Friday, 3 May 2024
แบตเตอรี่

กพร. เปิดตัว ‘แบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออน’ ต้นแบบครั้งแรกของไทย เล็งต่อยอดป้อนอุตฯ EV

กพร. เปิดตัวแบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออนต้นแบบครั้งแรกของไทย หนุนห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีส่งมอบแบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออนต้นแบบว่า กพร. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมด้านวัตถุดิบเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ เนื่องจากเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักคือ อุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่แห่งอนาคต 

ด้วยปัจจุบันทั่วโลกหันมาให้ความสนใจในการปรับเปลี่ยนมาเป็นยานยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น และประเทศไทยก็ได้กำหนดนโยบาย 30@30 เพื่อก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก มีเป้าหมายในการเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด (Zero Emission Vehicle : ZEV) อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 โดยอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ แบตเตอรี่ คิดเป็นต้นทุนหลักประมาณ 40% ของรถยนต์ไฟฟ้า และมีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะของยานยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด 

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และปัญหาด้านวัตถุดิบที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ทางเลือกโดยใช้วัตถุดิบชนิดอื่น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า มีวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโลหะลิเทียมและมีศักยภาพนำมาผลิตเป็นแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) และโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โดยสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการทำขั้วไฟฟ้าและอิเล็กโทรไลต์ได้ อีกทั้งในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ในต่างประเทศเริ่มมีการผลิตเซลล์ต้นแบบ ทำให้แบตเตอรี่ชนิดนี้มีศักยภาพที่จะถูกพัฒนามาเป็นแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าได้ 

'ก.อุตฯ' เดินหน้าขับเคลื่อน EV ชงมาตรฐานเข้ม 'แบตเตอรี่-สถานีชาร์จ' เป็นสินค้าควบคุมต้องได้มาตรฐาน

กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย EV เร่งรัด สมอ. ชงมาตรฐาน 'แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า - รถยนต์ไฟฟ้า' และ 'สถานีชาร์จ' เป็นสินค้าควบคุมต้องได้มาตรฐาน พร้อมนำทีมลงพื้นที่พบผู้ผลิตและจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของไทย เพื่อศึกษาข้อมูลประกอบการทำมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง รองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคต

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย EV อย่างต่อเนื่อง โดยเร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) นำมาตรฐานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ทั้งมอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ รวมทั้งสถานีชาร์จ เสนอบอร์ดเพื่อขอความเห็นชอบในการบังคับใช้มาตรฐาน โดยกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค 

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและที่เกี่ยวข้องออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยประกาศใช้แล้วจำนวน 128 มาตรฐาน เช่น จักรยานยนต์ไฟฟ้า, รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า, ระบบการสื่อสารระหว่างรถยนต์ไฟฟ้ากับโครงข่ายไฟฟ้า  ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า, ระบบเบรกของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า, เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า, เซลล์และแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า, ชิ้นส่วนสำหรับดัดแปลงรถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า, ระบบจอดอัตโนมัติของรถยนต์, สมรรถนะของยานยนต์ไฟฟ้ามอเตอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ EV เป็นต้น  

ซึ่งในการกำหนดมาตรฐานดังกล่าว อ้างอิงมาจากข้อกำหนดและมาตรฐานระหว่างประเทศ ครอบคลุมทั้งด้านความปลอดภัย และด้านการใช้พลังงาน และทั้ง 128 มาตรฐานนั้นยังเป็นมาตรฐานภาคสมัครใจที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการยื่นขอการรับรอง แต่เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกระแสโลก ขณะเดียวกันแนวคิดการยกเลิกการใช้ยานยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์สันดาป รวมถึงกระแสการตื่นตัวต่อภาวะโลกร้อนที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้รถยนต์ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทมากขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงต้องมีการพิจารณาบังคับใช้มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นตามไปด้วย

หัวใจสำคัญของรถ!! ‘BYD’ โร่แจงปมดรามา ค่าซ่อมสูงเฉียดล้าน ชี้! แบตเตอรี่มีความปลอดภัย-ประสิทธิภาพสูง

(4 มี.ค. 66) กรณี ยูทูบช่อง Priceza Money ออกมาเผยเรื่องราวของเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า BYD ATTO 3 ที่ประสบอุบัติชนเกาะกลางถนนช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ต้องเจอค่าซ่อมรถสูงถึง 1 ล้านบาท ซึ่งค่าซ่อมที่แพง หนักสุด อยู่ที่ราคาก้อนแบตเตอรี่ของรถ ที่ถูกตีมูลค่าไว้สูงถึง 896,190 บาท

‘อ.ต่อตระกูล’ ลุ้น!! ทางเลือกใหม่แบตเตอรี่เพื่อรถอีวี หลังหลายสถาบันคิดค้นแบตฯ นอกเหนือจากลิเธียม

(25 มี.ค.66) ‘อ.ต่อตระกูล’ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงงานวิจัยด้านแบตเตอรี่โดยคนไทย ว่า…

วิจัยไทย หลากหลายสถาบันร่วมกันวิจัยค้นหาแบตเตอรี่สำหรับรถไฟฟ้า นอกเหนือจากแบตเตอรี่ลิเธียม มีดังนี้...

- กราฟีนแบตเตอรี่ โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- แบตเตอรี่สังกะสีไอออน โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
- แบตเตอรี่โซเดียมไอออน โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น                    
- แบตเตอรี่โพแทสเซียม ไอออน โดยสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) 

สำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออน จะเป็นแบตเตอรี่ทางเลือกชนิดแรกของไทย ที่จะมีผลิตในโรงงานต้นแบบฯ ผลิตแบบจำนวนมาก ๆ ตั้งอยู่ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EECi จังหวัดระยอง ในปี 2566 นี้


ที่มา: https://www.facebook.com/1483692496/posts/pfbid02GW2gxUVzTvXvFNbKSAFEe92wH8VvNHFTLxEAmU8zsMgcc92aqpWJqTC2x4vwrxhkl/?mibextid=Nif5oz

‘นักวิจัยจีน’ พัฒนา ‘แบตเตอรี่น้ำเค็ม’ ฝังในร่างกาย ช่วยฆ่า ‘เซลล์เนื้องอก’ ควบคุมการเติบโตของโรค

(4 เม.ย.66) เมื่อวันที่ 3 เม.ย.66 สำนักงานข่าวซินหัวรายงานว่า คณะนักวิจัยจีนพัฒนาแบตเตอรี่น้ำเค็มแบบฝังและชาร์จพลังงานได้เอง ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยฆ่าเซลล์เนื้องอกด้วยการควบคุมสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเติบโตของเนื้องอก

การศึกษาฉบับดังกล่าวเผยแพร่ในวารสารไซแอนซ์ แอดวานซ์ (Science Advances) เมื่อไม่นานมานี้ โดยอธิบายว่าแบตเตอรีชนิดนี้จะลดปริมาณเนื้องอกเฉลี่ยร้อยละ 90 ในช่วงสองสัปดาห์ และกำจัดเนื้องอกในหนู 4 ตัวจาก 5 ตัว หากใช้ร่วมกับสารประกอบผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมที่เรียกว่าทิราปาซามีน (tirapazamine)

ทีมงานจากมหาวิทยาลัยฟู่ตั้นได้แรงบันดาลใจจากปฏิกิริยารีดอกซ์ของขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ โดยพวกเขาออกแบบอุปกรณ์แบบฝัง ซึ่งประกอบด้วยโพลีอิไมด์ที่มีส่วนประกอบเป็นคาร์บอนิลและโลหะสังกะสีที่เข้ากันได้ทางชีวภาพ

แบตเตอรี่ดังกล่าวสามารถสร้างวงจรการคายประจุและการชาร์จตัวเองเพื่อใช้งานออกซิเจนในเนื้องอกของหนู ซึ่งจะควบคุมปริมาณออกซิเจนและระดับความเป็นกรด-ด่างหรือค่าพีเอช (pH) ของเนื้องอก

การศึกษาเผยว่าแบตเตอรี่ยังเพิ่มประสิทธิภาพการฆ่าเนื้องอกของทิราปาซามีนในการฆ่าเซลล์เนื้องอกในหนู โดยทิราปาซามีนจะใช้ประโยชน์จากสภาวะการลดลงของออกซิเจน (oxygen-depleted) ของเนื้องอกเพื่อเลือกฆ่าเซลล์ที่ขาดออกซิเจน พร้อมเสริมว่าแบตเตอรี่น้ำเกลือมีความสามารถการปรับเปลี่ยนรูปดี จึงสามารถฝังเข้าชั้นใต้ผิวหนังบนผิวเนื้องอกและครอบคลุมพื้นผิวเนื้องอกอย่างเหมาะสม

‘อ.ต่อตระกูล’ แง้ม!! รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ของ BYD จะใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออนแทนลิเทียมเป็นครั้งแรก

(7 เม.ย. 66) ‘อ.ต่อตระกูล’ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า...

ข่าวดี ๆ วันศุกร์

BYD ประกาศโฉมหน้ารถ EV ขนาดเล็ก ชื่อ ‘ซีกัล’ (Seagull) ราคาคาดการณ์ 3-4 แสนบาท ประกาศเปิดตัวที่จีนวันที่ 18 เมษายน นี้

ทว่าไฮไลต์อยู่ที่ จะเป็นรถไฟฟ้า คันแรก ที่จะใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แทนแบตเตอรี่ลิเทียม

CATL เปิดตัวแบตเตอรี่รุ่นใหม่ ช่วย EV วิ่งได้ 1,000 กม.ต่อ 1 ชาร์จ พร้อมวาดฝันจะนำไปใช้กับ ‘เครื่องบินไฟฟ้า’ ด้วย

Contemporary Amperex Technology บริษัทแบตเตอรี่ยักษ์ใหญ่ของจีน หรือที่รู้จักในชื่อ CATL เปิดตัวแบตเตอรี่รุ่นใหม่ ที่วาดฝันไว้ว่าสักวันหนึ่งสามารถใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าให้กับเครื่องบินได้

(20 เม.ย.66) เพจ 'เดือดทะลักจุดแตก' เผย CATL ของจีน เปิดตัว 'แบตเตอรี่' อัดพลังงานแน่นสุดโลก:  2 เท่าของปัจจุบัน: 500 วัตต์-ชั่วโมง/กก.! ก้าวกระโดด จากใช้กับ EV สู่เครื่องบินได้!?

ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน แบตเตอรี่ รุ่น Qilin ของ CATL ความหนาแน่นพลังงาน 255 วัตต์-ชั่วโมง/กิโลกรัม เพียงพอทำให้รถยนต์ไฟฟ้า EV วิ่งได้ 1,000 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง

‘CATL’ เปิดตัวแบตเตอรี่ EV ชาร์จ 10 นาที วิ่งได้ 400 กม. คาด!! เริ่มวางจำหน่ายในช่วงไตรมาสแรก ปี 2024

เมื่อไม่นานมานี้ CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่จากจีนได้เปิดตัว ‘Shenxing’ แบตเตอรี่ 4C superfast charging LFP ก้อนแรกของโลกที่ช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ไกลถึง 400 กิโลเมตรภายในเวลาชาร์จเพียงแค่ 10 นาที

โดยหากทำการชาร์จนเต็มนั้น Shenxing จะช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ไกลกว่า 700 กิโลเมตร ซึ่งทาง CATL นั้นก็คาดว่า Shenxing จะช่วยให้ผู้ใช้รถ EV หมดกังวลเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้ในการชาร์จแต่ละครั้งได้ และจะช่วยเปิดยุคใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้าที่ชาร์จได้รวดเร็วยิ่งกว่าเดิมขึ้นมา

แบตเตอรี่ Shenxing นั้นใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Super electronic network cathode และวัสดุแคโทด LFP ที่ตกผลึกในระดับนาโนเข้ามาช่วยให้แบตเตอรี่สามารถตอบสนองต่อการชาร์จที่รวดเร็วได้ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ครอบคลุมของ CATL ยังช่วยให้แบตเตอรี่ Shenxing มีคุณสมบัติที่สมดุลทั้งการชาร์จที่รวดเร็วและการขับขี่ในระยะไกล

และอีกหนึ่งในคุณสมบัติที่น่าสนใจก็คือแบตเตอรี่ตัวใหม่ยังสามารถรักษาประสิทธิภาพในการชาร์จตั้งแต่ความจุ 0 – 80% ได้ภายใน 30 นาทีภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า -10 องศาเซลเซียส และสามารถรักษาประสิทธิภาพในการเร่งความเร็วจาก 0 – 100 กม./ชม.เอาไว้ได้ในอุณหภูมิต่ำ โดยในอุณหภูมิห้องนั้น Shenxing จะสามารถชาร์จตั้งแต่ 0 – 80% ได้ในเวลาเพียง 10 นาที

สำหรับปัจจุบันทาง CATL ได้คาดการณ์ว่า Shenxing จะสามารถเริ่มทำการ Mass Produce ได้ภายในปลายปีนี้ และจะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2024 ซึ่งทาง CATL นั้นก็มั่นใจว่าการเปิดตัวของ Shenxing นั้นจะเป็นอีกก้าวที่สำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ EV และจะช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าไปทั่วโลกได้อย่างครอบคลุม

‘นักวิทย์จีน’ พัฒนา ‘แบตเตอรี่’ ชาร์จเร็ว 90% ภายใน 10 นาที!! ชี้ ประสิทธิภาพสูง-ทนทาน-คุ้มค่า เดินหน้าสายการผลิตเต็มสูบ

เมื่อวันที่ 1 พ.ย. สำข่าวซินหัว, อู่ฮั่น รายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ของจีนได้พัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบชาร์จเร็ว ซึ่งสามารถทำให้ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือแตะ 90 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลาเพียง 10 นาที

ผลการศึกษาจากวารสารเนเจอร์ เอ็นเนอจี (Nature Energy) เมื่อไม่นานนี้ ระบุว่า แบตเตอรี่กราไฟต์นี้มีชั้นฟอสฟอรัสแบบบางพิเศษบนพื้นผิว ซึ่งสามารถเปลี่ยนอินเทอร์เฟสอิเล็กโทรไลต์ของแข็งด้วยการนำไฟฟ้าของไอออนสูง

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวจง ได้ทดสอบแบตเตอรี่ชนิดเพาช์เซลล์ที่มีขั้วบวกกราไฟต์นี้ และพบความจุแบตเตอรี่แตะ 80 เปอร์เซ็นต์ใน 6 นาที และ 91.2 เปอร์เซ็นต์ใน 10 นาที

ผลการศึกษาเสริมว่า ความสามารถเก็บประจุของแบตเตอรี่นี้ยังคงอยู่ที่ 82.9 เปอร์เซ็นต์ในการชาร์จกว่า 2,000 รอบ ณ อัตราการชาร์จระยะ 6 นาที

คณะนักวิจัยเผยว่า การผลิตแบตเตอรี่ที่มีคุณสมบัติทางเคมีไฟฟ้าอันยอดเยี่ยมนี้ สามารถทำได้ง่ายและคุ้มทุน จึงมีศักยภาพทางการตลาดอย่างมาก

‘จีน’ ยกระดับ สามารถสลับแบตฯได้ภายใน 80 วินาที ที่มณฑลเจียงซู ประหยัดเวลาชาร์จ คาดรองรับ ผู้ใช้ยานยนต์พลังงานใหม่ ได้มากกว่า 500,000 ราย

(10 มี.ค.67) การไฟฟ้าแห่งประเทศจีน สาขาเจียงซู เปิดเผยว่าเขตสาธิตดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่เกือบ 500 ตารางกิโลเมตรในเมืองซูโจว อู๋ซี และฉางโจว พร้อมด้วยเสาชาร์จราว 1,300 ต้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับผู้ขับขี่ยานยนต์พลังงานใหม่ (NEV) ได้มากกว่า 500,000 ราย

สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสลับแบตเตอรี่ที่ทำให้ยานพาหนะสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ภายในเวลาเพียง 80 วินาทีจะเปิดให้บริการในเมืองอู๋ซี ก่อนขยับขยายทั่วเขตสาธิตแห่งนี้

ก่อนหน้านี้ ผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้ามักต้องค้นหาสถานีชาร์จบริเวณใกล้เคียง แต่เขตสาธิตใหม่นี้จะใช้อัลกอริธึมอัจฉริยะเพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ค้นหาโซลูชันการชาร์จที่รวดเร็วและประหยัดที่สุด ตลอดจนช่วยค้นหาเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมในการชาร์จ

หยวนเสี่ยวตง ผู้อำนวยการด้านเทคนิคของสถาบันวิจัยพลังงานไฟฟ้า สังกัดการไฟฟ้าฯ คาดว่าเขตสาธิตข้างต้นจะสามารถช่วยลดเวลาการเข้าคิวรอชาร์จเฉลี่ยเกือบร้อยละ 50 ต่อเดือน โดยคาดว่าเขตสาธิตแห่งนี้จะขยายไปยังมณฑลอันฮุยและเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อส่งเสริมการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี

สำนักบริหารพลังงานแห่งชาติของจีน ระบุว่าสัดส่วนการเป็นเจ้าของยานยนต์พลังงานใหม่ของจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยมีการใช้ยานยนต์พลังงานใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 20.41 ล้านคันเมื่อนับถึงสิ้นปี 2023 และเพื่อตอบสนองการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นนี้ จีนจะเดินหน้าปรับปรุงและขยายเครือข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกการชาร์จ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 เมื่อเทียบปีต่อปีในปีก่อน และเกือบแตะ 8.6 ล้านเครื่องเมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top