Sunday, 26 May 2024
เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า

โต้งานวิจัย! “บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยเลิกบุหรี่” มั่วนิ่ม!! ยกตัวอย่างอังกฤษและผู้ใช้ตัวจริงในไทย หยุดสูบบุหรี่ได้จริง เพราะบุหรี่ไฟฟ้า!!

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ECST โต้ผลการศึกษาจากการสังเกตการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาที่ตีพิมพ์ในวารสาร บีเอ็มเจ มีจุดบกพร่องอยู่หลายจุด ทำให้ข้อสรุปไม่ถูกต้อง ชี้อังกฤษยังยืนยันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยเลิกบุหรี่ไฟฟ้า แนะการให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่างานวิจัยชิ้นเดียว

นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนกลุ่มลาขาดควันยาสูบ หรือ ECST (Ends Cigarette Smoke Thailand) และแอดมินเพจ บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไรที่มีผู้ติดตามกว่า 100,000 คน เผยว่า “ผู้เชี่ยวชาญจากฝั่งอังกฤษออกมาชี้แจงว่างานวิจัยสถาบันมะเร็งมอเรส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้น้อยกว่าการใช้นิโคตินทดแทนมีวิธีทำการวิจัยที่ยังไม่ถูกต้อง ทำให้ได้ข้อสรุปขัดแย้งกับการศึกษาในผู้ใช้จริง (การศึกษาทางคลินิก) ซึ่งมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยสำหรับผู้อยากเลิกบุหรี่มวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ เอฟเฟกต์ทีฟ ควิทติ้ง เอด (effective quitting aids) และทางหน่วยงานสุขภาพระดับชาติของอังกฤษก็รับรองผลและชี้แนะว่าควรนำไปใช้ด้วย”

คำชี้แจงดังกล่าวของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ จอห์น บริตตัน จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ได้รับการเผยแพร่ในนิตยสารทางการแพทย์ Science Medical Centre โดยระบุว่า “ผลการศึกษาจากการสังเกตการเลิกบุหรี่ไฟฟ้าและการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกามีจุดบกพร่องอยู่หลายจุด เพราะเป็นการพิจารณาตัวแปรที่สุดโต่ง คือในผู้สูบบุหรี่ที่เสพติดขั้นรุนแรง และผู้สูบบุหรี่ที่ขาดแรงจูงใจในการพยายามเลิกหรือลดการเสพติดบุหรี่มวน หรือผู้ที่เคยล้มเหลวจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนเพื่อเลิกบุหรี่มาก่อนแล้ว จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลวิจัยไม่เห็นความสำเร็จในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (clinical trials) ที่มีการออกแบบการทดลองอย่างรอบคอบ ภายใต้การดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบคำถามว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้ผู้เสพติดบุหรี่ที่มีสารอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าได้จริงหรือไม่

นอกจากนี้ ศ.กิตติคุณ บริตตัน ยังระบุว่าข้อสรุปจากการวิจัยทางคลินิกที่แสดงผลชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือช่วยบำบัดผู้อยากเลิกบุหรี่มวนได้อย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่การปรับนโยบายสาธารณสุขของทางฝั่งอังกฤษ ที่ได้รับรองการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และมีคำแนะนำการใช้ที่เหมาะสมไว้ใน คู่มือการเลิกบุหรี่ หรือไกด์ไลน์ฉบับล่าสุดปี 2021 ของสถาบันสุขภาพและการดูแลสุขภาพแห่งชาติ ของสหราชอาณาจักร หรือ NICE  (UK National Institute for Health and Care Excellence)

 

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าโต้หมอ กัญชาไทยไร้กฎหมายควบคุม แต่กลับแบนบุหรี่ไฟฟ้า ชี้เห็นด้วยกับก้องห้วยไร่ แนะผู้ใช้เคารพสิทธิคนอื่น หนุนรัฐเร่งออกกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ากลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST) โต้กลับกรณีกรมควบคุมโรคแจงบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงพฤติกรรมเสพติดกัญชา โวยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมควบคุมโรคและกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงเครือข่ายแพทย์ควรรื้อตรรกะใหม่ ยันไทยเป็นประเทศเดียวที่ปล่อยให้กัญชาไร้กฎหมายควบคุม ขายเกลื่อนเมือง แต่กลับแบนบุหรี่ไฟฟ้ายาวนานถึงเก้าปี ชี้เห็นด้วยนักร้องดัง ก้องห้วยไร่ ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าควรเคารพสิทธิผู้อื่น ใช้ให้เป็นที่เป็นทาง แนะรัฐถึงเวลาออกกฎหมายควบคุมแล้ว

หลังกรมควบคุมโรคอ้าง “การสูบบุหรี่ไฟฟ้า” เพิ่มความเสี่ยงต่อการใช้ “กัญชา” สูง 4 เท่า เพจเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ECST บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร?” ที่มีผู้ติดตามกว่าแสนราย ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวผ่านโพสต์ใจความว่า “บอกบุหรี่ไฟฟ้านำไปสู่สารเสพติดอื่น อ้าว ไปไงมาไง มาคิดถึงกูหล่ะเนี่ย” โดยโพสต์ดังกล่าวมีผู้ถูกใจกว่าสี่ร้อยราย

นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนจากเพจลาขาดควันยาสูบ เปิดเผยว่า “เรื่องของบุหรี่ไฟฟ้ากับกัญชานั้นถูกโยงมาพักใหญ่ ซึ่งเรามองว่าเป็นเรื่องที่สะท้อนความบิดเบี้ยวของตรรกะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงเครือข่ายแพทย์ที่ออกมาโจมตีผู้บริโภคด้วย ไม่มีหรอกครับประเทศไหนที่จะให้กัญชาขายเกลื่อนไร้การควบคุม เปิดหน้าร้านค้าขายกันยิ่งใหญ่ แต่กลับแบนบุหรี่ไฟฟ้ายาวนานเกือบสิบปี”

“จริงๆ หากจะให้ลองคิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการใช้กัญชาได้อย่างไร ก็คงต้องย้อนกลับไปเรื่องการแบน พอบุหรี่ไฟฟ้าถูกแบน การซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าเกิดขึ้นผ่านตลาดใต้ดินที่ผิดกฎหมาย ก็ยากที่จะรู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในมือผู้บริโภคตอนนี้มีมาตรฐานอย่างไร ส่วนประกอบมีอะไรบ้าง อย่างที่เคยออกข่าวว่ามีการระบาดของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันกัญชา ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคปอด EVALI” นายมาริษเสริม

“ล่าสุดมีดราม่านักร้องดังขอให้หยุดใช้บุหรี่ไฟฟ้าในคอนเสิร์ต ซึ่งผมเชื่อว่าผู้ใช้ควรให้ความร่วมมือ เคารพสิทธิผู้อื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกเพจของเราช่วยกันรณรงค์อยู่แล้ว แต่พอไม่มีกฎหมายมาควบคุม ผลที่ออกมาเลยเป็นอย่างนี้ ปัจจุบันมีการจัดตั้งคณะกรรมการวิสามัญฯ เพื่อศึกษาถึงประโยชน์ของการทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เราในฐานะตัวแทนผู้บริโภคก็คาดหวังว่าคณะกรรมการวิสามัญฯนี้จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง และวอนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มองโลกผ่านความเป็นจริงให้มากขึ้น”

นอกจากนี้ นายมาริษยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบัน อายุเฉลี่ยของเด็กและเยาวชนที่พบว่าใช้บุหรี่ไฟฟ้านั้นเด็กลงเรื่อยๆ จนแม้กระทั่งเด็กประถมก็ยังถูกพบว่าใช้บุหรี่ไฟฟ้าเถื่อน ซึ่งหาซื้อได้ง่ายผ่านช่องทางที่หลากหลาย จึงเป็นเรื่องที่ทางเครือข่ายฯดำเนินการเรียกร้องมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีอำนาจในหน่วยงานสาธารณสุข และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้ามาดำเนินการเพื่อมอบทางเลือกให้แก่ผู้สูบบุหรี่ไทยกว่า 9.9 ล้านคน รวมถึงคนในสังคมที่ได้รับผลกระทบจากบุหรี่ไฟฟ้าที่ไร้ซึ่งการควบคุมของรัฐ

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าวอนนายกฯ ประเทศไทยต้อง “ควบคุม” บุหรี่ไฟฟ้า แทนการ “แบน” เพื่อปกป้อง “เด็กและเยาวชน”

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ากลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST) เพจดังเฟสบุ้คมีผู้ติดตามกว่า 1 แสนคน ขอเป็นตัวแทน “ผู้ใหญ่” ร้องนายกฯ ปกป้อง “เด็กและเยาวชน” จากการแพร่ระบาดหนักของบุหรี่ไฟฟ้าเถื่อน ชี้ทางเดียวที่จะลดการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนคือการทำให้บุหรี่ไฟฟ้า “ถูกกฎหมาย” และควบคุมเข้มงวด เพื่อให้สามารถควบคุมอายุผู้ซื้อขายได้ พร้อมกล่าวถึงประเด็นดราม่าเรื่องมารยาทการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะ ย้ำเป็นผลพวงจากการไม่มีกฎหมายควบคุม เพราะการซุกไว้ใต้ดินไม่ได้ผล

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ากลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST) นำโดยนายมาริษ กรัณยวัฒน์ กล่าวถึงกรณีกลุ่มตัวแทนเด็กและเยาวชนเข้ายื่นหนังสือต่อนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ในช่วงเทศกาลวันเด็กปี 2567 ที่ผ่านมา เพื่อขอให้คงไว้ซึ่งกฎหมายห้ามนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า โดยกล่าวว่า “การที่กลุ่มต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าเคลื่อนไหวโดยการนำเด็กและเยาวชนมาเป็นข้ออ้างเพื่อให้คงไว้ซึ่ง ‘แบนทิพย์’ นั้นเป็นเรื่องที่ย้อนแย้งกับความเป็นจริง การที่ท่านอ้างว่า ปัจจุบันเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนไทยในรูปแบบตัวการ์ตูน กล่องนม เครื่องเขียน รวมถึงปัญหาอายุเฉลี่ยของเด็กที่พบว่าใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่ต่ำลงเรื่อย ๆ นั้น ล้วนแล้วแต่มีต้นตอมาจากกฎหมายแบนที่ไร้ประสิทธิภาพ”

“ในฐานะผู้ใหญ่และตัวแทนผู้บริโภค เราเห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมายที่ชัดเจน ระบุอายุผู้ซื้อขาย กำหนดรูปแบบและหน้าตาของบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อไม่ให้ดึงดูดเด็กและเยาวชน รวมถึงกำหนดพื้นที่ซื้อขายให้ห่างไกลโรงเรียนสถานศึกษา เราเชื่อว่ามีเพียงวิธีนี้เท่านั้นที่จะช่วยปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างแท้จริง”

นายมาริษเสริมว่า “ล่าสุดมีสื่อรายงานตัวเลขการส่งออกบุหรี่ไฟฟ้าจากจีนสู่ไทยโดยเวปไซด์ศุลกากรจีนคิดเป็นมูลค่ามหาศาลกว่า 1,600 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่า มีบุหรี่ไฟฟ้าเถื่อนมหาศาลลักลอบขายในตลาดใต้ดินประเทศไทยในปัจจุบัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ”

นอกจากนี้ กลุ่มเครือข่ายฯ ยังได้กล่าวถึงประเด็นดรามาในสังคมออนไลน์ล่าสุด ที่กล่าวถึงการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะ เช่น คอนเสิร์ต ว่า “ไม่นานมานี้มีการกล่าวถึงประเด็นการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะ รวมถึงการประกาศห้ามนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้าพื้นที่แสดงคอนเสิร์ต ก็เป็นการยืนยันชัดว่าในปัจจุบันนั้นมีผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก และประเทศไทยต้องการกฎหมายที่ชัดเจนที่จะระบุว่าพื้นที่ใดใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้ พื้นที่ใดใช้ไม่ได้ ซึ่งการแบนมีแต่จะทำให้การใช้บุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่เลือกที่กลายเป็นความปกติใหม่”

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าชี้ ปัญหาเด็กใช้บุหรี่ไฟฟ้าพุ่ง 5 เท่า สะท้อนนโยบายแบนบุหรี่ไฟฟ้าล้มเหลว เปิดช่องทุจริตคอรัปชั่น รีดไถประชาชน

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า (ECST) เผย อัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กไทยเพิ่มขึ้น 5 เท่าเป็นหลักฐานยืนยันความ ‘ล้มเหลว’ ของมาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าที่รัฐไทยดันทุรังใช้มานับสิบปี ชี้การแบนสะท้อนการทุจริตคอรัปชั่นที่รุนแรงเพราะ ‘บุหรี่ไฟฟ้าลักลอบ’ เกลื่อนประเทศ พร้อมตั้งคำถามท่าทีผู้แทนประเทศไทยในการประชุมใหญ่ COP10 และ MOP3 ที่ประเทศปานามา ต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้
เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ากลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST) นำโดยนายมาริษ กรัณยวัฒน์ กล่าวถึงผลการศึกษาโดยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ที่ระบุตัวเลขอัตราใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กไทยที่เพิ่มขึ้นถึง 5.3 เท่าภายในระยะเวลา 7 ปี (2558 – 2565) จาก พร้อมให้ความเห็นว่า “บุหรี่ไฟฟ้าถูกแบนมาร่วม 9 ปี แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บุหรี่ไฟฟ้ากลับเติบโตพุ่งสูงขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งมาจากหลายปัจจัย ทั้งการที่ผู้คนชินชากับความหย่อนยานของกฎหมายแบน หรือที่เรียกกันว่า ‘แบนทิพย์’ หรือการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตคอรัปชั่นจนพบเห็นผู้ใช้ได้ทั่วไปและเพิ่มขึ้นจนถึงเกือบ 1 ล้านคน และมีความไม่ชัดเจนของกฎหมายหลายประการเป็นช่องว่างให้เกิดการรีดไถประชาชน ซึ่งการที่บุหรี่ไฟฟ้าไม่ถูกนำมาควบคุมให้ถูกต้องชัดเจนด้วยกฎหมาย เป็นเหมือนการผลักภาระให้ประชาชนไปดูแลกันเอง จะเห็นได้จากกระแสที่ศิลปินและผู้จัดงานคอนเสิร์ตออกมาประกาศห้ามบุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้น”

“บุหรี่ไฟฟ้าในทุกวันนี้มีขายเกลื่อนประเทศ ซึ่งทั้งหมดนั้นนับเป็น ‘สินค้าลักลอบ’ ซึ่งหากพูดกันในเชิงปริมาณแล้ว ก็มีมากไม่แพ้กับ ‘บุหรี่เถื่อน’ ที่กำลังระบาดเลย ซึ่งสองปัญหานี้รวมกัน ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนโดยเฉพาะรัฐบาลไทย ชาวไร่ยาสูบ และร้านค้าปลีก ที่นอกจากจะปล่อยให้รายได้ภาษีจำนวนมหาศาลหลุดมือไป ยังต้องแบกรับภาระทางสาธารณสุขจากสุขภาพของผู้ที่ใช้บุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้าเถื่อนไร้มาตรฐานเหล่านี้ด้วย คงไม่มีอะไรชัดเจนไปกว่านี้แล้วที่จะชี้ว่า นโยบายแบนบุหรี่ไฟฟ้านั้นล้มเหลวถึงขีดสุดและทำให้เกิดขบวนการทุจริต คอรัปชั่นอย่างมโหฬารจนปราบไม่ไหว”
นายมาริษยังได้กล่าวเสริมอีกว่า วันที่ 5- 16 กุมภาพันธ์นี้ จะมีการประชุมภาคีอนุสัญญากรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (FCTC) ครั้งที่ 10 และการประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารว่าด้วยการขจัดการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ (MOP3) ครั้งที่ 3 ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งทางเครือข่ายก็อยากฝากถึงคณะผู้แทนไทยทั้งจากกรมควบคุมโรคและกรมสรรพสามิตที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวว่า “ขอให้คณะผู้แทนประเทศไทยที่ไปประชุม COP10 ให้ระมัดระวังท่าทีของไทย ทั้งๆ ที่เห็นอยู่ว่าการแบนนั้นไม่ได้ผล ทำให้เกิดตลาดใต้ดิน ไม่ได้ลดจำนวนผู้ใช้ จนนำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญในสภาผู้แทนราษฎรที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นประธาน เพื่อพิจารณาทบทวบมาตรการให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมในปัจจุบันซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป นอกจากนี้ สำหรับการประชุม MOP3 เรื่องปัญหาบุหรี่เถื่อน อยากให้สะท้อนปัญหาบุหรี่เถื่อนให้ประเทศอื่นรับทราบ โดยเฉพาะแหล่งผลิตบุหรี่เถื่อนเหล่านี้ที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านเช่น เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และอย่าได้ไปรับแนวคิด “การแบน” อะไรมากลับมาอีก เพราะยิ่งตอกย้ำความล้มเหลวของประเทศไทย”

‘เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า’ ชี้อังกฤษเตรียมเก็บภาษีบุหรี่ไฟฟ้า แก้ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าเถื่อนทะลัก

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า (ECST) ชี้อังกฤษเตรียมเก็บภาษีบุหรี่ไฟฟ้าและขึ้นภาษีบุหรี่ควบคู่กันตั้งแต่ตุลาคม 2569 เป็นต้นไป เพื่อนำรายได้ภาษีไปหนุนบริการสาธารณสุข และยังคงแรงจูงใจให้ผู้สูบบุหรี่หันไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทน ด้านตัวแทนองค์กรต้านการสูบบุหรี่ ของอังกฤษ ชี้การเก็บภาษีบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นกำลังสำคัญในการหยุดการทะลักเข้ามาของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับที่ประเทศไทยกำลังประสบอย่างหนักในช่วงนี้

นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า หรือ กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST) และเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 100,000 คน เปิด เผยว่า “ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2569 เป็นต้นไป รัฐบาลอังกฤษมีแผนจะเริ่มเก็บภาษีใหม่จากบุหรี่ไฟฟ้า และเพิ่มอัตราภาษียาสูบ โดยคาดว่าภาษีสรรพสามิตสำหรับบุหรี่ไฟฟ้าจะอยู่ที่ 120 ล้านปอนด์ (ราว 5,469 ล้านบาท) ในปี 2569 ถึง 2570 และเพิ่มขึ้นเป็น 445 ล้านปอนด์ (ราว 20,282 ล้านบาท) ในปี 2571 ถึง 2572”

นอกจากนี้ Deborah Arnott หัวหน้าผู้บริหารของ Action on Smoking and Health หรือ ASH ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่รณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ได้กล่าวว่า “การเก็บภาษีสรรพสามิตจากบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือสำคัญของหน่วยจัดเก็บรายได้และกองกำลังป้องกันชายแดนในการหยุดยั้งการนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายที่ทะลักเข้าสู่ท้องตลาด เช่นเดียวกับกรณีของผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่การจัดเก็บภาษีช่วยลดการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายได้ถึงร้อยละ 80 ในช่วงปี 2543 ถึง 2564 โดยสามารถปรับขึ้นภาษีจากบุหรี่มวนได้ตราบใดที่บุหรี่ไฟฟ้ายังคงมีราคาถูกกว่าบุหรี่มวน เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อช่วยเลิกบุหรี่และเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทน ซึ่งนับเป็นวิธีช่วยเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่อย่างถูกกฎหมายมีอยู่ในปัจจุบัน”

นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายฯ อีกราย ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทยเพิ่มเติมว่า “การประกาศจัดเก็บภาษีบุหรี่ไฟฟ้าแบบใหม่ของอังกฤษในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าด้วยกฎหมายและมาตรการที่มีความชัดเจนแทนการแบน สามารถช่วยควบคุมการทะลักของบุหรี่ไฟฟ้าเถื่อนได้ ขณะที่เม็ดเงินภาษีมหาศาลที่จัดเก็บได้ก็จะถูกนำไปต่อยอดสร้างประโยชน์ให้แก่พี่น้องประชาชนได้อีก”

“นับตั้งแต่มาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าถูกบังคับใช้เมื่อราวสิบปีก่อน บุหรี่ไฟฟ้ากลับไม่ได้หายไปจากสังคมไทย แต่ไปอยู่ในรูปแบบของบุหรี่ไฟฟ้าเถื่อนที่ทะลักเข้าสู่ประเทศไทยผ่านตลาดใต้ดิน และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะไม่กี่ปีให้หลังมานี้จากข้อมูลการส่งออกของทางการจีนพบว่ามีการส่งออกมายังไทยมากกว่า 1,500 ล้านบาทในช่วงที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่ามาตรการแบนนั้นไม่สามารถปิดกั้นบุหรี่ไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ยังทำให้ประเทศต้องสูญเสียโอกาสในการจัดเก็บรายได้ภาษีจำนวนมหาศาล รวมถึงโอกาสที่จะควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้พ้นมือเด็กและเยาวชนอีกด้วย”

“แม้การไม่สูบและไม่ใช้ทั้งบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้านั้นถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดต่อสุขภาพ แต่ความพยายามของรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการคงราคาบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกว่าบุหรี่มวน เพื่อสร้างแรงจูงใจด้านการเงินให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทนการสูบบุหรี่มวนนั้น เป็นแนวคิดที่สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับความจริงและความพยายามที่จะสร้างประโยชน์ด้านสาธารณสุขในภาพรวมให้แก่ประชาชนเพราะสิ่งที่อันตรายน้อยกว่า ก็ควรถูกเก็บภาษีในอัตราที่น้อยกว่า เพื่อให้มีราคาที่ถูกกว่า และจูงใจให้ผู้สูบบุหรี่เลือกใช้มากกว่า” นายอาสากล่าวทิ้งท้าย
Source: ASH comment on Budget decisions on tobacco and vaping - ASH


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top