Friday, 3 May 2024
สยาม

17 กันยายน พ.ศ. 2403 สยาม ประกาศใช้เงินเหรียญบาทวันแรก นับเป็นการปฏิวัติระบบเงินตราครั้งสำคัญ

วันนี้เมื่อ 162 ปีก่อน เป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีการออกประกาศพิกัดราคาเงินเหรียญบาทเป็นครั้งแรกในประเทศสยาม

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกระสาปน์สิทธิการ โรงกษาปณ์แห่งแรกของไทย ภายในพระบรมมหาราชวังบริเวณที่เคยเป็นโรง ทำเงินพดด้วงเดิม ด้านหน้าพระคลังมหาสมบัติ บริเวณมุมถนนใกล้กับทางออกประตูสุวรรณบริบาลด้านทิศตะวันออก และติดตั้งเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์ขับเคลื่อนด้วยแรงดันไอน้ำเป็นเครื่องแรก ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่สั่งจากประเทศอังกฤษ

วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 4 ได้ออกประกาศพิกัดราคาเงินเหรียญบาทและเงินแป โดยให้นำเงินเหรียญอย่างใหม่ซึ่งเป็นเงินแบนที่ผลิตได้จากโรงกระสาปน์สิทธิการ นำออกใช้แทน เงินพดด้วง เหรียญดังกล่าวนั้น ด้านหน้าเป็นรูปพระมหามงกุฎ มีฉัตรกระหนาบทั้ง 2 ข้าง ด้านหลังเป็นรูปช้าง อยู่กลางพระแสงจักร เหรียญเนื้อเงินแท้ ราคา ๑ บาท น้ำหนัก 15.33 กรัม เส้นผ่าศูนย์กลางเหรียญ 31 มิลลิเมตร

22 กันยายน พ.ศ. 2431 เปิดใช้รถรางครั้งแรกใน ‘สยาม’ปฏิวัติการเดินทางคนบางกอกสมัย ร.5

รถรางกรุงเทพ เป็นระบบรถรางในกรุงเทพมหานครเปิดให้บริการระหว่าง พ.ศ. 2431–2511 โดยถือเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่ใช้ระบบรถราง และถือเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้กำลังไฟฟ้าในการเดินรถอีกด้วย

ถนนสายแรกของประเทศไทย คือ ถนนเจริญกรุงที่เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2404 และเปิดให้ใช้สัญจรตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2407 พื้นของถนนใช้เพียงอิฐเรียงตะแคงทำให้เกิดความชำรุดอย่างรวดเร็ว ไม่สะดวกแก่รถม้า รถเจ๊ก และแม้แต่คนเดินเท้า ด้วยเหตุนี้ ชาวเดนมาร์กที่มีนามว่า จอห์น ลอฟตัส ได้ขออนุญาตต่อรัฐบาลทำสัมปทานการรถรางขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้นายจอห์น ดำเนินการได้ พิธีเปิดเดินรถรางเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2431

โดยใช้ม้าลากไปตามราง โดยเป็นกิจการรถรางลากจูงด้วยม้าถึง 8 ตัว มีเส้นทางวิ่งระหว่างพระบรมมหาราชวัง บริเวณศาลหลักเมืองไปตามถนนเจริญกรุง ปลายทางอยู่ที่อู่ฝรั่งหรือบางกอกด๊อก (Bangkok Dock) หรือบริษัทอู่กรุงเทพ ยานนาวาในปัจจุบัน และในปีต่อมาก็ได้ขยายเส้นทางไปถึงถนนตก แต่ดำเนินกิจการได้ไม่นานก็โอนกิจการให้บริษัท บางกอก แทรมเวย์ คอมปะนี ลิมิเต็ด ภายหลังในปี พ.ศ. 2435 กิจการก็ถูกขายต่อให้กับบริษัทสัญชาติเดนมาร์ก (ไม่ทราบชื่อ) อีก โดยบริษัทหลังนี้ได้หยุดกิจการชั่วคราว เพื่อเปลี่ยนไปใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยกระแสไฟฟ้าแทน โดยตกลงเช่ากระแสไฟฟ้าจากบริษัท อิเลคทริค ซิตี้ คอมปะนี ลิมิเต็ด

30 กันยายน พ.ศ. 2395 วันก่อตั้ง ‘กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย’ โรงเรียนประจำแห่งแรกของสยาม

วันนี้ เมื่อ 170 ปี ถือเป็นวันก่อตั้ง ‘กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย’ โรงเรียนมิชชันนารีชาย ที่เป็นแบบเรียนประจำแห่งแรกของสยาม

ย้อนกลับไป เมื่อปี พ.ศ. 2380 คริสตจักรเพรสไบทีเรียนในอเมริกา ได้จัดตั้งคณะกรรมการแผนกต่างประเทศขึ้น คณะกรรมการใหม่นี้ได้จัดส่งมิชชันนารีมายังประเทศสยามตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2383 มิชชันนารีเพรสไบทีเรียนคนสำคัญ ได้แก่ ศาสนาจารย์สตีเฟน แมตตูน, ศาสนาจารย์ ดร. ซามูเอล อาร์. เฮาส์, ศาสนาจารย์ ดร. แดเนียล แมคกิลวารี, ศาสนาจารย์ เอส. จี. แมคฟาร์แลนด์ เป็นต้น ท่านเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งคริสตจักรเพรสไบทีเรียนแห่งแรกในสยามและสภาคริสตจักรในประเทศไทยในเวลาต่อมา

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ในปีพ.ศ. 2394 สถานการณ์ของมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนในแดนสยามก็ดีขึ้นมาก พระองค์ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เช่าที่ดินระยะยาวที่กุฎีจีน ใกล้ ๆ บริเวณวัดอรุณราชวราราม โดยเริ่มแรกในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2395 นางแมรี่ แอล แมตตูน ได้เริ่มต้นสอนหนังสือแก่ เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง ในละแวกนั้น จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2395 มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน โดยศาสนาจารย์ ดร.ซามูเอล เรโนลด์ เฮ้าส์ และศาสนาจารย์สตีเฟน แมตตูน ได้ก่อตั้งโรงเรียนที่ทำการสอนตามแบบสากล เพื่อให้เด็กสยามและเด็กเชื้อสายจีนมีโอกาสได้รับการศึกษาที่ทันสมัยตามแบบตะวันตก โดยตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนคริสเตียนบอยส์สกูลที่กุฎีจีน (กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย) และมีซินแสกีเอ็ง ก๋วยเซียน เป็นครูใหญ่

คริสเตียนบอยส์สกูลที่กุฎีจีน (กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย) ถือเป็นโรงเรียนประจำแห่งแรกในสยามและยังเป็นโรงเรียนแรกที่มีการนำระบบการศึกษาสากลมาใช้อีกด้วย

คริสเตียนบอยส์สกูลที่กุฎีจีนถือเป็นสถาบันการศึกษาแบบสากลแห่งแรกในสยาม มีอาคารและห้องเรียนเป็นหลักแหล่ง มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ชัดเจน ซึ่งนอกจากจะเรียนหัดอ่านหัดเขียนแล้ว ยังมีวิชาคณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ และการสอนทางศาสนา นอกจากนี้มิชชันนารียังได้ริเริ่มให้มีการตรวจสุขภาพเด็กๆ ก่อนเข้าเรียน นับว่าเป็นมาตรการทางสาธารณสุขที่ก้าวหน้ามากในสมัยนั้น

ปีพ.ศ. 2400 คณะมิชชันนารีเริ่มตั้งหลักปักฐานที่สำเหร่ ได้มีการสร้างพระวิหาร โรงเรียน โรงพิมพ์ บ้านพักมิชชันนารี โกดังเก็บของ ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนจากกุฎีจีนมายังสำเหร่ใช้ชื่อว่า "สำเหร่บอยส์สกูล" ที่โรงเรียนแห่งนี้มีขุนนางผู้ใหญ่จนถึงพระเจ้าแผ่นดินให้ความร่วมมือสนับสนุน ส่งเด็ก ๆ มาเล่าเรียนหนังสือ ซึ่งมีทั้งเจ้านาย 2 พระองค์ ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของรัชกาลที่ 4 และพระราชนัดดาของรัชกาลที่ 3 บุตรชายของอัครมหาเสนาบดี บุตรชายของพวกมหาดเล็กมาเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่สำเหร่ นอกจากนี้ชาวบ้านก็ส่งลูกหลานมาเรียน โดยพวกที่อยู่ไกลก็ได้เป็นนักเรียนประจำ กินนอนอยู่ที่โรงเรียน ส่วนใหญ่เด็กเหล่านี้จะตอบแทนโรงเรียนด้วยในการช่วยทำงานต่างๆ มากกว่าจะจ่ายเงินเป็นค่าเล่าเรียน ในปีพ.ศ. 2402 นายชื่นได้รับเชื่อเป็นคริสเตียนในคณะเพรสไบทีเรียนคนแรกและเป็นครูสอนภาษาไทยคนแรกของโรงเรียนที่สำเหร่ในเวลาต่อมา

3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสบังคับสยาม ลงนามยกดินแดน ต้องเสียพื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112

วันนี้ เมื่อ 129 ปีก่อน เป็นอีกหนึ่งวันที่ลูกหลานไทยต้องจดจำ เมื่อสยามต้องกลืนเลือดทำสนธิสัญญา กับฝรั่งเศส ที่เรียกว่า “สนธิสัญญาสันติภาพ” ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ที่ทำให้ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 

ในครั้งนั้น ฝรั่งเศส ได้บังคับสยามลงนามยอมรับว่าดินแดนบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทรบุรีที่ฝรั่งเศสยึดไว้เป็นหลักประกัน 

โดยหลังจากการลงนามนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ทรงพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ทั้งโดยวิธีทางการทูต การทหาร และการแสวงหาความช่วยเหลือจากมหาอำนาจอื่น จนทรงพระประชวรและทรงคิดว่าอาจสวรรคต ยิ่งไปกว่านั้นการเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ส่งผลทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้ง จนถึงกับน้ำพระเนตรไหล 

แต่ในที่สุดพระองค์ก็ทรงหักพระทัยได้ ทรงรับสั่งเป็นเชิงปรารภว่า "การเสียเขตแดนแต่เพียงเล็กน้อยตามชายพระราชอาณาจักรซึ่งเราเองก็ทำนุบำรุงรักษาให้เจริญเต็มที่ไม่ได้นั้น ก็เปรียบเหมือนกับเสียปลายนิ้วของเราไป ยังไกลอยู่ รักษาหัวใจกับตัวไว้ให้ดีก็แล้วกัน”

25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของสยามประเทศ

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรเวชศาตรบัณฑิต (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแพทยศาสตรบัณฑิต) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการพระราชทานปริญญาบัตร ณ ห้องประชุมตึกบัญญาชาการ (ตึก 1 ค ณะอักษรศาสตร์ปัจจุบัน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องประชุม พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร-เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัย 2 ท่าน คือ

1.) บัณฑิตชั้นโท (มหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา(หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) ผู้บัญชาการ (อธิการบดีในขณะนั้น)

2.) บัณฑิตชั้นเอก (ดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ น.พ. A.G.Ellis คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2478-2479)

ชักศึกเข้าบ้าน!! เรื่องป่วนสยามสมัยรัชกาลที่ 5 ปฐมเหตุแห่งการยกเลิกวังหน้า

ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC 2022 ที่ดีงาม และพร้อมที่จะต่อยอดในทุกๆ ด้าน เพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อในเรื่องเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีกลุ่มคนอีกหลายกลุ่ม กำลัง ‘ชักศึกเข้าบ้าน’ ด้วยการ จะประท้วงในการจัดประชุมครั้งนี้ จะชุมนุมเพื่อให้สะท้อนปัญหาของพวกตัวเอง (ปัญหาที่ใครต่อใครเขาก็ไม่เดือดร้อนนะยกเว้นไอ้พวกกลุ่มนี้) 

โดยมีผู้สนับสนุนเป็นทุนจากต่างชาติ และ / หรือ อาจจะเป็นคนในชาติที่เป็นทาสตะวันตก ตั้งใจสร้างสถานการณ์ต่างๆ พร้อมด้วย ‘การข่าวปลอม’ และ ‘การข่าวป่วน’ ของพวกเขา ที่วางแผนไว้เพื่อให้การประท้วงของพวกเขาไปอยู่ในสายตาของสื่อต่างชาติที่มาทำข่าว APEC 2022 ทั้งยังพร้อมทำทุกอย่างเพื่อด้อยค่าประเทศตัวเอง ให้เกิดขึ้นในสายตาของชาติอื่นๆ 

พูดถึงเหตุการณ์ที่ไปดึงเอาต่างชาติเข้ามายุ่มย่ามในบ้านเมืองเรา มีอยู่เหตุการณ์ป่วนหนึ่งในสมัยอดีต ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้ในกาลต่อมามีการยกเลิกตำแหน่งเรียกว่า ‘วังหน้า’ หรือ ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ กันเลยทีเดียว 

เรื่องป่วนที่จะเล่าในครั้งนี้ เป็นเรื่องใหญ่ของแผ่นดินที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งขณะนั้นลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก อังกฤษและฝรั่งเศส กำลังคุกคามประเทศรอบข้างสยาม และกำลังจ้องมองสยามอย่างตาเป็นมัน

เหตุการณ์ในครั้งนั้นมีตัวละครสำคัญเป็นทหารอังกฤษตกงาน เพราะพนันม้าจนหมดตัวจากอินเดีย ชื่อ ร้อยเอก ‘โทมัส ยอร์ช น็อกซ์’ เขาเดินทางมาสยามเพื่อหางาน โดยตามเพื่อนชาติเดียวกันมาก็คือ ‘ร้อยเอกอิมเปย์’ ซึ่งเข้ามาสอนทหารวังหลวงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ส่วนตัว ‘ร้อยเอก น๊อกซ์’ นั้นเขาได้เข้าไปสมัครเป็นคนฝึกทหารของวังหน้าในรัชกาลที่ 4 คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเผอิญพอพูดภาษาไทยได้ประมาณนึง ก็เลยเถิดได้ไปเป็นล่ามให้สถานทูตอังกฤษ จนได้เลื่อนขึ้นเป็นถึงทูต (คุณพระ !!!! ) 

นอกจากนี้ ยังมีอาชีพเสริมเป็นสื่อมวลชนสายเสี้ยมกึ่งปลุกปั่น (อันนี้ผมตั้งเอง) เขียนคอลัมน์ของตัวเองไปลงหนังสือพิมพ์ในยุโรป โดยเขียนเชียร์วังหน้าอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู (ก็นายจ้างเก่าเขาน่ะนะ) ว่าเก่งกว่าวังหลวงมาก เวลาวังหลวงออกว่าราชการก็ต้องให้วังหน้าชักใยอยู่เบื้องหลัง (จินตนาการตามข้อนี้ นี่มันเมืองจีนหรือไง? มีซูสีไทเฮาผู้ชายว่าการอยู่หลังม่านยังงี้ บ้าบอที่สุด !!!!) 

พอเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งขึ้นครองราชย์ เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 โดยในขณะนั้น พระองค์มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา จึงได้แต่งตั้ง ‘สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)’ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และกลุ่มผู้สำเร็จราชการได้ตั้ง พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศฯ โอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ขึ้นเป็น ‘กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ’ ซึ่งในตอนนั้นวังหน้ายังมีความสัมพันธ์สนิทสนมกับ ‘ร้อยเอก น็อกซ์’ กงสุลอังกฤษลูกจ้างเก่าเป็นอย่างดี 

มาถึงจุดหลักของเรื่องราวนี้ ในกาลที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรรลุนิติภาวะสามารถว่าราชการด้วยพระองค์เองได้แล้วประมาณ 2 ปี ก็มีมือดีทิ้ง ‘บัตรสนเท่ห์’ (จดหมายไร้ชื่อคนส่ง) เตือนให้วังหน้าระวังตัว เพราะว่ากำลังจะถูกลอบปลงพระชนม์ !!!! บรรดาขุนนางวังหน้าก็บ้าจี้ เชื่อตามจดหมายเปิดผนึกฉบับนั้น ก็เลยเร่งเกณฑ์ผู้คน ทั้งข้าทาสบริวาร ทั้งทหารและพลเรือนจากทั่วสารทิศเข้ามาเตรียมพร้อม 

ฝ่ายวังหลวงพอเห็นแบบนั้น ก็ไม่ไว้ใจสถานการณ์เหมือนกัน เลยเตรียมกำลังไว้เงียบๆ เหมือนกัน (คุณพร้อมผมก็พร้อมว่างั้นเถอะ) แต่จะเงียบยังไง ฝ่ายวังหน้าก็รู้จนได้ และแล้วการเผชิญหน้าของทั้งสองฝ่ายก็เกิดขึ้นกันอย่างเปิดเผย จากบัตรสนเท่ห์แผ่นเดียวกำลังจะทำให้บ้านเมืองลุกเป็นไฟซะแล้ว 

ในช่วงที่สถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจ ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่เหมือนเป็นฟางเส้นสุดท้ายตามความเชื่อของคนเสี้ยมและคนโดนเสี้ยม คือในคืนหนึ่งได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ใกล้กับตึกเก็บดินระเบิดและอาวุธต่างๆ เคราะห์ดีมากที่มีผู้พบเห็นเสียก่อนและดับไฟได้ทัน หากลุกลามลุกไหม้ไปนอกจากจะสร้างความเสียหายจากการระเบิดเพราะดินดำ ก็อาจจะลามขึ้นไปห้องเก็บพระมหาพิชัยมงกุฎและสมบัติล้ำค่าของแผ่นดินอื่นๆ ทั้งยังอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

เมื่อเหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นนี้ กรมพระราชวังบวรฯ ก็ร้อนตัว (ซึ่งจริงๆ ยังไม่รู้เลยว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นเพราะอะไร? จะร้อนตัวเพื่อ?) ก็เกรงจะเกิดภัยกับพระองค์ (ขุนนางของพระองค์นั่นแหละเสี้ยมจนเรื่องไม่จริงจะกลายเป็นเรื่องจริงอยู่แล้ว) จึงเสด็จลี้ภัยไปที่บ้านกงสุลอังกฤษทันที ตรงนี้แหละเป็นจุดสำคัญ เพราะนี่คือโอกาสที่เปิดช่องให้ 2 กงสุล คืออังกฤษและฝรั่งเศสถือโอกาสสอดแทรกเข้ามาเพื่อหยิบยื่นความหวังดีประสงค์ร้ายแทบจะในทันที โดยเฉพาะอังกฤษ 

โดยชาติตะวันตกเสนอให้แบ่งประเทศสยามออกเป็นส่วนๆ จะได้ไม่ต้องทะเลาะกัน (ตูจะทะเลาะกันเอง พวกเอ็งยุ่งอะไรด้วยฟะ?) คนที่ถูกใจเรื่องนี้ ก็คงจะเป็นไอ้คนทิ้งบัตรสนเท่ห์และไอ้พวกนักเสี้ยมนั่นแหละ (คล้ายๆ กับปัจจุบันไหมคุณว่า) และไม่เพียงแค่นำเสนอความคิด แต่อังกฤษยังทะลึ่งมีใบบอกไปถึงผู้สำเร็จราชการเมืองสิงคโปร์ให้เข้ามาช่วยเจรจา (มาเจรจาอะไร?) โดย ‘เซอร์แอนดรูว์ คลาร์ก’ ผู้สำเร็จราชการสิงคโปร์ ได้เดินทางเข้ามาแทบจะทันที 

แต่ตรงนี้ผมคงต้องกราบแทบฝ่าละอองธุลีพระบาทองค์ในหลวงรัชกาลที่ 5 ไว้หนึ่งคำรบ เพราะพระองค์ไม่ปล่อยให้ เซอร์แอนดรูว์ คลาร์ก ได้ไปยุ่งเหยิงอะไรกับเรื่องการแบ่งเค้กเมืองสยาม พระองค์ชิงจัดการต้อนรับผู้สำเร็จราชการอย่างสมเกียรติและได้พูดคุยอย่างเปิดเผยเป็นกันเอง ก่อนปิดท้ายด้วยการรับสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “กรณีนี้เป็นเพียงความขัดแย้งในราชตระกูล พระองค์สามารถจัดการเองได้” (ชาติอื่นไม่น่าจะต้องมายุ่งว่างั้น) 

พอจัดการเรื่องของ ‘เซอร์แอนดรูว์ คลาร์ก’ เรียบร้อยแล้ว ทรงวิตกว่าเรื่องจะลามต่อไปอีก จึงส่งเรือเร็วไปรับ ‘สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)’ ผู้ใหญ่ของแผ่นดิน ซึ่งเกษียณจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการไปพักอยู่ที่บ้านสวนราชบุรี ให้เข้ามาปรึกษาเพื่อช่วยกันแก้ไขสถานการณ์ โดยสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ไม่รอช้า ไปเข้าเฝ้าฯ กรมพระราชวังบวรฯ พร้อมด้วยพระราชหัตถเลขาของในหลวงรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีข้อแสดงความจริงใจในพระราชหฤทัยถึง ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ ความว่า... 

พระองค์เจ้าดิลกฯ ‘นักเศรษฐศาสตร์พระองค์แรกแห่งสยาม’ | THE STATES TIMES STORY EP.96

พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี ‘นักเศรษฐศาสตร์พระองค์แรกแห่งสยาม’

.

ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

.

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

เก่งผิดยุค ‘ชู เปรียญ’ ปริญญาเอกคนแรกแห่งสยาม กับตัวตนที่เลือนหาย เพราะแต่งตำรายากผิดยุค

พูดถึงทุนเล่าเรียนหลวง หลายคนคงคิดถึงทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานปีละ 9 ทุน โดยทุนเล่าเรียนหลวงมีข้อกำหนดเดียว คือ ให้ผู้รับทุนกลับมาทำงานในประเทศไทยเท่ากับระยะเวลาที่ไปศึกษา โดยไม่จำเป็นว่าต้องทำงานให้กับภาครัฐ ซึ่งไม่เหมือนกับทุนการศึกษาของไทยอื่น ๆ 

แต่คุณรู้ไหม? ว่าจริง ๆ แล้วทุนพระราชทานในสมัยรัตนโกสินทร์มีมาตั้งแต่รัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยครั้งนั้นได้ส่งคนไปศึกษาวิชาการเดินเรือที่ประเทศอังกฤษ โดยส่งสามัญชน ชื่อ ‘นายฉุน’ ไปเล่าเรียน 

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทางราชการก็ได้ส่งนักเรียนทุนคือ ‘นายทด บุนนาค’ และ ‘นายเทศ บุนนาค’ ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ โดยส่งไปพร้อมกับคณะทูตไทยเมื่อ พ.ศ. 2400 นอกจากนักเรียนแล้ว ราชการยังส่งข้าราชการไปศึกษาวิชาชีพเฉพาะ เช่น การพิมพ์ และการซ่อมนาฬิกา โดยส่งข้าราชการไปดูงานในต่างประเทศทางด้านการปกครองและบำรุงบ้านเมืองที่ประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2404 ด้วย

ครั้นลุมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทางราชการได้ส่งนักเรียนไทยจำนวน 206 คน ไปศึกษาในประเทศที่เป็นต้นแบบของวิชาการแต่ละด้าน เช่น อังกฤษ, เยอรมัน, ออสเตรีย, ฮังการี, เดนมาร์ก และฝรั่งเศส โดยเน้นให้ไปศึกษาภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, คณิตศาสตร์ และวิชาตามที่นักเรียนถนัด เช่น วิชาทหารบก, ทหารเรือ, การทูต, กฎหมาย, แพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น (ก็มีความดราม่ากันไปแต่ละค่ายการศึกษา) 

โดยในสมัยนี้ เริ่มมีการแบ่งนักเรียนทุนเป็น 2 ประเภท คือ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง และนักเรียนทุนตามความต้องการของกระทรวง นอกจากนี้ ยังเริ่มมีการสอบแข่งขันเพื่อรับทุนด้วยอย่างเป็นกิจจะลักษณะด้วย 

มาถึงตรงนี้ผมก็จะขออนุญาตเริ่มต้นเล่าเรื่องราวของ ดร.คนแรกของคนไทย โดยปริญญาเอกรายนี้คือ ‘นายชู เปรียญ’ ผู้สำเร็จการศึกษา Ph.D. ทางด้านการศึกษาจากประเทศเยอรมนี 

นายชู เปรียญ เริ่มการศึกษาตั้งแต่เป็นสามเณรอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ สอบได้เป็นเปรียญสามประโยคตั้งแต่เป็นสามเณร จนถึงพ.ศ. 2429 ได้ลาสิกขา แล้วมาเรียนต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบโดยมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจบแล้วก็ได้สอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนวิชาการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี (เก่งนะเนี่ย) 

โดยในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศเยอรมัน ตั้งแต่ขั้น B.A. มาถึงการศึกษาชั้น M.A. แล้วศึกษาต่อจนจบ Ph.D. ทางการศึกษา เมื่อนายชู เปรียญ สำเร็จการศึกษาชั้น Ph.D. นั้นว่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตื่นเต้นมาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชทานเลี้ยงพระราชทานแก่นายชู เปรียญ พร้อมกับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากเยอรมันอีก 2 คน ในโอกาสนั้นโปรดพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เป็นเกียรติยศ

การนี้มีบันทึกไว้ใน ‘หนังสือจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440)’ แต่งโดยพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ผู้ตามเสด็จและทำหน้าที่จดบันทึกการเดินทาง เขียนไว้ตอนหนึ่งความว่า…

“...วันที่ 10 มิถุนายน ร.ศ. 116 ขณะ รัชกาลที่ 5 ประทับอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เวลาบ่าย เมื่อเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว พระยาศรีสุริยราชวราวัตรก็ได้...นำนายชู เปรียญ ซึ่งมาส่งเสด็จฯ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทฯ นายชูคนนี้เป็นนักเรียนที่เล่าเรียนในเยอรมันสอบไล่ได้ดีแล้ว และได้ประกาศนียบัตรเป็น ‘ดอกเตอร์ออฟฟิลอซโซฟี่’ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้เล่าเรียนถึงได้รับประกาศนียบัตรชั้นนี้ มีพระราชดำรัสด้วยตามสมควรแล้วเสด็จขึ้น...”

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วในปี พ.ศ. 2440 มีหลักฐานบันทึกว่า ‘นายชู เปรียญ’ ได้กลับมาสยามและเข้ารับราชการ โดยพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรับหน้าที่เป็น ‘พนักงานตรวจแต่งตำราเรียน’ ก่อนที่จะย้ายไปเป็น ‘ผู้ดูการพิพิธภัณฑ์’ (Curator) ในปี พ.ศ. 2441 ซึ่งในตอนนั้นการพิพิธภัณฑ์กำลังเริ่มต้นขึ้นในสยาม โดยมีการลงข่าวไว้ใน ‘หนังสือพิมพ์สยามไมตรีรายสัปดาห์’ ฉบับวันอังคารที่ 14 ธันวาคม ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ความว่า...

“...เราได้ทราบข่าวว่า นายชู เปรียญ ซึ่งเป็นนักเรียน ได้ไปเล่าเรียนศึกษาวิชาสอบไล่ได้เป็นนายศิลปชั้นสกลวิทยาลัย ในกรุงเยอรมนีนั้นกลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว จะได้มีตำแหน่งรับราชการในกรมศึกษาธิการ รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ 2 ชั่งในชั้นแรกๆ..."

สำหรับบันทึกอื่น ๆ เกี่ยวกับการรับราชการของดอกเตอร์คนแรกของไทย ปรากฏว่า ‘นายชู เปรียญ’ ได้เคยแต่งหนังสือและเคยทำงานในกรมพิพิธภัณฑ์ ในช่วงที่ ‘เจ้าพระยาภาสกรวงศ์’ (พร บุนนาค) เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้มีจดหมายพิมพ์ดีดลงวันที่ 14 มกราคม ร.ศ. 117 ทูลฯ กรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ ความว่า ‘เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์’ (เพ่ง บุนนาค) เจ้ากรมพิพิธภัณฑ์ขอลาออกจากตำแหน่งเพราะทำผิด ถูกขังเร่งเงินหลวงอยู่ โดยท่าน (เจ้าพระยาภาสกรฯ) ได้ให้นายชู มาเป็น ‘กุเรเตอร์’ (Curator) ในพิพิธภัณฑ์ 

และได้แนะนำตัวนายชู เพิ่มเติมว่า เดิมทำการในกรมศึกษาธิการ เป็นพนักงานตรวจแต่งตำราเรียน ซึ่งขณะนั้นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนมาดูอาทิตย์ละ 2 หน โดยมี ‘ผู้ที่มาดูน้อย นอกจากงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาฉัตรมงคล ซึ่งผู้ที่มาดูนับหมื่นแต่ชอบดูส่วนแนชุรัล ฮีสตอรี (Natural History) ยิ่งกว่าสิ่งอื่น’ (แสดงว่าน่าจะเหมาะกับการที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรหนัก ๆ เพราะนายชู น่าจะเป็นนักวิชาการเต็มตัว เน้นทำวิจัยทางวิชาการว่างั้นเถอะ) 

ตำแหน่ง ‘ผู้ดูการพิพิธภัณฑ์’ (Curator) ในสมัยก่อนอย่าดูถูกว่าเป็นตำแหน่งที่ไม่สูงมากนะครับ ถ้าเรามาคิดถึงสภาพสังคมในยุคนั้นที่เพิ่งเริ่มจัดการศึกษา ผู้ที่มีหน้าที่ ‘ดูการพิพิธภัณฑ์’ ก่อนหน้านายชู (ไม่นับ ‘เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์’ (เพ่ง บุนนาค) เจ้ากรมพิพิธภัณฑ์ที่ขอลาออกจากตำแหน่งเพราะทำผิด) คือ นายราชารัตยานุหาร (พร บุนนาค) ซึ่งต่อมาได้เป็น เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ 

21 เมษายน พ.ศ. 2325 วันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งที่ 4 ของสยาม

วันนี้ เมื่อ 241 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พร้อมมีพระราชพิธีฝังเสาพระหลักเมืองกรุงเทพมหานคร 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง 'พระราชวังหลวง' ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ โดยการก่อสร้างพระราชวังหลวงเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อพุทธศักราช 2325

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช 2325 เวลา 06.54 นาฬิกา

25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม

วันนี้ เมื่อ 93 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรเวชศาตรบัณฑิต (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแพทยศาสตรบัณฑิต) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการพระราชทานปริญญาบัตร ณ ห้องประชุมตึกบัญชาการ (ตึก 1 คณะอักษรศาสตร์ปัจจุบัน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องประชุม พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร-เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัย 2 ท่าน คือ

1.บัณฑิตชั้นโท (มหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) ผู้บัญชาการ (อธิการบดีในขณะนั้น)

2.บัณฑิตชั้นเอก (ดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ น.พ. A.G.Ellis คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2478-2479)

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานประกาศนียบัตร (ปริญญาบัตรในปัจจุบัน) แก่เวชบัณฑิตชั้นตรี จำนวน 29 คน ประกอบด้วยผู้สอบได้บัณฑิตชั้นตรีในปี 2471 จำนวน 18 คน และปี 2472 จำนวน 16 คน

โดยในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ตอนหนึ่งความว่า "ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาให้ปริญญาแก่นักเรียนมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในวันนี้ นับว่า เป็นวันสำคัญสำหรับประวัติการของมหาวิทยาลัย และโดยเหตุนั้น นับว่าเป็นวันสำคัญในประวัติการของประเทศสยามด้วย เพราะว่า ไม่ว่าประเทศใด ๆ ความเจริญของประเทศนั้นย่อมวัดด้วยความเจริญของการศึกษานั้นอย่างหนึ่ง ในประเทศสยามนี้ ต้องนับว่า การมหาวิทยาลัยยังล้าหลังอยู่มาก ที่เป็นเช่นนั้นก็ด้วยเหตุผลหลายประการคือ การที่จะตั้งมหาวิทยาลัยให้ใหญ่โตนั้น ถ้าเอาเงินถมลงไปก็อาจทำได้ แต่ถ้าวิชาที่สอนนั้นประชาชนยังไม่ต้องการ หรือสอนไปไม่เป็นประโยชน์ในทางอาชีพของเราแล้ว การที่จะตั้งเช่นนั้นก็หาเป็นประโยชน์"


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top