Sunday, 19 May 2024
เพชรบุรีโมเดล

'อลงกรณ์' นำกระทรวงเกษตรขับเคลื่อน ”เพชรบุรีโมเดล” คิกออฟโครงการพืชเศรษฐกิจใหม่สาหร่ายอาหารแห่งอนาคต(Future Food)หวังสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยกล่าววันนี้(14 ส.ค.)ว่า วันนี้เป็นการคิกออฟขับเคลื่อนโครงการพืชเศรษฐกิจใหม่สาหร่าย:อาหารแห่งอนาคต(Future Food)ที่เพชรบุรีเป็นจังหวัดแรกเพื่อสร้างอาชีพเพิ่มรายได้เกษตรกรโดยกรมประมงซึ่งมีภารกิจตามกฎหมายรับผิดชอบสัตว์น้ำและพืชน้ำเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารโครงการร่วมด้วยนายสมบุญ ธัญญาผล ประมงจังหวัด ว่าที่ร้อยตรีอาณัติ หุ่นหลา เกษตรจังหวัด นส.ศิริวรรณ เครือเล็ก เกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายประพัฒน์ ก่อสวัสดิพัฒน์ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรี

การเลือกเพชรบุรีเป็นจังหวัดคิดออฟโครงการเนื่องจากมีพื้นฐานการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในพื้นที่อำเภอบ้านแหลมโดยการสนับสนุนของกรมประมงและเป็นจังหวัดตัวอย่างต้นแบบในยุทธศาสตร์และแผนกลยุทธ์การพัฒนาสาหร่ายให้เป็นหนึ่งในจังหวัดต้นแบบภายใต้แนวทาง ”เพชรบุรีโมเดล” ซึ่งจะส่งเสริมตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาการผลิตด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่ การสร้างศักยภาพผู้เพาะเลี้ยงสาหร่าย การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มโดยวิสาหกิจชุมชน องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นและผู้ประกอบการภาคเอกชน  การสร้างแบรนด์และการส่งเสริมการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยกรมประมงได้ผนึกความร่วมมือกับภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการ มูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท และมูลนิธิเวิลด์วิว อินเตอร์เนชั่นแนลโดยได้เยี่ยมชมศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรีที่แหลมผักเบี้ยดำเนินการวิจัยและพัฒนาสาหร่ายทะเลหลายสายพันธุ์เช่น สาหร่ายพวงองุ่น สาหร่ายลิ้นมังกร สาหร่ายผักกาด สาหร่ายโพรง สาหร่ายขนนกและสาหร่ายผมนางเป็นต้น จากนั้นจึงไปดูกิจการฟาร์มเลี้ยงสาหร่ายเช่นแฟมิลิฟาร์ม เบญจมาศฟาร์มและฟาร์มเลี้ยงสาหร่ายแบบเกษตรอินทรีย์ที่ฟาร์มทะเลตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบามราชินีนาถ

‘อลงกรณ์’ ลุยพัฒนาเกษตรฯยั่งยืนระดับตำบล นำร่องเพชรบุรีจังหวัดแรก ก่อนขยายไปทั่วปท.

'อลงกรณ์' เร่งวางรากฐานการพัฒนาเกษตรกรรม ยกระดับสู่ความยั่งยืน 7,255 ตำบลทั่วประเทศ ลุยเดินหน้าผนึกพลังชุมชนนำร่องเพชรบุรีโมเดลร่วมกับหน่วยราชการศูนย์ AIC และ ภาคเอกชน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งชาติเปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อสร้างการรับรู้นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลในจังหวัดเพชรบุรีภายใต้เพชรบุรีโมเดลเป็นจังหวัดแรก ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อและที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โดยมีคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล ตัวแทนส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตร กลุ่มอาสาสมัครเกษตร กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young smart farmer) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตร ปราชญ์เกษตร กลุ่มผู้ใช้น้ำ ผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์ AIC เพชรบุรี ผู้แทนคณะทำงานเพชรบุรีโมเดล ผู้แทนคณะกรรมการพัฒนาแบรนด์เพชรบุรี คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ และผู้นำชุมชนในตำบลบ้านหม้อ ต้นมะม่วง ตำบลหนองโสน ตำบลธงชัย และตำบลบ้านกุ่ม เข้าร่วมประชุม

นายอลงกรณ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการประชุมว่าต้องการที่จะให้แต่ละตำบลได้มีการพัฒนาระบบเกษตรกรรมในแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนพร้อมกันทั่วประเทศ 7,255 ตำบล ขณะนี้มีการแต่งตั้งเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทยและทุกภาคีภาคส่วนโดยหวังว่าการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนจะสร้างอาชีพสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรและชุมชน เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาหนี้สินและความยากจน โดยมีการส่งเสริมทั้ง3สาขาเกษตรคือพืช ประมงและปศุสัตว์ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของแต่ละตำบลเป็นการปักหลักวางหมุดหมายการพัฒนาแบบยั่งยืนลงไปถึงระดับชุมชนหมู่บ้าน ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้แก่ ตลาดนำการผลิต เทคโนโลยีเกษตร 4.0 เกษตรปลอดภัย เกษตรยั่งยืน เกษตรมั่นคง การบูรณาการทำงานเชิงรุกทุกภาคส่วน และเกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ซึ่งจะเป็นกลไกการพัฒนาหมู่บ้านตำบลแบบบูรณาการทุกภาคส่วน เชื่อว่ากลไกใหม่ที่วางไว้ทุกตำบลทั่วทั้งประเทศ จะเป็นเสาเข็มใหม่ 7,255 ต้นที่จะเป็นฐานที่แข็งแกร่งให้กับชุมชนและประเทศ

'อลงกรณ์' คิกออฟ 'เพชรบุรีโมเดล' ตัวอย่างนำร่องทั่วประเทศ ขับเคลื่อนคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล

'อลงกรณ์' เดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เร่งขับเคลื่อนคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล ลุยหนัก 2 วัน 19 ตำบล หวังใช้ 'เพชรบุรีโมเดล' เป็นตัวอย่างนำร่องทั่วประเทศ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับประเทศ พร้อมด้วยนายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตร และ ดร.เรืองแสง ห้าสกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเพชรบุรีโมเดล ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี 11 ตำบลเมื่อวันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างการรับรู้แนวทางการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลในจังหวัดเพชรบุรีและนโยบายโครงการสำคัญ ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ทั้งนี้ได้มีหัวหน้าส่วนราชการของกระทรวงเกษตรในส่วนภูมิภาค สำนักงานพาณิชย์จังหวัด อบต. กำนันผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครเกษตร เกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรแปลงใหญ่ ศพก.วิสาหกิจชุมชน ผู้แทน AIC และทีมอาสาสมัครเพชรบุรีโมเดล ฯลฯ เข้าร่วมประชุมในพื้นที่ 11 ตำบลได้แก่ ดอนยาง, หนองขนาน, หาดเจ้าสำราญ ประชุมที่วัดถิ่นปุรา ตำบลนาพันสาม และหนองพลับ ประชุมที่วัดนาพรม ตำบลช่องสะแก, บางจาน, นาวุ้ง, โพไร่หวาน ประชุมที่อบต.ช่องสะแก และ ตำบลโพพระ, สำมะโรง ประชุมที่วัดลาดโพธิ์

นอกจากนี้นายอลงกรณ์และคณะยังมีกำหนดการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องในวันนี้ (18 ต.ค.) ที่ตำบล บ้านแหลม, บางครก, ท่าแร้ง, ท่าแร้งออก, บางแก้ว, ปากทะเล, บางขุนไทร และแหลมผักเบี้ย ซึ่งจะมีการประชุมครบทั้ง 8 อำเภอของเพชรบุรีภายในเดือนนี้และเดือนหน้าต่อไป

‘เฉลิมชัย’ มอบนโยบายเร่ง ‘เพิ่มรายได้’ เกษตรกร พร้อมตั้งเป้าพัฒนา ‘อาชีพปศุสัตว์’ สู่เกษตรมูลค่าสูง

'อลงกรณ์' ขานรับทันทีเดินหน้าเพชรบุรีโมเดลดีเดย์ 11 พ.ย.ระดมพลคนปศุสัตว์ผนึกทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาโคขุนโคนมโคพื้นเมืองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำพร้อมยกระดับวัวลานประเพณีวิถีไทยสู่มาตรฐานใหม่

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ว่า ภายใต้นโยบายของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้เร่งเพิ่มรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืนโดยตั้งเป้าหมายพัฒนาอาชีพปศุสัตว์สู่เกษตรมูลค่าสูงตามหมุดหมายใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ในระหว่างปฏิบัติราชการที่จังหวัดเพชรบุรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีโดยคำแนะนำของที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ จึงได้จัดการประชุมเรื่อง 'การพัฒนาโคขุนโคนม โคพื้นเมืองและวัวลานกีฬาประเพณีวิถีไทย' เป็นครั้งแรกเพื่อพัฒนาการปศุสัตว์อย่างเป็นระบบและยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืนในวันศุกร์ที่ 11 พ.ย. เวลา 14.00- 16.00 น. ณ ห้องประชุม สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรีโดยประสานงานเขิญทุกภาคส่วนได้แก่จังหวัดเพชรบุรี พาณิชย์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตชะอำ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาพันธ์เอาเอ็มอี ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนโคนมโคพื้นเมือง วัวลาน วิสาหกิจชุมชนโค โคแปลงใหญ่ และตัวแทนจากกรมปศุสัตว์ ฯลฯ เข้าร่วมประชุม

นายอลงกรณ์กล่าวว่า เพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีการเลี้ยงโคขุนโคนมและโคพื้นเมืองมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศถือเป็นฐานรายได้สำคัญของเกษตรกรจึงมีความพร้อมที่จะเดินหน้ายกระดับการพัฒนาแบบครบวงจรภายใต้โครงการเพชรบุรีโมเดลตั้งแต่พันธ์ุโค อาหารสัตว์ มาตรการฟาร์ม การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) คอกกักมาตรฐานเอกชนสำหรับการนำเข้า การส่งออก และปลอดโรค FMD การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างแบรนด์ และการตลาดแบบออฟไลน์และออนไลน์เช่นกรณีของพรี่เมี่ยมบี๊ฟ(Premium Beef)แปรรูปผลิตภัณฑ์จำหน่ายได้มากกว่า 30 ผลิตภัณฑ์ เช่น สันนอก สเต็กแช่แข็ง ลิ้นแองกัสสไลด์แช่แข็ง เนื้อหมักกระเทียมพริกไทยเสียบไม้ โดยจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ และส่งไปจำหน่ายยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าได้อีกด้วยหรือกลุ่มโคเพชรบุรีสามารถส่งโคไปภาคใต้สู่ตลาดมาเลเซียเป็นต้นหากมีการยกระดับการพัฒนาจะเพิ่มศักยภาพเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรมากขึ้นโดยเฉพาะการขยายความสัมพันธ์การค้าการลงทุนระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียด้านการเกษตรและปศุสัตว์จะเพิ่มช่องทางใหม่ๆให้กับเพชรบุรีซึ่งเลี้ยงและจำหน่ายโคกว่า140,000-150,000ตัวต่อปี พร้อมกันนี้ก็จะจะพัฒนาวัวลานซึ่งเป็นกีฬาประเพณีวิถีไทยสู่มาตรฐานใหม่ให้สามารถจัดการแข่งขันได้สม่ำเสมอรวมทั้งการส่งเสริมวัวเทียมเกวียน

'อลงกรณ์' เปิดแผนพัฒนาโคพื้นเมืองพร้อมเปิดแข่ง 'วัวลาน' เพชรบุรีสนามแรกรับปีใหม่

เร่งตั้งสมาคมกีฬาวัวลาน เล็งสร้างสนามแข่งวัวลานมาตรฐานจัดแข่งตลอดปีดึงนักท่องเที่ยวไทย-เทศเที่ยวชมกีฬาประเพณีแห่งเดียวของโลก ตั้งเป้าเพิ่มรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้เกี่ยวกับแผนการพัฒนาโคพื้นเมืองและกีฬาวัวลานสำหรับปี2566ว่า ภายหลังจากการจัดประชุมรวมพลคนปศุสัตว์หารือระหว่างกรมปศุสัตว์ จังหวัดเพชรบุรี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและกลุ่มผู้เลี้ยงโคพื้นเมืองและวัวลานในจังหวัดเพชรบุรีครั้งที่1เมื่อปลายปีที่ผ่านมาเพื่อรับฟังปัญหาและร่วมวางแนวทางการพัฒนาโคพื้นเมืองและการแข่งขันวัวลานกีฬาประเพณีพื้นบ้านนั้น ในปีนี้กรมปศุสัตว์โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีมีแผนดำเนินการพัฒนาโคพื้นเมืองและวัวลานภาคตะวันตกอย่างเป็นระบบครบวงจรตั้งแต่การพัฒนาสายพันธุ์ การพัฒนาฟาร์ม การป้องกันโรค การยกระดับปศุสัตว์แปลงใหญ่ การอนุรักษ์พันธุ์โคพื้นเมือง การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์( GI ) 

ซึ่งเป็นอัตตลักษณ์ของเพชรบุรี การส่งเสริมประเพณีการประกวดวัวสวยงาม วัวเทียมเกวียนและการแข่งขันวัวลาน การพัฒนาตลาดเพื่อยกระดับราคา ทั้งนี้จะจดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาวัวลาน พร้อมกับสร้างสนามกีฬาแข่งวัวลานที่เป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับสนามม้าแข่งในประเทศไทยและในประเทศต่างๆทั่วโลกที่มีระเบียบและกฎหมายรองรับและจะเปิดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเข้าชมวัวลานกีฬาประเพณีวิถีไทยในรูปแบบเกษตรท่องเที่ยวเป็นการสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงให้กับวัวลานเพชรบุรีซึ่งถือเป็นต้นตำรับประเพณีการแข่งวัวลานในประเทศไทย รวมทั้งการส่งเสริมวัวเทียมเกวียน การประกวดพันธ์ุวัวและวัวสวยงาม โดยมีศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดเพชรบุรี(ศูนย์AIC มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี)และหน่วยงานเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนส่งเสริมด้านการวิจัยพัฒนาและต่อยอดทั้งนี้จะเปิดสนามแข่งวัวลานที่เพชรบุรีเป็นครั้งแรกในเดือนแรกของปีนี้เพื่อเปิดศักราชใหม่ของการส่งเสริมพัฒนาโคพื้นเมืองและวัวลานภายใต้แนวทางเพชรบุรีโมเดลซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีเป้าหมายเข็มมุ่งชัดเจนสไตล์ทำได้ไวทำได้จริง

'อลงกรณ์' นำทีมกระทรวงเกษตรผนึกทีมเพชรบุรีโมเดลขับเคลื่อนโครงการชุมชนสีเขียว เมืองสีเขียว(Green Community)

เพิ่มพื้นที่สีเขียวและทำเกษตรในเมืองในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรีภายใต้การสนับสนุนของคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองนำทีมเกษตรทุกหน่วยและทีมเพชรบุรีโมเดล เปิดเผยวันนี้(1ก.พ.)หลังจากลงพื้นที่สร้างการรับรู้โครงการชุมชนสีเขียว เมืองสีเขียว (Green Community- Green City)ให้ชาวชุมชนสุรินทรฤาชัย ที่ตลาดริมน้ำ ถนนพานิชเจริญ ตำบลท่าราบ เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ว่าโครงการชุมชนสีเขียว เมืองสีเขียว มีเป้าหมาย 1.เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อคุณภาพเมืองและสวัสดิภาพประชาชน  ลดฝุ่นละออง PM 2.5 ร่วมแก้ปัญหาโลกร้อน 2.ส่งเสริมการทำเกษตรในเมืองเพื่อลดรายจ่ายครัวเรือนและชุมชน ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องเป็นชุมชนที่2ต่อจาก 'ชุมชนสีเขียวคลองกระแชง' โดยได้รับความสนใจจากประชาขนอย่างมากและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการชุมชนสีเขียว(Green Community) 17 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรีภายใต้แนวทาง 'เพชรบุรีโมเดล' มีการแนะนำการปลูกพืชผักสลัด พืชสวนครัว การกำจัดศัตรูพืช การปรุงดิน การผลิตปุ๋ยไส้เดือน การทำสวนแนวตั้ง การใช้ภาชนะในครัวเรือนปลูกพืช การทำผักยกแคร่ เป็นต้นเพื่อเป็นต้นแบบของทุกเทศบาลและอบต.ที่มีความเป็นชุมชนเมือง

ทั้งนี้นายอลงกรณ์ย้ำว่า เขตเมืองยังมีพื้นที่สีเขียวมีพื้นที่สวนสาธารณะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานไม่ถึง9ตารางเมตรต่อคน และเป็นพื้นที่ที่ไม่มีความมั่นคงทางอาหารเพราะผลิตอาหารได้เองไม่ถึง10% ทั้งนี้ในปี2562 เป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทยที่จำนวนประชากรในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแรก 

อีกทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ(Climate Change)จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(GHG)ทำให้โลกร้อนขึ้น ตนจึงริเริ่มดำเนินการ 'โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง' ( Sustainable Urban Agriculture Development Project : SUAD Project ) เป็นครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้คณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองที่ตนเป็นประธานและมีดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ. เป็นเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งชาติเป็นโครงการในรูปแบบเกษตรในเมือง (Urban Farming)แบบยั่งยืนและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในหลายรูปแบบเช่นสวนเกษตร(Pocket Garden) สวนวนเกษตร (Forest Garden) โดยใช้แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อรักษาความหลากหลายทางธรรมชาติ ระบบนิเวศน์เกษตร และเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้เชิงประจักษ์ในเมือง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top