Friday, 17 May 2024
ไวรัส

'หมอดื้อ' หวั่น!! สหรัฐฯ กำลังสร้างแล็บค้างคาวติดเชื้อไวรัส วิจัย 'อีโบลา-โควิด-นิปาห์' ตัดแต่งพันธุกรรมให้ก่อโรค

(4 เม.ย. 67) นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ 'สหรัฐฯ กำลังสร้างแล็บค้างคาวติดเชื้อไวรัส อีโบลา โควิด และนิปาห์' ระบุว่า...

สหรัฐฯ กำลังสร้างแล็บค้างคาวติดเชื้อไวรัส ทั้ง อีโบลา โควิด และนิปาห์ ด้วยทุน 12 ล้านเหรียญ อนุมัติโดย นาย แอนโทนี เฟาซี ผ่านไปยัง Colorado state university (CSU) ร่วมกับ EcoHealth alliance โดยมีนาย Peter Daszak ดำเนินการสร้างห้องปฏิบัติการขนาดพื้นที่ 14,000 ตารางฟุต (ใช้เงิน 6.7 ล้านเพรียญ) และร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จีน นำเข้าค้างคาวจากเอเชียทดลองเชื้อโควิด, อีโบลา, นิปาห์

โครงการได้เริ่มดำเนินการเดือนตุลาคม 2023 และจะปฏิบัติการได้ในปี 2025

นพ.ธีระวัฒน์ เผยอีกว่า ข้อมูลดังกล่าวได้รับการเปิดเผยจากองค์กรการกุศล White coat waste project จากกฎหมาย ความโปร่งใส ที่สามารถขอให้ หน่วยงาน เปิดเผยข้อมูล และเผยแพร่แล้ว ผ่านทาง X และ dailymail วันที่ 10 พฤศจิกายน 2023

ทั้งนี้ ผู้ให้ทุนและผู้ดำเนินการ อ้างว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการหนึ่งเดียวในโลกที่สามารถนำค้างคาวจากเอเชีย (และทั้งโลก) มาเลี้ยงและออกลูก และจะทำการปล่อยเชื้อที่สำคัญคือ อีโบล่า โควิด และเชื้อนิป้าห์ โดยจะทำให้สามารถเข้าใจว่าเชื้อไวรัสร้ายแรงเหล่านี้อยู่ในตัวค้างคาวได้อย่างไร และแพร่เชื้อไปมนุษย์ได้อย่างไร

ห้องปฏิบัติการนี้อยู่ใน Campus ของ CSU ใน Fort Collins ทางเหนือของ Denver ซึ่งอยู่ห่างไม่มากจากที่มีประชาชนอาศัยอยู่ราว 168,000 คน

ในเดือนกันยายน 2023 NIH ได้ประกาศยุติการให้ทุนสำหรับการหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าที่ให้ในและนอกประเทศ

แต่ขณะเดียวกัน ก็ได้วางแผนในแผ่นดิน สหรัฐฯ เอง ในเรื่องดังกล่าว และกำลังได้รับการต่อต้านจากสมาชิกสภาของสหรัฐฯ

ทั้งนี้ มี ดร.เทรซี่ โกลด์สไตน์ เป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญของโครงการ deep VZN ของ USAID ในการหาไวรัสจากค้างคาว หลังจากที่ได้รับทราบว่าจะมีการยุติโครงการจากการที่มีการเปิดเผยข้อมูลของหนังสือพิมพ์วอชิงตัน Post ได้ลาออกและรับตำแหน่งใหม่เป็นผู้อำนวยการของสถาบันone Health ของ CSU ในเดือน มิถุนายน 2023 และรับผิดชอบงานของห้องปฏิบัติการค้างคาวและเชื่อไวรัสต่อ

ย้อนไปในปี 2018 นายเฟาซี ได้นำไวรัสจาก สถาบันวิจัยไวรัส อู่ฮั่น มาติดเชื้อให้ค้างคาว ที่ได้มาจากสวนสัตว์แมรี่แลนด์ ในห้องปฏิบัติการที่รัฐ Montana ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งปีก่อนหน้าการเกิดระบาดโควิด และทำรายงานไปว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโควิด แต่นี่เป็นหลักฐานของการเชื่อมโยงการทำงานของสหรัฐฯ กับสถาบันไวรัสอู่ฮั่นของประเทศจีนอีกชิ้นหนึ่ง นอกเหนือจากที่มีการสืบสวนสอบสวนและเปิดเผยในสภาคองเกรส และเอกสารต่อประชาชนทั่วไปในเดือนมกราคม 2023 (มีภาพจาก Dailymail แสดงถึงพื้นที่ของห้องปฏิบัติการและพิมพ์เขียว)

จากการรายงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ในวันที่ 10 เมษายน 2023 สหรัฐฯ ผ่านทางกระทรวงกลาโหม USAID DARPA DTRA NIH และ EcoHealth alliance ส่งเงินทุนให้ประเทศต่าง ๆ ในทุกทวีปของโลกในการเสาะแสวงหาไวรัสใหม่ ๆ ที่ไม่รู้จักชื่อในค้างคาวและสัตว์ป่ารวมทั้งในเอเชียและประเทศไทยเอง ตลอดจนให้มีการส่งไวรัสเหล่านี้เพื่อไปตัดแต่งพันธุกรรมให้เข้ามนุษย์และก่อโรคได้ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลใน Dailymail 31 ตุลาคม 2023 อ้างอิงเอกสารจาก องค์กร white coat waste project โดยได้ข้อมูลผ่านกฎหมาย ความโปร่งใส พบว่าในระหว่างปี 2015 ถึง 2023 มีการผันเงินของสหรัฐฯ จากสถาบัน NIH ให้ห้องปฏิบัติการในประเทศจีนเพื่อทดลองในสัตว์ เป็นจำนวน 3,306,061 เหรียญสหรัฐ

1. University of Southern California จากทุนที่ได้รับ 1.9 ล้านเหรียญ ให้ Peking University 576,453 เหรียญในการเจาะสมองหนูและฉีดไวรัสเข้าไปในสมองหลังจากนั้นทำให้ตายและศึกษาสมอง

2. University of South Florida จากทุนที่ได้รับ 28.9 ล้านเหรียญ ให้ China Medical University, Kunming Medical University, and Beijing’s Zhongyu Bioengineering Co. 812,906 เหรียญ ในการสร้างเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ดื้อยาและฉีดเข้าไปในหนูจากนั้นให้ยุงเข้าไปกัดและดื่มเลือด

3. University of California-Irvine ได้ทุน 4.3 ล้านเหรียญ ให้ Wuhan Institute of Virology 216,000 เหรียญ ฉีดเชื้อ ไวรัส เฮอร์ปีส์ เข้าไปในสมองหนู

4. Microsoft co-founder Paul Allen’s Allen Institute ได้ทุน 64.7 ล้านเหรียญ ให้ 993,000 เหรียญ แก่ Huazhong University of Science and Technology ในการตัดชิ้นเนื้อสมองของหนูอายุน้อยน้อยและทำการวิเคราะห์

5. Emory University ได้ทุน 38.6 ล้านเหรียญ ให้ 515,418 เหรียญ แก่ Chinese Academy of Agricultural Sciences Harbin Veterinary Institute ในการ รวบรวมเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่อันตรายจากตลาดสดของประเทศจีนและนำเชื้อเหล่านี้ฉีดเข้าจมูกของหนู mice และ guinea pigs

6. University of Illinois ได้ทุน 1.7 ล้านเหรียญ ให้ 149,832 เหรียญ แก่ Institute Pasteur of Shanghai ในการทำให้หนูติดเชื้อวัณโรคหลังจากนั้นทำให้ตายและทำการศึกษาต่อ

7. Eastern Virginia Medical School ได้ทุน 35.5 ล้านเหรียญ ให้ 42,452 เหรียญ แก่ Zhangliang Digging Machine Business Department ในการศึกษา ใช้ยาตับอักเสบ และยา HIV ในลิง

นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นมานานและในประเทศไทยเองด้วย ผ่านองค์กรต่างประเทศ ที่ฝังตัวในประเทศไทย อย่างน้อย 33 ปี และปัจจุบันอยู่ในสถาบันหลัก มหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ต่าง ๆ ทั้งด้านคนและสัตว์ ทั้งการรวบรวมตัวอย่างเชื้อที่ไม่ใช่เฉพาะ แต่เชื้อไวรัสรวม แบคทีเรียและปรสิต จนกระทั่งมีการตัดต่อตกแต่งพันธุกรรม โดยส่งให้ต่างประเทศในเครือข่าย

นี่เป็นสิ่งที่คนไทย ต้องมีความตระหนักรู้ว่า...ประเทศไทยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวพันและเมื่อเกิดความเสียหายในประเทศที่ไม่ใช่แต่ประเทศไทยอย่างเดียว เป็นที่ใดในโลกนี้และสืบค้นความเชื่อมโยง 

ประเทศไทยคงต้องรับผิดชอบ

ย้อนอดีต!! ‘ไข้หวัดใหญ่สเปน’ โรคระบาดที่ร้ายแรงสุดในประวัติศาสตร์ หลังมีผู้ติดเชื้อ 500 ล้านคนทั่วโลก และคร่าชีวิตไปกว่าหลายสิบล้านคน

จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ไปทั่วโลก รวมถึงบ้านเราด้วย ซึ่งเป็นโรคระบาดที่ถือว่าหนักหนาสาหัสชนิดที่คนในยุคสมัยนี้ไม่เคยเจอะเคยเจอมาก่อน แต่ในอดีตเมื่อกว่าร้อยปีก่อนก็ได้มีการระบาดอย่างหนักของไข้หวัดใหญ่สเปน (The Spanish flu) ซึ่งเป็นหนึ่งในการระบาดของโรคที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยไข้หวัดใหญ่สเปนถูกพบครั้งแรกในยุโรป สหรัฐอเมริกา และบางส่วนของทวีปเอเชีย ก่อนที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในขณะนั้นยังไม่มียาหรือวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ ประชาชนจึงได้รับคำสั่งให้สวมหน้ากาก รวมทั้งโรงเรียน โรงละคร และธุรกิจต่าง ๆ ก็ถูกปิดตาย และศพผู้เสียชีวิตถูกกองไว้ในห้องเก็บศพชั่วคราว ก่อนที่ไวรัสจะยุติระบาดไปทั่วโลก

สำหรับ ‘ไข้หวัดใหญ่สเปน’ เป็นการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในปี 1918 ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์เอ H1N1 เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 1918 ถึงเดือนเมษายน 1920 ทำให้มีผู้ติดเชื้อ 500 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลกในขณะนั้น ซึ่งเกิดขึ้นถึง 4 ระลอกต่อเนื่องกัน โดยตัวเลขของผู้เสียชีวิตคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 20-50 ล้านคน (แต่การประมาณการจะเริ่มตั้งแต่ 17 ล้านคน ไปจนถึงสูงถึง 100 ล้านคน) ซึ่งมากกว่าทหารและพลเรือนทั้งหมดที่เสียชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมกันเสียอีก

การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนเกิดขึ้นในเกือบทุกพื้นที่ของโลก โดยอันดับแรกจะเกิดตามท่าเรือ จากนั้นก็จะแพร่กระจายจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองตามเส้นทางคมนาคมหลัก อย่างในอินเดีย คาดว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 12.5 ล้านคน ในระหว่างการแพร่ระบาด และโรคนี้ก็ได้แพร่กระจายไปถึงหมู่เกาะห่างไกลในแปซิฟิกใต้ รวมถึงนิวซีแลนด์และซามัว ทั้งนี้ ในสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตประมาณ 550,000 - 675,000 คน ซึ่งการเสียชีวิตส่วนใหญ่ในทั่วโลกเกิดขึ้นในช่วงระลอกที่ 2 และ 3 มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนเกิดขึ้นอีกในปี 1920 แต่ความรุนแรงลดลง

อย่างไรก็ตาม…แล้วไข้หวัดใหญ่สเปนเกิดจากอะไร? ซึ่งการระบาดเริ่มขึ้นในปี 1918 ในช่วงเดือนสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งปัจจุบันนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ความขัดแย้งอาจมีส่วนทำให้ไวรัส H1N1 แพร่กระจาย ในแนวรบด้านตะวันตกทหารที่ทำการรบนั้นอยู่ในสภาพคับแคบสกปรกและอับชื้นจนทหารเริ่มป่วย อันเป็นผลโดยตรงจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากการขาดสารอาหาร ความเจ็บป่วยของพวกเขา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ‘la grippe’ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อ และแพร่กระจายไปตามลำดับภายในเวลาประมาณ 3 วัน หลังจากที่ป่วยทหารหลายคนจะเริ่มรู้สึกดีขึ้น แต่ก็่ใช่ว่าจะเป็นในทหารทั้งหมด ในช่วงฤดูร้อนปี 1918 เมื่อทหารเริ่มลากลับบ้าน พวกเขาได้นำไวรัสที่ตรวจไม่พบซึ่งทำให้พวกเขาป่วยไปด้วย ไวรัสจึงแพร่กระจายไปทั่วเมืองและหมู่บ้านในประเทศบ้านเกิดของทหาร ผู้ติดเชื้อจำนวนมากทั้งทหารและพลเรือนไม่สามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว 

ต่อมาในปี 2014 มีทฤษฎีใหม่ (ยังเป็นข้อสันนิษฐาน) เกี่ยวกับ ‘ต้นกำเนิด’ ของไวรัส ชี้ให้เห็นว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน โดย National Geographic รายงานว่า บันทึกที่ยังไม่ได้ค้นพบก่อนหน้านี้ได้เชื่อมโยงไข้หวัดกับการขนส่งแรงงานกรรมกรจีน ผ่านแคนาดาในปี 1917 และ 1918 คนงานส่วนใหญ่เป็นคนงานในฟาร์มจากพื้นที่ห่างไกลในเขตชนบทของจีนตามหนังสือ ‘The Last Plague’ ของ Mark Humphries (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยโตรอนโต 2013) พวกเขาต้องอยู่กันอย่างแออัดในตู้คอนเทนเนอร์รถไฟที่ปิดสนิทเพื่อขนส่งข้ามประเทศเป็นเวลา 6 วัน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังฝรั่งเศส ซึ่งที่นั่นพวกเขาต้องขุดสนามเพลาะ วางรางรถไฟ สร้างถนน และซ่อมแซมรถถังที่เสียหาย โดยรวมแล้วมีการระดมคนงานมากกว่า 90,000 คน ไปยังแนวรบด้านตะวันตก โดย Mark Humphries อธิบายว่าส่วนหนึ่งในจำนวนคนงานชาวจีน 25,000 คน ในปี 1918 ประมาณ 3,000 คนต้องยุติการเดินทางในเขตกักกันทางการแพทย์ของแคนาดา ในขณะนั้นเนื่องจากการเหยียดผิว ความเจ็บป่วยของพวกเขาถูกระบุโดยตำหนิว่าเป็น ‘โรคขี้เกียจของจีน’ และแพทย์ชาวแคนาดาก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับอาการของคนงาน เมื่อถึงเวลาที่คนงานมาถึงทางตอนเหนือของฝรั่งเศสในช่วงต้นปี 1918 หลายคนเริ่มป่วยและอีกหลายร้อยคนกำลังจะตายในไม่ช้า 

ทั้งนี้ สำหรับที่มาของชื่อ ‘ไข้หวัดใหญ่สเปน’ ซึ่งถูกเรียกชื่อผิด ๆ โดยสเปนเป็นประเทศเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 และไม่เหมือนกับเพื่อนบ้านในยุโรป แต่ก็ไม่ได้กำหนดให้มีการเซ็นเซอร์ตรวจสอบสื่อในช่วงสงคราม โดยในฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา หนังสือพิมพ์ไม่ได้รับอนุญาตให้รายงานสิ่งใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อการทำสงคราม รวมถึงข่าวว่า ไวรัสที่ทำให้คนป่วยหนักกำลังระบาดไปทั่วกองทหาร เนื่องจากนักข่าวชาวสเปนเป็นเพียงคนเดียวที่รายงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1918 การระบาดจึงกลายเป็นที่รู้จักในชื่อของ ‘ไข้หวัดใหญ่สเปน’ (The Spanish flu)

>> สำหรับการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนในยุคนั้น มี 4 ระลอก ดังนี้… 

- การระบาดระลอกที่ 1 ของการระบาดใหญ่เกิดขึ้นในปี 1918 ในฤดูใบไม้ผลิและโดยทั่วไปยังระบาดไม่รุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการเช่น ไข้หวัดทั่วไป คือ หนาวสั่น มีไข้ และอ่อนเพลีย มักจะหายเป็นปกติหลังจากผ่านไปไม่กี่วัน และจำนวนผู้เสียชีวิตที่รายงานอยู่ในระดับต่ำ และค่อนข้างไม่รุนแรง กินเวลาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 1918 โดยอัตราการเสียชีวิตไม่ได้สูงกว่าปกติ ซึ่งในสหรัฐอเมริกามีรายงานการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดใหญ่ถึง 75,000 ราย ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 1918 เทียบกับการเสียชีวิตประมาณ 63,000 ราย ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 1915 และในกรุงมาดริด ประเทศสเปน มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่น้อยกว่า 1,000 คน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 1918 ไม่มีรายงานการกักกันในช่วงไตรมาสแรกของปี 1918 อย่างไรก็ตาม คลื่นลูกแรกทำให้การปฏิบัติการทางทหารของสงครามโลกครั้งที่ 1 หยุดชะงักอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีทหารฝรั่งเศส 3 ใน 4 กองกำลังอังกฤษครึ่งหนึ่งและทหารเยอรมันกว่า 900,000 คนป่วย 

- การระบาดระลอกที่ 2 ของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนได้ปรากฏขึ้นในฤดูใบไม้ร่วงของปีเดียวกันนั้น เหยื่อเสียชีวิตภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันหลังจากเกิดอาการ ผิวหนังของผู้ติดเชื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และปอดเต็มไปด้วยของเหลวที่ทำให้หายใจไม่ออก เริ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือนสิงหาคม 1918 อาจแพร่กระจายไปยังเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา และเมืองฟรีทาวน์ ประเทศเซียร์ราลีโอนโดยทางเรือ ซึ่งน่าจะมาถึงพร้อมกับกองทหารอเมริกันจากท่าของกองทัพเรือที่เมืองบอสตัน และค่ายเดเวนส์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมเดเวนส์) ห่างจากเมืองบอสตันไปทางตะวันตกประมาณ 30 ไมล์ สถานที่ทางทหารอื่น ๆ ของสหรัฐฯ ต่างได้รับผลกระทบในไม่ช้า ขณะที่กองกำลังทหารสหรัฐฯ ถูกส่งไปยุโรป ทำให้เกิดการแพร่กระจายไปทั่วทั้งทวีปอเมริกาเหนือในอีก 2 เดือนต่อมา จากนั้นไปยังอเมริกากลาง และอเมริกาใต้รวมถึงบราซิลและแคริบเบียน ในเดือนกรกฎาคม 1918 จักรวรรดิออตโตมันพบผู้ป่วยรายแรกในทหารบางนายจากเมืองฟรีทาวน์ การระบาดของโรคยังคงแพร่กระจายไปทั่วแอฟริกาตะวันตกตามชายฝั่งแม่น้ำและทางรถไฟในอาณานิคม และโดยรถไฟไปยังชุมชนห่างไกลมากขึ้น ในขณะที่แอฟริกาใต้ได้พบการระบาดในเดือนกันยายนจากเรือที่แรงงานพื้นเมืองของแอฟริกาใต้กลับมาจากฝรั่งเศส จากนั้นแพร่กระจายไปทั่วแอฟริกาตอนใต้และเลยจาก Zambezi ไปถึงเอธิโอเปียในเดือนพฤศจิกายน เมื่อวันที่ 15 กันยายน นครนิวยอร์กพบผู้เสียชีวิตครั้งแรกจากโรคไข้หวัดใหญ่สเปน ขบวน Philadelphia Liberty Loans Parade ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อวันที่ 28 กันยายน 1918 เพื่อส่งเสริมพันธบัตรรัฐบาลสนับสนุนการทำสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 12,000 คน หลังจากการระบาดครั้งใหญ่ของโรคที่แพร่กระจายไปในหมู่ผู้คนที่เข้าร่วมขบวนพาเหรด เพียงปีเดียวคือปี 1918 ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของชาวอเมริกันถึงกับลดลงไปหลายสิบปี

- การระบาดระลอกที่ 3 เกิดขึ้นในฤดูหนาว (เดือนมกราคม พ.ศ. 2462) ถัดมาและเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิไวรัสก็เริ่มระบาด ไข้หวัดใหญ่สเปนก็ระบาดถึงออสเตรเลีย ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปราว 12,000 คน หลังจากการยกเลิกการกักกันทางทะเล จากนั้นก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอยู่ตลอดฤดูใบไม้ผลิและจนถึงเดือนมิถุนายน 1919 ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อสเปน เซอร์เบีย เม็กซิโก และสหราชอาณาจักร ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน แม้จะรุนแรงน้อยกว่าระลอกที่ 2 แต่ก็ยังร้ายแรงกว่าระลอกแรก และในสหรัฐอเมริกามีการระบาดในบางเมือง อย่างเช่น ลอสแองเจลิส นิวยอร์กซิตี้ เมมฟิส แนชวิลล์ ซานฟรานซิสโก และเซนต์หลุยส์ ซึ่งอัตราการเสียชีวิตโดยรวมของชาวอเมริกันอยู่ในระดับหมื่นคนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 1919 ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตอยู่ในกลุ่มคนอายุ 20 - 40 ปี ซึ่งเป็นรูปแบบอายุการตายที่ผิดปกติของไข้หวัดใหญ่

- การระบาดระลอกที่ 4 เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิปี 1920 นิวยอร์กซิตี้ สวิตเซอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย และหมู่เกาะในอเมริกาใต้ เมืองนิวยอร์กเพียงแห่งเดียวมีรายงานผู้เสียชีวิต 6,374 คน ระหว่างเดือนธันวาคม 1919 ถึงเดือนเมษายน 1920 ซึ่งเป็นจำนวนเกือบสองเท่าของระลอกแรกในฤดูใบไม้ผลิปี 1918 เมืองอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกา รวมทั้ง ดีทรอยต์ มิลวอกี แคนซัสซิตี มินนีแอโพลิส และเซนต์หลุยส์ มีการระบาดอย่างหนัก โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าทั้งหมดของปี 1918 เปรูประสบพบเจอในช่วงต้นปี 1920 และญี่ปุ่นในช่วงปลายปี 1919 ถึง 1920 โดยกรณีสุดท้ายในเดือนมีนาคม ในยุโรปห้าประเทศ (สเปน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์) มีการบันทึกจุดสูงสุดอยู่ในช่วงปลายเดือนมกราคม - เมษายน 1920

ด้วยในยุคนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่เจริญเท่าปัจจุบัน จำนวนผู้เสียชีวิตจึงถึงสูงมาก ด้วยจำนวนประชากรในโลกขณะนั้นไม่ถึงสองพันล้านคน แต่หลักการป้องกันยังคงแทบไม่มีอะไรเปลี่ยนเช่น การสวมหน้ากาก การเว้นระยะห่าง การรักษาความสะอาด ฯลฯ จากบทเรียนหลักในอดีต ‘มาตรการใด ๆ’ ก่อนที่จะเกิดการระบาดซึ่งถูกอธิบายว่า "เกินจริง แต่ในภายหลังมักจะกลายเป็นว่า ไม่เพียงพอ" ศาสตราจารย์ Jaume Claret Miranda ภาควิชา Arts and Humanities มหาวิทยาลัย Oberta de Catalunya กล่าว

ในขณะนี้วัคซีน mRNA ที่ใช้ฉีดป้องกันไวรัส COVID-19  กำลังเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างมากในวงกว้างว่า การรับวัคซีน mRNA นั้นมีความคุ้มหรือไม่? ด้วยเพราะปรากฏว่า มีผู้ที่รับวัคซีน mRNA จำนวนหนึ่งมีปัญหาด้านสุขภาพ มีความผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย อาทิ หลังจากที่รับวัคซีน mRNA แล้ว โดยอาการจากผลข้างเคียงที่พบจากผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA ได้แก่ การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) หรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) ซึ่งพบเจอบ่อยมาก มีการค้นพบครั้งแรกในประเทศอิสราเอล เพราะเป็นประเทศที่ประชาชนได้รับวัคซีน mRNA ค่อนข้างมาก ดังนั้นหากพบว่า มีอาการผิดปกติในร่างกายหลังจากรับวัคซีน mRNA ควรไปพบแพทย์ หรือดื่มน้ำรางจืด (จากการต้มใบรางจืด) ด้วยน้ำรางจืดมีฤทธิ์ในการขับพิษและของเสียออกจาร่างกาย ควรดื่มตอนเช้าก่อนรับประทานอาหารและยาต่อเนื่องกันสัก 2 - 4 สัปดาห์ จะสามารถช่วยขับพิษที่ทำให้ร่างกายมีความผิดปกติและช่วยลดอาการผิดปกติในร่างกายได้ในระดับหนึ่ง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top