Friday, 10 May 2024
สุเทพ

"สุเทพ"  มั่นใจใช้ข้อเท็จจริงสู้คดีทุจริตโรงพัก 396 แห่ง มั่นใจ ทำตามมติ ครม.ยันไม่ได้ยุ่งการจัดซื้อจัดจ้าง ตั้งข้อสังเกตเหตุใด ป.ป.ช.ฟ้องเอง เพราะอัยการสั่งไม่ฟ้อง

ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงแหน่งทางการเมือง   นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้เดินมาศาลฏีกาแผนกอาญาผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง สนามหลวง ตามนัด ที่ป.ป.ช.ส่งตัวฟ้องศาล  กรณียื่นฟ้องในคดีทุจริตสร้างสถานีตำรวจ 396 แห่งทั่วประเทศ และแฟลตตำรวจ 163 หลัง  รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 5,200 ล้านบาท 

โดยนายสุเทพยืนยันต่อสู้คดีด้วยข้อเท็จจริง และชี้ว่าถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ชี้แจงข้อกล่าวหาการทุจริตโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ หลัง ป.ป.ช.สอบสวนคดีมานายนับ 10 ปี ส่งผลต่อชื่อเสียง ทั้งที่ได้ต่อสู้เรื่องต้านการทุจริตมาตลอด แต่มาถูกกล่าวหาการทุจริตเสียเอง  และยืนยันข้อต่อสู้คดีว่าไม่ได้กระทำการใดที่ผิดจากมติ ครม. 

และการสั่ง การและ พิจารณาต่างๆ อยู่บนพื้นฐานของข้อกฎหมายระเบียบปฏิบัติ ในฐานะที่กำกับดูแล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ตัดสินใจในแง่ของนโยบาย การปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่ และไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยอนุมัติตามที่มีการเสนอได้ในราคาต่ำกว่าราคากลางกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งเจ้าหน้าที่แต้งง่าผ่านการประมูลชอบตามกฎหมายแล้วจึงได้ลงนาม ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เอื้อประโยชน์อะไรกับบริษัท การสร้างสถานีตำรวจไม่แล้วเสร็จเป็นเรื่องของการบริหารจัดการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

'โฆษก ปชป.' ซัด 'ธาริต' บิดเบือนคดี 99 ศพ ทั้งที่ 'ศาล-ป.ป.ช.' ตัดสิน 'อภิสิทธิ์-สุเทพ' ไร้ความผิด

(8 ก.ค.66) นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงข่าวพาดพิงบิดเบือนก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนยุติธรรม และเสียหายต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ว่า...

หลักการสำคัญในเรื่องนี้ ขอย้ำว่าสิ่งที่นายธาริต ออกมาพูดกล่าวหานายอภิสิทธิ์และนายสุเทพนั้น ได้มีการพิสูจน์ความจริงจนสิ้นกระแสความแล้วจากกระบวนการยุติธรรม จากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) การพิสูจน์ความจริงผ่านกระบวนการยุติธรรมนั้น เนื่องจากมีการยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ ต่อศาลอาญา ในข้อหาเจตนาฆ่าผู้ชุมนุม สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยต่าง ๆ สลายการชุมชุม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ซึ่งเป็นข้อหาที่ร้ายแรง แต่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง เพราะไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีนี้ โดยศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา มีคำพิพากษายกฟ้องเช่นกัน

นายราเมศ กล่าวว่า อำนาจการพิจารณาคดีจึงตกไปอยู่กับ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่มีอำนาจโดยตรง โดยผลการวินิจฉัยของ ป.ป.ช. รับฟังเป็นที่ยุติว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผล “อยู่ในช่วงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลว่า การชุมนุมของกลุ่ม นปช. มิใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ และมีบุคคลที่มีอาวุธปืนปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. จึงมีเหตุจำเป็นที่ ศอฉ. ต้องใช้มาตรการขอพื้นที่คืน เพื่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง โดยมีคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำอาวุธติดตัว หากมีความจำเป็นสามารถนำมาใช้เพื่อระงับยับยั้งได้ไปตามสถานการณ์ หรือเหตุการณ์เฉพาะหน้า หรือป้องกันตนเองได้ อันเป็นไปตามหลักสากล ตามนัยคำพิพากษาศาลแพ่ง ในคดีหมายเลขดำที่ 1433/2553” และศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดีเลขที่ 1699/2560 “ว่าการกระทำของ นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง” ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องต้องกัน ยุติด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพราะได้ผ่านการค้นหาความจริงด้วยกระบวนการยุติธรรม

นายราเมศ กล่าวต่อว่า การที่นายธาริตแถลงมาทั้งหมดทำไมไม่เอาไปสู้คดีในชั้นศาล ทำไมไม่เอาข้อเท็จจริงไปเข้าสู่กระบวนการของศาลในคดีที่เคยสั่งให้ดำเนินคดีนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ส่วนที่นายธาริต กล่าวว่า "จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษซึ่งมีตน เป็นอธิบดีในขณะนั้น จำเป็นต้องทำหน้าที่เพื่อรักษาความยุติธรรม ด้วยการดำเนินคดีต่อผู้ออกคำสั่งให้ทำร้ายประชาชน ในข้อหาตามมาตรา ป.อาญา มาตรา 288 – 289" 

ในประเด็นนี้ เคยย้ำมาตลอดเวลาว่า ยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาและคำวินิจฉัยของ ป.ป.ช ว่านายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ไม่ได้กระทำความผิดเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย นายธาริตถูกฟ้องกลับในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบสืบเนื่องมาจากการดำเนินคดีนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก ขณะนี้รอฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งนายธาริตเลื่อนฟังคำพิพากษามาหลายครั้ง ทำไมไม่เอาสิ่งที่แถลงเข้าสู่สำนวนคดีที่นายธาริตถูกฟ้อง แล้วต่อมาทำไมถึงต้องให้การรับสารภาพ แสดงว่านายธาริตยอมรับว่าได้ดำเนินกระบวนการดำเนินคดีนายอภิสิทธิ์และนานสุเทพโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะถ้ายืนยันว่าปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้วจะรับสารภาพทำไม กลับมากล่าวหาบุคคลอื่น แสดงว่าที่ให้การรับสารภาพต่อศาลคือคำให้การเท็จใช่หรือไม่

"ทั้งนายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพ ไม่เคยปฏิเสธกระบวนการยุติธรรม ไม่เคยเรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมให้กับตนเอง ต่อสู้คดีจากข้อกล่าวหา จนผ่านกระบวนการตรวจสอบการพิสูจน์ด้วยกระบวนการยุติธรรมว่าไม่ได้ทำผิดตามที่กล่าวหา การที่นายธาริต ออกมาแถลง คำแถลงเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม บิดเบือนให้สังคมสับสน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตรงไปตรงมาไม่ต้องกลัวว่าจะถูกดำเนินคดี นายธาริตอย่าพยายามยกเรื่องนี้มาลบล้างการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่ชอบในการดำเนินคดีนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ คนจริงเขาไปสู้ในศาล ไม่ใช่มาพูดนอกศาลให้ตนเองดูดี ควรเคารพกระบวนการ ยืนกรานต่อสู้ตามหลักกฎหมาย และอย่าอายต่อความจริง ไม่เช่นนั้นเรื่องนี้จะไม่มีข้อยุติและจะนำเหตุการณ์นี้มาบิดเบือนเพื่อทำลายผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา" นายราเมศ กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top