Friday, 26 April 2024
สอบ

Meet THE STATES TIMES 'เดอะ ดีเบต' | EP.4

📌ร่วมถกประเด็นร้อนในรอบสัปดาห์ ผ่านมุมมองสร้างสรรค์ และคมคิดที่น่าสนใจ ในรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’

🔥 ในประเด็นร้อน 🔥
1.) บทบาทสื่อ กับปรากฏการณ์ทุบกระติก
2.) ฤดูสอบเข้า - ฤดูแป๊ะเจี๊ยะโรงเรียนไทย​ 
3.) นวัตกรรมพิฆาตโควิด - อนาคตสาธารณสุขไทย

🔥ไปกับ ‘โบว์ - ณัฏฐา มหัทธนา’ ดำเนินรายการโดย ‘หยก THE STATES TIMES’

ในรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’ ร่วมถกประเด็นสุด​ Exclusive​ ระหว่าง​ THE​ STATES​ TIMES​ และ​ 'โบว์​ ณัฏฐา'​

.

.

‘ตรีนุช’ กำชับจัดสอบรับนักเรียน ต้องโปร่งใส-ยุติธรรม ย้ำ! ไม่ต้องกังวล มีที่เพียงพอ สำหรับนักเรียนทุกคน

‘ตรีนุช’ กำชับโรงเรียนแข่งขันสูงจัดสอบโปร่งใส ยุติธรรม ไม่มี ‘แป๊ะเจี๊ยะ’ แลกที่นั่งเรียน ฝากผู้ปกครอง-นักเรียนหากสอบไม่ติดโรงเรียนดัง มั่นใจลูกมีที่เรียนแน่นอน

(7 มี.ค.66) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ใกล้ถึงช่วงเวลาการรับนักเรียนเข้าเรียน ปีการศึกษา 2566 แล้ว โดยรับสมัครเข้าเรียนชั้น ม.1 วันที่ 11-12 มีนาคม 2566  สอบ/คัดเลือก 25 มีนาคม  2566 ประกาศผลและรายงานตัว 29 มีนาคม 2566 มอบตัว 1 เมษายน 2566  ส่วนชั้น ม.4 ที่เปิดสอน ม.ต้น และ ม.ปลาย นักเรียนที่จบชั้น ม.3 โรงเรียนเดิม สมัครเข้าเรียนตามที่โรงเรียนกำหนด ประกาศผลและรายงานตัวตามที่โรงเรียนเดิมกำหนด  มอบตัว 2 เม.ย. สมัครสอบคัดเลือก (นักเรียนที่จบ ม.3)จากโรงเรียนอื่น และโรงเรียนเดิม วันที่ 11-15 มีนาคม สอบ/คัดเลือก 26 มีนาคม ประกาศผลและรายงานตัว 30 มีนาคม มอบตัว 2 เมษายน และโรงเรียนที่เปิดสอนเฉพาะ ม.ปลาย (ยกเว้นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) รับสมัคร 11-15 มีนาคม สอบ/คัดเลือก 26 มีนาคม  ประกาศผลและรายงานตัว 30 มีนาคม มอบตัว 2 เมษายน  2566 

“ตนได้กำชับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ดูแลการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2566 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนแข่งขันสูงที่มีกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ให้โรงเรียนจัดขบวนการจัดสอบด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม ไม่มีการใช้เงินแลกที่นั่งเรียน  และหากมีการร้องเรียนมา ศธ.ก็จะดำเนินการตรวจสอบ หากพบใครทำผิดก็จะดำเนินการตามระเบียบขั้นสูงสูด” น.ส.ตรีนุช กล่าว

‘มัธยมวัดธาตุทอง’ สุ่มสอบปากเปล่าเด็กด้วย ‘คีย์เวิร์ด’ พบคำ ‘112-ขบวนเสด็จ’ และหลากคำคุ้นจากกลุ่มการเมือง

(8 มี.ค. 67) หลังจากที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งเป็นครู สอนอยู่ที่โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง ได้โพสต์ภาพและข้อความระบุว่า…

‘การศึกษา’ คือ อาวุธที่ทรงพลังที่สุด ที่เราจะนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงโลก

- เนลสัน แมนเดลา -
“ห้องเรียนต้องสนุกเป็นพื้นที่ถกเถียงทางวิชาการ”
“ครู ต้องเป็นผู้สนับสนุนให้นักเรียน กล้าคิด พูด ทำ”
“อภิปราย โต้แย้ง ด้วยเหตุผล หลักฐาน และข้อเท็จจริง”
“ช่วยกันทำให้ ‘สังคมศึกษา’ ไม่เป็นวิชาที่น่าเบื่ออีกต่อไป”
“ขอให้พี่ ม.6 โชคดี”

พร้อมกับแนบภาพ ‘ข้อสอบปลายภาค’ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 วิชาสาระร่วมสมัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีคำชี้แจงเบื้องต้น เช่น…

1. ข้อสอบฉบับนี้เป็นข้อสอบพูดปากเปล่า ในรูปแบบคีย์เวิร์ด มีจำนวนทั้งสิ้น 50 
2. นักเรียนจะเป็นผู้สุ่มเลือกข้อสอบเอง (โดยการจับฉลาก) นักเรียนมีเวลาอธิบายคีย์เวิร์ดที่จับฉลากได้ 3 นาที และหลังจากพูดจบ จะมีคำถามจากครูผู้สอน 2 คำถาม และมีเวลาในการตอบอีก 2 นาที
3. คีย์เวิร์ด จะมีความเกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ที่เป็นประเด็นในประเทศไทย ในสังคมโลก ที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2565-2566 และเป็นเรื่องรางที่ครอบคลุมเกี่ยวกับทุกสาระการเรียนรู้ในวิชาสังคมศึกษา
4. ครูผู้สอนจะแจ้งข้อสอบในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2567 เวลา 09.00 น.และ สอบวันที่ 11-12 มีนาคม พ.ศ.2567 เวลา 9.00 - 15.00 น. นักเรียนจะเลือกมาสอบวันไหนเวลาไหนก็ได้ตามลำดับคิว และ นักเรียนมีโอกาส 2 รอบในการตอบคำถาม
5. กรุณาแต่งกายและปฏิบัติตนตามระเบียบเครื่องแต่งกายและทรงผมโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง (ชุดนักเรียน)

ทั้งนี้ จะพบคีย์เวิร์ด ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากมาย เพียงแต่คำเหล่านั้น ก็ถูกโลกโซเชียลตั้งข้อสังเกตว่า คำต่างๆ ที่ทางโรงเรียนนำมาใช้นั้น ทำไมช่างเหมือนกับเป็นการรวมคีย์เวิร์ดของ ‘คณะก้าวหน้า’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ มาไว้ในที่เดียว

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งคำถามถึงอาจารย์ผู้สอน วิชาสาระร่วมสมัย ว่ามีความรู้ ‘จริง’ แค่ไหนกับสถานการณ์ที่จะถูกอธิบายจากเด็กผ่านคีย์เวิร์ดต่างๆ แล้วการสอบจะมีการเอนเอียงหรือชี้นำด้วยหรือไม่ อย่างไร เช่นเดียวกันหากคำตอบถ้าไม่ตรงใจผู้สอน จะผ่านหรือไม่ผ่านหรือไม่ โดยคีย์เวิร์ดที่ว่า ประกอบไปด้วย...

- ลี้ภัยทางการเมือง
- เสรีทรงผม
- เสรีเครื่องแบบนักเรียน
- ทลายทุนผูกขาด
- Al คือ ภัยคุกคาม
- นิติสงคราม
- การบังคับบุคคลสูญหาย
- Stop Teen Mom
- ไม่นับถือศาสนา
- ค่าแรงขั้นต่ำ
- คนเท่ากัน หรือ คนไม่เท่ากัน
- ประชาธิปไตยแบบไทยไทย
- อำนาจนิยมในโรงเรียน
- Digital Wallet
- สังคมไร้เงินสด
- สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย
- Content Creator
- วิกฤติภูมีอากาศ
- Digital Footprint
- เสียงของประชาชน
- การเมืองเป็นเรื่องของใคร
- Digital Wallet
- สถานศึกษาปลอดภัย
- ขบวนเสด็จ
- การสมรสเท่าเทียม
- กัญชาเสรี
- นักเรียน หรือ นักเลง
- สุราเสรี
- อิสราเอล vs ปาเลสไตน์
- มิจฉาชีพยุคดิจิทัล
- ภาวะสมองไหล
- ยูเครน vs รัสเซีย
- Fast Fashion
- ความกดดันของคน Gen Z
- พุทธพาณิชย์
- เกมสร้างพฤติกรรมรุนแรง ?
- Soft Power
- เมืองโบราณศรีเทพ
- PM 2.5 ฝุ่นพิษ ข้ามพรมแดน
- Social Bullying
- Mental Health
- กู้ยืมเพื่อการศึกษา ทำไมการศึกษาต้องเป็นหนี้
- พลเมืองโลก
- โลกหลายใบ
- มีลูกเมื่อพร้อม
- สิทธิมนุษยชนผู้ต้องขัง
- คุกมีไว้ขังคนจน
- ประเทศโลกที่สาม
- Role Model


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top