Friday, 17 May 2024
อาหารแห่งอนาคต

'ก.เกษตรฯ' จับมือญี่ปุ่น ดันนโยบายผลิตภัณฑ์จากแมลง ส่งเสริมการ 'สร้างงาน - อาชีพ - รายได้' ให้เกษตรกรไทย

รายงานจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียววันนี้ (5 ก.ค.) แจ้งว่านายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมศักดิ์ วิวิธเกยูรวงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโตเกียว, นายโชติ พึงเจริญพงศ์ คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ, นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ, นายสกนธ์ วนาเศรษฐี ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว และคณะ เดินทางไปมหาวิทยาลัยทากะซากิ (Takasaki City University of Economics) ในจังหวัดกุนมะ เพื่อร่วมประชุมหารือกับ ดร.ทาเคชิ มิซึกุจิ (Takeshi Mizuguchi) อธิการบดีมหาวิทยาลัย และคณะ เมื่อวานนี้ เพื่อขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาอาหารแห่งอนาคต (Future Food) 

โดย มหาวิทยาลัยทากะซากิได้ร่วมวิจัยและพัฒนากับบริษัท ฟิวเจอร์นอท อิงค์ (Futurenaut Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารจากแมลง โดยใช้ผงจิ้งหรีดนำเข้าจากประเทศไทยเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าแปรรูป เช่น ขนมแคร็กเกอร์ โปรตีนแท่ง เป็นต้น

โดยนายเรน ซากุไร (Ren Sakurai) CEO บริษัทฟิวเจอร์นอท และ ดร.อะกิฮิโร อีจิมะ (Akihiro Iijima) หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) ได้นำเสนอข้อมูลของบริษัทตลอดจนพาชมห้องปฏิบัติการทดลองเลี้ยงจิ้งหรีดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์

สำหรับการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ มีสื่อมวลชนญี่ปุ่นให้ความสนใจอย่างมาก โดยติดตามทำข่าวและสัมภาษณ์นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ, ดร.ทาเคชิ มิซึกุจิ อธิการบดี และนายเรน ซากุไร ซีอีโอ บริษัทฟิวเจอร์นอท

ทั้งนี้นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) กล่าวว่า พอใจต่อความสำเร็จในการเจรจาหารือโดย ท่านอธิการบดี ดร.ทาเคชิ มิซึกุจิ และนายเรน ซากุไร ซีอีโอ บริษัทฟิวเจอร์นอท พร้อมจะทำความตกลงลงนามเอ็มโอยู กับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ด้านแมลง เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาแมลงต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากโปรตีนทางเลือกใหม่ ภายใต้นโยบายอาหารแห่งอนาคต (Future Food) และนโยบายฮับแมลงโลกของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และยังสอดรับกับแนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization) ที่ประกาศให้ 'แมลงเป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก' และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติอีกด้วย

รู้จัก 'Plant-based' อาหารแห่งอนาคต เพื่อสุขภาพและรักษ์โลก

ใครที่กำลังสงสัยว่า ‘Plant-based’ คืออะไร? ทำไมถึงเป็นเทรนด์อาหารที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน อยากบอกเลยว่ามีรายละเอียดที่น่าสนใจมาฝากกัน สามารถติดตามได้จาก info นี้เลย

รู้จัก WolffiaX ผู้ปลุกปั้น ‘ไข่ผำ’ สู่อาหารแห่งอนาคต เจาะตลาดต่างชาติ ฉลุย!! เพาะได้ทั้งปี มีโปรตีนสูง

จากรายการ THE TOMORROW มหาชนต้องรู้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ ‘ดร.อันนา ปาจรียางกูร’ ผู้บริหารแบรนด์ ‘วูล์ฟเฟียเอ็กซ์’ (WolffiaX) ผู้เพาะเลี้ยงไข่ผำ หรือ ไข่น้ำ อีกหนึ่งอาหารแห่งอนาคต ถึงแนวทางการผลิต เพาะเลี้ยง จนถึงการจัดจำหน่าย ภายใต้กระบวนการที่ใส่ใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม
.ดร.อันนา เล่าถึงที่มาของไข่ผำ ว่า ‘ไข่ผำ’ หรือไข่น้ำนั้น เป็นพืชน้ำที่มีหน้าตาคล้ายไข่กุ้ง ขนา

ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ซึ่งมีมานานแล้วกว่า 200 ปี ในประเทศไทยมีมากในภาคเหนือและภาคอีสาน โดยไข่ผำเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีมากกว่า 11 สายพันธุ์ทั่วโลก และเจริญเติบโตในแหล่งน้ำธรรมชาติ ถือว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มากเพราะมีวิตามิน B12 สูง ซึ่งผู้ทานมังสวิรัติสามารถรับประทานได้โดยไม่ขาดวิตามินบี 12 และยังมีโปรตีนสูง ไฟเบอร์สูงอีกด้วย 

ในส่วนของ ‘ไข่ผำ’ ภายใต้แบรนด์วูล์ฟเฟียเอ็กซ์ ถูกพัฒนาให้กลายเป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ที่ได้รับความสนใจจากประเทศสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล เนื่องจากในต่างประเทศมีการเพาะเลี้ยงไข่ผำเช่นกัน แต่ต้นทุนสูงกว่า ขณะที่เมืองไทยมีสภาพอากาศที่เหมาะกับการเพาะเลี้ยงไข่ผำได้ตลอดทั้งปี โดยวูล์ฟเฟียเอ็กซ์ เป็นแบรนด์แรก ๆ ที่เพาะเลี้ยงไข่ผำจำหน่ายเพื่อการบริโภคโดยตรง เนื่องจากไข่ผำเป็นพืชที่มีศักยภาพ เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมอาหาร อีกทั้งเป็นแหล่งโปรตีนที่ทานได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเนื้อสัตว์ (Alternative Protein) โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนทุกเพศทุกวัยที่ต้องการดูแลสุขภาพ เด็กที่ไม่ชอบรับประทานผักหรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการบดเคี้ยวก็สามารถทานไข่ผำได้ง่ายเช่นกัน ซึ่งราคาจำหน่ายที่ต่างประเทศจะสูงกว่าเมืองไทย 5-10 เท่า  

ส่วนการเพาะเลี้ยงไข่ผำนั้นยั่งยืนมาก (Sustainability) เนื่องจากกระบวนการเพาะเลี้ยง จนถึงการบรรจุภัณฑ์ ไปจนการส่งต่อสู่ผู้บริโภค แทบจะเป็น Zero Waste เกือบทั้งหมด ขณะที่การใช้น้ำเพาะเลี้ยงไข่ผำนั้น ต่อ 1 กรัมโปรตีน จะใช้น้ำเพียงประมาณ 1.2 แกลลอน ซึ่งเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ ต่อ 1 กรัมโปรตีนแล้ว จะต้องใช้น้ำมากถึง 10-20 แกลลอนกันเลยทีเดียว ดังนั้นหากเทียบกับการทำปศุสัตว์แล้ว การเพาะปลูกไข่ผำ จึงใช้น้ำน้อยมาก ๆ 

ปัจจุบัน วูล์ฟเฟียเอ็กซ์ มีโรงเพาะปลูกไข่ผำสดอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 2 ไร่ และได้รับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP (Good Agricultural Practices: GAP) นอกจากใช้น้ำน้อยในการเพาะปลูกแล้ว เราก็ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยมาก ซึ่งในอนาคตโรงเพาะเลี้ยงไข่ผำจะเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ทั้งนี้ไม่เพียงแบรนด์ วูล์ฟเฟียเอ็กซ์ จะจำหน่ายไข่ผำสดแล้ว ทางบริษัทฯ ยังได้พัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไข่ผำอีกด้วย เช่น ผงชงดื่มไข่ผำ (WolffiaX Drink) ละลายในน้ำรับประทานได้เลย เส้นบะหมี่ไข่ผำ (WolffiaX Noodle) ลูกชิ้นไข่ผำ (WolffiaX Meatballs) และยอไข่ผำ (WolffiaX Sausage) ซึ่งเป็นแพลนต์ เบส ฟู้ด (Plant based food) 

สำหรับผู้ใดที่สนใจอาหารแห่งอนาคตจากไข่ผำของ วูล์ฟเฟียเอ็กซ์ สามารถติดตามรายละเอียดได้ทางเฟซบุ๊ก WolffiaX และไลน์ @drwellnessx


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top