Monday, 21 April 2025
นิด้าโพล

‘นิด้าโพล’ ชี้ ปชช. หนุนกัญชาเป็น ‘ยาเสพติด’ ย้ำ!! ควรใช้เพื่อ ‘การแพทย์-รักษาโรค’ เท่านั้น

(19 พ.ค.67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “กัญชาเป็นยาเสพติด?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการนำกัญชากลับเข้าบัญชียาเสพติดของรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกัญชาเป็นยาเสพติด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 53.74 ระบุว่า เป็นยาเสพติดแต่ก็มีประโยชน์ รองลงมา ร้อยละ 33.59 ระบุว่า เป็นยาเสพติดและไม่มีประโยชน์ใด ๆ ร้อยละ 11.60 ระบุว่า ไม่เป็นยาเสพติด และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดนโยบายกัญชาของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 74.58 ระบุว่า เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการรักษาโรค รองลงมา ร้อยละ 19.39 ระบุว่า รัฐบาลไม่ควรออกนโยบายใด ๆ เพื่อสนับสนุนกัญชา/ผลิตภัณฑ์กัญชา ร้อยละ 10.53 ระบุว่า เพื่อสนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์กัญชาที่ถูกกฎหมาย ร้อยละ 7.40 ระบุว่า เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้ประชาชนทั่วไป ร้อยละ 3.21 ระบุว่า เพื่อสนับสนุนความบันเทิงในสังคม เช่น การเสพกัญชาได้ถูกต้องตามกฎหมาย การมีบุหรี่กัญชา เป็นต้น และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการนำกัญชากลับเข้าบัญชียาเสพติดอีกครั้ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 60.38 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 14.50 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 8.93 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ปลูกกัญชาหรือนักธุรกิจกัญชา หากรัฐบาลนำกัญชากลับเข้าบัญชียาเสพติดอีกครั้ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.95 ระบุว่า รัฐบาลไม่ควรจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ใดเลย รองลงมา ร้อยละ 35.03 ระบุว่า รัฐบาลควรจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ปลูกกัญชาและนักธุรกิจกัญชา ร้อยละ 10.08 ระบุว่า รัฐบาลควรจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ปลูกกัญชาเท่านั้น ร้อยละ 2.06 ระบุว่า รัฐบาลควรจ่ายค่าชดเชยให้กับนักธุรกิจกัญชาเท่านั้น และร้อยละ 5.88 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงประสบการณ์เกี่ยวกับกัญชาของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 68.93 ระบุว่า ไม่เคยมีประสบการณ์ใด ๆ เกี่ยวกับกัญชา ขณะที่ ร้อยละ 31.07 ระบุว่า เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับกัญชา เมื่อพิจารณาตัวอย่างที่ระบุว่า เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับกัญชา (จำนวน 407 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 52.58 เคยมีประสบการณ์การใช้กัญชาเพื่อประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม รองลงมา ร้อยละ 34.64 ระบุว่า การเสพหรือสูบกัญชา ร้อยละ 22.36 ระบุว่า การใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค ร้อยละ 15.97 ระบุว่า การปลูกกัญชา และร้อยละ 0.98 ระบุว่า การแปรรูปผลิตภัณฑ์กัญชาในเชิงพาณิชย์ และการค้ากัญชา ในสัดส่วนที่เท่ากัน

‘นิด้าโพล’ เผย ‘คนกรุงเทพฯ’ พอใจผลงานของ ‘ผู้ว่าฯชัชชาติ’ ชี้!! หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ก็ยังกาให้ทำหน้าที่ต่อไป

(2 มิ.ย.67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘2 ปี ผู้ว่าฯ ชัชชาติ’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-27 พฤษภาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำงานในรอบ 2 ปี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครต่อการทำงานในรอบ 2 ปี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. การส่งเสริมการท่องเที่ยวใน กทม. ตัวอย่าง ร้อยละ 43.05 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 21.30 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 20.15 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 8.20 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 7.30 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

2. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ตัวอย่าง ร้อยละ 45.75 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 21.65 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 19.60 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 10.30 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 2.70 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

3. การปรับปรุงและจัดระเบียบทางเท้า เช่น หาบเร่แผงลอย การจอดยานพาหนะหรือตั้งร้านบนทางเท้า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.60 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 21.30 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 19.35 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 11.60 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

4. การสนับสนุนการกีฬา ตัวอย่าง ร้อยละ 41.80 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 23.25 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 17.45 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 9.50 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 8.00 ระบุว่า ไม่ดีเลย

5. การแก้ไขปัญหาความสะอาด ขยะ ฝุ่นละออง น้ำเสีย ตัวอย่าง ร้อยละ 44.30 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 25.40 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 17.15 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 12.25 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 0.90 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

6. การปรับปรุงทัศนียภาพ ถนน ตรอก ซอย ตัวอย่าง ร้อยละ 46.90 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 23.60 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 16.85 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 11.45 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 1.20 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

7. การปรับปรุงการให้บริการในหน่วยงานของ กทม. ตัวอย่าง ร้อยละ 43.15 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 22.10 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 16.05 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 12.40 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 6.30 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

8. การป้องกันอาชญากรรม และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การติดไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด ระบบรักษาความปลอดภัย ตัวอย่าง ร้อยละ 43.35 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 28.15 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 15.10 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 11.15 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 2.25 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

9. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ตัวอย่าง ร้อยละ 37.00 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 29.05 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 16.00 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 13.95 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 4.00 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

10. การจัดระเบียบการชุมนุม ตัวอย่าง ร้อยละ 41.50 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 24.90 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 13.70 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 10.15 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 9.75 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

11. การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า เรือ ตัวอย่าง ร้อยละ 41.10 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 29.35 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 13.35 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 8.80 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 7.40 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

12. การแก้ไขปัญหาสุขภาพ/สาธารณสุข ตัวอย่าง ร้อยละ 41.25 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 28.65 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 12.65 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 11.00 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 6.45 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

13. การพัฒนาการศึกษา แก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ตัวอย่าง ร้อยละ 36.00 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 28.10 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 12.40 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 11.80 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 11.70 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

14. การแก้ไขปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน ในหน่วยงานของ กทม. ตัวอย่าง ร้อยละ 30.95 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 27.35 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 18.35 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 12.85 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 10.50 ระบุว่า ดีมาก

15. การจัดระเบียบคนเร่ร่อน คนจรจัด ขอทาน ตัวอย่าง ร้อยละ 35.70 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 33.25 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 15.40 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 10.35 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 5.30 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

16. การแก้ไขปัญหาจราจรและรถติด ตัวอย่าง ร้อยละ 37.30 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 34.40 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 17.60 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 9.00 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 1.70 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

17. การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง ตัวอย่าง ร้อยละ 38.70 ระบุว่า ไม่ค่อยดี รองลงมา ร้อยละ 24.70 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 24.55 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 7.15 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 4.90 ระบุว่า ดีมาก

ด้านความพึงพอใจของคนกรุงเทพมหานครต่อการทำงานในรอบ 2 ปี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.25 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 20.35 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 18.45 ระบุว่า พอใจมาก ร้อยละ 10.60 ระบุว่า ไม่พอใจเลย และร้อยละ 0.35 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการเลือก ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.75 ระบุว่า เลือก รองลงมา ร้อยละ 34.50 ระบุว่า ไม่แน่ใจ ร้อยละ 21.35 ระบุว่า ไม่เลือก และร้อยละ 0.40 ระบุว่า ไม่ตอบ

‘นิด้าโพล’ ฟันธง ‘บิ๊กแจ๊ส’ เต็งหนึ่ง คว้าเก้าอี้ นายก อบจ.  ชี้!! ‘ทักษิณ’ ลงพื้นที่ ปทุมธานี ไม่มีผลกระทบ

(16 มิ.ย.67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ใครกล้า ฟันธง…เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567 ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-12 มิถุนายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดปทุมธานี กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,067 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

ในวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 2567 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่จะสนับสนุนให้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.87 ระบุว่าเป็น พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รองลงมา ร้อยละ 28.68 ระบุว่าเป็น นายชาญ พวงเพ็ชร์ ร้อยละ 17.43 ระบุว่า จะไปลงคะแนนไม่เลือกใคร ร้อยละ 8.98 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 4.22 ระบุว่า จะไม่ไปลงคะแนน ร้อยละ 3.19 ระบุว่าเป็น นายนพดล ลัดดาแย้ม ร้อยละ 1.97 ระบุว่าเป็น นายอธิวัฒน์ สอนเนย และร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ตอบ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี จากกรณีที่ ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปจังหวัดปทุมธานี พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 81.91 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบเลย รองลงมา ร้อยละ 5.25 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผลกระทบ ร้อยละ 5.06 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผลกระทบ ร้อยละ 3.56 ระบุว่า ส่งผลกระทบอย่างมาก และร้อยละ 4.22 ระบุว่า ไม่ตอบ

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ คะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ปชช. เชียร์ ‘พีระพันธุ์’ เพราะมีความน่าเชื่อถือ ‘ซื่อสัตย์-สุจริต’

(30 มิ.ย.67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 2/2567’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-18 มิถุนายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษาอาชีพ และรายได้ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่างเกี่ยวกับคะแนนนิยมทางการเมือง

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึง บุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวัน นี้พบว่าอันดับ 1 ร้อยละ 45.50 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ ชื่นชอบอุดมการณ์ทางการเมืองมีความรู้ และความสามารถรอบด้าน

อันดับ 2 ร้อยละ 20.55ระบุว่ายังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

อันดับ 3ร้อยละ 12.85 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน(พรรคเพื่อไทย) เพราะ มีความเป็นผู้นำกล้าตัดสินใจ และมีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาของประเทศ

อันดับ 4ร้อยละ 6.85 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ มีภาพลักษณ์ที่ดี มีความน่าเชื่อถือ การทำงานมีความซื่อสัตย์  สุจริต

อันดับ 5 ร้อยละ 4.85 ระบุว่าเป็น นางสาวแพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์ ) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ มีวิสัยทัศน์  มีความเป็นผู้นำ และมีความรู้ ความเข้าในปัญหาหาของประเทศ

อันดับ 6 ร้อยละ 3.40 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารที่โดดเด่น และมีความน่าเชื่อถือ

อันดับ 7 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ มีประสบการณ์ทำงานด้านการบริหาร เข้าถึงประชาชน และชื่นชอบนโยบายที่ผ่านมา

ร้อยละ 3.40 ระบุอื่น ๆ ได้แก่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายเฉลิมชัยศรีอ่อน (พรรคประชาธิปัตย์ นายวราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายชัยธวัช ตุลาธน (พรรคก้าวไกล) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์ ) นายวันมูหะมัดนอร์  มะทำ (พรรคประชาชาติ) พลตำรวจเอกทวี สอดส่อง (พรรคประชาชาติ) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา) นายวิโรจน์  ลักขณาอดิศร 
(พรรคก้าวไกล) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์  เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)

และร้อยละ 0.55 ระบุว่าไม่ตอบ/ไม่สนใจ

'ธนกร' ชี้!! เหตุ 'รวมไทยสร้างชาติ-พีระพันธุ์' ขยับความนิยมมาอันดับ 4   เพราะ 10 เดือนร่วมรัฐบาล ลุยทำงานเต็มที่ ตามอุดมการณ์ DNA 'ลุงตู่'

(1 ก.ค.67) นายธนกร วังบุญคงชนะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ สส.แบบบัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวว่า จากที่ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจประชาชนถึงคะแนนนิยมทางการเมืองบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า เสียงประชาชนยังคงให้ความไว้วางใจ พึงพอใจการทำงานของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ มาเป็นอันดับ 4  ระบุว่าเพราะมีภาพลักษณ์ที่ดี มีความน่าเชื่อถือ การทำงานมีความซื่อสัตย์ สุจริต

ส่วนคะแนนนิยมพรรครวมไทยสร้างชาติ  ก็ยังครองใจประชาชน โดยให้คะแนน มาเป็นอันดับที่ 4 เช่นกัน

ทั้งนี้ จากผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนถึง เสียงที่ประชาชน มองและได้รับประโยชน์ จากการทำงานในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ผ่านมา 10 เดือน ของนายพีระพันธุ์ และพรรครวมไทยสร้างชาติที่มุ่งมั่นตั้งใจ แก้ไขปัญหา โดยเฉพาะด้านพลังงานที่นายพีระพันธุ์ ที่กำลังขับเคลื่อน ตามแนวทาง 'รื้อ ลด ปลด สร้าง' ออกกฎหมายด้านพลังงาน เพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบในระยะยาว  

นอกจากนี้ สส. ทั้ง 36 คนรวมถึง อดีตผู้สมัครและสมาชิกพรรค ยังคงทำงานดูแลพี่น้องประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าในส่วนของพลังเงียบที่ยังไม่ตัดสินใจให้คะแนนนิยมกับบุคคลและพรรคการเมืองใดนั้น เมื่อถึงเวลา จะเห็นประชาชนให้ความไว้วางใจพรรครวมไทยสร้างชาติอย่างแน่นอน

“รวมไทยสร้างชาติยังคงยึดมั่นอุดมอุดมการณ์ DNA ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ให้แนวทางตั้งแต่แรก คือการลงพื้นที่รับฟังปัญหาและเร่งแก้ไขให้กับพี่น้องประชาชนทันทีอย่างต่อเนื่องนั้น ต้องขอขอบคุณโพลที่สำรวจความคิดเห็นประชาชน ซึ่งผลที่ออกมาสะท้อนให้เห็นถึงความพึงพอใจผลการทำงาน ของทั้งนายพีระพันธุ์ และสส.ของพรรค ที่คะแนนนิยมมาเป็นอันดับ 4 ตนเชื่อว่า พลังเงียบที่ไม่แสดงความเห็น แท้จริงแล้ว ยังคงจับตาดูการทำงานของรัฐบาลและทุกพรรคการเมือง ที่หาเสียงไว้จะทำได้จริงและรักษาสัญญากับประชาชน หรือไม่” นายธนกร ระบุ

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ คนส่วนใหญ่ ไม่เคยตรวจสอบ ‘คำนำหน้าชื่อ’ แต่ให้เกียรติ ยกย่อง!! เป็นบุคคลพิเศษ ให้ความเคารพ เชื่อถือ 

(21 ก.ค.67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “คำนำหน้านามนั้น สำคัญไฉน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับคำนำหน้านาม การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนถึงการให้ความสำคัญเมื่อเห็นชื่อบุคคลที่มีคำนำหน้านาม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.15 ระบุว่า ค่อนข้างให้ความสำคัญ รองลงมา ร้อยละ 28.56 ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ร้อยละ 26.18 ระบุว่า ไม่ให้ความสำคัญเลย และร้อยละ 15.11 ระบุว่า ให้ความสำคัญมาก

สำหรับการให้เกียรติบุคคลที่มีคำนำหน้านามประเภทต่าง ๆ เมื่อพบเจอกัน พบว่า

ผู้มีคำนำหน้านามตามฐานันดรศักดิ์ เช่น หม่อมหลวง หม่อมราชวงศ์ เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 43.28 ระบุว่า ให้เกียรติมาก รองลงมาร้อยละ 36.41 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ ร้อยละ 12.14 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 4.27 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 3.90 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

ผู้มีคำนำหน้านามตามวิชาชีพ เช่น นายแพทย์ แพทย์หญิง เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 43.75 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 43.05 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 9.01 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

ผู้มีคำนำหน้านามตามตำแหน่งวิชาการ เช่น ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 43.97 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 35.27 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 12.37 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 6.10 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

ผู้ที่มีคำนำหน้านามตามวุฒิการศึกษา เช่น ดอกเตอร์ เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 41.76 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 14.96 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 7.79 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 2.82 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

ผู้มีคำนำหน้านามตามยศ เช่น พลเอก พลตำรวจเอก เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 44.12 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 29.47 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 17.25 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 7.63 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

ผู้มีคำนำหน้านามสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เช่น คุณหญิง ท่านผู้หญิง เป็นต้น ตัวอย่าง ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ค่อนข้างให้เกียรติ รองลงมา ร้อยละ 29.31 ระบุว่า ให้เกียรติมาก ร้อยละ 17.56 ระบุว่า ไม่ค่อยให้เกียรติ ร้อยละ 9.01 ระบุว่า ไม่ให้เกียรติเลย และร้อยละ 5.11 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

สำหรับการตรวจสอบบุคคลที่มีคำนำหน้านาม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 89.54 ระบุว่า ไม่เคยตรวจสอบใด ๆ เลย ขณะที่ ร้อยละ 10.46 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านาม เมื่อสอบถามตัวอย่างที่เคยตรวจสอบผู้ที่มีคำนำหน้านาม (จำนวน 137 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับประเภทของคำนำหน้านามที่เคยตรวจสอบ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.64 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามวุฒิการศึกษา รองลงมา ร้อยละ 46.72 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามยศ ร้อยละ 40.88 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามวิชาชีพ ร้อยละ 40.15 ระบุว่าเคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามตำแหน่งวิชาการ ร้อยละ 16.06 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามตามฐานันดรศักดิ์ และร้อยละ 11.68 ระบุว่า เคยตรวจสอบผู้มีคำนำหน้านามสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่ระบุว่าเคยตรวจสอบผู้ที่มีคำนำหน้านาม (จำนวน 137 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับผลการตรวจสอบบุคคลที่มีคำนำหน้านาม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.91 ระบุว่า ไม่เคยเจอว่าเป็นการแอบอ้างใช้คำนำหน้านาม รองลงมาร้อยละ 32.85 ระบุว่า เคยเจอว่าเป็นการแอบอ้างใช้คำนำหน้านาม และร้อยละ 18.24 ระบุว่า ตรวจแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นการแอบอ้างใช้คำนำหน้านามหรือไม่

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.50 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.36 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.14 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 36.18 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.14 สมรส และร้อยละ 1.68 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 13.97 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.63 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.09 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 39.77 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 9.54 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.66 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 19.54 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.52 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 8.24 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 10.85 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.61 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.58 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 17.71 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 13.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.86 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 13.44 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 7.86 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 9.62 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.46 ไม่ระบุรายได้ 

‘นิด้าโพล’ เผย ประชาชนไม่เชื่อ ‘เปลี่ยนตัวนายกฯ-ยุบพรรค’ แต่ถ้าต้องเปลี่ยน!! ‘อุ๊งอิ๊งค์’ ขึ้นเสียบนายกฯ แทน 'เศรษฐา'

(4 ส.ค. 67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 2567 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.42 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 8.63 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.06 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 313 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับบุคคลที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคร่วมรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.95 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) รองลงมา ร้อยละ 30.99 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) ร้อยละ 11.82 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) ร้อยละ 8.31 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 2.23 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย) และร้อยละ 14.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 27.94 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 24.20 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 13.44 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 493 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ สส. จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ จะไปสังกัดกับพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.97 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ รองลงมา ร้อยละ 27.99 ระบุว่า เป็นไปได้มาก ร้อยละ 16.84 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย และร้อยละ 14.20 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการพ้นโทษของคุณทักษิณ ชินวัตร จะทำให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 11.45 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

'นิด้าโพล' ยก!! ‘พีระพันธุ์-รวมไทยสร้างชาติ’ คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คาด!! กระแสพุ่งอีก หลัง ‘อรรถวิชช์’ เสริมทัพ-กม.พลังงานใหม่คลอด

จากผลสำรวจโดยนิด้าโพล ครั้งที่ 2/2567 ระบุว่า ‘พีระพันธ์ุ สาลีรัฐวิภาค’ เป็นบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ ร้อยละ 6.85 เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจของนิด้าโพลครั้งที่ 1/2567 ที่ร้อยละ 3.55 และผลสำรวจของนิด้าโพลเมื่อปี 2566 ที่ร้อยละ 2.40

คะแนนนิยมที่เพิ่มขึ้นของ ‘พีระพันธุ์’ มาจาก 'ภาพลักษณ์ที่ดี มีความน่าเชื่อถือ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต' 

ทั้งนี้ ‘พีระพันธุ์’ หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้สร้างผลงานอันโดดเด่น ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะ ‘รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง’ เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงพลังงาน ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มีความถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม ภายใต้นโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน อันจะส่งผลให้ผู้บริโภค ‘พี่น้องประชาชนคนไทย’ ได้รับประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

จากผลสำรวจเดียวกัน ‘พรรครวมไทยสร้างชาติ’ ได้รับคะแนนเป็นพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ ร้อยละ 7.55 เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจของนิด้าโพลครั้งที่ 1/2567 ที่ร้อยละ 5.10 และผลสำรวจของนิด้าโพลเมื่อปี 2566 ที่ร้อยละ 3.20 

การที่พรรครวมไทยสร้างชาติได้รับคะแนนนิยมจาก ‘พี่น้องประชาชนคนไทย’ เพิ่มขึ้นนั้นก็เพราะการทำงานด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจของทีมงานของพรรคฯ ทุกคน ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีตำแหน่งก็ตาม และได้ให้ความช่วยเหลือ ‘พี่น้องประชาชนคนไทย’ ในทุก ๆ เรื่องที่ร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือมายังพรรค ทั้งยังได้ตั้ง ‘สถานียุติธรรม’ เพื่อรับเรื่องราวความทุกข์ร้อนและดำเนินการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความทุกข์ร้อนของ ‘พี่น้องประชาชนคนไทย’ เหล่านั้นในทุกวิถีทางโดยรวดเร็ว พร้อมทั้งมีการติดตามผลจนกว่าการแก้ปัญหาทั้งหลายเหล่านั้นจะลุล่วง หรืออย่างน้อยก็ต้องบรรเทาเบาคลายลง

นอกจากจะได้รับคะแนนนิยมจาก ‘พี่น้องประชาชนคนไทย’ ที่มีต่อ ‘พีระพันธุ์’ หัวหน้าพรรคฯ และพรรค ‘รวมไทยสร้างชาติ’ ที่เพิ่มขึ้นแล้ว พรรคฯ ยังได้ ‘อรรถวิชช์ (เอ๋) สุวรรณภักดี’ มาร่วมงานอีกด้วย โดยเมื่อ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ‘อรรถวิชช์’ ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรค ‘รวมไทยสร้างชาติ’ แล้ว

‘อรรถวิชช์’ นักการเมืองคุณภาพที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ เกิดวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2521 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล นิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการเงินการธนาคารจากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา และ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และหลักสูตรศึกษาอบรมต่าง ๆ อีกมากมาย ผู้เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาธิการพรรคกล้า อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ประธานกรรมาธิการกิจการชายแดนไทย กรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า

ก่อนเข้าสู่งานด้านการเมือง ‘อรรถวิชช์’ เคยรับราชการสังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โดยมีผลงานอันโดดเด่นหลายเรื่อง อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน การกำกับดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลให้อยู่ในระดับร้อยละ 28 ต่อปี การกำกับธุรกิจบัตรเครดิต และการควบรวมกิจการบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม ธนาคารทหารไทย และธนาคารดีบีเอสไทยทนุ รวมถึงงานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน การธนาคาร หลายฉบับ

เส้นทางการเมืองของ ‘อรรถวิชช์’ เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2550 ชนะการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 4 คือ เขตจตุจักร, บางซื่อ, หลักสี่ สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ โดยร่วมทีมกับบุญยอด สุขถิ่นไทย และสกลธี ภัททิยกุล ต่อมา พ.ศ. 2554 ชนะการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 9 คือ เขตจตุจักร สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2558 เขาเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร 

ต่อมาเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เพื่อไปร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่กับกรณ์ จาติกวณิช อดีตรองหัวหน้าพรรคที่ลาออกแล้วก่อนหน้านั้น โดยรับตำแหน่งเลขาธิการพรรค พรรคกล้า ก่อนที่กล้าจะควบรวมกับพรรคชาติพัฒนาเป็นพรรคชาติพัฒนากล้า .ในปี พ.ศ. 2566 ‘อรรถวิชช์’ ได้เสนอกฎหมายปฏิรูปเครดิตบูโรภาคประชาชน ร่วมกับ สภาองค์กรของผู้บริโภค และวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ‘อรรถวิชช์’ ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยเข้ามาร่วมในทีมกฎหมายของพรรคฯ

ต้องยอมรับว่า ‘กฎหมาย’ เป็นเครื่องมือสำคัญของสังคมที่จะทำให้บ้านเมืองขับเคลื่อนไปสู่ความเจริญข้างหน้าได้ด้วยความสุจริต เป็นธรรม และสุขสงบ แม้ ‘รวมไทยสร้างชาติ’ จะมี ‘พีระพันธุ์’ หัวหน้าพรรคฯ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเป็นอย่างยิ่ง มีผลงานปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์มากมายแล้ว แต่ด้วยภาระหน้าที่ในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พรรคฯ จึงต้องมีนักกฎหมายที่มีความสามารถมาเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมงานของพรรคฯ ที่ได้สร้างผลงานอันเป็นประโยชน์แก่ ‘พี่น้องประชาชนคนไทย’ แล้วมากมาย เพื่อให้ได้ผลงานคุณภาพเกิดประโยชน์โภคผลเพื่อมากขึ้นให้เท่าทันต่อความจำเป็น ความต้องการ และความเดือดร้อนของ ‘พี่น้องประชาชนคนไทย’ อันเป็นภารกิจที่เป็นพันธกิจที่ไม่มีวันสิ้นสุดของพรรค ‘รวมไทยสร้างชาติ’ ต่อไป

'สวนดุสิตโพล' กาง 25 ตัวชี้วัด 'ดัชนีการเมืองไทย' พร้อมเทียบฟอร์มนักการเมือง ‘รัฐบาล-ฝ่ายค้าน’

(29 ก.ย. 67) 'สวนดุสิตโพล' มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง 'ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกันยายน 2567' กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,183 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2567 โดยมีตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน สรุปผลเรียงลำดับจากค่าคะแนนสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้

1. 'ดัชนีการเมืองไทย' เดือนกันยายน 2567 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 4.80 คะแนน (เดือนสิงหาคม 2567 ได้ 4.46 คะแนน)

2. ประชาชนให้คะแนน 25 ตัวชี้วัด 'ดัชนีการเมืองไทย' โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 

3. นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนคิดว่ามีบทบาทโดดเด่นในเดือนกันยายน 67 

4. ผลงานของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบในเดือนกันยายน 67 

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า คะแนนดัชนีการเมืองไทยเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัดครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยได้ปัจจัยเชิงบวกที่สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนทั้งการได้นายกฯ คนใหม่ การเร่งแจกเงินหมื่นช่วยคนเปราะบาง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ผลงานเหล่านี้เข้าถึงปากท้องและครัวเรือนของประชาชนโดยตรง ทำให้รับรู้ได้ว่ารัฐบาลกำลังมุ่งมั่นแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แม้จะมีความกังวลผลของเงินหมื่นในระยะยาวแต่ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยเหลือประชาชนได้บ้าง

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อธิบายว่า คะแนนดัชนีการเมืองไทยปรับเพิ่มขึ้นในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยคะแนนของฝ่ายค้านเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วเป็นเพราะการทำหน้าที่อภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 มีการนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจน เป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนได้ ในขณะที่คะแนนฝั่งรัฐบาลก็ขยับเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่และการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยลงตัว และได้เริ่มขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ ๆ เช่น นโยบายเรือธงดิจิทัลวอลเล็ตที่ปรับเปลี่ยนมาแจกรูปแบบเงินสด ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าได้รับเงินหมื่นจริง ๆ รวมทั้งการที่รัฐบาลคลอดมาตรการเยียวยาให้กับผู้ประสบอุทกภัย ทำให้รู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งประชาชน แม้ว่าการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำท่วมจะมีความล่าช้าก็ตาม รวมทั้งการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม การปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวันที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ประชาชนรู้สึกว่ารัฐบาลเริ่มขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คะแนนของนายกรัฐมนตรีและผลงานของรัฐบาลขยับเพิ่มขึ้นนั่นเอง

'อัครเดช' ขอบคุณประชาชน เชื่อมั่น 'พีระพันธุ์-รวมไทยสร้างชาติ' ย้ำจุดยืนปกป้องสถาบัน-เดินหน้า 'รื้อ ลด ปลด สร้าง' ปฏิรูปพลังงานไทย

(29 ก.ย. 67) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี ในฐานะโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้เปิดเผยถึง  'การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 3/2567' ซึ่งสำรวจโดยนิด้าโพล ว่า 

ในลำดับแรกต้องขอขอบคุณประชาชนทุกคนที่เชื่อมั่น และไว้วางใจในการดำเนินงานของพรรครวมไทยสร้างชาติ จึงทำให้ผลสำรวจทั้งสองส่วนคือ ส่วนของคะแนนนิยมที่มีต่อพรรครวมไทยสร้างชาติ และคะแนนนิยมต่อนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ คะแนนนิยมทั้งสองส่วนต่างสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

สำหรับเหตุผลที่ทำให้คะแนนนิยมทั้งสองส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ตนเชื่อมั่นว่ามาจากการที่พรรครวมไทยสร้างชาติมีจุดยืนที่ชัดเจนในการปกป้อง 'ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์' ซึ่งเป็นสถาบันหลักที่มีความสำคัญต่อชาติ รวมถึงการที่ บุคคลต่าง ๆ ของพรรครวมไทยสร้างชาติ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และสมาชิกพรรคที่เป็นรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ทำงานอย่างหนัก มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งหัวหน้าพรรคยังมีนโยบาย 'รื้อ ลด ปลด สร้าง' พลังงานเพื่อคืนความเป็นธรรมด้านพลังงานให้ประชาชน และ นโยบาย 'เศรษฐกิจแบ่งปัน' ซึ่งใช้หลักการแบ่งปันจากคนตัวใหญ่ช่วยคนตัวเล็กที่ขาดโอกาสในสังคมนับเป็นแนวคิดหลักของพรรครวมไทยสร้างชาติ 

การมุ่งมั่นตั้งใจทำงานของพรรครวมไทยสร้างชาตินั้นทำให้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นผลงานในคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะ กระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม ผลงานในรัฐสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผลงานการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องของบุคลากรของพรรค 

และสำหรับนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาตินั้น นอกจากคุณสมบัติที่ได้กล่าวถึงในรายงานของนิด้าโพลแล้ว ตนยังเห็นอีกว่าประชาชนสามารถรับรู้ได้ถึงความตั้งใจทำงานโดยเฉพาะในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ต้องการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของไทยอย่างเป็นระบบและยั่งยืน 

สุดท้ายนี้พรรครวมไทยสร้างชาติขอให้ประชาชนทุกคนมั่นใจในจุดยืนและแนวทางการดำเนินการของพรรคที่จะปกป้อง 'ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์' อันเป็นสถาบันหลักของชาติ และจะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top