Sunday, 19 May 2024
เลิกบุหรี่

‘บุหรี่ไฟฟ้า’ อาจช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ เลิกบุหรี่ได้!! ถึงแม้ว่าผู้สูบจะไม่ได้ตั้งใจเลิกก็ตาม

ผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์โดย JAMA Network Open พบว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวันช่วยกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่ค่อย ๆ เลิกสูบบุหรี่ได้ แม้ว่าพวกเราจะไม่มีแผนที่จะเลิกบุหรี่ก็ตาม

ข้อมูลจากกลุ่มผู้สูบบุหรี่จำนวน 1,600 คน ที่ไม่ได้ตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่ในช่วงเริ่มต้นของการศึกษาวิจัย โดย 28% ของผู้สูบบุหรี่ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวัน สามารถหยุดสูบบุหรี่แบบเดิม ๆ ได้ภายใน 12 เดือน ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ไม่ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวัน สามารถเลิกสูบบุหรี่แบบธรรมดาได้เพียง 6%

นักวิจัยกล่าวว่า จากการศึกษาผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายวันมีโอกาสเลิกบุหรี่แบบเดิม ๆ ได้ถึง 8 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวัน

คาริน คาสซา นักวิทยาศาสตร์ จากศูนย์วิจัยและรักษามะเร็งครบวงจร รอสเวล พาร์ค ในบัฟฟาโล นิวยอร์ก และผู้ร่วมทำการวิจัยกล่าวว่า "ผลการวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวันอาจทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่แบบธรรมดาเป็นประจำทุกวัน มีแนวโน้มที่จะเลิกสูบบุหรี่ได้ ซึ่งถือเป็นหนทางที่ดีในการเลิกบุหรี่ เนื่องจากผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าตระหนักว่าพวกเขาสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องสูบบุหรี่เพราะได้รับนิโคตินจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว”

ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค มีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำในสหรัฐอเมริกาประมาณ 45 ล้านคน รวมถึงวัยรุ่น วัยกลางคน และเด็กมัธยมประมาณ 5 ล้านคน จากการประเมินระบุว่า 1 ใน 4 ของผู้สูบบุหรี่กลุ่มนี้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า

นอกจากนี้การศึกษาถึงประโยชน์ที่เป็นไปได้ของบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ด้วยผลลัพธ์ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่นงานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วพบว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้ผู้ใหญ่เลิกบุหรี่ได้ แต่อาจทำให้คนหนุ่มสาวเริ่มติดบุหรี่ไฟฟ้าได้

สำหรับการศึกษาครั้งนี้ คาสซาและทีมได้ทำการศึกษาผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้า ที่มีผลกระทบต่อผู้ที่สูบบุหรี่ทุกวันและไม่ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า และไม่มีแผนที่จะเลิกสูบบุหรี่ในช่วงเริ่มต้นของการวิจัย จากกลุ่มผู้ใหญ่เกือบ 2,500 คน โดย 38% ของผู้เข้าร่วมสูบบุหรี่ 20 ถึง 29 มวนต่อวัน และ 13% สูบบุหรี่ 30 มวนขึ้นไปต่อวัน โดยผู้เข้าร่วมเกือบ 2,300 คนเริ่มใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ทุกวันในช่วงเริ่มต้นของการศึกษา ขณะที่ส่วนที่เหลือไม่ได้ใช้ เมื่อสิ้นสุดโครงการนักวิจัยพบว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพียง 6% เท่านั้นที่เลิกสูบบุหรี่ได้

 

โต้งานวิจัย! “บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยเลิกบุหรี่” มั่วนิ่ม!! ยกตัวอย่างอังกฤษและผู้ใช้ตัวจริงในไทย หยุดสูบบุหรี่ได้จริง เพราะบุหรี่ไฟฟ้า!!

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ECST โต้ผลการศึกษาจากการสังเกตการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาที่ตีพิมพ์ในวารสาร บีเอ็มเจ มีจุดบกพร่องอยู่หลายจุด ทำให้ข้อสรุปไม่ถูกต้อง ชี้อังกฤษยังยืนยันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยเลิกบุหรี่ไฟฟ้า แนะการให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่างานวิจัยชิ้นเดียว

นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนกลุ่มลาขาดควันยาสูบ หรือ ECST (Ends Cigarette Smoke Thailand) และแอดมินเพจ บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไรที่มีผู้ติดตามกว่า 100,000 คน เผยว่า “ผู้เชี่ยวชาญจากฝั่งอังกฤษออกมาชี้แจงว่างานวิจัยสถาบันมะเร็งมอเรส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้น้อยกว่าการใช้นิโคตินทดแทนมีวิธีทำการวิจัยที่ยังไม่ถูกต้อง ทำให้ได้ข้อสรุปขัดแย้งกับการศึกษาในผู้ใช้จริง (การศึกษาทางคลินิก) ซึ่งมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยสำหรับผู้อยากเลิกบุหรี่มวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ เอฟเฟกต์ทีฟ ควิทติ้ง เอด (effective quitting aids) และทางหน่วยงานสุขภาพระดับชาติของอังกฤษก็รับรองผลและชี้แนะว่าควรนำไปใช้ด้วย”

คำชี้แจงดังกล่าวของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ จอห์น บริตตัน จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ได้รับการเผยแพร่ในนิตยสารทางการแพทย์ Science Medical Centre โดยระบุว่า “ผลการศึกษาจากการสังเกตการเลิกบุหรี่ไฟฟ้าและการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกามีจุดบกพร่องอยู่หลายจุด เพราะเป็นการพิจารณาตัวแปรที่สุดโต่ง คือในผู้สูบบุหรี่ที่เสพติดขั้นรุนแรง และผู้สูบบุหรี่ที่ขาดแรงจูงใจในการพยายามเลิกหรือลดการเสพติดบุหรี่มวน หรือผู้ที่เคยล้มเหลวจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนเพื่อเลิกบุหรี่มาก่อนแล้ว จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลวิจัยไม่เห็นความสำเร็จในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (clinical trials) ที่มีการออกแบบการทดลองอย่างรอบคอบ ภายใต้การดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบคำถามว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้ผู้เสพติดบุหรี่ที่มีสารอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าได้จริงหรือไม่

นอกจากนี้ ศ.กิตติคุณ บริตตัน ยังระบุว่าข้อสรุปจากการวิจัยทางคลินิกที่แสดงผลชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือช่วยบำบัดผู้อยากเลิกบุหรี่มวนได้อย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่การปรับนโยบายสาธารณสุขของทางฝั่งอังกฤษ ที่ได้รับรองการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และมีคำแนะนำการใช้ที่เหมาะสมไว้ใน คู่มือการเลิกบุหรี่ หรือไกด์ไลน์ฉบับล่าสุดปี 2021 ของสถาบันสุขภาพและการดูแลสุขภาพแห่งชาติ ของสหราชอาณาจักร หรือ NICE  (UK National Institute for Health and Care Excellence)

 

‘ถา สถาพร’ เผยข้อดี หลังเลิกบุหรี่มา 5 ปี ชี้!! ประหยัดเงินไปได้เกือบ 6 แสนบาท

(24 ส.ค. 66) นอกจากสุขภาพจะดีขึ้นแล้วยังประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้เยอะเลยทีเดียว สำหรับ ผู้จัด-นักแสดง ‘ถา สถาพร นาควิไลโรจน์’ ที่ตั้งใจเลิกสูบบุหรี่มาตั้งแต่ปี 2561 จนถึงตอนนี้ก็เป็นระยะเวลากว่า 5 ปีแล้ว ที่เจ้าตัวทำสำเร็จ

โดย ‘ถา สถาพร นาควิไลโรจน์’ ได้ออกมาโพสต์แชร์ประสบการณ์หลังเลิกบุหรี่ 5 ปี ทำให้ประหยัดเงินในกระเป๋าไปกว่าครึ่งล้าน ระบุข้อความว่า "ครบ 5 ปี ที่เลิกบุหรี่สำเร็จ (24 สิงหาคม 2561-2566) เซฟเงินไปเกือบ 6 แสนบาท (150x2x30x12x5) รองาน Presenter เข้า"

ท่ามกลางคอมเมนต์ของแฟน ๆ เข้ามาชื่นชมเป็นจำนวนมาก

ทางเลือกสำหรับการ 'เลิกบุหรี่' หนึ่งในแชมป์ปณิธานปีใหม่ยอดฮิตยาวนานกว่าทศวรรษ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระพล จันทร์ดียิ่ง

ในทุกๆต้นปี สิ่งที่เรียกว่า “ปณิธานปีใหม่ (New Year Resolution)” มักจะวนกลับมาเพื่อสะท้อนถึงเป้าหมายการพัฒนาตนเองในสิบสองเดือนข้างหน้า จากการสำรวจโดยนิตยสารสุขภาพระดับโลกอย่าง Forbes Health ชี้ว่า ผู้คนกว่าร้อยละ 12 กล่าวว่าการเลิกบุหรี่เป็นปณิธานปีใหม่ที่ต้องการบรรลุให้ได้ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 7 รองจากเป้าหมายด้านสุขภาพ การเงิน สุขภาพจิต และอาหารการกิน

การเลิกบุหรี่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสุขภาพได้มากมาย เช่น ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ลดลงได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากหยุดบุหรี่ ซึ่งคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้การนำส่งออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายลดลง ทำให้เกิดการปวดหัว มึนงง หัวใจทำงานหนัก การหยุดบุหรี่ช่วยให้ระดับออกซิเจน (Oxygen) ในเลือดสามารถกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ อีกทั้งการเลิกบุหรี่ได้ภายใน 2 เดือน ช่วยให้ความดันโลหิตลดลงและการทำงานของปอดดีขึ้นอีกด้วย

ในปัจจุบัน นวัตกรรมได้เข้ามามีบทบาทสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ นอกเหนือไปจากการเลิกบุหรี่แบบหักดิบแล้ว ก็ยังมียาสำหรับช่วยเลิกบุหรี่ รวมถึงนิโคตินทดแทนในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้สูบบุหรี่บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น

ในส่วนของการใช้ยาสำหรับช่วยเลิกบุหรี่ ในปัจจุบัน ตัวยาที่มีประสิทธิภาพ และได้การรับรองให้ใช้ได้อย่างปลอดภัยแล้ว ได้แก่ ยา Varenicline Cytisine และ Bupropion

นอกจากนี้ ปัจจุบัน ตัวเลือกสำหรับนิโคตินทดแทนก็มีหลากหลายกว่าสมัยก่อนมาก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของแผ่นแปะ หมากฝรั่ง ลูกอม ยาเม็ด หรือนิโคตินแบบสูดดม แต่ยังมีนิโคตินทดแทนในรูปแบบของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งล่าสุด ผลการศึกษา Systematic Review โดย Cochrane ชี้ให้เห็นว่า บุหรี่ไฟฟ้า ยา Varenicline และ ยา Cytisine เป็นตัวช่วยเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ด้านพฤติกรรมให้แก่ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ แต่ยังมีข้อถกเถียงเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าว่าผู้ที่เลิกบุหรี่ด้วยบุหรี่ไฟฟ้าจะสามารถเลิกบุหรี่ไฟฟ้าได้ด้วยหรือไม่ และยังไม่มีการศึกษาผลต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้น ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ควรศึกษาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ หรือปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม

แม้ทุกคนจะทราบดีว่าการเลิกบุหรี่นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ ทว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเลิกบุหรี่ได้ หรือแม้แต่คิดที่จะเลิก ดังนั้น การมอบทางเลือกที่หลากหลายให้แก่ผู้สูบบุหรี่จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยปลดล็อคอัตราการสูบบุหรี่ของไทยให้ลดลงและพิชิตเป้าหมายด้านสาธารณสุขได้สำเร็จ
Source:
• Why should stopping smoking be your New Year’s resolution for 2023? - Roy Castle Lung Cancer Foundation
• Top New Year’s Resolutions For 2024 – Forbes Health
• ไทยทำสำเร็จ! 'องค์การเภสัชกรรม' พัฒนายาเม็ดเลิกบุหรี่ 'ไซทิซิน' เริ่มผลิตปีหน้า (mgronline.com)
https://www.cochranelibrary.com/cdsr/doi/10.1002/14651858.CD015226.pub2/full


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top