Wednesday, 23 April 2025
Special News Team

สัตว์เลี้ยงนิสัยเหมือนเจ้าของ | คิดเพลิน Learn & Play Talk EP.24

คุณอยู่กับ Podcast face to face รายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ฟังง่ายได้สาระ  

พูดคุยประเด็นต่างๆ แบบเพลินๆ พบกันทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 22.00 น. 

ติดตามชมรายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ได้ทาง YouTube และ Facebook Fanpage ของ THE STATES TIMES 

อย่าลืม! กดไลก์ กดแชร์ กด Subscribe 

.

.

.


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เลิกกันแล้ว เป็นเพื่อนกันได้มั้ย | คิดเพลิน Learn & Play Talk EP.23

คุณอยู่กับ Podcast face to face รายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ฟังง่ายได้สาระ  

พูดคุยประเด็นต่างๆ แบบเพลินๆ พบกันทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 22.00 น. 

ติดตามชมรายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ได้ทาง YouTube และ Facebook Fanpage ของ THE STATES TIMES 

อย่าลืม! กดไลก์ กดแชร์ กด Subscribe 

.

.

.


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เช้าไม่กลัว | คิดเพลิน Learn & Play Talk EP.22

คุณอยู่กับ Podcast face to face รายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ฟังง่ายได้สาระ  

พูดคุยประเด็นต่างๆ แบบเพลินๆ พบกันทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 22.00 น. 

ติดตามชมรายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ได้ทาง YouTube และ Facebook Fanpage ของ THE STATES TIMES 

อย่าลืม! กดไลก์ กดแชร์ กด Subscribe 

.


.

.


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

วันเกิด เถิดเทิง | คิดเพลิน Learn & Play Talk EP.21

คุณอยู่กับ Podcast face to face รายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ฟังง่ายได้สาระ  

พูดคุยประเด็นต่างๆ แบบเพลินๆ พบกันทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 22.00 น. 

ติดตามชมรายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ได้ทาง YouTube และ Facebook Fanpage ของ THE STATES TIMES 

อย่าลืม! กดไลก์ กดแชร์ กด Subscribe 

.

.

.

BizMAX THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้ EP.2/2 ตอน เปิดทางรอด SMEs ‘สร้างเศรษฐกิจ เพื่อคนตัวเล็ก’ ในภาวะ ‘ความหวัง’ ที่ไม่ได้เกิดกับ SMEs ไทยทุกราย 

BizMAX THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้  EP.2/2 ตอน เปิดทางรอด SMEs ‘สร้างเศรษฐกิจ เพื่อคนตัวเล็ก’ ในภาวะ ‘ความหวัง’ ที่ไม่ได้เกิดกับ SMEs ไทยทุกราย 

รู้จัก ‘หมู-วรวุฒิ อุ่นใจ’ รองหัวหน้าพรรคกล้า ขุนพลเศรษฐกิจสาย SMEs 
ผู้กล้าทิ้งธุรกิจพันล้าน (B2S-OfficeMate) ทะยานสู่รั้วการเมือง 
กับความตั้งใจที่จะขอนำประสบการณ์ที่มี ช่วยเหลือ SMEs ไทย ให้ไปรอด!!

ดำเนินรายการโดย หยก THE STATES TIMES 
.

.

เป็นคนดีแล้วได้อะไร ? ความบริสุทธิ์ใจ ภัยสังคม จริงหรือ ?

ยกให้อยู่ในหมวดคำถามจักรวาลแตก โดยมีคนในโลกแบกคำตอบที่แตกต่างไว้เพียบ

เป็นคนดีแล้วได้อะไร ?

แต่ก่อนหลายคนจะยึดมั่นกับ​ 'ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว'​

...แต่บังเอิญ​ ช่วงนี้มักมีประโยคหนึ่งนัวผุดขึ้นมาในหัวกันบ่อยขึ้นว่า 'ความดีไม่ใช่รางวัลตอบแทนการทำดี'​ อ่าว...แล้วยังไงดี !!

เคยคิดไหม? ว่าการให้เงินขอทาน ซื้อกล้วย ซื้ออ้อยให้ช้าง หรือซื้อนกกระจิบกระจอกที่พ่อค้าแม่ค้าจับมาเป็นเซตใส่กรงไว้ เพื่อปล่อยแถวหน้าวัด มีค่าเท่ากับส่งเสริมกระบวนการทำลายสังคมให้เติบโต โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวหรือไม่? 

จริงอยู่ที่ว่าการกระทำเช่นนั้น​ อาจมาจากความเวทนาสงสาร​ และพอได้นำเงินให้แก่ขอทาน รวมถึงซื้อกล้วย ซื้ออ้อยให้ช้างกินนั้นช่วยให้เรารู้สึกสบายใจก็ตาม

แต่ในสังคมวันนี้​ มันมีเรื่องแปลกตรงที่​ 'การให้'​ ที่เอ่อล้นไปด้วย​ 'ใจอันบริสุทธิ์'​ กลับจุดประกายให้เกิดปัญหาในสังคมได้แบบ...มหากาพย์ 

ขอยกตัวอย่าง กรณี "พิมรี่พาย" ยูทูปเบอร์ ชื่อดัง กับเหตุการณ์ดราม่าที่เคยเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมกราคม หลังมีคลิปการเดินทางไปที่หมู่บ้านแม่เกิบ อ.อมก๋อย ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่กว่า 300 กม. เพื่อนำสิ่งของไปมอบให้เด็ก ๆ 

ด้วยสภาพความเป็นอยู่ของคนที่นี่ จึงทำให้พิมรี่พายทุ่มเงินกว่า 5 แสนบาท เพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้า ซื้อโทรทัศน์จอยักษ์มาติดตั้งที่ลานหมู่บ้าน ด้วยการเปิดไฟ และเปิดทีวีให้เด็ก ๆ ดู เผื่อพวกเขาจะได้เห็นว่ามีอาชีพมากมายอยู่ในนี้ และจะได้มีความฝันว่าโตขึ้นไปควรเป็นอะไร 

หลังจากที่คลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ไป มีคนกดไลก์และแชร์มากมาย จนทำให้เกิดแฮชแท็ก #พิมรี่พาย ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ในทวิตเตอร์ประเทศไทย ซึ่งก็มีทั้งกระแสชื่นชมและเห็นต่างในเรื่องนี้

ในแง่ความเห็นด้วยคงไม่ต้องอธิบายความ​ แต่ในแง่ความคิดเห็นต่างอันนี้ต้องมาถอดรหัสกันดู!! 

หนึ่งในความเห็นต่างที่น่าสนใจมาจากนักเขียนหนุ่มเจ้าของนามปากกา “ภินท์ ภารดาม” ซึ่งเปิดอีกมุมมองเกี่ยวกับการทำดีของพิมรี่พายในครั้งนั้นไว้ว่า​ "ชื่นชมแต่ไม่เห็นด้วย" 

เขาเล่าว่า​ "ชื่นชมความเป็นนักปฏิบัติ โลกเรามีนักพูดเยอะมาก แต่ไม่ลงมือทำ การลงมือทำของเธอโดยไม่ต้องรอเหนือรอใต้ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้จริง 

"แต่ความช่วยเหลือเป็นการไปถามเอาจากคุณครู หรือสอบถามในฐานะผู้ให้ และไปนึกเอาเป็นข้อสรุปเองว่าจะต้องให้อะไร และคิดไปว่าเด็กจะต้องมีอาชีพอย่างคนเมือง จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ต้องเอาทีวีมาให้เด็กดู​ เพื่อจะได้รู้ว่าต้องการมีอาชีพอะไร เป็นข้อสรุปที่ได้จากตัวพิมพรี่พายเอง คล้ายกับการคิดแทนเด็กๆ ไม่ใช่ความต้องการของเด็กๆ"

"เราอาจจะเป็นปัจจัยให้กับเขาในการสนับสนุนในสิ่งที่เขาต้องการ แต่การก้าวล่วงไปมองว่าเด็กต้องอ่านหนังสือถึงจะมีความรู้ เป็นความคิดที่เป็นการกระทำการแทน แต่หากมองว่าถ้าเราเข้าไปเรียนรู้กับเด็กดอยและใช้เวลาอยู่บนดอยมากหน่อย ใช้เวลาสังเกตการณ์มากหน่อย อาจจะมองเห็นเองว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ต้องทำ ไม่ปล่อยให้อารมณ์หรือ ความกรุณาแบบอัตโนมัติเข้าทำงาน อย่างน้อยต้องศึกษาเรื่องราวตามภูมิปัญญาชาวเขา จะมองเห็นหนทางที่จะหยิบยื่นความช่วยเหลือได้ยั่งยืนกว่านี้"

หลังมีดราม่า พิมรี่พาย ได้ไลฟ์ชี้แจงดราม่าเรื่องที่ขึ้นไปติดตั้งทีวีและแผงโซลาร์เซลล์ให้เด็กๆ และบอกว่า อาชีพของเธอเป็นอาชีพที่ต้องสร้างภาพให้คนเห็น ซึ่งเธอนั้นเลือกที่จะสร้างภาพแบบคืนดีด้วยการคืนให้สังคม จึงอยากเอาเงินที่เหลือไปตอบแทนสังคม แล้วก็ฝากถึงคนที่เห็นต่างอยากให้มองถึงเจตนาที่แท้จริงของเธอ คือแค่ อยากทำความดี เพราะการทำความดี เป็นไปด้วยเจตนาดี จะทำความดีต่อไป 

อย่างไรก็ตามเราเองก็มองว่าสุดท้าย เมื่อเราทำดีแล้ว ก็เสร็จสิ้นด้วยความดี หากยิ่งไม่หวังผลในความดี ก็คงจะยิ่งดีขึ้นไปอีก...หรือแม้หลายครั้งที่ทำดี แล้วได้รับผลตอบรับแบบบัดซบบ้าง สูญเปล่าบ้าง แต่ไม่ว่าอย่างไร "ความดีก็คือความดี" 

คิดแค่นั้นพอ!! 


อ้างอิงข้อมูล
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_5704244

ขอเป็น ‘คนดี’ ที่โลกไม่ต้องจำ

ไม่มีงานไหน ‘สำเร็จ’ ได้ด้วยตัวคนเดียว 

ประโยคนี้ไม่เคยผิดเพี้ยน ไม่ว่ายุคเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด 

นั่นก็เพราะทุกความสำเร็จของงาน ล้วนประกอบไปด้วย ‘คนเบื้องหน้า’ และ ‘คนเบื้องหลัง’ ซึ่งส่วนใหญ่เราปฏิเสธได้ยากที่คนเบื้องหน้า มักเป็นผู้ได้หน้าเสมอ เพียงแต่เบื้องหลังความสำเร็จ ก็สำคัญไม่แพ้กัน 

อย่างงานในวงการบันเทิง บรรดาคนเบื้องหลัง ตั้งแต่ผู้กำกับ ผู้จัดการ คนจัดคิว คอสตูม ช่างแต่งหน้า ช่างกล้อง ช่างไฟ ยันแม่บ้านและรปภ. ที่แม้จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป แต่ทุกๆ หน้าที่ขับเคลื่อนบนจุดหมายเดียว คือ ดันหน้าฉากให้ไปได้ไกลที่สุด  

แน่นอนว่าในสังคมที่เรามองภาพมิติเดียว มันเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ที่คนทำงานเบื้องหลังจะเหนื่อยแค่ไหน ก็ยากที่ใครจะต้องรู้!!

แต่สิ่งที่อยากให้เหล่า ‘คนเบื้องหลัง’ ได้รู้ไว้ข้อ คือ คุณคือของจริง ตัวจริง เก่งจริง โดยไม่ต้องให้ใครมาจำ 

ย้อนกลับไปในช่วงวัยกระเตาะของผู้เขียน ซึ่งสมัยก่อนเป็นเพียงชะนีน้อยนักกิจกรรมตัวยง ได้โอกาสกลับมาร่วมวงกับก๊วนชะนีที่บัดนี้เริ่มโรยราไปตามปี พ.ศ. 

บทสนทนาในวงชะนีชรา ได้หวนให้นึกถึงชีวิตวันวานในรั้วมหาวิทยาลัย ที่แมสเสจส่วนใหญ่ก็ยังไม่พ้นเรื่องผู้ และวนเวียนไปเรื่องลงต่ำใต้คาดสะดือ

แต่มันมีอยู่เรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบมาคุยกันโดยบังเอิญ นั่นคือเรื่อง ‘ความภูมิใจในรั้วมหาวิทยาลัย’

ใช่แล้วเจ้าค่ะ ตัวอิชั้นเองก็มีประสบการณ์เรื่องนี้มากโข เลยรีบโอ่ให้ฝูงชะนีตัวอื่นฟังอย่างโอ้อวดเลยว่า “จำได้ไหม ฉันเคยเป็น ‘พี่เลี้ยง’ ให้กับดาวเดือนในสายคณะของเรา แถมเอาชนะการประกวดในมหาวิทยาลัยมาก่อนนะ เฮ้ยๆ” 

เรื่องนี้ถูกเปิดด้วยปมว่า ใจจริงก็มิอยากรับ แต่รัศมีแห่งการเป็นผู้ดัน มันไปกระแทกตาครูบาอาจารย์และใจรุ่นน้องรอบๆ ข้างที่เชื่อมั่นว่าจะทำให้เด็กน้อยหน้าละอ่อนในสังกัด (2 คน) เป็นดาวเดือนของคณะที่พร้อมคว่ำคู่แข่งคณะอื่นๆ ได้ 

เชื่อไหมว่า ตอนแรก อิชั้น ก็คิดว่าการเป็นพี่เลี้ยงคงไม่ได้ยากเกินความสามารถสักเท่าไร แค่สอนน้องให้ ฝึกตอบคำถาม ฝึกพูด ฝึกเดินๆๆ บนเวทีแค่นั้นพอ จบ!!

แต่ไปมาๆ พอได้สัมผัสจริง มันคนละเรื่องกันเลยนิหว่า!!

ก็เพราะคุณน้องๆ ดาวเดือนที่อิชั้นได้เข้าดูแลแบบเริ่มจากศูนย์ >> ย้ำว่าศูนย์เลย!! ทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง 

จะสอนเดิน ก็ยาก เพราะน้องดาวสาวสวยใหม่กับเรื่องนี้มาก ไหนจะต้องหัดใส่ส้นสูงเดินเอวแอ่นๆ แบบอแมนด้า ไหนจะต้องสอนแนะนำตัว ซึ่งก็พูดติดๆ ขัดๆ ยังกะเด็กจัดฟัน ส่วนไอ้ฝั่งน้องเดือน หนุ่มน้อยเรือนร่างดี มันดันไม่รักดี ไม่เคยคิดจะสนใจใดๆ นอกจากเอาแต่กดตีป้อมรัวๆๆ จนไม่รู้ว่าในหัวลืมคิดว่าตัวเองต้องมาซ้อมประกวด หรือซ้อมชิงถ้วย ROV กันแน่!!

เป็นแบบนี้...ไอ้เราก็ท้อใจสิเจ้าคะ!! 

เหตุการณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นซ้ำๆ ซ้ำๆ และ ซ้ำๆ กันยังกะดูหนังเดจวู

แต่เรื่องแบบนี้ มักมีจุดเปลี่ยนเสมอ!!

เพราะมีอยู่วันหนึ่งที่ต้องฝึกน้อง ‘ดาว - เดือน’ ให้เดินและตอบคำถาม เพื่อสร้างความประทับใจแก่ท่านคณะกรรมการ โดยมีเพื่อนๆ มาร่วมเป็นหน้าม้า ซึ่งอิชั้นก็เตรียมคำถามและคำตอบระดับเวที Miss Universe ไว้อย่างเหมาะสมไปประมาณ 50 ข้อ 

ด้านน้องดาวตอบได้ดีบ้าง ไม่ได้บ้าง อันนี้เข้าใจ และก็คงต้องมาปรับจูนกันต่อ 

แต่อิคุณน้องเดือนนี่สิ ยังเหมือนเดิม ไม่สนใจและมัวแต่เล่นเกม แทนที่จะฝึก 

ความโกรธบันดาลสิเจ้าคะ!!

บันดาลขนาดไหนหรอ? ก็ขนาดที่อยู่ดีๆ สองฝั่งแก้มแอบไปด้วยหยดน้ำตาที่พรากลงมาต่อหน้าน้องๆ เพราะเป็นคนด่าใครไม่เป็น!! (รู้สึกอาย แหะๆ) 

แน่นอนว่าช่วงเวลานั้น ตัวอิชั้นเองก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำเยี่ยงไร ครั้นจะกระชากหัวมาตบ ก็ทำไม่เป็น จะด่าหยาบๆ เจ้าคุณแม่ก็สอนมาว่ามิควร 

แต่ต้องบอกตรงๆ ว่าตลอดหลายวันที่ผ่านมากับน้องๆ ดาวเดือนนั้น มันกินเวลาชีวิต และต้องดึงจักระส่วนเกินของร่างกายมาใช้ เรียกว่าทั้งท้อและเหนื่อยแบบสุดแรง  เพราะมันไม่ใช่แค่สิ่งที่ ‘ไม่ได้ดั่งใจตรงหน้า’ แต่ยังมีแรงกดดันจากทางอาจารย์ในคณะฯ อีกว่า “อยากให้รุ่นนี้เป็นดาวเดือนประจำคณะ” 

ความเครียด มันเลยมาจบที่ซีนน้ำตาเช่นนี้แล!!

ว่าแต่ซีนเรียกน้ำตาในตอนนั้น มิได้เสียเปล่า เพราะตอนนั้นน้องๆ ดาวเดือนต่างก็ช็อกเจ้าค่า คงไม่คิดว่าจะมีกรณีศึกษาเช่นนี้ให้เห็นเป็นบุญตา เพราะส่วนตัวอิชั้นเองเป็นคนรับแรงกดดันได้มาก (ยิ่งดันแรงมากเท่าไรก็ยิ่งชอบ)

เมื่อเด็กๆ เห็นเราอยู่ในสภาพดังกล่าว เลยขอโทษและปรับความเข้าใจกับเราใหม่อีกครั้ง เพื่อที่จะสามารถทำงานกันต่อได้ แล้วพวกเขาก็ให้ความร่วมมือและตั้งใจแบบสุดๆ (อันนี้เรื่องจริงนะ)

จุดพลิกจากวันนั้น ทำให้เกิดเหตุการณ์น่าชื่นใจในเวลาต่อมา นั่นก็คือ ในวันประกวดจริง เจ้าน้องเดือนผู้ไล่ล่าป้อม ได้เป็นที่หนึ่งของคณะฯ ส่วนน้องดาวได้เป็นที่ 2 ของคณะฯ 

ต่อม Proud ทะลักสิเจ้าคะ!! เพราะนี่คือผลงานชิ้นโต ที่ทำให้เด็กทั้ง 2 คนเป็นที่น่าจดจำ และสามารถทำให้คณะอิชั้นได้หน้ากันเต็มๆ

เอาล่ะ!! ที่นี้ก็มาถึงไคลแม็กซ์ 

ที่บอกว่าไคลแม็กซ์ เพราะพอการประกวดเสร็จ ท่านอาจารย์ก็เข้ามาชื่นชมเด็กๆ ทั้ง 2 คนโดยมีนักปั้นแบบเรายืนหัวโด่อยู่ข้างหลัง 

ช็อตถ่ายรูปกัน มีความสุขกันของเหล่าคณาจารย์ กับบรรดาน้องๆ ดาวเดือน โดยมีพื้นหลังเป็นอิชั้น ‘นักปั้น ผู้เดียวดาย’ กลับมิมีเสียงชม (ประปรายก็ยังดี) เล็ดลอดรูปากอาจารย์ผ่าน รูหูกรู แม้แต่น้อย

ต่อมความน้อยเนื้อต่ำใจ ไหลทะลัก จนอยากจะตะโกนออกมาเหมือนกันว่า ชมกูสิ ชมกูสิ โว้ยยยย!!

อารมณ์ในตอนนั้น คาค้างใจมานานนม เพราะนี่คือการ ‘พราก’ ความภูมิใจที่ฉันควรได้ไปจากอก

นี่แหละ ที่อยากจะบอกว่า ความสำเร็จของทุกสิ่งอย่าง มันอาจจะมิได้มา ด้วยใครคนใดเพียงคนหนึ่ง 

>> ว่าแต่บทสรุปของเรื่องนี้ยังไม่จบ ขอตัดฉากกลับมาที่ตัวอิชั้นในปัจจุบันแปบ!!

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ใจจริงของมนุษย์ทุกคนย่อมอยากได้รับการชื่นชม แต่เชื่อหรือไม่ว่า ข้อคิดแบบตรัสรู้จากการได้ทำบางอย่างสำเร็จ แต่ไร้คนชมนั้น มันทำให้อิชั้นบรรลุบางอย่าง จนทำให้แอบอมยิ้มเบาๆ ข้างมุมปากมิได้

อะไรน่ะหรือ?

การได้หวนคิดว่า 2 ดาวเดือนที่เราเคยปลุกปั้น เดินถึงฝั่งฝั่ง มันพิสูจน์ตัวฉัน ว่า “เราก็มีดีเหมือนกันนิหว่า” 

เพราะนี่คือผลงานที่เกิดจากมันสมอง

นี่คือผลงานที่เกิดจากสองมือ

แม้ชื่อเสียงในเบื้องหน้าจะไม่ระบือ แต่คนที่รู้ และอนาคตที่รออยู่ ย่อมรู้ว่า “ฉันก็ไม่ธรรมดา” มันคือ ‘ของดี’ ที่ติดตัวอิชั้น แม้โลกไม่จดจำ ก็อย่าได้แคร์ 

นี่ก็เป็นอีกมุมของการทำงาน ที่แม้ว่าเบื้องหน้าจะสวยงามเพียงใด แต่หากไร้เบื้องหลังที่ดีคอยโอบอุ้มและประคับประคอง ก็ยากที่จะทำให้ ‘เป้าประสงค์’ นั้นๆ ไปถึงฝั่ง 

จงเชื่อมั่นในจุดเรายืน และจงเชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำ โดยไม่ต้องหวังอะไรที่มันเป็นแค่ ‘นามธรรม’ ให้หลงเพ้อไปชั่วครู่

ก็ความสามารถที่เรามี มันเป็น ‘รูปธรรม’ ติดตัว ที่ใครก็พรากมันไปมิได้ ยังไงเล่า!! 

Have a good day ค่ะ 


ขอบคุณภาพประกอบจากซีรีส์ 2Moons The Series เดือนเกี้ยวเดือน

‘Yes man’ ชีวิตเกือบตุ้บ เพราะมุ่ง​ 'เซย์เยส'​

เชื่อว่าหลายๆ​ คนคงได้ยินประโยคติดหูอย่าง ‘ทำดีย่อมได้ดี’ ซึ่งก็อาจจะจริง แต่ไม่จริงทั้งหมด วันนี้เลยอยากจะยกกรณีของหนังเรื่อง ‘Yes Man’ หรือชื่อไทย ‘คนมันรุ่งเพราะมุ่งเซย์เยส’ หนัง Feel Good ที่สะท้อนให้เห็นว่าการทำดี (แบบไม่ลืมหูลืมตา) ก็ไม่ใช่ผลดีเสมอไป

โดยหนังเรื่องนี้ได้เล่าถึง ‘คาร์ล อัลเลน’ นายธนาคาร ที่มีชีวิตสุดหดหู่ เพราะการหย่าร้าง ทำให้เขาเริ่มใช้ชีวิตแบบหันหลังให้สังคม คำพูดติดปากของเขาคือ​ การเซย์ ‘โน’ (ปฏิเสธทุกอย่าง)​

เขาปฏิเสธกับทุกสิ่งที่เหวี่ยงเข้ามาในชีวิต แต่ทุกอย่างกลับเปลี่ยนไปเมื่อเขาได้มาเจอกับเพื่อนเก่าที่ชักชวนให้เขาไปเข้าร่วมสัมมนา ที่ทุกคนต่างพูดแต่คำว่า ‘เยส’ (ตอบรับทุกเรื่อง)​ ซึ่งก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาเริ่ม​ 'เซย์เยส’ กับทุกเรื่องที่เข้ามาในชีวิต 

หลังจากนั้นชีวิตเขาก็เริ่มเปลี่ยนไป​ เพราะชีวิตที่เคยมีแต่ความหดหู่กลับมีเรื่องดีๆ เข้ามา แต่เมื่อไหร่ที่เขาเซย์ ‘โน’ เรื่องแย่ๆ ก็จะเกิดขึ้นกับเขาไปเสียทุกที ทำให้เขายิ่งเชื่อว่าหากเขาเริ่มปฏิเสธเขาก็จะกลับมาสู่ชีวิตหดหู่แบบเดิมอีกครั้ง 

เพียงแต่การเซย์ ‘เยส’ ของเขา​ ก็ใช่ว่าจะเจอเรื่องดีๆ​ ทั้งหมด​ เพราะมันกลับทำให้เกิดเรื่องยุ่งๆ   ด้วยเช่นกัน​ เมื่อเขาดันตกปากรับคำไปซะทุกเรื่อง แม้ว่าเรื่องนั้นจะไม่เต็มใจทำ หรือเกินความสามารถที่เขาจะทำได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ทำให้เขาต้องมาทำความเข้าใจเสียใหม่กับการ เซย์ ‘เยส’ แบบไม่ลืมหูลืมตาของเขา

จากโลกของหนัง​ อ้อมมาสู่โลกของความเป็นจริง​  อะไรที่หล่อหลอมให้คนหนึ่งคนเกิดพฤติกรรมชอบเยสแบบ​ ‘คาร์ล อัลเลน’

ปัจจัยสำคัญหนึ่งที่สะท้อนจากเรื่องนี้​ คือ ‘ความขี้เกรงใจ’ จนไม่กล้าปฏิเสธ ซึ่งเรื่องนี้ทางผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาของจีน 'โจวเหวยลี่'​ เชื่อว่า "ความวุ่นวายส่วนใหญ่ของชีวิตมาจากการที่คุณพูดว่า YES เร็วเกินไป และพูดว่า NO ช้าเกินไป" โดยเธอมองว่าความเกรงใจกลายเป็นส่วนหนึ่งที่มาทำลายชีวิต 

และทางออกที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้​ ก็ง่ายๆ​ แค่หัดรู้จักเซย์ ‘โน’ เสียบ้าง ซึ่งอาจจะต้องเริ่มเปลี่ยนวิธีคิด กำจัดความเกรงใจออกไป เพื่อให้เรากล้าที่จะปฏิเสธ พร้อมท่องจำไว้ด้วยว่า "ก่อนจะเห็นแก่คนอื่น เราต้องเห็นแก่ตัวเองเสียก่อน" 

"การปฏิเสธไม่ใช่การกระทำที่แย่ แต่เราควรต้องเรียนรู้ที่จะพูดคำว่า ‘ไม่’ และคำว่า ‘ได้’ ไปพร้อมๆ​ กัน"

หากมองดูจากภาพยนต์เรื่อง Yes Man นี้แล้วก็สะท้อนให้เห็นว่าการเซย์ ‘เยส’ ที่สุดโต่ง​ หรือ​ 'โน'​ แบบสุดลิ่มทิ่มประตู ย่อมสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองได้ทั้งนั้น

ฉะนั้นหนทางที่ดีที่สุด​ คือ ควรอยู่บนความพอดี เราควร เซย์ ‘เยส’ กับเรื่องที่ทำได้ และเซย์ ‘โน’ กับเรื่องที่เกินตัวไปสำหรับเรา เพราะถ้ายังเป็น Yes Man ในชีวิตจริง ก็คงชีวิตหวิดตุ้บ เพราะมุ่งเซย์เยสอย่างแน่นอน


ข้อมูลอ้างอิง 
https://www.brandthink.me/content/moody-digest-say-no
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1229676

คน (พยายาม) ดี เหตุใด​ 'การทำดี'​ ต้องมี 'ความพยายาม'​

การแสดงออกในสังคมที่เต็มไปด้วยผู้คนที่คิดต่าง บางครั้งอาจต้องยอมสูญเสียความเป็นตัวเอง​ด้วยการ เสแสร้งบ้าง​ สร้างภาพบ้าง เพื่อให้สามารถยืนอยู่รอดในสังคม 

เชื่อไหมว่า​ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องมโน​ เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยยึดมั่นจนกลายเป็นหลักสูตรที่ฝึกหัดกันอย่างแพร่หลาย​ เพื่อให้ได้รับ 'สถานภาพอันดีทางสังคม' มาครอบครอง

เห็นปรากฏการณ์แบบนี้แล้ว​ จึงอดคิดไม่ได้ว่า​ สังคมที่เราใช้ชีวิตอยู่​ ล้วนเต็มไปด้วย 'หน้ากาก'​ ที่ซ้อนทับ​ 'หน้ากากกันโควิด'​ 

เพียงแต่ที่น่ากลัว​กว่านั้น คือ​ ตอนนี้เริ่มมีการพูดถึงการสร้างสถานภาพอันดี ผ่าน​ 'ความพยายามในการทำดี​' หรือจะเรียกแรงๆ​ ว่า​ 'ทำดีเอาหน้า'​ ก็ไม่ผิดอันใด



เอ่อ!! นี่เรามาถึงจุดนี้แล้วหรือ​ จุดที่ต้องทำให้สังคมเห็นว่า​ 'ฉันคือคนดี' 

- ตัวตนของเราจริงๆ
- ตัวตนที่ไร้การปรุงแต่ง
- ตัวตนของคนที่อยากทำดีแบบไม่ต้องเสแสร้ง 

สิ่งเหล่านี้​ ยังมีจริงอยู่​หรือไม่? 

แล้วเหตุใดถึงเกิดประเด็นเช่นนี้ในสังคม? 

ว่ากันว่า​ คำนิยามของการทำความดีนั้นมีอยู่มากมาย​ เช่น​ สิ่งที่ทำแล้วเป็นประโยชน์ ความพอใจ ความสุขใจ ความอิ่มเอมใจที่ส่งต่อให้แก่ผู้อื่น​ สังคม​ ประเทศ​ และโลก​ ในแบบที่ตัวผู้ทำไม่เบียดเบียนใคร ไม่เดือดร้อนตนเอง​ และครอบครัว

ฟังดูแล้ว​ ธรรมดา!! 

ใช่!! มันธรรมดามากๆ

และเพราะมันธรรมดามากๆ​ นี่แหละ​ มันจึงไม่สอดรับกับสภาวะใหม่ของสังคมปัจจุบัน​ 'สังคมของคนหิวแสง'​ ที่เริ่มหยิบการทำดีแบบได้รับยอมรับและยกย่องเข้ามาเอี่ยว

อย่างที่บอก!! วันนี้​หลายคนที่ต้องสวม 'หน้ากากมนุษย์' เพื่อเข้าหาสังคมแห่งการยกย่อง​ ชื่อเสียง​ เกียรติยศ​ และผลประโยชน์ให้เชื่อมโยงเข้าตัวเอง​ จำเป็นต้องสร้าง​อัตลักษณ์บางอย่างให้เกิดการจดจำ

นั่นจึงเป็นเรื่องที่ปฏิเสธได้ยาก​ ที่ตัวแปรอย่าง​ 'การทำความดี'​ จะถูกแปรเจตนาจาก​ 'ทำเพราะมันคือความดี'​ เป็น​ 'ทำเพราะฉันต้องพยายามทำความดี'​ 

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็เช่น นักแสดง เน็ตไอดอล หรือศิลปินบางคน เมื่อครั้งที่ยังไม่มีชื่อเสียง ก็ใช้ชีวิตแบบคนปกติทั่วไป ทำความดีได้แต่ไม่ถึงกับเอิกเกริกยิ่งใหญ่ เป็นตัวของตัวเองโดยไม่ต้องพยายาม​ อยากทำอะไรที่สุขใจก็ทำกันไป

แต่เมื่อก้าวเข้ามาในวงการ มีชื่อเสียง มีคนมากมายรู้จักและให้ความสนใจ กลายเป็นบุคคลสาธารณะ ก็มีโจทย์ใหญ่พ่วงชีวิตเข้ามา​ นั่นคือ​ 'การพยายามเป็นต้นแบบที่ดีให้กับผู้อื่น'​ 



ทุกอย่างที่ทำถูกจับตามอง เพราะเขากลายเป็นคนที่ต้องอยู่ท่ามกลาง​ 'แสง'​ แม้จะหิวแสงหรือไม่หิวแสงก็ตาม​ 

ฉะนั้น​ หลายๆ​ กิจกรรมของการทำความดี​ จึงไม่ใช่แค่ทำเพราะอยากทำ​ แต่ต้องทำแล้วมีผลประโยชน์​ ทำแล้วต้องมีผู้คนยกย่องสรรเสริญ​ โดยมีกระบวนการคัดกรองความดีที่ทำ​แล้วเวิร์กในสายตาสังคม

ว่ากันไปขนาดนั้น!! ก็ขนาดนั้นเลยนั่นแหละ!! เพราะทำแล้ว​จะ Failed ก็ไม่ได้​ ทำแล้วถูกจับผิดนินทาว่า​ Fake ก็ไม่ได้อีก​ โอ้โห!! ทำไมมันดูยากจัง

แต่นี่แหละ​ คือ​ กฎเหล็กของการทำดีเอาหน้า​ เพราะทุกอย่างก็เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีที่สุดในการทำงานหรือแม้แต่การอยู่ในสังคมทั้งสิ้น

อันที่จริง​ ที่เล่ามาทั้งหมด​ ไม่ใช่เรื่องผิดอันใด​ เพราะอย่างน้อย​ ต่อให้พยายามทำดี​ มันก็คือ​ 'ความดี'​ ที่ได้ทำเหมือนกัน​ แต่แค่มันดูน่าเศร้า​ ที่บางครั้งเราต้องเลือกใช้ชีวิต​ ใช้คำพูด​ สายตา​ การแสดงออก​ ที่มาจากการกลั่นกรอง​ เพียงเพื่อคนอื่น​

มันก็เลยลามมาถึงคำถามที่ว่า​ การทำความดีที่เคยมีการนิยามไว้​นั้น เป็น​ 'อะไร'​ ในสังคมมนุษย์กันแน่​ 'เครื่องมือปันความสุข' หรือ​ 'เครื่องมือปั้นความสุข'​

แล้วสรุปเราจะเลือกอยู่กับ​ 'สังคมพยายามดี'​ ที่มีคนยกย่อง​ เชิดชู​ แต่ไม่มีความสุขใจ

หรือเลือกทำดี 'ตามหัวใจ'​ โดยไม่ต้องพยายาม​ แม้ไร้คนเชิดชู

คำถามนี้​ ทุกคนมีคำตอบ​ ผ่านคำถามอีกทอดที่ว่า... 

'หิวแสง'​ หรือเปล่าล่ะ? 

มู เต ลู | คิดเพลิน Learn & Play Talk EP.20

คุณอยู่กับ Podcast face to face รายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ฟังง่ายได้สาระ  

พูดคุยประเด็นต่างๆ แบบเพลินๆ พบกันทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 22.00 น. 

ติดตามชมรายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ได้ทาง YouTube และ Facebook Fanpage ของ THE STATES TIMES 

อย่าลืม! กดไลก์ กดแชร์ กด Subscribe 

.

.

.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top