Tuesday, 7 May 2024
NEWSFEED

‘ดร.วินัย’ เผย!! การอดอาหารทางศาสนา มีผลประโยชน์ต่อสุขภาพค่อนข้างดี

ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผอ.ศวฮ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ‘Dr.Winai Dahlan’ เกี่ยวกับการถืออดอาหารทางศาสนากับประโยชน์ต่อสุขภาพ ว่า…

การอดอาหารในทางศาสนา นอกจากจะปฏิบัติกันเป็นปกติในบรรดาผู้นับถือศาสนาอิสลามที่ทำกันทุกเดือนรอมฎอนที่เรียกกันว่า “การถือศีลอด” โดยอดอาหาร 28 - 30 วัน ไม่บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในช่วงเวลากลางวัน ยังมีการถืออดอาหารในศาสนาอื่นเช่นเดียวกัน อย่างเช่น ชาวคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ที่เคร่งในศาสนาถือศีลอดอาหารที่เรียกว่า “ถืออดอาหาร” รวม 180 - 200 วันในแต่ละปี โดยการถืออดอาหารหลักๆ ได้แก่ การอดอาหาร 40 วันก่อนคริสต์มาส ที่เรียกว่า Nativity fast อดอาหาร 48 วันก่อนเทศกาลอีสเตอร์ที่เรียกว่า Lent การอดอาหาร 15 วันในเดือนสิงหาคมที่เรียกว่า Assumption

เกาะยอในความทรงจำ (๒)

นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว นักเขียนเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงความทรงจำเมื่อครั้งทำงานเก็บข้อมูลชีวิตชาวบ้านที่เกาะยอ จังหวัดสงขลา ว่า 

กุฏิวัดท้ายยอ เรื่องเล่าจากพ่อหลวง-พระครูมานพ อคฺคธมโม เจ้าอาวาสวัดท้ายยอ ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา เล่าไว้เมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๔๒ 

“หมู่กุฏิที่วัดท้ายยอขึ้นทะเบียนกรมศิลปากรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ กุฏิอายุกว่าสองร้อยปี เจ้าอาวาสองค์ที่ผ่านๆ มาท่านเก่งทางช่าง ทั้งสร้างทั้งซ่อมกันเอาไว้ พ่อหลวงเองได้วิชาช่างปลูกเรือนจากย่า พ่อของย่าเป็นช่าง ย่าจดจำมาถ่ายทอดให้ฟังหมด พอโตขึ้นมาก็มาเป็นลูกมือของพระอธิการเส้า ท่านให้ความรู้เรื่องเรือน ช่วยท่านยกไม้ ส่งไม้ อยู่หลายปี

เรือนคือมงคลวัตถุที่เป็นที่อยู่อาศัย เรือนโบราณจะมีสูตรในการสร้างเรียก “เรือนสูตร” ประกอบด้วย “มาตราสูตร” คือการวัดเป็นคืบเป็นศอกเพื่อออกสัดส่วนระยะเรือน และ “มงคลสูตร” คือศาสนธรรมคำสอน เป็นปริศนาธรรมควบคุมการออกสัดส่วนเรือน

อย่างพวกสัมมาอาชีวะจะปลูกเรือน ต้องตั้งจั่วก่อน คือออกสัดส่วนเรือนจากความสูงของจั่ว แต่ถ้าเป็นพวกนักเลงต้องตั้งเสาขึ้นก่อนให้มั่นคง แล้วชีวิตก็จะรุ่งเรืองไปตามแนวของแต่ละคน

โดยมากขนาดของเรือนจะใช้ร่างกายเจ้าของเรือนเป็นตัวกำหนดสัดส่วน อย่างพวกสัมมาอาชีวะตั้งจั่วก่อนนั้น จะต้องหาดั้ง (ความสูงของจั่ว) ก่อน เพราะดั้งเปรียบได้กับจมูกเป็นลมหายใจ ต้องเอาดั้งเจ้าของเรือน เพราะเจ้าเรือนจะต้องรักบ้านเท่าชีวิตตัว การหาดั้งใช้วิธีเอาไม้วัดตั้งบนหัวแม่โป้งนิ้วเท้าให้สูงขึ้นถึงหัวคิ้ว นั่นคือขนาดของดั้ง จากนั้นเอาดั้งเข้าสูตรทำจั่ว “หักดั้งตั้ง ๒ หนให้ชนกัน จันทันนั้นดั้งบวกคืบสืบสอดใส่”

เรือนคนแต่ละลักษณะก็ไม่เหมือนกัน อย่างเรือนกำนันกระดานพื้นหน้าห้องต้องมีสัญญาณเตือนภัย เหยียบปุ๊บต้องลั่นให้ได้ยิน จะได้รู้ตัว ป้องกันคนมาร้ายเพราะคนมาดีมักจะเรียกก่อน ส่วนเรือนเจ้าอาวาสกระดานหน้าห้องเหยียบแล้วต้องเงียบกริบ เพื่อชาวบ้านจะได้แอบดูได้ว่าพระทำอะไรอยู่ในห้อง

พ่อหลวงเกิดที่นี่ เกาะยอสมัยก่อนผลไม้อุดมสมบูรณ์มาก พวกขนมจากในเมืองขนมเปี๊ยะคนที่นี่ไม่กิน เพราะอาหารสมบูรณ์ กินข้าวกับน้ำผึ้งแล้ว เป็นคำพื้นของคนเฒ่าแก่ที่พูดติดปาก เพราะคนอิ่ม ไม่หิว ของกินบริบูรณ์ ขนาดไม้สร้างบ้านยังเป็นไม้ผล

เกาะยอทำอ่างดินเผามีชื่อ เขาพูดเป็นคำคล้องจองว่า สทิ้งทำหม้อ เกาะยอทำอ่าง หัวเขาค้าโพงพาง บ่อยางขายเคย เกาะยอทำกระเบื้องหลายแบบมีกระเบื้องหางแหลมมุงหลังคา กระเบื้องตีนเชิงชาย กระเบื้องกาบกล้วย กระเบื้องอกไก่สันหลังคา อิฐมีหลายขนาด เรียกอิฐหน้าวัว ของเกาะยอมีเอกลักษณ์ คือมีลายน้ำในเนื้ออิฐ เพราะเอาดินหลายที่มาผสมทำอิฐ เตาเผาอิฐสมัยเด็กๆ เห็นถึง ๘ เตา เด็กเกาะยอเมื่อก่อนไม่เล่นลงเลก็ขึ้นเขา เอาลูกหมากมาเล่นซัดราว 

สมัยก่อนเรือโดยสารคือนาฬิกาบอกเวลาของคนเกาะยอ ตี ๕ (๐๕.๐๐ น.) เรือยนต์ติดเครื่องวิ่งเกาะยอ-สงขลา เด็กตื่น พ่อแม่ลุกตั้งข้าวให้ลูกไปโรงเรียน ตี ๖ (๐๖.๐๐ น.) เรือออกจากท่า เด็กนักเรียนชายนั่งบนหลังคา นักเรียนหญิงนั่งในท้องเรือ พร้อมผลไม้จำนวนมาก จนต้องพ่วงเรือ ถึงสงขลาส่งเด็กแล้วก็รับครูมาสอนนักเรียนที่วัดท้ายยอ สองโมงเช้า (๐๘.๐๐ น.) พอดีโรงเรียนขึ้นเรือออกจากเกาะยออีกเที่ยว คราวนี้บรรทุกกุ้งปลาเต็มลำเรือไปส่งสงขลา จะสวนกับเรือที่ออกจากสงขลาตอนตี ๙ (๐๙.๐๐ น.) ถึงเกาะยอตี ๑๐ (๑๐.๐๐ น.) ได้พักเที่ยง บ่ายโมงเรือติดเครื่องไปสงขลา เด็กนักเรียนที่พักเที่ยงแล้ววิ่งเล่นอยู่ตามป่าได้ยินเสียงต้องรีบกลับห้องเรียน จากนั้นมีเรือออกตี ๓ (๑๕.๐๐ น.) จากสงขลามาเกาะยอ รับครูกลับไปสงขลา พอตี ๕ (๑๗.๐๐ น) เรือกลับมา พาเด็กนักเรียนจากสงขลามาส่งบ้าน เด็กเกาะยอต้องรีบขึ้นบ้าน เดิมมีแต่ป่า มืดเร็วกว่าเดี๋ยวนี้

เกาะยอในความทรงจำ (๑) 

นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว นักเขียนเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงความทรงจำเมื่อครั้งทำงานเก็บข้อมูลชีวิตชาวบ้านที่เกาะยอ จังหวัดสงขลา ว่า 

ดิฉันเข้าไปทำงานเก็บข้อมูลชีวิตชาวบ้านรอบทะเลสาบสงขลากับอ.เขมานันทะ น้องกิ๋ว-คุณปรัศนันท์ กังศศิเทียม และทีมงานคนอื่นๆ เป็นครั้งแรกเมื่อกลางปีพ.ศ. ๒๕๔๒ เขียนเป็นหนังสือ “ทะเลสาบสงขลา” และ “อนุทินทะเลสาบ” ให้กับ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ แล้วหลังจากนั้น ในปีพ.ศ. ๒๕๔๔ ดิฉันก็ยังได้เข้าไปเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตผู้คนและวัฒนธรรมชาวบ้าน ที่เกาะยอ เมืองสงขลา ให้กลุ่มบริษัทแปลน เป็นช่วงที่ดิฉันและน้องกิ๋วพักอยู่สงขลาหลายเดือน นับเป็นความทรงจำที่ยิ้มได้เสมอเมื่อรำลึกถึง

หลังจากนั้น...นานครั้ง ดิฉันถึงมีโอกาสเข้าไปที่เกาะยออีกบ้าง หลักๆ คือไปที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เกาะยอ ที่จำได้และถ่ายภาพเก็บไว้ก็คือช่วงปีพ.ศ. ๒๕๔๘ และปีพ.ศ. ๒๕๕๙

มีเรื่องเกี่ยวกับเกาะยอ ที่ดิฉันเขียนไว้ในหนังสือ “อนุทินทะเลสาบ : บันทึกจากแผ่นดินของปู่-ทะเลของย่า” พิมพ์เผยแพร่ในปีพ.ศ. ๒๕๔๔ พลิกดูวันนี้มีหลายเรื่องที่เห็นว่ามีค่า สำหรับคนเกาะยอ-สงขลา รุ่นหลัง จึงนำมาขึ้นเพจ ให้ได้อ่านกัน

สำหรับภาพประกอบนั้น ดิฉันตั้งใจนำมาให้ได้ดูเปรียบเทียบ ๒ ช่วงในห้วงเวลาที่เปลี่ยนไป ภาพเก่านั้นถ่ายไว้เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๘ ภาพสีสดใสบันทึกไว้เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๕๙ 
ซึ่งบัดนี้ คงเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ในช่วงปัจจุบัน
ดูภาพ และอ่านเรื่องเกาะยอกันนะ
#เกาะยอ

"ผ้าดำดี ลูกสาวสวย" คือคำพังเพยที่ชาวสงขลาระบุกันถึงภาพของเกาะยอในวันวาน ผ้าที่ทอขึ้นจาก "ด้ายกุหลี" หรือเส้นไหมละเอียดสีดำ ด้วยฝีมือของสาวเกาะยอ ตาคม ผิวขาวนวล ตามเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนของบรรพบุรุษ ได้สร้างชื่อให้เกาะยอเป็นสถานที่อันโดดเด่นในบริเวณปากอ่าวทะเลสาบสงขลา ทั้งยังเป็นแหล่งของผลไม้อร่อยนานาพันธุ์ กระเบื้องดินเผามุงหลังคา และมาตุภูมิของอิงอร-นักเขียนผู้ใช้สำนวนภาษาประดุจปลายปากกาจุ่มหยาดน้ำผึ้ง

ธานี ไพโรจน์ภักดิ์ ชาวเกาะยอ กำนันวัย ๖๗ ปี เล่าว่า ๒-๓ ชั่วอายุคนก่อนนี้ คนเกาะยอส่วนใหญ่เป็นจีนฮกเกี้ยนอพยพมาจาก ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ และ ต.ทุ่งหวัง อ.เมืองสงขลา จีนสมัยนั้นแล่นเรือใบมาเห็นเกาะแห่งนี้ร่มรื่นน่าอยู่ มีที่ว่างไร้เจ้าของมากมาย จึงชวนกันมาตั้งรกราก พบว่ามีต้นยอขึ้นอยู่มาก ถึงเรียกกันว่า "เกาะยอ" มาแต่บัดนั้น

จีนเริ่มต้นชุมชนบนเกาะขึ้นที่บ้านนาถิ่น ได้เมียคนไทย พากันทำสวน ปลูกฝ้าย ปลูกครามย้อมผ้าตามถนัด สาวเกาะยอทอผ้าทุกครัวเรือน คิดค้นลายผ้าขึ้นอย่างมีแบบฉบับของตนเอง พื้นดำ น้ำเงินขัดลายยกดอกเป็นลายราชวัตร ลายลูกแก้ว ลายข้าวหลามตัด ลายดอกพริก ลายดอกก้านแย่ง ฯลฯ ทอทั้งผ้าพื้นสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นโสร่งทั้งของหญิงและชาย จากฝ้ายเป็นด้ายกุหลีที่ละเอียดกว่าเส้นไหม จนมาถึงไหมเทียมโทเรในปัจจุบัน

ลักษณะโดดเด่นของผ้าเกาะยอก็คือ ความหนาคงทน สวยด้วยลายเฉพาะถิ่น ส่งขายไกลทั่วเมืองไทย เดี๋ยวนี้สาวเกาะยอยังทอผ้ากันอยู่กว่า ๒๐๐ ครอบครัว เสียงกี่กระตุกกึงกังยังกังวานอยู่ยามบ่าย เมื่อเดินผ่านลัดเลาะไปตามถนนคดเคี้ยวในเกาะ

ถนนที่เพิ่งลาดยางช่วงปีพ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๒๘ วกเวียนทับเส้นทางเดินโบราณที่เลี้ยวเลาะเข้าไปตามสวนผลไม้นานา เกาะยอเลื่องชื่อเรื่องผลไม้อร่อย เป็นที่โจษจันกันมานานแล้ว ดังหลักฐานในบันทึกของสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษี คราวเสด็จออกตรวจราชการภาคใต้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ว่า "อนึ่งที่ปากช่องทะเลสาบนั้นมีเกาะๆ หนึ่งชื่อเกาะยอ...มีสวนเรียงรายอยู่ในเกาะและรอบเกาะเป็นสวนผลไม้ หมาก มะพร้าว จำปาดะ ขนุน สะตอ พุมเรียง ละมุด ทุเรียน และมีสวนมัน ผักและพลูต่างๆ บริบูรณ์ มีบ้านราษฎรเจ้าของสวนเรียงราย" 

คุณตาประวิทย์ นพคุณ วัย ๘๖ ปี คนย่านถนนนครนอก อำเภอเมืองสงขลา ยืนยันด้วยรอยยิ้มและดวงตาเป็นประกายสดใสเมื่อเล่าถึงเกาะยอครั้งคุณตายังหนุ่มว่า "คนเกาะยอทำสวนทอผ้า ผู้หญิงเกาะยอตัวขาว เชื้อจีนสวยมากๆ ผลไม้เกาะยอขึ้นชื่อ มีทั้งสวา(ละมุด) จำปาดะ มะพร้าว ทุเรียน"

ร้อยกว่าปีหลังบันทึกของเจ้าฟ้าภาณุฯ ผลไม้เกาะยอยังอุดม ผ้าเกาะยอยังดี ลูกสาวชาวเกาะยอยังสวย กระเบื้องเกาะยอเท่านั้นที่กลายไปเป็นตำนาน

เรือนไทยใต้ซ่อนตัวอยู่หลังแมกไม้ครึ้ม แดดสว่างจับหลังคากระเบื้องดินเผา คือภาพงามยามเย็น บ่งบอกถึงวิถีชีวิตสงบเนิบช้า เรือนปั้นหยาทุกหลังที่ผ่านตา ล้วนมุงกระเบื้องเกาะยอ นอกจากจะให้ความงามอันกลมกลืนกับเรือกสวนรอบข้างแล้ว กระเบื้องเกาะยอยังแข็งแกร่ง คงทนอยู่ได้ถึง ๔๐-๕๐ ปี ขึ้นชื่อว่ามุงแล้วร่มเย็นอยู่สบาย ช่วงรุ่งเรืองคนเกาะยอตั้งเตาเผากระเบื้องกันราว ๑๐ เจ้า ขุดดินจากทุ่งนาปั้นกระเบื้อง อิฐ โอ่ง อ่าง กันตั้งแต่เดือนยี่ถึงเดือน ๑๑ มาหยุดเอาหน้ามรสุม ยามฝนชุก ชื้นแฉะจนตากกระเบื้องไม่ได้ คนเกาะยอเล่าว่า เคยบรรทุกกระเบื้องเป็นหมื่นๆ แผ่น ลงเรือใบ รอนแรมไปในเวิ้งทะเลสาบสงขลาแถบเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง ขายไกลถึงเมืองตรัง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส รุ่งเรืองมีชื่อเสียงโด่งดังถึงกลันตัน ตรังกานู ปีนัง สิงคโปร์ จนพวกพ่อค้าพากันเอาเรือสำเภา ๒ หลักขนาดใหญ่ออกทะเลลึก มาบรรทุกกระเบื้องไปขายเอง

กิจการกระเบื้องดินเผาเกาะยอเพิ่งมาสิ้นสูญไปเมื่อราว ๒๐ ปีนี้เอง วันเวลาเคลื่อนไป หากบ้านเก่าที่เคยใช้กระเบื้องเกาะยอกลับอยู่กันยาวนาน มุงหลังคามากว่า ๕๐ ปีไม่มีพัง แทบไม่ต้องซ่อมแซม บ้านใหม่ก็ถูกกระเบื้องโรงงาน ที่แม้จะมุงแล้วร้อนอบอ้าว ทั้งไม่คงทนเท่า แต่ราคาที่ถูกกว่า เบากว่า ใช้ไม้โครงหลังคาน้อยกว่าที่เข้ามาแทน ก็ทำให้ชาวบ้านสมัครใจหันไปใช้ของใหม่ที่ผลิตออกมาตีตลาด จนกระเบื้องเกาะยอค่อยๆ สูญสิ้นความนิยมไปโดยปริยาย คงเหลือเพียงกระเบื้องดินเผาของเมืองสงขลาก็แต่ที่บ้านท่านางหอม นอกเกาะยอห่างไกลออกไป ให้นึกถึงตำนานของบ้านหลังคากระเบื้องดินเผา สวยสงบในดงไม้ จารึกไว้ถึงวันวานอันรุ่งเรืองของ "เบื้องเกาะยอ" ในวันเวลานี้

สถาบันสอนภาษา GLIT ชวนน้องๆ เข้าคอร์สซัมเมอร์ เสริมการเรียนรู้สนทนาภาษาอังกฤษตั้งแต่เริ่มต้น

สถาบันสอนภาษานานาชาติ ประเทศไทย (Global Language Institute, Thailand หรือ GLIT ) เปิดหลักสูตร ‘English Summer Course Conversation For Beginner’ เสริมการเรียนรู้การสนทนาภาษาอังกฤษ ช่วงปิดเทอม ตลอดเดือนเมษายนนี้ 

โครงการ GLIT มี Course สำหรับน้องๆ ตั้งแต่ อายุ 9-15 ปี หรือ ป.4 - ม.3 จำนวน 10 ชั่วโมง มีทั้งแบบออนไลน์ และออนไซต์ 

คอร์สนี้ จะเน้นสนทนาภาษาอังกฤษ พร้อมให้เด็กๆ ได้ประสบการณ์ครบทั้ง เรียน เล่น สนุก ในรูปแบบ Play & Learn ที่จัดเต็มทั้งสาระและบันเทิง เพื่อปูพื้นฐานการสนทนาในชีวิตประจำวันแบบง่าย 

เปิด 'เรื่องราว' ผ่าน 'ตัวเลข' แตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์

ใกล้จะครบ 1 เดือน กับเหตุการณ์การเสียชีวิตของดาราสาว แตงโม-นิดา พัชรวีระพงษ์ หลังจากค่ำคืนของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ มีข่าวออกมาว่า เธอได้พลัดตกลงแม่น้ำเจ้าพระยา 

ระยะเวลาผ่านมาเกือบ 1 เดือนเต็ม มีเรื่องราวและข่าวคราวต่างๆ ออกมามากมาย ทั้งความสูญเสีย ตลอดจนคดีความต่างๆ จนกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ ที่ผู้คนในสังคมยังคงให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
 

‘เบิร์ด ธงไชย’ สุดปลื้มใจได้รับดุษฎีบัณฑิตฯ แชร์โมเมนต์สวมชุดครุยซ้อมรับปริญญา

ย้อนไปเมื่อช่วงเดือนพ.ค.ปีที่ผ่านมา ซูเปอร์สตาร์ขวัญใจคนไทยตลอดกาล "เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์" ได้ออกมาแจ้งข่าวดี หลังสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี มีมติเอกฉันท์อนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ปีการศึกษา 2563 ให้กับตนเองในสาขาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา) 

โดย กำหนดการรับพระราชทานปริญญาบัตร จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในช่วงเดือนมีนาคม 2565 ณ หอประชุมราชมงคล มทร.ธัญบุรี อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 

ยกย่อง ‘ผศ.เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา’ ทำงานด้วยใจ อาจารย์สอนภาษาไทย ผู้กุมหัวใจนักศึกษาจีน

หากคุณมีโอกาสเยือนมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง (BFSU) คุณอาจจะได้เดินสวนกับหญิงสูงวัย ร่างเล็ก ผมสีดอกเลา เจ้าของดวงตาคู่เล็กและรอยยิ้มใจดีท่านนี้ สำนักข่าวซินหัวชวนอ่านเรื่องราวของอาจารย์ชาวไทยผู้ได้รับการขนานนามว่า “คุณย่าไว่เจี้ยว” (คุณย่าผู้เป็นอาจารย์ต่างชาติ)

“ฉันฟังภาษาจีนไม่เข้าใจ ฉันเป็นคนไทยจ้ะ” เป็นคำตอบที่ผู้ถามมักได้รับกลับมาเมื่อพยายามสร้างบทสนทนาด้วยภาษาจีนกับ “ผศ. เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา” อาจารย์สูงอายุวัย 77 ปี ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย ซึ่งมีประสบการณ์สอนภาษาไทยในประเทศจีนมานานกว่า 20 ปี

ผศ.เกื้อพันธุ์ เป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งเคยเดินทางมาสอนหนังสือที่ภาควิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยฯ หลายต่อหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี 1992 และตัดสินใจสอนภาษาไทยในจีนเรื่อยมาหลังจากเกษียณอายุงานเมื่อปี 2005 จนลูกศิษย์ลูกหาต่างยกย่องให้ท่านเป็นดัง “ร่มโพธิ์ร่มไทร” ของวงการการสอนภาษาไทยในประเทศจีน

ผศ. เกื้อพันธุ์ไม่เข้าใจภาษาจีน ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่ใช้คอมพิวเตอร์ อาวุธคู่กายในการสอนของท่านมีเพียงแค่ “ชอล์ก” กับ “กระดานดำ” ส่วนการสื่อสารกับนักศึกษาในชีวิตประจำวัน ท่านอาศัยการพูดคุยแบบเจอหน้าและใช้โทรศัพท์บ้านเท่านั้น อาจารย์สูงอายุผู้มีนิสัยถ่อมตน สมถะ เรียบง่าย และตั้งใจจริงท่านนี้ คือผู้ที่อบรมบ่มเพาะบุคลากรผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยจำนวนมากให้กับวงการการศึกษา การทูต การค้า และสื่อสารมวลชน นับเป็นผู้มีคุณูปการต่อการสานสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างจีนกับไทย 

อาจารย์จากแดนไกล ทำงานได้แม้ไม่เข้าใจภาษาจีน

ปี 2022 นี้นับเป็นปีที่ 30 แล้วที่ ผศ.เกื้อพันธุ์มีความผูกพันกับประเทศจีน 

“ปักกิ่งเป็นเหมือนบ้านเกิดหลังที่ 2 ของดิฉัน และดิฉันตั้งใจจะทำงานที่นี่เป็นแห่งสุดท้าย” ท่านกล่าวพร้อมเผยว่าเวลากลับมาถึงห้องพักก็จะรู้สึกเหมือนกลับมาบ้าน

เมื่อวันจันทร์ (28 ก.พ.) นับเป็นวันแรกของการสอนในภาคการศึกษาใหม่ ผศ. เกื้อพันธุ์ตื่นนอนตั้งแต่ตีสามและสอนช่วงเช้าติดต่อกัน 4 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก แต่ท่านกลับบอกว่าต่อให้ไม่ได้ดื่มน้ำเลยสักอึกเดียวก็ไม่รู้สึกเหนื่อย เพราะรักการสอนหนังสือมาก

“ซานเยว่อีเฮ่าเต้าเป่ยจิงไหล” คือประโยคภาษาจีนที่ ผศ.เกื้อพันธุ์จำได้ขึ้นใจจนถึงทุกวันนี้ โดยมีความหมายว่า “ฉันมาถึงปักกิ่งวันที่ 1 มีนาคม” ท่านเล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นว่า “ดิฉันยังจำได้ดี ตอนเดินทางมาถึงปักกิ่งเป็นช่วงปลายฤดูหนาวแล้ว ซึ่งอากาศยังหนาวกว่าช่วงที่หนาวที่สุดของเชียงใหม่มาก แต่เพื่อนชาวจีนเขาบอกว่าตอนนี้เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิแล้ว”

จากเชียงใหม่ถึงปักกิ่ง คิดเป็นระยะทางเกือบ 3,000 กิโลเมตร นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับผศ. เกื้อพันธุ์ ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 47 ปี “กลัวก็กลัวนะ ที่กลัวเพราะไม่เคยคิดจะออกนอกประเทศนอกจากเที่ยว เพราะฉะนั้น กินก็ไม่ได้ นอนไม่หลับ ผอมลงๆ”

แต่ถึงกระนั้นความวิตกกังวลใดๆ ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อหัวใจที่รักในการสอนและความรับผิดชอบที่มีต่อนักศึกษา ผศ. เกื้อพันธุ์ ผู้ตั้งฉายาให้ตนเองว่า “อาจารย์โลว์เทค” จึงตั้งใจทำทุกวิถีทางเพื่อให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง เช่น เรียนภาษาจีนไม่ทันก็เรียนพินอินแทน สื่อสารกับนักศึกษาไม่เข้าใจก็ใช้ภาษาอังกฤษและหน้าตาท่าทางเข้าช่วย เป็นต้น

ผศ. เกื้อพันธุ์เล่าว่าท่านประสบปัญหาหลายอย่างเลี่ยงไม่ได้ตอนมาถึงปักกิ่งครั้งแรก ซึ่งรวมทั้งอุปสรรคทางภาษา แต่โชคดีที่มีคนคอยยื่นมือช่วยเหลือท่านอยู่เสมอ “ที่ดิฉันอยู่มาได้หลายปีขนาดนี้ ต้องขอบคุณคณาจารย์และลูกศิษย์ที่คอยช่วยเหลือ”

ไม่หยุดสอนแม้เกษียณ

หลังจากเกษียณในปี 2005 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ชักชวนให้ผศ. เกื้อพันธุ์ สอนหนังสือในจีนต่อไป ท่านจึงตอบตกลงไปแม้ขณะนั้นกำลังเศร้าเสียใจกับการจากไปของพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด “ดิฉันสัญญากับพ่อแม่ว่าเกษียณแล้วจะไปอยู่กับพวกท่าน แต่พอท่านทั้งสองจากไปแล้ว ดิฉันก็ไม่มีที่ไป อยู่ก็ไม่เป็นสุข ไม่อยู่เสียเลยดีกว่า ก็เลยมาที่นี่”

ในสายตาของนักศึกษา ผศ.เกื้อพันธุ์เปรียบเสมือน “เครื่องจักรนิรันดร์” เพราะท่านมักมาถึงห้องเรียนเร็วกว่าเด็กเสมอ ทั้งยังสามารถสอนหนังสือแบบไม่หยุดพักตลอด 2 ชั่วโมง และถึงแม้จะไม่ใช่เวลาเรียนหรือค่ำมืดแค่ไหน ท่านก็ยินดีจะสละเวลาส่วนตัวมาติวให้ เพราะต้องการให้เด็กๆ เรียนรู้และพูดภาษาไทยได้ไวและเก่งขึ้น และเป็นเช่นนี้ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา “เวลาของครูไม่ค่อยสำคัญ ถ้าสอนแล้วเด็กๆ ได้ ครูก็ดีใจด้วย”

มีครั้งหนึ่งที่นักศึกษาเคยพูดติดตลกว่า “อาคารเรียนของภาควิชาภาษาไทยมีสองแห่ง แห่งแรกคืออาคารเรียนในมหาวิทยาลัย แห่งที่สองคือตึกจวนเจีย (ตึกบ้านพักของผศ. เกื้อพันธุ์)” เนื่องจากท่านจะให้นักศึกษาผลัดกันมานั่งเรียนที่ตึกนี้ 

เริ่มตั้งแต่การสอนออกเสียงและการประกอบคำให้นักศึกษาปีหนึ่ง สอนโครงสร้างประโยคและบทสนทนาให้นักศึกษาปีสอง อบรมด้านการพูดสุนทรพจน์และเขียนเรียงความให้นักศึกษาปีสาม และให้คำปรึกษาด้านการเขียนวิทยานิพนธ์แก่นักศึกษาปีสี่ จนนักศึกษาทุกคนต่างเรียกท่านด้วยคำสนิทชิดเชื้อว่า “คุณย่า” และท่านเองก็มองว่าลูกศิษย์ชาวจีนทุกคนนั้นเป็นเหมือนลูกเหมือนหลาน

งูพิษในคราบเพื่อน!! ส่องนิยาม 'Frenemies' เมื่องูพิษอยู่ในคราบเพื่อน ความเจ็บปวดที่เกิดจากคนที่เราโคตรไว้ใจ

'ท้อฟฟี่ แบรดชอว์' หรือ 'ชญาน์ทัต วงศ์มณี' นักเขียนชื่อดัง เจ้าของผลงานหนังสือหลายเล่ม และบทความรสชาติจัดจ้านบนโลกออนไลน์ ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก 'ท้อฟฟี่ แบรดชอว์' ระบุว่า...

Frenemies” : งูพิษในคราบเพื่อน

>> เคยเจ็บเพราะคนที่เราคิดว่าเป็นเพื่อนไหมครับ?

Frenemy” คือคนที่ทำตัวเหมือนเพื่อน แต่จริงๆ แล้วไม่มีความจริงใจ และคิดร้ายเหมือนเป็นศัตรู

เป็นการนำสองคำคือ “Friend” ที่แปลว่าเพื่อน มารวมกับ “Enemy” ที่แปลว่าศัตรู

ที่จริง Frenemy ใช้ความเป็นเพื่อนบังหน้าเพื่อผลประโยชน์ ไม่ได้รักเรา แต่อยู่กับเราด้วยเหตุผลบางอย่าง

Francis Bacon เคยพูดว่า “Champaign for my real friend. Real pain for my sham friends” แปลได้ความประมาณว่า แชมเปญมีไว้ดื่มฉลองกับเพื่อนแท้ แต่ถ้ามีเพื่อนปลอมๆ ก็มีแต่เจ็บกับเจ็บ

Frenemy อาจอยู่ในที่ทำงาน อยู่ในกลุ่มเพื่อน อยู่ได้ทุกที่

แล้วเราจะสังเกต Frenemy ได้อย่างไรบ้าง?

>> ข้อแรกคือ Frenemy จะพูดลับหลังคุณ

ถ้าเราทำอะไรไม่ดี เพื่อนที่รักเราจริงๆ จะบอกเราให้รู้ต่อหน้า ไม่ใช่เอาไปพูดลับหลัง

Frenemy ไม่เพียงแต่เมาท์ลับหลัง แต่อาจเลยเถิดไปถึงการกุข่าวลือที่สร้างความเสียหายให้กับคุณ หรือเอาความลับของคุณไปบอกคนอื่น

รู้แล้วเหยียบไว้นะ” คือเหยียบให้จม ขยี้ให้เจ็บ

>> ข้อที่ 2 Frenemy จะเอาแต่ขอความช่วยเหลือจากเรา แต่ไม่เคยให้ความช่วยเหลือเรา

เวลาที่ Frenemy ต้องการความช่วยเหลือ เขาจะโผล่มาหา ถลาเอาหน้ามาให้เห็น

แต่เมื่อเราเดือดร้อน Frenemy จะแกล้งตาย หายไปเลย หมายเลขที่ท่านเรียกไม่สามารถติดต่อได้ในขณะนี้...

ความสัมพันธ์ที่แข็งแรงคือการที่ต่างฝ่ายต่างเป็นผู้ให้และผู้รับ

ไม่ใช่การที่ฝ่ายหนึ่งให้อยู่ฝ่ายเดียว หรือมีฝ่ายที่รับอยู่ฝ่ายเดียว

>> ข้อที่ 3 Frenemy จะเอาแต่พูดถึงตัวเอง

Frenemy จะไม่สนใจว่าคนอื่นพูดอะไร แต่สนใจว่าเขาจะพูดอะไรมากกว่า

ลึกๆ แล้วคนแบบนี้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสำคัญ ก็เลยลดความสำคัญของคนอื่น

จนลืมไปว่าถ้าอยากให้คนอื่นให้คุณค่า ต้องมอบคุณค่าให้คนอื่นก่อน

>> ข้อที่ 4 Frenemy จะอิจฉา ไม่มีความสุขเมื่อคุณมีก้าวหน้าในชีวิต

ที่จริง Frenemy ต้องการแข่งขันกับคุณ และในการแข่งขันนี้ เขาไม่ต้องการเป็นคนแพ้

ดังนั้น เขาอาจจะแสดงออกด้วยการบลัฟว่าเขามีความสำเร็จที่เหนือกว่า หรือพูดให้ความสำเร็จที่คุณไม่ใช่เรื่องที่น่าภูมิใจอะไร ไปจนถึงเทคเครดิตว่าเขามีส่วนในการทำให้คุณประสบความสำเร็จ

อยู่ด้วยก็รู้สึกเหนื่อย นี่เพื่อนหรือคู่แข่ง

‘อายตา’ ดังไม่หยุด สุดโดดเด่นบน IG หลังได้ขึ้นโปรโมทแบรนด์ Ariana Grande

เอาอะไรมาไม่ดัง! "Eyeta" หรือ "อายตา-ศรสวรรค์ ใจมั่น" บิวตี้บล็อกเกอร์ & อินฟลูเอนเซอร์ไทย ได้ขึ้น Instagram โปรโมท r.e.m.beauty แบรนด์เครื่องสำอางของ Ariana Grande นักร้องชื่อดังระดับโลก

สำหรับ "อายตา" สาวไทยเพียงหนึ่งเดียวที่โดดเด่นอยู่บนอินสตาแกรมแบรนด์ดังที่มีผู้ติดตามกว่า 1.2 ล้านคน โดยเธอมากับลุคโคฟเวอร์ที่สวยไม่ต่างจาก Ariana Grande เจ้าของแบรนด์เลยทีเดียว

โดย สาวอาย ได้อัปเดตพูดผ่านไลฟ์บนเพจเฟซบุ๊ก มีใจความว่า

"ดีใจมากๆๆๆ ไอจีแบรนด์ r.e.m.beauty ลง รูปอายตา ทั้งๆ ที่ในวิดีโอรีวิวสินค้าเขา อายตาก็ไม่ได้ชมทุกตัวนะ รีวิวตามจริง ทางแบรนด์เขาก็ติดต่อมาขอนำรูปไปลง ดีใจที่เขาได้เห็นผลงานเรา"

ในหลวง - พระราชินี ทรงรับ ‘สรพงศ์ ชาตรี’ เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์

ในหลวง - พระราชินี ทรงรับ ‘สรพงศ์ ชาตรี’ เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ด้าน ดวงเดือน จิไธสงค์ ภรรยาพระเอกดังโพสต์สุดตื้นตันใจ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

จากกรณีพระเอกดังตลอดกาล "สรพงศ์ ชาตรี" ป่วยโรคมะเร็งปอด และล่าสุดมีอาการสำลักอาหารจนต้องเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ท่ามกลางความห่วงใยของเพื่อนพี่น้องในวงการบันเทิงและแฟนคลับของพระเอกดังนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ (21 ก.พ. 65) ดวงเดือน จิไธสงค์ อดีตนักแสดงรุ่นใหญ่ ซึ่งเป็นภรรยาของ "สรพงศ์ ชาตรี" ได้โพสต์ภาพรับมอบแจกันดอกไม้และกระเช้าเยี่ยมพระราชทาน ลงในเฟซบุ๊ก Duangduaen Jithaisong พร้อมระบุข้อความว่า


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top