Tuesday, 29 April 2025
ECONBIZ NEWS

ประเมินตลาดที่อยู่อาศัยครึ่งหลังปีนี้ยังซม

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 พบว่า กิจกรรมการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 อาจมีโอกาสขยับเพิ่มขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรก หลังจากยอดจองซื้อที่อยู่อาศัยที่หดตัวถึง 24.2% หรือมีจำนวนเหลือเพียง 2.1 หมื่นหน่วย ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี และการเปิดโครงการใหม่ของผู้ประกอบการก็มีเพียง 2 หมื่นหน่วย หดตัว 35% โดยกลุ่มที่มีกำลังซื้อและมองหาที่อยู่อาศัยน่าจะกลับมาได้บ้าง และผู้ประกอบการน่าจะกลับมาทำกิจกรรมการตลาดกระตุ้นการขายได้มากขึ้น แต่ยังนับว่าต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยภาพรวมยังไม่ฟื้น โดยเฉพาะกลุ่มระดับล่าง-กลางล่าง ที่เป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มหลัก 

“ตลาดอาจจะฟื้นตัวในระดับต่ำ จากปัจจัยหลายอย่างที่ต้องติดตาม โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 และการฉีดวัคซีน ทั้งนี้ประเมินว่า หากประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของโควิดได้ในช่วงเดือนก.ค. พร้อมๆ กับการฉีดวัคซีนเป็นไปตามแผน เช่นเดียวกับการออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในประเทศได้”

ส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ทั้งปี 64 จะมีเพียง 1.76-1.82 แสนหน่วย หรือติดลบ 10.5- 7.4% ต่อเนื่องจากปี 63 ส่วนการลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในช่วงครึ่งหลังของปี 64 ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยยังคงเจอโจทย์ท้าทาย เพราะนอกจากความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่ยังอ่อนแอแล้ว ยังมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้ง ความท้าทายในการระบายสินค้าคงเหลือ ทำให้ผู้ประกอบการต้องแข่งขันกันทำตลาดเพื่อชิงกลุ่มผู้บริโภคที่มีจำนวนจำกัดด้วย

แบงก์ชาติเปิดผลสำรวจโควิดระลอกใหม่ทำธุรกิจไทยทรุด

ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย ในเดือนพฤษภาคม 2564 พบว่า ในเดือนพฤษภาคม 2564 ระดับการฟื้นตัวของธุรกิจในภาพรวมทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน ซึ่งถูกกดดันจากกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ และผลของการแพร่ระบาดของโควิดระลอกเดือนเมษายนที่ขยายวงกว้าง ขณะที่ภาคก่อสร้างเริ่มได้รับผลจากการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ในแคมป์คนงาน แต่อย่างไรก็ดีภาคการผลิตยังสามารถฟื้นตัวได้ตามคำสั่งซื้อที่ทยอยกลับมา

ทั้งนี้แต่ละธุรกิจมีมุมมองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกเดือนเมษายนแตกต่างกัน โดยภาคท่องเที่ยว คาดว่า จะถูกกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการค้า ขณะที่ภาคการผลิตได้รับผลกระทบน้อยที่สุด สอดคล้องกับการปรับตัวที่ทำได้มากกว่าธุรกิจอื่น โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในไทยที่มีแนวโน้มกลับมารุนแรงขึ้น ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่มีการใช้นโยบายสลับกันมาทำงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนธุรกิจในภาคที่ไม่ใช่การผลิตมีการใช้นโยบายอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ ลดชั่วโมงทำงาน และ หยุดงานชั่วคราวโดยไม่รับเงินเดือน รวมถึงปลดคนงานเพิ่มในบางธุรกิจ

ขณะเดียวกันจากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งจัดทำร่วมกับสมาคมผู้ค้าปลีกไทย พบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกปรับลดลงต่อเนื่อง ตามการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ที่รุนแรงขึ้น แต่ผู้ประกอบการยังเชื่อมั่นว่าสถานการณ์จะปรับดีขึ้นในอีก 3 เดือน จากผลของการเร่งกระจายวัคซีน

สำหรับประเด็นพิเศษในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประเมินว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคแย่ลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมาก จากการระบาดที่รุนแรงและยืดเยื้อที่ส่งผลต่อทั้งรายได้ และความกังวลของผู้บริโภค รวมถึงมาตรการสาธารณสุขที่เข้มงวดในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ 41% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ได้ปรับลดการจ้างงานลงและมีแนวโน้มที่รายได้ลดลงตามชั่วโมงการทำงานและค่าธรรมเนียมขายลดลง และ 39% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีสภาพคล่องไม่เกิน 6 เดือน

ดีพร้อม (DIPROM) ออกนโยบายเร่งด่วนสนับสนุนผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ รับมือวิกฤติสุขภาพและแนวโน้มความต้องการในไทยที่สูงขึ้น

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เร่งขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อสอดคล้องกับแผนการพัฒนาระยะยาวของทางกระทรวงที่ต้องการยกระดับศักยภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครื่องมือและการให้บริการทางการแพทย์ให้เทียบเท่ากับระดับสากล โดยเน้นการยกระดับการแพทย์ สร้างศูนย์ทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกในการตรวจและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของไทยให้กับผู้ประกอบการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ในราคาที่เป็นธรรมเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ในประเทศไทยในปัจจุบันที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องมือทางการแพทย์ มีเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเล็งเห็นถึงความสำคัญและเร่งการสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ในการพัฒนาและผลักดันให้พร้อมรับมือวิกฤติสุขภาพได้อย่างมีสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอวที่จะช่วยประเทศไทยผ่านวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ไปให้ได้

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดีพร้อม (DIPROM) เร่งดำเนินการปรับแผนและรูปแบบการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของงบประมาณประจำปี 2564 เพื่อให้สอดรับนโยบายทางกระทรวงอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยหนึ่งในนั้นคือการเร่งสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์อย่างครอบคลุมในหลายมิติให้มีความสอดคล้องสถานการณ์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสร้างความพร้อมในการเป็นรากฐานที่สำคัญรองรับต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันและอนาคต ด้วยการผลักดันให้เกิดความพร้อมในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ผ่าน 4 มาตรการเร่งด่วน ดังนี้

1.) การส่งเสริมด้านบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้มีความพร้อมและองค์ความรู้ทั้งด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย การนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม รวมไปถึงสร้างความรู้ความเข้าใจด้านกฎระเบียบและข้อบังคับของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

2.) การส่งเสริมด้านการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI และ IoT รวมถึงในกลุ่มของการบำบัดฟื้นฟู วินิจฉัย และการรักษา

โดยต้นแบบผลิตภัณฑ์ร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมนั้น จะครอบคลุมทั้งในด้านของการรองรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาทิ ชุดอุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่องสำหรับหน้ากากชนิดครอบเต็มใบหน้า (PAPR) เครื่องทวนสอบเครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Tester) ระบบปรึกษาข้อมูลสุขภาพทางไกล ระบบ AI ในการวิเคราะห์โรคปอด และเครื่องดูดละอองฝอยน้ำลาย (เครื่องมือทันตกรรม)

ทั้งนี้ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ดำเนินการโดยการบูรณาการร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ภาคการศึกษา และบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงสถาบันฯ และสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.) การส่งเสริมสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ การปรับปรุง และพัฒนากระบวนการผลิตให้สามารถที่จะลดต้นทุน ลดของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต รวมถึงสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อการใช้งานในปัจจุบัน อีกทั้งส่งเสริมในเรื่องการวางแผนการตลาด เพิ่มมูลค่า และยอดขายอีกครั้ง

4.) การส่งเสริมการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และองค์ความรู้รวมถึงวิสัยทัศน์ร่วมกัน การสร้างและรวบข้อมูลเครือข่ายหน่วยทดสอบมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ ให้เกิดความพร้อมทุกมิติ อีกทั้งยังร่วมกันพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

นอกจากนี้ ดีพร้อม ได้ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการวิจัยและนวัตกรรมแก่ผู้ประกอบการ ผ่านการเชื่อมโยงหน่วยงานอื่นๆ อาทิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) อีกทั้ง ยังช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่บัญชีนวัตกรรมไทยและบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งในการสร้างความน่าเชื่อถือและสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจอีกด้วย

ทั้งนี้ ดีพร้อม ตั้งเป้าว่าภายในปี 2564 ต้องสามารถสนับสนุนผู้ประกอบการและบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือการแพทย์ได้กว่า 100 ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 – 2563 ดีพร้อม สามารถยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์กว่า 400 ราย อาทิ การพัฒนาชุดอุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่องสำหรับหน้ากากชนิดครอบเต็มใบหน้า บริษัท ทีเอ็มดีดี จำกัด โดยทางดีพร้อมได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านวัสดุในการผลิต ระบบในการปรับอัตราการไหลของอากาศ แบตเตอรี่ในการใช้งาน และการใช้งานร่วมกับชุดกรองเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ฯลฯ นายณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

THE STATES TIMES เปิดตัวไลน์แอด @THESHOPSTIMES เอาใจสาย Click...ปั้นธุรกิจ Digital Media Commerce ในคอนเซ็ปต์ โปรเด็ด ถูกคุ้ม แอดเลย แอดไลน์ @ THESHOPSTIMES ส่งดีลดีดี โปรโมชั่นเด็ด สินค้า ประเดิมเริ่มกลุ่ม ‘รถยนต์-อสังหาฯ’

สำนักข่าวออนไลน์ สำหรับคนรุ่นใหม่ THE STATES TIMES ขยายพอร์ตธุรกิจ ปั้นแนวคิดช้อปปิ้งออนไลน์คอนเทนต์ ด้วยการผสมผสานคอนเทนต์และช้อปปิ้งออนไลน์ไว้ด้วยกัน ภายใต้ชื่อ ‘THE SHOPS TIMES’

โดยตกผลึกไอเดียด้วยความเชี่ยวชาญของ THE STATES TIMES ที่มีทั้งทีมผลิตคอนเทนต์หลากสาย จนเกิดเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้า/บริการต่างๆ มาถ่ายทอดให้กระชับ เข้าใจง่าย รวมถึงการอัดไฮไลต์โดนๆ เช่น โปรโมชั่นและดีลสุดคุ้มที่มีการพูดคุยกับเจ้าของสินค้า/บริการจำนวนมาก มานำเสนอต่อผู้ติดตามทั้งในแพลตฟอร์มของ THE STATES TIMES และ สำนักข่าวการศึกษา THE STUDY TIMES

สำหรับ THE SHOPS TIMES ได้มีการพัฒนาการซื้อการขายผ่าน ไลน์แอด @THESHOPSTIMES ภายใต้ไอเดีย Click on Goods โปรเด็ด ถูกคุ้ม ซึ่งใน ไลน์แอด ดังกล่าวจะมีการคัดเลือกสินค้าและบริการคุณภาพ, จากเทรนด์สินค้ากระแสในปัจจุบัน, ความต้องการของตลาด ภายใต้ความคุ้มค่าที่ต้องจ่ายไปอย่างสมเหตุสมผลให้มากที่สุด

ทั้งนี้ในช่วงแรกนี้ THE SHOPS TIMES ได้ดีลกับกลุ่มสินค้าในฝันของใครหลายๆ คน อาทิ เช่น ‘กลุ่มรถยนต์’ กับ Autogallary ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ชั้นนำของประเทศไทย นำเสนอโปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอเมร่า

‘กลุุ่มอสังหาริมทรัพย์’ กับ True Marketing Property ที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ นำเสนอ 2 คอนโดน่าซื้อ ย่านดอนเมือง และ สุขุมวิท 34 ในราคาเริ่มต้น 3 ล้านปลายๆ

ผู้สนใจ โปรเด็ด ถูกคุ้ม อย่างสมเหตุสมผล พร้อมรีวิวจากทีมคอนเท้น จาก THE STATES TIMES ที่จะมีสินค้า/บริการมาอัปเดตอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสามารถแอดไลน์สั่งซื้อได้ทันทีที่ Line@THESHOPSTIMES


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

มาสด้าปรับทัพการบริหารองค์กรรองรับการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัล ดัน ‘ธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์’ กำหนดกลยุทธ์การขาย การตลาด ดีลเลอร์และลูกค้า

มาสด้าปรับทัพผู้บริหารรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลที่กำลังรุกคืบเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว โดยมอบหมายให้ นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ ขยับขึ้นดำรงตำแหน่ง รองประธานบริหารอาวุโส เพื่อเข้ามากำกับดูแลในส่วนของการกำหนดกลยุทธ์การขาย การตลาด และการพัฒนาธุรกิจของมาสด้า เนื่องจากปัจจุบันโลกของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง เกิดโอกาสใหม่ เกิดความท้าทาย และความเป็นไปได้มากมาย มาสด้าต้องยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นการปรับทัพในครั้งนี้จะทำให้องค์กรสามารถปรับตัวเข้ากับการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล และขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เร่งสร้างการเติบโตให้ยั่งยืนภายใต้การทำงานเป็นทีม หรือ One Mazda

ปัจจุบัน นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ ดำรงตำแหน่ง รองประธานบริหาร กำกับดูแลรับผิดชอบในส่วนงานการตลาดและรัฐกิจสัมพันธ์ ถูกแต่งตั้งให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง รองประธานบริหารอาวุโส เพื่อกำกับดูแลในส่วนสำคัญขององค์กรระหว่างประเทศ ทั้งสายงานด้านการขาย กลยุทธ์ด้านการตลาด การกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารงานองค์กร การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ การสื่อสารการตลาด การตลาดดิจิทัล การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาธุรกิจและเครือข่ายผู้จำหน่ายทั่วประเทศ และรัฐกิจสัมพันธ์ ที่สำคัญคือการมุ่งมั่นเพื่อที่จะสร้างความพึงพอใจสูงสุดและสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป 

นายชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด แสดงวิสัยทัศน์ในการเข้ามาบริหารองค์กรระหว่างประเทศท่ามกลางวิกฤตที่คนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ว่า ด้วยสปิริตและความมุ่งมั่นที่เป็นเสมือนดีเอ็นเอมาสด้ามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า การปรับทัพเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกการค้าเสรียุคดิจิทัลในครั้งนี้ จะสามารถนำพาให้องค์กรก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกยุคดิจิทัลมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ทั้งในการเลือกซื้อรถและความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นมาสด้าต้องเร่งปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย โดยจะนำเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาสร้างบทบาทมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่ออำนวยความสะดวกในทุกรูปแบบและตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วต่อสถานการณ์

“การปรับกลยุทธ์ด้วยการผนวกรวมในส่วนของการขายและการตลาด รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายผู้จำหน่ายแบบครบวงจรในครั้งนี้ มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการภายในองค์กรให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยศักยภาพของคุณธีร์ ซึ่งมีประสบการณ์การบริหารธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีความเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรภายใต้ Mazda Way และเป็นกำลังสำคัญช่วยขับเคลื่อนมาสด้ามาตลอด ผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าการปรับทัพในครั้งนี้จะทำให้มาสด้าสามารถพัฒนารูปแบบและกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ ประการสำคัญคือ มาสด้า เรามุ่งเน้นการสร้างทีมบริหารโดยให้คนไทยเข้ามามีบทบาทในทุกๆ ฟังก์ชั่น ภารกิจหลักคือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ “One Mazda” การจะประสบความสำเร็จได้นั้นอาจต้องใช้ทักษะส่วนบุคคล แต่การจะทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยทีมที่แข็งแกร่ง การหลอมรวมทุกหน่วยงานเข้าสู่รูปแบบการทำงานร่วมกันอย่างมืออาชีพและไร้รอยต่อในทุกภาคส่วน จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ทั้งมาสด้า เซลส์ ประเทศไทย มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น รวมถึงผู้จำหน่าย เพื่อจะได้นำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า” นายชาญชัย กล่าวเพิ่มเติม

สำหรับนายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ เริ่มต้นเข้าบริหารองค์กรกับมาสด้า ตั้งแต่ปี 2550 ในตำแหน่งผู้จัดการ กำกับดูแลด้านผลิตภัณฑ์การตลาด และขยับขึ้นเป็นผู้อำนวยการเมื่อปี 2555 ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายตลิตภัณฑ์การตลาดและนโยบายรัฐกิจ ต่อมาในปี 2558 ก้าวขึ้นมากำกับดูแลสายงานด้านการตลาด การวางแผนผลิตภัณฑ์ การสื่อสารการตลาด งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายการตลาด ล่าสุดเมื่อปี 2561 ได้รับการแต่งตั้งเป็น รองประธาน กำกับดูแลสายงานการตลาด กลยุทธ์การตลาด การวางแผนผลิตภัณฑ์ การสื่อสารการตลาด งานประชาสัมพันธ์ และรัฐกิจสัมพันธ์ ภายใต้ฝ่ายการตลาดและรัฐกิจสัมพันธ์ มาจนถึงปัจจุบัน

ปตท. ผนึก ฟ็อกซ์คอนน์ พันธมิตรร่วมทุนกว่า 1 พันล้านดอลล่าร์ ศึกษาการสร้างแพลตฟอร์มผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าครบวงจรในประเทศ หนุนรัฐส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2564 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานใน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด (Hon Hai Precision Industry Co., Ltd.) หรือ ฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป (Foxconn Technology Group) ในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony) จัดขึ้น ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย และ กรุงไทเป ไต้หวัน

โดยมี นายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการ ปตท. พร้อมด้วย ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นสักขีพยาน เพื่อศึกษาโอกาสในการพัฒนาฐานการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือนี้จะเป็นการผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศ ให้เติบโตและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

สำหรับความร่วมมือนี้เป็นการผสานความเชี่ยวชาญของ Foxconn ที่เป็นผู้นำการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก และความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงความแข็งแกร่งด้านธุรกิจพลังงาน ของ ปตท. ทั้งเครือข่ายพันธมิตร กลุ่มบริษัทในเครือและผู้ร่วมทุนปัจจุบัน ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการผลิต และเสริมศักยภาพระบบนิเวศ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ตลอดห่วงโซ่คุณค่ายานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้รับผลิตสินค้า (Original Equipment Manufacturers : OEMs) ในประเทศไทย ที่มีความสนใจสามารถเข้าถึงการบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและใช้ต้นทุนต่ำ เพื่อร่วมสร้างอนาคตแห่งการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า รูปแบบการใช้พลังงานในอนาคต จะมุ่งไปด้าน GO GREEN และ GO ELECTRIC มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเดินทางของประชาชน ซึ่งในช่วงของการเปลี่ยนผ่านพลังงานดังกล่าว เราเชื่อว่าเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมจะยังเป็นพลังงานที่สำคัญ แต่ในขณะเดียวกันเราก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาและปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ทิศทางพลังงานในอนาคตอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ได้เริ่มรุกเข้าสู่ EV Value Chain โดยจับมือพันธมิตรทางธุรกิจ ในการพัฒนา EV Charging Platform, EV Station รวมถึงการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นความร่วมมือกับ Foxconn ในครั้งนี้ จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ เสริมสร้างทักษะและอาชีพให้กับประชาชน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตและเป็นต้นแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านพลังงานให้กับประเทศได้ต่อไป

โดยในระยะแรก ปตท. และ Foxconn ตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งแพลตฟอร์มการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และส่วนประกอบหลักต่างๆ แบบ end-to-end ด้วยเงินร่วมลงทุนขั้นต้นที่ 1-2 พันล้านดอลลาร์ และจะขยายการลงทุนในอนาคตต่อไป ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจสู่เวทีโลกในอนาคต

นอกจากนี้ ยังเป็นการตอบสนองนโยบายและทิศทาง การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ที่มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

นาย ยัง ลวือ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป (Mr. Young Liu, Chairman and CEO of Foxconn) กล่าวว่า เป้าหมายของความร่วมมือในครั้งนี้ คือการเปิดโอกาสให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจทั่วโลก ได้เชื่อมต่อสังคมแห่งการเดินทางด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ความเชี่ยวชาญของ Foxconn ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมของโลก ทำให้เราผนึกความร่วมมือกับภาครัฐ และ ปตท. ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ และความชำนาญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่พร้อมสำหรับอนาคต

โดยที่ผ่านมา ปตท. ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จพลังงานและแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ Foxconn จะสามารถแบ่งปันความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งขึ้น เรามุ่งหวังที่จะเห็นประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับโลกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

 

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/941056


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

“บิ๊กตู่” ถก ครม.จับตาพิจารณามาตรการลดค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิดวงเงิน 1.4 แสนล้านบาท มีผู้เข้าข่าย 51 ล้านคน

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งยังคงเป็นการประชุมผ่านระบบ Video Conference จากห้องประชุมชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ส่วนรัฐมนตรีคนอื่น ยังคงใช้ห้องทำงานของกระทรวง บางส่วนใช้ห้องประชุม สลค.และบางส่วน ใช้ห้องประชุมที่อาคารรัฐสภาเนื่องจากจะต้องชี้แจง เกี่ยวกับการใช้งบประมาณของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ที่มีการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันเดียวกันนี้

ส่วนวาระการประชุมที่สำคัญ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเสนอ ครม.อนุมัติมาตรการลดค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิดของ 4 มาตรการ วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท โดยมีผู้เข้าข่ายได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการกว่า 51 ล้านคน เช่น โครงการเติมเงินให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ เป็นต้น และมีรายงานว่า ครม.วันนี้ อาจจะมีการเสนอเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวของกรุงเทพมหานครออกไปอีก 30 ปี โดยอัตราราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 65 บาทตลอดสาย 

ครม.เตรียมเคาะมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ 1.4 แสนล้าน

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบ Video Conference วันที่ 1 มิถุนายน 2564 มีวาระน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเศรษฐกิจเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา โดยกระทรวงการคลังเสนอมาตรการเพื่อดูแลประชาชนจากผลกระทบของโควิด-19 ระยะที่ 2 รวมทั้งหมด 4 มาตรการ ภายใต้กรอบวงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาท โดยจะเริ่มใช้ในเดือน ก.ค.-ธ.ค. 2564 ซึ่งนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ยอมรับก่อนหน้านี้ว่า ด้วยมาตรการทั้งหมด จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยปีนี้ให้ขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 1.5-2.5%

สำหรับมาตรการทั้ง 4 ประกอบด้วย

1.) มาตรการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 วงเงิน 9.3 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 31 ล้านคน ให้สิทธิ์ใช้จ่ายไม่เกิน 150 บาท วงเงิน 3,000 บาทต่อคน 

2.) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โดยโครงการนี้รัฐบาลคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการ 4 ล้านคน (จากกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อประมาณ 6 ล้านคน) โดยภาครัฐจะสนับสนุนบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voucher) สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน โดยผู้เข้าโครงการจะได้รับการสนับสนุน E-Voucher จากภาครัฐในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. 2564 เพื่อไปใช้จ่ายในเดือน ส.ค.-ธ.ค.2564 โดยใช้เงินในโครงการนี้ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท 

3.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โดยให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค.-ธ.ค.2564 ครอบคลุมประชาชนประมาณ 13.6 ล้านคน โดยให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน วงเงินประมาณ 1.64 หมื่นล้านบาท 

4.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ รวมทั้งกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุด้วย จำนวน 2.5 ล้านคน เดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน วงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท 

กระทรวงอุตสาหกรรม ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ฝ่าวิกฤต COVID-19 ระลอกใหม่ ผ่านกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โดยการพักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด ไม่เกิน 6 เดือนและไม่เกินสิ้นปี 2564 ผ่าน SME D BANK เริ่มตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2564

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนา เอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ ได้เข้ามาซ้ำเติมผลกระทบ จากสถานการณ์ในรอบแรกที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SME) ส่วนใหญ่ของประเทศ ยังไม่สามารถพลิกฟื้นธุรกิจ ให้กลับสู่ภาวะปกติได้ และสร้างความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐ กระทรวงอุตสาหกรรม เล็งเห็นถึงสถานการณ์ดังกล่าวจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปแล้ว 2 ครั้งด้วยการพักชำระหนี้ และให้บริการความช่วยเหลือผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีในเรื่องการตลาด การเงิน และระบบบัญชี ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมในโครงการดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 3,300 ราย

แต่เนื่องจากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาภาระการชำระหนี้ของลูกหนี้ให้มีสภาพคล่อง และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในช่วงภาววะวิกฤต รวมทั้งยังเป็นการลดแนวโน้มการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จึงมีมติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ ที่ยังไม่ด้อยคุณภาพ (Non NPL) หรือไม่อยู่ในระหว่างที่ถูกกองทุนดำเนินคดี ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้สามารถยื่นความประสงค์ขอพักชำระหนี้เงินต้นกับทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) โดยสามารถพักชำระหนี้ได้สูงสุด ไม่เกิน 6 เดือน และไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2564

“จากภาระที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทางกองทุนฯ มองเห็นความพยายามช่วยเหลือตัวเองอย่างสุดกำลังของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาโดยตลอด จึงต้องการเป็นอีกพลังช่วยสนับสนุนให้เอสเอ็มอีสามารถก้าวผ่านวิกฤตไปได้อีกครั้ง โดยออกมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 3 นี้ เป็นมาตรการต่อเนื่องจากการให้ความช่วยเหลือก่อนหน้า ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเอสเอ็มอี โดยเฉพาะรายเล็กที่ประสบปัญหาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และคาดว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงานได้ไปจนถึงสิ้นปีนี้” นายกอบชัยฯ กล่าว

ทั้งนี้ ลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ สามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้น พร้อมขอรับการส่งเสริมพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ การตลาด การผลิต การเงินและบัญชี ได้ที่ SME D BANK ทุกสาขาทั่วประเทศในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ได้ตั้งแต่วันที่ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center โทร 1357


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2564 มีระดับอยู่ที่ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2564 มีระดับอยู่ที่ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจของโลกมีแนวโน้มดีขึ้นจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะคู่ค้าหลักของไทย ประกอบกับมาตรการภาครัฐที่ออกมากระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความเชื่อมั่นในภาคการผลิตการบริโภค ส่งผลให้การส่งออกเดือน เม.ย. มีมูลค่าเหนือระดับ 2 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยรวม 4 เดือนแรกปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.38 และมีอัตราการใช้กำลังผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.48

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมมีสัญญาณดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยในเดือนเมษายน 2564 MPI อยู่ที่ระดับ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดผลกระทบจากการระบาดรอบแรกของไวรัสโควิด-19 มากที่สุด

เหตุผลมาจากทิศทางเศรษฐกิจของโลกที่ดีขึ้นสะท้อนได้จากตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในระดับสูง ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แนวโน้มภาคการผลิตของประเทศเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่ไม่ได้ส่งผลต่อการผลิตในภาพรวมและกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างภาคการผลิตอุตสาหกรรม ยังคงสามารถดำเนินการได้อย่างปกติ และเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นตามทิศทางการส่งออกที่ดีขึ้นเช่นกัน โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมาย

"ในช่วงเวลานี้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ถือได้ว่าเป็นกลจักรสำคัญที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวข้ามผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้" นายสุริยะกล่าว

ด้านนายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI ในเดือนเมษายน 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ รถยนต์ที่ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 288.06 จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล โดยตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 4 เดือนแรกปี 2564 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.38 อัตราใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.48 เนื่องจากในปีก่อนมีการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตหลายราย หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด-19

ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 75.61 จากความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเนื่องจาก Work From Home เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศต่างๆ เริ่มดีขึ้นจึงมีความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ส่วนเหล็ก ขยายตัวร้อยละ 29.2 ขยายตัวเกือบทุกรายการสินค้า เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณเหล็กในตลาดโลกลดลงโดยจีน ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศให้ดีขึ้น จึงสั่งปิดโรงงานเหล็กที่ผลิตไม่ได้ตามมาตรฐานส่งผลให้ปริมาณการผลิตลดลง ประกอบกับในช่วงนี้สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเริ่มมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กของโลกปรับตัวสูงขึ้น จากทั้งสองปัจจัยหลักข้างต้นจึงทำให้การผลิตเหล็กของไทยเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาเหล็กและความต้องการที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

นายทองชัย กล่าวต่อว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 16,178.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 45.69 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2563 และขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 13.09 เป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 36 เดือน โดยกลุ่มสินค้าเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.44 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้น 1.46 และสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ เป็นต้น การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 26.82 สินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งจากตัวเลขทั้งภาคการส่งออกและการนำเข้าสะท้อนให้เห็นถึงภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดการณ์ได้ว่าตัวเลข MPI ในเดือนถัดไปจะมีทิศทางที่ดีขึ้นเช่นกัน

***สรุปอุตสาหกรรมหลักที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัวในเดือนเมษายน 2564...

>> รถยนต์และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 288.06 จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก จากในปีก่อนมีการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตหลายราย หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด-19

>> เบียร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 515.18 เนื่องจากสงกรานต์ปีนี้ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ แม้ว่าจะมีการควบคุมในบางพื้นที่

>> เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 57.38 ผู้ผลิตมีการพัฒนาสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการและจัดรายการส่งเสริมการขายกระตุ้นการจำหน่ายในประเทศให้เพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ของประเทศคู่ค้าหลักเริ่มคลี่คลายทำให้การดำเนินการส่งออกกลับมาเป็นปกติหลังจากการปิดช่องทางขนส่ง

>> เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.23 จากเหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กเคลือบสังกะสี และเหล็กเส้นข้ออ้อยเป็นหลัก จากที่ปีก่อนลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อตามความต้องการใช้หดตัว รวมทั้งมีผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราวในปีก่อน

>> ยางรถยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 69.74 จากยางนอกรถยนต์นั่งยางนอกรถบรรทุกรถโดยสาร และยางนอกรถกระบะ


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top