Sunday, 16 June 2024
ไทยเสียดินแดน

15 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 ประเทศไทย สูญเสียดินแดนครั้งที่ 7 ยกเขมรและเกาะ 6 เกาะ ให้ฝรั่งเศส

เมื่อ 155 ปี ประเทศไทยสูญเสียดินแดนเขมรและเกาะ 6 เกาะ ให้ฝรั่งเศส ในยุคล่าอาณานิคม อีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่คนไทยทุกคนต้องศึกษาและจดจำ

วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 เป็นอีกวันที่คนไทยทั้งชาติควรศึกษาและจดจำไว้เป็นบทเรียน กับเหตุการณ์หน้าประวัติศาสตร์ที่อันสำคัญในการรักษาอำนาจอธิปไตย ให้รอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นในยุคล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก กับความเจ็บปวดที่แลกมากับการต้องสูญเสียดินแดน เขมรและเกาะ 6 เกาะ เป็นพื้นที่ 124,000 ตร.กม. ให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 เป็นการเสียดินแดนครั้งที่ 7 จากทั้งหมด 14 ครั้ง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2325 จวบจนปัจจุบัน

สำหรับการเสียดินแดนเขมรและเกาะ 6 เกาะ นั้น สืบเนื่องจากการทำสงครามระหว่างไทยกับญวนหลายปี เพื่อแย่งชิงเขมรส่วนนอก หรือที่เรียกว่า "อานามสยามยุทธ" ซึ่งภายหลังได้มีการตกลงกันว่า จะให้เขมรเป็นประเทศราชของสยามต่อไป แต่ก็ต้องส่งบรรณาการไปให้ญวนเสมือนประเทศราชของญวนด้วย แต่ไทยมีสิทธิ์ในการสถาปนากษัตริย์เขมรดั่งเดิม 

โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ นักองด้วง เป็นกษัตริย์แห่งเขมร สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี หรือ สมเด็จพระหริรักษ์รามสุริยะมหาอิศวรอดิภาพ แต่ในปี 2397 เขมรได้แอบส่งสารลับไปยังฝรั่งเศส ขอให้ฝรั่งเศสช่วยกู้ดินแดนที่เสียให้ญวณกลับมาอยู่กับเขมรอีกครั้ง และมาช่วยคุ้มครองเขมรให้พ้นจากทั้งอำนาจของสยามและญวน 

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ รัชการที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นักองราชาวดี หรือ สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ ขึ้นเป็นกษัตริย์เขมรองค์ต่อจาก สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ที่เสด็จสวรรคต โดยในช่วงก่อนปี 2406 นั้น ฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบอินโดจีนหรือญวนมากขึ้น และได้เข้ามาบีบบังคับโดยใช้กำลัง ทั้งทางกองเรือและทางการทูต

13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ไทยเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ ฝรั่งเศส แลกการถอนทหารออกจากเมืองจันทบุรี

วันนี้ เมื่อ 120 ปีก่อน ไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ตรงข้ามเมืองจำปาศักดิ์ และเมืองมโนไพรฝั่งให้ฝรั่งเศส แลกกับเมืองจันทบุรี ที่ฝรั่งเศสยึดไว้ตั้งแต่เหตุการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2437)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453) การแผ่อิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตกรุนแรง และแข็งกล้า ยิ่งกว่าสมัยใดๆ..... มหาอำนาจตะวันตกที่คอยคุกคามไทยทางด้านตะวันออกคือ.....ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจมาทางตะวันออกของแหลมอินโดจีน จนครอบครองญวนทั้งประเทศ รวมทั้งเขมรส่วนนอก ทั้งหมดด้วย แต่ความต้องการของฝรั่งเศสไม่ได้หยุดนิ่งแค่นั้น ยังมีความต้องการที่จะครอบครองดินแดนที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด ซึ่งขณะนั้นมีดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้ครอบครองของไทย การขยายตัวของฝรั่งเศส จึงสร้างปัญหาให้กับประเทศไทยเรื่อยมา.......โดยเฉพาะ.. ความพยายามที่จะ แทรกแซงในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำ โขง ในระยะแรกฝรั่งเศสได้แทรกแซงโดยวิธีการทูต แต่เมื่อเห็นว่าไม่ประสบผลสำเร็จจึงใช้นโยบายเรือปืนข่มขู่ไทย บริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดก็นำไปสู่วิกฤตกาลที่เรียกว่า "วิกฤตกาล ร.ศ. 112" เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2536 ผลของการรบปรากฏว่าฝ่ายไทยยอมจำนน และทำสัญญาสงบศึกกับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2436


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top