Friday, 17 May 2024
โตโยต้า

นายใหญ่ ‘โตโยต้า’ ขอโทษลูกค้าชาวไทย กรณีปรับแต่งผลการทดสอบ Yaris ATIV

‘โตโยต้า’ ตั้งโต๊ะแถลงข่าวในไทย ประธานบอร์ดบริษัท-ผู้บริหารระดับสูง ขอให้ลูกค้าชาวไทยเชื่อมั่นในแบรนด์

(8 พ.ค. 66) บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวชี้แจง กรณีความไม่สมบูรณ์ของการเตรียมการทดสอบการชนด้านข้างของรถยนต์ โตโยต้า ยาริส เอทีฟ โดยมีผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมการแถลงข่าว ที่สำนักงานใหญ่ของโตโยต้า ประเทศไทย

นายอากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวภายในงานแถลงข่าวว่า วันนี้ ตนได้เดินทางไปยัง โตโยต้า เกตเวย์ ศูนย์การผลิตและการวิจัยรถยนต์ โตโยต้า ยาริส เอทีฟ เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี และเดินทางไปพบผู้แทนจำหน่าย (ดีลเลอร์)

'โตโยต้า' นำ 'สองแถวไฟฟ้า' ให้ลองใช้ฟรีในเมืองพัทยา ปลุกกระแสพัฒนาเมืองยั่งยืนปราศจากมลภาวะ

'โตโยต้า' เอาด้วย!! นำ 'สองแถวไฟฟ้า' ให้มาทดลองใช้ในพื้นที่เมืองพัทยาจำนวน 12 คัน ในต้นปี 2567 เพื่อพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนปราศจากมลภาวะ โดยเมืองพัทยาไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ไม่นานมานี้ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา พร้อมด้วยคุณสุรภูมิ อุดมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และคุณเรวัฒน์ เชี่ยงฉิน ประธานกรรมการ สหกรณ์เดินรถพัทยา จำกัด ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนปราศจากมลภาวะ (ฉบับที่ 2) ซึ่งมีนายวุฒิศักดิ์ เริ่มกิจการ รองนายกเมืองพัทยา เรือตรีปราโมทย์ ทับทิม ปลัดเมืองพัทยา สมาชิกสภาเมืองพัทยา หัวหน้าส่วนราชการ พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าร่วมสักขีพยาน ณ ห้องประชุมทัพพระยา ศาลาว่าการเมืองพัทยา 

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะถือเป็นวาระสำคัญ ที่จะพัฒนาเมืองท่องเที่ยวของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ตลอดจนเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย ทางพัทยาได้มีแนวทางการส่งเสริมเมืองพัทยา ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ ที่พร้อมผลักดันตามนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนให้เมืองพัทยาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ ตลอดจนการลดใช้จ่าย ด้วยการลดการใช้ทรัพยากรของเมือง และประชาชน 

โดยเน้นการออกแบบการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจ ภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิด การพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบที่ยั่งยืนปราศจากมลภาวะ (Decarbonized Sustainable City) ที่ได้เริ่มโครงการตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา ซึ่งได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเมืองอัจฉริยะต้นแบบให้แก่ประเทศไทย ทั้งในด้านการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้าประเภทต่างๆ มาให้บริการ รวมทั้งรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน ซึ่งเป็นมิติใหม่ทางด้านพลังงาน เข้ามาใช้ในการเดินทาง อีกทั้งการสร้างสถานีต้นแบบเติมไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกของประเทศไทย

ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญของเมืองพัทยา ที่จะได้สานต่อความร่วมมือดังกล่าว ในการนำรถยนต์สองแถวไฟฟ้าเข้ามา ทดลอง ภายใต้โครงการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเมืองพัทยา ทั้งด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมความพร้อมของเมืองพัทยา ให้ไปสู่เมืองอัจฉริยะผ่านความร่วมมือระหว่าง บริษัท โตโยต้า เมืองพัทยา และสหกรณ์เดินรถพัทยา ภายใต้โครงการความร่วมมือ 'โครงการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนปราศจากมลภาวะ' ที่ทุกภาคส่วนร่วมกับขับเคลื่อนพัฒนาเมืองพัทยา ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก และเป็นต้นแบบของการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเดินทางที่ทันสมัย ซึ่งจะนำพาเมืองพัทยาให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการสร้างสมดุลระหว่าง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวไปสู่เมืองอัจฉริยะ และปราศจากมลภาวะต่อไป

‘รถไฮโดรเจน’ อีกทางเลือกแก้ปัญหาน้ำมันแพง เครื่องเงียบ ลดมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อนวัตกรรมยานยนต์ ไม่ได้มีแค่รถน้ำมันเชื้อเพลิง รถไฟฟ้าอีวี แต่ ... รถพลังงานไฮโดรเจน ก็เป็นอีกทางเลือกใหม่ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รถพลังงานไฮโดรเจน คือ รถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยพลังงานไฮโดรเจน โดยรถยนต์ประเภทนี้ ได้มีการริเริ่มผลักดัน เมื่อช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา เพราะว่าเป็นนวัตกรรมยานยนต์ที่เป็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีหลายฝ่ายร่วมมือกันพัฒนา เป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง

ในปีนี้ก็ได้มีข่าวเกี่ยวกับเรื่องของรถพลังงานไฮโดรเจน ออกมาให้เราได้เห็นกัน โดยเฉพาะบริษัทโตโยต้า ที่ได้ทำการพัฒนารถพลังงานไฮโดรเจน โดยได้ตั้งชื่อให้ว่า ‘Mirai Gen 2’ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ทางโตโยต้านั้นได้ต่อยอดเกี่ยวกับการใช้พลังงานจากไฮโดรเจนเข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนรถยนต์เพื่อให้เกิดประโยชน์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด

รถพลังงานไฮโดรเจนนั้น ขับเคลื่อนได้จากเซลล์เชื้อเพลิงที่มีการเติมไฮโดรเจนเข้าไป โดยไฮโดรเจนนี้ก็จะถูกเปลี่ยนมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ และจะปล่อยของเสียออกมาเพียงเฉพาะไอน้ำเท่านั้น อีกทั้งการเติมเชื้อเพลิงในแต่ละครั้งก็ยังใช้เวลาเพียง 3-5 นาที ซึ่งถือว่าค่อนข้างรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์สันดาป นับเป็นเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันได้มากเลยทีเดียว นอกจากนี้การทำงานของเครื่องยนต์ก็ยังเงียบมาก ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงอีกด้วย 

แนวโน้มของราคาน้ำมันนั้นมีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตรงกันข้ามกับราคาของพลังงานไฮโดรเจน เพราะในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีของรถยนต์ไฮโดรเจนแพร่หลายมากขึ้น ก็จะมีผู้ผลิตพลังงานหลายรายมากขึ้น ราคาเชื้อเพลิงพลังงานไฮโดรเจน ก็ยิ่งจะถูกลงเรื่อย ๆ เนื่องจากพลังงานไฮโดรเจนสามารถผลิตได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมด ในปัจจุบันนั้นประเทศไทยก็ได้มีสถานที่ในการเติมเชื้อเพลิงรถไฮโดรเจนแห่งแรกในประเทศไทยแล้ว โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรีระยะเวลาในการเติมเชื้อเพลิงของรถไฮโดรเจนนั้นก็จะใช้เวลาในการเติมเพียง 3-5 นาทีเท่านั้น ก็สามารถขับไปต่อได้แล้ว

ในอนาคตอันใกล้นี้ เราก็คงจะได้เห็นรถพลังงานไฮโดรเจน วิ่งกันเต็มท้องถนน การศึกษาหาข้อมูลไว้ก่อนล่วงหน้า ก็จะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายยิ่งขึ้นเมื่อโอกาสมาถึง

'โตโยต้า' สั่งระงับการผลิตรถยนต์ 12 โรงงาน ในญี่ปุ่น หลังพบระบบขัดข้อง ทำให้ยังไม่สามารถสั่งซื้อชิ้นส่วนได้

(29 ส.ค.66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า โตโยต้า มอเตอร์ (Toyota Motor) ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น เปิดเผยการระงับการดำเนินงานในโรงงานประกอบยานยนต์ 12 แห่ง จากทั้งหมด 14 แห่งในญี่ปุ่นเมื่อเช้าวันอังคารนี้ เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้องซึ่งทำให้ไม่สามารถสั่งซื้อชิ้นส่วนยานยนต์ได้ ส่วนเวลาที่จะกลับมาดำเนินการอีกครั้งยังไม่ชัดเจน

โรงงานทั้งหมดใน 25 สายการผลิตได้รับผลกระทบ ยกเว้นโรงงานมิยาตะในจังหวัดฟุกุโอกะ และโรงงานของไดฮัทสุ มอเตอร์ จำกัด (Daihatsu Motor Co.) บริษัทรถยนต์ในเครือโตโยต้า ในจังหวัดเกียวโต

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 โตโยต้าระงับการปฏิบัติงานที่โรงงานทุกแห่งในญี่ปุ่นหนึ่งวัน หลังจากที่บริษัท โคจิมะ อินดัสทรีส์ คอร์ป. (Kojima Industries Corp.) ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ในประเทศของบริษัทฯ ประสบปัญหาระบบขัดข้อง ส่งผลกระทบต่อสายการผลิตในญี่ปุ่นของโตโยต้าทั้ง 28 สาย ในโรงงาน 14 แห่ง และกระทบผลผลิตราว 13,000 คัน

โตโยต้า ซุ่มพัฒนาแบตฯ อีวีใหม่วิ่งไกล 1,000 กม. คาดเริ่มใช้กับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ในปี 2027

โตโยต้า ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแบตเตอรี่ขั้นสูงใหม่ที่จะจ่ายให้กับรถยนต์ Next-Gen EV โดยแบตเตอรี่ในเจเนอเรชั่นถัดไปจะมี 4 ประเภท โดย 3 ประเภทมีเทคโนโลยีแบตเตอรี่อิเล็กโทรไลต์เหลวแบบใหม่และอีก 1 ประเภทเป็นแบตเตอรี่โซลิดสเตต 

รายละเอียดแบตเตอรี่ทั้ง 4 ประเภทของโตโยต้า

📌แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนประสิทธิภาพสูงที่จะมาในปี 2026 จะสามารถวิ่งได้ 800 กม./ชาร์จ 

โดยแบตเตอรี่สมรรถนะสูงแบบลิเธียมไอออนมีแผนจะเปิดตัวในรถ BEV Next-Gen ของโตโยต้าตั้งแต่ปี 2026 ทำให้ระยะการวิ่งกว่า 800 กม./ชาร์จ โตโยต้าอ้างว่า แบตเตอรี่ใหม่นี้จะช่วยลดต้นทุนลง 20% เมื่อเทียบกับ Toyota bZ4X ในปัจจุบัน และเวลาในการชาร์จที่รวดเร็ว ชาร์จ 10 ถึง 80% ในเวลาต่ำกว่า 20 นาที

📌แบตเตอรี่ LFP ที่ให้ระยะทางมากกว่า bZ4X ถึง 20% 

สำหรับแบตเตอรี่ LFP จะเป็นตัวเลือกที่ต้นทุนต่ำกว่า สร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีไบโพลาร์ที่โตโยต้าเป็นผู้บุกเบิกสำหรับแบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (NiMH) โดยคาดว่าแบตเตอรี่จะออกสู่ตลาดในปี 2026 – 2027 และเทคโนโลยีแบตเตอรี่ใหม่จะให้ระยะการขับขี่เพิ่มขึ้น 20% และลดต้นทุนลง 40 % เมื่อเทียบกับ Toyota bZ4X และจะมีเวลาในการชาร์จ 10 ถึง 80 % ใน 30 นาทีหรือน้อยกว่า

📌แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนประสิทธิภาพสูงระยะทาง 1,000 กม./ชาร์จ ในปี 2027 – 2028 

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนประสิทธิภาพสูง ใช้เคมีลิเธียมไอออนร่วมกับแคโทดนิกเกิลสูงเพื่อทำให้ EV วิ่งได้ 1,000 กม./ชาร์จ เมื่อรวมกับการออกแบบ Next-Gen EV ที่จะมี Aerodynamic ที่ดีขึ้นและน้ำหนักที่ลดลง และเวลาในการชาร์จ DC 10 ถึง 80% ในเวลาต่ำกว่า 20 นาที

📌แบตเตอรี่โซลิดสเตทที่มีระยะทาง 1,000 กม./ชาร์จ ในปี 2027 – 2028 

โตโยต้าอ้างว่าลิเธียมไอออนโซลิดสเตต มีอิเล็กโทรไลต์แข็งที่ช่วยให้ไอออนเคลื่อนที่เร็วขึ้น และทนทานต่อแรงดันไฟฟ้าและอุณหภูมิสูงได้มากขึ้น แบตเตอรี่เหล่านี้เหมาะสำหรับการชาร์จ การคายประจุ และการจ่ายพลังงานอย่างรวดเร็วในขนาดที่เล็กลง แต่มีข้อเสียคืออายุการใช้งานของแบตจะสั้นลง แต่โตโยต้ายังเชื่อว่าจะสามารถเอาชนะข้อจำกัดนี้ได้ภายในปี 2027

ตอนนี้ทางฝั่งจีนไม่ว่าจะเป็น CATL หรือ BYD ต่างก็ทยอยปล่อยแบตเตอรี่เทคโนโลยีใหม่มาอยู่เรื่อย ๆ ทั้งในแง่ระยะทางที่เพิ่มขึ้น ระยะเวลาชาร์จที่ลดลง ก็ต้องมาดูกันแล้วหล่ะครับว่า Toyota จะทำตาม Roadmap ได้ไหมในปี 2026 แล้วมันจะช้าไปไหม จะแซงจีนได้หรือเปล่า อันนี้ก็น่าคิด🤩🤩

Toyota ประกาศศักดา!! ผลิตรถยนต์ครบ 300 ล้านคันทั่วโลก ตอกย้ำความยิ่งใหญ่ 9 ทศวรรษ ชู Corolla เรือธงเบอร์หนึ่ง

(7 พ.ย. 66) จากเว็บไซต์ 'Headlightmag' ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จของแบรนด์ Toyota ที่บัดนี้มียอดผลิตรวมตั้งแต่ปี 1935 แล้วถึง 300 ล้านคัน ว่า...

จุดเริ่มต้นของการผลิตรถยนต์ Toyota ต้องย้อนกลับไปในปี 1935 เมื่อครั้ง Toyota ได้ผลิตรถกระบะคันแรกในชื่อรุ่น G1 ซึ่งถูกประกอบขึ้นโดยส่วนงาน automotive ที่ยังคงเป็นแผนกที่อยู่ภายใต้บริษัทแม่ Toyoda Automatic Loom Works, Ltd ซึ่งเป็นชื่อบริษัทที่ Sakichi Toyoda ตั้งขึ้นเมื่อปี 1926 เพื่อทำธุรกิจเครื่องทอผ้าอัตโนมัติ ที่มักจะเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมในครัวเรือนในสมัยนั้น และเมื่อมีกำลังการผลิตและความต้องการที่เพียงพอและสอดรับกัน ทำให้ Toyota ตัดสินใจตั้งบริษัทผลิตรถยนต์แยกต่างหากในชื่อว่า Toyota Motor Corporation เมื่อปี 1937 โดยที่ยังคงดำเนินธุรกิจเครื่องทอผ้าอัตโนมัติภายใต้ชื่อ Toyoda Automatic Loom Works จวบจนถึงปี 2023 ในปัจจุบัน

จากวันนั้น ถึงวันนี้ จึงเป็นที่มาของการประกาศยอดผลิตรถยนต์ถึงคันที่ 300 ล้าน ในประวัติศาสตร์ของแบรนด์สามห่วง โดยตลอดระยะเวลา 88 ปีที่ผ่านมา Toyota ได้สร้างแนวคิดด้านการผลิตไว้จำนวนมาก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ โดยได้นับจำนวนรถยนต์ที่ออกจากสายพานการผลิตคันที่ 300 ล้าน นับตั้งแต่สิ้นเดือนกันยายน 2023

สำหรับการแยกภูมิภาคในการผลิตรถยนต์ของแบรนด์ตลอดระยะเวลาดังกล่าว จะพบว่า Toyota แยกการผลิตรถยนต์จำนวน 180 ล้านคัน ให้อยู่ในประเทศญี่ปุ่น ขณะที่อีก 120 ล้านคันที่เหลือถูกผลิตขึ้นในประเทศอื่นๆ นอกประเทศญี่ปุ่น โดยรถยนต์รุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดจนสร้างยอดการผลิตเบอร์หนึ่ง จะเป็นรุ่นใดไปไม่ได้นอกจาก Corolla ด้วยจำนวนการผลิตกว่า 53.39 ล้านคัน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 6 ของยอดขายทั้งหมด โดยนับตั้งแต่วางจำหน่ายรุ่นแรกในปี 1966 เป็นต้นมา

สำหรับผลประกอบการตลอดปี 2022 ทาง Toyota ได้ส่งมอบรถยนต์จำนวนกว่า 10.5 ล้านคัน ขึ้นแท่นผู้จำหน่ายรถยนต์เบอร์ 1 ของโลก พร้อมด้วยรางวัลรถยนต์ยอดนิยมสูงสุดในโลกจากรุ่น RAV4 อ้างอิงจากสถิติของสถาบัน JATO Dynamics และยังได้ขยายไลน์อัปโมเดลรถที่วางจำหน่ายให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ Crown ทั้ง 4 รูปแบบตัวถัง และ Century SUV

ส่วนรุ่นที่เตรียมจะเปิดตัวในอนาคต จะประกอบไปด้วย รถกระบะขุมพลังไฟฟ้าล้วน, รถ SUV และรถสปอร์ตที่ได้ทยอยเปิดตัวในรูปแบบรถต้นแบบหลากรุ่นในงานมหกรรมยานยนต์ 2023 Japan Mobility Show ที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อย

‘รมว.ปุ้ย’ สั่งการดีพร้อม ดึงโตโยต้า นำ ‘คาราคูริ ไคเซน’ มาประยุกต์ใช้ เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรไทย ไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่

(7 เม.ย.67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เดินหน้าบูรณาการความร่วมมือ (DIPROM Connection) ผนึกกำลังกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve)สู่ชุมชน เพื่อยกระดับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่ธุรกิจชุมชนครอบคลุมทุกมิติ ดึงกลไกคาราคูริ ไคเซน (Karakuri Kaizen) เพิ่มประสิทธิภาพ
กระบวนการผลิตและลดต้นทุน หวังเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชนผ่านแนวคิดชุมชนเปลี่ยน พร้อมชูต้นแบบเครื่องทุ่นแรงให้กลุ่มผู้สูงอายุ

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทองให้แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด จ.ชุมพร ว่า ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้สามารถผลิตและส่งออกอาหารได้หลายประเภท อีกทั้ง ยังมีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและ อาหารแปรรูปด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในระบบการผลิตภาคเกษตรเพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อกระบวนการแปรรูปในภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น การพัฒนาภาคเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมยุคใหม่ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิต หรือแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ประกอบกับรัฐบาลเร่งหาแนวการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรผ่านนโยบายเร่งด่วนต่าง ๆ เชิงพื้นที่ รวมถึงการขับเคลื่อนภาคเกษตรไทยไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่

ที่เติมเต็มองค์ความรู้และทักษะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรให้มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และยกระดับศักยภาพการแข่งขันภาคเกษตรไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะการเสริมศักยภาพภาคเกษตรไทยสู่เกษตรอุตสาหกรรมด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่แต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยสนับสนุนองค์ความรู้สมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกมิติควบคู่ทักษะที่จำเป็นด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การบริหารจัดการธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และ มีมูลค่าเพิ่ม การพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการตลาด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เร่งเดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างต่อเนื่อง

นายภาสกร ชัยรัตน์ กล่าวว่า จากข้อสั่งการของ รมว.อุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อมได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชุมพร และได้รับทราบข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด จ.ชุมพร ผู้ผลิตและส่งออกกล้วยหอมทองปลอดสารพิษไปยังประเทศญี่ปุ่น ว่าปัจจุบันได้ประสบปัญหาการลำเลียงกล้วย เนื่องจากทางกลุ่มมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และการลำเลียงกล้วยมีลักษณะที่ใช้เป็นรางลาก ซึ่งต้องใช้แรงจำนวนมากในการเคลื่อนย้าย ส่งผลให้กระบวนการผลิตเกิดความล่าช้าและไม่เป็นไปตามกำลังการผลิตที่ควรจะเป็น จึงมีความต้องการขอรับการสนับสนุนด้านกระบวนการผลิตกล้วยหอมทองเพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น รวมถึงระบบการผลิต ลำเลียง และคัดแยกกล้วยหอมทองควบคู่กับการใช้แรงงานคนอีกด้วย

ดีพร้อม จึงเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ด้วยการมุ่งเน้นการขยายเครือข่ายความร่วมมือ (DIPROM Connection) และบูรณาการความร่วมมือกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพรเพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัดผ่านโครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนากระบวนการผลิตกล้วยหอมทอง โดยการนำหลักการคาราคูริ (Karakuri) ซึ่งเป็นระบบกลไกอัตโนมัติที่ใช้หลักกลศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ หรือกระบวนการผลิตกล้วยหอมทองของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด อันจะช่วยผ่อนแรงการทำงานได้เป็นอย่างดี

นายภาสกร กล่าวต่อว่า ดีพร้อม ได้ร่วมมือกับ บริษัท โตโยต้าฯ ในการพัฒนาระบบลำเลียงกล้วยผ่านการใช้กลไกคาราคูริ ไคเซน (Karakuri Kaizen) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การลำเลียง และทุ่นแรงขนย้ายกล้วย ขณะเดียวกัน ยังได้ร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาต้นแบบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง ซึ่งใช้หลักการทำงานของคาราคุริ (Karakuri) ในการลำเลียงกล้วยจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้แรงในการลากทำให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตกล้วยหอมทองจากเดิมใช้ระยะเวลาการลำเลียงกล้วยหอมทอง 400 เครือ ต่อ 8 ชั่วโมง มาเป็นลำเลียงได้ 400 เครือ ต่อ 4 ชั่วโมง แทน รวมถึงสามารถลดเวลา ช่วยในการผ่อนแรงสำหรับสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุ และเป็นไปตามมาตรฐานเพื่อการส่งออก ช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตลงได้กว่าร้อยละ 30 – 50 ต่อเดือน นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในหลักสูตร “คาราคุริและการประยุกต์ใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา” เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ดีพร้อมได้วางเป้าหมายขยายผลการบูรณาการความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยังผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนทั่วประเทศ รวมทั้งเชื่อมโยงและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ในรูปแบบพี่ช่วยน้อง หรือ Big Brother เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในการเปลี่ยนชุมชนด้วยเครื่องมือ กระบวนการ หรือเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับระดับศักยภาพของชุมชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริม และพัฒนาทักษะการประกอบการในทุก ๆ มิติ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะสมเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เกษตรอุตสาหกรรม อันจะเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดและขยายไปสู่ตลาดสากล รวมถึงการสร้างรายได้ให้ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 40 ล้านบาท นายภาสกร กล่าว

‘โตโยต้า’ เรียกคืนรถรุ่น Prius กว่า 1.3 แสนคัน ในญี่ปุ่น หลังพบความเสี่ยง ‘ประตู’ อาจเปิดอ้าระหว่างขับขี่

เมื่อวานนี้ (18 เม.ย. 67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป เปิดเผยการเรียกคืนรถยนต์ไฮบริด รุ่นพรีอุส (Prius) ในญี่ปุ่น จำนวน 135,305 คัน เนื่องจากพบความเสี่ยงว่าประตูอาจเปิดอ้าออกระหว่างขับขี่

ทั้งนี้ รายงานการเรียกคืนรถยนต์ที่โตโยต้ายื่นต่อกระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่น เมื่อวันพุธ (17 เม.ย.) ระบุว่า ปัจจุบันมีการร้องเรียน 3 กรณีที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของมือจับประตูด้านหลัง แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันพบการเกิดอุบัติเหตุ

โดยโตโยต้า เปิดเผยว่า รถรุ่นที่พบปัญหาคือรุ่นที่ผลิตระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2022 จนถึงเดือนเมษายน 2024 พร้อมเสริมว่า บริษัทจะระงับการผลิตและหยุดรับคำสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายจนกว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้

ด้านกระทรวงฯ กล่าวว่า ระดับการกันน้ำที่ไม่เพียงพออาจส่งผลให้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของประตูรถเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้หากโดนน้ำ ซึ่งอาจทำให้ประตูเปิดออกในขณะที่รถกำลังขับเคลื่อนอยู่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top