Friday, 17 May 2024
อินโนบิก

‘ปตท.–อินโนบิก–จุฬาฯ’ เผยผลวิจัย ‘มณีแดง’ ความหวังต้านเซลล์ชรา รับสังคมผู้สูงวัย

การชะลอความแก่ต่อสู้กับความร่วงโรยของวัย จัดเป็นหนึ่งในความปรารถนาของมนุษย์มาอย่างยาวนาน เห็นได้จากในภาพยนตร์ ละคร หนังสือนิยาย เรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีการกล่าวอ้างถึงยาอายุวัฒนะ ยาต้านความแก่ชรามากมายหลายรูปแบบ ยิ่งทุกวันนี้โลกเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว (โดยกรมกิจการผู้สูงอายุรายงานว่า สังคมไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี 2568 หรืออีกเพียง 3 ปีข้างหน้า) ทำให้ยาต้านความชรายิ่งจะกลายเป็นตัวช่วยสำคัญของมนุษย์ในการต่อสู้กับความเจ็บป่วยที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

ผลงานวิจัย ‘โมเลกุลมณีแดง’ จากความร่วมมือของ ‘ปตท. – อินโนบิก – จุฬาฯ’ ได้ทำให้เรื่องยาชะลอความแก่ต้านความชรา เข้าใกล้ความจริงขึ้นมา ไม่ได้อยู่แต่เพียงในเรื่องเล่าหรือความฝันของมนุษย์อีกต่อไป โดยงานวิจัยดังกล่าวได้ค้นพบ ‘กลไกต้นน้ำของความชรา’ อันนำไปสู่การพัฒนา ‘โมเลกุลมณีแดง’ หรือ RED-GEMs (REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules) ซึ่งมีบทบาทในการช่วยปกป้องดีเอ็นเอและป้องกันความแก่ชราในดีเอ็นเอ จากนั้นได้มีการทดสอบในสัตว์ คือ หนู, หมู และลิง ได้รับผลดีไม่มีผลข้างเคียง พร้อมทดสอบในมนุษย์ และเตรียมกระบวนการผลิตโมเลกุลมณีแดงสู่สังคมต่อไป

โดยล่าสุดได้มีงานแถลงข่าวและพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด พัฒนางานวิจัย ‘โมเลกุลมณีแดง’ นวัตกรรมต้านเซลล์ชรา เตรียมพร้อมทดสอบในมนุษย์ ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย และ ภาคเอกชนอย่าง ปตท. ในการผลักดันผลงานของนักวิจัยไทย ที่ไม่เพียงแค่การตอบโจทย์สังคมสูงวัยเท่านั้น ยังถือเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทย และตอบโจทย์เป้าหมาย New S-Curve ในการผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์

ในงานดังกล่าว ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร อาจารย์ประจำคณะกายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เผยว่า นับเป็น ‘ครั้งแรกของโลก’ จากการที่ได้ค้นพบกลไกต้นน้ำของความชราสู่การพัฒนา ‘โมเลกุลมณีแดง’ โดยทั่วไปในดีเอ็นเอจะมีรอยแยก ซึ่งมีบทบาทในการช่วยปกป้องดีเอ็นเอและป้องกันความแก่ชราในดีเอ็นเอ โดยเมื่อมนุษย์อายุมากขึ้น รอยแยกดีเอ็นเอจะลดลง ทำให้เกิดแรงตึงทั่วสายของดีเอ็นเอ ดีเอ็นเอไม่สามารถหมุนตัวได้อย่างปกติ และถูกทำลายได้ง่าย เราจึงพบรอยโรคในดีเอ็นเอของเซลล์ที่แก่ชราแล้วเยอะขึ้น ซึ่งรอยโรคดีเอ็นเอนี้จะส่งสัญญาณให้เซลล์หยุดการแบ่งตัวตามปกติและเข้าสู่ความแก่ชรา รวมถึงอาจนำไปสู่การกลายพันธุ์และมะเร็งได้ โมเลกุลมณีแดง คือ ยีนที่มีหน้าที่เป็นกรรไกรเพื่อสร้างรอยแยกดีเอ็นเอ เซลล์ที่ได้รับมณีแดงจะมีดีเอ็นเอที่แข็งแรงขึ้น และทำให้เซลล์ที่เสื่อมลงแล้วกลับมาดีขึ้น

ทีมวิจัยได้ทดสอบกับหนูวัยชราที่มีแผลเบาหวาน แผลไฟไหม้ พบว่าหนูวัยชรากลับเป็นหนูที่มีความแข็งแรงและกระตือรือร้นขึ้น ทั้งการทำงานของ สมอง ตับ และไต ในส่วนของไขมันในช่องท้องและพังผืดในตับได้ลดหายไปด้วย ด้านแผลเบาหวาน แผลไฟไหม้หายดี ไม่มีผลข้างเคียง นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้ทดสอบในหมูแรกเกิด และทดสอบคุณภาพเนื้อเมื่อมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม พบว่ามีเนื้อสัมผัสที่นุ่มขึ้น แน่นขึ้น ปัจจุบันโครงการได้ทดสอบในลิงแสม และหนูที่เป็นโรคสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และปอดเป็นพังผืด ขณะนี้ได้ทดสอบมณีแดงกับลิงแสมแล้ว 3 เข็มในระยะเวลา 3 สัปดาห์ จากที่วางแผนไว้ 8 เข็ม ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยลิงแสมทุกตัวปลอดภัยดี และไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ

‘อินโนบิก’ ผนึก ‘ฮาตาริ เน็กซ์’ จำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบใช้ในบ้าน รองรับเทรนด์ดูแลสุขภาพง่ายๆ ด้วยตนเอง

อินโนบิก ร่วมมือกับ ฮาตาริ เน็กซ์ มุ่งนำร่องพัฒนาและจัดจำหน่าย อุปกรณ์ทางการแพทย์ แบบใช้ภายในบ้าน เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง

บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จํากัด และ บริษัท ฮาตาริ เน็กซ์ จํากัด ร่วมเดินหน้าพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบใช้ภายในบ้าน (Home-Use Medical Device) สะดวกพกพา ง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองและคนในครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น อาทิ การร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์เครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดโดยไม่ต้องเจาะเลือด (Non-Invasive Blood Glucose Monitor) ที่เหมาะสมกับคนไทย โดยวางแผนพร้อมจําหน่ายภายในปี 2566 นอกจากนี้ ยังร่วมมือกันในการจัดจําหน่ายอุปกรณ์เครื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาแบรนด์ CMATE และเครื่องวัดความดันโลหิตแบบพกพา โดย อินโนบิก จะเป็นผู้แทนในการจัดจําหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งออนไลน์ ร้านขายยา และโรงพยาบาล

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด เปิดเผยว่า “อุปกรณ์ทางการแพทย์แบบใช้ภายในบ้านถือเป็นแนวโน้มใหม่ของการป้องกันและตรวจวินิจฉัยสุขภาพเบื้องต้น โดยคาดการณ์ในอีก 5 ปีข้างหน้า ในปี 2571 จะมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงทำให้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอโดยอาศัยความรู้ทางการแพทย์ควบคู่กับเทคโนโลยีทางวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (data analytic) ประกอบกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และความใส่ใจด้านสุขภาพของไทย ทำให้มีความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย สะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น ด้วยความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ในการพัฒนาเทคโนโลยีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของฮาตาริ ผนวกกับความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม ความรู้ ประสบการณ์ด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์และการดูแลรักษาสุขภาพของ

อินโนบิก จึงเกิดความร่วมมือในการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ แบบใช้ภายในบ้าน ที่มีระบบวิเคราะห์และประมวลผลที่แม่นยําและเข้าใจง่ายในครั้งนี้ โดยผู้ใช้สามารถตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้นได้ด้วยตนเองและสามารถนําข้อมูลไปปรึกษาแพทย์ได้ ตอกย้ำความมุ่งมั่น ของ อินโนบิก (เอเซีย) ที่ดำเนินธุรกิจวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (Life Science) ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย และลดการพึ่งพาการนําเข้า เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพ

ม.มหิดล จับมือ อินโนบิก ผลิตซอสจากผัก ทานพอเหมาะ ลดเสี่ยงรับสารก่อมะเร็ง

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ อินโนบิก ผลิตและจำหน่ายซอสจากผัก ภายใต้โครงการวิจัย ‘ซอสซ่อนผัก’ นวัตกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพ

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ร่วมลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย ‘ซอสซ่อนผัก’ และ ‘ซอสซ่อนผักสูตรเด็ก’ นวัตกรรมคิดค้นและพัฒนาโดยนักวิจัย สถาบันโภชนาการ อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามิน, แร่ธาตุ เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และใยอาหาร เป็นทางเลือกให้กับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว และเด็ก ๆ ที่อาจไม่ชอบรับประทานผักได้มีสารอาหารที่เพียงพอ รวมถึงยังเป็นทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพอีกด้วย 

สำหรับงานวิจัย ‘ซอสซ่อนผัก’ นั้น ได้รับการยอมรับโดยได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในต่างประเทศ จากผลการทดสอบในกลุ่มผู้นิยมบริโภคอาหารปิ้งย่าง เพื่อศึกษาการกำจัดสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย ที่มักปนมากับส่วนที่ไหม้เกรียมจากการปิ้งย่าง พบว่าการรับประทานซอสซ่อนผักในปริมาณพอเหมาะ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการได้รับสารก่อมะเร็งได้อีกด้วย

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด เปิดเผยว่า อินโนบิก (เอเซีย) ดำเนินธุรกิจโภชนาการทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย และโภชนเภสัช โดยมุ่งเน้นการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ร่วมกับพันธมิตรและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมดูแลสุขภาพของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม ให้มีโภชนาการที่ดีและป้องกันโรคต่างๆ  ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคตามวิถีชีวิตสมัยใหม่ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกายในอนาคต 

ทั้งนี้ เรื่องโภชนาการถือเป็นสาเหตุหลักของความมั่นคงทางด้านสุขภาพและอาหารที่อินโนบิกให้ความสำคัญ การร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญที่มีศักยภาพด้านการวิจัยอย่าง สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลครั้งนี้ เป็นการต่อยอดนวัตกรรมงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ สู่การสร้างผลิตภัณฑ์ของคนไทย โดยมีแผนการผลิตซอสสูตรต้นตำรับและสูตรสำหรับเด็กที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย นำร่องจำหน่ายผลิตภัณฑ์บรรจุในรูปแบบซอง ตั้งเป้าออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 เพื่อเพิ่มทางเลือกการทานอาหารให้กับคนไทยทุกวัย ให้ได้รับประโยชน์ ถูกปาก และสะดวกต่อการรับประทาน อีกทั้งวัตถุดิบในการผลิตซอสซ่อนผักนั้น ยังเป็นผลผลิตจากเกษตรกรไทย ถือเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทย

‘อินโนบิก’ พร้อมเสิร์ฟ ‘โจ๊กจากสารสกัดใบหม่อนและผักแพว’ รับประทานง่าย มีประโยชน์ ผลิตจากวัตถุดิบพื้นบ้านอีสาน

อินโนบิก ต่อยอดงานวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่ตลาด เตรียมผลิตและจำหน่าย ‘โจ๊กที่มีส่วนผสมสารสกัดใบหม่อนและผักแพว’ รับประทานง่าย มีประโยชน์ ผลิตจากวัตถุดิบพื้นบ้านอีสาน

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด พร้อมด้วย รศ.นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะมนุษย์และการเสริมสร้างสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ดร.ณัฐ อธิวิทวัส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ร่วมงานแถลงข่าวพิธีลงนามการถ่ายทอดทรัพย์สินทางปัญญา ‘โจ๊กที่มีส่วนผสมสารสกัดใบหม่อนและผักแพว’

‘อินโนบิก-แอซทีค’ ร่วมมือจัดตั้ง ‘โรงงานยาชีววัตถุคล้ายคลึง’ สร้างศักยภาพ-พัฒนาการผลิตยาด้วยไบโอเทคโนโลยี

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด พร้อมด้วย นายโรเบิร์ต เวสแมน ประธานบริษัท โลตัส ฟาร์มมาซูติคอล จำกัด (Lotus Pharmaceutical Co.,Ltd. : Lotus Pharmaceutical ) และเป็นผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท อัลโวเจน (Alvogen) และ แอซทีค (Aztiq) ร่วมลงนามใน MOU ‘The Investment and Development of Biosimilar Manufacturing Facilities in Thailand’ ผนึกกำลังศึกษาการร่วมจัดตั้งโรงงานผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง (Biosimilar) ในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีระดับสากล พร้อมเครือข่ายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปสู่ภูมิภาคอื่นทั่วโลก ตั้งเป้าลงทุนภายในปีนี้

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ เปิดเผยว่า เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา อินโนบิกได้จับมือกับกลุ่ม Aztiq เข้าลงทุนในบริษัท โลตัส ฟาร์มาซูติคอล (Lotus Pharmaceutical Co. Ltd: Lotus Pharmaceutical) บริษัทยาชั้นนำในเอเชียที่มีการเข้าถึงทั่วโลก โดยความร่วมมือเพิ่มเติมในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญตามยุทธศาสตร์ของอินโนบิกที่จะขยายธุรกิจเข้าไปในกลุ่มยา Biosimilar ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของกลุ่มยารักษาโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ ด้วยอาศัยความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเทคโนโลยีในการผลิตยา ลดการนำเข้า และสามารถส่งออกเพื่อสร้างมูลค่าให้แก่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ให้เกิดขึ้นกับประเทศอีกด้วย

ม.อ. - อินโนบิก ผนึกกำลังต่อยอดการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการแพทย์ เสริมความมั่นคงด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ดร.ณัฐ อธิวิทวัส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด พร้อมด้วย รศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และ ผศ.คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพและการแพทย์ ระหว่าง บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เพื่อมุ่งต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์จริงเชิงพาณิชย์ โดยจะนำผลงาน ที่มีศักยภาพมาวิเคราะห์และทดสอบการใช้งานจริงผ่านคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผสานความเชี่ยวชาญด้านการตลาดของอินโนบิก เพื่อสนับสนุนให้นวัตกรรมจากการวิจัยของคนไทยสามารถเข้าสู่ตลาดที่เพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการแพทย์ ลดการพึ่งพาการนําเข้า สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top