Monday, 21 April 2025
นิด้าโพล

'เทพไท' ชี้!! ‘เท้ง’ เด่นไม่เท่า ‘พิธา-ไหม-ไอติม’ หลังผลโพลบุคคลตามหลัง ’นายกฯ อิ๊งค์’ ห่าง

(30 ก.ย. 67) นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘เทพไท-คุยการเมือง’ หัวข้อ ทำไม ‘อุ๊งอิ๊ง’ โดดเด่นกว่า ‘เท้ง’ ระบุว่า…

ผลสำรวจของ ‘นิด้าโพล’ เรื่อง ‘การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 3/2567’ ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-23 กันยายน 2567 นั้น ผลปรากฏว่า 

อันดับ 1 ร้อยละ 31.35 เป็น นางสาวแพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) 
อันดับ 2 ร้อยละ 23.50 ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ 
อันดับ 3 ร้อยละ 22.90 เป็น นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ (พรรคประชาชน) 
อันดับ 4 ร้อยละ 8.65 เป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) 
อันดับ 5 ร้อยละ 4.80 เป็นคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

แต่ผลการสำรวจความนิยมของพรรคการเมือง พบว่า…
อันดับ 1 ร้อยละ 34.25 เป็น พรรคประชาชน 
อันดับ 2 ร้อยละ 27.15 เป็น พรรคเพื่อไทย 
อันดับ 3 ร้อยละ 15.10 ยังหาพรรคการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ 
อันดับ 4 ร้อยละ 9.95 เป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ 
อันดับ 5 ร้อยละ 4.40 เป็น พรรคประชาธิปัตย์

จะเห็นได้ว่าคะแนนนิยมตัวบุคคล นางสาวแพทองธาร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย มีคะแนนอันดับ 1 ชนะนายณัฐพงศ์ หัวหน้าพรรคประชาชน อยู่อันดับ 3 และยังมีคะแนนเสียงที่ยังหาคนเหมาะสมไม่ได้ 23.50% ซึ่งจะตัวแปรสำคัญ ทั้งนางสาวแพทองธารและนายณัฐพงษ์สามารถช่วงชิงได้ แต่ถ้านายณัฐพงษ์ พัฒนาตัวเองให้เร็วขึ้น น่าจะมีโอกาสช่วงชิงคะแนนกลุ่มนี้ได้มากกว่า

แต่ถ้าดูผลการสำรวจเกี่ยวกับพรรคการเมือง พบว่า ความนิยมของพรรคประชาชน เหนือกว่าพรรคเพื่อไทย ถ้าถามว่าทำไมคะแนนนิยมตัวบุคคลและพรรคการเมืองไม่มีความสัมพันธ์กัน

ผมอยากจะวิเคราะห์ว่า การที่คะแนนของนางสาวแพทองธาร โดดเด่นขึ้นมา เพราะความเป็นนายกรัฐมนตรีส่วนหนึ่ง แต่ส่วนสำคัญก็คือไม่มีตัวบุคคลโดดเด่นพอที่จะเทียบเคียงกับนางสาวแพทองธารได้ เพราะนายณัฐพงษ์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาชนคนใหม่ ก็ยังไม่มีบทบาทโดดเด่นและภาพลักษณ์ยังไม่เป็นที่นิยมของประชาชน ถ้าเปรียบเทียบกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งดูจากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลพบว่า นายพิธา มีคะแนนนิยม 38.43% สูงกว่านายณัฐพงษ์ ที่ได้ 34.10%

ในส่วนของพรรคการเมืองนั้น พรรคประชาชนยังมีคะแนนนิยมชนะพรรคเพื่อไทยเหมือนเดิม เพราะจุดยืนและอุดมการณ์พรรคได้สืบทอดมาจากพรรคก้าวไกล ไม่เปลี่ยนแปลง จึงทำให้คะแนนนิยมยังไม่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

สิ่งที่พรรคประชาชน จะต้องพิจารณาและปรับปรุงแก้ไขนั่นก็คือ บทบาทของนายณัฐพงษ์ หัวหน้าพรรคคนใหม่ ให้เป็นที่ยอมรับและเป็นที่นิยมของประชาชน บทบาททางการเมืองต้องโดดเด่นกว่านี้ ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับบทบาทของคนในพรรคประชาชน เห็นว่านายณัฐพงษ์ ยังโดดเด่นน้อยกว่านายพิธา นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล หรือนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ด้วยซ้ำไป

จึงเป็นปัญหาสำคัญที่พรรคประชาชน จะต้องขบคิดว่าจะทำอย่างไร ให้บทบาทของหัวหน้าพรรค โดดเด่นควบคู่กับคะแนนนิยมของพรรคในทิศทางเดียวกัน

‘นิด้าโพล’ เปิดผลสำรวจพบหลังรับเงินสด 1 หมื่น อึ้ง! พบประชาชนสนับสนุน รบ. เพิ่ม 30%

(6 ต.ค. 67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “รับเงินสด 10,000 บาท แล้วจะสนับสนุนรัฐบาลไหม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1-3 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ทั้งตนเอง และ/หรือคนในครอบครัว ได้รับเงิน 10,000 บาทจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการได้รับเงินสด 10,000 บาท จากรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการนำเงินไปใช้จ่ายของผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นตนเอง และ/หรือ คนในครอบครัวได้รับเงิน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 86.79 ระบุว่า ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (รวมค่าน้ำ ค่าไฟ น้ำมันเชื้อเพลิง) รองลงมา ร้อยละ 16.49 ระบุว่า เก็บออมไว้สำหรับอนาคต ร้อยละ 14.35 ระบุว่า ใช้หนี้ ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ (เช่น ซื้อยารักษาโรค หาหมอ) ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ใช้ลงทุนการค้า ร้อยละ 7.48 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ร้อยละ 1.37 ระบุว่า ใช้ซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 1.07 ระบุว่า ใช้ซื้อหวย สลากกินแบ่งรัฐบาล ร้อยละ 0.99 ระบุว่า ใช้ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มือถือ และเครื่องมือสื่อสาร ร้อยละ 0.69 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการบันเทิง (เช่น เลี้ยงสังสรรค์ ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ เป็นต้น) ร้อยละ 0.31 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว ร้อยละ 0.15 ระบุว่า ใช้ซื้อทองคำ เพชร พลอย อัญมณี และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ตอบ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการสนับสนุนรัฐบาลของผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นตนเอง และ/หรือ คนในครอบครัวได้รับผลประโยชน์จากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.35 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร รองลงมา ร้อยละ 30.31 ระบุว่า มีส่วนทำให้สนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 20.38 ระบุว่า จะมีหรือไม่มีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ก็สนับสนุนรัฐบาลอยู่แล้ว ร้อยละ 13.13 ระบุว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่สนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 7.34 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 19.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.25 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 36.18 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.05 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.10 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 47.79 เป็นเพศชาย และร้อยละ 52.21 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.44 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 18.47 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.08 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 24.81 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.20 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.73 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.82 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.45 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 34.05 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.28 สมรส และร้อยละ 2.67 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 30.61 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 41.76 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.72 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 19.08 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.83 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 5.65 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.44 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.62 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.80 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 21.30 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.24 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.95 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 24.05 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 28.17 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 30.15 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 7.40 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 2.06 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 1.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 6.72 ไม่ระบุรายได้

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ ‘โกรธไหมถ้าเงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 ไม่ตรงปก’ ปชช. ชี้!! รับได้ หากแบ่งจ่าย 5,000 บาท 2 งวด แต่โกรธมาก หากยกเลิก

(13 ต.ค. 67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘โกรธไหมถ้าเงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 ไม่ตรงปก’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบการจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงสถานะการได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 ของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.95 ระบุว่า อยู่ในกลุ่มที่จะได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต ในเฟสที่ 2 รองลงมา ร้อยละ 23.95 ระบุว่า อยู่ในกลุ่มที่จะไม่ได้รับเงินใด ๆ ร้อยละ 17.00 ระบุว่า อยู่ในกลุ่มที่ได้รับเงินสด 10,000 บาท ไปเรียบร้อยแล้ว และร้อยละ 2.10 ระบุว่า ไม่แน่ใจ 

เมื่อสอบถามผู้ที่ระบุว่าอยู่ในกลุ่มที่จะได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต ในเฟสที่ 2 และผู้ที่ระบุว่าไม่แน่ใจ (จำนวน 1,181 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อรูปแบบการจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 ดังนี้ 

รัฐบาลตัดสินใจยกเลิกโครงการ ไม่มีการจ่ายเงินไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือเงินดิจิทัล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.58 ระบุว่า โกรธมาก รองลงมา ร้อยละ 34.38 ระบุว่า ไม่โกรธเลย ร้อยละ 14.56 ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ ร้อยละ 9.14 ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ และร้อยละ 0.34 ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

หากเป็นการจ่ายในรูปของเงินดิจิทัลวอลเล็ต แต่น้อยกว่า 10,000 บาท เช่น จ่ายแค่ 5,000 บาท พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.30 ระบุว่า 
ไม่โกรธเลย รองลงมา ร้อยละ 24.47 ระบุว่า โกรธมาก ร้อยละ 21.25 ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ ร้อยละ 13.64 ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ และร้อยละ 0.34 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

หากเป็นการจ่ายในรูปของเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 60.54 ระบุว่า ไม่โกรธเลย รองลงมา ร้อยละ 17.53 ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ ร้อยละ 12.11 ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ ร้อยละ 9.31 ระบุว่า โกรธมาก และร้อยละ 0.51 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

หากเป็นการแบ่งจ่ายในรูปของเงินดิจิทัลวอลเล็ต เช่น งวดละ 5,000 บาท จำนวนสองงวด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 60.88 ระบุว่า ไม่โกรธเลย รองลงมา ร้อยละ 20.07 ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ ร้อยละ 10.58 ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ ร้อยละ 8.30 ระบุว่า โกรธมาก และร้อยละ 0.17 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่ระบุว่าอยู่ในกลุ่มที่จะไม่ได้รับเงินใด ๆ (จำนวน 479 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการแจกเงิน 10,000 บาท ของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 29.44 ระบุว่า รัฐบาลควรแจกเงินให้กับทุกกลุ่ม ไม่ว่ากลุ่มนั้นจะมีรายได้หรือทรัพย์สินเท่าไรรองลงมา ร้อยละ 25.47 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการแจกเงินให้แก่กลุ่มใด ๆ ร้อยละ 25.25 ระบุว่า เห็นด้วยเฉพาะการแจกเงินสด 10,000 บาทแก่กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้พิการ เท่านั้น ร้อยละ 15.66 ระบุว่า เห็นด้วยกับการแจกเงินทั้งแบบเงินสดแก่ผู้เปราะบาง ผู้พิการ และแบบเงินดิจิทัลวอลเล็ต ในเฟสที่ 2 ร้อยละ 2.30 ระบุว่า เห็นด้วยเฉพาะการแจกเป็นรูปแบบเงินดิจิทัลวอลเล็ต ในเฟสที่ 2 เท่านั้น และร้อยละ 1.88 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ ปชช. ไม่เชื่อสินค้าที่ ‘ดารา-อินฟลูฯ’ รีวิว ชี้!! ร้องเรียนกับสื่อ ได้รับความเป็นธรรม รวดเร็วกว่าไปหา ‘สคบ.’

(20 ต.ค. 67)  ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘ใครจะคุ้มครองผู้บริโภค’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-16 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าของดารา และอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คนดัง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการโฆษณาสินค้าของดารา อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.21 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย รองลงมา ร้อยละ 22.98 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล และร้อยละ 15.80 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผล

ด้านความเชื่อของประชาชนที่มีต่อดารา อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ใช้สินค้าจากการโฆษณาจริง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 52.29 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าใช้สินค้านั้นจริง รองลงมา ร้อยละ 22.98 ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นเป็นบางครั้ง ร้อยละ 20.53 ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นเฉพาะตอนโฆษณา ร้อยละ 3.89 ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นจริง และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความรู้สึกของประชาชนต่อการโฆษณาสินค้าที่มีของแถมจำนวนมาก และ/หรือ ลดราคาเยอะ ๆ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.12 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่า คุณภาพสินค้าอาจไม่ดี รองลงมา ร้อยละ 30.23 ระบุว่า เป็นแค่วิธีการโฆษณาชวนเชื่อ ร้อยละ 23.89 ระบุว่า ไม่คิดจะซื้อสินค้าที่โฆษณาแบบนี้ ร้อยละ 19.47 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่า มีเงื่อนไขอะไรแอบแฝงอยู่หรือเปล่า ร้อยละ 19.24 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่า ต้นทุนสินค้าน่าจะถูกมาก ร้อยละ 17.94 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่า สินค้านั้นอาจใกล้หมดอายุการใช้งาน ร้อยละ 8.63 ระบุว่า จะขอเปรียบเทียบคุณภาพกับสินค้าที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงก่อนตัดสินใจ ร้อยละ 8.17 ระบุว่า จะขอเปรียบเทียบราคากับสินค้าที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงก่อนตัดสินใจ ร้อยละ 7.02 ระบุว่า จะลองสั่งมาใช้ดู ร้อยละ 4.27 ระบุว่า ถ้าเป็นสินค้าที่ใช้เป็นประจำ จะซื้อสินค้านั้นทันที ร้อยละ 2.14 ระบุว่า สนใจที่จะซื้อสินค้านั้นทันที (แม้ว่าจะไม่เคยใช้ก็ตาม) และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับการร้องเรียนจากการถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือลงทุน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.22 ระบุว่า ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ รองลงมา ร้อยละ 30.08 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ร้อยละ 25.19 ระบุว่า ไม่ร้องเรียนใด ๆ ร้อยละ 15.50 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสื่อ ร้อยละ 12.06 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับศิลปิน ดารา หรือจิตอาสาคนดัง เช่น หนุ่ม กรรชัย กัน จอมพลัง บุ๋ม ปนัดดา เป็นต้น ร้อยละ 5.57 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวม สคบ.) ร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับทนายคนดัง ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับนักการเมือง

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการร้องเรียนที่ได้รับความเป็นธรรมเร็วที่สุดจากการถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือลงทุน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 24.81 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสื่อ รองลงมา ร้อยละ 23.05 ระบุว่า ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ร้อยละ 15.88 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับศิลปิน ดารา หรือจิตอาสาคนดัง เช่น หนุ่ม กรรชัย กัน จอมพลัง บุ๋ม ปนัดดา เป็นต้น ร้อยละ 15.80 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และไม่ร้องเรียนใด ๆ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 1.91 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับทนายคนดัง ร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวม สคบ.) ร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ร้อยละ 0.07 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับนักการเมือง และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นิด้าโพล’ เผย!! ปชช. ยังเชื่อมั่นใน ‘ทนายความจิตอาสา’ ชี้!! ยังมีอยู่จริงแท้ แค่ไม่มากเท่าไร ยังคงไว้ใจได้อยู่

(3 พ.ย. 67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทนายความจิตอาสาจริง ๆ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อทนายความ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการมีอยู่จริงของทนายความจิตอาสาที่ช่วยเหลือประชาชนด้วยใจ ไม่สนใจผลประโยชน์หรือการสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 52.44 ระบุว่า มีจริง แต่ไม่มากเท่าไร รองลงมา ร้อยละ 26.56 ระบุว่า ไม่มั่นใจว่ามีจริง ร้อยละ 16.88 ระบุว่า ไม่มีจริง และร้อยละ 4.12 ระบุว่า มีจริง จำนวนมาก

ด้านบุคคลหรือหน่วยงานที่ประชาชนไว้ใจในการขอความช่วยเหลือหากไม่มั่นใจในความยุติธรรมจากคดีความที่ฟ้องร้องผู้อื่นหรือถูกผู้อื่นฟ้องร้อง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.06 ระบุว่า ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย รองลงมา ร้อยละ 21.83 ระบุว่า ชมรม สมาคม มูลนิธิ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 19.16 ระบุว่า สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ร้อยละ 13.44 ระบุว่า ไม่ไว้ใจใครเลย ร้อยละ 11.68 ระบุว่า ทนายอาสาจากสภาทนายความ ร้อยละ 11.37 ระบุว่า ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 ร้อยละ 9.01 ระบุว่า ทนายทั่วไป ร้อยละ 8.17 ระบุว่า ทนายอาสาจากเนติบัณฑิตยสภา ร้อยละ 6.87 ระบุว่า ทนายที่มีชื่อเสียง ร้อยละ 1.60 ระบุว่า นักการเมือง และร้อยละ 4.96 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อสังคมออนไลน์

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความไว้วางใจของประชาชนต่อความช่วยเหลือที่จะได้รับจากการใช้บริการหรือขอคำปรึกษาจากทนายความ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.06 ระบุว่า ค่อนข้างไว้วางใจ รองลงมา ร้อยละ 36.11 ระบุว่า ไม่ค่อยไว้วางใจ ร้อยละ 12.52 ระบุว่า ไม่ไว้วางใจเลย ร้อยละ 8.78 ระบุว่า ไว้วางใจมาก และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.64 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.90 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.46 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 33.44 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.89 สมรส และร้อยละ 2.67 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 0.53 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 18.02 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 36.18 จบการศึกษามัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.47 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.99 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.81 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.92 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.56 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.46 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.21 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.34 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.85 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.66 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.00 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 4.96 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 13.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30.53 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 12.06 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.90 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.99 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.38 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.08 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 0.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.09 ไม่ระบุรายได้

‘นิด้าโพล’ เผย!! ผลสำรวจ ปชช. ชี้!! คดีล้มล้างฯ ไม่ควรยุบพรรค

(1 ธ.ค. 67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็น เรื่อง ‘ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับผลกระทบของการยุบพรรคและการตัดสิทธิทางการเมืองต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการมีสิทธิของประชาชนในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง หากพบบุคคลใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 81.37 ระบุว่า ประชาชนควรจะมีสิทธิในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง รองลงมา ร้อยละ 16.42 ระบุว่า ประชาชนไม่ควรจะมีสิทธิในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง และร้อยละ 2.21 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับการยุบพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 61.30 ระบุว่า ควรมีการลงโทษด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การยุบพรรค รองลงมา ร้อยละ 36.10 ระบุว่า ควรมีการลงโทษยุบพรรค และร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าใช้สิทธิเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.54 ระบุว่า ควรลงโทษตัดสิทธิทางการเมือง เฉพาะกับผู้กระทำการเท่านั้น รองลงมา ร้อยละ 31.68 ระบุว่า ควรลงโทษด้วยวิธีอื่นเฉพาะกับผู้กระทำการเท่านั้น ร้อยละ 19.31 ระบุว่า ควรลงโทษตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด ร้อยละ 6.26 ระบุว่า ควรลงโทษด้วยวิธีอื่นกับกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด และร้อยละ 3.21 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.56 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.29 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.15 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 35.42 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.37 สมรส และร้อยละ 2.21 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 0.69 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 19.16 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 35.50 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.07 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 29.69 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.89 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.77 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.40 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.53 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.68 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.11 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.01 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.50 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 19.47 ไม่มีรายได้  ร้อยละ 3.36 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 14.97 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 33.28 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.38 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 0.76 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.08 ไม่ระบุรายได้

‘นิด้าโพล’ เผย!! ‘คนกรุง’ ค้านมาตรการใหม่ เก็บค่าธรรมเนียมรถติด เชื่อไม่สำเร็จ แต่หนุน!! ค่าธรรมเนียมเก็บขยะ ตามพฤติกรรมแยกขยะ

(15 ธ.ค. 67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้า สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง’  สำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พ.ย.  2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  จำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นิด้าโพลเมื่อถามความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับ

ค่าธรรมเนียมการเก็บขยะในอัตราที่แตกต่างกัน ตามพฤติกรรมการคัดแยกขยะ พบว่า  
• 50.31% ระบุว่า เห็นด้วยมาก
• 23.66% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
• 15.73% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย

การรับรู้ของคนกรุงเทพมหานครต่อการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะพร้อมส่งภาพประกอบการคัดแยกขยะ เพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมการเก็บขยะต่อเดือนในอัตรา 20 บาท พบว่า  
• 80.76 %ระบุว่า ไม่ทราบเลย
• 13.21% ระบุว่า พอทราบอยู่บ้าง
• 6.03% ระบุว่า ทราบดี

การให้ความร่วมมือของคนกรุงเทพมหานครในการเข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ พบว่า
• 44.81% ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ
• 28.93% ระบุว่า ค่อนข้างให้ความร่วมมือ  
• 15.65% ระบุว่า ไม่ให้ความร่วมมือเลย  
• 9.69% ระบุว่า ให้ความร่วมมือมาก

การจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดเฉพาะรถเก๋ง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและเพื่ออุดหนุนกองทุนซื้อคืนรถไฟฟ้า พบว่า  
• 49.92% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
• 18.24% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย  
• 17.10% ระบุว่า เห็นด้วยมาก
• 13.98% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย 

การประสบความสำเร็จในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดของกระทรวงคมนาคม พบว่า  
• 55.50% ระบุว่า ไม่ประสบความสำเร็จเลย
• 28.47% ระบุว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ
• 12.29% ระบุว่า ค่อนข้างประสบความสำเร็จ  
• 2.44% ระบุว่า ประสบความสำเร็จมาก

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ!! ปชช. เชื่อ ‘อุ๊งอิ๊ง’ อยู่ยาวตลอดทั้งปี มอง!! สถานการณ์การเมืองไทย ยังวุ่นวายต่อไป เหมือนเดิม

(5 ม.ค. 68) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง ‘การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ในปี 2568 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนด ค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงสถานการณ์ทางการเมืองไทยโดยทั่วไป ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปี 2567พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.61 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 39.92 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 7.33 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายน้อยลง และร้อยละ 2.14 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะไม่วุ่นวายเลย

ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรัฐบาลนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ในปี 2568 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.22 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะอยู่ยาวตลอดทั้งปี รองลงมา ร้อยละ 21.60 ระบุว่า รัฐบาลนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 15.34 ระบุว่า จะมีการยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 15.04 ระบุว่า จะเกิดความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล และทำให้รัฐบาลล่ม ร้อยละ 5.88 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะลาออก ร้อยละ 5.73 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะโดนชุมนุมขับไล่ ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 3.05 ระบุว่า รัฐบาลนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะโดนรัฐประหาร ร้อยละ 2.82 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะโดนคดีความทางการเมืองจนต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 1.76 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะเปิดทางให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นนายกรัฐมนตรีแทน และร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทย ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปี 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.35 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่เหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 32.82 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่ลง ร้อยละ 21.99 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีขึ้น และร้อยละ 10.84 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีเหมือนเดิม

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงคุณภาพชีวิตโดยทั่วไปในสังคมไทย ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปี 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.43 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่เหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 33.20 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่ลง ร้อยละ 20.46 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะดีขึ้น และร้อยละ 11.91 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะดีเหมือนเดิม

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ!! ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ชาวสงขลา เลือกหนุน ‘สุพิศ’ นั่งนายกฯ อบจ.

เมื่อวานนี้ (19 ม.ค. 68) ‘นิด้าโพล’ ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวสงขลาต่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (อบจ.) ซึ่งมีผู้ลงสมัครมากถึง 9 คน

ผลการสำรวจพบว่า ชาวสงขลา 26.36% เชื่อว่านายสุพิศ พิทักษ์ธรรม จากกลุ่มสงขลาพลังใหม่น่าจะมีโอกาสได้รับเลือก ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่าทุกคน

ตามด้วยนายนิรันดร์ จินดานาค จากพรรคประชาชน 16.44% ซึ่งห่างจากนายสุพิศถึง 10%

นายประสงค์ บริรักษ์ นายกแบน จากทีมสงขลาเข้มแข็ง ได้แค่ 14.13%

ส่วนคนอื่นๆคะแนนอยู่ที่ 1-5% เท่านั้น แต่ยังมีอึก 25.54% ที่ยังไม่ตัดใจว่าจะเลือกใคร

มีเวลาเหลือสำหรับการหาเสียงแค่ 12 วัน เพราะจะมีการหย่อนบัตรลงคะแนนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถ้าไม่มีอุบัติเหตุทางการเมือง กินขนมเชื่อก่อนได้เลยว่า นายสุพิศน่าจะได้รับเลือกให้เป็นนายกฯอบจ.สงขลา เว้นเสียแต่ว่า นายสุพิศสดุดขาตัวเอง ซึ่งในทางการเมืองวันเดียวก็มีโอกาสพลิกได้ ถ้าผิดพลาด กระแสจะไปเร็วมาก

ในสถานการณ์นี้นายสุพิศต้องประคองสถานการณ์ให้ได้ รักษาระดับเอาไว้ และสร้างกระแสดีดตัวเองให้พุ่งนำไว้เรื่อยๆ จนถึงวันหย่อนบัตร ก็เรียก ‘นายกฯสุพิศ’ ไว้ก่อนได้เลย

‘นิด้าโพล’ เผย!! ปชช. เกินครึ่ง คัดค้าน ‘กาสิโน - พนันออนไลน์’

(26 ม.ค. 68) ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่องการพนันร้อน ๆ มาแล้วจ้า…เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อเรื่องสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex)

จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายการอนุญาตการลงทุนสถานบันเทิงครบวงจรที่รวมกาสิโน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.16 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยทั้งสถานบันเทิงครบวงจรและกาสิโน 

รองลงมา ร้อยละ 28.93 ระบุว่า เห็นด้วยทั้งสถานบันเทิงครบวงจรและกาสิโน 

ร้อยละ 8.63 ระบุว่า เห็นด้วยกับสถานบันเทิงครบวงจร ที่ไม่มีกาสิโน 

ร้อยละ 1.68 ระบุว่า อย่างไรก็ได้ ไม่มีความเห็น และร้อยละ 1.60 ระบุว่า เห็นด้วยกับกาสิโนเพียงอย่างเดียว

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายการแก้กฎหมายให้การพนันออนไลน์ถูกกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.32 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย 

รองลงมา ร้อยละ 19.92 ระบุว่า เห็นด้วยมาก 

ร้อยละ 11.45 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย 

และร้อยละ 10.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำประชามติเรื่องสถานบันเทิงครบวงจรที่มีกาสิโน และการพนันออนไลน์ถูกกฎหมาย พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 51.07 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติทั้งเรื่องสถานบันเทิงครบวงจรที่มีกาสิโน และเรื่องการพนันออนไลน์ถูกกฎหมาย 

รองลงมา ร้อยละ 37.86 ระบุว่า เห็นด้วยกับการทำประชามติทั้งเรื่องสถานบันเทิงครบวงจรที่มีกาสิโน และเรื่องการพนันออนไลน์ถูกกฎหมาย 

ร้อยละ 5.11 ระบุว่า เห็นด้วยกับการทำประชามติ เฉพาะเรื่องสถานบันเทิงครบวงจรที่มีกาสิโน 

ร้อยละ 3.89 ระบุว่า เห็นด้วยกับการทำประชามติ เฉพาะเรื่องการพนันออนไลน์ถูกกฎหมาย 

ร้อยละ 1.99 ระบุว่า อย่างไรก็ได้ ไม่มีความเห็น และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ตอบ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top