Saturday, 10 May 2025
ECONBIZ NEWS

'สุริยะ' สั่ง 'ดีพร้อม' ปั้น CIV Leader รับวิถี Now Normal คิกออฟ 'บ้านปลายบาง' ต้นแบบชุมชนนำร่องการท่องเที่ยว

กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้านโยบายขับเคลื่อนการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ภายหลังอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเริ่มฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง เตรียมพร้อมของวิสาหกิจชุมชนในการเร่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศ พร้อมสั่งการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม พัฒนาต่อยอดผู้นำชุมชนให้เป็นผู้นำหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ CIV Leader นำร่อง 20 ชุมชน เพื่อรองรับวิถีชีวิตปัจจุบันที่สามารถอยู่ร่วมกับสภาพการเปลี่ยนจากโควิด-19 ได้อย่างเป็นปกติ (Now Normal) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาชุมชนตามสภาพปัจจุบัน ซึ่งคำนึงถึงต้นทุนของชุมชน และศักยภาพของแรงงานที่เดินทางกลับภูมิลำเนา และการส่งเสริมพัฒนาสินค้าชุมชนตามพฤติกรรมลูกค้า พร้อมชู “ชุมชนท่องเที่ยวบ้านปลายบาง” ตัวอย่างชุมชนนำร่องการท่องเที่ยวที่มีการปรับตัวไว พลิกวิกฤตพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น สร้างรายได้อย่างยั่งยืน โดยคาดว่าจะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 300 ล้านบาท

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศถือได้ว่าเริ่มฟื้นตัวขึ้น จากปริมาณนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ และอัตราการเข้าพักในโรงแรมในเดือนมกราคมที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา เป็นภาพสะท้อนโอกาสทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามสำหรับหลายกิจการที่รอคอยให้เครื่องจักรการท่องเที่ยวกลับมาเดินเครื่องเต็มกำลังอีกครั้ง ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เพราะถือเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก จึงได้สั่งการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ขยายผลการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) หรือ หมู่บ้าน CIV ที่ประสบความสำเร็จจากการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สร้างรายได้มั่นคงให้กับ 250 ชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ 

ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า การขับเคลื่อนหมู่บ้าน CIV ในปีนี้ ดีพร้อมเน้นการดำเนินงานภายใต้นโยบาย “DIProm CARE: ดีพร้อม แคร์” ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนที่จะลงลึกถึงความต้องการเฉพาะในแต่ละพื้นที่ พร้อมการส่งเสริมที่ตรงจุด ด้วยทีมบุคลลากรคุณภาพที่เชี่ยวชาญองค์ความรู้ในด้านการจัดการอุตสาหกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ อีกทั้ง ได้ปรับรูปแบบเพื่อรองรับวิถีชีวิตปัจจุบันที่สามารถอยู่ร่วมกับสภาพการเปลี่ยนจากโควิด-19 ได้อย่างเป็นปกติ (Now Normal) ประกอบด้วย... 

>> Now Village หรือ การส่งเสริมพัฒนาชุมชนตามสภาพความเป็นปัจจุบัน คือ การสำรวจความพร้อมและผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งถือเป็นต้นทุนเดิมในการพัฒนา และการสำรวจต้นทุนที่เกิดขึ้นใหม่ คือ การเปลี่ยนแปลงของประชากรในชุมชน เพราะในช่วงการแพร่ระบาดที่ผ่านมามีแรงงานฝีมือจำนวนมากที่ตกงานและเดินทางกลับภูมิลำเนาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หากสามารถใช้ศักยภาพของแรงงานเหล่านี้ในการพัฒนาสินค้าและบริการของชุมชน จะทำให้สร้างรายได้เพิ่มขึ้นและชุมชนเกิดความยั่งยืนในอนาคต 

>> Now Customer หรือ การส่งเสริมพัฒนาสินค้าชุมชนตามพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า หรือนักท่องเที่ยวในปัจจุบันที่หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น และความต้องการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปด้วยมาตรการการควบคุมโรค ที่เข้มงวดการเดินทางระหว่างประเทศ ทำให้การท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น และนักท่องเที่ยวบางส่วนงดการเดินทางท่องเที่ยว แต่ยังคงมีความต้องการซื้อสินค้าชุมชน หรือสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น การพัฒนาสินค้าและบริการในความปกติปัจจุบัน จึงต้องพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในกลุ่มนี้ 

'ศาลปกครองกลาง' มีคำสั่งงดบังคับคดีโฮปเวลล์ รอจนกว่าจะการพิจารณาใหม่เสร็จสิ้น

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการดำเนินการคดีโฮปเวลล์ระหว่างกระทรวงคมนาคม ผู้ร้องที่ 1 และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ผู้ร้องที่ 2 กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด (ผู้คัดค้าน) ว่า เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2565 ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งงดการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดคดีหมายเลขดำที่ อ.410-412/2557 คดีหมายเลขแดงที่ อ.221-223/2562 ไว้ในระหว่างพิจารณาคดีใหม่

ทั้งนี้ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้รับคำขอให้รับพิจารณาคดีใหม่ และได้มีการรับพิจารณาคดีใหม่แล้วจึงเข้าเงื่อนไขการงดบังคับคดี ตามข้อ 131 วรรคหนึ่ง (1) แห่งระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีค่าโฮปเวลล์นั้น สืบเนื่องเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2565 ศาลปกครองกลางได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด โดยกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับคำขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาใหม่ในคดีโฮปเวลล์ จากนั้น เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ทำหนังสือถึงศาลปกครองกลาง ซึ่งเป็นศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว ขอให้งดการบังคับคดี พร้อมทั้งแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้สำนักงานบังคับคดีปกครองทราบด้วย

สำหรับคดีดังกล่าวนั้น ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา กระทรวงคมนาคม และ รฟท.ต้องจ่ายค่าโง่โฮปเวลล์พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี รวม 25,711 ล้านบาท ภายใน 180 วัน ซึ่งเมื่อศาลฯ มีคำสั่งงดบังคับคดี จะส่งผลให้คำสั่งชดใช้ค่าเสียหายข้างต้น รวมดอกเบี้ยจะถูกชะลอออกไปก่อน

บอร์ดรัฐวิสาหกิจเคาะแผนพัฒนา 4 ปี

นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบการจัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งในแผนดังกล่าวจะมีนโยบายที่จะขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Model) และสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย 

รวมทั้งการปรับรูปแบบธุรกิจ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถสนองต่อวิถีชีวิตถัดไป ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 และการสร้างความมั่นคงในด้านการค้า การลงทุน การผลิต และการเกษตรของประเทศรองรับจากผลกระทบต่างๆ จากสถานการณ์ในต่างประเทศ นอกจากนี้ ให้สนับสนุน SME และมีการบูรณาการทำงานร่วมกันของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาครัฐอื่น และเอกชนมากยิ่งขึ้น 

‘อลงกรณ์’ เผยขบวนรถไฟสาย ‘จีน-ลาว’ สุดเจ๋ง ขนสินค้าเกษตร 20 ตู้ ถึง ‘นครฉงชิ่ง’ ใช้เวลาแค่ 6 วัน

‘อลงกรณ์’ เผยขบวนรถไฟสาย ‘จีน-ลาว’ ขนสินค้าเกษตรของไทย 20 ตู้ถึงมหานครฉงชิ่งแล้ว ใช้เวลา 6 วัน เร่งดันผลไม้ขึ้นรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิต ปี 2565

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรของไทยล็อตแรก 20 ตู้คอนเทนเนอร์ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 65 ที่ผ่านมา โดยรถไฟสายจีน-ลาว จากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ สู่ด่านรถไฟโมฮ่านของมณฑลยูนนาน ได้ขนส่งถึงมหานครฉงชิ่ง โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 วัน ตั้งแต่เดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ โดยใช้เวลาในสปป.ลาว 3 วัน และการเดินทางในจีนอีก 3 วัน โดยได้สรุปตารางเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนจากไทยผ่านสปป.ลาว ข้ามพรมแดนจีนจนถึงภาคตะวันตกของจีน คือมหานครฉงชิ่ง เชื่อว่าจะสามารถลดเวลาในการขนส่งในอนาคตเหลือเพียง 4 วัน เมื่อมีการปรับตัวการทำงานของทุกฝ่าย เป้าหมายต่อไปคือการเร่งเปิดบริการอย่างเป็นระบบ การลดเวลา การขนส่งตลอดห่วงโซ่โลจิสติกส์เพื่อขยายการขนส่งทางรถไฟสายนี้

สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา ผักผลไม้ มันสำปะหลัง ปาล์ม กล้วยไม้ น้ำตาล และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายให้สามารถขนส่งทางรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 2565 ขณะนี้ ฝ่ายไทยและสปป.ลาว พร้อมแล้ว รอทางจีนเปิดทำการด่านตรวจพืช ณ สถานีรถไฟโมฮ่านภายใต้พิธีสารที่ได้ตกลงกันตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งได้ประสานขอความร่วมมือกับทางการจีนให้เร่งดำเนินการหลังเทศกาลตรุษจีนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 

“นับเป็นขบวนสินค้าปฐมฤกษ์ของไทยที่สามารถเปิดบริการได้เป็นขบวนแรก และเป็นการเปิดศักราชใหม่ของนโยบายอีสานเกตเวย์ เชื่อมอีสานเชื่อมโลกด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายโลจิสติกส์เกษตรของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน” นายอลงกรณ์ กล่าว

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม ‘Soft Power’ ไทยดังไกลในต่างแดน ยัน เดินหน้าผลักดันเป็นสินค้าหลักสู่ตลาดสากล

นายกฯ ยินดี “Soft Power” ไทย เป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ - ทีมไทยแลนด์ร่วมงานตลาดภาพยนตร์และโทรทัศน์นานาชาติฮ่องกง ประจำปี 2565 

เมื่อวันที่ 15 มี.ค. นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีต่อกระแสความนิยมวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศที่โดดเด่นมากขึ้นแม้อยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทั้งจากรายการโทรทัศน์ งานดนตรี เทศกาลอาหาร นิทรรศการแสดงสินค้าและบริการ รวมถึงสื่อออนไลน์ต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ เพลง และโฆษณา ซึ่งได้รับความสนใจและผลตอบรับจากผู้ชมชาวต่างชาติอย่างล้นหลามโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียซึ่งเป็นตลาดส่งออกความบันเทิงหลักของไทย ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์เป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญที่รัฐบาลเร่งผลักดันเป็นสินค้าหลักในการส่งออกสู่ตลาดสากล

นายธนกร กล่าวว่า จากวิสัยทัศน์ของนายกฯ ที่สนับสนุนการใช้ “Soft Power” นำเสนออัตลักษณ์ไทยสู่สายตาชาวโลก ผสมผสานนโยบายพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันและแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ BCG (Bio-Circular-Green) เป็นโจทย์ให้กระทรวงวัฒนธรรมสานต่อแนวทางเพื่อพัฒนาความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ โดยได้จัดงานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย ‘CCPOT (Community Cultural Product of Thailand) GRAND EXPOSITION’ ขึ้นระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งประสบความสำเร็จในการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทยทั้งในและต่างประเทศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วกว่า 600 ล้านบาท 

SME D Bank ผนึก บสย. จับคู่ กู้พร้อมค้ำ วงเงิน 2 พันล้านบาท เติมทุนเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยว

บสย. - SME D Bank ผนึกความร่วมมือ จับคู่ กู้พร้อมค้ำ “สินเชื่อ SMEs Re-Start” วงเงิน 2,000  ล้านบาท เร่งเติมทุนเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เดินหน้าเติมทุนสนับสนุนเอสเอ็มอีท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) ผ่านมาตรการทางการเงิน “สินเชื่อ SMEs Re-Start” วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท จับมือ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ขยายโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน สามารถกู้พร้อมค้ำ ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่อง 

เช่น โรงแรม ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว ร้านขายของที่ระลึก ฯลฯ รวมถึงเอสเอ็มอีทุกประเภทที่เป็นคู่ค้ากับกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว เข้าถึงแหล่งเงินทุนนำไปเสริมสภาพคล่อง ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ หรือสำรองเป็นค่าใช้จ่าย ช่วยยกระดับกิจการ รองรับกำลังซื้อนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติที่จะกลับมา สนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฟื้นตัวตามนโยบายภาครัฐ  

'บิ๊กตู่' รับทราบ 'Fitch' คาดการณ์ ผลประกอบการไทยฟื้นตัวต่อเนื่องตลอดปี 65 

เมื่อวันที่ 14 มี.ค. นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบผลการรายงานผ่านงานสัมมนาแนวโน้มธุรกิจไทย ปี 2565 (2022 Thailand Corporate Credit Outlook) และยินดีผลการคาดการณ์ของบริษัท Fitch Ratings (ประเทศไทย) จำกัด ว่าผลประกอบการของบริษัทในประเทศไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2565 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และการเริ่มเปิดประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้บางภาคธุรกิจจะยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่อันดับเครดิตของบริษัทไทยส่วนใหญ่ยังมีเสถียรภาพ  บริษัทในประเทศไทยที่ Fitch จัดอันดับเครดิตส่วนใหญ่ มีการบริหารจัดการกระแสเงินสดอย่างรอบคอบ ซึ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายและการลงทุนในด้านต่างๆ มากขึ้น 

‘บิ๊กตู่’ เปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ สนามบินเบตง รองรับตลาดท่องเที่ยว - พาณิชย์

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 เวลา 10.00 น. ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ออกเดินทางด้วยสายการบินนกแอร์ เที่ยวบินที่ DD6260 ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเบตง ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิด “เที่ยวบินปฐมฤกษ์ ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง จังหวัดยะลา” พร้อมคณะ อาทิ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยก่อนออกเดินทางนายกฯ ได้ถ่ายภาพร่วมกับคณะผู้บริหาร และรับมอบภาพวาดสีน้ำรูปเครื่องบินเที่ยวปฐมฤกษ์

สำหรับกำหนดการในเวลา 12.00 น. นายกฯ จะเยี่ยมชมท่าอากาศยานนานาชาติเบตง รับฟังภาพรวมการดำเนินงาน และเยี่ยมนิทรรศการ OTOP จังหวัดยะลา พร้อมมอบถุงกำลังใจให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางในพื้นที่จังหวัดยะลาที่ประสบอุทกภัย และพบปะกลุ่มตัวแทนชาวยะลา ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในเวลา 16.45 น. ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ

'พลังงาน' ยันขึ้นก๊าซหุงต้ม 15 บาทต่อถัง เริ่ม 1 เม.ย.นี้ หลังแบกรับต้นทุนต้องอุดหนุนกว่า 2 พันล้านต่อเดือน

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ในส่วนของก๊าซหุงต้ม หรือแอลพีจี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้ จำเป็นต้องขยับราคาขึ้น 15 บาทต่อถัง ขนาด 15 กิโลกรัม หรือ 1 บาทต่อกก. โดยปรับมาอยู่ที่ 333 บาทต่อถัง จากปัจจุบัน 318 บาทต่อถัง หลังจากในแต่ละเดือนต้องใช้เงินอุดหนุนกว่า 2,000 ล้านบาทตั้งแต่ช่วงเกิดการระบาดของโควิด-19 ขณะที่ราคาแอลพีจี ต้นทุนที่แท้จริงขณะนี้อยู่ที่ 463 บาทต่อถัง

ส่วนค่าไฟฟ้าในขณะนี้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือเอฟทีงวดใหม่ เริ่ม พ.ค.-ส.ค. ต้นทุนค่าเอฟทีที่แท้จริงสูงกว่าประมาณการณ์เดิมที่คาดว่างวดนี้จะขึ้น 16 สตางค์ต่อหน่วย แต่รัฐบาลมีนโยบายว่าจะเข้ามาดูแลให้ค่าไฟฟ้าขึ้นในอัตราไม่เกิน 16 สตางค์ต่อหน่วย และขณะนี้กำลังพิจารณาจะช่วยเหลือประชาชน โดยหากรายใดใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน หรือ 1,200 บาท/เดือน กลุ่มนี้จะจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตราเดิมในงวดเอฟทีงวดแรก (ม.ค.-เม.ย.65)

ตรึงไม่อยู่ พลังงานยันขึ้นก๊าซหุงต้ม 15 บาทต่อถัง เริ่ม 1 เม.ย.นี้

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ในส่วนของก๊าซหุงต้ม หรือแอลพีจี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้ จำเป็นต้องขยับราคาขึ้น 15 บาทต่อถัง ขนาด 15 กิโลกรัม หรือ 1 บาทต่อกก. โดยปรับมาอยู่ที่ 333 บาทต่อถัง จากปัจจุบัน 318 บาทต่อถัง หลังจากในแต่ละเดือนต้องใช้เงินอุดหนุนกว่า 2,000 ล้านบาทตั้งแต่ช่วงเกิดการระบาดของโควิด-19 ขณะที่ราคาแอลพีจี ต้นทุนที่แท้จริงขณะนี้อยู่ที่ 463 บาทต่อถัง

ส่วนค่าไฟฟ้าในขณะนี้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือเอฟทีงวดใหม่ เริ่ม พ.ค.-ส.ค. ต้นทุนค่าเอฟทีที่แท้จริงสูงกว่าประมาณการณ์เดิมที่คาดว่างวดนี้จะขึ้น 16 สตางค์ต่อหน่วย แต่รัฐบาลมีนโยบายว่าจะเข้ามาดูแลให้ค่าไฟฟ้าขึ้นในอัตราไม่เกิน 16 สตางค์ต่อหน่วย และขณะนี้กำลังพิจารณาจะช่วยเหลือประชาชน โดยหากรายใดใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน หรือ 1,200 บาท/เดือน กลุ่มนี้จะจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตราเดิมในงวดเอฟทีงวดแรก (ม.ค.-เม.ย.65)


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top