Friday, 17 May 2024
โบราณสถาน

'อัษฎางค์' แนะ 'วิโรจน์' อ่านหนังสือให้เกิน 8 บรรทัด ชี้!! สนามหลวงไม่ใช่สวนสาธารณะ แต่เป็นโบราณสถาน 

'อัษฎางค์ ' ฟาด 'วิโรจน์ ก้าวไกล' อ่านหนังสือให้เกิน 8 บรรทัด ชี้!! สนามหลวงไม่ใช่สวนสาธารณะ แต่เป็นโบราณสถาน หลังกรมศิลป์ขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 13 ธ.ค. 20 ย้ำ!! สนามหลวงเป็นสมบัติของชาติแล้วจะทวงคืนจากใคร? ไปให้ใคร? 

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรณี นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล ทวงคืนท้องสนามหลวง ระบุว่า...

ไม่มีวัวปน
"สนามหลวง ไม่ใช่สวนสาธารณะ แต่เป็นโบราณสถาน"

………………………………………………………………….

โดย อัษฎางค์ ยมนาค

24 มีนาคม 2565 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล เรียกร้องว่า 

"การมีรั้วมากั้นบริเวณท้องสนามหลวงนั้นตนไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการทำลายทัศนียภาพ ทำลายเสน่ห์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะได้ใช้พื้นที่"

นายวิโรจน์ ยังกล่าวต่อว่า...

"ทำไมไม่มีโต๊ะม้าหิน แท่นน้ำดื่ม มีแค่รถสุขา จะจัดสุขาให้เป็นสัดส่วนได้หรือไม่ เสน่ห์คนที่มาเล่นหมากรุก เปิดสภากาแฟ หรือแม้แต่เปิดเวทีไฮด์ปาร์ค จัดกิจกรรมทางการเมือง พูดประเด็นการเมืองและสังคม มันหายไปหมด ทั้งนี้อย่าอ้างพ.ร.บ.โบราณสถานมั่วๆ"

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร จากพรรคก้าวไกล ที่อาสามาบริหารจัดการเมืองกรุง แต่ดันไม่เข้าใจและแยกแยะเรื่องเล็กๆ แค่นี้ไม่ออกว่า สวนสาธารณะและโบราณสถาน มีการใช้ประโยชน์ต่างกันอย่างไร แล้วปัญหาใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ ที่มีมากมายจะเข้าใจและมีปัญญาอะไรไปดูแล, แก้ไขและบริหารจัดการ

ผมถือโอกาสสอนเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี้ให้กับ"ว่า"ที่ผู้สมัครผู้"ว่า"ฯ ที่สมควรโดน"ว่า" เนื่องจาก"ว่า"ไม่เข้าใจเรื่องเล็กๆ แบบนี้

………………………………………………………………….

อ่านช้าๆ ดีๆ น่ะวิโรจน์น่ะ อ่านให้เกิน 8 บรรทัด แล้วกลับไปหาปี๊บคลุมหัวไว้ตอนหาเสียงในวันต่อๆ ไป

สวนสาธารณะ หมายถึงบริเวณสาธารณะที่ภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จัดให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนตามชุมชนและเมืองต่างๆ โดยรัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแลรักษา

สิ่งที่นายวิโรจน์ แหกปากเรียกร้องว่า "ให้คนมาเล่นหมากรุก เปิดสภากาแฟ เปิดเวทีไฮด์ปาร์ค จัดกิจกรรมทางการเมือง พูดประเด็นการเมืองและสังคม" นั้นมันต้องเป็นสวนสาธารณะ ไม่ใช่โบราณสถาน ฮ่วย!!

🔍เปิด 5 สถานที่สำคัญ ที่ ‘กรมศิลปากร’ ประกาศรายชื่อ ฉบับที่ 2 ขึ้นบัญชีให้เป็น ‘โบราณสถาน’ ในเขตกรุงเทพมหานคร จะมีที่ไหนบ้าง? และแต่ละที่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ไปดูกันเลย!!

🔍เปิด 5 สถานที่สำคัญ ที่ ‘กรมศิลปากร’ ประกาศรายชื่อ ฉบับที่ 2 ขึ้นบัญชีให้เป็น ‘โบราณสถาน’ ในเขตกรุงเทพมหานคร จะมีที่ไหนบ้าง? และแต่ละที่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ไปดูกันเลย!!

 

‘ครม.’ ไฟเขียว!! ขึ้นค่าบริการ ‘โบราณสถาน-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ’ ชี้ ปรับเพิ่มเฉพาะตั๋วชาวต่างชาติ หลังไม่ได้ปรับขึ้นมาตั้งแต่ปี 51

(25 ก.ค. 66) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าเข้าชมและค่าบริการอื่นสำหรับโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (ฉบับที่....) พ.ศ.... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอัตราค่าเข้าชมและค่าบริการอื่นสำหรับโบราณสถานและพิพิธภัณฑ์ 72 แห่ง รวมถึงปรับปรุงบัญชีรายชื่อโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่เรียกเก็บค่าเข้าชมได้

การปรับปรุงดังกล่าวนี้ เนื่องจากอัตราค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์และโบราณสถานได้ใช้มาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2551 โดยอัตราค่าเข้าชมที่กำหนดใหม่จะคงค่าเข้าชมและค่าบริการสำหรับคนสัญชาติไทยไว้ที่อัตราเดิม และปรับเพิ่มขึ้นเฉพาะกรณีของคนสัญชาติอื่น มีดังนี้ 

1.) โบราณสถานประเภทอุทยานประวัติศาสตร์ สำหรับคนสัญชาติไทย คนละ 20 บาท บุคคลสัญชาติอื่น คนละ 120-200 บาท (เดิม 100 บาท) 
2.) โบราณสถานประเภทแหล่งโบราณคดีหรือสถานที่สำคัญ สำหรับบุคคลสัญชาติไทย คนละ 10-20 บาท บุคคลสัญชาติอื่น คนละ 80-120 บาท (เดิม 50-100 บาท)

กำหนดอัตราค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ดังนี้ 

1.) พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขนาดเล็ก บุคคลสัญชาติไทย คนละ 10 บาท บุคคลสัญชาติอื่น 80 บาท (เดิม 50 บาท)
2.) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขนาดกลาง บุคคลสัญชาติไทย คนละ 10-20 บาท บุคคลสัญชาติอื่น คนละ 120 บาท (เดิม 50-100 บาท) 
3.) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขนาดใหญ่ บุคคลสัญชาติไทย คนละ 20-30 บาท บุคคลสัญชาติอื่นคนละ 200 บาท (เดิม 100-150 บาท)

สำหรับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่มีผู้เข้าชมจำนวนมาก ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ สำหรับบุคคลสัญชาติไทย คนละ 30 บาท บุคคลสัญชาติอื่น คนละ 240 บาท (เดิม 200 บาท)

ในร่างกฎกระทรวงฯ ยังมีการปรับปรุงบัญชีรายชื่อโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่เรียกเก็บค่าเข้าชมได้ โดยเพิ่มเติมอีก 4 แห่ง ประกอบด้วย 

1.) โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธนม อ.โคกสูง จ.สระแก้ว 
2.) โบราณสถานวัดกุฎีดาว อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 
3.) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ อ.เมืองนครนายก จ.นครนายก 
4.) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์  จึงต้องมีการจัดทำร่างกฎกกระทรวงเพื่อกำหนดทั้งค่าเข้าชม ค่าบริการอื่น และบัญชีรายชื่อโบราณสถานข้างต้น  และให้ยกเลิกค่าเช่าหูฟังบรรยายภาษาต่างประเทศด้วย

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ แล้ว เห็นว่าการอนุมัติร่างกฎกระทรวงฯ นี้ เป็นการปฏิบัติราชการตามปกติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแม่บทที่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้ ไม่ได้เป็นกรณีที่ ครม. กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการที่สร้างความผูกพันต่อ ครม. ชุดต่อไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 (1) ดังนั้น ครม. สามารถพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงฯ นี้ได้ 

ถอดสูตรอิฐยุคก่อนประวัติศาสตร์ จาก ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ พบ!! มีความล้ำลึก ยากเลียนแบบ และหาสิ่งใดทดแทน

(21 ก.ย. 66) นับเป็นอีกความภาคภูมิใจสำหรับชาวไทยเมื่อ ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ ซึ่งก่อนมีการประกาศข่าวดีนี้ นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้ร่วมศึกษาก้อนอิฐโบราณเพื่อผลิตอิฐสูตรโบราณสำหรับการบูรณะโบราณสถาน

ดร.วุฒิไกร บุษยาพร นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศษสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า “เมืองโบราณศรีเทพมีจุดเด่นที่มีความคาบเกี่ยวระหว่างยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งเมื่อประมาณเดือน มี.ค.66 คณะนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันฯ พร้อมด้วยนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยศิลปากร และหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ กรมศิลปากร ได้ลงพื้นที่สำรวจแหล่งขุดสำรวจเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ และได้พบปัญหาในบูรณะโบราณสถานที่เพิ่งขึ้นทะเบียนมรดกโลกนี้”

“อิฐโบราณศรีเทพเหมือนอิฐโบราณทั่วไป คือเป็นอิฐดินเผาผสมแกลบ แต่ในการบูรณะเราใช้อิฐยุคปัจจุบันไปใช้ ซึ่งพบว่า ก่อปัญหาต่อโบราณสถาน เนื่องจากมีการใช้ปูนซีเมนต์เป็นยาแนว และปูนซีเมนต์นี้ไปขวางเส้นทางการระบายความร้อนและความชื้น จึงเก็บความชื้นไว้ทำให้วัตถุที่นำไปซ่อมแซมเกิดการผุกร่อน ไม่เพียงเท่านั้นยังส่งผลให้อิฐของเก่าในโบราณสถานเสียหายไปด้วย ขณะที่อิฐโบราณจะใช้ยาแนวที่มีส่วนผสมของปูนหมักและดินสอพอง ซึ่งมีสมบัติในการส่งผ่านความร้อนและความชื้นได้ดี แต่เรายังไม่พบสูตรการผลิตอิฐโบราณและยาแนวโบราณของเมืองโบราณศรีเทพ” ดร.วุฒิไกร ระบุ

ทั้งนี้ ดร.วุฒิไกร และทีมวิจัยวางแผนในการใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์อิฐโบราณ และจะเริ่มศึกษาอิฐของเจดีย์รายที่อยู่ถัดจาก ‘เขาคลังนอก’ โบราณสถานขนาดใหญ่ของเมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งเจดีย์ดังกล่าวมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์รายที่รอบๆ และอยู่ในมีทิศที่ชี้ตรงไปเขาถมอรัตน์ โดยจะถอดสูตรอิฐโบราณเพื่อผลิตขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด และมีสมบัติในการส่งผ่านความร้อนและความชื้นที่ใกล้เคียงของเดิมหรือดีกว่าเดิม ตั้งเป้าใช้ดินเหนียวด่านเกวียนของ จ.นครราชสีมา สำหรับผลิตอิฐสูตรโบราณ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ชุมชนด่านเกวียนด้วย

ไม่จบ!! 'กรมศิลป์ฯ' ประกาศพื้นที่สถานีอยุธยาเป็น 'โบราณสถาน' เกมวางหมากขวางที่สุดท้าย 'ประชาชน' เสียประโยชน์ทุกมุม

(12 เม.ย. 67) เพจเฟซบุ๊ก ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ โพสต์ข้อความหัวข้อ ‘กรมศิลป์ฯ ประกาศพื้นที่สถานีอยุธยาโบราณสถาน ตอนนี้??’ โดยระบุว่า…

“ค้านจนสงสัย… ตั้งแต่อ้างมรดกโลก ขอทำ HIA ทำครบทุกอย่าง แต่มาประกาศโบราณสถาน!!!

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเห็นประกาศพื้นที่โบราณสถานของกรมศิลป์ฯ ในพื้นที่อาคารสถานีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันทุกคนก็รู้แล้วจะจะเป็นพื้นที่ก่อสร้าง สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ที่คุยกันมา กว่า 2 ปีแล้ว!!! 

ซึ่งที่ผ่านมา กรมศิลป์ฯ และนักอนุรักษ์ ต่าง ๆ ก็แวะเวียนกันมา ยกประเด็นที่อ้างถึงเพื่อให้แก้ไขเส้นทาง หรือย้ายตำแหน่งสถานี ได้แก่

- มีการคัดค้านการแก้ไข EIA โครงการรถไฟความเร็วสูง ที่เคยผ่านไปแล้วตั้งแต่ปี 2562

- การแจ้งข้อกังวลของ UNESCO ในผลกระทบจากตัวมรดกโลก ซึ่งก็ขอให้ทำ HIA เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่มรดกโลก (ซึ่งห่างกว่า 1.5 กิโลเมตรจากตัวสถานี) ซึ่งปัจจุบัน HIA ก็เสร็จแล้ว ส่งให้กรมศิลป์ฯ ตรวจ (แต่ก็ยังไม่ส่งต่อให้ UNESCO พิจารณา)

- คัดค้านทางวิ่งยกระดับ ที่ผ่านเส้นทางรถไฟในปัจจุบัน อ้างว่าบดบังทรรศนะวิสัย ซึ่งระบุให้ทำการจำลองใน HIA

- การสร้างกระแส #Saveอโยธยา จากนักอนุรักษ์บางกลุ่ม และบอกว่าพื้นที่สถานีอยุธยาปัจจุบันคือเมืองเก่าอโยธยา ในยุคทวารวดี แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการขุดค้นอย่างเป็นทางการ และก็ไม่มีคำตอบว่า ถ้าจะขุดค้นจะทำอย่างไร จะไล่ที่ประชาชนที่อยู่ปัจจุบันออกเหรอ???

- สร้างกระแสผลกระทบกับชุมชนหน้าสถานีรถไฟอยุธยา ที่ต้องย้ายออก แต่ก็ไม่ได้พูดว่า นั่นเป็นที่ดินรถไฟมาตั้งแต่แรก ซึ่งคนเหล่านั้นมาเช่าที่ดินอยู่เพื่อใช้ประโยชน์

ล่าสุด!!! กรมศิลป์ฯ ได้ประกาศพื้นที่อนุรักษ์บนพื้นที่อาคารสถานีอยุธยา ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ถนนฝั่งตรงข้ามตัวอาคารสถานี ไปจนถึงชานชาลา 1 ริมทางรถไฟ ซึ่งการทำแบบนี้ก็เท่ากับว่า ตั้งใจจะวางหมากเพื่อให้สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาก่อสร้างได้ยาก และติดปัญหาที่ต้องมาเคลียร์กับ กรมศิลป์ ต่อในอนาคตอีก…

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับตัวอาคารสถานีอยุธยาในปัจจุบัน หน่อย 

ซึ่งหลายๆ คนบอกว่าเป็นอาคารสถานีที่ สร้างสมัย ร.5 ตั้งแต่การเดินรถไฟครั้งแรกในปี พ.ศ.2434 ซึ่งไม่จริง!!!

อาคารสถานีเดิมเป็นอาคารไม้ ซึ่งสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีต ในสมัย ร.6 ซึ่งเปิดใช้ในปี พ.ศ.2464 

แต่อย่างไรก็ตาม อาคารสถานีก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย เนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีการใช้ปริมาณมากในแต่ละวัน ซึ่งก็ปรับปรุงภายในไปพอสมควร 

และก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกเลย ที่จะมีการปรับปรุงสถานีเก่าให้อยู่ร่วมกับ โครงสร้างใหม่ เพื่อมาขยายการพัฒนาด้านระบบราง ซึ่งมีตัวอย่างจากทั่วโลก

ซึ่งจากที่เล่ามาทั้งหมด ผมก็อยากทราบว่า กรมศิลป์ฯ และนักอนุรักษ์ มีจุดประสงค์ต้องการทำไปเพื่ออะไร…. อยากให้ย้าย หรือ อยากจะให้โครงการช้าไปถึงไหน!!!

จากการคัดค้านอย่างต่อเนื่อง จนสงสัยว่า หน่วยงานมีปัญหาอะไรกับรถไฟความเร็วสูงกันแน่!!!

แต่ไม่เป็นไร ต่อให้กรมศิลป์ฯ ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ แต่ตัวอาคารก็ไม่ได้ไปรื้อย้าย หรือกระทบอะไรกับตัวอาคารอยู่แล้ว เพียงแต่ตัวอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูง คร่อมทับบางส่วนของตัวอาคารสถานีรถไฟอยุธยาไปเท่านั้น!!!

ผมขอร้องเถอะครับ กรมศิลป์ฯ ก็เป็นหน่วยงานภายใต้รัฐบาลไทย ช่วยทำงานคุยกัน เพื่อให้โครงการมันราบรื่นหน่อยเถอะครับ ไม่ใช่มาวางหมากขวางกันไปมา สุดท้าย “ประชาชน” เป็นคนที่เสียประโยชน์จากเรื่องนี้ในทุกมุม!!!

ผมขอฝากรัฐบาลไปช่วยเป็นตัวกลางช่วยคุยให้เรื่องมันจบซักทีเถอะครับ
พรรคเพื่อไทย เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin

ลิงก์ ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับสถานีรถไฟอยุธยา 
สถานีอยุธยา VS กรมศิลป์ฯ ตามลิงก์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1201611603610650/

การทำ HIA ตามที่กรมศิลป์ฯ และ UNESCO ต้องการ ตามลิงก์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1202420353529775/?d=n

การเปรียบเทียบ โครงการอื่นที่ใกล้มรดกโลก จากทั่วโลก
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1286300595141750/?mibextid=BfDkjB

ลิงก์คลิปชี้แจงรายละเอียด สถานีอยุธยา โดยกรมการขนส่งทางราง
https://youtu.be/iiCPwh7vFDM

สรุปรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/949437542161392/?d=n

การพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา อยู่ที่เดิม คนอยุธยาจะได้อะไร???

เปลี่ยน mode การเดินทาง จากรถ สู่เดิน!!! อนาคตยกระดับสู่ ถนนคนเดิน Historical Walk Way เทียบเท่า ญี่ปุ่น!!!
https://www.facebook.com/100067967885448/posts/649456317329959/?mibextid=cr9u03


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top