Friday, 3 May 2024
แก้ปัญหาน้ำท่วม

'ทิพานัน' เผย 'บิ๊กป้อม' ลงพื้นที่สมุทรปราการติดตามความพร้อมรับมือฤดูฝน แก้ปัญหาน้ำท่วม ทั้งยังตั้งใจยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า การลงพื้นที่ จ.สมุทรปราการของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่จ.สมุทรปราการ เพื่อติดตามความพร้อมพื้นที่รับน้ำสมุทรปราการ ที่มีการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง โดยในช่วงปี 2561-2564 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการไปแล้ว 148 โครงการ มีประชาชนได้รับประโยชน์ 89,782 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 21,280 ไร่ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เทศบาลปู่เจ้าสมิงพราย ซ่อมแซมคันป้องกันน้ำกัดเซาะ อ.บางบ่อ ซ่อมคันกั้นน้ำสถานีสูบน้ำคลองด่าน 2 ปรับปรุงกำแพงป้องกันน้ำเค็ม เชื่อมถนนปานวิถี-ประตูระบายน้ำชลหารพิจิตร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบายน้ำป้องกันน้ำเค็ม สถานีสูบน้ำบาง ซ่อมแซมเครื่องกว้านบานระบายน้ำ ประตูระบายน้ำคลองสวน โดยพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีส.ส.ในพื้นที่ ที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่ประสานงานช่วยติดตามโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อพี่น้องประชาชน

'สมคิด' จวก 'ประยุทธ์' บริหารจัดการน้ำล้มเหลวทุกทาง ชี้!! ใช้งบ 4 แสนล้าน ผู้รับเหมารวย แต่ปชช.จมน้ำเช่นเดิม

(15 ต.ค. 65) สมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แสดงความเป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด อยากเรียกร้องให้รัฐบาลรีบช่วยเหลือเร่งจ่ายเงินเยียวยาโดยเร่งด่วน อย่าชักช้าเหมือนปี 2562 ที่ชาวบ้านต้องรอเงินเยียวยาไปซ่อมบ้านเรือนนานถึง 6-8 เดือน

เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะรัฐบาลออกกฎระเบียบ ขั้นตอนมากมาย ทำให้ประชาชนที่ประสบเหตุต้องรอนานกว่าจะได้เงินจาก 1 วัน เป็น 1 เดือน เป็นหลายเดือน จังหวัดอุบลราชธานี ประสบเหตุน้ำท่วมหนักมากกว่าทุกปี พี่น้องประชาชนต้องหนีน้ำขึ้นหลังคานับหมื่นครัวเรือน นาข้าวหลายแสนไร่ ต้องจมน้ำ ปศุสัตว์ตายเพราะน้ำท่วม กว่าจะได้เงินเยียวยาต้องรอข้ามปี ดังนั้น รัฐบาลต้องมีเจ้าภาพที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ อย่าหวังพึ่งระบบราชการดำเนินการ เพราะจะไม่ทันความเดือดร้อนของประชาชน

'มท.1' ลั่น!! ดูแลประชาชนรับผลวิกฤตน้ำท่วมเต็มที่ พร้อมยันจะเล็งเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนให้หลังน้ำลด

(21 ต.ค. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ และการเยียวยา ว่า กระทรวงมหาดไทย กำลังดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในจ.อุบลราชธานี ที่ได้รับผลกระทบมากจากปัญหาลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี โดยจะดูเรื่องการดำเนินชีวิตของประชาชนในช่วงนี้ 

หลังจากนั้น เมื่อระบายน้ำจนสามารถฟื้นฟูได้แล้วจะเร่งฟื้นฟูประชาชนตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว และเตรียมให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้โดยเร็ว

ส่วนสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะนี้น้ำได้ไหลลงไปในพื้นที่เกษตรเสียเป็นส่วนใหญ่ หากสามารถฟื้นฟูได้ก็จะคอยดูแลต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้ได้สำรวจความเสียหายตามพื้นที่ต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า "ขณะนี้ดูแลประชาชนความเป็นอยู่ที่ดีให้ได้ก่อน เพราะหลายพื้นที่ประชาชนยังอพยพอยู่ในศูนย์พักพิงจำนวนมาก เช่น จ.อุบลราชธานี ยืนยันว่าหากน้ำลง จะเร่งฟื้นฟูทันที และเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงการชดเชยการทำมาหากิน โดยเราจะเร่งสำรวจในช่วงสถานการณ์คลี่คลาย ตอนนี้ยังสำรวจไม่ได้เพราะน้ำยังมากอยู่"

‘เพื่อไทย’ โชว์ 14 แนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง มั่นใจ!! หากได้เป็นรัฐบาล ปชช. มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี

(26 เม.ย.66) เพจเฟซบุ๊กพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โดยระบุว่า…

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน คือโลกแปรปรวน เกิดน้ำท่วม น้ำแล้งรุนแรงและถี่มากขึ้น สร้างความเสียหายให้ประเทศ การพัฒนาต้องหยุดชะงัก และต้องใช้งบประมาณมหาศาลเยียวยา ถ้าพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล มิติการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วยวิธีคิดใหม่อย่างเป็นระบบ ประเทศไทยจะต้องไม่ท่วมไม่แล้ง ประชาชนต้องมีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี

พรรคเพื่อไทย มีมิติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด 14 ข้อ
1. จะมีประมวลกฎหมายสิ่งแวดล้อม จะมีการแก้ไข พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม จะมีพ.ร.บ.อากาศสะอาด จะมี พ.ร.บ.น้ำเสีย และจะมีกฎหมายบริหารจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ ให้อำนาจการเป็น Regulator ที่สมบูรณ์ โดยกฎหมายมีโทษทั้งทางแพ่งและอาญา และมีการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

2. ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เช่น Incentive และ Sanctions เช่น Tax ทุน ดอกเบี้ยไปพร้อมๆ กัน

3. ปรากฏการหรือเป้าหมายใหม่ๆ เช่น Carbon Neutrality, Zero GHG Emissions, Good Agricultural Practices (GAP) และ Transboundary Haze Agreement (THA) จะมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีเจ้าของเรื่อง และมีการติดตามประมวลผลตลอด

4. Circular Economy จะต้องให้ความสำคัญทางด้านผลประโยชน์ควบคู่ไปกับผลผลิตสุดท้าย (ขยะ) อย่างเท่าเทียมกัน

5. การมองทรัพยากรป่าไม้ จะต้องปรับเปลี่ยนจากการมองแบบแยกส่วนทางด้านระบบนิเวศน์ (Ecological Approach) เป็นการมองแบบภูมิทัศน์ทางสังคม (Landscape Approach) แทน

6. ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศน์ทางทะเลมากขึ้น เพราะขณะนี้พบว่า บางจุดจะได้เข้าใกล้Planetary Limit and Tolerance แล้ว โดยใช้นโยบาย Blue Evolution 

7. ปัญหาคนทำลายป่าไม้ จะเปลี่ยนวิธีคิดจากเดิมคนอยู่กับป่า มาเป็นป่าอยู่กับคน เพื่อให้นโยบาย Green ประสบความสำเร็จทั้งในป่าและในเมือง

'ประวิทย์' ชาติไทยพัฒนา ลุยหาเสียง เขต 5 พระนครศรีอยุธยา ชู!! พัฒนากรุงเก่าเจริญเทียบสุพรรณฯ - แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก

(13 พ.ค. 66) นายประวิทย์ สุวรรณสัญญา ผู้สมัคร ส.ส. เขต 5 พระนครศรีอยุธยา เบอร์ 12 พรรคชาติไทยพัฒนา ลงพื้นที่ อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.บางซ้าย อ.ลาดบัวหลวง ชูนโยบาย บ้านพี่เมืองน้องเราไม่ทิ้งกัน พัฒนาบ้านเรา ให้เหมือนสุพรรณบุรี เพราะพื้นที่คลองสองจังหวัดนี้ติดกัน มีความตั้งใจที่อยากจะเป็นสะพานนำความเจริญจากสุพรรณเข้าสู่อยุธยา เพื่อพี่น้องเกษตรกร เพื่อปากท้องชาวบ้าน เลือกคนใหม่ และเลือกพรรคชาติไทยพัฒนา เบอร์ 18

นอกจากนี้ ยังพร้อมรับฟังปัญหาน้ำท่วมจากพ่อแม่พี่น้องในพื้นที่ โดยมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่อยากจะเข้ามาเป็นปากเป็นเสียงและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้พี่น้องพระนครศรีอยุธยาเขต 5 เพื่อที่พี่น้องเขต 5 จะได้ไม่เดือดร้อนทุกปี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top