Thursday, 2 May 2024
แจ้งความ

รู้ไว้!! ความผิดอาญาบนโลกออนไลน์ แจ้งความได้ทั่วราชอาณาจักร

เพจ 'ฤๅ - Lue History' ได้โพสต์ข้อความไขข้อข้องใจ เหตุใดความผิดบนโลกออนไลน์ จึงแจ้งความได้ทั่วราชอาณาจักร ระบุว่า... 

เร็ว ๆ นี้มีข่าวว่า มีคนได้รับหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหาคดี ม.112 ที่ จ.นราธิวาส ทั้ง ๆ ที่ตัวเองพักอยู่ที่นนทบุรี ทำให้ต้องเสียทั้งเวลา เสียทั้งค่าเดินทาง สุดท้ายลงเอยที่ว่า ม.112 ไม่มีความเป็นธรรมและสมควรยกเลิก

เราต้องทราบก่อนว่า ตามหลักการทางกฎหมาย หากมีการกระทำผิดในคดีอาญา การฟ้องร้องหรือรับทราบข้อกล่าวหา จะต้องดำเนินการในท้องที่ที่พบการกระทำผิด ซึ่งการโพสต์หมิ่นประมาทในโลกออนไลน์ ข้อความนั้นมันสามารถไปโผล่ได้ทุกที่ กรณีแบบนี้ กฎหมายถือว่าทำให้เกิดความเสียหายได้ “ทั่วราชอาณาจักร” ดังนั้น ผู้พบเห็นข้อความหมิ่นประมาท สามารถเข้าแจ้งความในท้องที่ที่ตนเองเปิดข้อความอ่านได้ทันที

บัญชีม้า! ตำรวจสืบนครบาลตามรวบหนุ่มรับจ้างเปิดบัญชีให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ สร้างความความเสียหาย กว่า 2 ล้าน

ันที่ 12 มีนาคม พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หัวหน้าชุด PCT ชุดปฏิบัติการ 5 แถลงผลชุดวิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส.บช.น. นำทีม พ.ต.ท.พิทักษ์ ศรีกะแจะ สว.กก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส.บช.น. พร้อมเจ้าหน้าที่  จับกุม นายนิพนธ์ บุญแสง อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 37 ซอยรามอินทรา 65 แยก 2-14 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพ  ตามหมายจับ  2 หมายจับ ศาลจังหวัดปทุมธานี ที่ 245/2565    
ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ความผิดฉ้อโกงทรัพย์และโดยทุจริตนำเข้าข้อมูลทางคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและศาลแขวงสุรินทร์ ที่ จ96/2565 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2565             ความผิด ร่วมกันฉ้อโกง จับตัวได้ที่หน้าบ้านเลขที่ 37 ซอยรามอินทรา 65 แยก 2-14 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร กรุงเทพ        

คดีนี้มีผู้เสียหายจังหวัดปทุมธานี ร้องเรียนมายังเพจ สืบสวนนครบาลIDMB ถูกแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกให้โอนเงินไปตรวจสอบ เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการฟอกเงิน หากตรวจสอบแล้วไม่พบความผิด จะโอนเงินกลับคืนให้ ผู้เสียหายหลงเชื่อ ได้โอนเงินไปให้ตรวจสอบ ที่หมายเลขบัญชีชื่อนายนิพนธ์ (ขอสงวนนามสกุล) รวมเป็นเงินจำนวน 340,000 บาท จากนั้นผู้เสียหายไม่ได้รับโอนเงินกลับคืนและไม่สามารถติดต่อกับผู้รับโอนได้ เชื่อว่าถูกหลอกจนเกิดความเสียหาย จึงร้องทุกข์ไว้ และอีกรายมีผู้เสียหายจังหวัดสุรินทร์ แจ้งว่าถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้โอนเงินไปตรวจสอบในลักษณะเดียวกัน ผู้เสียหายหลงเชื่อ ได้โอนเงินไปให้ที่หมายเลขบัญชีเดียวกัน รวมเป็นเงินจำนวน 1,170,000 บาท จึงได้แจ้งความร้องทุกข์

สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกับคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การรับแจ้งความร้องทุกข์ต่างท้องที่”

ตามที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ได้กำหนดเป้าหมายหลักของการปฏิรูปประเทศ พร้อมทั้งได้กำหนดหลักการและแนวทางการปฏิรูปประเทศ รวมถึงมีพระราชบัญญัติ
แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560  และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้าง วิธีการ และกระบวนการ หรือกฎระเบียบ
ที่สำคัญเพื่อให้การดำเนินงานของทุกภาคส่วนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลอันพึงประสงค์
ตามรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้วุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ นั้น 


โดยเมื่อวันที่ 10 ก.ย.62  ที่ประชุมวุฒิสภาได้มีมติตั้งแต่งคณะกรรมาธิการการกฎหมาย 
การยุติธรรม และการตำรวจ วุฒิสภาขึ้น โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามนโยบายด้านกฎหมาย 
การบริหารงานยุติธรรม กระบวนการยุติธรรม การตำรวจ อัยการ และราชทัณฑ์ การปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกัน และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การพัฒนากลไกและวิธีการปฏิบัติงานกิจการตำรวจให้มีประสิทธิภาพ ร่วมถึงการพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ


โดยในส่วนของคณะกรรมาธิการการกฎหมายฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในเรื่องของการแจ้งความร้องทุกข์ต่างท้องที่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาแจ้งความ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้มีการจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหัวเรื่อง “การรับแจ้งความร้องทุกข์ต่างท้องที่” ขึ้น ในวันอังคาร ที่ 14 มี.ค.66 ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องศรียานนท์ ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมี พล.ต.อ.ชัชวาลย์  สุขสมจิตร์ ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาฯ พร้อมด้วย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และคณะผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมพิธีฯ 

ศรีสุวรรณ’ บุกสน.ทุ่งสองห้อง แจ้งความเอาผิด ‘มือชก’ เพิ่ม ชี้ ทำให้เสียชื่อเสียง-ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง-ได้รับความอับอาย

(16 พ.ค.66) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า เมื่อเย็นวันที่ 15 พ.ค. 66 ที่ผ่านมา ตนได้เดินทางไปยังสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง เพื่อพบพนักงานสอบสวนเพื่อมอบหลักฐานประกอบคดีเพิ่มเติมให้กับ สว.(สอบสวน) สน.ทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ หลังจากที่ได้แจ้งความดำเนินคดีฐานทำร้ายร่างกายต่อชายสูงอายุอดีตอาจารย์ ม.เอกชน ที่เข้ามาทำร้ายร่างกายที่บริเวณหน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อวันที่ 11 พ.ค. ที่ผ่านมาหลังจาก กกต.เชิญไปให้ถ้อยคำกรณีร้องเรียนให้ตรวจสอบนโยบายหาเสียงแจกเงินดิจิทัลของพรรคเพื่อไทย

ทั้งนี้ ได้ยืนยันต่อพนักงานสอบสวน พร้อมมอบพยานหลักฐานเป็นใบรับรองแพทย์และคลิปวิดีโอที่ผู้ถูกกล่าวหาได้เจตนาพูดดูหมิ่นเหยียดหยามตนต่อบุคคลที่สามหรือธารกำนัล (ผู้สื่อข่าวและประชาชน) โดยประการที่ทำให้ตนนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง และได้รับความอับอาย หลังจากที่ทำร้ายตนแล้ว ทั้งๆที่บริเวณดังกล่าวเป็นสาธารณสถานอันเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.393 และ ม.397 วรรคสอง ประกอบ ม.59 ซึ่งมีอัตราโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อย่างไรก็ตาม แม้โทษทางอาญาจะมองดูไม่มากนัก แต่ทว่าเมื่อศาลมีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาในคดีอาญาแล้ว จะส่งผลต่อคดีในทางแพ่งที่ตนได้เรียกค่าเสียหายไปพร้อมด้วยเลยในคดีเป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท เนื่องจากการกระทำของผู้ถูกกล่าวหา เป็นการละเมิดกฎหมายในที่รโหฐาน เป็นสาธารณสถาน ไม่เกรงกลัวกฎหมายทั้งๆที่เคยเป็นถึงครูบาอาจารย์สอนคนมาก่อน

นอกจากนี้การกระทำดังกล่าวอาจมีผู้อยู่เบื้องหลังที่เป็นฝ่ายการเมืองที่ผู้ต้องหาได้ไปคลุกคลีร่วมกิจกรรมทางการเมือง และอาจนำมาซึ่งเจตนาพิเศษต่อการทำร้ายร่างกายตนได้ที่ไปร้องเรียนพรรคการเมืองที่บุคคลดังกล่าวมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ซึ่งตนเป็นบุคคลที่เป็นที่รู้จักกันของสังคมไทย และทำงานเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี การที่ผู้ต้องหาคนดังกล่าวมาทำร้ายร่างกาย และดูหมิ่นเหยียดหยาม เป็นที่น่าอับอาจ จึงน่าจะเป็นเหตุผลทางคดีที่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะทำให้ศาลมีคำพิพากษาทั้งทางอาญาและทางแพ่งตามคำขอท้ายคำฟ้องที่ตำรวจและอัยการจะดำเนินการยื่นฟ้องต่อไปได้

ตร. แนะนำ 3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อถูกปลอมบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ “แจ้งความ รีพอร์ต บอกเพื่อน”

วันนี้ (29 พฤศจิกายน 2566) พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ได้มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีพี่น้องประชาชนจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวงบนสื่อสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมาก ซึ่งคนร้ายมักจะใช้บัญชีสื่อสังคมออนไลน์ปลอมเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอแนะนำ 3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อรู้ตัวว่าถูกปลอมบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ นั่นคือ “แจ้งความ รีพอร์ต บอกเพื่อน” โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.“แจ้งความ” เมื่อรู้ตัวว่าถูกปลอมบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ จะต้องรีบดำเนินการรวบรวมหลักฐานเบื้องต้น เพื่อแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อเป็นหลักฐานในการยืนยันว่าตนไม่ได้เป็นผู้ใช้งานบัญชีดังกล่าว โดยข้อมูลสำคัญที่ต้องใช้ประกอบการแจ้งความคือ ชื่อบัญชีปลอม ภาพบันทึกหน้าจอ และ URL ของบัญชีปลอม

2.“รีพอร์ต” ให้ทำการรายงาน (Report) บัญชีสื่อสังคมออนไลน์ปลอมดังกล่าว ไปยังผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ดำเนินการตรวจสอบและปิดกั้นการเข้าถึงบัญชีปลอม เพื่อป้องกันไม่ให้คนร้ายนำบัญชีปลอมดังกล่าวไปหลอกลวง สร้างความเสียหายกับผู้อื่น

3.“บอกเพื่อน” ให้รีบแจ้งเพื่อน ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์และทุกช่องทางให้รู้ว่า ท่านถูกปลอมบัญชี และยืนยันว่าท่านไม่ได้เป็นผู้ใช้งานบัญชีปลอมดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้เพื่อนของท่าน ตกเป็นเหยื่อของคนร้าย อีกทั้งการบอกให้เพื่อนช่วยรีพอร์ตบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ปลอม จะช่วยให้ผู้ให้บริการปิดกั้นการเข้าถึงบัญชีปลอมดังกล่าวรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ซึ่งหากพี่น้องประชาชน ทำตาม 3 สิ่งที่ต้องทำ ที่ได้กล่าวมาข้างตน ก็จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกปลอมบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ ช่วยให้สามารถปิดกั้นบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ปลอมได้อย่างรวดเร็ว ลดโอกาสที่คนร้ายจะสามารถนำบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ปลอมไปหลอกผู้อื่น หรือบุคคลใกล้ตัว

สุดท้ายนี้ หากพี่น้องประชาชนได้รับความเสียหายจากการหลอกลวงทางสื่อสังคมออนไลน์ สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ บนเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com หรือสายด่วน 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ตร. แนะ 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการเก็บหลักฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ ก่อนไปแจ้งความพนักงานสอบสวน

วันนี้ (4 กุมภาพันธ์ 2567) พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ได้มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ โดยในปัจจุบันจากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่ารูปแบบคดีที่มีจำนวนการแจ้งความมากที่สุดอันดับ 1 ยังคงเป็น “การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์”

ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ของการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น เกิดจากการที่ผู้เสียหายไม่สามารถเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้นในการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้เอง ทำให้คนร้ายมีเวลาในการลบข้อมูลต่าง ๆ อาทิ โพสต์ที่ใช้หลอกลวง ข้อความการสนทนา และบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ที่คนร้ายใช้ในการกระทำความผิด ก่อนที่ผู้เสียหายจะมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ทำให้พนักงานสอบสวนไม่สามารถรวบรวมพยานหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการประสานขอข้อมูลจากผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ได้

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอแนะนำ 3 ขั้นตอนเบื้องต้น ในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน ก่อนที่จะไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน คือ “แคปจอ เซฟลิงก์ ดูโปรไฟล์” โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

“แคปจอ” หรือ การบันทึกภาพหน้าจอ เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงทางออนไลน์ เพราะจะสามารถแสดงให้เห็นถึง ชื่อบัญชี วันเวลาที่โพสต์ ตลอดจนข้อความและภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดได้

“เซฟลิงก์” หรือ การบันทึกลิงก์ URLs ที่สามารถนำไปสู่โพสต์ที่เป็นความผิด เพื่อให้พนักงานสอบสวนสามารถนำลิงก์ดังกล่าวไปตรวจสอบข้อมูลกับผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ และใช้เป็นหลักฐานประกอบสำนวนการสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด

“ดูโปรไฟล์” หรือ การเข้าไปตรวจสอบหน้าบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของคนร้าย รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น และหาลิงก์ของบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญที่พนักงานสอบสวนต้องใช้ในการขอข้อมูลจากผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ “เพราะลิงก์ของบัญชีสื่อสังคมออนไลน์แต่ละบัญชีเปรียบเสมือนรหัสประจำตัวประชาชน ที่จะไม่ซ้ำกับบัญชีอื่นแม้จะมีชื่อโปรไฟล์เดียวกัน จึงสามารถนำมาใช้ระบุบัญชีที่ใช้ในการกระทำความผิดได้”

โดยหากพี่น้องประชาชน สามารถทำตาม 3 ขั้นตอนในการเก็บหลักฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ ก่อนไปแจ้งความพนักงานสอบสวนที่กล่าวมาข้างต้น จะส่งผลให้พนักงานสอบสวนสามารถรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มโอกาสที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

สุดท้ายนี้ หากพี่น้องประชาชนได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ บนเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.go.th หรือสายด่วน 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

‘พี่หม่ำ’ แจ้งความอดีตลูกน้อง ยึดเพจเฟซบุ๊ก 1.7 ล้านผู้ติดตาม หวั่น!! เอาไปทำเรื่องไม่ดี หลังดีดภรรยาตนออกจากแอดมิน

(12 มี.ค.67) นายเพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา หรือหม่ำ จ๊กมก นักแสดงตลกชื่อดัง เข้าแจ้งความกับ พ.ต.ต.สุรศักดิ์ สังข์แก้ว สว.สอบสวน สภ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี หลังเพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อ หม่ำ มด จ๊กมก แฟนคลับ ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 1.7 ล้านคน ของภรรยา ถูกอดีตลูกน้องคนสนิท ซึ่งเป็นแอดมินเพจร่วมกับภรรยายึดเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวไป พร้อมเปลี่ยนแปลงด้วยการดีดชื่อภรรยาของตน ซึ่งเป็นเจ้าของเพจร่วมออกจากการเป็นแอดมินเพจด้วย ทำให้ตนกับภรรยาเกรงว่า จะถูกอดีตลูกน้องรายนี้นำเพจไปใช้หลอกประชาชน หรือนำไปสร้างความเสียหายประเภทชักชวนเล่นการพนัน ชวนขายของออนไลน์ หรือไปเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย จึงมาเข้าแจ้งความเป็นหลักฐานไว้ก่อนในเบื้องต้น

หม่ำ จ๊กมก กล่าวว่า ตนกลัวว่าอดีตลูกน้องคนนี้จะเอาเพจดังกล่าว ซึ่งมียอดผู้ติดตามถึง 1.7 ล้านคน ไปแอบอ้างทำอย่างอื่น กลัวจะเอาไปชักชวนเล่นการพนัน ชวนขายของออนไลน์ หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย ซึ่งจะทำให้ตนกับภรรยาเดือดร้อนในวันข้างหน้า จึงต้องป้องกันตัวเองด้วยการมาแจ้งความไว้ก่อน โดยอดีตลูกน้องรายนี้เคยเป็นลูกน้องมาก่อน ก่อนจะไปเป็นแอดมินเพจให้กับภรรยา ต่อมาเขาเปลี่ยนแปลงเพจด้วย แถมยังดีดภรรยาตนออกจากการเป็นแอดมินร่วมกัน แล้วนำเพจดังกล่าวไปทำเองเป็นเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว ทั้งๆ ที่ภรรยาเป็นเจ้าของเครื่องที่ใช้ตั้งเพจนี้

แม้ว่าตนจะเคยบอกให้อดีตลูกน้องลบเพจเฟซบุ๊กนี้ออกไป แต่อดีตลูกน้องรายนี้ก็ไม่ยอมลบเพจทิ้ง ทั้งที่ตนได้ตักเตือนไปแล้ว จึงมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน เพื่อป้องกันตัวเองกับภรรยาเอาไว้ก่อน แม้ว่าในตอนนี้อดีตลูกน้องจะยังไม่ได้ทำอะไรให้เสียหายก็ตาม

ระยะหลังมีคนมาแจ้งข่าวให้ทราบว่า อดีตลูกน้องรายนี้ไปโพสต์อะไรของเขาไม่รู้ จนทำให้มีคนเข้าผิดว่าเป็นภรรยาของตนเป็นคนโพสต์ โดยที่ไม่มีใครรู้ว่า อดีตลูกน้องยึดเพจดังกล่าวไปดูแลเอง และทำการเปลี่ยนแปลงเพจด้วยการดีดภรรยาออกจากการเป็นแอดมินเพจร่วมกันมานานเกือบปี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top