Wednesday, 26 June 2024
อิสลาม

‘รมว.เฮ้ง’ เผย ชุมชนมุสลิมปลื้ม ‘บิ๊กตู่’ หลังฟื้นสัมพันธ์ ‘ไทย-ซาอุดิอาระเบีย’ ได้สำเร็จ

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ‘วันรวมใจ สู่นูรุ้ลฮิดายะห์ (แสงประทีป)’ โดยมี นายมีศักดิ์ อิทธิธนากุลชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ดร.จำลอง ช่วยรอด คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และคณะกรรมการจัดงาน ให้การต้อนรับ ณ มัสยิดนูรุ้ลฮิดายะห์ (แสงประทีป) ต.ละหาร อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 

นายสุชาติ กล่าวว่า รัฐบาล ภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบที่มีอยู่กว่า 22 ล้านคน เพราะแรงงานทุกคนถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า 

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้พยายามผลักดันโครงการเยียวยาต่าง ๆ ให้ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่มทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งในส่วนของแรงงานนอกระบบได้มีโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 40 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง แท็กซี่ หาบเร่แผงลอย นักร้อง นักดนตรี ผู้ที่ทำงานในกิจการสถานบันเทิงฯ ใน 29 จังหวัด คนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือน เป็นเงินเกือบ 60,000 ล้านบาท 

นอกจากนี้ รัฐบาลยังผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ.…ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) มีกองทุนเพื่อแรงงานนอกระบบใช้เพื่อเป็นแหล่งเงินกู้มีทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ ซึ่งจะทำให้พี่น้องแรงงานนอกระบบมีหลักประกันทางสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งการจัดงานในวันนี้ถือว่าเป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนให้มีความเข้มแข็ง อันจะเป็นการยกระดับให้ชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

'ทหาร' แจง!! เวทีสภาสันติสุข ไม่เคยแทรกแซง รร. ในนราฯ ยืนยัน!! เคารพทุกเสรีภาพในการนับถือศาสนา

(17 ก.พ. 66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 66 ที่ผ่านมา อบต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ประธานสภาสันติสุขตำบลบาเจาะ เปิดเวทีสภาสันติสุข เพื่อติดตามการทำงานขับเคลื่อนสภาสันติสุขตำบลและพูดคุยประเด็นที่กำลังเป็นกระแสในสื่อโซเชียลมีเดีย โดยมีหน่วยเฉพาะกิจสันติสุข ชุดสันติสุขที่ 405 ชุดทักษิณสัมพันธ์ที่ 401 ทพ.นย.15 นายมูฮัมมัดซูลฮัน ลามะมา อิหม่ามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ฟัรฎูอินบูงอบังซอ บ้านดูกู ผู้นำศาสนาในพื้นที่ ผู้นำสภาเยาวชนบ้านดูกู และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

น.ส.รัชดา กล่าวว่า จากกรณีเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในประชาชนบางกลุ่มที่คิดว่าเจ้าหน้าที่ หน่วยเฉพาะกิจสันติสุข เข้าไปแทรกแซงกิจการในโรงเรียนตาดีกา ฟัรฎูอินบูงอบังซอ บ้านกูดู อ.บาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเรื่องนี้หัวหน้าชุดหน่วยเฉพาะกิจสันติสุข ชุดสันติสุขที่ 405 ได้ชี้แจงในสภาสันติสุขเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วว่า การทำงานของฝ่ายความมั่นคงนั้นให้ความสำคัญกับการดูแลทุกข์สุขของประชาชน และเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนจะเข้าไปดูแลทันที

ซึ่งกรณีโรงเรียนตาดีกานี้ ทางหน่วยฯ ได้รับทราบมาว่า เสาธง ของโรงเรียนชำรุด จึงได้ประสานผ่านทางเจ๊ะครู เพื่อเข้าไปซ่อมแซมจนสำเร็จ อีกทั้งได้ให้ความรู้แก่เด็กๆในความหมายของธงชาติไทย รวมถึงแจกหนังสือคัดลายมืออาหรับ ให้กับเยาวชน เพื่อพัฒนาทักษะทางการเขียนที่ถูกต้อง โดยไม่ได้มีการแทรกแซงกิจการของโรงเรียนแต่อย่างใด

'บิ๊กตู่' สั่ง วางแผนทำธุรกิจฮาลาล รองรับชาวมุสลิม เพิ่มโอกาสให้ภาคธุรกิจ - ท่องเที่ยว ขยายการลงทุน

(24 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนแนวทางการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับการอุปโภค-บริโภคของประชากรมุสลิม หรือผู้นับถือศาสนาอิสลาม เชื่อมั่นว่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ และเป็นการเปิดโอกาสที่ดีให้กับภาคธุรกิจไทยได้ขยายการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคต จากกำลังซื้อสินค้าฮาลาลที่เพิ่มมากขึ้น

นายอนุชา กล่าวว่า ผลสำรวจของ Pew Research Center คาดว่า จำนวนชาวมุสลิมทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 2,200 ล้านคน ภายในปี 2030 หรือคิดเป็น 26.4% ของประชากรโลก ซึ่งในปัจจุบันมีถึง 49 ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ประเมิน วางแผนแนวทางการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประชากรมุสลิม ซึ่งมีพฤติกรรมการบริโภค การจับจ่ายใช้สอย ที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากระเบียบข้อบังคับของศาสนา สอดคล้องกับการประเมินของ Adroit Market Research ที่คาดว่าตลาดสินค้าฮาลาลทั่วโลกจะเพิ่มจาก 7.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020 เป็น 11.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2028 หรือขยายตัวเฉลี่ย 5.6% ต่อปี (https://www.adroitmarketresearch.com/industry-reports/halal-market)

นายอนุชา กล่าวว่า ข้อมูลจาก Halal Focus พบว่า ชาวมุสลิมใช้จ่ายในสินค้าประเภทอาหารมากสุด คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 62% ของรายจ่ายทั้งหมดในสินค้าฮาลาล รวมถึงข้อมูลจากศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์ฯ ยังพบว่า ในปี 2564 ตลาดอาหารฮาลาล และการเกษตรฮาลาลมีมูลค่า 183 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี หรือ 14 % ของตลาดอาหารฮาลาล และการเกษตรฮาลาลโลก โดยประเทศไทย ซึ่งพัฒนาศักยภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลอย่างต่อเนื่อง มีส่วนแบ่งตลาดอาหารฮาลาล และการเกษตร 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นคิดเป็น 15.8%

เปิดปูมหลัง เหตุความชัง ‘อิสราเอล-ยิว-ไซออนิสต์’ ที่ไม่จำกัดวงแค่คนมุสลิม ‘คริสต์-ยิว’ นอกไซออนิสต์ ก็ขยาดพฤติกรรมอ้างสิทธิ 3 พันปีตั้งอิสราเอล

เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 66 ติ๊กต๊อกช่อง ‘sulaimanwanie’ ได้ลงคลิปวิดีโอของอาจารย์สันติ เสือสมิง หรือ ‘อาลี เสือสมิง’ ประธานคณะอนุกรรมการคณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี ฝ่ายนิติศาสตร์อิสลาม สำนักจุฬาราชมนตรี ได้เคยออกมาบรรยายถึงสาเหตุที่ว่า ‘ทำไมมุสลิมถึงไม่ยอมรับประเทศอิสราเอล?’ ในกิจกรรมเปิดโลกอิสลาม ชมรมนิสิตมุสลิม เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2562 โดยกล่าวถึงผ่านข้อคำถามหนึ่งที่มีพูดในบรรยายครั้งนั้น ว่า…

ทำไม ‘อิสลาม’ ถึงเกลียดชังประเทศอิสราเอล และพี่น้อง ‘ชาวยิว’ ผู้นับถือศาสนายูดาห์?

เมื่อปี 1948 ‘เดวิด เบน-กูเรียน’ ประกาศตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นในดินแดนของ ‘ชาวปาเลสไตน์’

หากย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นในช่วงยุคกลาง เมื่อศาสนาอิสลามได้ประกาศเผยแพร่ขยายออกไปในแอฟริกาเหนือ จนกระทั่งไปถึงประเทศสเปน ซึ่งในสเปนนั้นเคยมีชาวมุสลิมปกครองอยู่อย่างยาวนาน เกือบ 800 ปี

ชาวยิวเป็นกลุ่มชนที่ได้รับการคุ้มครองโดยชาวมุสลิม และชาวยิวที่อยู่ในการปกครองของชาวมุสลิมนั้น มีสถานภาพการดํารงชีวิตมีสิทธิเสรีภาพ มีการครองชีพดีกว่าชาวยิวที่อยู่ในดินแดนยุโรปในช่วงยุคกลาง เพราะชาวยิวในยุโรปนั้นถูกชาวคริสต์กดขี่

***เพราะฉะนั้น ‘คนยิว’ กับ ‘คนมุสลิม’ สามารถอยู่ร่วมกันด้วยดีมาตลอด นับตั้งแต่มีการประกาศศาสนา

‘นบี มุฮัมมัด’ ท่านได้ทําปฏิญญาสังคม หรือ ‘ธรรมนูญปกครอง’ โดยดึงชาวยิวมาร่วมเป็นพลเมืองในรัฐมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นรัฐอิสลาม และได้เรียกบุคคลเหล่านี้ว่า ‘กลุ่มชนแห่งพันธสัญญา’ ที่ได้รับการคุ้มครองในชีวิตและทรัพย์สิน มีสิทธิเสรีภาพในการถือศาสนา และมีหน้าที่ในการจ่ายภาษีรัชชูปการ เมื่อจ่ายภาษีรัชชูปการแล้วก็ไม่ต้องไปเป็นทหาร และยังคงสามารถนับถือในศาสนาเดิมของตนได้

***บางคนยกเรื่องนี้ เพื่อแสดงให้คนทั่วไปเห็นว่า ชาวมุสลิมไปกดขี่ ไปรีดภาษีจากคนต่างศาสนา แต่ในเมื่อคุณเป็นพลเมืองของรัฐฯ คุณจะไม่จ่ายอะไรเลยเชียวหรือ?

คนมุสลิมต้อง ‘จ่ายซะกาต’ (Zakat) หมายถึง การบริจาคทานตามหลักการศาสนาอิสลาม และยังต้องจ่ายภาษีอีกด้วย

ดังนั้น เมื่อคนยิวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองภายใต้รัฐอิสลาม คุณก็ควรต้องเสียภาษีรัชชูปการส่วนนี้ด้วย เช่นเดียวกันกับพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐฯ

อีกทั้งเมื่อจ่ายภาษีรัชชูปการ คุณก็จะได้รับข้อยกเว้นไม่ต้องไปเป็นทหารในกองทัพด้วย คุณมีสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาด้วย สิ่งนี้เป็นเหมือนพันธสัญญาว่า “เมื่อคุณจ่ายภาษีนี้มา เราจะต้องปกป้องคุ้มครองคุณ”

***สิ่งนี้จึงทำให้ชาวยิวอยู่ร่วมกับชาวมุสลิมมาตราบจนกระทั่งเกิดสงครามกับนครมักกะฮ์ ที่ชาวยิวไปเข้าร่วมกับศัตรูของรัฐอิสลาม ซึ่งเป็นการกระทําที่ผิดสัญญาที่ได้เคยลงสัตยาบันกันเอาไว้ ว่าจะช่วยกันปกป้องรัฐอิสลาม แต่ชาวยิวกลับเป็นหนอนบ่อนไส้ ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทําให้ชาวยิวถูกเนรเทศออกจากคาบสมุทรอาหรับ

กระนั้น เมื่อพ้นยุคสมัยของศาสดามุฮัมมัดไปแล้ว และเข้าสู่สมัยอาณาจักรของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ได้มีการสถาปนาเมืองดามัสกัสขึ้นเป็นราชธานี ซึ่งในเมืองดามัสกัสนั้นก็มีชุมชนชาวยิวอาศัยอยู่ และชาวยิวก็มีส่วนสําคัญในฐานะพลเมืองในรัฐอิสลาม ที่อยู่กันแบบสุขสบาย ต่อมาเมื่อครั้งสถาปนารัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ ในนครแบกแดด ชาวยิวก็มีชุมชนอยู่ข้างพระราชวังหลวงของเคาะลีฟะฮ์ เมื่อมุสลิมพิชิตดินแดนในสเปน ที่เมืองกอร์โดบา เมืองกรานาดา ที่เดิมทีเป็นถิ่นฐานของชาวยิว และชาวมุสลิมก็ได้สร้างอาณาจักรอยู่ที่นั่นร่วมกับชาวยิว

***ชาวยิวไม่ได้ถูกกดขี่ในดินแดนของชาวมุสลิม แต่ถูกกดขี่อยู่ในดินแดนของชาวคริสต์ เพราะชาวยิวเป็นผู้สังหาร ‘พระเยซูคริสต์’ บนไม้กางเขน

ชาวยิวอยู่กับชาวมุสลิมมาโดยตลอด จนกระทั่งจักรวรรดิอังกฤษเริ่มล่าอาณานิคม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการดึงชาวยิวที่อพยพจากดินแดนต่างๆ มารวมกัน เพื่อสร้างนิคมของชาวยิวในดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ทำให้ทางสุลต่านแห่งตุรกี ได้ออกมาประกาศว่า “คุณจะไปอยู่ในดินแดนไหนของออตโตมันก็ได้ แต่ไม่ให้ไปอยู่ในดินแดนของปาเลสไตน์”

***แต่ ‘องค์การไซออนิสต์สากล’ ก็ได้ออกมาประกาศเรียกร้องให้ชาวยิวกลับไปสู่ปาเลสไตน์ เพราะเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญา

ประเด็นคือ หากจะบอกว่าชาวมุสลิมเกลียดชังประเทศอิสราเอล ต้องขอบอกว่าไม่ใช่เพียงแค่ชาวมุสลิมอย่างเดียว ชาวคริสต์ที่เป็นคนอาหรับนั้นก็รังเกียจประเทศอิสราเอลเช่นกัน เพราะชาวคริสต์ที่เป็นชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ในเลบานอนก็มี อาศัยอยู่ในซีเรียก็มี แม้แต่ในเมืองเบธเลเฮม หรือเมืองนาซาเร็ธ ก็มีชาวอาหรับอาศัยอยู่ ซึ่งแม้เขาจะถือในศาสนาคริสต์ แต่เขาก็ไม่ชอบอิสราเอลเหมือนกัน

แม้กระทั่งชาวยิวในนิกายอื่นที่ไม่ใช่พวกไซออนิสต์ ก็มีการประท้วงไม่เห็นด้วยกับการที่ไปตั้งประเทศอิสราเอล เพราะประเทศอิสราเอลนี้เอาเรื่องในเหตุการณ์เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล มาอ้างว่า “ดินแดนแห่งนี้เป็นของตน”

ประเด็นคือ ชาวยิวนั้น เดิมเป็นลูกหลานของ ‘ยิตซ์ฮาก’ (นบีอิสฮาก) บุตรของ ‘อับราฮัม’ ที่กำเนิดกับ ‘นางซาร่า’ ซึ่งเดินทางมาจากเมืองหนึ่งในเมโสโปเตเมีย ที่อยู่ในอิรัก สู่ ‘ดินแดนคานาอัน’ ของชาวคานาอัน ซึ่งชาวคานาอันนั้น เดิมทีเมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล ได้ไปผสมรวมกับชาวเมืองที่มาจากเกาะครีตมาขึ้นที่เมืองเพทรัส หรือปารัส ซึ่งต่อมาได้มีการเรียกกลุ่มคนที่อยู่ที่เมืองปารัส ว่า ‘ปารัสชีอะห์’ เรียกดินแดนตรงนี้ว่า ‘ปีรัสเทียร์’ ซึ่งคือ ‘ปาเลสไตน์’

ดังนั้น คนปาเลสไตน์ ก็คือลูกผสมระหว่างคานาอันกับปาเลสไตน์ เขาว่ากันว่า เมื่อเราไปตรวจดีเอ็นเอของชาวปาเลสไตน์ จะพบว่า ชาวปาเลสไตน์ในปัจจุบันนี้นั้น มีผลดีเอ็นเอตรงกับคนเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล หรือตั้งแต่สมัยฟินิเชียนนั่นเอง

เพราะชาวปาเลสไตน์ไม่เคยถูกขับไล่ให้ไปไหนเลย มีแต่ชาวยิวเท่านั้นที่แตกแยกย้าย กระจัดกระจายไปทั่วทุกดินแดนทั่วโลก ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์ก็ยังคงอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์

‘กลุ่ม IS’ ยอมรับ!! อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิด 2 ครั้ง ในวันงานพิธีรำลึก ‘นายพล กาเซม โซเลมานี’

(5 ม.ค. 67) สื่อต่างประเทศรายงานว่า กลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม (ไอเอส) ออกมาประกาศอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุระเบิด 2 ครั้งซ้อนในพิธีรำลึกครบรอบวันตายของ พล.อ.กาเซม โซเลมานี อดีตผู้บัญชาการหน่วยคุดส์ (Quds) ของอิหร่าน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเกือบ 100 คน และบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก

ในถ้อยแถลงที่โพสต์เทเลแกรม ไอเอสอ้างว่าสมาชิกนักรบ 2 รายได้จุดชนวนเข็มขัดระเบิดท่ามกลางฝูงชนที่กำลังเข้าร่วมพิธีรำลึก บริเวณสุสานในเมืองเคอร์มาน (Kerman) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอิหร่านเมื่อวันพุธที่ผ่านมา

พิธีรำลึกครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 4 ปีการเสียชีวิตของ โซเลมานี ซึ่งถูกกองทัพสหรัฐฯ ส่งโดรนเข้าไปลอบสังหารที่อิรักเมื่อปี 2020

จอห์น เคอร์บีย์ โฆษกทำเนียบขาว บอกกับสื่อมวลชนว่า สหรัฐฯ “ไม่อยู่ในสถานะที่จะตั้งข้อสงสัย” กับคำกล่าวอ้างผลงานของไอเอส ขณะที่เตหะรานประกาศจะแก้แค้นเหตุโจมตีครั้งเลวร้ายซึ่งทำให้มีคนบาดเจ็บล้มตายมากที่สุดในยุคหลังการปฏิวัติอิสลามปี 1979

เหตุระเบิดครั้งนี้นอกจากจะคร่าชีวิตคนไปเกือบร้อย ยังทำให้มีผู้บาดเจ็บอีกไม่ต่ำกว่า 284 คน รวมถึงเด็กๆ

“ทหารของ โซเลมานี จะหยิบยื่นการแก้แค้นที่สาสมต่อพวกเขา” โมฮัมหมัด มอคเบอร์ รองประธานาธิบดีคนที่หนึ่งของอิหร่าน ให้สัมภาษณ์สื่อที่เมืองเคอร์มาน

ทางการอิหร่านยังเรียกร้องให้ผู้คนออกมารวมตัวกันครั้งใหญ่ในวันศุกร์ ซึ่งจะมีการจัดพิธีศพให้แก่เหยื่อจากเหตุระเบิด 2 ครั้งซ้อน

กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติแห่งอิหร่าน (IRGC) ประณามเหตุโจมตีครั้งนี้ว่าเป็นการกระทำอัน “ขี้ขลาดตาขาว” ที่ “หวังสร้างความระส่ำระสาย และบ่อนทำลายความรักและการอุทิศตนที่คนอิหร่านมีต่อสาธารณรัฐอิสลาม”

ประธานาธิบดี เอบราฮิม ไรซี แห่งอิหร่าน ประณามเหตุระเบิดครั้งนี้ว่าเป็น “อาชญากรรมที่ชั่วร้ายและไร้ความเป็นมนุษย์” ขณะที่ อยาตอลเลาะห์ อาลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดอิหร่านก็ประกาศกร้าวว่าจะต้อง “แก้แค้น”

ด้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ได้แถลงประณาม “การก่อการร้ายที่ขี้ขลาดตาขาว” ในอิหร่าน พร้อมแสดงความเสียใจไปยังครอบครัวผู้เสียชีวิต และรัฐบาลอิหร่านด้วย

แม้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้บงการและแรงจูงใจในการก่อเหตุยังไม่มีการเปิดเผยแน่ชัด แต่ แอรอน เซลิน (Aeron Zelin) ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวอชิงตันเพื่อนโยบายตะวันออกใกล้ (Washington Institute for Near East Policy) ระบุว่า ตนจะไม่ประหลาดใจเลยหากสุดท้ายพบว่าเป็นฝีมือของกลุ่ม ISIS-Khorasan หรือ ISIS-K ซึ่งเป็นเครือข่ายไอเอสที่มีฐานอยู่ในอัฟกานิสถาน

เซลิน ชี้ว่า รัฐบาลอิหร่านเคยออกมากล่าวหา ISIS-K ว่าอยู่เบื้องหลังแผนโจมตีหลายครั้งที่ถูกสกัดเอาไว้ได้ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกจับกุมจะเป็นชาวอิหร่าน ชาวเอเชียกลาง และชาวอัฟกันที่มาจากเครือข่ายไอเอสในอัฟกานิสถาน มากกว่าเครือข่ายไอเอสในอิรักและซีเรีย

กลุ่มไอเอสมีความชิงชังชาวชีอะห์ซึ่งเป็นศาสนาอิสลามนิกายหลักในอิหร่าน และมุสลิมชีอะห์ก็ตกเป็นเป้าหมายโจมตีบ่อยครั้งในอัฟกานิสถาน เนื่องจากไอเอสมองว่าเป็นพวกละทิ้งศาสนา (apostates) อีกทั้งนักรบอิสลามิสต์กลุ่มนี้ก็ข่มขู่โจมตีอิหร่านมานานหลายปีแล้ว

การถูกกลุ่มตอลิบานไล่กวาดล้างส่งผลให้ ISIS-K อ่อนกำลังลงมากในอัฟกานิสถาน และสมาชิกบางส่วนต้องอพยพย้ายไปยังประเทศข้างเคียง ทว่ากลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้ยังคงวางแผนปฏิบัติการภายนอกประเทศอยู่ ตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ 

อดีตสมาชิกกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ชี้ การต่อสู้ ความรุนแรง ขัดแย้งกับคำสอน ย้ำ!! ถ้าคิดแต่จะต่อต้านรัฐบาล เราจะก้าวไปข้างหน้าไม่ได้

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าว Utusan TV ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์ของ อดีตสมาชิกกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โดยได้ระบุว่า...

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ของประเทศไทยได้ปลูกฝังความเชื่อที่ศาสนาและชาวมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยนั้นถูกกดขี่ แต่ความจริงก็คือชาวมุสลิมได้รับอิสระในการเผยแพร่คำสั่งสอนศาสนาและความเชื่อที่แท้จริง AFIQ MOHD SHAH นักข่าว พร้อมด้วยช่างภาพ ABDUL RAZAK AID และช่างวิดีโอ WAN AIZZAT JAIL ANI ได้เข้ามาจัดทำรายงานพิเศษ เรื่อง 'ค้นหาสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย' ออกมาตีแผ่สู่สาธารณะ โดยล้วงลึกถึงเรื่องราวของอดีตสมาชิกของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ 'กลับตัว' สู่เส้นทางที่ถูกต้อง คือ สาและ (ชื่อสมมุติ) ผู้ซึ่งได้ตระหนักว่าความเชื่อและอุดมการณ์ที่ 'ปลูกฝัง' ในสมาชิกทุกคนไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของศาสนาอิสลาม 

สาและ ปัจจุบันอายุ 54 ปี ได้เล่าให้ทีมข่าว Utusan TV ฟังว่า "ไม่ว่าการต่อสู้ของเราจะเป็นอย่างไร หากเราหนีจากการต่อสู้ของศาสนทูตของอัลลอฮ์นั้นเป็นการต่อสู้ที่ขัดแย้งกับศาสนา ดังนั้นผมจึงเห็นว่าการต่อสู้ของพวกเขาไม่เหมือนกับการต่อสู้ของศาสนทูตของอัลลอฮ์" 

สาและ ได้เข้าร่วมกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในปี 1992 หลังจากจบการศึกษาด้านศาสนาอิสลาม เดิมที เขาสนใจที่จะเข้าร่วมกลุ่มดังกล่าวที่พยายามต่อสู้เพื่อได้เอกราชให้กับจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย โดยหลังจากเข้าร่วมกลุ่มเขาได้รับมอบหมายให้ปลูกฝังอุดมการณ์ในหมู่คนหนุ่มสาวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเพื่อยกระดับจิตวิญญาณและการแก้แค้นต่อรัฐบาลไทย 

"ทุกครั้งที่มีการบรรยาย มันจะต้อง เกี่ยวข้อง กับศาสนา จะถูกหรือผิดก็ว่าไปตามอุดมการณ์" อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นาน ผมก็เริ่มมองหาคนที่มีประสบการณ์และมีความรู้เพื่อเจาะลึกคำสอนที่แท้จริงของ (อิสลาม)

"ตัวอย่าง เช่น ศาสนทูตของอัลลอฮ์เคยกล่าวไว้ว่า เมื่อออกไปทำสงคราม ห้ามฆ่าเด็ก สตรี นักศาสนา และอย่าทำลายการเกษตร แต่ผมเห็นว่าเมื่อการต่อสู้ของกระบวนนี้ ผู้หญิง เด็ก และผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จากการต่อสู้ของศาสนทูตของอัลลอฮ์ " จากจุดนั้นผมเริ่มคิดว่านี่ไม่ใช่การต่อสู้ที่ถูกต้องตามคำสั่งสอนของศาสนทูตของอัลลอฮ์ หนึ่งในนั้นคือการฝึกฝนน้อยลง นั่นคือจุดที่ผมคิดว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด" 

สาและ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การต่อสู้ที่จุดประกายโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้นไร้ประโยชน์เพราะศาสนาอิสลามมีอิสระที่จะปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างเต็มที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนดังกล่าว

"ถ้าผมต้องการต่อสู้เพื่อศาสนา ผมเห็นว่ารัฐบาลสยามได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างเต็มที่ โรงเรียนสอนศาสนาเกิดขึ้นเหมือนเห็ด" ในแง่ของการศึกษา การเผยแพร่ความรู้ด้านศาสนา และ การชักจูงในการประกอบศาสนกิจนั้น ไม่มีอุปสรรคใด ๆ และแม้แต่สำนักงานใหญ่ของ การเผยแพร่ความรู้ด้านศาสนา และการประกอบศาสนากิจ ก็สามารถเปิดได้ ดังนั้นเราต้องคิดให้รอบคอบ มองโลกให้กว้างขึ้น" สาและ กล่าว 

ในเวลาเดียวกัน สาและได้เน้นว่าการละเว้น 'ญิฮาด' ในการก่อความรุนแรงนั้น ญิฮาดสำหรับตัวคุณเองและครอบครัวของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนรอมฎอนนี้จะดีกว่า เขายังต้องการเห็นคนรุ่นใหม่ในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ มีความรู้ และสามารถนำไปสู่การเป็นสังคมที่ดีที่สุดได้ "เป็นความหวังของเรา ถ้าไม่มีความรู้เกี่ยวกับ ศาสนาหรือโลก มีแต่ความคิดต่อต้านรัฐบาล เราจะก้าวไปข้างหน้าไม่ได้"  คนที่ต่อสู้เรื่องนี้จริง ๆ มีไม่มากนัก ในบรรดาคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย มี 3 ประเภทนั่นคือ 1) ที่ไม่รู้อะไรเลย 2) ที่ไม่ชอบกลุ่มแบ่งแยกดินแดน  3) ผู้ที่สนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดน และผมเห็นคนที่ไม่รู้อะไรเลย และไม่ชอบพวกเขา (กลุ่มแบ่งแยกดินแดน) นั้นมีมากกว่า

ทั้งนี้ หลังจากแยกตัวออกจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดน สาและได้ตัดสินใจ 'ยอมมอบตัว' ต่อรัฐบาลไทย และถูกจัดให้อยู่ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยไม่มีการกดดันหรือถูกทรมานใด ๆ 

ประสบการณ์ เดียวกันนี้ ยังได้ถูกบอกเล่าผ่านอดีตสมาชิกอีกคนหนึ่งของฝ่ายแบ่งแยกดินแดนที่รู้จักกัน ในชื่อ 'มัต' วัย 34 ปี 'มัต' เล่าว่าเขามีส่วนร่วมในเหตุการณ์การเผารถยนต์และรถประจำทาง เขาได้ตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มดังกล่าวบนพื้นฐานของการแก้แค้น เพราะเขาเห็นเพื่อนชาวบ้านหลายคนเสียชีวิตซึ่งเข้าใจว่า ถูก 'กดขี่' แต่ทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว หลังจากที่มัตหนีไปมาเลเซียและอาศัยอยู่ในรัฐยะโฮร์เป็นเวลา 4 ปีอย่างผิดกฎหมายโดยการข้ามเข้าไปทางเส้นทางธรรมชาติ "หลังจากใช้ชีวิตในรัฐยะโฮร์เป็นเวลา 4 ปี 'มัต' เล่าว่า ตนรู้สึกไม่สบายใจ เพราะคิดถึงพ่อแม่ที่แก่ชรา และคิดว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับพวกเขาในหมู่บ้านตนจะไม่มีเวลาขอโทษพวกเขา จากนั้นผมก็ตัดสินใจกลับไปที่หมู่บ้านและไม่ทำอะไรเลยเป็นเวลา 3 เดือน และบอกกับแม่ว่าต้องการมอบตัว" 

บนพื้นฐานของความรักที่มีต่อพ่อแม่ของเขา 'มัต' ตัดสินใจยอมจำนนและถูกจัดให้อยู่ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเช่นเดียวกันกับ 'สาและ' 'มัต' หวังเพียงว่าเพื่อนและชาวบ้านที่ยังคง 'ภักดี' ต่อกลุ่มแบ่งแยกดินแดนจะคิดถึงอนาคตของตัวเองและครอบครัว 

"ตอนแรกผมไม่เชื่อ เพราะผมกลัวว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะทรมานเมื่อถูกส่งมาที่นี่ แต่ทุกอย่างเปลี่ยนไป ทันทีที่ผมมาถึงสถานที่แห่งนี้ เจ้าหน้าที่รัฐไม่เพียงแต่ไม่จะหลอก แต่ยังให้ความช่วยเหลือมากมาย รวมถึงให้เบี้ยเลี้ยง บางคนถึงกับพาครอบครัวมาอาศัยอยู่ที่นี่ ไม่มีการกดดันหรือการทรมานใด ๆ จากเจ้าหน้าที่รัฐ เราสามารถเข้า-ออก และ ได้รับเบี้ยเลี้ยง" มัตกล่าว

นี่คือคำสัมภาษณ์และเรื่องราวจริง‼️ ของอดีตสมาชิกกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ที่ 'กลับตัว' สู่เส้นทางที่ถูกต้อง ที่ออกมาถ่ายทอดเรื่องราวสู่สาธารณะชน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top