Tuesday, 30 April 2024
สรรพากร

‘ผู้ช่วยฯสมพงษ์-ศปอส.ตร.’เตือน 4 กลโกง-สวมรอย‘สรรพากร’ตุ๋นโหลดแอปดูดเงิน

(20 ก.พ. 66) พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) หัวหน้าอำนวยการด้านประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) , พล.ต.ต.ทินกร รังมาตย์ รอง ผบช.สพฐ./หัวหน้าด้านข่าวสารและประชาสัมพันธ์ , พล.ต.ต.อรุษ แสงจันทร์ รอง ผบช.ศปก.ตร./หัวหน้าฝ่ายแถลงข่าวและประสานงานสื่อมวลชน ศปอส.ตร. , พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ฯ ปฏิบัติหน้าที่ ศปอส.ตร. และ พ.ต.อ.ภัคพงศ์ สายอุบล รอง ผบก./รองหัวหน้าฝ่ายแถลงข่าวและประสานงานสื่อมวลชน ร่วมกันเปิดเผยว่า ฝ่ายบริหารการรับแจ้งความออนไลน์ ศปอส.ตร.ได้นำเสนอคดีที่ควรเตือนภัยประชาชนในรอบสัปดาห์ที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2566 และวิธีป้องกันตัวเองจากภัยอาชญากรรมออนไลน์ดังกล่าว เพื่อเตือนภัยให้กับประชาชน โดยพบภัยที่ต้องเฝ้าระวังที่สำคัญ ดังนี้ 

4 กลโกงหลอกดูดเงินจากบัญชี 
1.) สร้างสถานการณ์ให้เหยื่อรู้สึกว่ามีความเร่งรีบ เล่นกับเวลา 
2.) เบี่ยงเบนความสนใจไม่ให้โฟกัสสิ่งที่เรากำลังคลิก เช่น สื่อสารแบบมาตีสนิท 
3.) ใช้วิธีให้กลัว โทรเป็นคนรู้จัก หรือญาติ หลอกยืมเงินหลอกให้โอนเงินให้ 
4.) โทรมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสรรพากร หลอกให้กลัวจนต้องโอนเงิน 

นอกจากนี้ในช่วงมกราคม-มีนาคมของทุกปี จะเป็นช่วงยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ซึ่งมิจฉาชีพมักจะใช้โอกาสในช่วงนี้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร โทรศัพท์เข้ามาหลอกลวงหรือส่งข้อความหลอกให้กดลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิชันกรมสรรพากรปลอม อ้างว่าจะตรวจสอบรายได้หรือให้ชำระภาษีผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว หลังจากนั้นจะทำการดูดเงินในบัญชี 

‘อี้​ แทนคุณ​’ จี้สรรพากรสอบภาษีย้อนหลัง ‘โย พงศธร’ หลังโซเชียล​ขุดคุ้ย ‘โชว์ถือหุ้น-​ขายเบียร์​เต็มรถ’

(29 ส.ค. 66) ดร.แทนคุณ​ จิตต์​อิสระ​ รักษา​การ​ประธาน​คณะกรรมการ​ส่งเสริม​สิทธิ​มนุษยชน​และ​ความ​เสมอภาค​ระหว่าง​เพศ​ พรรค​ประชา​ธ​ิ​ปัตย์ ​กล่าว​ถึง​กรณี​มีการขุดคุ้ยและแชร์ประวัติ​ของผู้สมัคร​ สส.พรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้ง​ซ่อม ระยอง เขต 3 พรรคก้าวไกลว่าไม่เสียภาษี​เงินได้​บุคคลธรรมดา​ทั้งที่มีภาพถ่ายเป็นผู้ถือหุ้นและขายเบียร์เป็น​จำนวนมาก

โดยปรากฏ​ข้อความ​ในเฟซบุ๊ก​ผู้ใช้นามว่า ‘Yo Pongsathon Sonpechnarintr’ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม​ 2022 “พร้อมแล้วใครรออยู่เราจะทยอยไปส่งให้นะครับ” และข้อความวันที่​ 11 ตุลาคม 2022 “วันนี้ส่ง 25 ลังเล่นเอารถกลายเป็นรถโหลดเตี้ยเลย” ซึ่งเป​็นการกระทำ ความผิดฐานการโฆษณา​เครื่อง​ดื่ม​แอลกอฮอล์ตาม​มาตรา 32 เช่นเดียวกับ​ ‘รองอ๋อง’ ด้วยหรือไม่

และเมื่อวันที่ 16 มกราคมอยู่ที่ Khaoyai Pool Villa Khaoyal “ส้มมนาผู้ถือหุ้น #บูรพ์ ผู้​ถือหุ้นมา 5 ใน 7 ปีนี้มาเขาใหญ่เป้าปีหน้าเราจะไปด่างประเทศพร้อมคืนทุน 100% สุราก้าวหน้า ประชาก้าวไกล พวกราจะเต็บโตไปด้วยกัน” โดยแสดงให้เห็นว่ามีการประกอบ​กิจการและเป็​นผู้ถือหุ้นในการขายเบียร์​ซึ่งเป็นกิจการที่ทำกำไรดีมากและมียอดจำหน่าย​เยอะขนาดนั้นถึงกับจะไปต่างประเทศ​ได้ เหตุใดจึงไม่มีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตนจึงอยากให้ ‘กรมสรรพากร’ เร่งตรวจสอบ​รายได้และภาษีย้อนหลังอย่างละเอียด​โดยเฉพาะ​ยอดขายเบียร์​ที่ต้องเสียภาษีในปีภาษี 2563-2565 หากพบว่าจงใจไม่ยื่นเสียภาษีจะด้วยเหตุใดก็ตามต้องถูก ‘ตัดสิทธิการสมัคร’ รวมทั้งต้องตรวจสอบ​บริษัทและผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ ด้วยว่า​มีการเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ โดยหากได้รับเลือกตั้งไปแล้วขาดคุณสมบัติ​อาจ​เข้าข่ายผิดตาม ม.151 ซ้ำรอยเดิม

นอกจากนี้​ยังมีเอกสาร​คดียักยอกทรัพย์​ปี 61 ของสถานีตำรวจ​นครบาล​บางนาที่สั่งไม่ฟ้องเนื่องจากมีการเจรจาชดใช้ค่าเสียหาย​ที่เกิดจากการนำของไปขายแล้วไม่จ่ายเงิน แม้คดีจะสั่งไม่ฟ้องแต่ก็เป็​นสิ่งที่ประชาชน​ควรตระหนักถึงพฤติกรรมและต้องคิดทบทวนรอบด้านถึงคุณ​สมบัติของคนจะ​มาเป็น​ตัวแทนคนไทยทั้งประเทศ​ โดยตนจะตรวจสอบ​ว่ามีคดีอื่นใดอีกหรือไม่ หากบุคคลดังกล่าว​รู้ตัวว่าเคยทำอะไรผิดไว้​ควรชิงลาออกก่อนเพราะหากมีการสืบค้นและตรวจพบจนประวัติศาสตร์​ซ้ำรอยอีกต้องชดใช้ค่าเสียหาย​หนักมากแน่นอน

‘สรรพากร’ สั่งเข้ม!! ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ส่งข้อมูลรายได้ร้านค้าออนไลน์ เริ่ม 1 ม.ค.67

(29 ธ.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2566 เกี่ยวกับภาษีเงินได้ เรื่อง การกำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจัดทำบัญชีพิเศษ เพื่อนำส่งข้อมูลรายรับของผู้ประกอบการให้กับกรมสรรพากร โดยจะมีผลบังคับใช้กับข้อมูลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 เป็นต้นไป

โดยกำหนดเงื่อนไขดังนี้ ให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่จดทะเบียนในไทย และมีหรือเคยมีรายได้ในรอบบัญชีเกิน 1,000 ล้านบาท ต้องทำบัญชีพิเศษ หรือ บัญชีที่แสดงข้อมูลรายรับของอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่ได้รับจากผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ขายสินค้าหรือบริการบนแพลตฟอร์ม โดยต้องนำส่งไปให้กรมสรรพากร ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

นอกจากนี้ จะต้องมีการเชื่อมและนำส่งข้อมูล ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสรรพากรด้วย สำหรับแพลตฟอร์มที่ให้บริการในไทยมีจำนวนมาก อาทิ ธุรกิจ e-Commerce, บริการส่งอาหารและสินค้า อาทิ Shopee, Lazada, Line Man, Grab, Tiktok เป็นต้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top