Friday, 16 May 2025
ECONBIZ NEWS

'เสี่ยเฮ้ง' ส่งแรงงานไปแดนกิมจิเพิ่ม 3 กลุ่ม 15,000 คน ยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มโอกาสตลาดงานไทยในต่างแดน

(1 ธ.ค. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบถึงผลการหารือระหว่างนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กับนาย มุน ซึง ฮย็อน (Mr. Moon Seoung-hyun) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย ซึ่งทำให้ไทยได้โควตาการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในประเทศเกาหลีเพิ่ม

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่าในส่วนของประเด็นแรงงานไทย ที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ หากไทยจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศจะเป็นโอกาสยกระดับเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน ทำให้คนไทยมีงานทำ นำรายได้กลับมาพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ตลาดแรงงานต่างชาติในสาธารณรัฐเกาหลี นับว่าเป็นตลาดแรงงานที่มีศักยภาพและเป็นตลาดที่น่าสนใจ เนื่องจากแรงงานต่างชาติได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเทียบเท่าคนในชาติ รวมทั้งอัตราค่าจ้างแรงงานค่อนข้างสูง ทำให้มีแรงงานไทยจำนวนมาก เดินทางไปทำงาน ซึ่งจากข้อมูลในเดือนกรกฎาคม ปี 2565 มีจำนวนแรงงานไทยสะสมอยู่ในเกาหลีเป็นจำนวนถึง 12,950 คน

‘รมว.สุชาติ’ ส่ง ผู้ช่วยฯ เปิดประชุมวิชาการประกันสังคม เร่งขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงานทุกมิติ ‘ฟื้นเศรษฐกิจ - ท่องเที่ยว’ ภาคเหนือ

วันที่ 1 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการจัดงานประชุมวิชาการประกันสังคม 5 ภาค ประจำปี 2565 (ภาคเหนือ) Modernizing SSO 2022 : ก้าวสู่ระบบประกันสังคมที่ทันสมัย พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ‘นโยบายการพัฒนา และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน’ โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ ณ โรงแรม คุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่

นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และท่านรองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กำชับให้กระทรวงแรงงานช่วยดูแลพี่น้องแรงงาน ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 รวมทั้งนายจ้าง ผู้ประกอบการให้เหมือนคนในครอบครัว พร้อมทั้งสั่งการให้กระทรวงแรงงานช่วยเหลือพี่น้องผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเท่าเทียมกัน ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมเป็นกลไกสำคัญของรัฐบาลในการช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตน ผ่านโครงการต่างๆ เช่น การตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุกในสถานประกอบการ โครงการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ประกันตน โครงการ Factory Sandbox โครงการ ม.33 เรารักกัน โครงการเยียวยานายจ้าง และผู้ประกันตนในพื้นที่เข้มงวดสูงสุด 29 จังหวัด โครงการเยียวยาผู้ประกันตนกิจการสถานบันเทิง โดยสถานการณ์ปัจจุบันโควิด-19 ได้คลี่คลายลง รัฐบาลมีนโยบายผ่อนคลายมาตรการและเปิดประเทศ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

โดยทิศทางของธุรกิจท่องเที่ยวและบริการร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก ในจังหวัดเชียงใหม่ และทุกจังหวัด ทางภาคเหนือได้กลับมาคึกคัก ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการส่งเสริมการจ้างงาน ส่งผลดีให้พื้นที่เศรษฐกิจและการมีงานทำของกำลังแรงงานในปัจจุบันปรับตัวดีขึ้น ในวันนี้ ผมได้มีโอกาสมาเป็นประธานเปิดประชุมวิชาการประกันสังคม 5 ภาค ปี 2565 เป็นครั้งที่ 3 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ ผมมีความเชื่อมั่นว่าการประชุมวิชาการประกันสังคม และที่จัดต่อๆ ไปอีกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดอุดรธานี และภาคตะวันออก ที่จังหวัดชลบุรี จะเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจความสำคัญของงานประกันสังคมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนางานประกันสังคม จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การขยายผลด้านสิทธิประโยชน์ให้มีความยั่งยืน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ประกันตน ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อไป

JMART ปิดดีล 1,200 ลบ. ถือหุ้น 30% สุกี้ตี๋น้อย สยายปีกธุรกิจหลัก ปักหมุดธุรกิจอาหารเข้าพอร์ต

ในที่สุด บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART) ระบุ ก็ปิดดีลใหญ่การเข้าลงทุนและลงนามสัญญาผู้ถือหุ้น ในบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (BNN) ซึ่งประกอบธุรกิจร้านอาหารภายใต้แบรนด์ ‘สุกี้ ตี๋น้อย’ จำนวน 352,941 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 30% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด มูลค่าลงทุนรวมไม่เกิน 1,200 ล้านบาท เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565

นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMART เปิดเผยว่า การเข้าลงทุนกับ BNN ครั้งนี้ ถือเป็น Strategic Partner ที่มีศักยภาพการเติบโตในระดับสูง โดยเฉพาะผู้ก่อตั้ง คุณนัทธมน พิศาลกิจวนิช ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจให้เติบโต มีกลยุทธ์การตลาดที่โดดเด่น ตอบโจทย์ผู้บริโภค พร้อมกับ เป้าหมายนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใน 2-3 ปีจากนี้

ขณะเดียวกัน BNN มีทิศทางผลประกอบการเติบโตในระดับที่ดี จากปี 2562 มีรายได้ 499 ล้านบาท กำไร 15 ล้านบาท ทะยานสู่ปี 2564 รายได้ 1,564 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท รวมทั้ง อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สูงถึง 55.80% และซึ่งภายหลังจากการลงทุน BNN จะติดอาวุธเทคโนโลยีจาก JMART Group รวมถึงการ Synergy สร้างการเติบโตแบบ J-Curve ไปด้วยกันกับกลุ่มบริษัทเจมาร์ท

“เรามองว่า สิ่งที่จะเข้าไปเสริมทาง BNN ได้ทันที คือ การนำหัวใจเรื่องระบบ และมาตรฐาน เตรียมความพร้อมในเรื่องการขยายสาขาให้ครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น จากปัจจุบันมีสุกี้ตี๋น้อยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 42 สาขาเท่านั้น ในปี 2566 จะเริ่มขยายไปต่างจังหวัดตอบรับกระแสเรียกร้อง ตั้งเป้าปีหน้าจะขยายเพิ่มอีกมากกว่า 10 สาขาเป็นอย่างน้อย ด้วยการนำเทคโนโลยี ระบบ CRM และการบริหารจัดการภายในที่ทรงประสิทธิภาพมาใช้ ทำให้มั่นใจว่า BNN จะก้าวสู่การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยกระดับความเป็นมืออาชีพที่วันหนึ่งอาจมีมูลค่าบริษัทนับหมื่นล้านบาทได้”

‘บิ๊กตู่’ ลงพื้นที่เชียงราย ชี้ ไม่มาเพราะการเมือง แต่มายืนยันหนุนโครงการต่างๆ ให้กับรบ.ในอนาคต

วันนี้ ไม่ได้มาการเมืองนะ มาทำการบ้าน มายืนยันที่จะสนับสนุนโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ต่อไป รวมถึงผลักดันให้ดำเนินการต่อเนื่อง กับรัฐบาลในอนาคตอีกด้วย

‘บิ๊กป้อม’ เปิดงาน ‘Thailand Smart City Expo 2022’ ดันไทยก้าวสู่ ‘เมืองอัจฉริยะ’ ที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน

พล.อ.ประวิตร เปิดงาน ‘Thailand Smart City Expo 2022’ ดันไทยก้าวสู่ ‘เมืองอัจฉริยะ’ พัฒนาเมืองให้น่าอยู่ เติมเต็มคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ ส่งเสริม ศก./ท่องเที่ยว ดึงรายได้เข้าประเทศ

เมื่อ (30 พ.ย. 65) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานพิธีเปิดงาน ‘นิทรรศการไทยแลนด์ เมืองอัจฉริยะ’ ประจำปี พ.ศ. 2565 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมได้กล่าวขอบคุณ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพมหานคร และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ประชาชน สถาบันการศึกษา และพันธมิตรนานาประเทศ ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากเมืองจะได้รับการพัฒนาให้น่าอยู่อาศัย และยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าประเทศ ได้อีกด้วย พร้อมอวยพรขอให้การจัดงานครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชน ต่อไป

เปิดตัว ธ.ค. นี้ !! TESLA Thailand x Siam Paragon โชว์รูมแห่งแรกในไทย พร้อมสถานี Supercharger

(30 พ.ย. 65) autolifethailand เผย ข่าวคราวล่าสุดของ TESLA Official (Thailand) ว่าเตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการต่อสาธารณชน ต้นเดือน ธันวาคม ที่จะถึงนี้ ที่ห้างสรรพสินค้า Siam Paragon ของ บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด และ น่าจะเป็นโชว์รูมแห่งแรกในประเทศไทย รวมไปถึงมีความเป็นไปได้ว่า จะติดตั้งสถานี Supercharger V3 250 kW ชาร์จไฟ DC Fast Charging ที่นี่อีกด้วย

'เพื่อไทย' ห่วง ส่งออกไทยเริ่มติดลบ ซ้ำเติม เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำเมื่อเทียบอาเซียน ชี้ หยุดขึ้นค่าไฟฟ้าและเก็บเงินจากโรงแยกก๊าซตามที่แนะนำ แนะ รับมือปัญหาเศรษฐกิจโลกปีหน้ากระทบไทย

นางสาวจุฑาพร เกตุราทร ว่าที่ผู้สมัคร สส. กทม. เขตบางรัก สาทร ปทุมวัน และโฆษกคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย  กล่าวว่าการส่งออกของไทยในเดือนตุลาคมเริ่มติดลบที่ -4.4% เป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 9 เดือน ซึ่งเป็นสัญญาณที่น่าห่วงว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะเริ่มแผ่ว มีแนวโน้มอาจจะไม่สู้ดีนักในปลายปีนี้ และจะต่อเนื่องไปถึงปีหน้าด้วย ทั้งนี้ขอตอกย้ำว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ที่ขยายได้ 4.5% นั้น แม้จะดูเหมือนดี แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนจะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำมากเพราะในไตรมาส 3 มาเลเซียขยายได้ 14.2% เวียดนาม 13.7% ฟิลิปปินส์ 7.6% อินโดนีเซีย 5.7% แม้ประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นสิงคโปร์ยังขยายได้ 4.4% และถ้านับ 9 เดือนตั้งแต่ต้นปีไทยขยายได้เพียง 3.1% เท่านั้นซึ่งต่ำกว่าประเทศอาเซียนอื่นเช่นกันตามที่เสนอไว้แล้ว และต้องไม่ลืมว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นคืนที่เดิมจากการติดลบ 6.2% ในปี 2563 เพราะปี 2564 ขยายได้เพียง 1.5% ปีนี้ก็น่าจะได้เพียง 3% กว่า ซึ่งยังห่างจากที่เศรษฐกิจไทยที่ตกลงมาพอสมควร ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศอื่นในอาเซียนได้ขยายตัวเกินกว่าที่ตกลงมาไปมากแล้ว 

ดังนั้นในภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นไม่ถึงที่เดิมที่ตกลงมา ซึ่งหมายถึงว่าคนไทยส่วนใหญ่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น แถมรายได้ยังลดลงด้วย ในขณะที่เงินเฟ้อสูงมากหมายถึงค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพพุ่งสูงมาก การที่รัฐบาลได้เลื่อนการขึ้นราคาค่าไฟฟ้าในงวด มกราคม-เมษายน ออกไปก่อน เป็นเรื่องที่ถูกต้อง และเป็นไปตามที่คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยเรียกร้อง เพราะค่าไฟฟ้าได้ขึ้นมาจากหน่วยละ 3.70 บาท มาเป็น 4.72 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นมา 28% แล้ว ถ้าเพิ่มขึ้นอีกเป็นหน่วยละ 5.37 บาท,  5.70 บาท หรือ 6.03 บาท จะหนักมาก นอกจากนี้การสั่งเก็บเงินจากโรงแยกก๊าซเดือนละ 1,500 ล้านบาท จำนวน 4 เดือน รวม 6,000 ล้านบาท เพื่อมาลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ก็เป็นในแนวทางที่คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยเสนอเช่นกัน ซึ่งจะนำมาลดค่าไฟฟ้า หรือลดค่าก๊าซหุงต้ม ก็ทำได้ทั้งสองทาง และรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเคยทำมาแล้วในอดีต และน่าจะพิจารณาเก็บเงินในระยะยาวไม่ใช่เพียง 4 เดือน เพราะจะสามารถช่วยประชาชนได้มาก อีกทั้งก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้จากในอ่าวไทยเป็นสมบัติของคนไทยทั้งประเทศ แต่ยังกังวลว่าหลังจากเมษายนปีหน้าแล้ว ค่าไฟฟ้าก็ต้องขึ้นสูงอีกถ้าหากยังไม่ได้แก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง จะเป็นแค่การถ่วงเวลาการขึ้นราคาเท่านั้น 

‘นายกฯ’ พอใจ เศรษฐกิจไทยขยายดีตัวทุกภาค รับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้น คาดปีหน้า ศก.โต 3.5 - 4%

‘นายกฯ’ พอใจ เศรษฐกิจภูมิภาคขยับดี หวังปี 66 โตขึ้น 3.5-4% ชี้ เป็นผลจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง มั่นใจปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค

(30 พ.ย. 65) รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พอใจรายงานตัวเลขภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนต.ค. 2565 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เศรษฐกิจภูมิภาคได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวต่อเนื่อง ในภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค 

ทั้งนี้ เศรษฐกิจภาคใต้ มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 22.8 ต่อปี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 42.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.7 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.1 ภาคเหนือ มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 23.3 ต่อปี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 48.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 47.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 75.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 76.1

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 24.5 ต่อปี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 50.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 48.7 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.4

ฟื้นฟูการบินไทยไปได้สวย ทิศทางเป็นบวก กลับมาทำการบินในเส้นทางเดิม สภาพคล่องดีขึ้น

ครม.รับทราบความคืบหน้าการฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย มีทิศทางเป็นบวกต่อเนื่องตามการคลี่คลายของโควิด19 สามารถกลับมาทำการบินในเส้นทางเดิม สภาพคล่องดีขึ้นความต้องการกู้ยืมลดลง แผนงานในอนาคตมีความชัดเจน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ (29 พ.ย. 65) ได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ซึ่งมีแนวโน้มการดำเนินที่ดีขึ้นต่อเนื่องภายหลังการคลี่คลายของโควิด-19 โดยสามารถเพิ่มความถี่เที่ยวบินใน 6 เดือนแรกของปี  65 และกลับไปทำการบินในเส้นทางเดิมก่อนการเกิดโรคระบาด

ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3/65 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรจากการดำเนินงาน 3,920 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดทุน 5,310 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี 64  และมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย(EBIDA) 6,181 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 64 ที่ขาดทุน 3,100 ล้านบาท 

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ใน เดือน ต.ค. 65  การบินไทยและสายการบินไทยสมายล์มีผู้โดยสารต่างประเทศเฉลี่ยต่อวัน 21,558 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ของผู้โดยสารต่างประเทศที่ผ่านเข้า-ออก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีส่วนแบ่งการขนส่งสินค้าคิดเป็นร้อยละ 28 ของปริมาณการขนส่งสินค้าเข้า-ออก ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนในเดือนพ.ย.-ธ.ค. ก็มีอัตราการสำรองที่นั่งล่วงหน้าระดับสูงต่อเนื่อง ซึ่งแนวโน้มการเติบโตดังกล่าว ทำให้ ณ วันที่ 15 พ.ย. 65 บริษัทฯ มีเงินสดคงเหลือ  32,031 ล้านบาท

ทั้งนี้ ด้วยสถานะการดำเนินงานที่ดีขึ้น ทำให้ความต้องการใช้สินเชื่อใหม่ของบริษัทฯ ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการได้ปรับลดจาก 50,000 ล้านบาท เหลือ 25,000 ล้านบาท  ซึ่งแยกเป็นความต้องการสินเชื่อระยะยาวและสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้นประเภทละ 12,500 ล้านบาท

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพฝูงบินและปรับลดต้นทุนอากาศยานอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 มีอากาศยานที่อยู่ในการปฏิบัติการบินรวม 61 ลำ ซึ่งด้วยการเติบโตของปริมาณความต้องการเดินทาง จึงมีการนำอากาศยานที่อยู่ในฝูงบินกลับมาให้บริการใหม่รวม 5 ลำ ได้แก่ โบอิ้ง 777-200ER จำนวน 2 ลำ และแอร์บัส 330-300 จำนวน 3 ลำ

นอกจากนี้ บริษัท ยังได้ลงนามในสัญญาเช่าอากาศยานแบบแอร์บัส 350-900 แล้วจำนวน 2 ลำ และได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงในการเช่าอากาศยานแบบแอร์บัส 350-900 อีก 2ลำ อยู่ระหว่างการขออนุญาตเข้าประจำการในฝูงบินต่อสำนักงานการบินพลเรือนและกระทรวงคมนาคม โดยคาดว่าอากาศยานทั้ง 4 ลำ จะเริ่มเข้าให้บริการได้ตั้งแต่ไตรมาสที่2/66 ซึ่งจะทำให้ในปี 66 บริษัทฯ จะมีอากาศยานที่นำมาบริการรวม 70  ลำ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า บริษัทฯ มีแผนงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างทุน โดยการบินไทยจะมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนไม่เกิน 31,500 ล้านหุ้น เพื่อให้ส่วนทุนเป็นบวก สร้างความมั่นคงทางการเงิน และให้หุ้นของบริษัทฯ สามารถกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ โดยแบ่งเป็นการออกหุ้นเสนอขายแก่กลุ่มต่าง ๆ  5 กลุ่ม ได้แก่

1) หุ้นจำนวน 4,911 หุ้น สำหรับการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Share Option) ของผู้สนับสนุนสินเชื่อใหม่ เฉพาะผู้ให้สินเชื่อระยะยาว ในจำนวนเดียวกับจำนวนหนี้ที่เบิกใช้จริง หรือการเลือกชำระค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนโดยแปลงหนี้เงินต้นเดิมตามแผนเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น

2) หุ้นจำนวน 5,040 ล้านหุ้น สำหรับการแปลงหนี้เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน เพื่อชำระหนี้เงินต้นคงค้างของเจ้าหนี้กลุ่มที่4 (กระทรวงการคลัง) ในสัดส่วนร้อยละ 100 ของภาระหนี้เงินต้นคงค้าง (ประมาณ 12,827 ล้านบาท) ที่ราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น 

3) หุ้นจำนวน 9,822 ล้านหุ้น สำหรับการแปลงหนี้เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อชำระหนี้เงินต้นคงค้างแก่เจ้าหนี้กลุ่มที่5 (เจ้าหนี้สถาบันการเงินที่มีสิทธิตามสัญญาโอนสิทธิในการได้รับเงินจากการขายเครื่องบิน) เจ้าหนี้กลุ่มที่6 (เจ้าหนี้สถาบันการเงินไม่มีประกัน) และเจ้าหนี้กลุ่มที่ 18-31 (เจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้) ในสัดส่วนร้อยละ 24.50 ของภาระหนี้เงินต้นคงค้าง 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top