Saturday, 18 May 2024
แก้ม112

'อัษฎางค์' วิเคราะห์ปมยกเลิก ม.112 ยก 12 ข้อเท็จจริง หมดเวลาปั่นล้มล้างสถาบันฯ

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า 12 ข้อ ม.112 หมดเวลาบิดเบือน

หมดเวลาปั่นราษฎร์ล้มล้างสถาบันฯ ด้วยการเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 เพื่อจะหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ของพรรคเพื่อดูไบและก้าวไม่ไปไหนไกล

• 1 มาตรา 112 เป็นเครื่องมือในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ไม่ใช่เครื่องมือในการกำจัดคู่ต่อสู้ทางการเมือง

• 2 กฎหมายคุ้มครองประมุขของรัฐนั้นไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย แต่มีใช้ในทุกประเทศ ทั้งที่ปกครองแบบราชอาณาจักรที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือปกครองแบบสาธารณรัฐ ที่มีประธานาธิบดี ก็ล้วนมีกฎหมายคุ้มครองประมุขของรัฐทั้งนั้น

• 3 โดยเฉพาะสถาบันพระมหาพระมหากษัตริย์ จะไม่สามารถไปดำเนินคดีกับใครได้ จึงต้องมีกฎหมายที่ไม่ให้ใครล่วงละเมิดสถาบันฯ

• 4 พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง คือ พระองค์ท่านไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่นักการเมืองไปดึงท่านให้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ด้วยการให้ร้ายป้ายสี

• 5 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ คนไทยหรือคนต่างด้าวไม่ว่ากระทำในหรือนอกราชอาณาจักรก็ต้องรับโทษ

• 6 จะยกเลิก ม.112 แล้วให้พระมหากษัตริย์ไปใช้กฎหมายหมิ่นประมาทเหมือนประชาชนทั่วไปไม่ได้ เนื่องจากพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ไม่ใช่บุคคลธรรมดา

‘ทักษิณ’ ชี้ ‘ม.112’ ไม่เป็นปัญหา แนะคนเห็นต่างพูดคุยกัน ยุติดราม่า

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 64 นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thaksin Shinawatra ต่อกรณีการเสนอให้แก้ไขหรือยกเลิก กฎหมายอาญามาตรา 112 โดยระบุว่า

“2-3 วันนี้ได้ฟังดราม่าเกี่ยวกับเรื่องมาตรา 112 จากทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการที่จะแก้ไขหรือยกเลิก ผมขอแสดงความคิดเห็นในฐานะที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีมา และผ่านการปรึกษาในเรื่องมาตรา 112 มาหลายครั้ง

ผมขอเล่าเป็นประสบการณ์ มาตรา 112 มีมานานตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ น่าจะประมาณปี 2500 ตัวกฎหมายเองไม่เคยเป็นปัญหา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ มันเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่าบุคคลในกระบวนการยุติธรรมอาจจะเกิดจากความกลัวหรืออาจจะเกิดจากความอยากแสดงความจงรักภักดีโดยไม่ยึดหลักนิติธรรม แล้วเกิดการใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือ Abuse of Power เพื่อหวังผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางรัฐบาล เพื่อหวังผลทางการเมือง เลยทำให้เกิดความไม่พอใจ และยิ่งใช้มากก็ยิ่งเกิดความไม่พอใจมาก ซึ่งในสมัยก่อน สนง.ตำรวจแห่งชาติ จะมีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่ร้องเรียนขึ้นมาว่าเป็นเรื่องของการจงใจที่จะละเมิดมาตรา 112 จริงหรือเปล่า และจำนวนคดีก็มีน้อย และทุกอย่างก็เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาทางอาญา (Due Process of Law)

ฉะนั้นปัญหาก็น้อย แต่ช่วงนี้ปัญหาเยอะมาก ยิ่งใช้อีกฝ่ายหนึ่งก็มีความโกรธเคืองแล้วก็ไปโทษกันต่าง ๆ นานา ซึ่งผมเคยบอกแล้วว่า รัฐบาลน่าจะจับเข่าคุยกับกลุ่มเยาวชนที่เห็นต่างในทุกวันนี้ เราก็จะได้แนวทางที่อยู่ร่วมกันระหว่างคนในวัยที่ต่างกัน ถ้าจะเริ่มติดกระดุมใหม่ที่ติดผิดเม็ด ก็โดยการที่ปรับกระบวนการในการดำเนินคดีของ 112 เสียใหม่ ให้เหมือนในอดีตที่ทำอย่างเป็นระบบระเบียบ ไม่กลั่นแกล้ง ไม่หาเรื่อง แล้วก็ปล่อยผู้ถูกกล่าวหาให้ได้รับการประกันและใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไป และพูดคุยกับเด็ก ๆ จะได้เข้าใจตรงกัน เราจะอยู่ร่วมกันต้องมีกติกา กติกาอะไรที่มันยอมรับกันได้ทุกฝ่ายเป็นเรื่องสำคัญ

‘ก้าวไกล’ เปิดคำร้องสู้ข้อกล่าวหา ‘ล้มล้างการปกครอง’  พร้อมเคลียร์ต่อศาล รธน. ภายใน 27 ส.ค. ปมแก้ 112

จากกรณี ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่าการกระทำของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 2) ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่

(26 ก.ค. 66) เฟซบุ๊กเพจ ‘พรรคก้าวไกล’ ได้โพสต์ข้อความชี้แจงกรณีดังกล่าว ระบุว่า เปิดคำร้องแบบเต็ม พรรคก้าวไกลถูกกล่าวหา ‘ล้มล้างการปกครอง’ เพราะเสนอแก้ 112

‘แก้ไขไม่ใช่ล้มล้าง’ ประโยคนี้กำลังถูกท้าทายจากบรรทัดฐานทางกฎหมายแบบไทย ๆ อีกครั้ง เมื่อพรรคก้าวไกลถูกยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในข้อหาล้มล้างการปกครอง โดยคำร้องมีความยาวเกือบ 20 หน้า บรรยายมาอย่างละเอียดโดยอ้างถึงพฤติกรรมที่ว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้แก่ การที่หัวหน้าพรรค และ สส. ของพรรคก้าวไกล มีจุดยืนและการแสดงออกต่อสาธารณะในการเสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

คำร้องนี้ยกความคิดเห็นและการตีความพฤติกรรมของพรรคก้าวไกล จากบุคคลหลากหลายที่เราคุ้นหน้าคุ้นตา คุ้นจุดยืนกันดี เช่น แก้วสรร อติโพธิ, สนธิ ลิ้มทองกุล, สมเกียรติ อ่อนวิมล รวมถึงมีการยกคำให้สัมภาษณ์ที่พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้กับสำนักข่าวบีบีซี โดยมีการตัดทอนบทสัมภาษณ์ คัดเอาเฉพาะบางประโยคบางท่อนมาต่อกันเพื่อให้ดูสมกับข้อหาล้มล้างการปกครองมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

คดีนี้เดิมพรรคก้าวไกลจะต้องยื่นคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ แต่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการยื่นคำชี้แจงอีก 30 วันเป็นวันที่ 27 สิงหาคม 2566

พรรคก้าวไกลยืนยันว่า เราสามารถชี้แจงทุกประเด็นที่ถูกกล่าวหาได้อย่างมั่นใจ โดยยึดหลักการว่าการแก้ไขมาตรา 112 เป็นสิ่งที่กระทำมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และจะต้องทำได้ต่อไป

เราเชื่อว่าการแก้ไขมาตรา 112 เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้ไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมือง ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ไม่ใช่การล้มล้างการปกครอง ในทางตรงกันข้าม จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้อย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต

‘ทนายบอน’ แนะ ‘ก้าวไกล’ ทดลองไม่เอาผิดคนด่าทอ ถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาท หากทำได้ ค่อยคิดแก้ ม. 112

(27 ก.ค. 66) นายณัฐนันท์ กัลยาศิริ หรือ ‘ทนายบอน’ อดีตผู้สมัคร สส.กทม. พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กในประเด็นเกี่ยวกับพรรคก้าวไกล จะแก้มาตรา 112 ระบุว่า…

ถ้าก้าวไกลอยากแก้ 112 ให้ติชมสถาบันได้สะดวกขึ้น ให้ทดลองเริ่มที่ตัวเองก่อนไหม

ถ้าแก้มาตรา 112 ให้คนด่าสถาบันได้รับโทษแบบเบาหวิว และนิรโทษกรรมนักโทษหรือผู้ต้องหาที่ด่าสถาบันได้จำนวนมาก จะช่วยรักษาสถาบันได้จริง ตามที่พวกชอบพูดกัน

ผมขอให้ก้าวไกล คุณ ๆ ทั้งหลาย พิธา ธนาธร ปิยบุตร โรม ช่อ วิโรจน์ และใครต่อใครในพรรคที่ชอบพูดแบบนั้น ช่วยลองถอนฟ้อง ถอนแจ้งความคดีหมิ่นประมาท คดีดูหมิ่น ที่คุณเป็นเจ้าทุกข์ ทุกคดี (ถ้ามี) เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ…ดีไหม

และขอให้คุณช่วยประกาศนิรโทษกรรมให้ทุกคนล่วงหน้าเลยว่า ต่อจากนี้ไป ใครจะด่าจะติชมคุณอย่างไรก็ได้ ไม่เอาเรื่อง ไม่แจ้งความ ไม่ฟ้องอาญา เพื่อที่จะให้คนช่วยกันกระหน่ำติชม แบบที่คุณหวังว่าจะเกิดกับสถาบัน เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ และเพื่อที่จะได้ให้คำติชมนั้นช่วยรักษาสถาบันพรรคก้าวไกลเอาไว้ให้อยู่กับสังคมได้อย่างยาวนาน ไม่เสื่อมสลาย ... ดีไหม

ทดลองใช้ดูกับพวกคุณก่อนนะ ช่วยทำให้เป็นตัวอย่างที

แต่ถ้าคุณยืนยันจะแก้ 112 ต่อไป ส่งเสริมให้ด่าสถาบันได้สะดวกขึ้น เอาผิดยากขึ้น แถมโทษเบาหวิว แต่พอถึงคราวพวกคุณก็ฟ้องคนอื่นที่วิพากษ์วิจารณ์คุณอยู่แบบนี้…แบบนั้นมันก็ไม่ใช่มั๊ง    

‘ปิยบุตร’ ชำแหละ ‘ก้าวไกล’ ไร้เงา 112 ส่งสัญญาณ ‘หมอบ’ ก่อน 31 มกราคม

(27 ม.ค. 67) นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล’ ในหัวข้อ ‘กรณีก้าวไกลกับการแก้ 112’ โดยระบุว่า…

ผมมีส่วนร่วมในการตั้งพรรคอนาคตใหม่มา ผ่านประสบการณ์ทางการเมืองมา ยืนยันว่า การเมืองต้องผสมผสานอุดมคติของเรากับสภาพความเป็นจริงทางการเมือง มีรุก มีถอย ตามการประเมินสถานการณ์

ผมเอง ก็เคยถอย มาหลายครั้ง เพื่อองค์กร เพื่อการเดินหน้าตามสถานการณ์ เรื่องพรรค์นี้ คือ การประเมิน ไม่มีอะไรถูกร้อย ไม่มีอะไรผิดร้อย

ดังนั้น การวิจารณ์จังหวะก้าวของพรรคการเมือง จึงอาจมีผู้เห็นด้วย มีผู้เห็นต่าง คนทำพรรค อาจไม่เห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ นับเป็นเรื่องปกติ

ผมไม่เห็นด้วยกับการแถลงการณ์แผนการพรรคก้าวไกลในปี 2567

ผมเข้าใจดีว่า ทีมงานของพรรคต้องการจัดแถลงการณ์นี้ขึ้นมา เพื่อต้อนรับการกลับมาของพิธา แต่เมื่อผมเห็นเนื้อหาทั้งหมดแล้ว ผมเห็นว่า… ผิดพลาด โดยเฉพาะ แผนเสนอร่าง พ.ร.บ.47 ฉบับ โดยไม่มีร่างแก้ไข 112

พรรคอาจไม่ได้คิดว่าต้องพูดเรื่องนี้ แต่สื่อเขาคิด และสื่อถาม จี้ ขยายผลว่า สรุป 47 ฉบับในปี 67 ไม่มีแก้ 112 ใช่มั้ย?

กรณีนี้ ส่งผลอย่างไร?

1.) ย้ำความคิดว่า เราต้องยอมรับให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาอยู่เหนือฝ่ายนิติบัญญัติ การเสนอร่างกฎหมาย ต้องฟังว่าศาลรัฐธรรมนูญว่าอย่างไร?

2.) การไม่เสนอ และพูดว่าไม่เสนอ เพราะ รอศาลรัฐธรรมนูญ เสมือนกับส่งสัญญาณ ‘หมอบ’ ก่อนคำวินิจฉัยในวันที่ 31 นี้

3.) หากพรรคก้าวไกลคิดแบบเฉลียวเจ้าเล่ห์ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องแถลงในวันนี้เลย อดใจรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 31 ม.ค. นี้ก่อนก็ได้ เผื่อว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะหา ‘ทางลง’ ให้พรรคก้าวไกล ด้วยการตีกรอบการแก้ 112 ไว้

ต่อไป พรรคก้าวไกลก็พูดตอบประชาชนโหวตเตอร์ได้ว่า แก้ 112 ไม่ได้ เพราะแนวคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญบอกไว้

ผมไม่ได้ไร้เดียงสา ถึงขนาดว่าจะต้องแก้ 112 ให้ได้ จะต้องทำเรื่องนี้อย่างเดียว โดยไม่ต้องทำเรื่องอื่น

ผมตระหนักดีถึงการรุก/รอ/ถอย แต่ผมเห็นว่า การเคลื่อนตลอดสัปดาห์นี้ไปจนถึงวันที่ 31 ม.ค.ที่ศาลจะตัดสิน ที่ทำๆกันนั้น ไม่ได้คิดประเมิน รุก ถอย บริหารจัดการความคาดหวังคนเลือก แต่มุ่งไปในทิศทาง ‘หมอบ’ เสียมากกว่า ด้วยคิดว่าจะช่วยทำให้รักษาพรรคได้

แล้วพอเป็นแบบนี้ ก็เข้าทางฝ่ายตรงข้ามที่เขารอ ‘เอาคืน’ จากการที่พวกเขาถูกหาว่า ‘ตระบัดสัตย์’

ผมคาดเดาไว้แล้วว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยแบบใด…

ผมได้แต่หวังว่า คณะผู้นำพรรคก้าวไกลทั้งหมด จะประเมินเรื่องทั้งหมดให้รอบด้าน โดยมิได้ตั้งเป้ารักษาพรรค และกรรมการบริหารพรรค จนถึงขนาดต้องแลกกับทุกอย่าง

ผมคาดหวังว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาแล้ว จะได้ยินเสียงการวิจารณ์จากพรรคก้าวไกลบ้าง หากพรรคก้าวไกลไม่วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญเลย ผมจะออกมาวิจารณ์พรรคก้าวไกลเป็นคนแรกๆ แน่นอน

และผมจะวิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ตามปกติครรลองของกระบวนวิชาการตามที่ผมฝึกฝนมา

ปล. ดักคอกองเชียร์พรรคก้าวไกลไว้ก่อน ที่จะมาด่าว่า ทำไมผมไม่ไปบอกก่อน ไม่คุยภายใน ผมไม่รู้เรื่องที่พวกเขาทำกัน ผมเป็นคนนอก รู้เรื่องก็จากการอ่านข่าว รู้พร้อมๆ กับประชาชนคนทั่วไปที่ดูจากสื่อนั่นแหละ

‘อ.เจษฎ์’ ชี้!! คนไทยไม่ควรเห็นดีเห็นชอบในการล้มล้างสถาบัน ถ้าพอกันทำ จะสิ้นชาติ สิ้นแผ่นดิน

จากรายการ 'เข้มข่าวเย็น' ทาง PPTV เมื่อวันที่ 1 ก.พ.67 รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย กล่าวช่วงหนึ่งว่า...

พรรคการเมืองไม่ควรเอาเรื่อง สถาบันฯ มาหาเสียง และต่อให้พรรคก้าวไกล ชนะได้ สส.ถึง 500 คนเข้ามาในสภา ก็ไม่มีสิทธิที่จะไปล้มล้างสถาบันหลักของบ้านเมือง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top