Saturday, 18 May 2024
สัตวแพทย์

สุดเศร้า! "คุณปู่ป่าละอู" ช้างป่าแก่งกระจาน ล้มแล้วจากพิษกระสุนปืน หลัง 'หมอล็อต' ระดมทีมสัตวแพทย์ช่วยยื้อชีวิตนาน 2 สัปดาห์ พร้อมเร่งหาตัวคนใจโหดยิงช้างนับร้อยนัด!!

พล.ต.ต.อุทัย กวินเดชาธร ผบก.ภ.จ.เพชรบุรี เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นายอำเภอแก่งกระจาน ทีมสัตวแพทย์ เพื่อหาตัวผู้กระทำผิดกรณีช้างพลายงาด้วนชื่อ “คุณปู่ป่าละอู” อายุ 60 ปี หนักกว่า 5 ตัน ได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลบริเวณลำตัวหลายจุดจากการต่อสู้และถูกยิงหลายแห่ง หลังจากทีมสัตวแพทย์ได้เข้าช่วยเหลือรักษาอาการนานกว่า 2 สัปดาห์ “คุณปู่ป่าละอู”ได้เสียชีวิตลงบริเวณอ่างเก็บน้ำกระหร่าง 3 หมู่ 3 ต.ป่าเด็ง อ.แก่งกระจาน เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา จากการตรวจบาดแผลนอกเหนือบาดแผลจากการต่อสู้กับช้างด้วยกันแล้ว พบบาดแผลถูกยิงด้วยปืนลูกซอง ปืนขนาด .38 และปืนขนาด.22 ถึง 186 นัด ฝังอยู่บริเวณผิวหนังก่อนทางอุทยานฯได้แจ้งความไว้เพื่อหาตัวคนยิง

“ช้างตัวดังกล่าวเป็นช้างที่มีอายุมากแล้วไม่สามารถเข้าฝูงกับช้างหนุ่มได้ จึงถูกช้างงาไล่แทงขับออกจากฝูงและออกมาหากินพืชผลของชาวบ้านในชุมชน ก่อนถูกชาวไร่ใช้ปืนยิงขับไล่ ซึ่งบาดแผลจากถูกกระสุนปืนบางนัดทำให้เกิดอักเสบ บวกกับบาดแผลที่ชนกันเองติดเชื้อเป็นหนองรุนแรงจนเสียชีวิต จากการตรวจสอบกระสุนปืนฝังที่ตัวช้างมาหลายปีแล้วอีกทั้งแก่งกระจานก็มีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมหลายอำเภอทั้งเพชรบุรี-ประจวบฯ ขณะนี้ได้มอบกระสุนทั้งหมดให้ทางเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานจังหวัด(พฐ.)เพชรบุรี นำไปตรวจเปรียบเทียบหาอาวุธปืนว่าใครเป็นผู้ครอบครองเพื่อนำตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป” 

กรมปศุสัตว์ ร่วมกับ สัตวแพทย์ มช. จัดงานประชุมนานาชาติ GASL โดย FAO ต้อนรับผู้ร่วมงานกว่า 200 คนจาก 50 ประเทศทั่วโลก

กรมปศุสัตว์ ร่วมกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) จัดการประชุมนานาชาติ Multi-stakeholder collaboration to strengthen sustainability and resilience of livestock systems in response to drivers of change: 13th Global Agenda for Sustainable Livestock (GASL) Multistakeholder Partnership Meeting and the Regional Conference on Sustainable Livestock Transformation ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ จังหวัดเชียงใหม่ 

โดยมี นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ Ms. Shirley Tarawali ประธานของกลุ่ม Global Agenda for Sustainable Livestock (GASL) ดร. นายสัตวแพทย์ธนวรรษ เทียนสิน Director of Animal Production and Health Division องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) Mr. Robert Simpson, Senior Adviser to the Assistant Director - General / Regional Representative ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกันกล่าวให้การต้อนรับผู้ร่วมประชุม

ในการนี้ ศ.ดร.น.สพ.กรกฎ งานวงศ์พานิชย์ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมด้วย ผศ.ดร.สพ.ญ.วรางคณา ไชยซาววงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์สัตวแพทย์สาธารณสุขและอาหารปลอดภัยเอเชียแปซิฟิก คณาจารย์ และบุคลากร คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมพิธีเปิดงานประชุมนานาชาติฯ

สำหรับการประชุมที่จัดขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้ จะมุ่งเน้นหารือในประเด็นด้านการเสริมสร้างให้เกิดการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อระบบปศุสัตว์และการแก้ไขปัญหาในรูปแบบนวัตกรรม 4 มิติสำคัญ ประกอบไปด้วย

ความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ หารือแนวทางการสร้างความมั่นคง เพื่อให้ประชากรโลกสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าและโภชนาการสูง สนับสนุนการเจริญเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืน

การพิจารณาทางเศรษฐกิจและสังคม มุ่งพิจารณาแนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสุขภาพ เสริมสร้างความยั่งยืนในการผลิตปศุสัตว์ ตลอดจนการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนอย่างเท่าเทียม

ด้านสุขภาพ ร่วมวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของแนวทางการดูแลสุขภาพ อันจะเป็นประโยชน์สำคัญต่อการดำเนินงานและพัฒนาระบบปศุสัตว์อย่างยั่งยืน

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความร่วมมือในการวางแนวทางเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรการเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการเกษตรที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ

Global Agenda for Sustainable Livestock (GASL) คือ คณะทำงานด้านวาระระดับโลกที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของระบบปศุสัตว์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2554 โดย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินงานผ่านความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย ทั้งรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน การเคลื่อนไหวทางสังคม และสถาบันการศึกษาองค์กรระหว่างประเทศ 

เป็นการรวมตัวของผู้ที่มีส่วนสำคัญด้านการพัฒนาระบบปศุสัตว์กว่า 200 คนจาก 50 ทั่วโลก มาร่วมแบ่งปันแนวปฏิบัติและนโยบายเพื่อการผลิตปศุสัตว์ที่ยั่งยืน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดการผลักดันการดำเนินงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปรับปรุงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของภาคปศุสัตว์ โดยคำนึงถึงความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ สัตว์ และระบบนิเวศ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top