Tuesday, 30 April 2024
เตือน

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือประชาชน หลัง กอนช. ประกาศแจ้งเตือนเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน

ตามข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่าขณะนี้ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ส่งผลให้ทั่วทุกภาคมีฝนตก และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ และกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศฉบับที่ 24/2565 ให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉบับพลัน ในช่วงวันที่ 2-10 ส.ค.2565 

วันนี้ (2 ส.ค. 65) พล.ต.ต.หญิง วิชญ์ชยากร ณิชาบวร รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยในสถานการณ์ ดังกล่าว จึงสั่งการให้ บช.น., ภ.1-9 และหน่วยที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อม ดังนี้
1. เตรียมแผนเผชิญเหตุ และพร้อมปฏิบัติการช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ที่เกิดเหตุ
2. จัดชุดปฏิบัติการต่าง ๆ พร้อมอุปกรณ์ เครื่องมือ และยานพาหนะ เช่น ชุดขนย้ายประชาชนและสิ่งของ ชุดอำนวยความสะดวกเส้นทางสัญจร และชุดสายตรวจ เป็นต้น 
3. ให้ผู้บังคับบัญชาลงไปกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการให้การช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน หรือมีเหตุการณ์รุนแรง ทั้งในส่วนของประชาชนในพื้นที่ และหน่วยงานของตำรวจเอง
4. ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่

 

ตร. เตือน รวม 5 มุกเด็ด SMS มิจฉาชีพ รู้ไว้ ปลอดภัยกว่า

วันที่ 3 ส.ค. 2565 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น
ปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ยังคงมีกลุ่มมิจฉาชีพใช้การส่งข้อความสั้น หรือ SMS ในการหลอกลวงเหยื่อให้กดลิงก์หลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล หลอกเอาทรัพย์สินจากเหยื่อ หลอกให้กู้เงินนอกระบบ  หรือหลอกให้เล่นพนันออนไลน์ เป็นจำนวนมาก 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน จึงขอประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ทราบถึงกลโกงและวิธีการของกลุ่ม SMS หลอกลวง เพื่อให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทัน และสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของคนร้าย โดยจากการตรวจสอบพบว่าแผนประทุษกรรมในการหลอกลวงผ่าน SMS มีดังนี้

ตร. เตือน เล่นเฟซบุ๊กเจอโพสต์ชิงโชค พอได้รางวัลให้แอดไลน์คุยหลังไมค์ สุดท้ายเสียทรัพย์

วันที่ 8 ส.ค. 2565 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

ปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่านอกจากการฉ้อโกงผ่านทาง SMS หรือการสุ่มโทรผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือแล้ว ยังพบว่ากลุ่มคนร้ายได้ใช้วิธีการโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) อ้างว่าให้มาร่วมสนุกด้วยการตอบคำถามชิงรางวัล จากนั้นเมื่อเหยื่อหลงเชื่อร่วมกิจกรรมและตอบคำถามถูกต้อง คนร้ายจะส่งข้อความมาคุยหลังไมค์กับเหยื่อหรือให้เหยื่อแอดไลน์มาคุยกับคนร้าย จากนั้นคนร้ายก็จะใช้วิธีการต่าง ๆ ในการหลอกล่อให้เหยื่อส่งมอบเงิน หรือข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ให้กับคนร้าย โดยวิธีการต่อไปนี้
1. อ้างว่าเหยื่อต้องโอนเงินจ่ายภาษีหรือค่าธรรมเนียมในการรับของรางวัลก่อน เพราะเป็นขั้นตอนตามกฎหมาย หรือขั้นตอนของบริษัทฯ จึงจะสามารถส่งของรางวัลให้กับเหยื่อได้ เมื่อเหยื่อโอนเงินแล้วจะบล็อก ไม่สามารถติดต่อคนร้ายได้
2. อ้างว่าเหยื่อต้องส่งข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลบัญชีธนาคาร ให้กับคนร้าย เพื่อดำเนินการตรวจสอบก่อนมอบรางวัล ซึ่งอาจเกิดความเสียหายกับเจ้าของข้อมูลได้

ตร.เตือน หลอกขายของออนไลน์ ภัยออนไลน์อันดับ 1 ของคนไทย เพียงเดือนกว่า ความเสียหายรวมเกือบ 120 ล้านบาท

วันที่ 31 ส.ค. 2565 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

จากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผ่านเว็บไซต์ https://www.thaipoliceonline.com พบว่า ประเภทคดีที่สร้างความเสียหายให้กับพี่น้องประชาชนมากที่สุดคือ หลอกขายของออนไลน์ โดยสถิติตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 จนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2565 มีจำนวนการรับแจ้งถึง 9,841 เรื่อง รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 118,874,403.38 บาท
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอประชาสัมพันธ์พี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังในการเลือกซื้อของออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การซื้อของผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพราะผู้ไม่หวังดีมักจะสร้างบัญชีสื่อสังคมออนไลน์โดยใช้ข้อมูลปลอม หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น เพื่อใช้หลอกขายสินค้าโดยเฉพาะ ดังนั้นก่อนที่พี่น้องประชาชนจะเลือกซื่อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ขอให้ใช้ความระมัดระวังก่อนที่จะโอนเงินค่าสินค้าให้กับผู้ขาย เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองตกเป็นเหยื่อของการหลอกขายของออนไลน์ ดังนี้
1. เลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางหรือเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ
2.  ระมัดระวังในการเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาถูกเกินจริง หรือสินค้าหายากในท้องตลาด (Limited Edition)
3.  อ่านรีวิวจากผู้อื่นที่ซื้อสินค้าเดียวกัน ว่าเป็นอย่างไร น่าเชื่อถือหรือไม่
4.  ค้นหาข้อมูลของผู้ขายและบัญชีธนาคารรับโอนเงิน ในเว็บไซต์ Search Engine เช่น google หรือตรวจสอบจากเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบข้อมูล ว่าผู้ขายหรือบัญชีที่รับโอนเงินเคยมีประวัติฉ้อโกง หรือไม่ส่งสินค้าหรือไม่
 

ตร. เตือน QR Code สิ่งอำนวยความสะดวกที่อาจมาพร้อมภัยอันตราย ต้องรู้ทันถึงปลอดภัย

วันที่ (23 ก.ย. 2565) พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบพบว่าในปัจจุบันประเทศไทย ได้มีการใช้งาน QR Code กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในโลกยุคดิจิทัล เพราะเพียงแค่สแกนก็สามารถเข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการได้ โดยไม่ต้องพิมพ์ ที่อยู่เว็บไซต์ (URL) ยาว ๆ อีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตามความสะดวกสบายก็ต้องแลกมากับความเสี่ยง โดยกลุ่มมิจฉาชีพมักจะฉวยเอาโอกาสจากการใช้ QR Code ในการทำเว็บไซต์ปลอม หรือหลอกให้ดาวน์โหลดมัลแวร์หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าหากพี่น้องประชาชนไม่ระมัดระวังหรือไม่สังเกต URL ที่ขึ้นมาตอนสแกน QR Code ก็อาจทำให้หลงเชื่อว่าเป็นเว็บไซต์จริง หรือแอปพลิเคชันจริง ทำให้หลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล รหัสผ่าน หรือติดตั้งไวรัสคอมพิวเตอร์ลงในอุปกรณ์ของตนเอง ทำให้เกิดความเสียหายกับพี่น้องประชาชนจำนวนมากนั้น

รัฐบาล เตือน!! โจรขโมยของ 'คนน้ำท่วม' ซ้ำเติมความเดือดร้อน โทษหนักกว่าปกติ

(9 ต.ค. 65) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด พร้อมเร่งบรรเทาความเดือดร้อน ช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนัก และฝนตกสะสม น้ำป่าไหลหลาก น้ำทะเลหนุน เนื่องจากบางพื้นที่ต้องอพยพประชาชนไปพักที่ศูนย์อพยพต่าง ๆที่ทางราชการจัดไว้ ทำให้ประชาชนต้องทิ้งที่อยู่อาศัยเพื่อความปลอดภัยในชีวิต นายกรัฐมนตรี ห่วงใยทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน จึงได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหมั่นตรวจตราดูแลอย่างเข้มข้น

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ฝากเตือนมิจฉาชีพอย่าฉวยโอกาสลักทรัพย์ หรือขโมยตามบ้านเรือนผู้ประสบภัย กรณีนี้ผู้กระทำจะได้รับโทษหนักกว่าปกติเพราะถือว่าเป็นการไปซ้ำเติมผู้ที่กำลังเดือดร้อน โดยจะได้รับโทษ ตามมาตรา 335 (2) ที่กำหนดว่า ผู้ใดลักทรัพย์ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1- 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท

โฆษก ตร. ห่วงความปลอดภัยลอยกระทง เตือน 'ยิงปืนขึ้นฟ้า' ค่านิยมผิด อันตรายถึงชีวิต โทษหนักจำคุกสูง 10 ปี วอนประชาชน เป็นหูเป็นตา

วันที่ (7 พ.ย. 65) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร. ออกมาเตือน 'การยิงปืนขึ้นฟ้า' เฉลิมฉลองเทศกาลลอยกระทง ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต และผิดกฎหมาย สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น 

โฆษก ตร. กล่าวว่า ผบ.ตร. มีความกังวล ในช่วงเทศกาลลอยกระทง ที่ประชาชนทำกิจกรรมเฉลิมฉลองต่าง ๆ ทั้งนี้ขอย้ำว่าการ 'ยิงปืนขึ้นฟ้า' เป็นค่านิยมที่ผิด และก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น โดยอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

“การยิงปืนขึ้นฟ้า มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ผู้ใดฝ่าฝืนจะมีความผิดตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากกระสุนตกใส่ หรือทะลุหลังคาบ้านเรือน ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย หรือมีผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ก็จะมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” พล.ต.ต.อาชยนฯ กล่าว

รองโฆษก ตร. ออกโรงเตือนประชาชนระวังมิจฉาชีพออกอุบาย หลอกแจก 'อั่งเปาออนไลน์' ย้ำระมัดระวังอัคคีภัยในช่วงเทศกาลตรุษจีน

วันนี้ (18 ม.ค.66) เวลา 08.00 น. ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ต.ท.หญิง ณพวรรณ ปัญญา รองโฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝากประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการหลอกลวงออนไลน์ในช่วงเทศกาลตรุษจีน

พ.ต.ท.หญิง ณพวรรณฯ กล่าวว่า ในช่วงวันที่ 20-22 มกราคม 2566 จะเป็นช่วงเทศกาลวันตรุษจีน ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยเชื้อสายจีนและปัจจุบันกลุ่มโจรออนไลน์มักจะอาศัยจังหวะตามเทศกาลต่างๆ ฉวยโอกาสหลอกลวงประชาชน โดยในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ มิจฉาชีพอาจชักจูงให้เหยื่อหลงเชื่อว่ามีการ 'แจกอั่งเปาฟรี' แล้วส่งลิงก์เพื่อให้เรากรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ หรืออาจจะหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมมือถือระยะไกล หรือ แอปรีโมท แล้วทำการดูดเงินในบัญชี หากเราได้รับ SMS ในลักษณะดังกล่าวห้ามกดลิงก์โดยเด็ดขาด รวมถึงไม่กรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ กรณีมีข้อความเลขรหัสเข้าเครื่องโทรศัพท์ไม่ทราบที่มาที่ไป ห้ามเผยแพร่บุคคลอื่นทราบ หากเผลอกดลิงก์ติดตั้งแอปฯ แปลกปลอมดังกล่าว ให้รีบลบหรือรีเซต เครื่องใหม่ทันที หากโทรศัพท์ไม่ค้างหรือดับ วิธีที่ตัดทุกอย่างคือ 'เปิดโหมดเครื่องบิน' หากเครื่องค้างให้ กดปุ่มเปิด-ปิดแช่ไว้ เป็นการตัดสัญญาณโทรศัพท์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทันที 

‘ผู้ช่วยฯสมพงษ์-ศปอส.ตร.’เตือน 3 กลโกงล่าสุด หลอกขายนม-กดลิงก์บริษัทประกันปลอม

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) หัวหน้าอำนวยการด้านประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) , พล.ต.ต.ทินกร รังมาตย์ รอง ผบช.สพฐ./หัวหน้าด้านข่าวสารและประชาสัมพันธ์ , พล.ต.ต.อรุษ แสงจันทร์ รอง ผบช.ศปก.ตร./หัวหน้าฝ่ายแถลงข่าวและประสานงานสื่อมวลชน ศปอส.ตร. , พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ฯ ปฏิบัติหน้าที่ ศปอส.ตร. และ พ.ต.อ.ภัคพงศ์ สายอุบล รอง ผบก./รองหัวหน้าฝ่ายแถลงข่าวและประสานงานสื่อมวลชน ร่วมกันเปิดเผยว่า ในรอบสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารการรับแจ้งความออนไลน์ ศปอส.ตร. และ บช.สอท. พบอาชญากรรมออนไลน์ที่ต้องเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนประชาชน คือ หลอกขายนมไทยเดนมาร์ก , หลอกให้กดลิงก์บริษัท ไทยประกันชีวิตปลอม และหลอกให้ลงทุนเล่นพนันออนไลน์ เป็นต้น
สำหรับการหลอกขาย 'นมไทยเดนมาร์ก' นั้น ขั้นตอนการหลอกลวงคนของคนร้าย คือ

- สร้างเพจ Facebook ขึ้นมาโดยใช้ชื่อ รูปโปรไฟล์ รูปปก ที่อยู่ ข้อความแนะนำ ใกล้เคียงกับเพจไทยเดนมาร์ค
- สร้างเป็นเพจ Facebook หรือซื้อโฆษณาเพจเพื่อให้คนเห็นได้จากระบบอินเตอร์เน็ต
เมื่อมีผู้หลงเชื่อมาสอบถามเพื่อขอซื้อ เพจจะใช้หลักจิตวิทยาเพื่อให้ผู้หลงเชื่อโอนเงินให้ก่อน เมื่อถึงวันรับสินค้า เหยื่อจะส่งข้อมูลไปสอบถาม  แต่ก็จะอ้างเลื่อนการส่งด้วยมีเหตุต่างๆ สุดท้ายปิดเพจหนีหรือเปลี่ยนชื่อเพจเป็นชื่อ

ข้อควรระวัง คือ ตรวจสอบเพจ Facebook ให้แน่ใจก่อนซื้อ โดยกด 'เกี่ยวกับ' 'ความโปร่งใส' ก็จะเห็นว่าเปิดมานานเท่าใด ผู้จัดการเพจอยู่ประเทศไทยหรือไม่(อยู่ต่างประเทศ ควรหลีกเลี่ยง) และดูช่องกดไลก์ ดูโพสต์เป็นหลัก อย่าดูด้านใต้ชื่อเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถซื้อ 'ไลก์' ได้

‘ผู้ช่วยฯสมพงษ์-ศปอส.ตร.’เตือน 4 กลโกง-สวมรอย‘สรรพากร’ตุ๋นโหลดแอปดูดเงิน

(20 ก.พ. 66) พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) หัวหน้าอำนวยการด้านประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) , พล.ต.ต.ทินกร รังมาตย์ รอง ผบช.สพฐ./หัวหน้าด้านข่าวสารและประชาสัมพันธ์ , พล.ต.ต.อรุษ แสงจันทร์ รอง ผบช.ศปก.ตร./หัวหน้าฝ่ายแถลงข่าวและประสานงานสื่อมวลชน ศปอส.ตร. , พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ฯ ปฏิบัติหน้าที่ ศปอส.ตร. และ พ.ต.อ.ภัคพงศ์ สายอุบล รอง ผบก./รองหัวหน้าฝ่ายแถลงข่าวและประสานงานสื่อมวลชน ร่วมกันเปิดเผยว่า ฝ่ายบริหารการรับแจ้งความออนไลน์ ศปอส.ตร.ได้นำเสนอคดีที่ควรเตือนภัยประชาชนในรอบสัปดาห์ที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2566 และวิธีป้องกันตัวเองจากภัยอาชญากรรมออนไลน์ดังกล่าว เพื่อเตือนภัยให้กับประชาชน โดยพบภัยที่ต้องเฝ้าระวังที่สำคัญ ดังนี้ 

4 กลโกงหลอกดูดเงินจากบัญชี 
1.) สร้างสถานการณ์ให้เหยื่อรู้สึกว่ามีความเร่งรีบ เล่นกับเวลา 
2.) เบี่ยงเบนความสนใจไม่ให้โฟกัสสิ่งที่เรากำลังคลิก เช่น สื่อสารแบบมาตีสนิท 
3.) ใช้วิธีให้กลัว โทรเป็นคนรู้จัก หรือญาติ หลอกยืมเงินหลอกให้โอนเงินให้ 
4.) โทรมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสรรพากร หลอกให้กลัวจนต้องโอนเงิน 

นอกจากนี้ในช่วงมกราคม-มีนาคมของทุกปี จะเป็นช่วงยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ซึ่งมิจฉาชีพมักจะใช้โอกาสในช่วงนี้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร โทรศัพท์เข้ามาหลอกลวงหรือส่งข้อความหลอกให้กดลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิชันกรมสรรพากรปลอม อ้างว่าจะตรวจสอบรายได้หรือให้ชำระภาษีผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว หลังจากนั้นจะทำการดูดเงินในบัญชี 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top