Sunday, 19 May 2024
สะพานพระราม3

สุขสันต์วันเกิด​ สะพานพระราม​ 3 (30​ มี.ค.65)​

HBD สะพานพระราม3

พิธีเปิดสะพาน 30 มีนาคม พ.ศ. 2543 แต่เปิดใช้งานก่อนหน้านั้นหลายเดือน เป็นสะพานที่ขับรถขึ้นทีไรใจหวิวทุกครั้ง ด้วยสะพานค่อนข้างสูงและชัน รถแอดก็เก๋าเก่า แต่ก็อดชำเลืองมองวิวกรุงเทพและแม่น้ำเจ้าพระยา

ยิ่งมอง ยิ่งงาม ยิ่งน่าค้นหา


 

มั่นใจ!! ‘เสาตอม่อสะพานพระราม 3’ แข็งแรง แม้ดูบาง หลักวิศวกรรมต่างประเทศ ก็ยังใช้เสาแบบนี้

กลายเป็นเรื่องดรามาหลังจากที่นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นถ่ายภาพ ‘เสาตอม่อ สะพานพระราม 3’ พร้อมวิจารณ์ถึงว่า เสาตอม่อสะพานพระราม 3 ทำไมดูบางขนาดนี้ ดูไม่แข็งแรงทนทานเลย เพิ่งได้เห็นกับตาดูน่ากลัว ความปลอดภัยอยู่ที่ไหนหลังจากนั้นก็มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาคอมเมนต์จำนวนมาก ภาพที่ถูกแชร์ออกไปก็เล่นเอาคนไทยตกอกตกใจ เพราะหากเทียบกับเสาตอม่อของสะพานอื่นๆ ก็ดูเหมือนว่า เสาตอม่อ สะพานพระราม 3 จะเล็กจริงๆ   

ทว่า แท้จริงแล้ว ‘สะพานพระราม 3’ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีรูปแบบ ‘อสมมาตร’ ที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยสะพานพระราม 3 ก่อสร้าง วันที่ 29 สิงหาคม 2539 และเปิดให้สัญจรในวันที่ 30 มี.ค. 2543  

สำหรับ ‘สะพานพระราม 3’ สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร เนื่องจาก สะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้าง ‘สะพานพระราม 3’ ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ ปัจจุบันเปิดใช้งานมาแล้ว 23 ปี โดยมีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดูแลและก่อสร้าง 

‘สะพานพระราม 3’ ถูกออกแบบการก่อสร้างเป็นแบบ สะพานคานรูปกล่อง (Box Girder) 6 ช่องจราจร 2 ทิศทาง 23 เมตร ยกเว้นเชิงสะพานทั้งสองฝั่ง มี 4 ช่องจราจร เนื่องจากช่องจราจรด้านซ้ายสุดทั้งสองช่องเป็นสะพานเชื่อมต่อกับถนนเจริญกรุงและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน) ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งหมด 411,489,540 บาท และจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) 2,481,181,265 เยน หรือราวๆ 607 ล้านบาท 

ด้าน รศ.เอนก ศิริพานิชกร กรรมการควบคุมอาคาร ที่ปรึกษาสาขาวิศกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) อธิบายว่า หากมองตามความรู้สึกขนาดของเสาตอม่อ ‘สะพานพระราม 3’ อาจจะดูไม่มั่นคงแข็งแรง เพราะมีขนาดที่บางมาก โดยภาพเสาตอม่อที่แชร์กันนั้นเป็นเสาตอม่อช่วงบริเวณเชิงสะพานยกระดับเชื่อมกับสะพานใหญ่ (Approach Rlevated Bridge) แม้ว่าเสาจะมีขนาดเล็กแต่ในทางวิศกรรมมีการวางตอม่อต่อเนื่องกัน 4 ช่วงคาน ดึงรวดอัดแรงที่ละ 4 ช่วง มีรอยต่อน้อย หากเสามีขนาดใหญ่จะส่งผลต่อการดึงรวดอัดแรงหรือการเสริมกำลังในสะพาน เพราะจะเสริมแรงได้น้อยลง โดยทางวิศวกรรมเรียกว่าให้การออกแบบเชิงโครงตั้งฉากอาศัยการถ่ายแรงจากพื้นมายังเสา เนื่องจากเป็นช่วงเชิงสะพานการออกแบบจึงไม่ได้ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น เหมือนโครงสร้างสะพานอื่นๆ อาทิ เสาตอม่อของทางด่วน ประกอบการต้องมีการความคุมการยืดหยุ่นของ สะพานในช่วงเชิงคานสะพาน การออกแบบเสาตอม่อให้เล็กจึงหมาะสมมากกว่า 

รศ.เอนก อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้ว่าเสาจะมีขนาดเล็ก และบางกว่าเสาตอม่อที่เราคุ้นเคยกัน แต่มีความแข็งแรงไม่น้อยไปกว่าสะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น เพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน และในการถ่ายเทน้ำหนัก ซึ่งปัจจุบันการ ออกแบบเสาตอม่อให้เล็กมีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศมีการใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น การทำโครงตั้งฉากในลักษณะดังกล่าวจะลดรอยต่อให้น้อยลง ทำให้ดังนั้นจึงมั่นใจไดว่าเสาตอม่อ ‘สะพานพระราม 3’ มีความแข็งแรงมั่นคงพอ และที่สำคัญจุดดังกล่าวเป็นเชิงสะพานก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลาง สะพานการออกแบบเสาตอม่อก็ให้เสาตอม่อขนาดใหญ่เหมือนสะพานอื่น ๆ อีกทั้งการออกแบบลักษณะดังกล่าว จะทำให้สะพานขยับตามแนวทิศทางการวิ่งของรถ ลดรอยแตกร้าวได้ดี 

‘เสาสะพานพระราม 3’ การก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ลดขนาดโครงสร้าง เพื่อทัศนียภาพที่สวยงามของเมือง

(9 ก.ค. 66) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Applied Physics’ ได้แชร์เกร็ดความรู้เพิ่มเติมเชิงวิศวกรรมของ 'เสาสะพานพระราม 3' โดยระบุว่า…

จุดประสงค์เพื่อการแบ่งปันข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์เชิงการศึกษาต่อนักเรียนนักศึกษาที่สนใจนะครับ

บางไปไหม? จะหักไหม?
มันบางจริงๆ แต่แข็งแรงนะ และแข็งแรงไม่น้อยไปกว่า สะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้นเพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน ในการถ่ายเทน้ำหนัก แล้วยังใช้งบมากกว่าแบบหนาๆด้วย

สะพานนี้ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และเรื่องนี้ เคยมีวิศกรออกมาให้ความรู้มาก่อนแล้วว่าลักษณะเสาที่บางของสะพานนี้ เป็นการก่อสร้างโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่เรียกว่า ‘คอนกรีตอัดแรงแบบพิเศษ’ ซึ่งจะใช้เหล็กที่เป็นโครงสร้างด้านในมากกว่าโครงสร้างทั่วไป …แถมการสร้างด้วยเทคโนโลยีแบบนี้ มีมูลค่าสูงกว่าการก่อสร้างทั่วไปเสียอีก จุดประสงค์ก็เพื่อลดขนาดโครงสร้างคอนกรีตที่ใหญ่เทอะทะ จนกลายเป็นทัศนะอุจาดในเขตเมือง มองแล้วไม่สบายตา พอลดขนาดเสาลง มันก็ดูโปร่งสบายตากว่ามาก

สะพานนี้ เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2542 ก่อสร้างโดย บริษัทเยอรมัน Ed.Zublin Ag.Wayss สร้างเสร็จมา 20 กว่าปีแล้ว ก็ไม่เคยมีปัญหา

โดยทั่วไปแล้ว เสาตอม่อเล็ก มีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศ มีการใช้เป็นจำนวนมาก ( เช่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น)

โดยจุดดังกล่าว เป็นเชิงสะพาน ก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลางสะพาน เสาตอม่อก็มีขนาดใหญ่ เหมือนสะพานอื่นๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top