Saturday, 18 May 2024
โกงออนไลน์

ตร. เตือน รวม 5 มุกเด็ด SMS มิจฉาชีพ รู้ไว้ ปลอดภัยกว่า

วันที่ 3 ส.ค. 2565 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น
ปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ยังคงมีกลุ่มมิจฉาชีพใช้การส่งข้อความสั้น หรือ SMS ในการหลอกลวงเหยื่อให้กดลิงก์หลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล หลอกเอาทรัพย์สินจากเหยื่อ หลอกให้กู้เงินนอกระบบ  หรือหลอกให้เล่นพนันออนไลน์ เป็นจำนวนมาก 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน จึงขอประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ทราบถึงกลโกงและวิธีการของกลุ่ม SMS หลอกลวง เพื่อให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทัน และสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของคนร้าย โดยจากการตรวจสอบพบว่าแผนประทุษกรรมในการหลอกลวงผ่าน SMS มีดังนี้

‘รัฐบาล’ เดินหน้าปราบมิจฉาชีพฉ้อโกงออนไลน์ สั่ง ‘ดีอีเอส’ ประสานทุกฝ่ายดำเนินคดีผู้กระทำผิด

รัฐบาลเอาจริงปราบฉ้อโกงออนไลน์ มอบดีอีเอสประสานดีเอสไอ สตช. แบงก์ชาติ เร่งแก้ไข พร้อมติดตามการดำเนินคดีผู้กระทำผิด รวบรวมผลรายงานนายกรัฐมนตรีใน 30 วัน พร้อมหนุนป้องกันเยาวชนจากภัยออนไลน์

(29 ต.ค. 65) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาการฉ้อโกงและหลอกลวงประชาชนผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของการเงินนอกระบบ เช่น แชร์ลูกโซ่ การเล่นแชร์ และการขายตรง การพนันออนไลน์ รวมทั้งการหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์ โดยคนร้ายมักปรับรูปแบบและวิธีฉ้อโกงและหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อโดยมิรู้เท่าทัน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนสูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจกับปัญหาที่ประชาชนยังคงได้รับความเดือดร้อน 

โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้กำชับหน่วยงานเกี่ยวข้องต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหา ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิด และหากเป็นกรณีมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องในขบวนการทำผิดนั้นจะต้องลงโทษเด็ดขาด

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า เมื่อไม่นานมานี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังได้มีการหารือถึงปัญหาดังกล่าวและได้มีมติให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอความร่วมมือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการเร่งรัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เกิดเป็นรูปธรรม และให้เร่งติดตามการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดให้แล้วเสร็จโดยเร็วด้วย 

และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรวบรวมผลการดำเนินการและรายงานต่อนายกรัฐมนตรีภายใน 30 วันโดยภายหลัง ครม. มีมติมอบหมายเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 65 นายชัยวุฒิ ธนาคมนุสรณ์ รมว.ดีอีเอส ได้เชิญหน่วยงานเกี่ยวข้อง อาทิ ดีเอสไอ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ สตช. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางเร่งรัดและแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์อย่างเร่งด่วน

‘ชัยวุฒิ’ เผย รบ.เล็งออก พรก.สกัดบัญชีม้า ช่วยอายัดเงินได้เร็วขึ้น หากพบการโอนผิดปกติ

รัฐบาล จ่อ ออกพรก.แก้ปัญหาฉ้อโกงออนไลน์ ตัดช่องทางเปิดบัญชีม้า-อายัดเงิน ให้ได้รวดเร็ว เตรียมชงเข้าครม. สัปดาห์หน้า

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  แถลงผลการประชุมการแก้ไขปัญหาฉ้อโกงออนไลน์ ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ว่า ปัญหาฉ้อโกงออนไลน์นั้นมีหลายประเภท ทั้งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลงทุนหลอกซื้อของ รวมถึงการพนันออนไลน์ บัญชีม้า ซึ่งทำให้ประชาชนเดือดร้อนกันมาก ซึ่งรัฐบาล โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งให้ทุกหน่วยงานเร่งแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ในที่ประชุมวันเดียวกันนี้ มีการประชุมโดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาหารือกัน 

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า สำหรับเรื่องบัญชีม้านั้นเราต้องหยุดให้ได้ หากพบพฤติกรรมการโอนเงินที่ผิดปกติ ก็ต้องปิดและบล็อกให้ได้ รวมถึงต้องอายัดบัญชีให้ได้รวดเร็ว ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าจะต้องมีการแก้กฎหมายโดยจะออกเป็นพระราชกำหนด เพื่อความรวดเร็ว ซึ่งจะสามารถเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ภายในสัปดาห์หน้า 

ทั้งนี้ต้องสรุปรายละเอียดทั้งหมดเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีก่อนที่จะนำเข้าที่ประชุมครม. โดยจะมีการเขียนกฎหมายให้ชัดเจนว่า การรับจ้างเปิดบัญชีม้าทำไม่ได้ ถือว่ามีความผิดและต้องมีบทลงโทษโดย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.)จะเข้ามาดูในเรื่องนี้โดย เพื่อตัดกระบวนการบัญชีมาให้ได้ เพราะถ้าไม่มีบัญชีม้าคนร้ายก็จะไม่มีบัญชีที่จะใช้โอนเงิน ประชาชนก็จะไม่ถูกหลอก 

นอกจากนี้ที่ประชุมมีการพูดถึง ความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาทำงานให้มากยิ่งขึ้น เพราะมีข่าวดีจำนวนมากโดย สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานว่า มีคดีแจ้งความเรื่องฉ้อโกงออนไลน์ถึง 1 แสนกว่าคดี มีมูลค่าความเสียหายกว่า 2 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้จะมีการดูแลเรื่องการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้กับประชาชนเพื่อไม่ให้ถูกหลอกลวงได้ง่าย ซึ่งรัฐบาลจะรับไปดูแล แจ้งเตือนผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น อาจจะใช้แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง เป็นช่องทางในการให้ข้อมูล ขณะเดียวกันธนาคารทุกแห่งก็ต้องไปปรับปรุงระบบโมบายแบงก์กิ้ง ให้มีการแจ้งเตือนก่อนโอนเงิน ตรวจสอบการโอนเงินผิดปกติ หรือการถูกรีโมทแอพพลิเคชั่นเข้ามาในเครื่องมือถือของเรา เพื่อดูดข้อมูลหรือดูดเงินเราไป ซึ่งตรงนี้ธนาคารจะต้องไปปรับปรุงระบบให้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นประชาชนจะขาดความเชื่อมั่นและไม่กล้าใช้ระบบของธนาคาร ดังนั้นต้องมีระบบป้องกันที่ดี

สำหรับประเด็น การนำซิมมือถือไปใช้ กันในหลายรูปแบบ เช่น บัญชีม้านำไปใช้เพราะยืนยันตัวตนไม่ได้ นั้น ที่ผ่านมามีการนำซิมไปขายต่อกันเป็นพัน ๆ เบอร์ จนเป็นช่องทางนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง จึงมีการหารือให้กสทช. เข้ามาดูเรื่องนี้ โดยเฉพาะการควบคุมซิมที่ใช้ต่อคน ต้องไม่เกิน 5 ซิม

พลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุว่าการปราบปรามบัญชีม้าสามารถทำได้โดยกฎหมายปกติฐานรวมกันฉ้อโกงประชาชน เพียงแต่กฎหมายบางอย่างยังไม่ครอบคลุมทุกอย่าง โดยที่ประชุมเสนอให้เป็นพระราชกำหนด เพื่อความรวดเร็วและให้เสร็จทันรัฐบาลนี้ พร้อมยืนยันว่าขณะนี้ทุกหน่วยร่วมมือกันอย่างเต็มที่ แต่การทำงานเป็นไปได้ยากเนื่องจากตัวการใหญ่อยู่ที่ต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยตนเชื่อว่าจากการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายอย่างใกล้ชิด รวมถึงการที่จะออก พรก. จะสามารถทำเรื่องนี้คลี่คลายได้ 

นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ กสทช. ระบุว่าต้องเข้มงวดกับคนที่ลงทะเบียนใช้ซิมการ์ดเป็นจำนวนมาก และต้องมาชี้แจงว่านำซิมการ์ดไปใช้ทำอะไรบ้าง และจะส่งข้อมูลให้ สตช. แต่จะไปบังคับว่า 1 คนสามารถมีซิมได้เพียง 5 ซิม ไม่ได้ เพราะเป็นการลิดรอนสิทธิประชาชน  

ส่วนกรณีการส่งเอสเอ็มเอสหลอกลวงประชาชนนั้น เรื่องนี้ได้ให้โอเปอเรเตอร์ ของผู้ประกอบการต่างๆที่ดำเนินการเรื่องเอสเอ็มเอสต่างๆเป็นฝ่ายตรวจสอบ โดยเฉพาะหากจะมีคนมาจดขอส่งเอสเอ็มเอสให้ประชาชนรายใหม่ ต้องมาเช็คชื่อกับ กสทช. ก่อนว่าติดแบล็กลิสต์หรือไม่ ก่อนที่จะเข้าไปประกอบการ  ทั้งนี้ยอมรับว่าจากการตรวจสอบพบว่ามีเอสเอ็มเอสหลอกลวงลดลงไปมากกว่า 7 หมื่นรายการ หลังมีมาตรการออกมา
 

ทิ้งทวนก่อนเกษียณ ผบ เด่น นำทีมรวบคอลเซนเตอร์อ้างเป็นพนักงานธนาคาร เสียหายหลักล้าน

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ประสานงาน พล.ต.อ.ซอ เทศ ผบ.ตร.กัมพูชา  นำเจ้าหน้าที่ตำรวจชุด PCT5 ผนึกกำลังตำรวจกัมพูชา ตามรวบพนักงานคอลเซนเตอร์คนไทย 3 ราย คาตึกพาณิชย์ที่ใช้เป็นฐานปฏิบัติการ เมืองโอเสม็ด จ.อุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา โดยจุดดังกล่าว เป็นแก๊งคอลเซนเตอร์ที่แอบอ้างเป็นพนักงานเร่งรัดหนี้สินของธนาคารแห่งหนึ่ง โทรป่วนคนไทยด้วยกัน เสียหายจำนวนมาก

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ ผอ.PCT ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หน.PCT ชุดที่ 5 , พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.บช.น. / รอง หน. PCT ชุดที่ 5 , พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.ณรงค์ฤทธิ์  ทองแพ , พ.ต.อ.พัชรดนัย การินทร์ ผกก.(สอบสวน) บก.สส.บช.น. , พ.ต.ต.คณิตนนท์ ถนอมศรี, ร.ต.อ.วรภัทร แสงเทียนประไพ , ร.ต.ท.พุฒิพงศ์ กองแก้ว ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ ศปอส.ตร. (PCT) ชุดที่ 5 และ ชุดสืบสวนนครบาล (บก.สส.บช.น.)  ร่วมกับ พล.ต.อ.วรรณวีระ สม ผู้ช่วยผบ.ตร.กัมพูชา ,พ.ต.อ.ปิยวัฒน์ เกียรติก้อง ผชท.ตร.ไทย ประจำประเทศกัมพูชา สืบสวนติดตามจับกุมตัว

1.นายภานุ มาลัย อายุ 22 ปี ที่อยู่ 36/4 หมู่ 01 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 
ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 615/2566
2.นายกฤษณะ ศรียงค์  อายุ 20 ปี  ที่อยู่ 537 หมู่  04  ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 621/2566
3.นายพงศกร ศรียงค์  อายุ 20 ปี  ที่อยู่ 36/4 หมู่  01  ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 

ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 622/256 ในข้อหา “ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ, ร่วมกันอั้งยี่, ร่วมกันเป็นซอ่งโจร, ร่วมกันฉ้อโกงโดยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น, โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง ร่วมกันนำเข้าข้อูมลสุ่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์บิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน และร่วมกันฟอกเงิน”

สืบเนื่องจากชุดปฏิบัติการที่ 5 ศปอส.ตร. (PCT 5) ได้รับการประสานขอความช่วยเหลือจากชาวไทย ที่เดินทางไปทำงานเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์ ที่อาคารแห่งหนึ่ง เมืองโอเสม็ด จ.อุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา โดยได้ให้ข้อมูลกับชุดสืบสวนว่า ที่อาคารดังกล่าว มีพนักงานคอลเซนเตอร์เป็นชาวไทยทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 100 ราย ทำหน้าที่โทรหลอกผู้เสียหายโดยแบ่งหน้าที่กันทำดังนี้

สาย 1 อ้างตัวเป็นฝ่ายเร่งรัดหนี้สินธนาคารกสิกรไทย ออกอุบายสอบถามผู้เสียหายว่า เลขท้ายบัตรเครดิตสี่หลักนี้ เป็นของผู้เสียหายหรือไม่ ซึ่งเมื่อผู้เสียหายตอบว่าไม่ใช่ ก็จะแจ้งกับผู้เสียหายว่า ข้อมูลของท่านอาจรั่วไหล แนะนำให้แจ้งกับที่ สภ.เมืองตาก โดยให้กดปุ่มสี่เหลี่ยม (#) 2 ครั้ง ระบบจะโอนสายอัตโนมัติไปยัง สาย 2

สาย 2 อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองตาก (ยศ ส.ต.ต. ถึง ด.ต.) สอบถามผู้เสียหายว่าจะแจ้งความเรื่องอะไร และหลอกว่าข้อมูลของผู้เสียหายนั้น มีคนร้ายได้นำไปใช้ ทำให้ผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีฟอกเงินและยาเสพติด และผู้เสียหายจะต้องโอนเงินมาตรวจสอบ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ หากผู้เสียหายยังไม่หลงเชื่อ จะทำทีเดินไปเคาะประตูและให้คุยกับตำรวจระดับ ร.ต.อ. ขึ้นไป เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ
 
สาย 3 อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองตาก ระดับ ร.ต.อ. ขึ้นไป หลอกว่าจะดำเนินคดี กับผู้เสียหาย มีการส่งข้อมูลหลอกผู้เสียหายผ่านทางไลน์ เช่น หมายจับ (ปลอม) หรือบางครั้งใช้วิธีวิดีโอคอล และใช้เทคนิคตัดต่อ สร้างความน่าเชื่อถือว่าเป็นตำรวจจริง ๆ ในท้ายที่สุด ผู้เสียหายหลงเชื่อ จึงได้โอนเงินไปตรวจสอบความบริสุทธิ์ ทั้งที่ไม่ได้กระทำความผิดใดๆ สร้างความเสียหายหลักล้านบาท ชุด PCT 5 จึงได้ประสานงานกับตำรวจกัมพูชา ล่าสุดวันที่ 28 กันยายน 2566 ได้รับรายงานว่าตำรวจกัมพูชา ได้เข้าตรวจค้นและจับกุมตัวพนักงานคอลเซนเตอร์ชาวไทย รายสำคัญได้ 3 ราย ซึ่งทุกคนมีหมายจับไทย ดังนี้
1.นายภานุ มาลัย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 615/2566
2.นายกฤษณะ ศรียงค์ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 621/2566
3.นายพงศกร ศรียงค์ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 622/2566
ในข้อหา “ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ, ร่วมกันอั้งยี่, ร่วมกันเป็นซอ่งโจร, ร่วมกันฉ้อโกงโดยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น, โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง ร่วมกันนำเข้าข้อูมลสุ่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์บิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน และร่วมกันฟอกเงิน”ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างนำตัวกลับมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. กล่าวว่า “เราได้ดำเนินการสืบสวนปราบปรามแก๊งคอลเซนเตอร์มาโดยตลอด จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ยังคงคิดหาวิธีที่ใช้นำมาใช้หลอกลวงเอาเงินของคนไทยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่นในกรณีนี้ที่ถึงขั้นหลอกผู้เสียหายว่า ข้อมูลอาจรั่วไหล หรือ มีคนร้ายนำข้อมูลของท่านไปใช้ จึงอยากขอฝากเตือนพี่น้องชาวไทยทุกท่าน เมื่อมีเบอร์แปลกโทรหา อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือพนักงานบริษัทต่างๆ ให้ระมัดระวังมิจฉาชีพ ขอให้ยึดหลัก ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไมโอน ไว้ครับ”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top