Monday, 13 May 2024
โภชนาการ

4 เคล็ดลับของคุณแม่แดนอาทิตย์อุทัย ที่ทำให้ ‘ญี่ปุ่น’ มีเด็กที่มีสุขภาพดีที่สุดในโลก

(23 ต.ค. 66) ท่ามกลางวัฒนธรรมการบริโภคอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็งที่อุดมด้วยโซเดียม ไขมัน น้ำตาล สารเคมี อันเป็นสาเหตุให้มีเด็ก และเยาวชนทั่วโลกมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วน น้ำหนักเกินมาตรฐาน เสี่ยงต่อการเป็นโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง แม้อายุยังน้อยมากขึ้นเรื่อยๆ

ถึงจะเป็นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว สวัสดิการความเป็นอยู่ดี มีอาหารการกินสะดวก สบาย แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่า เด็กๆ ในประเทศเหล่านี้ จะไม่มีปัญหาในการเลือกรับประทานอาหารการที่สมดุลย์ ถูกหลักโภชนาการแต่อย่างใด และดูเหมือนว่า ยิ่งมีอาหารปรุงแต่งให้เลือกสรรมาก เด็กๆ ยิ่งมีปัญหาสุขภาพ และโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

แต่เมื่อมีการสำรวจโภชนาการเด็กขององค์การ ‘UNICEF’ ก็ต้องแปลกใจเมื่อพบว่าในบรรดา 41 ชาติจากสหภาพยุโรป และ กลุ่มประเทศเศรฐกิจชั้นนำในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) มีเพียง ‘ญี่ปุ่น’ ประเทศเดียวเท่านั้นที่มีเด็กในอัตราส่วนน้อยกว่า 1 ใน 5 ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน สร้างความแปลกใจให้กับบรรดาพ่อแม่ชาวตะวันตกอย่างมาก ว่าคุณแม่ชาวญี่ปุ่นทำอย่างไร ที่ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นชาติเด็กมีสุขภาพดีที่สุดในโลก

ซึ่งพบว่า พ่อแม่ชาวญี่ปุ่นมีเคล็ดลับเพียง 4 ประการ ในการดูแลลูกที่แตกครอบครัวชาวตะวันตกอื่นๆ

1.) ครอบครัวชาวญี่ปุ่นยึดมั่นวิถีการกินอาหารแนว ‘โชคุอิคุ’
วิถีการรับประทานอาหารแนว ‘โชคุอิคุ’ (食育) คิดค้นโดยนายแพทย์ อิชิสุกะ กาเซ็น เมื่อราวปี 1896 ที่เป็นการสอนหลักด้านโภชนาการของชาวญี่ปุ่น

นายแพทย์อิชิสุกะ ถือเป็นผู้บุกเบิกโภชนาการแนว ‘Macrobiotic diet’ หรือ ‘อาหารมหชีวนะ’ เน้นการบริโภคข้าวเป็นหลัก กับ พืชผักท้องถิ่น พืชทะเล ถั่ว ในสัดส่วนที่สมดุลย์ เหมาะสมต่อร่างกาย ซึ่งในแต่ละมื้อควรประกอบด้วย ข้าวกล้อง 40-60% ผัก 25-30% ถั่ว หรือพืชตระกูลถั่ว 5-10% พืชทะเล หรือสาหร่าย 5-10% และอาหารท้องถิ่นปรุงจากกรรมวิธีธรรมชาติ 5-10% โดยเนื้อสัตว์จะเน้นเป็นปลา หรืออาหารทะเลเป็นส่วนใหญ่

ประกอบกับการจัดวางเซทอาหารแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิชิจู ซันไซ’ (一汁三菜) ที่ต้องประกอบด้วยข้าวสวย 1 ถ้วย ซุปมิโสะ 1 ถ้วย และกับข้าว 3 อย่าง ที่เป็นกับข้าวจานหลัก 1 จาน ที่อาจเป็นปลา ไข่ หรือ เนื้อ กับข้าวจานรอง 1 จาน ที่มักเป็นเต้าหู้ ถั่ว ผักสดท้องถิ่น กับผักดอง 1 ถ้วยเล็ก ใน 1 เซทจะได้สารอาหารครบถ้วนต่อความต้องการของร่างกาย

ซึ่งชาวญี่ปุ่นจริงจังกับการบริโภคอาหารแนว ‘โชคุอิคุ’ อย่างมาก ถึงขั้นตราเป็นกฎหมายพื้นฐานที่ต้องมีหลักสูตรการสอนโภชนาการแนวญี่ปุ่นในระดับโรงเรียน รวมถึงการปรุงอาหาร ถนอมอาหาร และการเพาะปลูกพืชผักท้องถิ่น ให้กับนักเรียนด้วย ที่ทำให้วิถีการกินอยู่แบบญี่ปุ่น ที่เน้นความสมดุลย์ของสารอาหาร จากวัตถุดิบท้องถิ่นถูกปลูกฝังให้แก่เยาวชนของญี่ปุ่นมานานหลายสิบปี จึงส่งผลดีต่อค่าเฉลี่ยสุขภาพของเด็ก และ เยาวชนในประเทศญี่ปุ่น

2.) ส่งเสริมค่านิยมการทำอาหารกินเอง
95% ของโรงเรียนประถม และมัธยมในญี่ปุ่นมีระบบอาหารกลางวันที่ทำขึ้นเองในโรงเรียน ที่มีการคิดเมนูที่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแต่ละมื้อ โดยนักโภชนาการอย่างรอบคอบ อีกทั้ง ยังส่งเสริมให้นักเรียนญี่ปุ่นมีส่วนร่วมในการทำอาหาร มีการผลัดเวรทำหน้าที่บริการเสิร์ฟ แจกอาหารให้กับเพื่อนร่วมชั้น

แต่ถ้าเป็นเด็กเล็กระดับชั้นอนุบาล ผู้ปกครองญี่ปุ่นมักเตรียมข้าวกล่อง ที่เรียกกว่า ‘เบนโตะ’ ให้เด็กไปโรงเรียน ซึ่งครูมักให้เด็กๆ รวมกลุ่มรับประทานข้าวกล่องที่เตรียมมาร่วมกัน มีการพูดคุยเกี่ยวกับข้าวกล่องของนักเรียนแต่ละคน และมีการแลกเปลี่ยน แบ่งปันกับข้าวกับเพื่อน ที่ส่งเสริมวัฒนธรรมการกินอาหารที่ทำเองของชาวญี่ปุ่นที่ให้ประโยชน์ และความสดใหม่มากกว่าอาหารสำเร็จรูป

3.) ชาวญี่ปุ่นวางแผน และเตรียมอาหารล่วงหน้า
ครอบครัวชาวญี่ปุ่นนิยมเตรียมวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารไว้ล่วงหน้า เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการอาหารให้กับสมาชิกในบ้าน ทั้งผักดอง ผักสด ผลไม้ โปรตีน ที่เตรียมไว้โดยคำนึงถึงคุณค่าโภชนาการแบบ ‘โชคุอิคุ’ เช่นกัน อีกทั้งในบางโรงเรียนยังมีกฏ ห้ามจำหน่ายขนมขบเคี้ยวที่มีไขมัน น้ำตาลสูง หรือคาเฟอีน เช่น มันฝรั่งทอด คุกกี้ กาแฟ ภายในโรงเรียนด้วย เป็นการจำกัดโอกาสการรับประทานขนมขบเคี้ยวที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของเด็ก

4.) ชาวญี่ปุ่นนิยมดื่มน้ำ หรือน้ำชา มากกว่าน้ำอัดลม
นี่อาจเป็นนิสัยการกินดื่มที่ดีอย่างหนึ่งของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ที่เลือกดื่มน้ำเปล่า น้ำแร่ หรือ ชา มากกว่าน้ำอัดลมที่มีปริมาณน้ำตาลสูง และเมื่อคนในครอบครัวไม่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำในบ้าน เด็กญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มสูงที่จะไม่ดื่มน้ำอัดลมตามผู้ปกครองเช่นกัน ซึ่งช่วยลดโอกาสการบริโภคน้ำตาลจากเครื่องดื่มรสหวาน หรือน้ำอัดลมมากเกินไป ที่จะเปลี่ยนเป็นพลังงานแคลอรีส่วนเกินในร่างกาย ที่เป็นสาเหตุของ ‘โรคอ้วน’ นั่นเอง

และนี่ก็คือเคล็ดลับ 4 ประการของครอบครัวชาวญี่ปุ่น จากการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการวิถีญี่ปุ่น ที่นอกจากจะทำให้เด็กๆมีสุขภาพดีแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญให้ชาวญีปุ่นมีค่าเฉลี่ยอายุที่แข็งแรง และยืนยาวจนชาวตะวันตกต้องทึ่งกันนั่นเอง 

เปิดคุณสมบัติที่ 'นักมวย' ต้องมี!! หากคิดเข้าร่วมศึก ‘ONE Championship’

‘ทวี อัมพรมหา’ หรือ ‘ขาวผ่อง สิทธิชูชัย’ อดีตนักมวยชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ฝากข้อคิดให้นักมวยรุ่นน้องที่อยากไปชก ในเวที ONE ว่า…

ไม่ได้ต่อต้าน หรือสนับสนุนมวย ONE Championship แต่อยากจะฝากถึง หัวหน้าคณะ, นักมวย, หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ไว้ว่ามวยรายการนี้เงินรางวัลสูงมาก เป็นเศรษฐีได้ ในระยะเวลาไม่กี่เดือน แต่มันก็จะสร้าง ความเจ็บปวด บอบช้ำ สูงมากเช่นกัน เพราะ กติกา น้ำหนักตัว อุปกรณ์การแข่งขัน จะแตกต่างจากมวยไทยอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นถ้าอยากเข้าร่วมแข่งขันรายการนี้  

คุณสมบัติของนักมวย ต้อง….!!! 
- เป็นนักมวยที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ 100%
- ต้องซ้อมหนักกว่าเดิม 2 เท่า จะซ้อมแบบเดิม ๆ ไม่ได้
- ต้องเอาระบบวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ แบบ 100%
- ต้องเอาระบบโภชนาการ มาใช้ 100%

ถ้าทำไม่ได้ตามนี้ ก็อย่าหวังว่าจะสามารถเอาชนะและสร้างความสำเร็จ มีเงินมีฐานะร่ำรวยให้ตัวเองและครอบครัวได้  แต่กลับกันอาจจะสร้างความเจ็บปวดและบอบช้ำให้ร่างกาย จนทำให้ครอบครัวเดือดร้อนหนักเข้าไปอีก 

จึงฝากไว้ให้คิด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top