Tuesday, 22 April 2025
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก

วันนี้เมื่อ 154 ปี ก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก ขณะพระชนมายุเพียง 15 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติ เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตร ศิริวัฒนราชกุมาร 

ทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามกรมว่า กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรสังกาศ หลังจากทรงผนวชเป็นสามเณรทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ทรงเป็นพระราชปิโยรสที่สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้เสด็จอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์เสมอเพื่อให้มีโอกาสแนะนำสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชารัฏฐาภิบาล ราชประเพณีและโบราณคดี นอกจากนั้นยังทรงศึกษาภาษามคธ ภาษาอังกฤษ การยิงปืนไฟ กระบี่กระบอง มวยปล้ำ รวมทั้งการบังคับช้างอีกด้วย

วันสำคัญของราชวงศ์อังกฤษ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 'สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3' การประทานพระราชอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าสู่พระมหากษัตริย์

มารู้จักกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3

6 พฤษภาคมนี้ ถือเป็นวันสำคัญยิ่งของราชวงศ์อังกฤษ เพราะจะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ สะท้อนถึงโบราณราชประเพณีที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ยุคกลางนับย้อนไปได้กว่า 1,000 ปี

คำถามแรกที่ผู้คนอาจสงสัยคือเหตุใดจึงต้องมีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในเมื่อพระองค์ทรงดำรงพระราชอิสริยยศกษัตริย์อยู่แล้วในปัจจุบัน เนื่องจากถือได้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติโดยอัตโนมัติเมื่อ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชมารดาเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กันยายนปีก่อน โดยมีการประกาศการขึ้นครองสิริราชสมบัติอย่างเป็นทางการของพระองค์ในอีก 2 วันหลังจากนั้น ในพิธีที่มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อังกฤษ

ในเวลานั้น สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 มีพระราชดำรัสว่า พระองค์ตระหนักดีถึงมรดกอันยิ่งใหญ่นี้ รวมถึงพระราชภาระและพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ ภายใต้ความรับผิดชอบของพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้ตกทอดมาถึงพระองค์ ถ้าเช่นนั้น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 6 พฤษภาคม มีความสำคัญอย่างไร อันที่จริงไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และสถาบันกษัตริย์ในยุโรป ประเทศอื่น ๆ ก็ได้ยกเลิกพระราชพิธีดังกล่าวของตนเองไปแล้ว แต่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งราชวงศ์วินด์เซอร์ถือว่ามีความสำคัญยิ่งในทางศาสนา

ขณะที่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่มีเครื่องราชกกุธภัณฑ์ต่าง ๆ มากมายถือเป็นการยืนยันสถานะของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ในฐานะประมุขแห่งรัฐ รวมถึงประมุขของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ ทั้งยังมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า พระผู้เป็นเจ้าประทานพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์

ในการประกอบพิธีทางศาสนาที่นำโดย อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ผู้นำทางจิตวิญญาณของคริสตจักรอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะทรงรับการเจิมด้วยน้ำมันศักดิ์สิทธิ์จากเยรูซาเล็ม และรับมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามโบราณราชประเพณี รวมถึงการที่พระองค์จะทรงสวมพระมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดเป็นครั้งแรก ขณะที่พระราชินีคามิลลาก็จะได้รับการสวมพระมหามงกุฎควีนแมรีเช่นกัน

ขั้นตอนต่าง ๆ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกส่วนใหญ่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากโบราณราชประเพณีที่มีมาตั้งแต่ยุคกลาง มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของราชวงศ์มาตั้งแต่พระเจ้าวิลเลียม ผู้พิชิต เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1066

เจาะประวัติ St Edward’s Chair บัลลังก์ประวัติศาสตร์ อายุ 700 ปี พระราชอาสน์ที่สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 จะทรงประทับ

#บัลลังก์ประวัติศาสตร์ อายุ 700 ปี #บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ด St Edward’s Chair หรือ บัลลังก์ราชาภิเษก The Coronation Chair เป็นพระราชอาสน์ที่สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 จะทรงประทับ ขั้นตอนของการสวมพระมหามงกุฎในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์อังกฤษพระองค์ใหม่ ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ในวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2566 นี้

พระราชอาสน์เซนต์เอ็ดเวิร์ดนั้น เชื่อกันว่าเป็นเครื่องเรือนอายุเก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักรที่ยังถูกใช้งานตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมอยู่ โดยมีกษัตริย์อังกฤษถึง 26 พระองค์ ที่ได้ประกอบพิธีราชาภิเษกบนบัลลังก์นี้

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 โปรดให้สร้างพระราชอาสน์เซนต์เอ็ดเวิร์ดขึ้นในช่วงยุคกลาง เพื่อใช้บรรจุ 'ศิลาแห่งชะตาลิขิต' Stone of Destiny หรือ หินแห่งสโคน (Stone of Scone) ซึ่งเป็นพระแท่นศิลาราชาภิเษกของกษัตริย์สกอตแลนด์ที่ทรงนำมาจากนครหลวงเก่าของชาวสกอต หลังทรงชนะศึกพิชิตดินแดนทางเหนือได้สำเร็จ รัฐบาลอังกฤษได้ส่งคืนศิลาแห่งชะตาลิขิตให้กับทางการสกอตแลนด์ไปเมื่อปี 1996 แต่มันจะถูกนำกลับมายังกรุงลอนดอนเป็นการชั่วคราว เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้

พระราชบัลลังก์ได้รับชื่อภายหลังตามพระนามของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ Edward the Confessor ผู้เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ ตัวบัลลังก์เก็บไว้ที่ชาเปลเซนต์เอ็ดเวิร์ดในแอบบีเวสต์มินสเตอร์ พระมหากษัตริย์อังกฤษและพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรทุกพระองค์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1308 ต่างก็ประทับบนบัลลังก์นี้เมื่อได้รับการสวมมงกุฎอย่างเป็นทางการ ยกเว้นพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเลือกประทับบนบังลังก์ที่ได้รับการประทานจากพระสันตะปาปา และพระราชินีนาถแมรีที่ 2 ผู้ประทับบนบังลังก์ที่สร้างเลียนแบบบัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ด วาระสุดท้ายที่บัลลังก์นี้ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์คือในพระราชวโรกาสที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปี ค.ศ. 1953

บัลลังก์เป็นเก้าอี้หลังตรงแบบกอธิคทำจากไม้โอ้คโดยช่างไม้ชื่อมาสเตอร์วอลเตอร์ผู้ได้รับค่าจ้างเป็นจำนวน 100 ชิลลิง ตัวบัลลังก์ตั้งอยู่บนสิงห์ปิดทองสี่ตัวซึ่งเป็นส่วนที่ได้รับการซ่อมแซมในปี ค.ศ. 1727 แทนสิงห์ที่มาเพิ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้ที่นั่งเป็นช่องสำหรับวางหินแห่งสโคนจนกระทั่งปี ค.ศ. 1996 เมื่อถูกส่งคืนไปยังสกอตแลนด์โดยมีข้อแม้ว่าต้องถูกส่งกลับในโอกาสที่จะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งต่อไป 

คิงชาร์ลส์ที่ 3 เสด็จทักทาย-ขอบคุณประชาชน ก่อนบรมราชาภิเษก พสกนิกรนับพันแห่ร่วมยินดีและรอเป็นสักขีพยานในพระราชพิธีฯ ครั้งนี้

(6 พ.ค. 66) สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินออกมาตรัสขอบคุณเหล่าพสกนิกรที่ปรารถนาดี ที่ออกมาแสดงความสนับสนุนปักหลักบริเวณด้านนอกพระราชวังบัคกิงแฮม ตั้งแต่คืนวันศุกร์ (5 พ.ค.) ก่อนหน้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์สหราชอาณาจักรพระองค์ใหม่ในวันเสาร์นี้ (6 พ.ค.)

รายงานข่าวระบุว่า สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินขอบคุณเหล่าพสกนิกร ร่วมกับเจ้าชายวิลเลียม และเจ้าหญิงเคท มิดเดิลตัน เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ โดยทรงพระสรวลและยื่นพระหัตถ์จับมือกับเหล่าพสกนิกรด้วยความเป็นกันเอง

ประชาชนบางส่วนถือธงยูเรียนแจ็คและสวมมงกุฎเทียม รวมถึงร้องเพลง God Save the King ถวายแด่กษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งสหราชอาณาจักร โดยในการเสร็จในครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูง ภายใต้การเฝ้าระวังโดยรถตำรวจหลายสิบคัน และตำรวจบนรถจักรยานยนต์อีกจำนวนหนึ่ง

พิธีบรมราชาภิเษก ‘คิงชาร์ลส์-ควีนคามิลลา’ เริ่มขึ้นแล้ว พสกนิกรเนืองแน่นตลอดเส้นทางสู่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์

(6 พ.ค. 66) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา แห่งสหราชอาณาจักร ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นไปตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดมายาวนานกว่าหนึ่งพันปี และเป็นพระราชพิธีครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 70 ปีของสหราชอาณาจักร ได้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อเวลา 10.20 น.ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 16.20 น.ตามเวลาในไทย

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันนี้ เมื่อ 172 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้าจะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า

"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "

พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกและทรงรับพระบวรราชโองการ ให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในฝ่ายสมณศักดิ์นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยมหาสมณุตมาอภิเษกขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น

รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญ ได้แก่ ทรงแก้ไขธรรมเนียมข้าราชการเข้าเฝ้าให้สวมเสื้อเช่นประเทศตะวันตก ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการต่างประเทศกับชาติตะวันตก (สนธิสัญญาเบาว์ริง) ทรงนำสยามรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ทรงสนพระทัยเรียนรู้ภาษาตะวันตกและวิชาการของตะวันตก เช่น วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ จนทรงสามารถทำนายการเกิดสุริยุปราคาที่ ต.หว้ากอ จ. ประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างแม่นยำ จนได้รับการขนานพระนามว่า 'พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย' ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นเวลา 18 ปี จึงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411

25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 วันคล้ายวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘ในหลวงรัชกาลที่ 7’ ผู้ทรงพระราชกรณียกิจสำคัญ 8 ด้านเพื่อแผ่นดินสยาม

‘พระราชพิธีบรมราชาภิเษก’ ถือเป็นพิธีสำคัญสำหรับประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เหตุการณ์ครั้งสำคัญในอดีตถูกบันทึกลงในสื่อหลายประเภทให้คนรุ่นหลังใช้ศึกษา ในที่นี้ยกตัวอย่างด้วยการย้อนกลับไปที่ครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัชกาลที่ 7

โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2468 (นับตามปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2469) ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือน 4 ขึ้น 14 ค่ำ ปีฉลู

ซึ่งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติยศองค์ประมุขในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศโดยสมบูรณ์ ทุกกระบวนการในพระราชพิธีมีความหมาย และแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันงดงามของชาติไทย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลำดับการพระราชพิธี ตั้งแต่ขั้นการเตรียมพระราชพิธี พระราชพิธีเบื้องต้น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีเบื้องปลาย

ช่วงเวลา 9 ปีแห่งการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกรณียกิจสำคัญด้านต่างๆ อาทิ

- การแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
- การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยที่สมบูรณ์
- การประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก
- การพระราชทานปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาเป็นครั้งแรก
- พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร
- การเสด็จประพาสในประเทศและต่างประเทศ
- การทบทวนและจัดทำสนธิสัญญาไมตรี
- การสร้างระบบราชการให้เป็นคุณธรรม

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 วันคล้ายวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘ในหลวง ร.4’ กษัตริย์ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

วันนี้ในอดีต 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เมื่อครั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้าจะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า ‘พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า…

"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "

พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกและทรงรับพระบวรราชโองการ ให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในฝ่ายสมณศักดิ์นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยมหาสมณุตมาภิเษกขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น

ทั้งนี้ พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้…

>> 1. ด้านวรรณคดีศาสนา
1.1 พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นประเภทร้อยแก้ว บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่
1.1.1 มนุมพระบรมราโชบาย 4 หมวด คือ หมวดวรรณคดี โบราณคดี ธรรมคดี และตำรา
1.1.2 ตำนานเรื่อง พระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์
1.1.3 ทรงริเริ่มให้มีการค้นคว้าศิลาจาลึกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก คือ จารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง และจารึกหลักที่ 4 ของพระยาลิไทย

>> 2. ด้านวิทยาศาสตร์ 
2.1. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทย ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ล่วงหน้า 2 ปี และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเชิญทูตฝรั่งเศสและสิงคโปร์ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น นอกจากนี้ พระปรีชาสามารถของพระองค์ในด้านวิทยาศาสตร์นั้น ยังทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสัตววิทยาสมาคมแห่งสหราชาอาณาจักรอีกด้วย
2.2. วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสุลานนท์ ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น ‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’ และอนุมัติให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

>> 3.ด้านดาราศาสตร์
3.1. ทรงเป็นนักโหราศาสตร์อีกด้วย ทรงแต่งตำราทางโหราศาสตร์ที่เรียกว่า ‘เศษพระจอมเกล้า’ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตำราที่ได้รับการยอมรับว่าแม่นยำและทรงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติว่าทรงเป็น ‘พระบิดาแห่งโหราศาสตร์ไทย’

25 กุมภาพันธ์ 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 นับเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นอย่างสมพระเกียรติ พระราชพิธีนี้ถือเป็นโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์และแสดงถึงพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ กระบวนการในพระราชพิธีได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อทางศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา ซึ่งมีรากฐานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม พ.ศ. 2468 โดยมีลำดับพระราชพิธีดังนี้ การเตรียมพระราชพิธี, พระราชพิธีเบื้องต้น, พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, พระราชพิธีเบื้องปลาย และ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร

สำหรับกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ พระมหามณเฑียร เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 

ช่วงเช้า (09.15 น.)พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์เต็มยศทหารเรือ ทรงสายสะพานนพรัตนราชวราภรณ์ เสด็จฯ ออกจากพระที่นั่งบรมพิมานโดยกระบวนราบ ประทับพระราชยานกง เสด็จไปยังหมู่พระมหามณเฑียร เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พิธีสรงพระมุรธาภิเษก (09.53 น.)ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์เป็นพระภูษาเศวตพัสตร์และทรงสะพักขาวขลิบทองคำ ประทับบนตั่งไม้อุทุมพรหุ้มผ้าขาวในมณฑปพระกระยาสนาน พระราชครูวามเทพมุนีและพราหมณ์พิธีกราบบังคมทูลเชิญเสด็จสรงน้ำพระมุรธาภิเษก ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญที่แสดงถึงการเปลี่ยนพระราชสถานะเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์

จากนั้นเสด็จขึ้นประทับ ณ พระที่นั่งอัฐทิศภายใต้พระบวรเศวตฉัตร ทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีพิชัยสงครามประจำวันพฤหัสบดี ทรงรับน้ำอภิเษกจากราชบัณฑิตและพราหมณ์ทั้งแปดทิศ ต่อด้วยการเสด็จประทับบนพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เพื่อทรงรับพระสุพรรณบัฏ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องขัตติยราชูปโภค รวมทั้งพระแสงอัษฎาวุธจำนวน 19 รายการ

เมื่อเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ ซึ่งเป็นคำปฏิญาณของพระมหากษัตริย์ในการครองแผ่นดิน ความว่า

“ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรงราชภาระครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน เราแผ่ราชอาณาเหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติ เปนที่พึ่ง จัดการปกครองรักษาป้องกัน อันเปนธรรมสืบไป ท่านทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบาย เทอญฯ”

ในวันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเป็นพระบรมราชินี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พร้อมกับการเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งเป็นพระราชพิธีครั้งแรกในรัชกาล

อีกหนึ่งความสำคัญคือ การบันทึกภาพยนตร์ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" เป็นภาพยนตร์ข่าวที่ผลิตโดยกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง ซึ่งจัดทำขึ้นโดยได้รับพระบรมราชานุญาตเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจเก็บไว้เป็นที่ระลึก ภาพยนตร์ชุดนี้บันทึกเหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปลายปี พ.ศ. 2468 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกภาพยนตร์ในพระราชพิธีสำคัญที่จัดขึ้นตามโบราณราชประเพณีของไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top