Wednesday, 15 May 2024
สวนทุเรียน

‘นร.การบิน’ แชร์ประสบการณ์ ร่วมบินใน ‘ภารกิจฝนหลวง’ ช่วยบรรเทาภัยแล้งให้สวนทุเรียนของชาวเกษตรกรชุมพร

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้ TikTok บัญชี ‘Nutcha Memie’ หรือ ‘คุณมี่’ ซึ่งเป็นนักเรียนการบิน ได้ออกมาเล่าประสบการณ์ขณะที่ได้ขึ้นบินสังเกตการณ์ เพื่อดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงครั้งแรก โดยคุณมี่ได้บอกเล่าความรู้สึกต่อภารกิจครั้งนี้ว่า…

“ชาวบ้านที่ชุมพรร้องเรียนกันว่า ทุเรียนจะยืนต้นตายหมดแล้วค่ะ ทําให้มี่เห็นเครื่องบินฝนหลวงมาจอดเรียงกันเต็มไปหมดเลย ซึ่งศิษย์การบินอย่างมี่นั้นตื่นตาตื่นใจมาก โดยเครื่องบินที่ถูกเลือกมาทําภารกิจในวันนี้ คือ ‘คาซ่า’ จริง ๆแล้วฝนหลวงมีเครื่องบินหลายรุ่นมาก แต่ว่าจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับภารกิจนั้น ๆ พอพี่ช่างเตรียมเครื่องให้เราเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็จะโหลดสารเคมีขึ้นเครื่อง โดยที่บนเครื่องจะมีนักบิน นักวิชาการ และมีพี่ ๆ ที่ขึ้นไปโปรยสารพอใบพัดเริ่มหมุน มี่ก็เริ่มรู้สึกตื่นเต้นมากเลยค่ะ เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่ได้ลองนั่งเครื่องบินคาซ่า วันนี้เราจะบินขึ้นมาที่ความสูงประมาณ 6,000 ฟุต พอถึงตําแหน่งที่เราต้องการทําภารกิจ นักบินก็จะส่งสัญญาณ จากนั้นพี่ ๆ ข้างหลังก็จะเริ่มโปรยสารลงมาเลยค่ะ” 

“โดยหลักการคร่าว ๆ ของฝนหลวง คือเราจะบินขึ้นไปโปรยสารเคมีลงมา ซึ่งสารเคมีจะประกอบด้วย เกลือ คลอรีนและน้ำแข็งแห้ง เราจะโปรยมาตามทางที่เราต้องการให้เกิดฝน เพื่อเป็นการล่อเมฆให้เมฆมาเกาะกลุ่มตามทางที่เราได้วางแผนไว้ ซึ่งพอเมฆรวมตัวกันได้ในปริมาณที่พอเหมาะแล้ว พี่เขาจะขึ้นไปอีกรอบหนึ่งค่ะ เพื่อไปโปรยสารเคมีอีกครั้งให้เมฆมันอิ่มตัวแล้วก็ตกลงมาเป็นฝนค่ะ เพราะฉะนั้น เราก็จะได้ฝนตามแนวที่แบบพวกเราต้องการเลยค่ะ” 

“กลายเป็นว่าช่วงนี้มี่เดินตลาดทุเรียนเต็มตลาดชุมพรเลยค่ะ ต้องขอบคุณพี่ ๆ ฝนหลวงที่ให้โอกาสมี่ได้ขึ้นไปบินสังเกตการณ์ในวันนี้ ดีใจมาก ๆ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดี และพี่ ๆ ทุกคนก็น่ารัก ถือว่าเป็นครอบครัวที่อบอุ่นมากเลยค่ะ”

โฆษกเกษตร เผย ชาวสวนทุเรียนเตรียมพร้อม ดันทุเรียนคุณภาพส่งจีน “ธรรมนัส” สั่งคุมเข้มตลอดห่วงโซ่อุปทาน เสริมแกร่งสู้ประเทศคู่แข่ง

นางสาวอัยรินทร์ พันธุ์ฤทธิ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออกทุเรียนไทยไปยังตลาดประเทศจีน ในปี 2567 ยังคงมีช่องทางการตลาดที่สดใส แม้ปัจจุบันทุเรียนไทยต้องเผชิญกับความท้าทายในการส่งออกไปยังตลาดจีน จากการแข่งขันของประเทศคู่แข่ง โดยล่าสุด ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้กรมวิชาการเกษตร  เร่งดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ควบคุมคุณภาพทุเรียนส่งออกไปจีนตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทั้งในส่วนของนโยบาย สวน โรงคัดบรรจุ การส่งออก การขนส่ง การตลาด การแปรรูป และการเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการ พร้อมกันนี้ยังได้วางแผนขยายผลไปยังทุกภูมิภาคที่ผลิตทุเรียนเพื่อส่งออก และได้เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษ สวพ.6 และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีกว่า 180 คน เพื่อสลับเปลี่ยนหมุนเวียนทำหน้าที่ ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนสิ้นสุดฤดูกาลส่งออก และเพิ่มผู้จัดการเขตพื้นที่ทุเรียน (DIZ) จากเดิม 6 คน เพิ่มเป็น 9 คน พร้อมจะดำเนินการอย่างเด็ดขาด หากพบการสวมสิทธิ์ใบรับรอง GAP หรือการให้เช่าโรงคัดบรรจุพร้อมกับใบรับรอง GMP-DOA เป็นต้น ”

โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน ให้ความสำคัญอย่างมากกับการส่งเสริม สนับสนุน การส่งออกสินค้าเกษตรคุณภาพไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน ที่เป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ภายใต้การนำของร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ใช้แนวนโยบาย ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ เป็นธงนำในการสร้างรายได้ และขยายโอกาสให้ภาคเกษตร มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรเป็น 3 เท่าภายใน 4 ปีของรัฐบาล  จึงเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาภาคเกษตร ที่ช่วยเสริมจุดแข็งในการด้านการตลาด จากการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ

ทั้งนี้ สถิติการส่งออกทุเรียน ปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมาไทยส่งออกทุเรียนไปจีนทั้งหมด 57,000 ตู้/ชิปเม้นท์ ปริมาณสูงถึง 945,900 ตัน มูลค่า 120,469.34 ล้านบาท โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 สูงถึงร้อยละ 38.47 (ปี พ.ศ. 2565 ส่งออกทุเรียนไปจีน 8.11 แสนตัน มูลค่ากว่า 8.7 หมื่นล้านบาท) สำหรับช่องทางการส่งออก พบว่ารถยนต์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.9 รองลลงมาคือทางเรือ ร้อยละ 31.72 และทางรถไฟ ร้อยละ 1.17 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top