Thursday, 2 May 2024
แรงงานไทย

ญาติแรงงาน ไต้หวัน ขอบคุณนายก ที่สั่งการ ก.แรงงาน ดูแลสิทธิประโยชน์เป็นอย่างดี

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยที่เสียชีวิตและบาดเจ็บบริเวณไซต์งานก่อสร้างในนครนิวไทเป ที่ไต้หวันว่า ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แสดงความเสียใจและห่วงใยแรงงานไทยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศถือเป็นวีรบุรุษและตัวแทนของประเทศไทยที่มีความเสียสละออกไปทำงานในต่างแดนเพื่อนำเงินมาเลี้ยงครอบครัวและนำรายได้เข้าประเทศ จึงได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานดูแลช่วยเหลือในเรื่องสิทธิประโยชน์ทุกอย่างแก่ทายาทแรงงานไทยที่เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บให้เร็วที่สุด โดยสิทธิประโยชน์เบื้องต้นของนายจักริน พวงเกต แรงงานไทยที่เสียชีวิต มีดังนี้




1) เงินค่าทำศพ 5 เดือนของค่าจ้างที่แจ้งเอาประกัน ประมาณ 120,000 เหรียญไต้หวัน หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 141,393 บาท

2) เงินทดแทนกรณีเสียชีวิต ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นนายจักรินเดินทางมาทำงานที่ไต้หวันเมื่อปี 2549 จึงมีสิทธิ์รับเงินจำนวน 40 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน เป็นเงินประมาณ 960,000 เหรียญไต้หวัน (ประมาณ 1,132,800 บาท)

3) เงินเยียวยาจากกองแรงงาน นครนิวไทเป 100,000 เหรียญไต้หวัน คิดเป็นเงินไทยประมาณ 117,830 บาท

4) เงินค่าจ้างเดือนสุดท้ายของการทำงาน เป็นเงิน 30,000 เหรียญไต้หวัน ประมาณ 35,400 บาท

5) เงินชดเชยเยียวยาจากนายจ้าง ซึ่ง สนร. ไทเป จะเจรจาเรียกร้องเงินเยียวยาจากนายจ้างเพื่อชดเชยให้ทายาทได้รับความเป็นธรรมอย่างเต็มที่

6) เงินสงเคราะห์จากกองทุนช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ กรณีเสียชีวิต จำนวน 40,000 บาท ขณะนี้รวมยอดเงินที่ได้รับสำหรับแรงงานไทยที่เสียชีวิต 1,467,423 บาท

รู้จักอาชีพที่ซาอุฯ ห้ามคนต่างชาติทำ

จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พร้อมคณะ ได้เดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้นำประเทศคนแรกในรอบ 32 ปี ที่เดินทางไปเยือนอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ เป้าหมายหลักคือการฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ตกต่ำมายาวนาน ขณะที่มีการคาดหมายว่า การไปเยือนในครั้งนี้ จะมีข่าวดีสำหรับแรงงานไทย ที่จะมีโอกาสเดินทางไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบียอีกครั้ง 

ทว่า ก่อนจะไปลุ้นว่า ซาอุดีอาระเบียจะเปิดรับแรงงานจากไทยหรือไม่นั้น เราไปดู ‘19 อาชีพสงวน’ สำหรับชาวซาอุดีอาระเบีย ที่ไม่อนุญาตให้คนต่างชาติทำ กันดีกว่า

ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ได้เผยแพร่ 19 ตำแหน่งงาน ที่อนุญาตให้แรงงานชายหญิงชาวซาอุดีอาระเบียเท่านั้น ได้แก่

1.) ผู้จัดการบริหารทรัพยากรบุคคล (Executive HR manager)
2.) ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR manager)
3.) ผู้จัดการด้านแรงงาน (Labor affairs manager)
4.) ผู้จัดการด้านธุรการ (Staff relations manager)
5.) ผู้เชี่ยวชาญงานธุรการ (Staff relations specialist)
6.) พนักงานเสมียนธุรการ (Staff relations clerk)
7.) พนักงานรับสมัครงาน (Recruitment clerk)
8.) พนักงานกิจการบุคคล (Staff affairs clerk)
9.) เสมียนควบคุมการเข้าร่วมประชุม (Attendance control clerk)

รมว.เฮ้ง สั่งลุย!! ส่งผู้ตรวจ ร่วมสมาคมจัดหางาน เช็คศูนย์ทดสอบฝีมือแรงงานไทย ไปซาอุฯ

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ นางดรุณี นิธิทวีกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมของสถานที่ทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ ณ สถานทดสอบฝีมือแรงงาน เคทีซี อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมี นางสาวอรัญญา สกุลโกศลนายกสมาคมการจัดหางานไทยไปต่างประเทศ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมด้วย 

โดยนางดรุณี กล่าวว่า ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานเร่งจัดหาแรงงานไทยที่มีศักยภาพเข้าร่วมทำงานในซาอุดีอาระเบียนั้น ในเรื่องนี้ ท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ขานรับและเร่งรัดขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวในทันที และในวันนี้ท่านปลัดกระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้ดิฉัน ร่วมคณะ นายกสมาคมการจัดหางานไทยไปต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่มา ตรวจความพร้อมของสถานที่ทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ ที่สถานทดสอบฝีมือแรงงาน เคทีซี จังหวัดปทุมธานี

นางดรุณี กล่าวต่อว่า จากการลงพื้นที่ตรวจความของสถานที่ทดสอบฝีมือแรงงานเคทีซีแห่งนี้ พบว่า มีความพร้อมและความเหมาะสมทั้งในเรื่องของเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ความปลอดภัย และคุณสมบัติของผู้ควบคุมการทดสอบ ซึ่งผ่านการรับรองโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้เป็นผู้ดำเนินการทดสอบฝีมือคนหางานในจำนวน 4 สาขา 24 ตำแหน่งได้แก่ สาขาช่างเชื่อมและโลหะแผ่น สาขาช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาช่างยนต์ และสาขาช่างก่อสร้าง ซึ่งสอดคล้องกับฝ่ายซาอุดีฯ ที่กำลังเปิดประเทศตามนโยบายวิสัยทัศน์ 2030 

จึงมีความต้องการแรงงานต่างชาติในทุกสาขาจำนวนมากถึง ประมาณ 8 ล้านคน ทั้งภาคอุตสาหกรรม โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ งานช่าง และงานภาคบริการ เนื่องจากแรงงานไทยเป็นแรงงานฝีมือ และกึ่งฝีมือ งานทางด้านช่าง วิศวกร โดยเฉพาะในภาคบริการ โรงแรมสุขภาพ นวดสปา เชฟ

'รมว.สุชาติ' มอบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ลุย Upskill แรงงานไทยไปซาอุฯ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เร่งพัฒนาทักษะและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน รองรับส่งแรงงานไทยไปประเทศซาอุดีอาระเบีย 

นายสุชาติ  ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ
พล.อ. ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีนโยบายพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานให้เป็นแรงงานคุณภาพ สามารถปรับตัวให้ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับตลาดแรงงาน

โดยเฉพาะการสร้างโอกาสให้แก่แรงงานไทยไปทำงานในตลาดต่างประเทศ ซึ่งประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นตลาดแรงงานสำคัญ ในอดีตมีแรงงานไทยไปทำงานจำนวนมาก และเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรายได้เข้าประเทศไทยจำนวนมหาศาล ซึ่งประเทศนี้มีความต้องการแรงงานในตำแหน่ง วิศวกร ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญด้านงานคอมพิวเตอร์ พ่อครัวหรือเชฟ พนักงานโรงแรม ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ผู้ควบคุมงานด้านโลจิสติกส์ ช่างเจียระไน และพนักงานขับรถบรรทุก

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เตรียมการรองรับส่งแรงงานไทยไปประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยเร่งพัฒนาทักษะพร้อมทั้งดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการดังกล่าว 

นายประทีป  ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า ได้เรียกประชุมหน่วยงานทั่วประเทศผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้เตรียมความพร้อมฝึกทักษะแรงงานไทยป้อนตลาดแรงงานซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์  จันทร์โอชา พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น เดินทางไปกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และเปิดตลาดแรงงานในซาอุดีอาระเบียซึ่งมีความต้องการแรงงานฝีมือคนไทยเป็นจำนวนมาก

ขณะนี้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว เตรียมความพร้อมทั้งด้านหลักสูตรฝึกอบรม สถานที่เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ โดยหลักสูตรที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานดำเนินการฝึกจะเน้นเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน การใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า รวมถึงทักษะด้านภาษา

ทั้งนี้ ต้องเร่งประชาสัมพันธ์ พร้อมเตรียมเปิดฝึกอบรมได้ทันที ทั้งด้านความรู้ ทักษะฝีมือในสาขาหรือตำแหน่งงานที่จะไปทำงาน รวมถึงการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ก่อนไปทำงานต่างประเทศ เพื่อให้ได้รับค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่มีมาตรฐานและเป็นธรรม เน้นบูรณาการข้อมูลความต้องการตำแหน่งงานกับกรมการจัดหางาน เพื่อดำเนินการฝึกได้ตรงกับความต้องการในต่างประเทศ 

‘ปลัดแรงงาน’ ประชุมร่วมภาครัฐและภาคเอกชน ขับเคลื่อนการดำเนินงานขยายตลาดแรงงานไทยไปต่างประเทศ ส่งเสริมให้แรงงานมีรายได้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานขยายตลาดแรงงานไทยไปต่างประเทศ ครั้งที่ 1/2565 พิจารณากำหนดแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือด้านแรงงาน การขยายตลาดแรงงาน และการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ รวมทั้งกำหนดแนวทางการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพแรงงานไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในต่างประเทศ  ณ ห้องประชุมเทียน อัชกุล ชั้น 10 กรมการจัดหางาน อาคารกระทรวงแรงงาน

นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ กล่าวว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายผลักดันการส่งออกแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เพื่อส่งเสริมให้แรงงานไทยมีงานทำ และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาการว่างงาน ส่งเสริมการมีงานทำ ให้มีทางเลือกของพี่น้องประชาชนคนไทย ซึ่งการออกไปทำงานต่างประเทศ ไม่เพียงแค่ส่งเงินกลับมา แต่เป็นการนำวิทยาการ ทักษะฝีมือ ในเทคโนโลยีใหม่ๆ กลับมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศด้วย ทั้งนี้ แรงงานไทยเป็นที่ต้องการของนายจ้างต่างประเทศ เนื่องจากแรงงานไทยมีวินัยในการทำงานและมีทักษะฝีมือดี ประกอบกับประเทศไทยมีการบริหารจัดการเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี
 

ครม. เคาะ MOU แรงงานไทย-ซาอุฯ คาด 7 มี.ค.นี้ ทั้ง 2 ฝ่าย ร่วมลงนาม

ครม. เห็นชอบร่างข้อตกลงแรงงานไทย-ซาอุดีอาระเบีย ต่อยอดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย-ซาอุฯ พร้อมขยายตลาดแรงงานไทยในตะวันออกกลาง

1 มีนาคม 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. เห็นชอบร่างข้อตกลงด้านแรงงานระหว่างกระทรวงแรงงานกับกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมแห่งซาอุดีอาระเบีย จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างข้อตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงาน และร่างข้อตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงานทำงานบ้าน โดยอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามข้อตกลงในนามของฝ่ายไทย ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมซาอุดีอาระเบีย หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย

ทั้งนี้ ร่างข้อตกลงแรงงานทั้ง 2 ฉบับ มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อสร้างความมั่นใจในการจัดหาแรงงานไทย (แรงงานทั่วไป/แรงงานที่ทำงานบ้าน) ไปทำงานในซาอุดีอาระเบียอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีจริยธรรม และมีประสิทธิภาพ คุ้มครองสิทธิของนายจ้างและลูกจ้าง โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันดำเนินการนำไปสู่ระบบที่เป็นที่ยอมรับ ทั้งการจัดหาแรงงาน การจัดส่งแรงงานไปทำงาน และการส่งแรงงานกลับประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดหาแรงงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีจริยธรรม ซึ่งแรงงานและนายจ้างจะมีสิทธิรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และสามารถดำเนินมาตรการทางกฎหมายกับสำนักงานจัดหางาน บริษัทจัดหางาน หรือตัวแทนจัดหางาน ในกรณีละเมิดกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อกำหนดที่ใช้บังคับ

รองผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ชื่นชมรัฐบาลไทย หลัง ‘ดูแล-เยียวยา’ แรงงานช่วงโควิดดีเยี่ยม

นายกฯ ปลื้ม!! รองผู้แทนทางการค้าสหรัฐฯ ชื่นชมการดูแลผู้ใช้แรงงานของรัฐบาลไทยช่วงโควิด19 พร้อมเชื่อมั่นการผลักดันปรับมาตรการบริหารจัดการแรงงานต่างชาติให้สอดคล้องเป็นไปตามสถานการณ์

(26 พ.ค.65) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอบคุณนางซาร่าห์ เบียนคิ รองผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา กล่าวชื่นชมนโยบายการช่วยเหลือเยียวยาแรงงานของรัฐบาลไทยและกระทรวงแรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ดำเนินการได้อย่างดีเยี่ยม และขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ดำเนินการจนเห็นผลงานเป็นที่ประจักษ์

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ใช้แรงงานชาวต่างชาติที่มีข้อจำกัดด้านการควบคุมโรคทั้งจากประเทศต้นทางและถิ่นที่กำลังพำนักอยู่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยต่อแรงงานทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงแรงงานได้รับดำเนินการตามดำรินายกรัฐมนตรี โดยได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกและหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ช่วยดูแลแรงงานอย่างต่อเนื่องเทียบเท่าแรงงานไทยทุกประการ อาทิ การตรวจ รักษา และกระจายวัคซีนให้กับผู้ประกันตนเพื่อป้องกันโควิด19 ในสถานที่ทำงาน ดำเนินโครงการ Factory Sandbox ตามหลักการเศรษฐศาสตร์ควบคู่สาธารณสุข เพื่อตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล และบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการป้องกันโควิด-19 ในสถานประกอบการ รวมทั้ง พยายามผลักดันการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ เป็นต้น

นายกฯ ปลื้มไทยได้โควตาส่งแรงงานไปอิสราเอลเพิ่ม ผลจากการรับมือโควิด – ทักษะแรงงานไทย

นายกฯ ปลื้มไทยได้โควต้าส่งแรงงานไปรัฐอิสราเอลเพิ่มขึ้น ผลจากชื่อเสียงการรับมือโควิด-19 ของรัฐบาล - ทักษะและความรับผิดชอบของแรงงานไทย สร้างความต้องการจ้างงานสูงขึ้น

(15 ก.ค 2565) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีต่อความก้าวหน้าในการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในภาคเกษตรของรัฐอิสราเอล ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย - อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (Thailand – Israel Cooperation on the Placement of Workers: TIC) ซึ่งในปี 2565 ไทยได้จัดส่งแรงงานแล้วทั้งสิ้น 3,759 คน โดยนายกรัฐมนตรีให้นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลและอำนวยความสะดวก พร้อมหาแนวทางขยายตลาด เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นและเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มโอกาสให้แรงงานไทยในตลาดโลก

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2565 ประเทศไทยได้รับโควต้าจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในภาคเกษตรของรัฐอิสราเอล จำนวน 6,800 คน เพิ่มขึ้น 1,800 คน จากปีงบประมาณ 2564 ที่ได้โควตาทั้งหมด 5,000 คน ทั้งนี้ เนื่องจากชื่อเสียงไทยมีมาตรการบริหารจัดการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ที่ดี รวมถึงแรงงานไทยมีทักษะและความรับผิดชอบ เป็นที่ต้องการของนายจ้างในรัฐอิสราเอล ทำให้มีความต้องการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แรงงานไทยจะได้รับการอบรมคนหางานก่อนการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ และจะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำก่อนหักภาษีเดือนละ 5,300 เชคเกล หรือประมาณ 54,852 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ซึ่งหากทำงานจนครบสัญญาจ้างงานสูงสุด 5 ปี 3 เดือน จะมีรายได้มากกว่า 3 ล้านบาทต่อคน

ก.แรงงาน ประชุมหารือติดตามความคืบหน้าส่งแรงงานไทยไปทำงานซาอุดีอาระเบีย

วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.30 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับ ดร.อับดุลลาห์ อะบู ธีนีน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคม

ซาอุดีอาระเบีย ประเด็นความคืบหน้ากระชับความสัมพันธ์ด้านแรงงานระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบีย ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) โดยมี นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน 
 

ครึ่งปีแรก แรงงานไทย ไปทำงานประเทศไหนมากที่สุด

ตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา ประเทศที่จำนวนคนไทยไปทำงานด้วยมากที่สุด ได้แก่ ไต้หวัน จำนวน 12,238 คน โดยไต้หวันมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 25,250 เหรียญไต้หวัน/เดือน หรือประมาณ 30,497 บาท 

แต่เนื่องจากค่าเงินและค่าครองชีพของไต้หวันกับไทยไม่แตกต่างกันนัก และส่วนใหญ่เป็นงานใช้แรงงาน อาทิ คนทำงานทั่วไป ช่างทั่วไป ช่างฝีมือ โดยภาพรวมแล้ว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้แรงงานไทยบางกลุ่มเลือกไปประเทศนี้มากสุดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top