลาดก็นำไปถวายถึงบนเสลี่ยง แหม่!!! ก็ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายของเจ้านาย ได้หน้าได้ตากันไป ของไม่ต้องมาก ไม่ต้องแพง เพราะพระองค์เป็น 'เจ้า' ที่ค่อนข้างติดดิน ทรงชอบกล้วยน้ำว้ามากกว่าสิ่งอื่น ๆ สามารถเสวยได้จนหมดหวี พอได้ของเสวย เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ก็เสวยบนเสลี่ยงมาตามทางนั่นแหละ เป็นไงล่ะครับ อินดี้ไหมล่ะ
ยกกรณีติดดินอีกอย่างของพระองค์ก็คือ ถ้าปวดลงพระบังคนหนักก็จะรับสั่งร้องบอกคนหามพระเสลี่ยงให้รอไว้ แล้วท่านก็กระโดดลงมานั่งผินพระขนอง (หลัง) เข้ากำแพงเมืองหรือกำแพงพระราชวัง ผินพระพักตร์ออกมาทางถนน มหาดเล็กก็จะเชิญพระกลดกั้นถวายจนเสร็จ แล้วเสด็จ ฯ ขึ้นพระเสลี่ยงไปต่อ เอาสิ เป็นไงล่ะ
ส่วนงานราชการนั้น 'สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา' ได้สนองพระเดชพระคุณในสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชอย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยพระองค์มีความสามารถในด้านการทัพ (อันนี้น่าจะยืนยันความดุ และความกล้าได้พอควร) โดยทรงรับราชการเป็นยกกระบัตรทัพในสงครามเก้าทัพเมื่อปี พ.ศ. 2328 และร่วมตีเมืองเชียงใหม่กับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เรียกว่าถ้าไม่เก่งจริงคงไม่สามารถไปร่วมรบกับ 'วังหน้าพระยาเสือ' ได้เป็นแน่
(10 ก.พ. 66) พรรคก้าวไกล นำโดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมแกนนำพรรค อาทิ อภิชาติ ศิริสุนทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ ร่วมเปิดเวทีปราศรัยแนะนำตัวว่าที่ผู้สมัครในพื้นที่อีสานใต้ ประกอบด้วย ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ พร้อมกับเปิดรายละเอียดนโยบายด้านการเกษตรของพรรคก้าวไกล ตามแนวคิด 'กระดุม 5 เม็ด' ที่พิธา เคยใช้ในการอภิปรายเพื่อแก้ไขปัญหาเรื้อรังของการเกษตรกรทั้งระบบ
โดยในช่วงบ่าย มีการจัดเวทีที่หน้าตลาดสดเทศบาลตำบลปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ เพื่อเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส. ทั้ง 9 คน โดยได้รับการตอบรับอย่างเนืองแน่นจากประชาชน ที่เข้าร่วมจับจองที่นั่งจนเต็มเวที
พิธาเริ่มการปราศรัย กล่าวถึงแนวคิดกระดุม 5 เม็ด ที่เคยได้อภิปรายไปอีกครั้ง โดยระบุว่าในบรรดากระดุมทั้ง 5 เม็ด ตนและพรรคก้าวไกลเน้นเสมอว่ากระดุมเม็ดแรกที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในชีวิตของเกษตรกรคือเรื่องของที่ดิน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลประยุทธ์ได้ใช้นโยบายยึดที่ดินจากประชาชน เป็นนโยบาย 'ทวงคืนผืนป่า' ในยุครัฐบาล คสช.
สำหรับพรรคก้าวไกล เรามีวิธีคิดที่แตกต่างออกไปจากทุกรัฐบาลที่ผ่านมา เราเป็นพรรคที่พูดมาเสมอว่าที่ดินของประเทศไทยอยู่ในมือของรัฐมากเกินไป ถึง 62% จาก 320 ล้านไร่ ภายใต้การดูแลของ 8 กระทรวง และกฎหมาย 16 ฉบับ และนี่คือจุดเริ่มต้นที่เราต้องแก้ปัญหา เป็นกระดุมเม็ดแรกที่พรรคก้าวไกลจะเข้าไปจัดการอย่างเป็นระบบ
ประการแรก คือการตั้งกองทุนพิสูจน์สิทธิที่ดิน ที่ปีหนึ่ง ๆ มีงบประมาณอยู่เพียง 300 กว่าล้านบาท ช่วยเกษตรกรพิสูจน์สิทธิได้แค่ปีละ 1,000 ราย ในอัตราเช่นนี้ เราต้องใช้เวลาถึง 1,000 ปีกว่าที่ประชาชนที่มีความต้องการจะได้รับการพิสูจน์สิทธิจนครบทั้งประเทศ ดังนั้น พรรคก้าวไกลจึงมีนโยบายเพิ่มงบประมาณในการสำรวจที่ดินเพิ่มขึ้น 30 เท่าเป็น 10,000 ล้านบาท
พร้อมกันนั้น เราจะจัดตั้ง 'ธนาคารที่ดิน' ซึ่งขบวนการภาคประชาชน อาทิ พีมูฟ ได้นำเสนอมาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้เป็นกลไกในการเอาที่ดินจากมือรัฐ มาเข้าในธนาคารที่ดิน ก่อนกระจายให้ประชาชนผ่อนจ่ายเป็นเจ้าของที่ดินได้ในดอกเบี้ยราคาถูก
และที่สำคัญ คือนโยบายเปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ซึ่งพิธาระบุว่าจากที่ดินที่ประเทศไทยเรามีอยู่ทั้งหมด 320 ล้านไร่ เป็นที่ดิน ส.ป.ก. อยู่ถึง 40 ล้านไร่ เป็นที่ดินที่ประชาชนสามารถใช้ได้แต่เต็มไปด้วยข้อจำกัด ไม่สามารถนำไปสู่การต่อยอดได้ และเวลาผ่านไปกลับเกิดการเปลี่ยนมือเป็นของนายทุนถึง 4 ล้านไร่ นี่คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ตราบที่ประเทศไทยยังปล่อยให้ ส.ป.ก. เป็นเรื่องคาราคาซังอยู่แบบนี้ ส.ป.ก. จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในการคายที่ดินออกมาจากมือของรัฐ
ดังนั้น พรรคก้าวไกลจึงเสนอนโยบาย ให้เกิดการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ภายใต้เงื่อนไขรับการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดได้ไม่เกิน 50 ไร่ โดยที่ (1) หากผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นชื่อเดียวกัน สามารถออกเป็นโฉนดที่ดินได้ทันที ภายใน 5 ปีแรก สามารถโอนมรดกได้ แต่หากจะขายหรือจำนอง ต้องดำเนินการผ่านธนาคารที่ดิน
(2) หากผู้รับสิทธิ ส.ป.ก. กับผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นชื่อไม่ตรงกัน จะออกโฉนดที่ดินได้ก็ต่อเมื่อเป็นผู้ที่มีหลักฐานใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี เป็นผู้ที่มีหลักฐานข้อตกลงระหว่างผู้ได้รับสิทธิเดิมกับผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินจริง และเป็นผู้ที่มีทรัพย์สินทั้งหมดไม่เกิน 10 ล้านบาท
(3) สำหรับกรณีที่ใช้ที่ดินที่ผ่านมาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกจากการเกษตร ได้รับการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดเฉพาะผู้ที่ครอบครองที่ดินรวมกันทั้งหมด ไม่เกิน 50 ไร่ โดยภายใน 10 ปีแรกโอนมรดกได้ แต่หากจะขายหรือจำนอง ต้องดำเนินการผ่านธนาคารที่ดิน ส่วนที่ดินส่วนที่เกิน 50 ไร่ หรือได้มาแบบผิดกฎหมาย จะถูกนำเข้าสู่ธนาคารที่ดินเพื่อนำมากระจายให้กับประชาชน
พิธายังกล่าวต่อไป ถึงการแก้ไขปัญหากระดุมเม็ดที่ 2 หรือหนี้สิน โดยระบุว่าพรรคก้าวไกลมีนโยบายที่จะปลดหนี้สินเกษตรกร เช่น นโยบายปลูกป่าปลดหนี้ ที่รัฐจะเข้าไปเช่าที่ดินจากเกษตรกรที่ไม่ประสงค์จะปลูกพืชเศรษฐกิจอีก แล้วมาปลูกไม้ยืนต้น ให้เกษตรกรได้ค่าเช่ามาปลดหนี้ รวมถึงนโยบายเสรีโซลาร์เซลล์ ให้ประชาชนสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ง่ายขึ้น และสามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินคืนให้กับรัฐได้ และที่สำคัญ ในกรณีที่เป็นเกษตรกรสูงอายุที่เป็นหนี้ ธ.ก.ส. หากคืนหนี้เกิน 50% แล้วรัฐบาลยกหนี้ให้ทันที
สำหรับกระดุมเม็ดที่ 3 หรือต้นทุน พรรคก้าวไกลมีนโยบายลดต้นทุนให้เกษตรกรอย่างครบวงจร ทั้งน้ำ ปุ๋ย และเครื่องจักร และเมื่อเก็บเงิน ตั้งตัว ลดต้นทุนได้แล้ว กระดุมเม็ดที่ 4 ของเรา คือการเพิ่มมูลค่าด้วยสุราก้าวหน้า อย่างที่ศรีสะเกษมีวิสกี้ขาวที่กำลังจะหายไปจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ถ้าก้าวไกลเป็นรัฐบาล ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นของพรรคก้าวไกล แก้ระเบียบแค่ประโยคเดียวเพื่อปลดข้อจำกัดด้านกำลังแรงม้าและทุนจดทะเบียน เกษตรกรสามารถเริ่มต้นเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรได้ทันที
สำหรับกระดุมเม็ดที่ 5 บริการการเกษตร พรรคก้าวไกลมีนโยบายเพิ่มรายได้ใหม่ให้เกษตรกร เพื่อนำไปสู่การต่อยอดจากสินค้าสู่บริการ เช่น นโยบายให้เกษตรกรขอการรับรองมาตรฐาน GAP-GMP และเกษตรอินทรีย์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรคุณภาพดีไปทั่วโลก
พิธายังกล่าวต่อไป ว่าหลายคนอาจจะพูดว่าพรรคการเมืองทุกพรรคมีนโยบายการเกษตรเหมือนกันหมด แต่สำหรับพรรคก้าวไกล วันนี้เรามีนโยบายที่ต่างออกไปจากทุกพรรคอย่างชัดเจน มีข้อมูลที่ครบถ้วนอยู่ในมือที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้อย่างแน่นอน
พุทธศักราช 2478 นาวาโทหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก ต้องการจัดหาสถานที่ตั้งสนามกีฬากลางกรมพลศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษากลาง และสโมสรสถานลูกเสือ กระทั่งได้ทำสัญญากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเช่าที่ดินขนาด 77 ไร่ 1 งาน ที่ตำบลหอวัง บริเวณวังวินด์เซอร์เดิม เป็นระยะเวลา 29 ปี
โดยเมื่อวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 จึงมีพระราชพิธีก่อพระฤกษ์ (วางศิลาฤกษ์) จากคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เริ่มลงมือก่อสร้างจนสำเร็จลุล่วงเป็น 'กรีฑาสถานแห่งชาติ' (The National Stadium of Thailand) สนามกีฬาแห่งชาติของประเทศไทยจวบทุกวันนี้
การใช้งานกรีฑาสถานแห่งชาติอย่างเป็นทางการครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8) เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกรีฑาประชาชนชาย ประจำปี พ.ศ. 2481
สนามศุภชลาศัย (ชื่อลำลอง - จากผู้ดำริสร้าง 'หลวงศุภชลาศัย') มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบ 'อาร์ตเดโค' หรือ 'อลังการศิลป์' ที่เน้นการออกแบบเล่นกับเส้นสายแนวตั้งที่ชัดเจน กันสาดแผ่นบาง ๆ หน้าต่างเข้ามุมอาคาร หรือการออกแบบแนวเสาอิงให้แสดงออกถึงเส้นแนวตั้ง มีซุ้มประตูทางเข้าใหญ่ มีอาคารรูปทรงเรขาคณิตหนักแน่นเป็นมวลทึบ
สนามกีฬาแห่งชาตินี้เคยถูกใช้เพื่อการกีฬาทุกระดับ อาทิ กีฬาเอเชียนเกมส์ 3 ครั้ง (พ.ศ. 2509, 2513 และ 2521) กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2502 กับ ซีเกมส์ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2528 หรือฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพและควีนสคัพ รวมถึงฟุตบอลโลกหญิง รอบคัดเลือกโซนเอเชีย / ฟุตบอลในกีฬามหาวิทยาลัยโลก (2550) และงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ กับฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี ซึ่งจัดประจำทุกปี เช่นเดียวกับพิธีทบทวนคำปฏิญาณตนและสวนสนาม ของลูกเสือและเนตรนารี เนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ (1 กรกฎาคม)
วันที่ 10 ก.พ. 66 เวลา 15.00 น. ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์สื่อสร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้แทนลงนาม ทั้งนี้มีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าร่วมพิธีฯ
สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ สืบเนื่องจากสถานการณ์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรืออาชญากรรมไซเบอร์ในปัจจุบันมีสถิติที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่หลงกลตกเป็นเหยื่อจนได้รับความเดือดร้อน สูญเสียทรัพย์สิน ซึ่งในบางรายถึงกับต้องสูญเสียชีวิต ซึ่งจากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2565 – 6 ก.พ. 2566 มีการรับแจ้งความอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำนวนทั้งสิ้น 192,031 คดี รวมมูลค่าความเสียหาย 29,546,732,805 บาท สามารถติดตามอายัดบัญชี 65,872 บัญชี อายัดได้ทัน 445,265,908 บาท
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยพล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และห่วงใยประชาชน จึงบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (Public Private Partnership (PPP) เพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการยับยั้ง ป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกัน (Cyber Vaccine) แก่ประชาชนเพื่อให้รู้เท่าทันกลโกงรูปแบบต่างๆ ของมิจฉาชีพ ซึ่งตลอดระยะเวลาการดำเนินงานได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ไปยังประชาชน
ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่อาชญากรรมไซเบอร์ได้พัฒนารูปแบบกลลวงอย่างหลากหลายและรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาความมั่นคงระดับชาติ เพราะส่งผลกระทบทั้งต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย และความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ในการประชุม World Economic Forum 2023 ได้จัดให้ 'ภัยคุกคามไซเบอร์' เป็น 1 ใน 5 ความเสี่ยงที่สำคัญระดับโลก โดยมีการคาดการณ์ว่าผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ จะสูงถึง 10.5 ล้านล้านเหรียญภายในปี 2025 นั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่มบริษัทในเครือฯ ในฐานะของผู้นำธุรกิจภาคเอกชน จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำร่องด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับกลโกงต่างๆ ของอาชญากรรมไซเบอร์เป็นองค์กรแรก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไซเบอร์วัคซีนให้ประชาชนชาวไทยมีความรู้เท่าทันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการร่วมสร้างความตื่นรู้ให้สังคมไทยในครั้งนี้ สอดคล้องกับค่านิยม 3 ประโยชน์ที่เครือฯ ยึดมั่นในการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน สร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ
โดยเครือฯ ได้ระดมสรรพกำลังของกลุ่มธุรกิจในเครือ เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์กลโกงของอาชญกรรมไซเบอร์ในทุกช่องทางการสื่อสารอย่างเต็มศักยภาพรวมระยะเวลา 2 ปี ทั้งจากกลุ่มโทรคมนาคมและร้านค้าปลีกค้าส่ง คือการส่ง SMS เตือนภัยผ่านเครือข่ายทรูมูฟ เอช ซึ่งมีผู้ใช้บริการรวม 37 ล้านเลขหมาย ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในเดือนมกราคมที่ผ่านมา การเผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อภายในลักษณะต่างๆ ในร้านเซเว่น – อีเลฟเว่นกว่า 13,000 สาขาประเทศ ซึ่งมีจำนวนลูกค้าเข้าใช้บริการ 11,404,314 คนต่อวัน ในแม็คโคร 152 สาขา และโลตัสมากกว่า 2,000 สาขา การประชาสัมพันธ์รายการในสถานีข่าว TNN16 และช่อง True4U การจัดกิจกรรมแฮกกาธอนในกลุ่มเยาวชน คิดค้นไอเดียรับมือกลโกง รวมถึงการกระจายข่าวสารผ่านพนักงานกว่า 361,570 คนทั่วประเทศ ซึ่งความหลากหลายทางธุรกิจฯ ของเครือ จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ข่าวสารเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง และทำให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกงรูปแบบต่างๆ ของมิจฉาชีพได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดความสูญเสียทั้งต่อประชาชนและประเทศชาติที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการจัดการเสวนา “จุดกระแส On Stage” ดำเนินรายการโดย คุณกรรชัย กำเนิดพลอย ในหัวข้อ “แฉสารพัดกลโกงมิจฉาชีพหลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์” ซึ่งมีผู้ร่วมแชร์ประสบการณ์ ได้แก่ คุณมยุรา เศวตศิลา นักแสดงชื่อดัง, คุณภาณุพงศ์ หอมวันทา ยูทูปเบอร์เจ้าของช่อง Epic Time, ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมกระบวนการกลโกง Call Center และผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเคยตกเป็นเหยื่อกลโกงแอพออนไลน์ดูดเงินโดยแอบอ้างสรรพากร โดยมีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกันว่าโครงการความร่วมมือครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนไทย เพราะความรู้ผ่านสื่อต่างๆ จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกมิจฉาชีพออนไลน์หลอกลวง และจากที่เคยตกอยู่ในสถานะของเหยื่อมาแล้วนั้น ทำให้มั่นใจมากว่า ถ้ารู้ทันกลโกงก่อนจะไม่ตกเป็นเหยื่ออย่างที่ผ่านมา และหวังว่าการสื่อสารประชาสัมพันธ์ถึงกลโกงผ่านช่องทางที่หลากหลาย จะเข้าถึงคนไทยทุกกลุ่มทั่วประเทศได้ รวมถึง “ความร่วมมือของภาคเอกชน ต้านภัยออนไลน์ด้วยวัคซีนไซเบอร์” โดย พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหาร ยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และคุณศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)
( 10 ก.พ. 66) เวลา 15.30 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นายจุน คุโรดะ (Mr.KURODA Jun) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ และ นายทาเคโอะ คะโต้ (Mr.Takeo Kato) ประธานหอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ โดยมี ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน
นายสุรชัย กล่าวว่า กระทรวงแรงงานขอขอบคุณ JETRO Bangkok และ JCC Bangkok ที่มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการและองค์การทางเศรษฐกิจต่าง ๆ และมีบทบาทในการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น และผลักดันการนำเข้าของสินค้าไทยสู่ตลาดญี่ปุ่นและเผยแพร่บรรยากาศที่ดีของการลงทุนในประเทศไทย รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเช่นนี้ ทำให้มีบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในประเทศไทยเกิดการจ้างงานจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อภาคการเกษตรและประมงจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ครั้งที่ 1/2566 (เฉพาะกิจ) และติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาด้านการเกษตรและด้านประมงในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ.2566 – 2570 ณ โรงแรมบลู โฮเทล นครพนม จ.นครพนม ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการดำเนินงานโครงการที่เกี่ยวข้องและขับเคลื่อนแผนพัฒนาด้านการประมงในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2566 – 2570 ประกอบด้วย 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง และแนวทางที่ 2 การบริหารจัดการด้านการประมงและทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืนและคงความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (AIC) ประจำจังหวัด ภาคประชาชน และหน่วยงานในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำโขง
สำหรับการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งนี้นับเป็นการประชุมเฉพาะกิจนอกพื้นที่ครั้งแรกร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ด้านการประมงและด้านการเกษตร แบ่งเป็น ด้านการประมง รวมจำนวน 31 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 13,012,140 บาท พื้นที่ดำเนินการ 8 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดเชียงราย เลย หนองคายบึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี อาทิ โครงการการจัดการระบบนิเวศปลาหน้าวัด, โครงการธนาคารผลผลิตเกษตรด้านการประมงสนับสนุนธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม, กิจกรรมส่งเสริมเยาวชนนักเพาะเลี้ยง, โครงการเพาะพันธุ์ปลายี่สกไทย (ปลาเอิน) ในแม่น้ำโขง เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่แม่น้ำโขงและลำน้ำสาขา, โครงการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวในบ่อดิน เป็นต้น สำหรับด้านการเกษตรสำนักแผนงานและโครงการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สป.กษ.) ได้สรุปแผนงาน/โครงการภายใต้แผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนระดับจังหวัด ปี 2566 – 2570 (ฉบับทบวน) รวมจำนวน794 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 7,770,595,287 บาท แบ่งเป็น งบจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 304 โครงการ งบประมาณ1,124,048,495 บาท งบปกติ 375 โครงการ งบประมาณ 6,600,923,240 บาท และงบอื่น ๆ 70 โครงการ งบประมาณ 45,623,552 บาทโดยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาบรรจุแผนงาน/โครงการไว้ในคำของบประมาณประจำปีของหน่วยงานต่อไป
ที่ประชุมยังได้หารือและรับทราบในเรื่องอื่น ๆ ได้แก่
1. แนวทางการดำเนินการรักษาพันธุ์ปลาบึกในแม่น้ำโขง โดยกรมประมง ซึ่งมี 2 แนวทาง ดังนี้ 1.1) การอนุรักษ์นอกถิ่นแม่น้ำโขง โดยการปล่อยลงในแหล่งน้ำภายในประเทศ ซึ่งกรมประมงจะใช้แม่พันธุ์ปลาบึกรุ่น F1 เพื่อผลิตปลาบึกรุ่น F2 ที่ยังคงความหลากหลายทางพันธุกรรมและยังคงสามารถรักษาไว้ได้จากเดิมให้มากที่สุด โดยปลาบึกรุ่นลูกF2 นี้ สามารถนำไปเลี้ยงไว้ในอ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นการนกษาพันธุ์ปลาลึกไว้นอกแหล่งที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะเลี้ยงต่อไปได้ในอนาคต และ 1.2) สนับสนุนการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ให้แก่เกตรกร เนื่องจากปลาบึกมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง
2. ความก้าวหน้าการดำเนินการของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการเกษตรในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนทบทวนแผนพัฒนาการเกษตร ในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน โดย สำนักแผนงานและโครงการพิเศษ สป.กษ. ได้ส่งหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 8 จังหวัด รับทราบและดำเนินการตามแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ.2566 – 2570 และแผนพัฒนาด้านการประมงในพื้นที่แม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2566 – 2570 แล้ว
3. ความก้าวหน้าการศึกษาพลับพลึงแม่น้ำโขงและแผนการนำพลับพลึงแม่น้ำโขงกลับไปปลูกคืนถิ่นเดิม โอกาสนี้นายอลงกรณ์ ได้มอบต้นพันธุ์พลับพลึงแม่น้ำโขง (Crinum viviparum) (ที่เพาะพันธุ์จากเมล็ด) ซึ่งถือเป็นพืชเฉพาะถิ่นหายาก และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จำนวน 30 ต้น ให้แก่ นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา ผู้แทนสมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสานและ1จังหวัดภาคเหนือคือเชียงรายเพื่อนำไปจัดกิจกรรมให้ชุมชนในการปลูกในพื้นที่อาศัยเดิม ตำบลหาดคัมภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ตามแผนการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุ์พลับพลึงแม่น้ำโขงของกรมประมงที่ทำการเก็บรวบรวมตัวอย่างต้นพันธุ์จากธรรมชาติ ตั้งแต่ปี 2564 และนำไปศึกษาเพาะเลี้ยงในระบบโรงเรือน และห้องปฏิบัติการจนได้ต้นพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ในปัจจุบัน
“กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะผลักดันและสนับสนุนการพัฒนาด้านการประมงในพื้นที่แม่น้ำโขงร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติสร้างความมั่นคงด้านอาชีพ พัฒนาขีดความสามารถในทุกด้าน เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชนและเกษตรกร และคงความหลากหลายของทรัพยากรประมงในแม่น้ำโขงได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายอลงกรณ์ กล่าว
จากกรณีเมื่อวันที่ 7 ก.พ.66 เพจสายไหมต้องรอดพร้อมด้วย นายเชิดเกียรติ ศักดิ์ศรี ผู้เสียหาย เข้าร้องขอความช่วยเหลือจาก พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. จากเหตุถูกแก๊งเว็บพนันซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้อง อุ้มไปทำร้ายร่างกายอ้างว่าถูกผู้เสียหายโกงเงินหลักแสนบาท รวมทั้งปล้นเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไปหลายรายการ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 ม.ค.66 ตามที่สื่อมวลชนและโซเชียลได้นำเสนอไปแล้ว นั้น
กรณีดังกล่าว พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ได้สั่งการให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เร่งดำเนินการสืบสวนหาตัวกลุ่มผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีโดยเร็ว เนื่องจากเป็นคดีที่ได้รับความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชนอย่างมาก เพราะมีการให้ข้อมูลว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องกับเว็บพนันออนไลน์ดังกล่าว และยังมีการก่อเหตุอย่างอุกอาจ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนร่วมกับ สน.โชคชัย ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบในคดีดังกล่าว เร่งสืบสวนติดตามผู้ก่อเหตุในคดีดังกล่าว จึงสั่งการให้นำตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีตามกฎหมายโดยเร็ว
จากการสืบสวนทราบว่า ผู้เสียหายทำงานเป็นแอดมินเว็บไซต์พนันออนไลน์มาแล้วประมาณ 5-6 ปี ทำหน้าที่คอยดูแลลูกค้าและให้คำแนะนำเรื่องฝากถอนเงิน โดยมีกลุ่มของผู้ก่อเหตุเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ ก่อนเกิดเหตุกลุ่มผู้ก่อเหตุตั้งข้อสงสัยว่า ผู้เสียหายโกงเงินไป เนื่องจากยอดเงินไม่ตรง จึงได้มีการนัดหมายเพื่อพูดคุยกัน โดยมีคนมารับผู้เสียหายไปเจอกลุ่มผู้ต้องหาที่ร้านกาแฟในเขต ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี มีกลุ่มผู้ต้องหารออยู่ประมาณ 4-5 คน ได้มีการซักถามผู้เสียหายเกี่ยวกับเงินที่หายไป แต่ผู้เสียหายปฏิเสธ จึงถูกกลุ่มผู้ต้องหาเตะต่อยหลายครั้ง และได้หยิบเอาโทรศัพท์มือถือและแท็ปเล็ตของผู้เสียหายไป และได้กดโอนเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปจำนวน 25,000 บาท ระหว่างนั้นได้มีการแสดงข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของผู้เสียหายเพื่อข่มขู่ จากนั้นได้พาผู้เสียหายนั่งรถไปที่ห้องพักของผู้เสียหายในย่านลาดพร้าววังหิน แขวง/เขตลาดพร้าว กทม. โดยคนที่พาไปได้มีการเปิดให้เห็นว่ามีการพกอาวุธปืนมาด้วย ทำให้ผู้เสียหายตกใจกลัวและยินยอมไปด้วยดี เมื่อถึงห้องพักพบว่าแฟนสาวของผู้เสียหายอยู่ด้วย กลุ่มผู้ต้องหาได้หยิบเอาทรัพย์สินเป็นรองเท้า และนาฬิกาเพิ่มไปอีก จากนั้นได้ขับรถกระบะหลบหนีไป ผู้เสียหายจึงตัดสินใจร้องขอความช่วยเหลือในเวลาต่อมา
จากข้อมูลดังกล่าว ประกอบกับการรวบรวมพยานหลักฐาน พนักงานสอบสวน สน.โชคชัย จึงได้ขออนุมัติศาลออกหมายจับกลุ่มผู้ต้องหาจำนวน 7 ราย ประกอบด้วย
1. น.ส.พัชญ์วัญญ์ (สงวนนามสกุล) อายุ 39 ปี เป็นคนซักถามและเอาโทรศัพท์ผู้เสียหายไปโอนเงิน
2. นายมนตรี (สงวนนามสกุล) อายุ 39 ปี เป็นคนซักถาม
3. นายชัยชนะ (สงวนนามสกุล) อายุ 32 ปี เป็นคนลงมือทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย (มอบตัว)
4. น.ส.รมิตา (สงวนนามสกุล) อายุ 32 ปี เป็นคนช่วยเช็คข้อมูลบัญชีของผู้เสียหาย (มอบตัว)
5. นายธเนศ (สงวนนามสกุล) อายุ 34 ปี เป็นคนลงมือทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย (มอบตัว)
6. นายกฤษฎา (สงวนนามสกุล) อายุ 32 ปี เป็นคนขับรถพาไปห้องผู้เสียหาย (มอบตัว)
7. นายสุทัศน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี เป็นคนขับรถพาไปห้องผู้เสียหาย (มอบตัว)
โดยจะดำเนินคดีในความผิดฐาน “ปล้นทรัพย์, ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ, ข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น โดยมีอาวุธ, หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย, ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว หรือตกใจ โดยการขู่เข็ญ, กระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม ให้ได้รับความเดือดร้อน, มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โดยไม่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วน” ล่าสุดผู้ต้องหาได้เข้ามอบตัวแล้วจำนวน 5 ราย เหลือติดตามจับกุม 2 ราย
นอกจากนี้ ในส่วนของการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของผู้เสียหายซึ่งกลุ่มผู้ต้องหานำมาข่มขู่นั้น จากการตรวจสอบพบว่า ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ความช่วยเหลือในการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว อยู่ในระหว่างการสืบสวนขยายผล หากพบว่าร่วมมือกับกลุ่มผู้กระทำความผิดจริง จะมีการดำเนินคดีถึงที่สุดต่อไป
เมื่อวันที่ 9 ก.พ.66 พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ และคุณกีรตา พันธุ์เอี่ยม ประธานชมรมภริยากองเรือยุทธการ พร้อมผู้แทนจากโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ และคณะเดินทางเข้าเยี่ยมให้กำลังใจมอบสิ่งของอุปโภคบริโภคที่จำเป็นยาและเวชภัณท์ ให้กับกำลังพลที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ที่พักอาศัยอยู่ในบ้านพักข้าราชการกองเรือยุทธการ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พร้อมทั้งรับฟังปัญหาความต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมพบว่า รายแรกที่บ้านพักของ จ่าเอกบุญชู ทัดสันเทียะ กำลังพลสังกัด เรือหลวงภูมิพล ที่ประสบอุบัติเหตุทางสมองและเป็นผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
โดยได้มอบเงินจำนวน 5,000 บาท เพื่อสนับสนุนเป็นเงินทุนเพื่อการศึกษาให้กับบุตรสาวของ จ่าเอกบุญชูฯ มอบเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น สายดูดเสมหะ ทิชชู่ม้วน และทิชชู่เปียก พร้อมทั้งสอบถามถึงความเป็นอยู่และอาการเจ็บป่วยด้วยความห่วงใย จากนั้นได้เดินทางเข้าเยี่ยมและมอบสิ่งของให้กับที่ผู้ป่วยติดเตียงที่มักขาดแคลนสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น อาทิ ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ (แพมเพิส) แผ่นรองปัสสาวะ กระดาษทิชชู่ อุปกรณ์ในการช่วยพยุงตามผนังจากปัญหาการเคลื่อนไหวไม่สะดวก รวมถึงข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำมันพืชและของใช้ในครัวเรือน รวม 3 ครอบครัว ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ขณะที่ผู้ป่วยติดเตียงและครอบครัวต่างรู้สึกซาบซึ้งที่กองเรือยุทธการ ดูแลอยู่ตลอดเวลาไม่เคยทอดทิ้ง ที่ผ่านมาได้มีการประสานงานให้แพทย์และพยาบาล จากโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ มาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอุ่นใจและมีความสุข เมื่อได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับผู้คนภายนอก ทำให้มีพลังแรงใจในการต่อสู้ชีวิตต่อไป
ซึ่งเป็นนโยบายของ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ที่ต้องการให้กำลังพลตลอดจนญาติในครอบครัวได้รับการดูแลที่ดี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานไม่มีห่วงอยู่ข้างหลัง สามารถทุ่มเทให้กับการทำงาน เพื่อกองทัพเรือและกองเรือยุทธการ ได้อย่างเต็มที่
และในโอกาสเดียวกันนี้ ยังได้เดินทางไปมอบต้นกล้าสมุนไพร อาทิ ต้นกระดูกไก่ดำ ต้นกระเจี๊ยบแดง หัวขมิ้น และหัวไพร สำหรับปลูกในโครงการ "ปลูกสุขภาพดีด้วยสมุนไพร" เพื่อนำไปปลูกตามบ้านในโซนต่างๆ ภายในกองเรือยุทธการอีกด้วย ที่ผ่านมาได้มอบให้นำไปปลูกแล้วจนสามารถเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในครอบครัว อีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับโครงการ "ปลูกสุขภาพดีด้วยสมุนไพร" เป็นหนึ่งในกิจกรรม "ครบรอบสิ้นพระชนม์ 100 ปี" พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาทหารเรือไทย (เสด็จเตี่ย) และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Good Home And Good Health” ที่ทางกองเรือยุทธการ ร่วมกับโรงพยาบาล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ดำเนินโครงการและให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะสุขภาพที่ดีของกำลังพลทุกคน เป็นสิ่งที่สำคัญ