Friday, 4 July 2025
THE STATES TIMES TEAM

ทุกคนหายไปไหน!! เปิดวงจรปิด หลัง ‘แตงโม’ ตกน้ำ กว่า 2 ชม. แต่ทุกคนหายจากจุดเกิดเหตุ และกลับไปอยู่ที่อู่เรือ

เมื่อวันที่ 27 .. 2565 รายการทุบโต๊ะข่าวอมรินทร์ทีวี ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอจากกล้องวงจรปิดของอู่เรือที่ทุกคนขึ้นเรือในวันเกิดเหตุ เมื่อวันที่ 24 .. ภายหลัง แตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์ ตกสปีดโบ๊ท กลางแม่น้ำเจ้าพระยา

หลังจากตอนที่แตงโมตกน้ำ ในเวลา 22.30 . วันที่ 24 .. ปรากฏว่าทุกคนกลับมาที่อู่เรือในเวลา 01.10 . วันที่ 25 .. ซึ่งเป็นเวลาหลังจากแตงโมตกน้ำได้ประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที โดยมี ปอ แซน กระติก ที่มีการโทรตาม โบ ไทรอัมพ์คิงดอม มาที่อู่เรือ

ทุกคนอยู่ที่อู่เรือทั้งหมด ไม่มีใครอยู่ที่ท่าเรือจุดเกิดเหตุ เป็นเหตุให้มารดาของแตงโมตามหาไม่เจอ ทั้งที่พยายามโทรหา กระติก แต่ติดต่อไม่ได้ ขณะที่เจ้าหน้าที่รอกลุ่มเพื่อนของแตงโมเข้ามาให้ข้อมูลอยู่บริเวณท่าเรือจุดเกิดเหตุ ใกล้สะพานพระราม 7 แต่ปรากฏว่า กลุ่มเพื่อนทุกคนกลับมาอยู่ที่อู่เรือ

เตรียมพบกับข่าวยามเช้า 'Good Morning THE STATES TIMES'

เช้านี้มีอะไรอัปเดต!!
#GoodMorningTHESTATESTIMES

>> เตรียมพบกับประเด็นข่าวน่าลิงก์ Good Morning THE STATES TIMES
>> ข่าวยามเช้าที่จะมาสแตนบาย ทุกวันอังคาร-เสาร์ ตั้งแต่เวลา 5.00 น. เป็นต้นไป
>> โดย ปริม-กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา 
>> เริ่ม 1 มีนาคม 2565 

🎥 ช่องทางรับชม LIVE 
Facebook: THE STATES TIMES
YouTube: THE STATES TIMES

เรื่องเล่า สัมผัสลี้ลับ!! สมัย ‘รัชกาลที่ ๖’ | MEET THE STATES TIMES EP.63

📌 เรื่องเล่าสัมผัสลี้ลับ!! สมัย ‘รัชกาลที่ ๖’
📌 ย้อนตำนานขนหัวลุก เมื่อรัชกาลที่ ๖ มีพระราชดำรัสถึง...เรื่องลี้ลับ!! 

👄 ในรายการ MEET THE STATES TIMES ข่าวคุยเพลิน

💻 ดำเนินรายการโดย หยก THE STATES TIMES

.

.

ความทุกข์ เป็นโรคอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในใจของใครแล้ว ก็มักจะเป็นโรคเรื้อรัง ถ้าไม่มีการเยียวยารักษา โรคนั้นก็มักตั้งอยู่นานๆ เรียกว่าตรมตรอมใจ แล้วมีความทุกข์เรื่อยไปตลอดชีวิต

ความทุกข์ เป็นโรคอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในใจของใครแล้ว ก็มักจะเป็นโรคเรื้อรัง

ถ้าไม่มีการเยียวยารักษา โรคนั้นก็มักตั้งอยู่นานๆ เรียกว่าตรมตรอมใจ แล้วมีความทุกข์เรื่อยไปตลอดชีวิต

- หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ -

Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’ | EP.3

📌ร่วมถกประเด็นร้อนในรอบสัปดาห์ ผ่านมุมมองสร้างสรรค์ และคมคิดที่น่าสนใจ ในรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’

🔥 ในประเด็นร้อน 🔥
1.) ‘โรฮีนจา’ ผู้ลี้ภัยที่​ ‘ใคร’ ต้องยอมรับ?
2.) ปลุกความคิดจากความตาย Miss USA 2019
3.) โค้งสุดท้ายก่อนจบ ‘โควิด-19’
4.) ‘สังคมไร้ทายาท’ แก่นแท้หรือแค่เทรนด์?

🔥ไปกับ ‘โบว์ - ณัฏฐา มหัทธนา’ ดำเนินรายการโดย ‘หยก THE STATES TIMES’

ในรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’ ร่วมถกประเด็นสุด​ Exclusive​ ระหว่าง​ THE​ STATES​ TIMES​ และ​ 'โบว์​ ณัฏฐา'​

Liveสดทุกวันเสาร์ 20.00 น.

🎥 ช่องทางรับชม LIVE 
Facebook: THE STATES TIMES
YouTube: THE STATES TIMES
TikTok: THE STATES TIMES

‘อลงกรณ์’ เร่งเครื่องพัฒนา ‘เกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง’ วางกลไกขับเคลื่อนทั่วไทย! ตั้งเป้าพัฒนาเกษตรเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียวตอบโจทย์เศรษฐกิจชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

วันนี้ (25 ก.พ.65) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง (Sustainable Urban Agriculture Development Project : SUAD Project) เป็นประธานการประชุมแนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับเขต และระดับจังหวัด ทั่วประเทศผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ zoom cloud meeting พร้อมด้วย นายอภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการทุกท่าน และเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุม โดยมี นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน (กนท.) สป.กษ. เป็นเลขานุการการประชุม ทั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ระดับเขต และระดับจังหวัด

โดยนายอลงกรณ์ กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเล็งเห็นความสำคัญการแก้ไขปัญหาภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารในเมือง เนื่องจากในปี 2562 ประเทศไทยมีประชากรในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแรกสะท้อนถึงการขยายตัวของเมือง(Urbanization) และชุมชนเมืองมีการผลิตอาหารได้เองไม่ถึง 10% เป็นเหตุผลสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในยุคปัจจุบันต้องเร่งขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรในเมือง (Urban Agriculture) โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 และยุคต่อไป (Next normal) ที่ต้องให้ความสำคัญระบบนิเวศน์เมืองเรื่องสุขภาพคนและคุณภาพเมือง

จึงต้องขับเคลื่อนเกษตรในเมืองควบคู่กับเกษตรในชนบทจึงได้มอบนโยบายให้ดำเนินการโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่ 1. การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง 2. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว 3. การลด PM 2.5 และลดก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas) 4. การเพิ่มคุณภาพอากาศ 5. การอัพเกรดคุณภาพชีวิตของประชาชน 6. การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ(Climate Change) ของโลก

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการระดับเขตและจังหวัดยังรับผิดชอบการขับเคลื่อนโครงการธนาคารสีเขียว (Green Bank) เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนโดยการปลูกไม้เศรษฐกิจเป็นทรัพย์สินและหลักทรัพย์ค้ำประกันทั้งยังนำมาคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปด้วยตามเป้าหมายCarbon Neutrality และ Carbon Zeroของประเทศไทยเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแรงจูงใจในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกทางหนึ่ง

นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า การบริหารโครงการเชิงโครงสร้างครอบคลุมทั้งประเทศมีกลไกคณะกรรมการระดับพื้นที่แล้วยังมีคณะกรรมการระดับคลัสเตอร์ด้วยได้แก่

(1) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองทั้งในพื้นที่ที่วัด (Green Temple)

(2) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วิทยาลัย (Green College)

(3) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่โรงเรียน (Green School)

(4) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่มหาวิทยาลัย (Green Campus)

(5) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับชุมชนและท้องถิ่น (Green Community)

(6) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่อาคารชุด (Green Condo)

(7) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นการเคหะแห่งชาติ (Green Housing )

(8) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ในพื้นที่อุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม (Green Industry)

(9) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ในพื้นที่โรงแรม (Green Hotel)

(10)คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

(Green Bangkok)

 

หนองบัวลำภู - ทหารเป็นที่พึ่งของประชาชน!! ลงพื้นที่ส่งต่อความห่วงใย ความสุข เพื่อพี่น้องประชาชน

พล.ต.ณรงค์ สวนแก้ว ผบ.พล.ร.3 พร้อมด้วย พ.อ.ณรงค์ วิชญาณวรวุฒิ ผบ.ร.8 ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ ลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน พร้อมมอบผ้าห่มกันหนาว และ เครื่องอุปโภคบริโภค ให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการทุพพลภาพ ในพื้นที่บ้านอ่างบูรพา ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู  

สำหรับผลการดำเนินการในห้วงที่ผ่านมา หน่วยได้ลงพื้นที่มอบผ้าห่ม และเสื้อกันหนาวให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้จัดกิจกรรมอาร์มี่ เดลิเวอรรี่ ส่งมอบความสุข โดยการประกอบอาหาร จากรถครัวสนาม เพื่อนำข้าวกล่องไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่

 

ชลบุรี - กองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 1 รับการตรวจราชการ จากกรมจเรทหารเรือ ประเภทการตรวจพิเศษ อยู่ในเกณฑ์ดี คะแนนรวม 89.14%

ณ กองบัญชาการ ทัพเรือภาคที่1 อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พลเรือตรี ประวุฒิ รอดมณี เจ้ากรมจเรทหารเรือ / ประธานกรรมการตรวจราชการ และ คณะตรวจราชการ ได้เดินทางมา ตรวจราชการ ประเภทการตรวจพิเศษ กองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่1

โดยมี พลเรือตรี อาทร ชะระภิญโญ รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่1/ผู้บัญชาการกองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่1 ให้การรับรอง และ นำกำลังพล กองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาค 1 เข้ารับการตรวจฯ

สำหรับผลการตรวจฯ นั้น อยู่ในเกณฑ์ดี ได้คะเเนนรวม 89.14% สร้างความเชื่อมั่น และ มั่นใจ ให้กับผู้บังคับบัญชา ว่า กองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่1 จะสามารถตอบสนองภารกิจที่ได้รับมอบ ตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เป็นอย่างดี และ มีความพร้อมรับภารกิจที่ได้รับหมอบหมาย ในการปกป้องอธิปไตยของชาติ  รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รักษากฏหมาย และ ให้ความช่วยเหลือดูแลพี่น้องประชาชนเมื่อยามมีภัย ตลอด 24 ชม.

ปทุมธานี - ‘บิ๊กแจ๊ส’ เร่งดำเนินการขุดลอกปรับภูมิทัศน์ เทน้ำอีเอ็มปรับสภาพน้ำ ตามโครงการพระราชดำริ

ที่คลองเปรมประชากร บริเวณหน้าวัดเปรมประชา ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี  พร้อมด้วยนายสิระพงษ์ สิริโพธินันท์ รองนายก อบจ.ปทุมธานี , นางรุจศลักษณ์ ธูปกระจ่าง ตั้งวงษ์เลิศ เลขานุการนายก อบจ.ปทุมธานี , พล.ต.ท.อดุลย์ รัตนภิรมย์ ที่ปรึกษาพิเศษนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี , นายธนศักดิ์ แป้นมุข ที่ปรึกษานายก อบจ.ปทุมธานี และเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่าง อบจ.ปทุมธานีได้ตรวจสอบการดำเนินการโครงการกำจัดผักตบชวาวัชพืชสิ่งปฏิกูล และตกแต่งภูมิทัศน์ริมตลิ่ง 2 ฝั่งคลองเปรมประชากร ระยะทาง 15 กิโลเมตร และเทน้ำหมักชีวภาพช่วยบำบัดน้ำเสีย ร่วมกับสถานีพัฒนาที่ดินปทุมธานี  โดยมีเรือโป๊ะรถแบคโฮจำนวน 2 เครื่องกำลังดำเนินการขุดลอกคูคลองและตัดต้นไม้ปรับภูมิทัศน์พร้อมประชาสมพันธ์ชาวบ้านให้รับทราบโครงการร่วมถึงการการตัดแต่งต้นไม้ที่กีดขวางบริเวณหน้าบ้านที่อาจจะเกี่ยวสายไฟฟ้าจนเป็นอันตรายเมื่อมีลมพายุพัดมักเกิดไฟฟ้าดับ

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกอบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า เนื่องจากคลองเปรมประชากรมีประวัติศาสตร์และเป็นโครงการพระราชดำริฯ ต่อมาพลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์ เลขาธิการพระราชวัง ได้เรียกประชุมหลายภาคส่วน โดยตนเองได้ร่วมประชุมด้วย ซึ่งคลองแห่งนี้ มีมาตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้น ตั้งแต่ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านปทุมธานีไปถึงเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการย่นระยะทางเดินเรือในสมัยก่อนที่แม่น้ำเจ้าพระยามีสภาพคดเคี้ยว ซึ่งทางคุณขรรค์ชัย บุนปาน ประธานกรรมการบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยดำเนินการที่จะลอกคลองเปรมประชากร ให้สวยงามเป็นประวัติศาสตร์ หลังจากที่ได้รับนโยบายของท่านพลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล มาแล้ว ทาง อบจ.ได้ลงพื้นที่มาสำรวจ พบว่าคลองเปรมประชากร แต่ละพื้นที่มีปัญหาไม่เหมือนกัน จึงได้เริ่มดำเนินการที่ตำบลบางพูน ย้อนขึ้นไปจนสุดเขตจังหวัดปทุมธานี ถึงตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้คลองทั้งสองฝั่งสะอาดเรียบร้อย จากนั้นจะดำเนินการต่อจากตำบลหลักหกบริเวณหลังเมืองเอก ไปจนถึงหลักสี่ กรุงเทพมหานคร อุปสรรคที่พบในการดำเนินการคือมีสะพานกว่า 100 สะพาน ทำให้ต้องเคลื่อนย้ายเรือโป๊ะรถแบคโฮจำนวน 2 เครื่อง ในการดำเนินการรวมระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร หากไม่มีอุปสรรคเพิ่มเติมคาดว่า 15 วันก็จะแล้วเสร็จ

หลังจากนั้นจะได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะว่าเราต้องดำเนินการช่วยกันหลายหน่วยงาน ไม่ใช้ อบจ.จะดำเนินการหน่วยงานเดียว ทุกภาคส่วนจะมีการร่วมมือกัน ซึ่งทาง อบจ. ได้น้ำหมักชีวภาพช่วยบำบัดน้ำเสียและปรับสภาพน้ำในคลองเปรมประชากร เนื่องจากมีบางจุดมีกลิ่นเหม็น โดยเราได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ผมคาดว่าภายใน 7 วันนี้สภาพน้ำในคลองจะสะอาดขึ้น ต่อไปจะมีการรณรงค์ให้ปลูกต้นไม้ทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อให้มีภูมิทัศน์สวยงาม โดยเราได้ดำเนินการทำไปเป็นช่วง ๆ เนื่องจากมีช่วงที่เรายังทำไม่ได้เพราะมีพี่น้องประชาชนบุกรุกเข้ามาอาศัยริมคลอง จึงต้องฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมาช่วยกันให้เป็นรูปธรรม เพราะทาง อบจ.ปทุมธานีคงไปทำไม่ได้บางอย่างก็อยู่เหนือความรับผิดชอบของเรา เมื่อหลายฝ่ายช่วยกันแล้วผมเชื่อว่าภูมิทัศน์คลองของเราจะสวยงามกลับมา

ในส่วนของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ขอให้อย่าพึ่งประมาท เนื่องจากทางศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้ประการเพิ่มเติมว่ามีพื้นที่ 28 จังหวัดสีแดง มีจังหวัดปทุมธานีรวมอยู่ด้วย ซึ่งจังหวัดปทุมธานีเคยหลุดล้นจังหวัด 1 ใน 10 ที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดมานานกว่า 6-7 เดือนแล้ว จนมีเชื้อโอไมครอนเข้ามา อยากให้พิจารณาว่าจังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดปริมณฑลเหมือนกันจังหวัดนนทบุรีซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อ 800 กว่าคน สมุทรปราการที่มียอดติดเชื้อ 900 กว่าคน กรุงเทพ 3,000-4,000 คน แต่ปทุมธานียังคงจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 300 – 400 คน ขอให้พิจารณาอย่าพึ่งถอดจังหวัดปทุมธานีออกจากจังหวัดสีฟ้า ผมเชื้อว่านโยบายที่เราทำมาจะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อลดลงให้ได้ จะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อต่ำกว่า 300 ให้ได้ ทาง อบจ.จะดำเนินการทำเต็มที่ ทั้งฉีดพ่นฆ่าเชื้อภายในภายนอกอาคาร การตรวจ ATK การฉีดวัคซีน ขอให้พี่น้องประชาชนอย่าประมาท เมื่อเจอเบาะแสใครที่เป็นกลุ่มเสี่ยงรีบแจ้งมาเรามีชุดเคลื่อนที่เข้าไปแก้ปัญหาไปตรวจให้เอาสมุนไพรไปแจก

 

นครนายก – จัดกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ เพื่อลดอุบัติเหตุบริเวณทางข้าม และการขับเคลื่อนวาระจังหวัดนครนายก “นครนายกปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางถนน”

ที่บริเวณด้านหน้าวิทยาลัยเทคนิคนครนายก ถนนสาย 305 รังสิต-นครนายก อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก จัดกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุบริเวณทางข้าม และการขับเคลื่อนวาระจังหวัดนครนายก “นครนายกปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางถนน” โดยมี นายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เป็นประธานเปิดงาน นายภราดล รุ่งโรจน์ธีระ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครนายก กรรมการและเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดนครนายกกล่าวรายงาน ในพิธีได้มีหัวหน้าส่วนราชการ ขนส่ง ทางหลวง ตำรวจ ผู้บริหารสถานศึกษา และนักศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

จากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก รับมอบหมวกนิรภัยจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และได้ร่วมทำกิจกรรม ทาสีบริเวณทางข้าม เยี่ยมชมนิทรรศการจากส่วนราชการและการรณรงค์ในสถานศึกษาให้มีความปลอดภัยบริเวณทางข้าม โดยใช้ธงสีเขียวเป็นสัญลักษณ์

พร้อมเร่งมาตรการด้านผู้ใช้รถใช้ถนน โดยให้ดำเนินการสร้างการรับรู้และความตระหนัก ด้านความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะผู้ขับขี่ให้มีจิตสำนึกและตระหนักถึงความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการขับรถที่ไม่มีวินัยและไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด และมอบแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งดำเนินการปรับปรุง แก้ไขด้านกายภาพของถนนในความรับผิดชอบ รวมทั้งตรวจสอบและปรับปรุง แก้ไขเครื่องหมายจราจร สัญญาณไฟและป้ายเตือนให้มีความชัดเจนบริเวณทางข้าม ทางร่วม ทางแยก และจุดคับขันต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความปลอดภัย ใช้ความระมัดระวัง และลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน

 

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top