Saturday, 27 April 2024
เชื่อมไทยเชื่อมโลก

ภาพรวมและกำหนดเสร็จ 'โครงข่ายรถไฟความเร็วสูงของไทย'

อีกไม่นานเกินรอ!!

โครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงของไทยถูกวางแผนไว้ว่าจะใช้รางเกจมาตรฐาน 1,435 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นเกจมาตรฐานที่ทางรถไฟส่วนใหญ่ของโลกเลือกใช้ แบ่งออกได้ทั้งหมด 4 เส้นทาง มีระยะทางทั้งหมดรวมกัน 2,700 กิโลเมตร ดังนี้

=======
สายอีสาน กรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย เชื่อมโยงประเทศลาว
====

โครงการทางรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน รองรับรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วปกติ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ 

ระยะที่  1 เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีระยะทาง 250 กิโลเมตร เชื่อม 6 สถานีคือ บางซื่อ-ดอนเมือง-อยุธยา-สระบุรี-ปากช่อง-นครราชสีมา กำหนดเปิดให้บริการ พ.ศ. 2569

ระยะที่ 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย โครงการอยู่ในขั้นตอนการวางแผน มีระยะทาง 357 กิโลเมตร เชื่อม 6 สถานีคือ นครราชสีมา-บัวใหญ่-บ้านไผ่-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย กำหนดเปิดให้บริการ พ.ศ. 2572 – 2573  

รถไฟสายนี้ จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงไปยังเส้นทางรถไฟลาว-จีน

=======
สายตะวันออก กรุงเทพ-ตราด
====

โครงการทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก รองรับรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วปกติ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ 

ระยะที่  1 เส้นทางกรุงเทพ-อู่ตะเภา โครงการอยู่ในขั้นตอนการเตรียมงานก่อสร้าง มีระยะทาง 220 กิโลเมตร เชื่อม 9 สถานีคือ ดอนเมือง-บางซื่อ-มักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ศรีราชา-พัทยา-สนามบินอู่ตะเภา คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2572

'รถไฟความเร็วสูง' และ 'รถไฟรางคู่' แตกต่างกันอย่างไร?

'รถไฟความเร็วสูง' เป็นรถไฟที่ถูกออกแบบมาเพื่อการขนส่งผู้โดยสารเท่านั้น มีความเร็วมากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ 'รถไฟรางคู่' นั้น เป็นรถไฟแบบดั้งเดิมที่ได้รับการขยายเพิ่มจำนวนรางมากขึ้นเป็น 2 เส้น ซึ่งรถไฟแบบดั้งเดิมนี้ สามารถขนย้ายได้ทั้งผู้โดยสาร และสินค้าในขบวนเดียวกัน ตามแต่การเชื่อมต่อขบวนรถไฟ

ในอดีตที่ผ่านมา การรถไฟของไทย ใช้รถไฟแบบดั้งเดิมทั้งเพื่อการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิศวกรรมรถไฟที่เปลี่ยนแปลงไป รถไฟความเร็วสูงได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว และได้รับการยกย่องว่าเป็น 'ยานพาหนะแห่งศตวรรษที่ 21' มีความสามารถที่จะขนส่งผู้โดยสารในระยะทางที่ไกลขึ้นได้ ด้วยค่าใช้จ่ายที่สามารถเอื้อมถึง

ทีม ศก.ปชป. ชู 'เร่งเมกะโปรเจกต์ 4 โครงการไฮไลท์ ดัน หาดใหญ่ เชื่อมไทย-เชื่อมโลก'

ทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวทีมเศรษฐกิจประชาธิปัตย์สัญจร ครั้งที่ 2 “แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจปลายด้ามขวานไทย” นำโดย ดร.พิสิฐ  ลี้อาธรรม อดีตรมช.กระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯกทม. ผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคมขนส่งโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการขนาดใหญ่ และม.ร.ว. ศศิพฤนท์ จันทรทัต อดีตซีอีโอ บล. กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยนางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีนายนิพัฒน์ อุดมอักษร ผู้สมัคร ส.ส.สงขลา เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมด้วย ณ โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 

ดร.สามารถ โชว์วิสัยทัศน์ “เร่งเมกะโปรเจกต์ ดันหาดใหญ่ เชื่อมไทย-เชื่อมโลก” โดยกล่าวว่า หาดใหญ่มีทำเลยุทธศาตร์ในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภาคใต้ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องขับเคลื่อนหาดใหญ่ด้วยระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันให้หาดใหญ่เป็นขุมทองทางเศรษฐกิจของปลายด้ามขวานไทย โดยพรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในหาดใหญ่ และพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้

1. โมโนเรล คือรถไฟฟ้า ที่วิ่งคร่อมรางโดยใช้รางเดี่ยว หรืออาจจะแขวนห้อยอยู่ใต้รางก็ได้ แต่ที่นิยมใช้กันมากก็คือแบบคร่อมราง โดยหาดใหญ่เช่นเดียวกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ที่มีปัญหารถติดในชั่วโมงเร่งด่วน องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา สมัยนายนิพนธ์ บุญญามณี เป็นนายก อบจ. จึงได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรลขึ้น โดยระยะที่ 1 มีระยะทางยาว 13 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 16,000 ล้านบาท มี 15 สถานี ประกอบด้วยสถานีควนลัง แยกสนามบิน รถตู้ หาดใหญ่ใน ชุมทางรถไฟหาดใหญ่ ตลาดกิมหยง น้ำพุ หาดใหญ่วิทยาลัย บิ๊กซี คอหงส์ มอ. คลองเรียน เซ็นทรัล คลองหวะ และบ้านพรุ ระยะที่ 2 จะขยายเส้นทางจากสถานีน้ำพุไปยังถนนลพบุรีราเมศร์ และจากสถานีคอหงส์ไปยังสวนสาธารณะหาดใหญ่ ส่วนระยะที่ 3 จะมีเส้นทางเชื่อมระหว่างสถานีหาดใหญ่ในกับสถานีคลองเรียนโดยวิ่งผ่านโรงเรียนพัฒนศึกษาและศูนย์การค้าไดอาน่า โมโนเรลจะไม่ส่งผลกระทบต่อรถตุ๊กตุ๊ก รถสองแถว   และวินมอเตอร์ไซค์ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ในทางกลับกัน โมโนเรลจะช่วยให้รถตุ๊กตุ๊ก รถสองแถว และวินมอเตอร์ไซค์มีเส้นทางการให้บริการเพิ่มขึ้น ได้แก่ เส้นทางระหว่างแหล่งที่อยู่อาศัยกับสถานีโมโนเรล และเส้นทางระหว่างแหล่งทำงานและสถานศึกษากับสถานีโมโนเรล 

ดร.สามารถ ให้ความมั่นใจว่า “เวลานี้ผมมีผลการศึกษา และแบบเบื้องต้นอยู่ในมือแล้ว การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก็ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะผลักดันให้โมโนเรลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหารถติดในเมืองหาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี” 

2. รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ รถไฟทางคู่หมายถึงทางรถไฟที่ประกอบด้วยเหล็กรางรถไฟ 4 ราง หรือใช้เหล็กรางรถไฟ 4 เส้น รถไฟทางคู่จะช่วยประหยัดเวลาการเดินทางและการขนส่งสินค้าได้มาก เพราะรถไฟสามารถวิ่งสวนทางกันได้ ไม่ต้องรอสับหลีกที่สถานี รถไฟทางคู่เปรียบเหมือนกระดูกสันหลังของโครงข่ายรถไฟ พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ริเริ่มโครงการรถไฟทางคู่ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2536 และจะเดินหน้าก่อสร้างรถไฟทางคู่ต่อไปให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยจะเร่งผลักดันโครงการรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ซึ่งเป็นรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เพื่อรองรับรถไฟจากประเทศมาเลเซียที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเช่นเดียวกัน หากมีชาวมาเลเซียนั่งรถไฟนี้มาหาดใหญ่วันละ 2,000 คน หรือปีละ 730,000 คน สมมติว่าคนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาที่อยู่ในหาดใหญ่ 15,000 บาท ก็จะมีเงินหมุนเวียนในหาดใหญ่ปีละประมาณ 11,000 ล้านบาท อีกทั้ง รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ จะช่วยกระตุ้นให้การค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียพุ่งสูงขึ้นจากเดิมในปี พ.ศ. 2565 ที่มีมูลค้าการค้า 660,392 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการค้าชายแดนที่สูงที่สุดของประเทศ ทั้งนี้รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร มีมูลค่าโครงการประมาณ 6,700 ล้านบาท เส้นทางนี้จะเชื่อมต่อไปสู่กรุงเทพฯ โดยจะบรรจบกับรถไฟทางคู่ที่เวลานี้สร้างมาถึงชุมพรแล้ว เมื่อมีรถไฟทางคู่จากหาดใหญ่ถึงกรุงเทพฯ เวลาการเดินทางจะลดลงจาก 16 ชั่วโมง เหลือเพียง 8-10 ชั่วโมงเท่านั้น ประหยัดเวลาลงได้ครึ่งหนึ่ง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top