Monday, 19 May 2025
NewsFeed

ปัจจุบันการที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งจะมีอายุได้ยาวนานเป็นสิบปี ก็เรียกว่าเก่ง แต่ถ้าเป็นร้อยปี นี่ถือว่าหาได้ยากมาก ๆ แต่เชื่อไหมว่า ในโลกนี้มีธุรกิจที่มีอายุยาวนานถึง 1,400 ปีอยู่

และที่สำคัญยิ่งกว่า คือ บริษัทนี้ทำธุรกิจแบบเดียวกับที่ทำในอดีต มาจนถึงปัจจุบันอีกด้วย

คงโงกูมิ (Kongō Gumi : 金剛組) หรือ ‘บริษัท คงโงกูมิ จำกัด’ คือ บริษัทที่ว่า...

คงโงกูมิ เป็นบริษัทรับจ้างก่อสร้างวัดและศาลเจ้า ก่อตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ปีพุทธศักราช 1121 โดยช่างไม้ชื่อ Shigemitsu Kongo จุดเริ่มต้น คือ เขาได้รับว่าจ้างจากราชสำนักให้สร้างวัดพุทธขึ้นเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น ซึ่งพวกเขาก็ได้สร้างวัดวัดชิเทนโนจิ ในจังหวัดโอซาก้าขึ้นมา และผลงานดังกล่าว ก็เป็นที่ชื่นชมอย่างมาก เขาจึงตัดสินใจก่อตั้ง บริษัท คงโงกูมิ เพื่อรับงานสร้างวัดอย่างจริงจัง

นับจากวันนั้น ศาสนาพุทธก็แพร่หลายในญี่ปุ่น ธุรกิจ คงโงกูมิ จึงมีงานสร้างวัด ศาลเจ้า และปราสาทต่าง ๆ เข้ามาอยู่ตลอด ด้วยความที่ผลงานเป็นที่ประจักษ์ คงโงกูมิ เลยมีงานให้ทำไม่หยุดหย่อน ยิ่งคนญี่ปุ่นมีศรัทธาแรงกล้าในพุทธศาสนามากขึ้นเท่าไร ธุรกิจของ คงโงกูมิ ก็ยิ่งเจริญเติบโตมากขึ้นเท่านั้น วัดชื่อดังหลายแห่งในญี่ปุ่นก็เป็นผลงานของพวกเขา รวมถึงปราสาทโอซาก้าที่เป็นจุดท่องเที่ยวยอดฮิตด้วย

คงโงกูมิ ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน สืบทอดมาถึง 40 รุ่น มีการคัดเลือกทายาทที่เหมาะสม มีทั้งผู้สืบทอดที่เป็นลูกชาย ลูกสาว ลูกเขย ซึ่งทั้งหมดจะต้องผ่านการพิจารณาว่ามีภาวะผู้นำที่ดี และบริษัทยังมีการปรับตัวในยุควิกฤต เช่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คนไม่สนใจจะสร้างวัด บริษัทก็หันมาต่อหีบศพขายเพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาด พอเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ พวกเขาก็เริ่มสร้างวัดด้วยคอนกรีตแทนไม้ โดยยังคงความงามของศิลปะดั้งเดิมไว้อยู่

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมบริษัทรับสร้างวัด จึงอยู่มาได้นานขนาดนี้?

มีการวิเคราะห์กันว่ามาจาก 3 ปัจจัยใหญ่ ๆ ซึ่งประกอบด้วย...

1.) ผู้นำที่ดี

ความน่าสนใจ ก็คือ การสืบทอดกิจการกันในครอบครัว ที่ไม่ได้ยึดติดกับ ‘ลูกคนโต’ มาสืบทอดงานตามปกติเหมือนธุรกิจอื่น ๆ แต่บริษัท คงโงกูมิ จะคัดเลือกผู้สืบทอดจากทายาทที่เหมาะสม โดยไม่สนทั้งอายุและเพศ ทำให้ผู้นำของบริษัทสามารถเป็นได้ทั้งลูกชาย ลูกสาว หรือแม้แต่ลูกเขย ที่แต่งเข้ามาก็ได้ ขอแค่พวกเขารักในงาน อยากสืบทอดกิจการ และมีความสามารถ ซึ่งนั่นทำให้ผู้นำบริษัท มักมีภาวะผู้นำที่ดีอยู่เสมอ

2.) สินค้ามีความต้องการอยู่ตลอดเวลา

บริษัท คงโงกูมิ ทำงานเกี่ยวข้องกับศาสนา ที่มีผู้คนศรัทธานับล้านคน ทำให้ตลอดพันปีที่ผ่านมา ความศรัทธานั้นก็ยังคงอยู่ พวกเขาจึงมีงานสร้างวัดอยู่เสมอ ๆ พอวัดใหม่ถูกสร้าง วัดเก่าก็ต้องการการปรับปรุง แล้วงบก็จะมาจากทั้งการว่าจ้างของเอกชน การระดมทุนของชุมชน หรือกระทั่งรัฐบาลสนับสนุนเงิน ทำให้มีเงินเข้ามาอยู่ตลอด ฉะนั้นลองคิดดูว่าใครที่ก่อสร้างวัด หรือปรับปรุงวัด ก็ต้องเรียกหา ‘คงโงกูมิ’ เป็นลำดับแรกๆ จนเรียกว่าเป็นเจ้าตลาด ในตลาดที่มีลูกค้าคอยใช้บริการอยู่ตลอด ก็ไม่ผิดนัก

3.) ความยืดหยุ่นของบริษัท

บริษัท คงโงกูมิ นับว่าเป็นบริษัทที่ผ่านสถานการณ์ที่เลวร้ายมามากที่สุดบริษัทหนึ่งเลยก็ว่าได้ ดังนั้นพวกเขาจึงมีความสามารถในการปรับตัวสูงมาก ยกตัวอย่างเช่น…

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่พวกเขาแทบไม่มีงานก่อสร้างวัดเลย เพราะนอกจากผู้คนจะยากลำบาก งบทุกอย่างยังต้องทุ่มไปที่สงครามด้วย แต่ผู้นำบริษัทในตอนนั้นก็ไม่อยู่นิ่ง เมื่อสงครามทำให้คนตายมหาศาล บริษัทก็ผันตัวไปผลิตโลงศพ เพื่อพยุงกิจการไว้

แถมหลังสงคราม พวกเขาก็กลับมารับหน้าที่บูรณะวัดที่ถูกทำลายจากช่วงสงครามได้อีกครั้ง

พอในยุคหลัง บริษัทยังเลือกที่จะเปลี่ยนจากการสร้างวัดด้วยไม้ ไปเป็นคอนกรีต เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ลดความเสี่ยงไฟไหม้ และทำให้บริการพวกเขาน่าสนใจกว่าคู่แข่งอีก

อย่างไรก็ตาม แม้ คงโงกูมิ จะมีชื่อเสียงทั้งเรื่องความมั่นคง และการปรับตัวแค่ไหน แต่พวกเขาก็ต้องพบปัญหาใหญ่!!

ในช่วงยุคปี 2523 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มเฟื่องฟู บริษัทแห่งนี้ จึงเริ่มหันมาจับงานด้านอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น และเพื่อขยายกิจการ ทางบริษัท จึงตัดสินใจได้กู้เงินก้อนใหญ่มาเพื่อลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ

ทว่าพวกเขากู้เงินมาลงทุน ในช่วงเวลาที่ไม่ค่อยจะเหมาะเท่าไร และอย่างที่ทราบกันดีว่า เหตุการณ์ฟองสบู่แตกของญี่ปุ่นช่วงปี 2532 เป็นความบอบช้ำเหมือนต้มยำกุ้งที่คนไทยต้องเผชิญ ทำให้หลายกิจการต้องปิดตัวลงไป และนั่นก็ทำให้ คงโงกูมิ ต้องประสบกับภาวะที่ลำบาก

แม้ คงโงกูมิ จะไม่ถึงขั้นต้องปิดบริษัทในตอนนั้น แต่ปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้น ดันเข้ามาพร้อม ‘การถดถอยของศาสนาพุทธในญี่ปุ่น’ ทำให้รายได้ของบริษัทเริ่มลดลงอย่างน่าใจหาย เนื่องจาก 80% ของรายได้บริษัทแห่งนี้ ล้วนแต่มาจากการสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมวัดแทบทั้งสิ้น

บริษัท คงโงกูมิ ใช้เวลาล้มลุกคลุกคลานกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดยมีรายได้เฉลี่ยปีละกว่า 2,200 ล้านบาท แต่ถึงกระนั้น พวกเขาก็กลับมีหนี้มหาศาล เกินกว่าที่จะจ่ายได้

จนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 เมื่อเห็นท่าว่าจะไปต่อไม่ไหว คงโงกูมิ จึงตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย และขายให้กับ ‘บริษัททากามัตสึ’ ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างรายใหญ่ไป

และนั่นก็ทำให้ ธุรกิจของตระกูลคงโง กับคงโงกูมิ ต้องยุติธุรกิจลงที่อายุ 1,428 ปี

แม้บทบาทของคนในตระกูลจะจบลง แต่อย่างไรก็ตาม คงโงกูมิ ก็เกิดใหม่ภายใต้บริษัททากามัตสึ ที่มีความเคารพในเกียรติยศของบริษัทที่มีอายุมากที่สุดในญี่ปุ่น ขณะเดียวกันก็เชื่อว่าแบรนด์ คงโงกูมิ ยังขายต่อไปได้

โดยทางบริษัททากามัตสึอนุญาต จึงคงชื่อ คงโงกูมิ ไว้ และไม่มีการยุบหรือควบรวมเข้ามาเป็นบริษัทเดียวกัน และยังให้คนในตระกูลคงโงสามารถทำงานได้ภายใต้ชื่อของบริษัทคงโงกูมิ สืบมาจนถึงทุกวันนี้...


ที่มา

https://www.facebook.com/331394447302302/posts/1166482313793507/

https://www.facebook.com/powersmethai/photos/a.1125773347499569/2573378549405701/?type=3&theater

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ชี้ถ้าจะฉีดวัคซีนโควิดสร้างภูมิคุ้มกันกลุ่ม ต้องฉีดให้ประชากรในประเทศเกือบ 50 ล้านคน วัคซีนที่ใช้จะต้องมีร่วม 100 ล้านโดส ขณะที่ประเทศไทยเตรียมวัคซีนไว้ประมาณ 63 ล้านโดส จึงยังไม่เพียงพอ

เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 64 นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan หัวข้อ วัคซีนโควิด จำนวนผู้ฉีดวัคซีนเท่าไหร่จึงจะเกิดภูมิคุ้มกันกลุ่ม ดังนี้..

ภูมิคุ้มกันกลุ่ม จะช่วยป้องกันการระบาดของโรคที่ติดต่อระหว่างคนสู่คน

การจะป้องกันได้ จะขึ้นอยู่กับว่าโรคนั้น ติดต่อง่ายหรือยาก

โรคติดต่อง่าย ก็จะต้องการภูมิคุ้มกันกลุ่ม ในอัตราที่สูง

โรคติดต่อยาก ก็จะใช้อัตราภูมิคุ้มกันกลุ่มที่ต่ำกว่า

โควิด 19 มีอัตราการติดต่อปานกลาง

เมื่อคำนวณภูมิคุ้มกันกลุ่มที่ต้องการ จะพบว่าอยู่ประมาณ 60%

การให้วัคซีนโควิด ประสิทธิภาพในการสร้างภูมิต้านทาน ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

ถ้าสมมุติว่าวัคซีนโควิด มีการสร้างภูมิต้านทานป้องกันโรคได้ 80%

จำนวนผู้ที่จะต้องฉีดวัคซีน ให้เกิดภูมิคุ้มกันกลุ่ม จะมากกว่า 60% ขึ้นไปอีก จะอยู่ที่กว่า 70%

ดังนั้นการให้วัคซีนในประชากรไทย เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันกลุ่ม ซึ่งในอนาคต จะต้องรวมเด็กด้วย และชาวต่างชาติทั้งหมด ที่อยู่ในประเทศไทย คิดยอดรวมประมาณ 70 ล้านคน

ภูมิต้านทานไม่ว่าจะจากการติดเชื้อ หรือการได้รับวัคซีน ที่เกิดขึ้นต้อง เกือบ 50 ล้านคน

ดังนั้น ความต้องการในการฉีดวัคซีนทั้งประเทศ ถ้าคนละ 2 เข็ม วัคซีนที่ใช้ก็จะต้องใช้ ร่วม 100 ล้านโดส ถ้าขณะนี้ยังไม่นับเด็ก ก็จะต้องใช้ถึง 85 ล้านโดส

ประเทศไทยเตรียมวัคซีนไว้ประมาณ 63 ล้านโดส จึงยังไม่เพียงพอ ยังต้องมีการหาวัคซีนเพิ่มเติม อีกเป็นจำนวนมาก

กลุ่มประชากรเด็ก จะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่จะต้องได้รับวัคซีน จนกว่าจะมีการศึกษาขนาด และวิธีการใช้ เพื่อป้องกันการระบาดของโรค

และในอนาคตในปีหน้า ก็ยังไม่ทราบว่า มีความจำเป็นต้องกระตุ้นเพิ่มอีกหรือไม่

การให้วัคซีน ในหมู่มากสำหรับประเทศไทย มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน เพื่อยุติ วิกฤตการระบาดของโรค ให้ได้อย่างรวดเร็ว ชีวิตความเป็นอยู่และสังคม จะได้กลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

สุดฮือฮา เมื่อ “มวยไทย” กีฬาประจำชาติไทย ถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในชนิดกีฬาของมหกรรมกีฬา “ยูโรเปียนเกมส์ 2023” ที่ประเทศโปแลนด์ นับเป็นครั้งแรกที่มวยไทยถูกบรรจุเข้าไปในมหกรรมนี้

เรื่องนี้ ได้รับการยืนยันจาก สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (IFMA) ในฐานผู้กำกับดูแลเรื่องกีฬามวยไทย ที่อนุญาติให้นักกีฬาสามารถเข้าแข่งขันได้ เปิดเผยว่า คณะกรรมการโอลิมปิกยุโรป (อีโอซี) ได้บรรจุชนิดกีฬาที่ไม่มีจัดแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์เพิ่มเติม เพื่อเปิดเวที และสร้างโอกาส รวมทั้งประสบการณ์ให้นักกีฬา ได้แสดงความสามารถในชนิดกีฬาต่าง ๆ ให้ทั่วโลกได้เห็น

โดย มวยไทย ถือเป็นกีฬาที่เติบโตเร็วในทวีปยุโรปทั้งกลุ่มของนักกีฬาและผู้ชมที่เพิ่มขึ้นทุกปี ซี่งการแข่งขันครั้งนี้ จะมีชิงเหรียญทองประกอบด้วย ประเภทชาย 7 รุ่น ประเภทหญิง 7 รุ่น และประเภททีมผสม

สำหรับการแข่งขัน “ยูโรเปียนเกมส์ 2023” นั้น เป็นมหกรรมกีฬาระหว่างประเทศในทวีปยุโรป ที่จัดต่อเนื่องทุก 4 ปี ซึ่งดำเนินการแข่งขันมาแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งต่อไปจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 9 - 25 มิ.ย. 2023 ที่ เมืองคราคอฟ ประเทศโปแลนด์ โดยมี 50 ชาติในยุโรปเข้าร่วมแข่งขัน

ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่จะทำให้คนทั่วโลก ได้รู้จักมวยไทยมากขึ้นกว่าเดิมด้วย

คลังเผย! กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน - พิเศษ ที่ลงทะเบียนเราชนะกลุ่มแรก รับเงินงวดแรกวันนี้ 4,000 บาท พร้อมรองวดต่อไป12 - 19 - 26 มี.ค. รวม 7,000 ส่วนกลุ่มสอง รอคัดกรองสิทธ์ิ 19 มี.ค. รอรับงวดแรก 6,000 บาท !

หลังจากที่กระทรวงการคลัง เปิดให้ประชาชนกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือ กลุ่มพิเศษเปิดให้ ลงทะเบียนร่วมโครงการเราชนะ โดยไม่ต้องลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com ตั้งแต่วันที่ - 21 ก.พ. กระทรวงการคลัง ได้แจ้งว่ามีผู้ผ่านการคัดกรองแล้วจำนวน 5 แสนคน

ดังนั้นในวันนี้ กลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือ กลุ่มพิเศษ ที่ลงทะเบียนในโครงการเราชนะตั้งแต่วันที่ 15 - 21 ก.พ. ซึ่งเป็นกลุ่มรอบแรก ที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองแล้วจะรับเงินงวดที่ 1 จำนวน 4,000 บาทหลังจากนั้นทุกวันศุกร์ กระทรวงการคลัง โอนเงินเพิ่มอีก 1,000 บาท ในวันที่12 มีนาคม , วันที่19 มีนาคม และ วันที่ 26 มี.ค. รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,000 บาท

โดยประชาชนสามารถใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ดังกล่าวผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด (Smart Card) ผ่านผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการเราชนะได้เลย สำหรับกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ลงทะเบียนเราชนะ ระหว่างวันที่ 22 ก.พ. - 5 มี.ค. รับทราบผลการคัดกรองสิทธิ์ครั้งแรกในวันที่ 19 มี.ค. กลุ่มที่ 2 เมื่อผ่านการคัดกรองได้รับเงิน ครั้งแรกจำนวน 6,000 บาท หลังจากนั้นก็จะได้รับเงินในวันศุกร์ที่ 26 มี.ค. อีกจำนวน 1,000 บาท

ยอดขายของร้านหนังสือในจีน ยอดเติบโตก้าวกระโดดช่วงหยุดยาวตรุษจีนที่ผ่านมา เฉพาะที่เซี่ยงไฮ้ ทะลุ 8.5 ล้านหยวน ตอกย้ำ ‘ร้านหนังสือไม่มีวันตายในจีน’

ธุรกิจหนังสือและร้านหนังสือในจีน ยังคงเป็นธุรกิจที่สามารถทำเงินได้ ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่โดยส่วนใหญ่ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์โดน Disrupt ด้วยสื่อและหนังสือแบบดิจิทัล

เหตุผลที่เป็นเช่นนั้น เพราะ?

เนื่องจากคนจีนเองถูกปลูกฝังให้รักการอ่านและคุ้นชินกับการอ่านหนังสือเป็นเล่มมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงการปรับตัวของร้านหนังสือ ที่ไม่ได้เป็นแค่ร้านหนังสือ แต่เป็นเหมือนสถานที่พักผ่อน พบปะ และสามารถท่องเที่ยวได้ด้วย เห็นได้จากคนจีน โดยเฉพาะคนที่มีลูก จะพาครอบครัวมาเที่ยวร้านหนังสือในช่วงวันหยุด

จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจเลบว่า ทำไมช่วงวันหยุดยาวเทศกาลตรุษจีน 12 ก.พ.64 ที่ผ่านมา ยอดขายหนังสือในร้านหนังสือจีน เฉพาะที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ถึงทะลุ 8.5 ล้านหยวน หรือมากกว่า 2 เท่าของยอดขายหนังสือแบบออนไลน์

ยิ่งไปกว่านั้นยอดขายที่มากมาย ก็ยังเกิดขึ้นในช่วงที่ร้านหนังสือต่างๆ จำกัดจำนวนคนเข้าร้าน โดยลดลงกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนคนที่รับได้ เนื่องจากต้องป้องกัน COVID-19 แต่ก็ยังมีคนจีนหลั่งไหลมาซื้อหนังสืออ่านกัน

สำหรับหนังสือที่เป็นนิยมมากที่สุดในกลุ่มชาวเซี่ยงไฮ้ ได้แก่

- หนังสือสายสังคมวิทยา

- หนังสือเด็ก

- หนังสือแนววัฒนธรรม

- หนังสือนิยายวิทยาศาสตร์


ที่มา: อ้ายจงเล่าเรื่องจาก China Daily

https://www.facebook.com/348166825314887/posts/2160116784119873/

เฟสบุ๊คชื่อ Pat Sangtham ได้โพสต์ ถึงการดีเบต ของฝ่ายต่อต้าน และสนับสนุน ม.112 ผ่านงานเสวนาวิกฤติการเมืองไทยและการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112

ซึ่งจัดโดย สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT: Foreign Correspondent's Club of Thailand)

โดยระบุว่า ALIEN SALIVA – น้ำลายเอเลี่ยน: การเข้ามาวิจารณ์กฎหมายไทย ของเดวิด สเตร็คฟัสส์ เป็นหลักฐานชัดเจนว่าประเทศไทย มีประชาธิปไตยมากพอ ที่จะให้คนต่างชาติเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเสรี

สิ่งที่สเตร็คฟัสส์ อ้าง เช่นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นการอนุมานเอาเอง จากการอ่านและค้นคว้า เพราะสเตร็คฟัสส์ไม่ได้อยู่เมืองไทย ทุกอย่างได้มาจากการอ่าน ไม่ได้เข้าใจถึง ความรู้สึกของคนไทย (sentiment) ไม่ได้รู้ถึงผลกระทบทางอารมณ์ (emotional impact) ต่อเหตุการณ์ ณ ตอนนั้น แล้วโยงเข้าเรื่องกฎหมายปกป้องกษัตริย์ของไทย ที่มีมาถึงปัจจุบัน และไม่แตะเรื่อง "ศรัทธาทางจิตวิญญาณ" ใดๆ อาจจะด้วยเจตนาที่จะไม่พูดถึง หรือเพราะไม่เข้าใจมิติของศรัทธาเนื่องจากมาจากสภาพแวดล้อม ที่ศรัทธาแต่ตัวเอง

แล้วก็ย้อนแย้งตัวเอง จากการที่คุณหมอวรงค์พูดถึง กฎหมายคุ้มครองประมุขของประเทศ ในประเทศต่างๆ เช่นญี่ปุ่น มาเลเชีย เดนมาร์ค โดยอ้างว่า แม้กฎหมายในประเทศยุโรปเช่น สวีเดน และเดนมาร์ค ว่าด้วยการหมิ่นประมาทประมุขของประเทศ จะมีโทษแรงกว่ากฎหมายไทยถึง 3 เท่า แต่จะเห็นได้ว่า "นานแค่ไหนแล้ว ทีมีคดีเรื่องการหมิ่นประมาทประมุขของประเทศ... เอิ่ม ก็มีเหมือนกัน แต่มีเพียงปีละ 3 - 4 คดี"

ตกลง จะย้อนแย้งตัวเองไปทำไม ในเมื่อ กฎหมายในยุโรปลงโทษแรงกว่าไทย และมีคดีให้เห็น

กฎหมายไทย หรือรัฐธรรมนูญไทย ร่างขึ้นและผ่านประชามติ โดยคนไทย เพราะกฎหมายมีหน้าที่ปกป้อง รักษาผลประโยชน์ให้กับคนไทย ดูแลสิทธิ บนพื้นฐานของพฤติกรรมไทย ความเชื่อแบบไทย ค่านิยมและศรัทธาของคนไทย จึงเป็นเรื่องแปลกที่คนต่างชาติ จะออกมาวิจารณ์กฎหมายไทย ราวกับเป็นแผ่นดินแม่

ถ้ามีชาวต่างชาติอื่นๆ ออกมาวิจารณ์กฎหมายไทยอย่างสเตร็คฟัสส์ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคนไทยและชาติต่างๆ ออกมาวิจารณ์กฎหมายของสหรัฐอเมริกาบ้างจะได้ไหม เราจะได้ฟังคำวิจารณ์จากรัสเซีย เวเนซูเวลล่า อัฟกานิสถาน เกาหลีเหนือ มาเลเชีย ฯลฯ กันสนุกแน่นอน


ที่มา : เฟซบุ๊ก Pat Sangtum

https://web.facebook.com/watch/live/?v=206302414606417&ref=watch_permalink

 

“ภูมิใจไทย” เปิดเวที “ชำแหละค่ารถไฟฟ้า ที่เหมาะสม” สะท้อนปัญหาค่าโดยสารราคาแพง เทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ ด้าน ‘สิริพงศ์’ ลั่น ! จับตา กทม.อย่างใกล้ชิด ขู่ประกาศขึ้นราคาเมื่อไหร่ - ฟ้องเมื่อนั้น

ขณะที่ “กรมราง-รฟม.-นักวิชาการ-ผู้บริโภค” ประสานเสียง ค่าโดยสารถูกลงได้อีก ชี้ไม่ควรเกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ

นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ประธานเปิดการเสวนา เรื่อง “ชำแหละค่ารถไฟฟ้า ที่เหมาะสม” ที่จัดขึ้นโดยพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมี นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.จังหวัดศรีษะเกษ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย, นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.), นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรผู้บริโภค, นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิผู้บริโภค และนายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ TDRI ร่วมเสวนา

นายศุภชัย กล่าวว่า ในช่วงหลายรัฐบาลที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในหลายรูปแบบ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่ออำนวยความสะดวก และรองรับการเดินทางของประชาชน ในส่วนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ก็นับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ของประเทศไทยที่มีการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบ “รถไฟฟ้า” ที่กลายเป็นโครงข่ายการเดินทางหลัก เพื่อให้สอดรับกับการเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ทั้งภาคการค้า การลงทุน ที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนมหาศาล รวมถึงเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางการค้าหลักของกลุ่มประเทศในภูมิภาค

“ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้นี้ การเดินทางโดยโครงข่ายรถไฟฟ้าถือเป็นการขนส่งสาธารณะหลักของประชาชนชาว กทม. และปริมณฑล รวมถึงประชาชนในจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่ต้องแบกรับภาระค่าเดินทางที่มากเกินไปอยู่ในขณะนี้ อีกทั้งยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน รายรับไม่เพียงพอกับรายจ่าย และกลายเป็นหนี้สินในท้ายที่สุด” นายศุภชัย กล่าว

นายศุภชัย กล่าวต่ออีกว่า ตามที่มีการประกาศจากส่วนราชการ จะมีการคิดอัตราค่าโดยสารตลอดสายในราคาสูงถึง 104 บาท หรือหากเดินทางไป-กลับ รวมค่าโดยสารต้องจ่ายถึง 208 บาท แต่ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำในเขต กทม. อยู่ที่ 331 บาท อีกทั้งเงินเดือนสำหรับผู้ศึกษาจบในระดับปริญญาตรี เริ่มต้นเฉลี่ย อยู่ที่เดือนละ 15,000 บาท เท่านั้น พรรคภูมิใจไทย จึงได้จัดงานเสวนา เรื่อง “ชำแหละค่ารถไฟฟ้าที่เหมาะสม” ขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ที่อยู่ในวงการคมนาคม ขนส่ง นักวิชาการ ผู้ใช้บริการและภาคประชาชน ในการแสดงความคิดเห็น เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการแก้ไขปัญหา และเป็นเสียงสะท้อนเพื่อนำไปสู่การพิจารณาของภาครัฐ ภาคเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นประโยชน์ของประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการระบบขนส่งเป็นหลัก

ด้านนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.จังหวัด ศรีสะเกษ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ตนในฐานะ ส.ส. ซึ่งมีหน้าที่รับฟังปัญหาของประชาชน ทั้งนี้ ในส่วนของรถไฟฟ้า โดยเฉพาะค่ารถไฟฟ้านั้น ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับค่าครองชีพของประชาชนทุกคน ไม่เพียงแค่ชาว กทม. เท่านั้น แต่ชาวต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานหรือดำรงชีวิตในเขต กทม. และปริมณฑล ไม่น้อยกว่า 50% ของจำนวนประชากรในพื้นที่ดังกล่าว ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ที่ต้องแบกรับภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอัตราสูง โดยมองว่า ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ยังมีราคาแพงเกินไป

ทั้งนี้ ตามที่มีการออกประกาศของ กทม. เรื่องปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาทตลอดสาย เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 และในประกาศระบุไว้ว่า มีผลวันที่ 16 ก.พ. 2564 จนเป็นเหตุให้ตนและ ส.ส.ของพรรคภูมิใจไทย ไปดำเนินการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองในช่วงก่อนหน้านี้ เพื่อให้พิจารณายับยั้งการขึ้นราคา พร้อมทั้งให้พิจารณาว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากมองว่า เรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้า เป็นเรื่องสำคัญของประชาชน อีกทั้ง ระบบรถไฟฟ้า ควรเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงได้ และไม่เป็นภาระของประชาชน

“ถึงแม้ว่า ล่าสุด กทม. จะประกาศเลื่อนการปรับขึ้นราคาดังกล่าว และศาลได้มีคำสั่งทุเลาการยื่นฟ้องนั้น ผมยังเชื่อว่า โอกาสที่ กทม. จะขึ้นราคาค่าโดยสาร ยังมีแน่นอน ผมจะเฝ้าจับตามอง และติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะประกาศของ กทม. ระบุไว้ว่า เลื่อน ไม่ได้ยกเลิก ซึ่งหลังจากนี้ ถ้า กทม.มีประกาศอีกเมื่อไหร่ เราก็จะไปฟ้องร้องอีก เพราะราคา 104 บาทตลอดสาย ไม่ใช่ขนส่งมวลชนสาธารณะที่ทุกคนใช้ได้ เป็นแค่บางคนที่มีฐานะเข้าถึงได้ และเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ” นายสิริพงศ์ กล่าว

ขณะที่ นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า วิธีการคิดคำนวณค่าโดยสารทั่วโลก มี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.อัตราเดียวกันทั้งหมด 2.คิดตามระยะทาง และ 3.คิดตามโซน ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น ได้คิดค่าโดยสารในรูปแบบตามระยะทาง บวกด้วยค่าแรกเข้า ทั้งนี้ การเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้า จุดประสงค์หลัก คือ การเดินทางสะดวก ราคาไม่แพง และทุกคนต้องเข้าถึงได้ และควรหารายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ มาชดเชยรายได้ และลดค่าโดยสารให้กับประชาชน โดยมองว่า ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ยังมีราคาแพงเกินไป

ขณะที่นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ระบบรถไฟฟ้าของ รฟม. ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มีการกำหนดหลักเกณฑ์ระหว่างคู่สัญญาไว้ ทั้งนี้ การคิดอัตราค่าโดยสารของ รฟม. นั้น คิดตาม MRT Assessment Standardization ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ทั้งนี้ ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันนั้น รวมระยะทาง 48 กิโลเมตร (กม.) มี 38 สถานี ค่าโดยสารอยู่ที่ 17-42 บาท (คิดค่าโดยสาร 12 สถานี) ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วง ให้บริการ 16 สถานี คิดค่าโดยสารในอัตรา 14-42 บาท อีกทั้งหากใช้บริการข้ามระบบ หรือระหว่างสายสีม่วงเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน รวม 54 สถานี ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 70 บาทตลอดสายเท่านั้น โดยเมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถือว่าค่าโดยสารของ รฟม. ถูกกว่าเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลืองในอนาคต จะใช้วิธีการคำนวณอัตราค่าโดยสารในรูปแบบแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตามที่ BTS จะหมดสัญญาสัมปทานในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในปี 2572 นั้น มองว่า เป็นโอกาสที่ดี เนื่องจากโครงการดังกล่าว รัฐบาลจะเป็นเจ้าของโครงการโดยสมบูรณ์ และสามารถบริหารจัดการโครงการ แล้วมาชดเชยค่ารถไฟฟ้าได้ ซึ่งจะทำให้ค่ารถไฟฟ้ามีราคาที่ถูกลง ซึ่งจะทำให้หลายโครงข่ายมีค่าโดยสารในรูปแบบเดียวกัน

ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ราคาค่ารถไฟฟ้าในปัจจุบันไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค และถือว่าแพงที่สุดในโลก โดยเมื่อพิจารณาจากตัวเลขอ้างอิงโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) ที่ระบุว่า ค่ารถไฟฟ้าของประเทศไทย มีอัตรา 26-28% ของค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่ หากใช้ราคา 65 บาท จะอยู่ที่ 30 กว่า% ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านจะอยู่ที่ 3-9% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม มองว่า การคิดคำนวณค่ารถไฟฟ้าไม่ควรยึดหลักดัชนีผู้บริโภค โดยไม่ควรเกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ อีกทั้ง ควรมีการกำหนดเพดานราคาสูงสุดของค่ารถไฟฟ้าทั้งระบบด้วย

นอกจากนี้ ควรมองว่า ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งสาธารณะหลัก แต่ในปัจจุบันกลับมองว่า เป็นการให้บริการทางเลือก

ขณะเดียวกัน จากข้อมูลของกระทรวงคมนาคม ระบุว่า หากเก็บค่าโดยสารสูงสุดที่ราคา 49.83 บาท กทม.จะมีกำไรส่งให้รัฐในปี 2602 อยู่ที่ 380,200 ล้านบาท ซึ่งข้อมูลของ กทม. ระบุว่า หากเก็บค่าโดยสารที่ราคา 65 บาท กทม.จะมีกำไรส่งรัฐในปี 2602 อยู่ที่ 240,000 ล้านบาท ขณะที่ข้อมูลของสภาฯ คำนวณว่า หากเก็บค่าโดยสารที่ 25 บาท จะมีกำไรส่งรัฐในปี 2602 อยู่ที่ 23,200 ล้านบาท โดย กทม. อ้างว่า การคำนวณของกระทรวงคมนาคม คำนวณรายได้จากจำนวนผู้โดยสารสูงกว่า กทม. คำนวณ

“ทำไม กทม. ถึงต้องหวังมีกำไร เนื่องจากการเป็นการให้บริการขนส่งสาธารณะกับประชาชน ซึ่งควรพิจารณานำกำไรที่ได้ มาเฉลี่ยเป็นค่ารถไฟฟ้าให้ถูกลง ซึ่งถ้า กทม. ทำไม่ได้ รัฐก็ไม่ควรต่อสัญญา ควรชะลอให้ผู้ว่า กทม.คนใหม่เข้ามาตัดสินใจ เพราะดิฉันเชื่อว่า ราคาจะถูกลงได้ นอกจากนี้ ควรมาทบทวนทั้งระบบ โดยจะต้องมีราคาที่ถูกลง หรือไม่เกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ และบอกมาเลยว่า ต้องมีสัญญาสัมปทานกี่ปี ค่ารถไฟฟ้าถึงลดลงได้ ตอนนี้ถือเป็นโอกาสของผู้ว่า กทม. คนปัจจุบัน ย้ำว่า ถ้าทำไม่ได้ ต้องไม่ต่อสัญญา” นางสาวสารี กล่าว และว่า เราชื่นชมมากเลยที่ พรรคภูมิใจไทย และ นายสิริพงศ์ ไปฟ้องคดี เพราะการตัดสินใจจะฟ้องเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการมาก

ขณะที่ นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิผู้บริโภค กล่าวว่า จุดยืนของมูลนิธิฯ ยืนยันว่า ระบบรถไฟฟ้าต้องเป็นขนส่งมวลชนหลัก ไม่ใช่ระบบขนส่งทางเลือก ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ยังไม่เคยได้รับคำตอบจาก กทม. ในวิธีการคิดค่าโดยสารว่า มีสูตรคำนวณอย่างไร ขณะเดียวกัน ไม่เห็นด้วยกับการเร่งรีบในการต่อสัญญาสัมปทานของ กทม. กับภาคเอกชน เนื่องจากยังมีเวลาเหลืออีกประมาณ 8 ปี ควรมาร่วมกันพิจารณาทางออกให้ชัดเจนก่อน

นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ TDRI กล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูลประเทศไทยติดอันดับในเรื่องของอัตราค่าโดยสารที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยหลายด้าน โดยอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าครองชีพ ถือว่ามีอัตราค่าโดยสารที่สูง และเมื่อเทียบกับมาตรฐานระดับต่างประเทศ ก็ยังถือว่าสูงมากเช่นเดียวเช่นกัน

คลังฯ เตรียมหารือ ขยายโครงการคนละครึ่งเฟส 3 คาดครอบคลุมสิทธิ์เดิม 15 ล้านคนไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ วงเงินเยียวยาสูงสุด 3,500 นาน 3 เดือน แต่ต้องดูตามความเหมาะสม พร้อมเล็ง! ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% จูงใจต่างชาติลงทุนในไทย

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เตรียมหารือกับ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน และ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง ขยายมาตรการคนละครึ่ง เฟส 3 ที่มาตรการเฟส 1-2 จะครบกำหนดในวันที่ 31 มี.ค.นี้ ว่า จะขยายต่อไปเลยหรือไม่ หรือเป็นช่วงเวลาใด และจะครอบคลุมผู้ที่ได้สิทธิ์เดิม 15 ล้านคนที่ได้สิทธิ์เดิมไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่ หรือ จะเปิดลงทะเบียนใหม่ทั้งหมด ให้สิทธิ์กับทุกคนที่อยากได้

“ตอนนี้ต้องออกแบบโครงการให้ชัดเจนก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ถ้าฝ่ายนโยบายเห็นว่า จะไม่มีโครงการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่น ๆ ออกมา ก็สามารถเสนอโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ได้ ซึ่งหลักการต้องใกล้เคียงกับของเดิม แต่จะดูเวลาที่เหมาะสม ว่าจะให้ต่อเนื่องไปเลย หรือ จะเว้นช่วงไว้ แล้ว จะให้สิทธิ์กี่คน จำเป็นต้อง 15 ล้านคนไหม หรือจะให้ 30 ล้านคนเท่าเราชนะ แต่ถามใจคือ ใครอยากได้ต้องได้หมด” นายกฤษฎา กล่าว

ทั้งนี้ โครงการคนละครึ่งเฟส 3 ต้องแก้ข้อบกพร่องเดิม ที่มีในโครงการเฟส 1-2 เช่น จะต้องรวมภาคบริการจากเดิมให้ซื้อได้เฉพาะสินค้า ซึ่งจะต้องขอหารือกับธนาคารกรุงไทยว่า มีภาคบริการเข้าร่วมโครงการในฐานข้อมูลมากน้อยแค่ไหน และสาเหตุที่ควรขยายมาตรการเฟส 3 ออกไป เพราะเห็นว่าต้องการรักษาแรงส่งให้เศรษฐกิจฟื้นฟูต่อไปได้ เป็นการช่วยเหลือทุกภาคส่วน ร้านค้ารายเล็ก ทั้งสินค้าและบริการกว่า 2 ล้านราย ให้มีส่วนร่วมช่วยกันจับจ่ายใช้สอยคนละครึ่งกับรัฐบาล

นายกฤษฎา กล่าวว่า ส่วนวงเงินที่จะให้เบื้องต้น คาดว่าจะไม่ได้ให้ 500 บาท เหมือนเฟส 2 ซึ่งอาจจะน้อยเกินไป แต่หากจะให้ รายละ 3,000-3,500 บาท นาน 3 เดือน ก็ต้องดูว่า มีเงินเหลือพอหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ เงินกู้จาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ในส่วนวงเงินเยียวยา 5.5 แสนล้านบาท ใช้ไปเกือบหมดแล้ว จึงเหลือวงเงินในส่วนฟื้นฟูอีกประมาณ 2 แสนล้านบาท ที่จะนำมาใช้ได้ ก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายนโยบายว่า จะจ่ายเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสม

ส่วนข้อเสนอของ นายสุพัฒนพงษ์ ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% เพื่อจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยนั้น ต้องไปพิจารณาว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งแล้ว อัตราภาษีไทยสูงเกินไปหรือไม่ เช่น สิงคโปร์ อยู่ที่ 18% แต่บางประเทศก็สูงกว่าไทยมาก ในมุมมองคือ ถ้าลดภาษี ก็ช่วยเรื่องของการแข่งขัน จูงใจลงทุนเพิ่มขึ้นได้ แต่การเสนอต้องทำเป็นแพ็คเกจ ถ้าลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็ต้องจัดเก็บรายได้จากตัวอื่นมาทดแทนด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top