Monday, 6 May 2024
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สระบุรี - จัดงานพิธี วันยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประจำปี 2565

วันนี้(18 ม.ค.2565)เวลา 08.30 น.นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี  เป็นประธานพิธีถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่ม ดอกไม้สด และพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์

โดยมีหน่วยงานราชการต่าง ๆ ใน จ.สระบุรี ได้ขึ้นวางพานพุ่มดอกไม้สด เพื่อถวายราชสักการะ ตามลำดับ จากนั้น นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ประธานในพิธีขึ้นคลองพวงมาลัย วางพานพุ่ม ดอกไม้สด พร้อมจุดธูป เทียน เครื่องทองน้อย ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  กล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์นักรบที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่กอบกู้เอกราชให้ชาติไทย พระเกียรติยศเลื่องลือไปทั่วสารทิศและเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ข้าศึกไม่กล้ามารุกรานไทยอีกเป็นเวลากว่าร้อยปี

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 กำหนดให้วันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันยุทธหัตถี เป็นวันรัฐพิธี เนื่องในวันประวัติศาสตร์สำคัญ ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงได้รับชัยชนะ จากการทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา ซึ่งเหล่าพสกนิกรชาวไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันยิ่งใหญ่ ที่ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยและทรงสถาปนาความเข้มแข็งมั่นคงแก่ประเทศไทยมาในอดีตกาล อันนำมาซึ่งความสุขสงบและเกียรติภูมิของราชอาณาจักร มาถึงกาลปัจจุบัน โดยการทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

 

เพชรบูรณ์ - ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36 พร้อมด้วยประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก นำกำลังพลพร้อมครอบครัว ร่วมกิจกรรมวางพานพุ่มถวายราชสักการะ เนื่องในวันยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ณ พุทธสถานกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36 พลตรีสามารถ  มโนรถมงคล ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36 พร้อมด้วย คุณกชพร มโนรถมงคล ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 36 นำกำลังพลพร้อมครอบครัว ร่วมกิจกรรมวางพานพุ่มถวายราชสักการะและกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องใน วันยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  18 มกราคม 2565”

 

ประจวบคีรีขันธ์ - จ.ประจวบฯ น้อมรำลึกสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องใน ‘วันกองทัพไทย’

เมื่อวันที่ 19 มกราคม ที่อุทยานราชภักดิ์ อ.หัวหิน นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย ผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ อ.ปราณบุรี ผู้บัญชาการโรงเรียนนายสิบทหารบก ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานต่างๆ ร่วมประกอบพิธีถวายราชสักการะและถวายพานพุ่มดอกไม้สด พร้อมกล่าวถวายราชสดุดี เบื้องหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องในวันกองทัพไทย เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช องค์วีรกษัตริย์ไทย และบูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ ตลอดจนเหล่าบรรพบุรุษของไทยที่ได้สร้างวีรกรรมอันกล้าหาญสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้เป็นมรดกมาจนถึงทุกวันนี้

วันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถีในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ.954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2135 (บางตำรา พ.ศ.2136) เดิมกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายน ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวันกองทัพไทยและวันสถาปนากระทรวงกลาโหม ลง 13 มิ.ย.2523 ต่อมาภายหลังได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบและพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคมปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคมเป็นวันกองทัพไทยต่อไป

 

พิษณุโลก - ม.นเรศวร เปิดหอเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ และอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาช่างสิบหมู่

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก  ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีเปิดหอเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หอพระไตรปิฎก และห้องนิทรรศการช่างสิบหมู่

โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร  พร้อมด้วย นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก และผู้บริหารจากมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รวมทั้งเป็นการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ และอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาช่างสิบหมู่ให้คงอยู่สืบไป ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

หลังจากนั้น เยี่ยมชมหอเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (King Naresuan the Great Hall of Honor) จัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตั้งแต่พระองค์พระราชสมภพ ศึกเมืองคังมีแผ่พระบรมเดชานุภาพ ประกาศอิสรภาพ และสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา

หอพระไตรปิฎก มหาวิทยาลัยนเรศวร (Tripitaka Hall) จัดแสดงพระไตรปิฎก ที่เป็นหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และรวบรวมบันทึกหลากหลายภาษาของหลายชนชาติ เช่น ภาษาพม่า ภาษาฮินดี ภาษาจีน และอื่น ๆ  ทั้งในรูปแบบหนังสือ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ห้องนิทรรศการช่างสิบหมู่ (Ten Divisions Of Traditional Thai Crafts) จัดแสดงงานศิลปกรรมต่าง ๆ ในหัวข้อ “มหาวิทยาลัยนเรศวรกับงานช่างสิบหมู่” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญางานช่างสิบหมู่ที่เกิดจากการวิจัย ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ มาจัดแสดงในรูปแบบของนิทรรศการ เพื่อแสดงความก้าวหน้าทางด้านศักยภาพ และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย และชมสาธิตการดุนโลหะดอกเสลาและดอกรวงผึ้งแบบประยุกต์ การปักไทย โดยศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร

 

25 เมษายน พ.ศ. 2148 วันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระมหากษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของไทย

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีย์ ทรงพระราชสมภพ ณ พระราชวังจันทน์ เมื่อปี พ.ศ. 2098 พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีและพระอนุชา คือ พระสุพรรณกัลยา และสมเด็จพระเอกาทศรถ ในขณะที่พระองค์ทรงพระเยาว์ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ได้ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก และทรงขอสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปเลี้ยงเป็นพระราชบุตรบุญธรรมเพื่อเป็นตัวประกันที่หงสาวดี 

จนพระชนมายุได้ 15 พรรษา พระองค์จึงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราชปกครองเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2098 ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ณ เมืองแครง ประกาศอิสรภาพของชาติไทยโดยไม่ขึ้นกับพม่าอีกต่อไป และทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์สุโขทัย

18 มกราคม ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันกองทัพไทย’ รำลึกพระนเรศวรทำยุทธหัตถีมีชัยต่อทัพพม่า

วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีและมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทยตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ 18 แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก ปีเถาะ พ.ศ. 2098 ทรงมีสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์สุโขทัยองค์แรกที่ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นพระบิดา และมีพระวิสุทธิกษัตรี เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิอีกด้วย

ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า องค์พระนเรศวรได้ถูกนำเป็นองค์ประกัน ณ เมืองหงสา และได้ร่ำเรียนวิชาความรู้ ความสามารถต่างๆ เพื่อรอวันที่จะได้กลับมากู้ชาติกู้แผ่นดินอีกครั้ง แต่ด้วยความกตัญญูของสมเด็จพระนเรศวร ที่มีต่อพระเจ้าบุเรงนอง ที่ชุบเลี้ยงดูแลจนเติบใหญ่ จึงไม่ทำการขัดขืนใดๆ เมื่อพระเจ้าบุเรงนองยังมีชีวิตอยู่ แต่ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรได้กลับมาปกครองยังพระนครกรุงศรีอยุธยา และด้วยวิชาความรู้และความสามารถของพระองค์ ได้ทำการรบข้าศึกต่างๆ และชนะเรื่อยมา จนเป็นที่เกรงกลัวของข้าศึกเป็นอย่างมาก จนกระทั่งวันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรได้ทำการยุทธหัตถีกับสมเด็จพระมหาอุปราชาของพม่าและเอาชนะได้ในที่สุด โดยการยุทธหัตถีนั้น หมายถึงการต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการต่อสู้ของกษัตริย์เพราะต่อสู้ตัวต่อตัว ตัดสินแพ้ชนะกันที่ความคล่องแคล่ว แกร่งกล้า และผู้ใดที่ทำการยุทธหัตถีชนะ จะได้รับการยกย่องพระเกียรติยศสูงสุดอีกด้วย

และอีกเหตุการณ์หนึ่งของพระนเรศวรมหาราชคือการยิงปืนข้ามแม่น้ำสโตงถูกสุรกรรมาจนตาย ต่อมาเมื่อมีพระชนมายุ 35 พรรษา พระมหาธรรมราชา พระบิดาสวรรคต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และได้ทรงสถาปนาพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราชา แต่ให้มีพระเกียรติสูงเสมอพระเจ้าแผ่นดินอีกองค์หนึ่ง ครั้นพระชนมายุ 37 พรรษา ก็ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา พระชนมายุ 40 พรรษา เสด็จยกทัพไปตีเมืองเขมรและแม้แต่ในวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ พระองค์ก็ยังอยู่ในระหว่างการยกทัพไปตีเมืองอังวะ แต่เกิดประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ที่พระพักตร์และเป็นพิษจนเสด็จสวรรคตเสียก่อนในปี พ.ศ. 2148 รวมสิริพระชนมายุได้ 50 พรรษา ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 15 ปี

25 เมษายน พ.ศ. 2148 วันคล้ายวันสวรรคต ‘สมเด็จพระนเรศวรมหาราช’ กษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่ และทรงกอบกู้เอกราชของชาติ

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่ประชาชนชาวไทยควรตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่พระองค์ทรงเสียสละ ต่อสู้กับข้าศึกศัตรูแม้ในยามที่ทรงประชวรหนัก ก็ยังไม่ห่วงพระวรกายยังคงทำหน้าที่ของนักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่ยอมให้ศัตรูมารุกรานบ้านเมือง จนกระทั่งสวรรคตในสนามรบ จึงได้ทำให้เหล่าทวยราษฎร์ต่างเทิดทูนถึงพระมหากรุณาธิคุณ เราชาวไทยควรรำลึกถึงพระองค์ท่าน ที่ได้ทรงเสียสละเลือดเนื้อเพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทยของเราให้ได้อยู่มาจนถึงทุกวันนี้

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีย์ ทรงพระราชสมภพ ณ พระราชวังจันทน์ เมื่อปี พ.ศ. 2098 พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีและพระอนุชา คือ พระสุพรรณกัลยา และสมเด็จพระเอกาทศรถ ในขณะที่พระองค์ทรงพระเยาว์ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ได้ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก และทรงขอสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปเลี้ยงเป็นพระราชบุตรบุญธรรมเพื่อเป็นตัวประกันที่หงสาวดี จนพระชนมายุได้ 15 พรรษา พระองค์จึงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราชปกครองเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2098 ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ณ เมืองแครง ประกาศอิสรภาพของชาติไทยโดยไม่ขึ้นกับพม่าอีกต่อไป และทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์สุโขทัย

ในรัชสมัยของพระองค์ทรงกระทำสงครามขยายพระราชอาณาจักรไทยให้แผ่ไพศาลไปในจตุรทิศ ทรงเป็นกษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ โดยพระองค์ได้กู้คืนอิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ช่วยกอบกู้เอกราชของชาติ ทรงผดุงความเป็นไทย ปกป้องรักษาแผ่นดินให้ปลอดพ้นภัยจากอริราชศัตรู เพื่ออิสรภาพของปวงชนชาวไทย

โดยในปี พ.ศ. 2124 ทรงแสดงแสนยานุภาพในการยกกองทัพเข้าตีเมืองคังจนได้รับชัยชนะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา จนได้รับชัยชนะ ทำให้พระบรมเดชานุภาพ แผ่ไพศาลไปทั่วปฐพี และปราบปรามหัวเมืองมอญฝ่ายใต้ ได้เมืองตะนาวศรี มะริด ทวาย ต่อมาปี พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2142 ทรงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีได้เมืองเมาะลำเลิง และเมืองตองอู จนหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งปวงยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 รวมพระชนมพรรษา 50 พรรษา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top