ทำไม 'หมอคางดำ' ไม่รุกราน 'ระบบนิเวศแอฟริกา' ทั้งที่เป็นถิ่นกำเนิด เพราะยากที่จะรอดจากดงนักล่าเจ้าถิ่น-ภูมิประเทศไม่เอื้อแพร่พันธุ์
(30 ก.ค.67) สำนักข่าว Thaipost ได้นำเสนอเนื้อหาในหัวข้อ เหตุใดปลาหมอคางดำถึงไม่รุกรานระบบนิเวศของทวีปแอฟริกา ที่เป็นถิ่นกำเนิดของมัน แต่กลับเป็นปัญหากับระบบนิเวศประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศไทย ระบุว่า...
คำตอบอย่างแรกก็คือ เป็นเพราะความแตกต่างระหว่างสภาพทางภูมิศาสตร์และระบบนิเวศของไทยกับทวีปแอฟริกา ที่ไม่เหมือนกัน โดยปลาหมอคางดำ วิวัฒนาการมาพร้อมกับระบบนิเวศขอแอฟริกา โดยมันเป็นส่วนหนึ่งของ Food web ของทวีปแห่งนี้ที่มีทั้ง ผู้ล่า, คู่แข่งในการล่า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ เป็นการจัดการตามธรรมชาติ และมีผลทำให้ควบคุมประชากรของปลาหมอคางดำไม่ให้มีมากเกินไป จนส่งผลเสียต่อระบบนิเวศโดยรวม
ผู้ล่าหลัก ๆ ในถิ่นเดิมของแอฟริกา ก็คือ ปลาในแอฟริกานั่นเอง เช่น ปลาดุกแอฟริกา, ปลากะพงขาวแอฟริกา, ปลาแอฟริกันไพด์, ปลาเสือแอฟริกัน ปลาหมอสี 5 แถบ
สัตว์นักล่าเจ้าถิ่นเหล่านี้ จัดว่าเป็น Predator หรือเป็นปลานักล่าที่โหด และมีขนาดใหญ่กว่าปลาหมอคางดำหลายเท่ามาก เช่น ปลากะพงแม่น้ำไนล์ ที่ตัวใหญ่หนักเป็น 100 กิโลกรัม ใหญ่กว่ากะพงขาวไทยหลายเท่า อีกทั้งยังมีความดุร้ายและกินจุกว่ากะพงไทยมาก ขนาดที่มันสามารถอ้าปากแต่ละครั้งก็กลืนปลาหมอคางดำได้หมดทั้งฝูง แถมยังมีปลาไทเกอร์โกไลแอต ปลาตะเพียนกินเนื้อที่มีทั้งความเร็วขนาดที่ใหญ่มหึมาและฟันที่คมกริบ คอยล่าปลาหมอคางดำ
แม้ปลาหมอคางดำจะเป็นนักล่าด้วยเช่นกัน แต่มันก็ไม่สามารถลงทะเลได้เพราะภูมิประเทศของแอฟริกาเป็นน้ำลึก ชัน ไม่เหมาะกับการแพร่พันธุ์ และหากลงทะเลยังต้องเจอกับนักล่าทะเลลึกที่โหดขึ้นไปอีกระดับ ด้วยเหตุนี้ปลาหมอคางดำเมื่ออยู่ในแอฟริกา จึงมีสภาพเป็นเหยื่อ หรือหากมันจะว่ายมาริมฝั่งทะเล ก็จะต้องเจอพวกแรคคูน และอาจปะหน้า พวกนกตระกูล Heron, Kingfisher ที่เป็นนักล่า อีกทั้ง บางแหล่งยังเป็นดงจระเข้
ด้วยเหตุนี้ พอมาอยู่ไทยปลาหมอคางดำจึงกลายเป็นนักล่า เพราะที่ไทยไม่มีนักล่าเจ้าถิ่นที่โหดกว่ามัน อีกทั้งสภาพแวดล้อมยังเหมาะกับการแพร่พันธุ์ แตกต่างจากสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ของแอฟริกา ที่ปากแม่น้ำเป็นทั้งน้ำลึกมีความเค็มในระดับที่ปลาหมอคางดำไม่สามารถปรับตัวขยายพันธุ์ได้
ที่มา : Thaipost