Monday, 6 May 2024
หุ่นยนต์

'ดีพร้อม' โชว์พลังคลัสเตอร์หุ่นยนต์ รวมกลุ่มฝ่าวิกฤตสร้างระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ ลดนำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมเปิดทางสร้างพันธมิตรธุรกิจหุ่นยนต์ หวังดันเอสเอ็มอีไทยไปสู่ยุค 4.0 

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีนโยบายผลักดัน 12 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยมีอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ 

ด้วยนโยบายดังกล่าว ‘ดีพร้อม’ จึงเร่งพัฒนาและฟื้นฟูผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทยโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าวผ่านการสร้างและพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ ‘คลัสเตอร์’ (Cluster) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างนวัตกรรมร่วมกัน ตลอดจนบูรณาการการทำงานระหว่างกันได้ ซึ่ง ‘ดีพร้อม’ ได้ดำเนินการพัฒนาคลัสเตอร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน โดยมีกลไกและกระบวนการพัฒนาตั้งแต่ การกระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดการรวมกลุ่ม การพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็ง การพัฒนาธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมให้เติบโต เข้มแข็ง และยั่งยืน 

โดยเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม เครื่องมือและกระบวนการอันสำคัญหนึ่งที่จะนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศได้คือการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ ‘คลัสเตอร์’ ซึ่งมีจำนวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนามาแล้วอย่างต่อเนื่อง จำนวน 123 กลุ่มอุตสาหกรรม ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และสิ่งที่น่าสนใจพบว่าเป็นคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย 11 กลุ่ม ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของผู้ประกอบการ SMEs ตลอดจนเป็นการปูทางสร้างมูลค่าอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี 

สำหรับคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความเข้มแข็งเป็นอย่างมาก และถือเป็นก้าวสำคัญของ SMEs 4.0 คือ ‘คลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ’ ซึ่งได้รวมตัวและบูรณาการการทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2562 ประกอบด้วยธุรกิจ SMEs จำนวน 22 บริษัทมีเป้าหมายและจุดยืนร่วมกันคือการเพิ่มกำลังการผลิต การลดนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การนำความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัทมาช่วยแก้จุดอ่อน (Pain Point) ของพันธมิตรภายในคลัสเตอร์ รวมถึงผลักดันให้ธุรกิจ SMEs มีโอกาสได้ใช้หุ่นยนต์เพื่อให้แข่งขันได้ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลง

ด้านกำลังแรงงาน และการลดต้นทุนด้านต่างๆ เนื่องจากในปัจจุบันจะพบว่าการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานของประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับสถานประกอบการขนาดใหญ่เท่านั้น มี SMEs จำนวนน้อยที่ใช้ระบบดังกล่าวในการจัดการกระบวนการผลิต เพราะส่วนใหญ่ยังคงเป็นการใช้เครื่องจักร รวมถึงเทคโนโลยีมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง 

“สิ่งสำคัญที่ ดีพร้อม พยายามพัฒนาและยกระดับคลัสเตอร์ให้มีความเข้มแข็งได้มุ่งเน้นทั้งการกระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดการรวมกลุ่ม เพื่อปรับเปลี่ยนแนวความคิดจากเดิมที่ต่างคนต่างทำหรือต่างคนต่างเก่ง เปลี่ยนการดำเนินงาน จากการแข่งขันเพียงเพื่อความอยู่รอดของตัวเองฝ่ายเดียวมาเป็นพันธมิตร พร้อมวิเคราะห์สถานภาพของกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้ธุรกิจในคลัสเตอร์ทราบถึงระดับความสามารถในการแข่งขัน และนำสิ่งต่างๆ มาเติมเต็มได้ รวมถึงยังได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับความต้องการการพัฒนาธุรกิจ ผลักดันเวทีหรือกิจกรรมการปฏิบัติจริง ทั้งในด้านการทดสอบตลาด การพัฒนาบุคลากร การใช้เทคโนโลยี และยังติดตามความสำเร็จ และเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนากลุ่มคลัสเตอร์อื่นๆ ต่อไป”

นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ดีพร้อม ยังได้มีการติดตามผลลัพธ์ ซึ่งพบว่าสิ่งที่คลัสเตอร์หุ่นยนต์
และระบบอัตโนมัติประสบความสำเร็จ คือ มีการซื้อขายระบบเทคโนโลยีรวมถึงหุ่นยนต์ระหว่างกันคิดเป็นมูลค่า ทางเศรษฐกิจประมาณ 95 ล้านบาท หรือ 4.75 ล้านบาทต่อกิจการ พร้อมด้วยความสำเร็จของการพัฒนาระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ Low Cost Automation ซึ่งทำให้ธุรกิจในกลุ่มสามารถมีระบบอัตโนมัติช่วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตในราคาที่เอื้อมถึงได้ คืนทุนได้เร็วเฉลี่ยประมาณ 12 เดือน และมีราคาที่ถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ย 300,000 - 500,000 บาท จากปกติที่ต้องนำเข้าในราคาระดับหลักล้านบาท อย่างไรก็ตาม ดีพร้อม ยังมีแนวทางในการต่อยอดให้กลุ่ม SMEs มีการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น 

1.) การดึงกลุ่มสถานประกอบการที่มีความต้องการใช้หุ่นยนต์เข้ามาร่วมในกลุ่มคลัสเตอร์ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ผู้พัฒนาระบบทราบถึงความต้องการของพันธมิตร และต่อยอดสู่เทคโนโลยีเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น 

2.) การส่งเสริมและเชื่อมโยงผ่านกลไกด้านการเงิน พร้อมให้ความรู้กับผู้ประกอบการได้เห็นถึงสิทธิประโยชน์จากการนำหุ่นยนต์มาใช้ เช่น มาตรการด้านภาษี ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในอัตราต่ำ รวมถึงจัดทำข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนอด้านการเงินสำหรับ SMEs เพื่อใช้ในการขอสินเชื่อจากกองทุนและจากธนาคารพาณิชย์

3.) จัดหาหรือดึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ / ประสบการณ์ในด้านระบบอัตโนมัติรวมถึงหุ่นยนต์มาช่วยให้ความรู้ หรือเทคนิคสำคัญให้กับผู้ประกอบการในคลัสเตอร์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านที่ปรึกษา พร้อมช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาเทคโนโลยีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

และ 4.) ส่งเสริมแผนงานด้านการตลาด เนื่องจากในปัจจุบันแม้คลัสเตอร์จะเริ่มประสบความสำเร็จในการแบ่งปัน - ซื้อขายเทคโนโลยีระหว่างกัน แต่ยังจำเป็นต้องทำให้เกิดการซื้อขายนอกกลุ่ม หรือช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้เกิดมูลค่าและการเป็นที่รู้จักที่มากขึ้นต่อไป 

'สทป.' สุดเจ๋ง!! จับมือ 'มทม.-ม.อ.' สร้างหุ่นยนต์ค้นหา-เก็บกู้-ทำลายวัตถุระเบิด

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) จัดโครงการวิจัยและพัฒนา ด้านหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของเทคโนโลยีเป้าหมาย เพื่อวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง สนับสนุนภารกิจตรวจค้น พิสูจน์ทราบ เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด และภารกิจทางด้านความมั่นคงต่าง ๆ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางทหารและพลเรือน 

จากการวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดอย่างต่อเนื่องได้มีการนำข้อเสนอแนะจากหน่วยผู้ใช้มาพัฒนาและปรับปรุงสมรรถนะ จนเป็นที่ยอมรับของหน่วยผู้ใช้ ทำให้หุ่นยนต์ของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศได้รับการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม พร้อมเดินหน้าเข้าสู่สายการผลิต จำนวน 2 รุ่น ประกอบ

1.) ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก รุ่น D-EMPIR V.4 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
2.) ต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการณ์ขนาดพกพา รุ่น NOONAR V.4 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

‘บริษัทสตาร์ทอัพจีน’ โชว์การทดสอบ ‘หุ่นยนต์สุนัข’ ที่สามารถขึ้นลงบันไดว่องไวเหมือนหมาจริง!!

เมื่อวันที่ 25 เม.ย.66 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ชวนชมการทดสอบ ‘หุ่นยนต์สุนัข’ จากลิมเอ็กซ์ ไดนามิกส์ (LimX Dynamics) บริษัทสตาร์ทอัพด้านหุ่นยนต์ ในนครเซินเจิ้น มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งสามารถขึ้นลงบันไดอย่างว่องไวคล้ายสุนัขจริง

'จีน' ล้ำ!! พัฒนา 'ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์’ ควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ เล็งใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของหุ่นยนต์อัจฉริยะแห่งอนาคต

(10 ม.ค. 67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหนานฟาง (SUSTech) ได้พัฒนาผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมอุณหภูมิได้ หรือ เทอร์โม-อี-สกิน (thermo-e-skin) ที่ประกอบขึ้นจากโครงสร้างลอกเลียนแบบทางชีวภาพ ซึ่งเลียนแบบกลไกการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ ผ่านการผสมผสานอุปกรณ์เทอร์โมอbเล็กทริกที่มีความยืดหยุ่นเข้ากับวัสดุไฮโดรเจลคอมโพสิท (hydrogel composite)

ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว สามารถรักษาอุณหภูมิพื้นผิวให้คงที่อยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส ตลอดช่วงอุณหภูมิแวดล้อมตั้งแต่ 10-45 องศาเซลเซียส ด้วยความสมดุลของการสร้างและการกระจายความร้อนช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์บรรลุการทำงานของระบบสัมผัสเสมือนมนุษย์ และสร้างการตอบสนองของระบบประสาทที่เสถียร ผ่านการเลียนแบบร่างกายมนุษย์ในระดับที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้มันเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับหุ่นยนต์อัจฉริยะแห่ง

อนาคต ทว่าฟังก์ชันการควบคุมอุณหภูมินี้จำกัดอยู่ที่เพียงการทำความร้อนหรือทำความเย็นแบบธรรมดา และไม่อาจรักษาการควบคุมอุณหภูมิคงที่เป็นเวลานานในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลง

อนึ่ง การศึกษาดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสารนาโนเอ็นเนอร์จี (Nano Energy)

‘NASA’ เร่งพัฒนา ‘หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์’ ทำงานเสี่ยงภัยในอวกาศ ช่วยทุ่นแรงงานอันตราย-มนุษย์สามารถโฟกัสภารกิจได้เต็มที่

(10 ม.ค. 67) ข่าวต่างประเทศรายงานว่า ในภารกิจสำรวจและวิจัยของมนุษย์อย่างเราในพื้นที่อวกาศนั้น ถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายอย่างมาก เพราะในพื้นที่อวกาศไม่มีอากาศให้หายใจ และยังมีรังสีมากมายที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา

เพื่อลดความเสี่ยงในภารกิจต่างๆ ในพื้นที่นอกโลก องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ NASA จึงได้มีการพัฒนา ‘หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์’ (Humanoid robot) หรือ หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ เพื่อส่งไปใช้งานบนอวกาศในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งจะช่วยลดงานของมนุษย์อวกาศในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงอันตรายของอวกาศอันกว้างใหญ่

ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์ของ NASA กล่าวว่า หากการพัฒนาสำเร็จ ในอนาคตหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ จะสามารถช่วยมนุษย์ทำงานที่มีความเสี่ยงในพื้นที่อวกาศได้ เช่น ทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์นอกอวกาศ ช่วยตรวจสอบอุปกรณ์ที่ทำงานผิดปกตินอกยานอวกาศ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงให้กับมนุษย์อวกาศได้อย่างมาก

ก่อนหน้านี้ นอกจากหุ่น ’วัลคิรี’ ที่กำลังพัฒนา NASA เคยส่งหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ไปยังอวกาศมาแล้ว คือ โรโบนอส ทู (Robonaut 2) หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ตัวแรกที่เข้าสู่อวกาศ โดยหุ่นยนต์ได้ถูกส่งขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ในปี มีหน้าที่ช่วยงานพื้นฐาน เช่น ช่วยประสานการควบคุม ช่วยวัดการไหลของอากาศ ก่อนจะถูกส่งกลับมายังโลกในปี 2018

ในการพัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ของ NASA ทางทีมวิศวกรได้ให้ข้อมูลว่า ไม่ได้พยายามทำให้หุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์ แต่อยากให้งานที่อันตราย หรืองานน่าเบื่อให้หุ่นยนต์ทำแทนในพื้นที่อวกาศ เพื่อให้มนุษย์อวกาศที่ออกไปทำภารกิจนอกโลก มีเวลาที่จะสามารถทำภารกิจต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ เพราะนอกอวกาศนั้นมีทรัพยากรในการอาศัยและเดินทางที่จำกัด

‘จีน’ เปิดตัว ‘Walker S’ พนักงานใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรม พร้อมรับตำแหน่งหุ่นยนต์ภาคปฏิบัติการ ประจำสายผลิตรถอีวี

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 67 สำนักข่าวซินหัว, เซินเจิ้น รายงานว่า วิดีโอที่เผยแพร่โดย Ubtech บริษัทหุ่นยนต์ในนครเซินเจิ้น เผยให้เห็นว่า ‘วอล์กเกอร์ เอส’ (Walker S) หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์เวอร์ชัน เพื่อการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมของบริษัทกำลัง ‘ฝึกอบรมภาคปฏิบัติ’ อยู่ในโรงงานของนีโอ (NIO) บริษัทยานยนต์พลังงานไฟฟ้าสัญชาติจีน นับเป็นความสำเร็จในการใช้หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ร่วมกับมนุษย์ในสายประกอบของโรงงานผลิตรถยนต์ เพื่อการประกอบและตรวจสอบคุณภาพของยานยนต์

‘หุ่นยนต์วอล์กเกอร์ เอส’ สูง 170 เซนติเมตร มีข้อต่อ 41 ชิ้น เพียบพร้อมด้วยระบบการรับรู้ที่ครอบคลุม เช่น การรับรู้แรงกระทำหลายมิติ, การมองเห็นสามมิติ, การได้ยินรอบทิศทาง และระบบการวัดระยะทาง เป็นต้น มันจึงสามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ในสายประกอบ เพื่อประกอบและตรวจสอบคุณภาพของรถยนต์

นอกจากนี้ หุ่นยนต์รุ่นนี้ยังมีเทคโนโลยีที่ได้รับการอัปเกรดอย่างครอบคลุม เช่น ระบบระบุพิกัด (VPS) การทำงานอย่างสอดประสานระหว่างมือกับตา การควบคุมการเคลื่อนไหว และโมเดลวางแผนการเคลื่อนที่ (Path Planning) แบบหลากหลาย จึงสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย

‘เทคนิคระยอง’ เปิดตัว AI Robot ‘น้องชะมวง’ ช่วยอ่านรายชื่อนักศึกษา ในงานรับใบประกาศนียบัตร แถมทำอย่างเต็มที่!! ‘ไม่มีบ่น-ไม่มีเหนื่อย’

เมื่อวานนี้ (28 มี.ค. 67) ที่โดมอาคารอเนกประสงค์ วิทยาลัยเทคนิคระยอง ต.ท่าประดู่ อ.เมือง จ.ระยอง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกิตติพงค์ อุตตมะเวทิน ผอ.วิทยาลัยเทคนิคระยอง เป็นประธานในพิธีมอบใบประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 แก่ นศ. ระดับ ปวช. และ ปวส. จำนวน 1,489 คน โดยมีครูและผู้ปกครอง มาร่วมแสดงความยินดีจำนวนมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ครูและผู้ปกครอง ได้ร่วมแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจให้กับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา โดยในพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาดังกล่าว ได้มีการนำหุ่นยนต์ AI Robot ชื่อ ‘น้องชะมวง’ มาอ่าน หรือขานชื่อนักศึกษาที่เข้ารับใบประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษา ซึ่งสร้างความฮือฮาแก่ผู้ปกครองเด็กนักศึกษาอย่างมาก ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน

ด้าน นายกิตติพงค์ อุตตมะเวทิน ผอ.วิทยาลัยเทคนิคระยอง กล่าวว่า การใช้หุ่นยนต์ AI Robot มาขานชื่อนักศึกษาที่เข้ารับใบประกาศรับบัตรสำเร็จการศึกษาดังกล่าว สืบเนื่องจากวิทยาลัยเทคนิคระยอง เป็นสถานศึกษาที่เน้นเรื่องนวัตกรรม และเทคโนโลยีในการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อที่จะให้ นศ. คนรุ่นใหม่ออกไปพัฒนาประเทศ ตามนโยบายของวิทยาลัยฯ ที่ต้องการให้ผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วมีสมรรถนะสูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการบ่งบอกว่า วิทยาลัยเทคนิคระยอง ก้าวล้ำทางด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาประเทศ แถมการนำหุ่นยนต์ AI Robot ‘น้องชะมวง’ มาขานชื่อ นศ.เข้ารับใบประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษาดังกล่าว ยังมีข้อดีคือ น้องไม่มีบ่น ไม่มีเหนื่อย และยังไม่ต้องเปลี่ยนคนอ่าน หรือขานชื่อบ่อยๆ อีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top