Monday, 29 April 2024
โค้งสุดท้าย

การเมืองนครศรีฯ ใครใจถึงกว่า จัดเต็มคาราเบล คนนั้นเข้าเส้นชัย

กล่าวถึงการเมืองในนครศรีธรรมราช เมื่อยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง ยิ่งน่าติดตาม และมีเรื่องน่าจับตามองกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 

กล่าวได้ว่า การเมืองในนครศรีธรรมราช ยังคงเป็นการต่อสู้กันของ 4 พรรคการเมืองใหญ่ตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ และภูมิใจไทย แต่ในช่วงท้ายๆ ของการหาเสียง เมื่อบวกรวมกับกระแสพรรคก้าวไกล จึงมีคนจับตามองไปยังผู้สมัครพรรคก้าวไกลในบางเขตเลือกตั้งตามผลโพลล์ของบางสำนัก เช่น เขต 1 เริ่มปรากฏชื่อของ 'แมน-ปกรณ์ อารีกุล' คนรุ่นใหม่ที่ขยันลงพื้นที่ เมื่อบวกรวมกับกระแสพรรคจึงดีดตัวขึ้นมาอยู่ในระดับคู่ชิงอีกคนหนึ่ง

จากการเฝ้าติดตามการเมืองในนครศรีธรรมราชมาอย่างใกล้ชิด ยังเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์เจ้าถิ่นเดิมน่าจะคว้าชัยได้ในระดับ 5+ ซึ่งหมายถึง 5 คนน่าจะได้ชัวร์ ๆ และอาจจะได้เพิ่มในบางเขตเลือกตั้ง 1-2 เขต

ส่วนพรรคพลังประชารัฐ ต้องยอมรับความจริงว่า 'อยู่ในช่วงขาลง' จากเดิมที่เคยมี ส.ส.อยู่ 4 คน คือ ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ, สัญหพจน์ สุขศรีเมือง, สายัณห์ ยุติธรรม และอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ แต่คราวนี้สายัณห์ ไปอยู่กับลุงตู่ ที่รวมไทยสร้างชาติ เขตแห่งความหวังจึงเหลืออยู่ที่เขต 1 ดร.รงค์ แต่ต้องสู้กันหนักกับ 'ราชิต สุดพุ่ม' จากพรรคประชาธิปัตย์ แถมยังมี 'จรัญ ขุนอินทร์' จากพรรคภูมิใจไทย มาคอยตอดคะแนนไปด้วย ดร.จึงอยู่ในฐานะน่าหวาดเสียว แม้จะมีสองโกมาช่วย ก็ยังหนักกับเครือข่ายของราชิต แถมยังมี 'สมนึก เกตุชาติ' อดีตนายกเทศมนตรีนครศรีธรรมราช มาช่วยอีกแรง ทำให้ ดร.รงค์ เบาใจไม่ได้เลย

แต่น่าแปลก 'สัญหพจน์ สุขศรีเมือง' อดีต ส.ส.แท้ ๆ กลับไม่ค่อยมีกระแส โพลทุกสำนักไม่มีชื่อสัญหพจน์อยู่ในลำดับที่จะได้เลย เขตนี้กลับมีชื่อของ 'โก้เท่ห์ -พิทักษ์เดช เดชเดโช' คนใหม่จากประชาธิปัตย์ ทายาทของ 'วิฑูรย์ เดชเดโช' อดีตนายกฯ อบจ.นครศรีธรรมราช และเป็นลูกชายของ 'กนกพร เดชเดโช' นายกฯ อบจ.นครศรีธรรมราช คนปัจจุบัน ยืนโดดเด่นกว่า โดยมี 'มานะ ยวงทอง' จากภูมิใจไทย และ 'นนทิวรรตน์ นนท์ภักดิ์' จากพรรครวมไทยสร้างชาติขึ้นมาเป็นคู่ชิง

ส่วนอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ อดีต ส.ส.พลังประชารัฐ สองปี เพราะมาจากการเลือกตั้งซ่อม ยังทำงานได้ไม่เต็ม 100 เจอคู่แข่งเดิม 'พงศ์สิน เสนพงศ์' ที่ย้ายจากประชาธิปัตย์ไปอยู่รวมไทยสร้างชาติ แถมยังมีเจ้าถิ่น 'ณัฐกิตติ์ หนูรอด' จากพรรคภูมิใจไทย มาร่วมชิงด้วย อาญาสิทธิ์จึงอยู่ในฐานะเข็นครกขึ้นเขา

กล่าวสำหรับพลังประชารัฐ ควรให้น้ำหนักกับ 'สุนทร รักษ์รงค์' เขต 8 ที่เขามาฐานอยู่กับชาวสวนยาง ชาวสวนปาล์มไม่น้อย แต่เขาต้องไปสู้กับทายาทของ 'ชิณวรณ์ บุณยะเกียรติ์' น้องบีท-ปุณณสิริ บุณยเกียรติ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ สุนทรก็จะนิ่งนอนใจไม่ได้เหมือนกัน เพราะเขตนี้ยังมี 'มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล' จากพรรคภูมิใจไทย เดินคู่กันมาอีกคนที่ในทางการเมืองไม่ควรมองห้ามกับการเป็น สจ.มาก่อน และเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเธอลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.กับคะแนน 18,000 คะแนน ก็ถือว่าไม่ธรรมดา

สำหรับประชาธิปัตย์ 5 ที่นั่งเป็นตัวตั้ง คือ ชัยชนะ เดชเดโช แต่ให้ระวัง สจ.สนั่น พิบูลย์ ที่คราวนี้สู้จริงในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งเขามีฐานที่เหนียวแน่อยู่จุฬาภรณ์ ในฐานะ สจ. และยังมี สจ.ยา จากลานสกา มาช่วยอีกแรง ชัยชนะก็จะชะล้าใจไม่ได้เช่นกัน ชิณวรณ์ บุณยเกียรติ์ ที่ยังลงเขตเหมือนเดิม โดยลงเขต 7 ที่เชื่อกันว่า น่าจะสอบผ่าน แต่อย่าลืมว่า เลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ชิณวรณ์ก็ชนะไม่มาก และคราวนี้ พรรคภูมิใจไทย ไปได้ 'ษฐา ขาวขำ' อดีตนายอำเภอ มาลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็ทำให้ชิณวรณ์หวั่นไหวได้เหมือนกัน ยิ่งโค้งสุดท้าย ญาติ ๆ จากพัทลุง กระโดดเข้ามาช่วย ส่งท่อน้ำเลี้ยงเข้าใน 'นายอำเภอษฐา' ก็มีกำลังใจขึ้น ยิ่งมีผู้มากบารมีจากปากพนังขนญาติมาช่วยอีกแรง สถานการณ์นี้จึงไม่ควรมองผ่าน 'ษฐา' จากภูมิใจไทย

นอกจากนี้ก็จะมี 'ประกอบ รัตนพันธ์' ที่มีคู่แข่งทั้งจากภูมิใจไทย รวมไทยสร้างชาติ และพลังประชาธิปัตย์ อีกคนคือ 'โก้เท่ห์ -พิทักษ์เดช' นี้แหละ
 

ศลต.ตร.บังคับใช้กฎหมายเข้ม โค้งสุดท้าย ‘เลือกตั้ง66’ เน้นย้ำ! ซื้อสิทธิขายเสียงมีความผิด จับกุมแล้ว 3 ราย แนะนำประชาชน 12 ข้อ ต้องรู้! ห้ามทำ ผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง

วันนี้ ( 13 พฤษภาคม 2566 ) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( ตร. ) พล.ต.ท.นิธิธร จินตกานนท์ ผู้บัญชาการ ประจำสำนักงาน ผบ.ตร. ในฐานะโฆษก ศูนย์อำนวยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยการจัดการเลือกตั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศลต.ตร.)  เปิดเผยว่า พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( ผบ.ตร. ) พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศลต.ตร. มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน สั่งการให้ ศลต.ตร. เร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่จะออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษาคม 2566 มีความเข้าใจในกฎหมายเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และเพื่อเป็นการสนับสนุนภารกิจการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป พ.ศ.2566 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
โฆษก ศลต.ตร. กล่าวว่า ขอแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงการกระทำที่ต้องงดเว้น ห้ามกระทำ ตามกฎหมายเลือกตั้ง “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561” ที่ประชาชนพึงหลีกเลี่ยง ซึ่งมักพบการกระทำความผิด ดังนี้
 
1. การซื้อสิทธิขายเสียง การกระทำการจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้ผู้สมัคร หรือ “การซื้อขายเสียง” เข้าข่ายผิดกฎหมาย ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย  โดยผู้ซื้อเสียง มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี  ส่วนผู้ขายเสียง เรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อลงคะแนนหรืองดเว้นไม่ลงคะแนน ฝ่าฝืนมีโทษ จำคุก 1-5 ปี ปรับ 20,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
 
2. การพนันขันต่อผลการเลือกตั้ง โดยผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุก 1 ถึง 5 ปี ปรับ 20,000 ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
 
3. การจัดยานพาหนะขนคนไปเลือกตั้ง หากทำเพื่อจูงใจหรือควบคุมให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปลงคะแนนเลือกหรือลงคะแนนไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด มีความผิด มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี
 
4. การกระทำใด เป็นการขัดขวาง หรือหน่วงเหนี่ยว เพื่อมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิได้ มีความผิด ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 – 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกำหนด 10 ปี
 
5. การรื้อ ย้าย ปลด ทำลาย หรือเก็บป้ายหาเสียง ต้องทำโดยเจ้าของ หรือผู้รับมอบอำนาจเท่านั้น ผู้อื่นจะกระทำไม่ได้ ฝ่าฝืนมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีโทษทั้งจำทั้งปรับ
 
ขณะที่ ศลต.ตร.เน้นย้ำ  สิ่งที่ห้ามทำ หลังเวลา 18.00 น.ของวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป ซึ่งจะเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง
1. ห้ามจำหน่าย จ่ายแจก  หรือจัดเลี้ยงสุราในเขตเลือกตั้ง ซึ่งครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 จนถึงเวลา 18.00 น. ของวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ผู้ที่ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
2. ห้ามมิให้มีการโฆษณาหาเสียงให้พรรคการเมือง หรือผู้สมัคร ส.ส. ทุกรูปแบบ รวมถึงให้งดเว้นการสวมใส่เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ฯลฯ ที่มีสัญลักษณ์โลโก้พรรคการเมือง หมายเลขพรรคการเมือง หรือผู้สมัคร (โดยเฉพาะเมื่อเข้าคูหา หรือบริเวณใกล้เคียงหน่วยเลือกตั้ง ) และให้งดเว้นการโพสต์ข้อความ อัปโหลดภาพ หรือคลิปที่มีเนื้อหาลักษณะหาเสียงเลือกตั้ง ลงบนโซเชียลมีเดีย ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป ฝืนก็จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top