Sunday, 19 May 2024
สุรา

‘พิธา’ วอนขอ ส.ส. โหวตหนุน ‘สุราก้าวหน้า’ ชี้!! เพื่ออนาคตเกษตรกร-ผู้ประกอบการรายย่อย

พิธา อภิปรายโค้งสุดท้าย ‘สุราก้าวหน้า’ เทียบกฎกระทรวงกับร่างสุราก้าวหน้าแตกต่างชัดเจน ยังคงกีดกันการค้ารายย่อยหนุนทุนใหญ่ผูกขาดเหมือนเดิม พร้อมกระตุกจิตสำนึก ส.ส. โหวตเสร็จคงจะกลับไปกินเหล้านอกต่อไม่ว่ากัน แต่ขอโหวตเพื่ออนาคตของเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยด้วย

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายสนับสนุนร่างแก้ไข พ.ร.บ.สรรพสามิต หรือร่างกฎหมาย ‘สุราก้าวหน้า’ ที่กำลังมีการอภิปรายในวาระ 2 และจะมีการลงมติวาระ 3 ในวันนี้ พร้อมชี้ข้อเปรียบเทียบกับกฎกระทรวง ว่าด้วยการผลิตสุรา ที่ออกมาใหม่โดยรัฐบาลเมื่อวานนี้

พิธาระบุว่าหลักการที่สำคัญที่สุดในการพิจาราเรื่องนี้ คือการเอาสภาพข้อเท็จจริงและศักยภาพของผู้ประกอบการ มาเทียบกับร่างกฎหมายสุราก้าวหน้า และกฎกระทรวงที่ออกมาเมื่อวานนี้ ว่าสิ่งใดที่เหมาะสมกับข้อเท็จจริงของประเทศและศักยภาพของผู้ประกอบการมากกว่ากัน

ซึ่งหากเป็นกฎกระทรวงที่ออกมาเมื่อวานนี้ กล่าวได้ว่าเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนจากล็อกเก่ามาเป็นล็อกใหม่เท่านั้น หากพิจารณาตามข้อเท็จจริง ผู้ประกอบการจินหรือรำ ทั้งที่เชียงใหม่ หนองคาย สงขลา สุราษฎร์ธานี ที่เป็นผู้ประกอบการระดับโลก ส่งออกไปได้ 17 ประเทศ ชนะการประกวดทั้งที่ปารีส โตเกียว ฮ่องกง ชนะคู่แข่งจากออสเตรเลีย อาร์เจนติน่าจะไม่ได้รับการปลดล็อกจากกฎกระทรวงฉบับนี้ ด้วยการกำหนดกำลังการผลิตขั้นต่ำ 30,000 ลิตรต่อวันที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย รวมทั้งการที่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความจำเป็น

‘ผู้ผลิตสุราพื้นบ้าน’ ดีใจ หลังรัฐปลดล็อก ‘ผลิตสุรา’ เตรียมแผนโปรโมตสุราท้องถิ่น - สร้างรายได้ให้ชุมชน

ผู้ผลิตสุราพื้นบ้านวิสาหกิจชุมชนใน จ.ขอนแก่น เตรียมตัวทำการตลาดเพิ่มยอดขาย มองเป็นเรื่องดีหลังปลดล็อกการผลิต วอนรัฐลดภาษี

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 นายบวน การสร้าง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตะกัวป่าสาโทไท อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น กล่าวถึงกรณีการประกาศกฎกระทรวงการ ‘ผลิตสุรา’ พ.ศ. 2565 ว่า

มองเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากปัญหาก่อนหน้าจะประกาศกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ.2565 นั้น การขออนุญาตค่อนข้างซ้ำซ้อน เมื่อหมดอายุใบขออนุญาตก็ต้องเริ่มดำเนินการใหม่ ทำให้เสียเวลาการทำเอกสาร และในส่วนการเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องจักร จำนวนแรงม้า และการให้มีคนงานมากขึ้น ตนมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากชุมชนจะได้เพิ่มการผลิตเพื่อให้ทันความต้องการของลูกค้า

ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตะกั่วป่าสาโทไท กล่าวต่ออีกว่า ในการเสียภาษีสรรพสามิตที่ทางวิสาหกิจชุมต้องเสียซ้ำซ้อน โดยปัจจุบันต้องเสียภาษีขาย ทั้งขายส่ง และขายปลีก รวมไปถึงเสียภาษีทั้งรายปีและรายเดือน ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง จึงอยากให้รัฐบาลช่วยดูแลและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก เพื่อการพัฒนาการแข่งขันทางธุรกิจด้วย

‘รัฐบาล’ เชิญชวนคนไทย ‘ลด ละ เลิก’ ดื่มสุราในช่วงเข้าพรรษา  สร้างภูมิคุ้มกันช่วยลดเสี่ยงโรค แถมลดรายจ่าย-เพิ่มเงินในกระเป๋า

(31 ก.ค. 66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เนื่องด้วยวันเข้าพรรษาของทุกปี เป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 2 ส.ค. 66 กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาสังคมและเครือข่ายงดเหล้า จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้คนไทย ลด ละ เลิกการดื่มแอลกอฮอล์ ภายใต้คำขวัญ ‘ไกลเหล้า ไกลโรค ไกลอุบัติเหตุ’ โอกาสนี้ รัฐบาลจึงขอเชิญคนไทยทุกคนร่วมลด ละ เลิก เหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดตลอดเทศกาลเข้าพรรษาที่จะมาถึง ให้ช่วงเวลานี้เป็นจุดเริ่มต้นในการดูแลสุขภาพ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆ ซึ่งข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่าทุกปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากพิษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประมาณ 3 ล้านคน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมากกว่า 230 ชนิด นอกจากนี้ ยังช่วยลดโอกาสที่เกิดความสูญเสียกับครอบครัวและสังคมโดยรวมจากอุบัติเหตุ ที่นำมาซึ่งการบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าความเสียหายได้

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า การลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังช่วยลดรายจ่ายภาคครัวเรือนได้มาก ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ด้านพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย ปี 65 ระบุว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 64 เหล่านักดื่มต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดื่มเพิ่มขึ้นจากในปี 60 เกือบ 2 เท่า โดยผู้ดื่มหนักเป็นประจำ มีค่าใช้จ่ายการดื่มสุราเฉลี่ยสูงถึง 3,722 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มีความสมดุลระหว่างมิติทางเศรษฐกิจ และมิติของสังคม โดยมิติทางเศรษฐกิจนั้นได้มีกฎกระทรวงที่ลดข้อจำกัดทางกฎระเบียบการอนุญาตให้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือน พ.ย. 65 เพื่อประโยชน์ในการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และลดการผูกขาดทางการตลาด แต่ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้มีการขับเคลื่อนให้มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เพื่อจำกัดไม่ให้กิจกรรมที่มาจากการแข่งขันทางธุรกิจกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการดื่มที่มากขึ้นตลอดจนขับเคลื่อนการรณรงค์เพื่อสร้างความรอบรู้ผลกระทบต่อสุขภาพที่มาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ประชาชนอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ต้องเน้นการป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เช่น ควบคุมจุดจำหน่าย ความหนาแน่นของร้านค้า การกำหนดโซนนิ่ง เป็นต้น 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top