Sunday, 5 May 2024
ส่งออกทุเรียน

เกษตรฯ เตรียมแผนส่งออกทุเรียนปลอดภัย

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมฯ ได้กำหนดแนวทางมาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อ โควิด - 19 ระดับสวนเกษตรกร เพื่อใช้เป็นมาตรฐานให้ทุกสวนผลไม้ส่งออกได้ยึดถือปฏิบัติ และเป็นแนวทางให้ทุกฝ่ายได้ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้มาตรการเตรียมความพร้อมรองรับผลผลิตทุเรียนภาคตะวันออกปี 2565 รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการส่งออกผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2565 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำหนดเป้าหมายไว้ว่าการส่งออกผลไม้ต้อง Zero COVID เท่านั้น

ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออก สร้างความเชื่อมั่นสู่ผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนที่เป็นตลาดส่งออกหลัก ซึ่งในฤดูกาลผลไม้ปีนี้ จีนในฐานะประเทศคู่ค้าสำคัญของผลไม้ของภาคตะวันออกได้กำหนดไว้ว่าต้องตรวจไม่พบเชื้อโควิด -19 ทั้งในคน ผลไม้ และองค์ประกอบอื่นในการขนส่ง โดยมีมาตรการระดับสวนเกษตรกร เช่น มีแนวกั้นบริเวณอาณาเขตของสวน และมีจุดเข้าออกทางเดียว 

‘อลงกรณ์’ เผย จีนเปิดด่านโม่ฮานนำเข้าทุเรียนไทยแล้ว ย้ำต้องเข้มงวดมาตรการปัองกันปนเปื้อนโควิด แนะผู้ส่งออกบริหารความเสี่ยงเพิ่มการขนส่งทางเรือทางอากาศเพิ่ม

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผย ว่าได้รับรายงานจากสํานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจํากรุงปักกิ่ง ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ว่า ด่านโม่ฮานในมณฑลยูนนานเปิดนำเข้าทุเรียนไทยจากด่านบ่อเต็นของลาวแล้วตั้งแต่วันที่15เมษายนที่ผ่านมา หลังจากระงับการนำเข้าทุเรียนไทย 3 วันระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน จากตรวจพบการปนเปื้อนโควิดในรถบรรทุกคอนเทนเนอร์จากไทย

โดยด่านเปิดทำการระหว่างเวลา 08.30 - 21.00 น. และในเวลา17.30 - 21.00 น.เป็นช่วงให้รถบรรทุกเปล่าผ่าน

ส่วนโหย่วอี้กวน(กว่างซีจ้วง)ยังเปิดให้บริการระหว่างเวลา 08.00 - 19.00 น. แต่มีความแออัดจึงควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยง

 “ทั้งนี้ขอให้ผู้ประกอบการดำเนินมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิดและฆ่าเชื้อสินค้าตามข้อกำหนดของทางราชการอย่างเคร่งครัดตามข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board)”

แดนมังกรติดใจ ทุเรียนไทยส่งออกไปจีนกว่า 90% | THE STATES TIMES Y WORLD EP.36

แดนมังกรติดใจ ทุเรียนไทยส่งออกไปจีนกว่า 90%

เกษตรกรไทยรายได้สะบัด คึกคักทั้งประเทศ

.

ติดตามได้ใน THE STATES TIMES Y World

.

#THESTATESTIMES
#THESTATESTIMESYWORLD 
#YWORLD
#จีน
#ทุเรียน
#ส่งออกทุเรียน

ฟรุ้ทบอร์ด ไฟเขียวแก้ปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ เล็งใช้เส้นทาง ‘รถไฟจีน-ลาว’ รองรับฤดูกาลผลไม้ ปี 66

ฟรุ้ทบอร์ด เห็นชอบ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ ตามนโยบายของรัฐมนตรีเกษตรพร้อมจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการตู้และขบวนรถไฟจีน-ลาว รองรับฤดูกาลผลไม้ ปี 2566 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) เปิดเผยภายหลังการประชุมวันนี้ว่า ที่ประชุมได้รับทราบ

1.) รายงานความก้าวหน้าโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2564/2565 รอบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี

2.) รายงานความก้าวหน้าโครงการพัฒนาลำไยอย่างยั่งยืน ปี 2566 – 2568 จากการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1/2565 มีมติมอบกรมส่งเสริมการเกษตรฝ่ายเลขาฯ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแนวทางหรือโครงการนำร่องการแก้ไขปัญหาผลผลิตลำไยอย่างยั่งยืนระยะยาว โดยการปรับโครงสร้างการผลิตลำไยในฤดู และนอกฤดู ให้เท่ากับร้อยละ 60 : 40 ภายในปี 2567 เพื่อให้ลำไยมีการกระจายการผลิตได้ทั้งปี ผลผลิตในฤดูไม่ซ้อนทับกันมาก เป็นทางเลือกให้แก่ตลาดได้ทุกฤดูกาล/ทุกเทศกาล ที่ต้องการลำไย โดยในฤดูกาลปกติจะลดภาวะ over supply ลงได้ร้อยละ 10 แต่ประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรไม่ลดลง

3.) รายงานสถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2566 โดยคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

4.) รายงานผลการประชุมคณะทำงานศึกษาโครงการมหานครผลไม้และการขนส่งผลไม้ผ่านสนามบินจันทบุรี ครั้งที่ 1/2565
โดยใช้แนวทางการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership หรือ PPP) 

5.) รายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า 

6.) รายงานสรุปผลการประชุมเฉพาะกิจการเตรียมความพร้อมในการใช้เส้นทางรถไฟจีน – ลาว ซึ่งเป็นโอกาสของฝ่ายไทยและขยายเส้นทางการขนส่งทางรางเพื่อเพิ่มศักยภาพการนำเข้า - ส่งออกสินค้าไปจีนและผ่านจีนไปยังสหภาพยุโรปผ่านเส้นทางตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง มีการดำเนินการ ดังนี้ (1) การจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการตู้และขบวนรถไฟ มีหน้าที่ในการรับจองตู้และขบวนรถไฟ เพื่อรองรับฤดูกาลผลไม้ ปี 2566 โดยความร่วมมือภาคีเครือข่ายภาคเอกชน โดยประสานงานกับสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (2) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟ ไทย - จีน -ลาว รวมไปถึงการขยายเส้นทางขนส่งสินค้าผ่านจีนไปสู่ภูมิภาคอื่น (3) เร่งรัดการเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนสำหรับระบบตรวจสอบ รวมไปถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และโครงการพื้นฐานของด่านส่งออกที่สำคัญ เช่น ด่านมุกดาหาร ด่านนครพนม และด่านหนองคาย (4) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การขนส่งสินค้าเกษตรจากประเทศไทยสร้างการรับรู้ ข้อปฏิบัติ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟไทย - จีน - ลาว ในระดับพื้นที่ควบคู่ไปด้วย

‘ศูนย์วิจัยกสิกร’ เผย 3 ปัจจัยทุเรียนไทยครองใจคนจีน คาด!! ปี 2567 สดใส ส่งออกทุเรียนไปจีน โต +10%

(19 ก.พ. 67) ศูนย์วิจัยกสิกร เปิดเผยว่า ในปี 2566 ที่ผ่านมา ทุเรียนไทยกลายเป็นดาวเด่นบนเวทีการส่งออกสินค้าไทยไปจีน โดยมีบทบาทสำคัญต่อภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 18.2% ท่ามกลางสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยโดยรวมที่หดตัวเล็กน้อย -0.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า หากมองเฉพาะกลุ่มสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่รวมผลไม้ สถิติการส่งออกไปจีนจะหดตัวลงถึง -5.3%

ขณะที่ทุเรียนสดถือเป็นผลไม้ที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงสุด โดยมีสัดส่วนการส่งออก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยหลักมาจาก

1.ความต้องการบริโภคทุเรียนในตลาดจีนมีมากขึ้นตามความนิยม
2.ปริมาณผลผลิตทุเรียนในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามพื้นที่เพาะปลูก
3.ปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ การขยายช่องทางการขาย อาทิ ช่องทางออนไลน์ และการเพิ่มช่องทางขนส่งทางรางผ่านรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว ช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความสะดวกในการขนส่งได้มากขึ้น ซึ่งในปี 2566 เริ่มมีการส่งทุเรียนผ่านเส้นทางนี้มากขึ้น โดยคิดเป็น 5.7% ของการส่งออกทุเรียนทั้งหมดไปจีน

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ในปี 2567 การส่งออกทุเรียนสดไทยไปจีนมีแนวโน้มแตะ 4,500 ล้านดอลลาร์ เติบโต +12% เมื่อเทียบกับปี 2566 ซึ่งการเติบโตจะชะลอลงจากปีก่อนหน้า ซึ่งคาดว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้น +10% เมื่อเทียบกับปี 2566 แต่การเติบโตจะชะลอลงเนื่องจากผลผลิตบางพื้นที่อาจได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวน

ในส่วนของราคาส่งออกคาดว่าจะขยับขึ้นเล็กน้อย +2% เมื่อเทียบกับปี 2566 แม้ความต้องการทุเรียนไทยในจีนจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ทุเรียนจากคู่แข่งก็มีจำนวนมากขึ้นเช่นกัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top